เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรรพชีวิตแห่งท้องทะเล

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 25-11-2009
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default พา"ฉลามน้อย"กลับบ้านเกิด สร้างสมดุลโลกใต้ทะเล


พา"ฉลามน้อย"กลับบ้านเกิด สร้างสมดุลโลกใต้ทะเล


ทัศพล แบเลเว็ลด์ (เสื้อขาว), วิบูลย์ รักเสรี (เสื้อม่วง), วรรณเกียรติ ทับทิมแสง (เสื้อดำ)

" อยากให้ทะเลมีปลาฉลามเยอะๆ ค่ะ" เสียงใสๆ ของเด็กหญิงกัญญาภัค สิงห์ดำ หรือ "น้องน้ำ" วัย 14 ปี กล่าวขึ้นอย่างดีใจ เมื่อเห็นพี่ๆ นำฉลามน้อยตัวเป็นๆ ไปปล่อยที่แหลมพันวา จ.ภูเก็ต บ้านแท้จริงของปลาฉลามในทะเลอันดามัน พร้อมกับบอกเล่าถึงความรู้สึกว่าเธอยังไม่เคยเห็นฉลามตัวจริงเลย นอกจากจะเห็นในตู้กระจก

"น้องน้ำ" อาศัยอยู่ในพื้นที่แหลมพันวา ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งเป็นสถานที่ที่ สยามโอเชี่ยน เวิร์ล ร่วมกับ สายการบินไทยแอร์เอเชีย พาฉลามบินลัดฟ้าจากทะเลจำลองในเมืองกรุงกลับคืนสู่บ้านที่แท้จริงของมัน

หากย้อนกลับไปในอดีต ที่บริเวณแหลมพันวานับว่าเป็นถิ่นที่มีปลาฉลามชุกชุม แต่ต่อมาเมื่อมีการจับปลาฉลามเพื่อนำไปทำอาหารเหลาราคาแพง "หูฉลาม" จึงทำให้ปริมาณฉลามในบริเวณนี้ลดน้อยถอยลง

สำหรับกิจกรรม "ปล่อยปลาฉลาม" ก็เพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติสร้างระบบนิเวศให้ฉลามกลับมามีจำนวนมากเหมือนเดิม ซึ่ง วิบูลย์ รักเสรี ผู้จัดการฝ่ายดูแลสัตว์น้ำบริษัท สยามโอเชี่ยนเวิร์ล เล่าว่า ฉลามที่นำมาปล่อยคืนสู่ทะเลอันดามัน เป็น "ฉลามปล้องอ้อย" จัดขึ้นเพื่อรณรงค์และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ฉลาม เพราะจำนวนฉลามปล้องอ้อยในปัจจุบันลดจำนวนลงอย่างมาก สาเหตุมาจากถูกคุกคามจากการทำประมงที่ผิดวิธีและการลักลอบจับเพื่อนำไปขาย

"ฉลามปล้องอ้อย" หรือเรียกอีกอย่าง "ฉลามกบ" เป็นฉลามตัวเล็ก ใจดี ชอบอยู่นิ่งๆ กินแต่พืชและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร

สำหรับฉลามปล้องอ้อยที่นำมาปล่อยครั้งนี้มีจำนวน 5 ตัว แบ่งเป็นตัวผู้ 2 ตัวเมีย 3 อายุประมาณ 4 ปี มีความยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร เกิดจากการผสมพันธุ์ของพ่อ-แม่ ซึ่งทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสัตว์น้ำของสยามโอเชี่ยนเวิร์ล ทำการเพาะขยายพันธุ์ขึ้นภายในอควาเรียม จนมีความพร้อมที่จะแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ ณ แหลมพันวา จ.ภูเก็ต


(ซ้ายบน) แช่น้ำเพื่อปรับอุณหภูมิ (ขวาบน) ฉลามปล้องอ้อยกลับคืนสู่ทะเล (ซ้ายล่าง) ฉลามน้อยในกล่องพร้อมเดินทางไปยังแหลมพันวา จ.ภูเก็ต (ขวาล่าง) ลำเลียงปลาฉลามขึ้นเครื่องบิน

" ทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสัตว์น้ำได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ตั้งแต่ขั้น ตอนการฟักไข่ ที่ต้องทำความสะอาดและตรวจสอบไข่เป็นประจำทุกวันเพื่อแยกไข่เสีย จากนั้นทีมดูแลสัตว์น้ำก็ต้องกระจายวางไข่บนพื้นกรวดในตู้เลี้ยงไม่ให้ซ้อน กัน เพื่อป้องกันการเน่าเสีย ในขณะเดียวกันก็ต้องหมั่นตรวจสอบคุณภาพของน้ำ ทั้งอุณหภูมิ ความเค็ม และความเป็นกรดด่างของน้ำที่ใช้ระหว่างขั้นตอนการฟักไข่ และเมื่อลูกปลาฉลามฟักออกจากไข่แล้ว จะนำไปแยกเลี้ยงในถังอนุบาล โดยให้กุ้งสดและปลาหมึกเป็นอาหาร" วิบูลย์กล่าว

ส่วนเที่ยวบินของไทยแอร์เอเชีย ในการพาฉลามน้อยกลับบ้านครั้งนี้เป็นเที่ยวบินที่จัดขึ้นพิเศษและเป็น เครื่องแอร์บัสลำใหม่ ซึ่ง สิทธิกร กมลาสน์ เจ้าหน้าที่ดูแลสัตว์น้ำของสยามโอเชี่ยนเวิร์ล ได้เล่าถึงขั้นตอนการนำฉลามน้อยขึ้นเครื่องบินลัดฟ้าสู่ทะเลว่า ในการขนย้ายฉลามน้อยกลับสู่บ้านได้อย่างปลอดภัยที่สุดนั้น ต้องอาศัยความพิถีพิถันทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนแรกที่เริ่มแยกปลาฉลามปล้องอ้อยทั้ง 5 ตัวลงในบ่อที่เตรียมไว้ และให้อดอาหาร 3 วันก่อนปล่อยจริง เนื่องจากฉลามจะไม่ขับของเสียระหว่างการขนส่ง ซึ่งอาจทำให้มันเครียดได้

จากนั้นเป็นขั้นตอนการต้อนฉลามเข้าไปในถุงพลาสติคที่มีความเหนียวซ้อนกันถึง 2 ชั้น เพื่อป้องกันการรั่วหรือฉีกขาด ก่อนบรรจุลงในกล่องโฟมที่มีความหนามากพอที่จะรองรับแรงกระแทกระหว่างการ เคลื่อนย้าย พร้อมด้วยถุงน้ำแข็งควบคุมอุณหภูมิให้เหล่าฉลามน้อยรู้สึกผ่อนคลายที่สุด ตลอดเที่ยวบิน

และเมื่อเดินทางมาถึงแหลมพันวา ได้ทยอยถ่ายเทน้ำทะเลจากบริเวณที่จะนำฉลามไปปล่อยมาแทนน้ำในถุงที่ใส่ฉลาม เพื่อให้ฉลามปรับตัวให้เข้ากับทะเลได้เร็วที่สุด


วรรณเกียรติ ทับทิมแสง กำลังปล่อยปลาฉลามปล้องอ้อย

" ส่วนที่เลือกมาปล่อยฉลามปล้องอ้อยที่แหลมพันวา เพราะเป็นสถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการอยู่อาศัยของฉลาม คุณภาพน้ำดี มีแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์ และผู้คนยังไม่มากนัก อีกทั้งบริเวณแหลมพันวายังเป็นแหล่งอาศัยตามธรรมชาติของฉลามชนิดนี้อยู่แล้ว " เจ้าหน้าที่สยามโอเชี่ยนเวิร์ลกล่าว และเสริมว่า ถึงแม้ฉลามจะถูกเลี้ยงในระบบปิดตั้งแต่เกิด แต่ได้มีการจำลองสภาพให้เหมือนทะเลมากที่สุด โดยการปล่อยสัตว์น้ำเช่นกุ้งและปลาหมึกให้จับกินเอง จึงเชื่อว่าสัญชาตญาณนักล่าของฉลามไม่หายไปไหน สามารถปรับตัวให้เข้ากับท้องทะเลและมีชีวิตตามวิถีธรรมชาติได้

ด้าน วรรณเกียรติ ทับทิมแสง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเล ชายฝั่งทะเล และป่าชายเลน จ.ภูเก็ต กล่าวถึงการปล่อยปลาฉลามครั้งนี้ว่า เป็นการทำให้เกิดการร่วมมือกันอนุรักษ์ฉลามปล้องอ้อย ซึ่งเป็นฉลามที่ในอดีตเมื่อประมาณ 10 ปีที่แล้วพบได้เป็นจำนวนมากในบริเวณแหลมพันวา

แต่ปัจจุบันมีจำนวนลดลงมาก เนื่องจากกิจกรรมของมนุษย์ ทั้งการทำประมงโดยการจับไปเป็นอาหาร เพราะฉลามชนิดนี้มีขนาดเล็ก จับง่ายและว่ายน้ำไม่เร็ว นอกจากนี้ ยังเกิดจากการทำลายธรรมชาติโดยการสร้างสิ่งปลูกสร้าง ที่พักอาศัย บริเวณชายฝั่งและการอยู่อาศัยของผู้คนในชุมชน ที่ทำให้เกิดสิ่งปฏิกูล เศษไม้ หรือวัสดุในการก่อสร้างไหลลงสู่ทะเล

"การนำฉลามหรือสัตว์น้ำ มาปล่อยยังแหลมพันวานั้นถือว่าเป็นการปล่อยในพื้นที่ที่เหมาะสมและปลอดภัย เพราะเป็นพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตรักษาพืชพันธุ์ ตาม พ.ร.บ.การประมง พ.ศ.2490 นอกจากนี้ ฉลามชนิดนี้ยังทำหน้าที่สำคัญในห่วงโซ่อาหาร โดยการกินซากสัตว์ที่ตายในท้องทะเล เพื่อให้ท้องทะเลมีความสมดุล แม้การลดจำนวนลงหรือการ สูญพันธุ์ของปลาฉลามปล้องอ้อยจะไม่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบนิเวศ แต่ก็ทำให้ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศลดน้อยลง ซึ่งความหลากหลายของสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตนี่เองที่ทำให้ท้องทะเลมีชีวิตชีวา และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชื่นชมความงาม" วรรณเกียรติกล่าว

แม้การปล่อยลูกฉลามปล้องอ้อย 5 ตัวในวันนี้ อาจมองเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่นับว่าเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างจิตสำนึกอันยิ่งใหญ่ที่ทุกคนจะตระหนัก ถึงคุณค่าของทุกชีวิตและสร้างสรรค์โลกที่สมดุลให้คงอยู่

สำคัญเหนืออื่นใดคือการร่วมมือร่วมใจและการปฏิบัติอย่างจริงจัง



ฉลามปล้องอ้อย

เรียก อีกชื่อหนึ่งว่า "ฉลามกบ" (Brown-Banded catshark) ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chiloscylliun punctatum เป็นฉลามหน้าดินที่มีขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่ ความยาวที่เคยพบสูงสุด คือ 121 เซนติเมตร (ตัวผู้) มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง เมื่อวัยอ่อนจะมีแถบสีชัดเจน แต่เมื่อโตขึ้นแถบจะเริ่มจางลงเป็นสีน้ำตาลอ่อน

จัดเป็นฉลามตัวเล็ก ที่ใจดี นิสัยชอบอยู่นิ่งๆ กินแต่พืชและสัตว์ขนาดเล็กเป็นอาหาร ออกลูกเป็นไข่ ซึ่งฉลามปล้องอ้อยเพศเมียจะไม่อยู่ดูแลไข่ของมัน แต่จะวางไข่อยู่บริเวณแนวปะการังที่มีสาหร่ายล้อมรอบอยู่ และสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรงปกป้องตัวอ่อน

ทั้งนี้ พบปลาฉลามปล้องอ้อยได้ทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังในเขตอินโด-แปซิฟิก ได้แก่ อินเดีย มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ตอนเหนือของออสเตรเลีย และไทย ซึ่งพบทั้งในอ่าวไทยและอันดามัน



จาก : มติชน วันที่ 25 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 25-11-2009
-Oo- -Oo- is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 977
Default

ขอให้อยู่รอดปลอดภัย และออกลูกหลานเยอะไนจ๊ะ น้องฉลามกบ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 25-11-2009
nokkinpeaw's Avatar
nokkinpeaw nokkinpeaw is offline
Member
 
วันที่สมัคร: Jul 2009
สถานที่: Coastal
ข้อความ: 23
Default

เพิ่งออกอากาศรายการบางอ้อไปเมื่อวันอาทิตย์ด้วยครับ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 25-11-2009
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

ดีค่ะ....ไม่ใช่จับปลาในธรรมชาติไปเลี้ยงในอควาเรียมอย่างเดียว แต่รู้จักเพาะพันธุ์ปลานำมาปล่อยซะบ้างอย่างนี้


ขออวยพรให้เพาะพันธุ์ปลาชนิดอื่นได้มากๆ....เหลือมากพอจะเลี้ยงไว้โชว์เก็บเงิน ก็นำไปปล่อยอีกนะคะ....

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 25-11-2009
แม่หอย's Avatar
แม่หอย แม่หอย is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Klong Wan
ข้อความ: 289
Default

แหม.. ไปปล่อยที่แหลมพันวาทั้งที เสียดายที่น่าจะมีให้เครดิตแก่งานของสถาบันวิจัยทรัพยากรฯ และนักวิชาการของสถาบันฯ ซึ่งได้เพาะขยายพันธุ์ปลาฉลามชนิดนี้และชนิดอื่นมาตั้งเยอะแยะที่นั่นด้วยสักหน่อยคงจะดีไม่น้อย ผู้คนที่ดูทีวีจะได้รู้ว่าอะควาเรียมภาครัฐเขาก็ทำงานเพาะขยายพันธุ์สัตว์น้ำเยอะแยะด้วย..
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 25-11-2009
Dolphin's Avatar
Dolphin Dolphin is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: Aug 2009
ข้อความ: 105
Default

เห็นด้วยกะพี่สายชลกะแม่หอยเจ้าค่ะ
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:53


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger