#11
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ฟิลิปปินส์เจ็บหนัก! มัดรวม 4 วิกฤตสิ่งแวดล้อม ที่ซัดน่วมแบบไม่ให้พักยก เครดิตภาพ: REUTERS SHORT CUT - ฟิลิปปินส์เผชิญปัญหาสิ่งแวดล้อม 4 ด้าน : อากาศย่ำแย่, ขยะพลาสติก, ทะเลปนเปื้อน, ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น - ฟิลิปปินส์สร้างขยะพลาสติกลงทะเลกว่า 3 แสนเมตริกตันต่อปี ภายในปี 2593 อาจเจอพลาสติกในทะเลมากกว่าปลา - ภายในปี 2100 กรุงมะนิลาอาจกลายเป็นอาณาจักรแอตแลนติส หรือนครใต้บาดาล เพราะน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ฟิลิปปินส์คือประเทศที่สร้างขยะลงทะเลราว 3.6 แสนล้านตัน มากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน นี่คือ 1 ปัญหาที่ดินแดนพันเกาะยังแก้ไม่ตก แต่ยังมีอีก 3 วิกฤตที่ฟิลิปปินส์ต้องแบกรับ จะมีอะไรบ้างติดตามได้ที่บทความนี้ มูฟออนจาก สุขุมวิท 11 ล่องฟ้าไปเยือนที่ฟิลิปปินส์กันดีกว่า ต้องบอกว่า "ไทย" กับ"ฟิลิปปินส์" นอกจากจะมีการแข่งขันกันบนเวทีการประกวดนางงามที่เด็ด เผ็ด มันส์ อยู่ทุกปีแล้ว ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องเผชิญก็คล้ายคลึงสมกับเป็นบ้านพี่เมืองน้องกันจริง ๆ Spring News ถือโอกาสนี้สรุป 4 วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมของฟิลิปปินส์มาให้ 4 ข้อ แล้วชาวไทย ซึ่งเป็นพันธมิตรที่รักกัน? จะได้เห็นว่าดินแดนพันเกาะก็ถูกธรรมชาติซัดจนน่วมแบบไม่ให้ได้ตั้งการ์ดด้วยซ้ำไป สภาพอากาศย่ำแย่ ปัญหาอันดับแรกของฟิลิปปินส์คือ ?มลพิษทางอากาศ? ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า คุณภาพอากาศเฉลี่ยรายปีอยู่ที่ 24 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานถึง 4 เท่า ซึ่งต้นเหตุอากาศแย่ของฟิลิปปินส์มาจาก 3 สาเหตุหลักได้แก่ การเผาเชื้อเพลิงฟอสซิล การปล่อยมลพิษจากยานพาหนะ และการจุดปะทะในวันเทศกาลซึ่งก่อให้เกิดฝุ่น PM 2.5 รวมถึงบรรจุสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ขยะพลาสติกอ่วมประเทศ รู้หรือไม่ว่า แต่ละปีฟิลิปปินส์สร้างขยะพลาสติกราว 2.7 ล้านตัน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-used Plastic) นอกจากนี้ กระบวนรีไซเคิลของแดนพันเกาะยังไร้ประสิทธิภาพ ถึงขั้นเกิดการประมาณการว่ารัฐบาลฟิลิปปินส์ต้องจ่ายเงินมากถึง 890 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อจัดการขยะพลาสติกเหล่านี้ ในสถานการณ์เลวร้าย ยังมีเรื่องราวดี ๆ เมื่อปี 2022 รัฐบาลคลอดกฎหมาย Extended Producer Responsibility Act (EPRA) ออกมาเพื่อจัดการกับปัญหาขยะโดยตรง ซึ่งหลักการก็ไม่มีอะไรซับซ้อนคือ ภาคเอกชนต้องจัดทำแผนในการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ใหม่ รวมไปถึงการรีไซเคิลพลาสติก กฎหมายเรือธงจัดการขยะตัวนี้คาดว่าจะลดปริมาณขยะพลาสติกของฟิลิปปินส์ลง 80% ทะเลเฟื่องไปด้วยขยะพลาสติก เป็นผลสืบเนื่องมาจากหัวข้อที่แล้ว งานวิจัยของ Science Advances ระบุว่า ฟิลิปปินส์คือประเทศที่ปล่อยขยะลงสู่ทะเลราว 3.6 แสนล้านตันมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียน ถึงขั้น เทเรซา ลาซาโร ปลัดกระทรวงการต่างประเทศฟิลิปปินส์ กล่าวว่า ภายในปี 2593 ฟิลิปปินส์จะมีขยะในทะเลมากกว่าปลา แต่กระนั้นรัฐบาลก็ออกมาตรการแก้ไขปัญหาขยะรั่วไหลลงสู่ทะเลด้วยการจับมือกับ WWF เพื่อควบคุมการรั่วไหลของขยะพลาสติกให้ได้ 50% โดยเริ่มที่บริเวณท่าเรือ Cagayan de Oro ท่าเรือ Batangas และท่าเรือมะนิลาเหนือ นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยเรื่องการจัดการขยะทะเล โดยมีจุดประสงค์คือน่านน้ำของฟิลิปปินส์จะต้องมีขยะเป็นศูนย์ภายในปี 2583 หรืออีกราว ๆ 16 ปี การแก้ไขอีกทางหนึ่งคือ เดินหน้าให้ความรู้แก่ภาคประชาชน ธุรกิจ ถึงวิธีการกำจัดขยะที่ถูกต้องและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งก็คงต้องมารอดูกันว่าไทยกับฟิลิปปินส์ใครจะจัดการขยะได้ก่อนกัน ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้น ปี 2024 มีการคาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลในฟิลิปปินส์จะเพิ่มสูงขึ้นอีก ซึ่งจะส่งผลกระทบกับเมืองชายฝั่งอย่างมะนิลา ถึงขั้นมีการระบุว่า ภายในปี 2100 กรุงมะนิลาจะกลายเป็นนครแอตแลนติสเลยทีเดียว ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจึงวางแผนที่จะลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อมาจัดการกับปัญหาน้ำท่วมในระยะยาว อาทิ ประตูระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ ท่อระบายน้ำ โดยจะเน้นที่เมืองริมชายฝั่งเป็นกรณีพิเศษ ที่มา: Earth.ORG https://www.springnews.co.th/keep-th...ronment/848420
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#12
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
พายุฤดูร้อน คืออะไร? กับสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเจอเกือบทุกปี SHORT CUT - ประเทศไทยเจอพายุฤดูร้อน สาเหตุจากความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมเกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นและเย็น ในช่วงเดือน มี.ค. เม.ย. พ.ค. ของทุกปี - ภาคเหนือ ภาคอีสาน ของประเทศไทย เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อนมากที่สุด - พายุฤดูร้อนถล่มไทย ช่วงวันที่ 8-10 มี.ค. จังหวัด ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง พายุฤดูร้อน คืออะไร? และสาเหตุที่ทำให้ประเทศไทยเจอกันเกือบทุกปี ล่าสุด กรมอุตุนิยมวิทยา เตือน จังหวัดภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง รับมือพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง ช่วง 8-10 มี.ค. นี้ พายุฤดูร้อนเชื่อว่าหลายคนคุ้นกับคำนี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ความหมายของมันว่าเหตุใดจึงเรียกพายุฤดูร้อน วันนี้ SPRiNG จะพาไปรู้จักพายุฤดูร้อนคืออะไร พายุฤดูร้อน (Thunderstorms) เป็นพายุฝนฟ้าคะนองที่เกิดในช่วงการเปลี่ยนฤดูจากฤดูร้อนไปสู่ฤดูฝน ช่วงประมาณเดือนเมษายน พายุฤดูร้อนนี้ เป็นพายุประจำถิ่น ที่มักเกิดขึ้นในบริเวณประเทศไทยตอนบน เมื่ออากาศในช่วงเปลี่ยนฤดู มีความชื้นสูงและร้อน ในขณะที่ความกดอากาศสูงก็ยังคงแผ่ลงมาเป็นครั้งคราว นำอากาศที่แห้งและเย็นกว่ามาผสมผสาน ทำให้เกิดมวลอากาศ ที่อเสถียรภาพ มีการแลกเปลี่ยนมวลกันในแนวดิ่ง เกิดการยกตัวของมวลอากาศอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดเมฆฝนฟ้าคะนองขนาดใหญ่กว่าปกติ และมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้น ในบางครั้งทำให้เกิดลูกเห็บตก ทำความเสียหายให้แก่บ้านเรือนและ พืชผลทางการเกษตรเสียหายได้ สาเหตุการเกิดพายุฤดูร้อน ประเทศไทย แผ่นดินได้รับรังสีดวงอาทิตย์มากกว่าในช่วงอื่นๆ ของปี ทำให้อากาศที่อยู่เหนือพื้นผิวโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้น พายุฤดูร้อนเกิดจากการที่ความกดอากาศสูงจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทย จึงทำให้เกิดการปะทะกันระหว่างอากาศที่ร้อนชื้นของประเทศไทยและอากาศที่แห้งและเย็นจากประเทศจีน อากาศเย็นจะผลักให้อากาศร้อนชื้นลอยตัวขึ้นสู่ข้างบนอย่างรวดเร็ว จนเมื่อไอความชื้นขึ้นไปถึงชั้นบรรยากาศก็จะกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จนก่อตัวเป็นเมฆฝนขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นก้อนสีเทาเข้มทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบและฟ้าผ่าตามมา บางโอกาสจะมีลมพัดแรงเป็นเวลา 10 - 15 นาที หรืออาจนานกว่านั้นก็ได้ และมีลมกระโชกเป็นครั้งคราว โดยอาจมีกำลังแรงถึง 40 นอต หรือ 75 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ายุฤดูร้อนเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ประมาณ 30 - 40 นาที ถึง 2-3 ชั่วโมง. สัญญาณเตือนก่อนเกิดพายุฤดูร้อน - อากาศร้อนอบอ้าว ติดต่อกันหลายวัน - ลมสงบ แม้ใบไม้ก็ไม่สั่นไหว - ความชื้นในอากาศสูง จนรู้สึกเหนียวตามร่างกาย - ท้องฟ้ามัว ทัศนวิสัยการมองเห็นระยะไกลไม่ชัดเจน - เมฆมากขึ้น ท้องฟ้ามืดครึ้ม อากาศร้อนอบอ้าว พื้นที่เสี่ยงเกิดพายุฤดูร้อน พื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งอยู่ใกล้ประเทศจีน เสี่ยงต่อการเกิดพายุฤดูร้อนเนื่องจากการปะทะกันของมวลอากาศร้อนและมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนที่แผ่ลงมาปกคลุม หรือแม่แต่ระแสลมซึ่งมีมวลอากาศที่มีคุณสมบัติต่างกัน อย่าง กระแสลมใต้ หรือตะวันออกเฉียงใต้ เป็นอากาศร้อนและชื้นพัดผ่านทะเลมา และกระแสลมเหนือเป็นอากาศแห้งและเย็นพัดผ่านพื้นทวีปมา ก็อาจทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองรุนแรงได้ ทั้งนี้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีโอกาสเกิดพายุฤดูร้อนได้ แต่ก็น้อยกว่าภาคเหนือ-อีสาน ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือนภัยล่าสุด ฉบับที่ 4 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 8-10 มีนาคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออกจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงสำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย โดยจะมีผลกระทบดังนี้ วันที่ 9 มีนาคม 2567 - ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ - ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และจันทบุรี - ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วันที่ 10 มีนาคม 2567 - ภาคเหนือ: จังหวัดพิษณุโลก และเพชรบูรณ์ - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ชัยภูมิ หนองบัวลำภู ขอนแก่น นครราชสีมา และบุรีรัมย์ - ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา และชลบุรี - ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี และสระบุรี ข้อมูลจาก : มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทย , กรมอุตุนิยมวิทยา https://www.springnews.co.th/keep-the-world/848457
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|