|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#11
|
||||
|
||||
ที่ยอดหินกองชุมพร...ปลาหูช้าง หรือปลาค้างคาว (Batfish) สองสามตัวว่ายไปว่ายมา
ฝูงปลาหูช้างที่มีเป็นสิบๆตัว หดหายไปไหนกันเกือบหมดนะ...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2013 เมื่อ 23:37 |
#12
|
||||
|
||||
หินวง จากกองชุมพร...เรือแล่นสู่เกาะเต่าด้านตะวันออก เป้าหมายคือ "หินวง" จุดดำน้ำที่สวยงามแห่งหนึ่งของเกาะเต่า ใกล้เที่ยง...เรากระโดดลงท้ายเรือที่ผูกติดกับเชือกทุ่น ที่โยงลงไปผูกไว้กับโพรงหินใต้น้ำของหินวง น้ำใสและไร้กระแส ทำให้เราทิ้งตัวลงสู่เบื้องล่างได้โดยไม่ต้องอาศัยสายทุ่น บนยอดหินทั่วบริเวณปกคลุมไปด้วยแส้ทะเลและหวีทะทะเลสีแดงสด...น่าเสียดาย ที่มีตะกอนจับอยู่เต็ม ทำให้ความงามลดน้อยไปมาก... น้ำใสๆ...ทำให้ที่นี่ดูสดใสกว่าเคย... เราเห็นท้องเรือ ที่จอดนิ่งอยู่ที่ผิวน้ำได้ชัดเจน งามดีค่ะ...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2013 เมื่อ 23:42 |
#13
|
||||
|
||||
ความงามของ แส้ทะเลสีแดง (Red Sea Whip) และ หวีทะเล (Sea Comb) ทั้งสีแดงและสีขาว.....คือ จุดเด่นของที่นี่..
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2013 เมื่อ 23:45 |
#14
|
||||
|
||||
ปะการังอ่อนสีหวานๆ มีเพิ่มมากขึ้นกว่าปีที่แล้ว... บนยอดหินใกล้ๆกับสายทุ่น มีเพรียงหัวหอมเขียว (Green sea squirt, Didemnum molle) ขึ้นอยู่เป็นดง ไม่ค่อยเห็นเพรียงหัวหอมอยู่กันมากๆอย่างนี้ ในที่อื่นๆค่ะ...เห็นแล้วชอบใจมาก
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2013 เมื่อ 23:47 |
#15
|
||||
|
||||
มีปลาที่ว่ายแบบหัวทิ่มหัวตำมาให้ชื่นชมด้วย... มองไปมองมา...เหมือนปลาใบมีดโกน หรือปลาข้างใส ว่ายกันอยู่ทั่วไปในบริเวณดงแส้ทะเล... น่ารักดีค่ะ... เท่าที่เห็น...ปลาใบมีดโกน ที่เห็นเป็นพันธุ์ที่เรียกว่า Centiscus scutatus ที่ตัวแบนๆ ลายตามยาวกลางลำตัวมีสีแดงหรือน้ำตาล ก้านครีบแรกที่คล้ายหนามพุ่งตรงออกจากตัว ว่ายคล่องแคล่ว ฝรั่งจะเรียกว่า Rigid Shrimpfish แทนที่จะเรียก Razorfish ส่วนภาษาไทย น่าจะเรียกว่า ปลาข้างใสแถบน้ำตาล ซึ่งต่างจากอีกพันธุ์หนึ่ง ที่เรียกว่า Aeoliscus stringatus ซึ่งตัวเพรียวกว่า สีเงินลายกลางลำตัวจากหัวถึงหางสีน้ำตาลไปจนถึงดำ ตัวแบน ก้านครีบอันแรกยื่นออกไปคล้ายหนาม ที่หางชี้ทำมุมจากตัว สามารถพับขึ้นได้ ซึ่งฝรั่งจะเรียกพันธ์นี้ว่า Razorfish ซึ่งจะหาชมได้ง่ายกว่าแบบแรก โดยเฉพาะในแถบทะเลอันดามัน แสดงว่าเราโชคดีมากนะคะ ที่ได้เห็นปลา Rigid Shrimpfish
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2013 เมื่อ 23:52 |
#16
|
||||
|
||||
ปลาที่กินตะไคร่หรือสาหร่ายเป็นอาหาร มาชุมนุมอยู่ที่นี่เพื่อกินสาหร่ายหรือตะไคร่ ที่ติดอยู่ตามแส้ทะเลและกัลปังหา
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 20-01-2013 เมื่อ 23:59 |
#17
|
||||
|
||||
เราลงดำน้ำที่นี่สองไดฟ์.... บนพื้นทราย..มีเศษอวนและเศษลอบจับปลา ให้เราเก็บพอสมควร...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-01-2013 เมื่อ 00:02 |
#18
|
||||
|
||||
ส่วนร่องรอยอย่างนี้ เราไม่แน่ใจว่าเป็นฤทธิ์ของสมอเรือ หรืออะไรกันแน่....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-01-2013 เมื่อ 00:03 |
#19
|
||||
|
||||
ตามปะการังแส้เส้นยาวๆทั้งสีขาวและสีแดง ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นมีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด สองในหลายๆชนิดนั้น คือ กุ้งตัวยาว (Sawblade Shrimp) ที่มีให้เห็นอยู่หลายตัว แต่บางตัวไม่ค่อยให้ความร่วมมือในการเป็นนายแบบเลยค่ะ เจ้ากุ้งตัวนี้เดินไม่ยอมหยุด... เห็นไข่เต็มท้องน้องกุ้ง...อีกไม่นานคงออกลูกออกหลานให้ออกมาแพร่พันธุ์ในทะเล (ถ้าไม่ถูกสัตว์อื่นกินไปเสียก่อน)
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-01-2013 เมื่อ 00:06 |
#20
|
||||
|
||||
ปลาบู่แส้ทะเล (Sea Whip Goby) ตัวจิ๋ว กระโดดโลดเต้นอยู่บนกิ่งแส้ทะเล กว่าจะได้ภาพนี้มาได้...เล่นเอาลุ้นจนเหนื่อย... ไม่แน่ใจว่าปลาตัวล่าง กำลังมีไข่เต็มท้องอยู่หรือไม่นะคะ...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-01-2013 เมื่อ 00:09 |
|
|