#11
|
||||
|
||||
จริงๆตอนนี้ก็มีคณะกรรมการฯที่ประกอบด้วยนักวิชาการ วิทยาศาสตร์ทางทะเล หลายท่านจากหลายสถาบัน ดูแลปัญหานี้อยู่แล้วนะครับ ซึ่งสองสายเคยเข้าร่วมสังเกตุการณ์การประชุมมาแล้วครั้งหนึ่ง ที่เอาจริง เป็นห่วงจริงๆ และอยากทำอะไรจริงๆก็คือ ท่านนักวิชาการเหล่านี้แหล่ะครับ สำรวจกันก็แล้ว ทำรายงานสรุปกันก็แล้ว เหลืออยู่แต่ทางหน่วยงานราชการเท่านั้นครับที่จะต้องคุยตกลงกันเอง และตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกันต่อไป
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#12
|
|||
|
|||
พี่จ๋อมครับ คณะกรรมการมีจริงครับ ทำงานจริงครับ ก็เหล่านักวิชาการทั้งหลายที่พยายามผลักพยายามดันกันงกๆนี่แหละ ทำทุกอย่างก็แล้วแต่ขาดกำลัง และอำนาจที่จะดำเนินการได้ คงช่วยกันทำออกมาเพียงในรูปของรายงานสรุปที่พร้อมนำมาปฎิบัติได้ ถ้าจะเปรียบไปก็เหมือนอาหารที่ปรุงเสร็จพร้อมเสิร์ฟมาบนโต๊ะซึ่งมันก็ยากอยู่แล้วที่จะปรุงอาหารเหล่านี้ แต่ที่ยากยิ่งกว่าก็คือการป้อนอาหารเหล่านี้ให้แก่ผู้ที่(แกล้ง)พิการทางสมองซึ่งจะต้องเอาอาหารเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่ก็นะ คนมันสมองพิการไปแล้วจะรู้ค่าอาหารที่ปรุงมาได้ยังไง คงต้องพยายามง้างปากป้อนอาหารกันต่อไป
ปล.ถ้าแรงไปก็ลบได้นะครับ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย sea addict : 18-01-2011 เมื่อ 22:07 |
#13
|
||||
|
||||
เห็นใจคณะกรรมการมากๆค่ะ....ที่ทั้งผลักทั้งดัน จนเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าระอาใจไปตามๆกัน ถ้าคนรับเรื่องไปทำต่อสมองพิการจริงๆ ก็น่าสงสาร และคงต้องตำหนิคนที่รับคนสมองพิการมาทำงานนะคะ.... เอ...หรือจะ(แกล้ง)สมองพิการกันไปหมดอย่างน้อง sea addict ว่า.....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 19-01-2011 เมื่อ 00:23 |
#14
|
|||
|
|||
ผมอยากให้มีอนุกรรมการตามที่แนบด้านล่างครับ จะได้มีกำลังมากพอ
ทุกอย่างทำไปจะได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น http://www.onep.go.th/neb/4.%20Subco...e/sub_com.html |
#15
|
||||
|
||||
ที่ผมจะบอกก็ตรงกับที่น้อง sea addict บอกน่ะแหละครับ เพียงแต่ไม่ค่อยจะกล้าใช้คำรุนแรงเท่านั้นเอง .... สรุปแล้ว มันเป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินมากกว่าผลประโยชน์ทางธรรมชาติครับ อย่างหนึ่งที่น่าจะเริ่มทำดูคือ .... ยกเลิกการเข้าไปพักแรมบนเกาะของอุทยานทางทะเล ให้เหมือนกับที่ได้ทำไปแล้วที่ อช.เขาใหญ่ และตรวจสภาพเรือทุกลำว่ามีระบบเก็บของเสียจากเรือหรือไม่ ก่อนที่จะออกบัตรอนุญาตให้เข้าไปจอดเรือในเขตอุทยานได้
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#16
|
|||
|
|||
ท่านๆที่กำลังกังวลเรื่องการปิดคงจะต้องทำใจให้สบายๆไว้ก่อนครับ ปัญหานี้จากการได้คุยกับหลายๆฝ่าย คิดว่าเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ประกอบการให้น้อยที่สุดจากมาตรการนี้ก็น่าจะเป็นการปิดเฉพาะจุดในแต่ละอุทยานฯเท่านั้น คงไม่ปิดทั้งหมด ในส่วนที่ยังมีศักยภาพและคาดว่าการดำน้ำไม่ได้ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศในบริเวณที่ดำน้ำนั้นมากนัก ก็ยังคงเปิดให้ดำน้ำกันต่อไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อมูลและการตัดสินใจของผู้ที่เกียวข้องอีกที
ทั้งนี้ผมมองว่า การปิดนั้นมันสำคัญอยู่ที่ว่ามันปิดจริงหรือปิดหลอก ขนาดแฟนตาซีจุดเดียว ยังมีการลักลอบดำกันอยู่เลย เจ้าหน้าที่มีเพียงพอหรือไม่ที่จะดูแลจุดที่จะสั่งปิดซึ่งคาดว่าน่าจะมีหลายจุด หากยังมีไม่พอ กรมของท่านพร้อมที่จะเสริมกำลังและงบประมาณเพื่อการนี้หรือไม่ การทุ่มทุนดูแลทรัพยากรโดยไม่มีผลตอบแทนจากการท่องเที่ยวเข้ามาท่านเจ้ากรมนี้จะยอมทำหรือไม่ คงต้องดูกันต่อไป ที่สำคัญหลังจากปิดแล้วจะมีมาตรการต่อเนื่องอย่างไรที่จะทำให้ทราบว่า การปิดจุดดำน้ำเหล่านี้จะช่วยให้แหล่งปะการังของเราได้ฟื้นตัวจริงๆ กรมกองใดจะเป็นผู้รับผิดชอบติดตาม จะจัดสรรงบประมาณในส่วนใดมาใช้เพื่อการนี้ มีโอกาสจะเปิดให้ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในมาตรการเหล่านี้หรือไม่ เหล่านี้เป็นคำถามที่สำคัญ นับว่าเป็นงานวัดใจผู้บริหารกรมกองทั้งหลายจริงๆ พูดจริงทำจริงอ๊ะป่าว? |
#17
|
||||
|
||||
อ่านข่าวนี้แล้ว "เซ็งเป็ด.....
กรมอุทยานฯกร้าวไม่ปิดอันดามันฟื้นปะการัง วันนี้ (19 ม.ค.) นายสุนันต์ อรุณนพรัตน์ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)ได้ส่งข้อมูลเรื่องปะการังฟอกขาวในบริเวณทะเลอันดามันมาให้ รวมทั้งเสนอให้ปิดอุทยานแห่งชาติทางทะเลเกือบทั้งหมด เพื่อให้ปะการังที่ฟอกขาวได้ฟื้นตัวนั้น ตนได้สั่งให้เจ้าหน้าของกรมอุทยานเข้าไปสำรวจเพิ่มเติมในส่วนของพื้นที่ที่ทางทช.แจ้งมา และในวันที่ 20 มกราคม เจ้าหน้าที่จะมารายงานผลการไปสำรวจในที่ประชุมของกรมอุทยานฯ ซึ่งตนได้เรียกหัวหน้าอุทยานทางทะเลทั้งหมดมาประชุมร่วมกับนักวิชาการมหาวิทยาลัย เพื่อร่วมหารือในเรื่องนี้ว่าจะดำเนินการอย่างไรดี “เบื้องต้นแล้ว ผมเห็นว่า เรายังไม่จำเป็นถึงขั้นต้องปิดอุทยานทางทะเล เพราะถึงปิดก็ไม่ได้ทำให้ปะการังฟอกขาวฟื้นขึ้นมาได้ในเวลานี้ แต่ควรจะหามาตรการที่จะลดผลกระทบ ไม่ให้ใครเข้าไปรบกวนมากกว่า การปิดอุทยานทางทะเลจะเกิดให้เกิดผลกระทบหลายอย่าง”นายสุนันต์ กล่าว เมื่อถามว่า แสดงว่ากรมอุทยานจะไม่ทำตามที่ทางทช.เสนอให้ปิดอุทยานใช่หรือไม่ นายสุนันต์ กล่าวว่า ต้องรอฟังจากที่ประชุมในวันที่ 20 ม.ค.ก่อน ว่าทั้งเจ้าหน้าที่และนักวิชาการจะว่าอย่างไร แต่ตนเห็นว่า การหามาตรการที่เข้มงวดและเหมาะสมในการป้องกันไม่ให้นักท่องเที่ยวเข้าไปรบกวน พื้นที่ที่มีความวิกฤตเรื่องปารังฟอกขาวน่าจะเป็นเรื่องที่ควรทำมากกว่าปิดอุทยานทั้งหมด อย่างไรก็ตามพื้นที่ที่วิกฤตมากๆอาจต้องปิดบางส่วนก็ได้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ เกาะเฮ และเกาะแอล จ.ภูเก็ต โดยสื่อมวลประจำกระทรวงทรัพยากรฯ ได้ดำน้ำลงไปสำรวจปาการังรอบเกาะดังกล่าว พบว่า มีปะการังกิ่ง ปะการังก้อน ปะการังเขากวาง ปะการังโขด ฟอกขาวทั้งหมดมากกว่า 90% โดยบริเวณเกาะแอลนั้น ไม่มีนักท่องเที่ยวเข้าไปดูปะการังเลย เพราะไม่มีปะการังสวยงามให้ดูอีกต่อไป ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้บริเวณดังกล่าวมีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับบริเวณเกาะเฮ ซึ่งอยู่ไม่ไกลกันนักนั้น เกาะดังกล่าวมีรีสอร์ทของเอกชนตั้งอยู่ มีบริษัททัวร์แห่งหนึ่งได้นำนักท่องเที่ยวชาวจีน เกาหลี และญี่ปุ่น ประมาณ 500 คน มาดำน้ำชมปะการังน้ำตื้น ปรากฏว่านักท่องเที่ยวต่างทั้งดำน้ำละเดินดูปะการัง โดยมีการเหยียบย่ำบนปะการังอย่างสนุกสนาน โดยรู้เท่าไม่ถึงการ นอกจากนี้มีนักท่องเที่ยวหลายคนได้หยิบก้อนปะการังซึ่งเป็นปะการังดอกเห็ดที่ยังมีชีวิตซึ่งเหลือเป็นส่วนน้อยขึ้นมาอวดกันและถ่ายรูปด้วยความสนุกสนาน ต่อหน้าต่อตาสื่อมวลชนและทีมงานของทช. ทั้งนี้กลุ่มสื่อมวลชนพยายามห้ามปราม ซึ่งได้ผลในระดับหนึ่ง นายนิพนธ์ พงศ์สุวรรณ นักวิชาการประมงชำนาญการพิเศษ ทช. กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเกิดจากบริษัททัวร์ ไม่ได้อธิบายให้ลูกทัวร์ รู้ว่าข้อควรปฏิบัติในการดำน้ำดูปะการังควรทำอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำเร่งด่วนคือ จัดอบรมสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด โดยเฉพาะการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)และผู้ประกอบการบริษัทดำน้ำ ในช่วงเดือนก.พ.-มี.ค. นี้ ใน4 จุด คือภูเก็ต ทับละมุ จ.พังงา เกาะพีพี จ.กระบี่ และเกาะไข่นอก เพราะเป็นพื้นที่ที่ทัวร์จำนวนมาก “ยอมรับว่าตกใจที่เห็นนักท่องเที่ยวจำนวนมากเกินไปที่ดำน้ำไปดูปะการังในช่วงน้ำทะเลกำลังลด โดยหลายรายขึ้นไปยืนบนปะการัง บางรายหยิบมาถ่ายรูปเล่น เราได้แต่ยืนมอง เพราะไม่มีอำนาจตามกฏหมาย เพราะกฎหมายของทช.ยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้พื้นที่ดังกล่าวเป็นของเอกชน แต่โดยหลักการทรัพยากรทางทะเลนั้นอยู่ในความดูแลของทช.ก็จริง แต่เมื่อเห็นจะจะแบบนี้เราทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากได้แต่อึ้ง” นายนิพนธ์ กล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก....http://www.dailynews.co.th/newstartp...ntentID=116417
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 19-01-2011 เมื่อ 20:54 |
#18
|
||||
|
||||
ข่าวข้างบนนี้........ทำให้เซ็งอยู่สองเรื่อง....
เรื่องแรก....เซ็งกับคำพูด "เรายังไม่จำเป็นถึงขั้นต้องปิดอุทยานทางทะเล เพราะถึงปิดก็ไม่ได้ทำให้ปะการังฟอกขาวฟื้นขึ้นมาได้ " เรื่องที่สอง.......เซ็งกับคำพูด "หลายรายขึ้นไปยืนบนปะการัง บางรายหยิบมาถ่ายรูปเล่น เราได้แต่ยืนมอง พราะไม่มีอำนาจตามกฏหมาย เพราะกฎหมายของทช.ยังไม่แล้วเสร็จ" เฮ้อออออ.......
__________________
Saaychol |
#19
|
|||
|
|||
เห็นมั้ยล่ะ พูดไม่ทันขาดคำ หางโผล่ซะแล้ว ปิดแล้วจะเอาอะไรกิน จะหาที่ไหนไปส่งนาย เจ้าหน้าที่กรมตัวเองมีความรู้น่าเชื่อถือเสียเหลือเกิน ชาวบ้านนักวิชาการทั่วประเทศเค้าตะโกนมาแล้วก็ยังทำมึน...... มีหน้ามาห้าห่วง ทนหายห่วงได้อีก รู้อยู่เต็มอกว่าเกิดอะไรขึ้น คำแนะนำก็มีอยู่แล้วเค้าทำไว้ให้แล้วยังมาทำมึนอีก เฮ้อ ฝากความหวังกับคนสมองพิการก็อย่างงี้แหละ คนอยากทำก็ยังไม่มีอำนาจ เป็นที่มาของความเซ็งทั้งสองประการที่พี่สายชลว่าแหละครับ
|
#20
|
||||
|
||||
รายได้จากการท่องเที่ยวเป็นผลประโยชน์อันมหาศาลกับอุทยานรวมถึงผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องแน่นอน เรื่องนี้เป็นความจริงที่ไม่สามารถปฏิเสธได้เลย ..
ส่วนเรื่องนักท่องเที่ยวเหยียบ รวมถึงหยิบปะการังขึ้นมา การให้ความรู้และทำความเข้าใจน่าจะเป็นทางออกทางหนึ่งที่จะเยียวยาเรื่องนี้ได้บ้างนะครับ .. อะไรก็ตามที่ให้ความรู้สึกว่าเป็น "ของสาธารณะ" ความรู้สึกร่วมในการใช้ประโยชน์อย่่างทะนุถนอม อย่างคุ้มค่่ามันไม่ค่อยจะมี แต่พอรู้สึกว่า ของสิ่งนั้นเป็น "ของเรา" ขึ้นมาแล้วล่ะก็ ของๆข้าใครอย่าแตะ เมื่อไหร่ เราจะรู้สึกเป็นเจ้าของ "ทะเลไทยของเรา" จริงๆซะที ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
|
|