#11
|
||||
|
||||
เมื่อขึ้นไปบนเรือวีนัส...ก็เห็นแก้วก้านยาว เรียงไว้อย่างสวยงาม พอคนมาพร้อม ก็มีน้ำมะนาวเย็นๆมาให้รินดื่ม สดชื่น หายร้อนเลยค่ะ เรือแล่นออกจากท่าเรือประมง ล่องออกปากแมน้ำบางนรา สองข้างทางสวยงามด้วยบ้านเรือน และต้นไม้ มองไปข้างหลัง เห็นเขาตันหยงมัส ที่ตั้งพระตำหนักทักษิณ ที่เราเพิ่งจากมา...
__________________
Saaychol |
#12
|
||||
|
||||
เมื่อออกไปพ้นปากแม่น้ำบางนารา...ทะเลเรียบเป็นกระจก น้ำดูจะใสกว่าที่เคยเห็น และไม่มีแมงกะพรุน ลอยให้เห็นสักตัว เรารีบไปเตรียมประกอบอุปกรณ์ และเปลี่ยนมาใส่เสื้อที่ทางเสธ.ไก่อู ให้น้องทหารนำมาแจก และกำชับให้ใส่ แล้วขึ้นมารอการบรี๊ฟถึงเรื่องเรือและการดำน้ำ การบรี๊ฟของ น้องผู้พันสุชาติ...น้องดนัย ฟูตระกูล (จากชมรมคนรักษ์เล) และ น้องณี (ผู้จัดการเรือวีนัส) ตั้งใจฟังบรี๊ฟกันมาก.... การบรี๊ฟเสร็จสิ้นลง...เราเริ่มการพูดจาพาที ถ้อยทีถ้อยอาศัย เป็นการผูกสัมพันธไมตรีที่ดีที่สุด ในระหว่างรอเวลาลงดำน้ำไดฟ์แรก ที่จะเริ่มขึ้นหลังอาหารเที่ยง... ทานอาหารเที่ยงเสร็จ ใกล้เวลาจะลงน้ำ เตรียมทาครีมกันแดดกันหน่อยนะคะ...พอกครีมกันแดดมากไปหรือเปล่าคะ น้องเสธ.ไก่อู....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 01-09-2012 เมื่อ 23:04 |
#13
|
||||
|
||||
พี่จ๋อมเมาเครื่องบินหรือเปล่าครับ
|
#14
|
||||
|
||||
อ้างอิง:
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#15
|
||||
|
||||
น่าชื่นชมพี่น้อยพี่จ๋อมที่สุดค่ะ ทำงานเพื่อทะเลและทำงานเพื่อชาติด้วย
แอบอิจฉาเล็กๆ ที่ได้ทำงานใหญ่ ...อยากไปแอบในกระเป๋าดำน้ำของพี่น้อยด้วย จะได้ไปดำน้ำด้วยค่ะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#16
|
||||
|
||||
หนูติ่งจ๋า...อย่าอิจฉาเลยจ้ะ นานๆจะได้ไปรับใช้ชาติ ผ่านทางกองทัพบกสักครั้งหนึ่งค่ะ เพราะงานดำน้ำของทหารบกไม่ค่อยมีให้ทำมากนัก ที่เป็นงานของหน่วยราชการอื่นๆนอกจากนี้ เขาก็มีงานดำน้ำทำกันอยู่เป็นประจำ แต่ส่วนมากจะมีพวกพ้อง เส้นสาย หรือกลุ่มก๊วนในสังกัดให้เรียกระดมพลได้สะดวกอยู่แล้ว... ว่างเมื่อไร...ก็แจ้งไปนะจ๊ะ เผื่อจะมีจังหวะตรงกัน ได้ไปดำน้ำรับใช้ชาติด้วยกันบ้างจ้ะ..
__________________
Saaychol |
#17
|
||||
|
||||
ในระหว่างนั่งรอเวลาดำน้ำ...สายชลนึกย้อนรำลึกถึงที่ไปที่มาของ "โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนร าธิวาส" ซึ่งเริ่มต้น จากการที่ชาวประมงพื้นบ้าน แห่ง บ้านละเวง อำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานความช่วยเหลือ จาก สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ให้ทรงพิจารณาช่วยฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำใต้ท้องทะเล ที่ลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุสำคัญที่ปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลงนั้น เกิดมาจากการทำประมงอย่างผิดวิธี กล่าวคือ มีการใช้เครื่องมือ ประเภท อวนลาก และอวนรุน ที่ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ แหล่งที่อยู่อาศัย และแหล่งหลบภัยตามธรรมชาติของสัตว์น้ำวัยอ่อน ส่งผลให้ระบบนิเวศสัตว์น้ำเกิดความเสื่อมโทรม จำนวนสัตว์น้ำลดลง ประชาชนที่ประกอบอาชีพประมง ต้องประสบปัญหารายได้ลดลงตามไปด้วย ทำให้เดือดร้อนกันไปทั่ว.. โครงการดังกล่าว จึงถูกตั้งขึ้นมา โดยมีเป้าหมายที่จะฟื้นฟูระบบนิเวศสัตว์ น้ำ โดยการจัดสร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเลหรือปะการังเทียม ซึ่งจะใช้วัสดุจำพวกคอนกรีต ท่อระบายน้ำ ซากเรือ หรือวัสดุขนาดใหญ่ที่ไม่ใช้งานแล้ว เพื่อเป็นที่อาศัยของสัตว์น้ำชายฝั่ง เมื่อจำนวนสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นก็จะทำให้มีแหล่งการทำการประมง ของชาวประมงขนาดเล็กเพิ่มขึ้น ในปี 2545-2547...กรมประมงได้รับความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน รวมทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย ที่ได้มอบตู้รถไฟเก่าจำนวนรวม 608 ตู้ มาวางในทะเลเขตจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ซึ่งส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลบริเวณตู้รถไฟ เพิ่มปริมาณขึ้นมากมาย
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 04-09-2012 เมื่อ 12:40 |
#18
|
||||
|
||||
เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552...ในโอกาสที่คณะบุคคลต่างๆ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสใจความว่า
"ปีนี้ ประมงพื้นบ้านตั้งแต่ปัตตานีจนถึงนราธิวาสหลายร้อยคน เขียนจดหมายถึงข้าพเจ้า แล้วก็เซ็นชื่อเป็นบัญชีหางว่าวเลย ขอให้ข้าพเจ้าช่วยจัดทำปะการังเทียมเพิ่มเติมขึ้นอีก แล้วตอนนี้ใครจะช่วยข้าพเจ้า ตอนนี้จะเอาอะไรไปทิ้งให้ปลามันอยู่ ข้าพเจ้าจึงนำมาเล่าให้ท่านทั้งหลายฟังว่า ปะการังเทียมนั้นใช้ได้ผลจริงๆ น่าภูมิใจแทนหน่วยงานทั้งหลาย ที่ช่วยเหลือประชาชนประสบผลสำเร็จ และข้าพเจ้าก็เลยขอถือโอกาสนี้ ส่งข่าวถึงกลุ่มประมงพื้นบ้าน ที่เขาเขียนจดหมายถึงข้าพเจ้าขอปะการังเทียมเพิ่มเติมด้วยว่า ข้าพเจ้าจะพยายามขอร้องให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทุกแห่งช่วยกันประสานงาน เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอ ก็คงจะเริ่มจัดสร้างพื้นที่บริเวณปะการังเทียมได้อีก เพื่อประชาชนจะได้ไปตกปลา ไปทำมาหากินได้เพิ่ม" จากพระราชเสาวนีย์ดังกล่าวข้างต้น และเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 78 พระชนมพรรษา ในปี 2553 กรมประมงจึงได้สานต่อ “โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส” ขึ้นอีกครั้ง เป็นการนำวัสดุที่ไม่ใช้งานหรือปลดประจำการกลับมาใช้ ประโยชน์อีกครั้ง เพื่อจัดสร้างเป็นที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเล ทางกรมประมง จึงได้พิจารณานำวัสดุเหลือใช้ที่ได้รับการบริจาคมา คือ รถถัง 25 คัน รุ่น 30 T 69-2 จากทางกองทัพบก...ตู้รถสินค้า จำนวน 273 ตู้ จากกระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย...รถยนต์เก็บขยะมูลฝอย จำนวน 198 คัน จากกรุงเทพมหานคร...และ รถยนต์ 3 คัน จากกองทัพไทย รวมรถทั้งสิ้น 499 คัน เพื่อทำเป็นปะการังเทียม และแนวกันคลื่น สำหรับเหตุผลที่กองทัพบก ได้ส่งมอบรถถังให้กรมปะมงนำไปใช้ทำปะการังเทียมนั้น สรุปความได้ว่า.... กองทัพบก ซึ่งมีรถถังขนาดกลาง รุ่น 30 T 69-2 จำนวน 25 คัน ที่เคยใช้งานอยู่แถบชายแดนประเทศไทย ซึ่งเป็นรถถังที่ผลิตขึ้นในประเทศจีน และถูกนำมาประจำการที่กองพันทหารม้า ที่ 16 จังหวัดนครศรีธรรมราช กองทัพบกไทย ตั้งแต่เมื่อปี 2530 ก่อนที่เสื่อมสภาพและถูกนำมาซ่อมบำรุงที่ กรซย.ศซส.สพ.ทบ. เมื่อปี 2547 แต่ไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้ เนื่องจากประเมินความเสียหายแล้วเกิน 60% และไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม ทางกองทัพบกได้พิจารณาแล้วว่า หากนำรถถังไปพัฒนาฟื้นฟูทะเล จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความสมบูรณ์ของท้องทะเลมากกว่าอย่างอื่น จึงได้ประสานงานกับกรมประมง เพื่อนำรถถังทั้ง 25 คัน ไปทิ้งลงทะเลเพื่อเป็นปะการังเทียมที่ทะเลหน้าเมืองนราธิวาส แผนงานครั้งนี้ ต้องใช้เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ 2 ลำ ขนรถทั้งหมดที่ได้รับบริจาคไปทิ้ง โดยใช้เครนยกรถทั้งหลาย ลงเรือโป๊ะบรรทุก ซึ่งเป็นเรือท้องแบนที่ใช้ขนของหนัก (Barge) ที่จอดรออยู่บริเวณท่าเรือคลองเตย ตั้งแต่วันที่ 30 กรกฎาคม 2553 เพื่อเดินทางไปจังวัดนราธิวาสและปัตตานี เมื่อไปถึงจุดหมายปลายทาง...รถแบ๊กโฮก็ดันรถทั้งหลาย (ยกเว้นรถถัง) ลงทะเล ณ จุดที่กำหนดวางลงทะเล 15 จุด ทั้งที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส คือในวันที่ 3 สิงหาคม 2553 กำหนดจัดวางวัสดุในพื้นที่อำเภอปะนาเระ สายบุรี และอำเภอไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และในวันที่ 9 สิงหาคม 2553 กำหนดวางรถถังทั้ง 25 คัน บริเวณ อำเภอเมือง และอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ขอบคุณข้อมูลจาก...http://www.nicaonline.com และ http://www.thaipost.net
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 04-09-2012 เมื่อ 12:47 |
#19
|
||||
|
||||
ถึงเวลาดำน้ำแล้วค่ะ... ในวันแรก..เราดำน้ำได้เพียงสองไดฟ์ คือไดฟ์แรกที่บริเวณรถถังปะการังเทียม และอีกไดฟ์หนึ่งที่บริเวณ รถขยะปะการังเทียม ส่วนในวันที่สอง..เราลงดำน้ำสามไดฟ์ สองไดฟ์แรก ที่รถถังปะการังเทียม และไดฟ์ที่สาม ที่ตู้รถไฟปะการังเทียม และในวันสุดท้าย ที่เรามีเวลาดำน้ำเพียงไดฟ์แดียวนั้น เราลงดำน้ำซ้ำอีกครั้ง ที่รถถังปะการังเทียม... รวมเป็นการดำน้ำทั้งหมด 6 ไดฟ์ เป็นการลงดำน้ำที่รถถังปะการังเทียม มากที่สุด คือ 4 ไดฟ์ และที่ รถขยะปะการังเทียม และ ตู้รถไฟปะการังเทียม ที่ละเพียงหนึ่งไดฟ์เท่านั้น เป็นไปตามวัตถุประสงค์หลักของการมาสำรวจปะการังเทียมครั้งนี้ ที่ต้องการเน้นหนักการสำรวจรถถังปะการังเทียม ซึ่งทางกองทัพบก ได้ส่งมอบและร่วมดำเนินการวางลงในทะเล มาตั้งแต่เมื่อสองปีที่ผ่านมา..
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-09-2012 เมื่อ 20:19 |
#20
|
||||
|
||||
รถถังปะการังเทียม
รถถังขนาดกลาง รุ่น 30 T 69-2 จำนวน 25 คัน ที่ได้ถูกนำมาวางในทะเลอ่าวไทย เขตตำบลกะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 นั้น ได้รับการวางแผน ให้วางเรียงกันเป็นวงกลม โดยมีรถถังหมายเลข 12 ซึ่งตรงกับวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินาถ เป็นรถถังคันแรก ที่ถูกวางลงไป แต่ในการปฏิบัติการจริง การนำรถถัง ลงสู่พื้นทรายเบื้องล่าง โดยการใช้รถแบ๊กโฮดันรถถังลงทะเล ตรงบริเวณพิกัดที่กำหนด ไม่ได้ง่ายเหมือนที่คิด เพราะเมื่อไปกระทบน้ำแล้ว เกิดมีการแฉลบและเจอแรงต้านจากน้ำเข้า รถถังทั้ง 25 คัน ก็ลงไปกองอยู่บนพื้น ในลักษณะที่น้องแก่น (Kaenscuba) ได้ทำแผนภูมิไว้ดังข้างล่างนี้...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 02-09-2012 เมื่อ 23:55 |
|
|