#11
|
||||
|
||||
เป็นเรื่องเศร้าที่ยักษ์ใหญ่แห่งท้องทะเลที่ไม่เคยทำอันตรายใคร(แบบตั้งใจ) โดนล่า ไม่ว่าจะเหตุผลเพื่อการค้าหรือการวิจัย(วิจัยแบบไม่ทำให้ตาย ไม่ได้เหรอ?????)
แต่ก็ดีใจที่เขายังคงทำหน้าที่อยู่ในทะเล(จำนวนไม่มาก แต่คุณประโยชน์มากๆๆๆๆ)อยู่ ขอบคุณพี่สองสาย สำหรับข้อมูลดีๆค๊าบบบบบ |
#12
|
||||
|
||||
ถ้าเค้าวิจัยแบบไม่ตายก็ไม่เข้าจุดประสงค์หลักในการวิจัยของเค้าสิครับ
|
#13
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
มาขอบคุณผมทำไม ผมไม่ได้เขียนเองนะ .... ต้องขอบคุณ ผจก.ออนไลน์โน่น ที่ไปคัดเรื่องนี้มาลงในเว็บเค้าครับ
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#14
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
น่าๆๆๆ รับไปซะดีๆๆ ขอบคุณคร้าบบบบ ทั้งหมดทุกคนที่เกี่ยวข้องล่ะคะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#15
|
||||
|
||||
วาฬ...นี่เทห์ขั้นเทพจริงจริงคร้าบ
... เอ่อ...ขอขอบคุณผู้จัดการออนไลน์((ที่หาข้อมูลดีดีมาให้)) แอนด์...ขอขอบพระคุณพี่จ๋อม(((ที่นำข้อมูลดีดีจากผู้จัดการออนไลน์))) มาให้พวกเราได้อ่านกันคร้าบ....ฮิ๊ววววววว |
#16
|
|||
|
|||
ขอบคุณข้อมูลดีๆค่ะพี่
|
#17
|
||||
|
||||
ขอบคุณสำหรับข้อมูลเช่นกันครับผม อ่านกันเพลินเลยทีเดียว ..
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#18
|
||||
|
||||
คนล่าวาฬ...คนขี่วาฬ เร็วๆนี้ หลายคนคงได้ยินข่าวการฉายภาพยนตร์เรื่อง The Cove ที่เป็นเรื่องราวการล่าโลมาของชาวเมือง Taiji ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับกระแสต่อต้านและสนับสนุนจากคนญี่ปุ่นเอง... ด้วยเพราะภาพยนตร์เรื่องนี้ จึงทำให้ดิฉันหวนนึกถึงภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งที่ถูกนำมาฉายเมื่อหลายปีก่อน เป็นเรื่องราวของเด็กหญิงชาวเมารีกับวาฬที่มีความผูกพันกันกระทั่งเป็นเกิดเป็นเรื่องคนขี่วาฬ หรือ Whale rider ที่ครั้งนั้นได้รับรางวัลมากมายจากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติ Whale rider เป็นบท ประพันธ์ของ witi Thimaera นัก เขียนชาวเมารี ซึ่งเป็นผู้บุกเบิกงานเขียนที่แฝงปรัชญาและขนบธรรมเนียมของชาวเมารีให้ผู้อ่านได้ซึมซับบทประพัน์ของเขาเรื่องนี้ได้รับคัดเลือกให้เป็นหนังสืออ่านนอกเวลาเรียนของ ประเทศนิวซีแลนด์ และได้รับการแปลเป็นภาษาไทยในชื่อ ปาฏิหารย์แห่งวาฬ โดยสุวัฒน์ หลีเหม เมื่อหลายปีก่อน ดิฉันชื่นชอบทั้งภาพยนตร์และวรรณกรรมเรื่องนี้ ด้วยให้อรรถรสที่ละม้ายแต่ต่างด้วยกระบวนการในด้านวรรณกรรมวิทิ อิแมรา witi Ihimaera นักเขียนที่มากประสบการณ์ผู้นี้ ได้ถ่ายทอดเรื่องราวของคาฮู เด็กหญิงชาวเมารี อายุแปดขวบ ที่ชะตากำหนดให้เธอเป็นผู้ขี่วาฬ บรรพบุรุษในตำนานของชนเผ่าตัวเอง แรงบันดาลใจที่ทำให้วิทิแต่งเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพราะเมื่อครั้งที่เขาทำงานอยู่ที่กรุงนิวยอร์ค สหรัฐอเมริกาลูกสาวสองคนของเขาเดินทางมาเยี่ยม สามพ่อลูกจึงใช้เวลาไปกับการดูภาพยนตร์ ขณะที่เพลิดเพลินกันอยู่นั้นลูกสาวคนหนึ่งของเขาเอ่ยถามบิดาด้วยความสงสัยว่า เหตุใดเด็กผู้ชายจึงได้เป็นพระเอกอยู่ร่ำไป ขณะที่เด็กผู้หญิงมีความสามารถเพียงแค่เปล่งเสียงร้องช่วยด้วย ช่วยฉันด้วย เท่านั้น... ประกอบกับช่วงเวลานั้นที่แม่น้ำฮัดสันในกรุงนิวยอร์กมีปรากฎการณ์วาฬเกยตื้น ทั้งสองเหตุการณ์นี้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาประพันธ์เรื่อง whale rider นี้ขึ้นมา ขณะเดียวกันกับที่ดิฉันอดนึกถึงคนล่าวาฬไม่ได้ค่ะ... ดังคำกล่าวเก่าแก่ของชาวญี่ป่นที่ว่า ไม่มีส่วนใดที่สูญเปล่า นอกจากเสียงของวาฬ ที่หากใครได้ยินตอนนี้ คงรู้สึกสะเทือนใจและบาดหูพิลึก ญี่ปุ่นส่วนหนึ่งมักเล่าถึการล่าและกินเนื้อวาฬว่าเป็นประเพณีเก่าแก่ที่อยู่คู่กับพวกเขามานานแล้ว บางคนกล่าวว่า อาจนานถึงช่วงศตวรรษที่ ๘ เนื่องจากมีการกล่าวถึงการเสวยเนื้อวาฬของจักรพรรดิจิมมุ ชาวประมงญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญในการล่าวาฬมาตั้งแต่ยุคโบราณ พวกเขาใช้กองเรือขนาดเล็กนับสิบลำพร้อมฉมวกเพื่อล่าวาฬ ซึ่งสมัยก่อนเขตของการล่าอยู่เพียงแค่ทะเลน้ำตื้นรอบหมู่เกาะญี่ปุ่นเท่านั้น เดิมเนื้อวาฬเคยเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่ให้ประโยชน์ทางโภชนการสูง ทุกส่วนของวาฬถูกนำไปใช้ประโยชน์ทั้งหมด นับตั้งแต่เนื้อที่เป็นอาหาร ไขมัน กระดูกและหนังนำไปเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมและหัตถกรรม แม้แต่เศษเนื้อและน้ำเลือดก็ถูกนำไปเป็นปุ๋ยในท้องไร่ท้องนา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเราคงทราบกันดีว่าญี่ปุ่นแพ้สงครามและเกิดภาวะขาดแคลนอาหารอย่างหนัก โปรตีนจากเนื้อวาฬถูกนำมาช่วยชีวิตเด็กญี่ปุ่นยุคนั้นให้รอดตายและแข็งแรงขึ้นมาได้ โรงเรียนประถมส่วนใหญ่จะจัดให้เนื้อวาฬเป็นอาหารกลางวันสำหรับนักเรียนในหลายๆโอกาส การกินเนื้อวาฬจึงกลายเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้สำหรับคนญี่ปุ่นที่เติบโตมาในยุคนั้น ซึ่งเคยกำหนดให้วันที่ ๙ ของทุกเดือนเป็นวันกินเนื้อวาฬ ปริมาณการกินเนื้อวาฬของชาวญี่ปุ่นได้เพิ่มสูงสุดในปี 1962 ที่มากถึง 226,000 ตัน ปัจจุบันแม้ว่าญี่ปุ่นจะผ่านวิกฤติการขาดแคลนอาหารมาแล้ว แต่ความนิยมเนื้อวาฬในบางหมู่ชนยังคงอยู่ แน่นอนญี่ปุ่นถือเป็นประเทศอันดับต้นๆ ที่ถูกต่อต้านและควบคุมปริมาณการล่าวาฬ แม้จะพยายามหาเหตุผลด้วยการล่าเพื่อการวิจัยก็ตาม แรงกดดันจากนานาชาติ ทำให้บริษัทประมงขนาดใหญ่สองในห้าแห่งของญี่ปุ่นต้องถอนตัวจากธุรกิจค้าเนื้อวาฬมาตั้งแต่ปี 2006 การบริโภคเนื้อวาฬประเพณีของชาวญี่ปุ่นกำลังถูกต่อต้านจากนานาชาติ อีกทั้งรัฐบาลยังนำเงินภาษีของประชาชนไปชดเชยกิจการการล่าวาฬที่ประสบผลขาดทุนจนไม่สามารถชำระคืนเงินกู้ และที่สำคัญ ผู้เชี่ยวชาญในการล่าและชำแหละวาฬค่อยๆลดจำนวนลงไป โดยคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยมีใครสนใจฝึกหรือเรียนรู้อีกต่อไปแม้กระทั่ง อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นยูกิโอะ ฮาโตยามะ ยังเคยให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2009 ว่า ตัวเองเป็นผู้ไม่ชอบกินเนื้อวาฬ แม้ญี่ปุ่นจะถือว่าเป็นประเทศที่ล่าวาฬเพื่อการกินอย่างเป็นล่ำเป็น สันแต่บนโลกใบนี้ยังมีอีกหลายประเทศที่ยังนิยมล่าวาฬไม่แพ้กัน ดังคำประท้วงของชายชาวญี่ปุ่นคนหนึ่งที่ยืนประท้วงการฉายภาพยนตร์เรื่อง the cove แม้จะเป็นเรื่องของโลมาแต่ถ้อยคำการประท้วงของเขาที่กล่าวว่า ...หยุดเลือกปฏิบัติในการโจมตีญี่ปุ่นได้แล้ว และเขาเองอยากรู้ว่าเหตุใดพวกเขาจึงเป็นเป้าอยู่เพียงฝ่ายเดียว... คำถามและคำตอบนี้ คงต้องหาคนประมวลภาพการล่าวาฬที่พื้นที่ต่างๆของโลกไม่ว่าเป็นเขตยุโรปและเอเชียให้เห็นกันแบบชัดเจนโดยปราศจากข้อกังขาเสียที. จาก ......... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 12 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#19
|
|||
|
|||
ดูเหมือนผู้จัดการฯจะลงรูปผิดนะครับ รูปวาฬหัวทุย (sperm whale) คงลงผิด เพราะเป็นรูปเดียวกับวาฬหัวบาตร(Bowhead whale)เป๊ะเลย
แต่ยังไงก็ต้องขอขอบคุณสาระดีๆที่มีมาให้เสมอครับ |
#20
|
|||
|
|||
ข้อมูลวาฬหัวทุย ลงรูปผิดครับ
|
|
|