|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#11
|
||||
|
||||
หอยงวงช้างกระดาษเหมือนจะอยู่น้ำลึกนะครับ ข้อมูลผมไม่แน่นเท่าไหร่
เหมือนจะเคยเห็น paper ของที่ waikiki aquarium ฮาวาย เขาจะเพาะได้แล้วนะครับ แต่เหมือนเป็นการทดลองครับ ไม่แน่ใจ ส่วนหอยงวงช้างปกติ Nautilus pompilius รู้สึกเขาจะเพาะได้เป็นล่ำเป็นสันแต่ก็ยังพึ่งพ่อแม่พันธุ์จากธรรมชาติอยู่ครับ มีการปล่อยคืนธรรมชาติหรือไม่ อันนี้ไม่ได้ตามข่าวครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#12
|
|||
|
|||
ขอช่วยตอบคำถามนะครับของพี่สายชลนะครับ
1.แหล่งที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษ เท่าที่พบในน่านน้ำไทย ขณะนี้พบเฉพาะฝั่งอันดามันครับ (แต่ review จากเอกสารบอกว่ามีการแพร่กระจายทั้งสองฝั่ง) ที่พบมาก ๆ ก็ในแถบจังหวัดระนอง พังงา ภูเก็ต ครับ แถบจังหวัดกระบี่มีนิดหน่อยแต่ไม่มาก ถ้าต่ำลงไปจะเลยจังหวัดสตูลเข้าไปในเขตมาเลเซียนู่นเลยครับ และจากการรวบรวมตัวอย่างที่ได้จะติดมากับอวนล้อมครับ ถ้าเราลองพิจารณาการทำประมงอวนล้อม จะพบว่าลักษณะของเนื้ออวนของอวนล้อมจะไม่ลงไปถึงหน้าดิน นั่นแสดงว่าหอยงวงช้างกระดาษมีการว่ายน้ำหรืออาศัยอยู่ในมวลน้ำ โดยเฉพาะในเวลากลางคืนครับ (ทำประมงอวนล้อมในเวลากลางคืน) ส่วนเวลากลางวัน ก็สัณนิษฐานว่า หอยงวงช้างกระดาษน่าจะลงไปในระดับลึก ๆ เช่นเดียวกับหอยงวงช้าง (chambered nautilus) ครับ ส่วนคุณภาพน้ำบริเวณที่อยู่อาศัยของหอยงวงช้างกระดาษจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีน้ำใสไม่มีตะกอน เช่นเดี่ยวกับปลาหมึกกล่มอื่น ๆ ครับ โดยจากข้อมูลที่ผมมีและสอบถามจากพี่ ๆ เรืออวนล้อมพบว่า ความลึกที่พบบ่อย ๆ เป็นระดับความลึกที่ไม่ต่ำกว่า 80 เมตร แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะจับหอยงวงช้างกระดาษที่ระดับ 80 เมตร เท่านั่้นนะครับ เพราะหอยงวงช้างจะว่ายขึ้นมาบางครั้งอาจพบที่ใกล้กับผิวน้ำด้วย ทั้งนี้ต้องห่างฝั่งออกไปหน่อยครับ (ไม่ต่ำกว่า 20 ไมล์ทะเลโดยประมาณ) 2. หอยงวงช้างกระดาษเฉพาะเพศเมียเท่านั้นครับที่สร้างเปลือก ส่วนเพศผู้จะมีลักษณะรูปร่างหน้าตาคล้ายกับหมึกสายตัวเล็ก ๆ ครับ แต่ที่น่าสนใจก็คือหนวดที่ใช้สืบพันธุ์ของหอยงวงช้างกระดาษเพศผู้นี่แหละครับที่ต่างจากปลาหมึกกล่มอื่น ๆ เนื่องจากมันจะยาวกว่าหนวดเส้นอื่น ๆ แล้วเวลาผสมพันธุ์ไอ้เจ้าหนวดเส้นนี้ก็จะขาดและตกอยู่ในช่วงแมนเติลของเพศเมีย (นักวิทยาศาสตร์ในสมัยก่อนเข้าใจผิดคิดว่ามันคือ parasite เลยตั้งชื่อให้มันว่า Hectocotylus octopodis ซึ่งแปลว่า หนอนที่มีปุ่มดูดจำนวนมาก แต่ในความเป็นจริงมันคือหนวดนั่นเองครับที่อยู่ในช่องตัว ไม่ใช่ parasite) และที่ตัวเมียสร้างเปลือกมันจะเคลื่อนที่หรือเคลื่อนไหวเชื่องช้าหรือเป็นอุปสรรคต่อการเคลื่อนที่ไหม จากการลองนำมาเลื้ยงในห้องปฏิบัติการพบว่าไม่มีปัญหาครับ มันยังคงเคลื่อนที่ได้อย่างคล่องแคล่วว่องไว แถมยังจับปลาที่ว่ายน้ำกินเป็นอาหารได้อีกด้วย) 3. คำถามที่ถามว่าหอยงวงช้างกระดาษที่ตายแล้วไข่ของมันยังสามารถนำมาฟักได้อีกหรือเปล่า อันนี้ต้องดูด้วยว่ามันตายนานหรือยัง ซึ่งจริง ๆ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ไข่ฟักหรือไม่ฟักด้วยครับ เพราะผมเคยเอาไข่ของหอยงวงช้างกระดาษมาฟักโดยนำแม่หอยงวงช้างที่จับได้มาแยกเอาไข่ออก (เมื่อแยกไข่กับแม่ออก ส่วนใหญ่แม่ก็จะตายครับ เพราะตัวของแม่จะปิดช่องเปิดของเปลือกเอาไว้ถ้าจะเอาไข่ก็ต้องดึงแม่ออก มา โดยปกติแม่ก็จะไม่ยอมออกมาง่าย ๆ จนตัวตายหรือบอบช้ำสุด ๆ ถึงยอมออกจากเปลือกครับ ฟังดูแล้วทารุณน่าดู) เมื่อเอาไข่มาลองฟักดูก็สามารถฟักออกมาเป็นตัวได้ครับ แต่ต้องดูเรื่องระบบน้ำ ระบบอากาศให้ดีครับ เพราะส่วนใหญ่หากดูแลไม่ดีไข่ก็จะเน่าเสีย จนไม่สามารถฟักออกเป็นตัวได้ครับ หากมีคำถามอื่นที่สามารถตอบได้ยินดีมากเลยครับ สุดท้ายขอบคุณพี่จินด้วยครับ |
#13
|
||||
|
||||
ขอโทษครับอาจจะไม่เหมาะสมที่จะถามต่อ แต่ผมอยากรู้ครับ
การเลี้ยงหอยงวงช้างกระดาษนี่ มีความต้องการเช่นเดียวกับ หอยงวงช้าง มั๊ยครับ ทั้ง อาหาร คุณภาพน้ำ และสภาพแวดล้อม การฟักไข่หอยงวงช้างนั้น หากเป็นคุณภาพน้ำระดับเดียวกันกับที่เลี้ยงตัวเต็มวัยปกติได้จะสามารถฟักได้หรือไม่ หรือต้องการปัจจัยอื่นที่แตกต่างไปครับ ผมเองเลี้ยงหอยงวงช้าง แล้วรู้สึกว่าจริงๆไม่ยากอย่างที่คิดเพียงแต่ต้องการเอาใจใส่ในเรื่องคุณภาพน้ำมากสักหน่อย แต่ยังไม่เคยเลี้ยงจนกระทั่งมีไข่หรือผสมในที่เลี้ยงได้เลย ไม่ได้คิดจะเลี้ยงหอยงวงช้างกระดาษนะครับ แค่เท่าทุกวันนี้ก็จะแย่แล้ว อยากทราบข้อมูลไว้ประดับความรู้ครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#14
|
||||
|
||||
อู้ววววว.....ดีใจมากๆต่ะ ที่มีผู้เชี่ยวชาญมาช่วยให้ความรู้....
ขอบคุณมากๆค่ะ...น้องจิน....น้องหอยกะทิ....และขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับน้องใหม่ของเรา น้อง Sukhsangchan ซึ่งให้คำตอบที่ชัดเจนแจ่มชัดมากๆค่ะ... ถ้ามีการแพร่พันธุ์ของหอยงวงช้างทั้งสองชนิดได้ จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆเลยค่ะ ขอเป็นกำลังใจให้ผู้เพาะพันธุ์ทุกท่านนะคะ ขอถามต่อด้วยเรื่องหมึกที่ค้นพบอีกนิดนะคะ.... สองสายดำน้ำที่เกาะสากมาหลายไดฟ์ในยี่สิบกว่าปีที่ผ่านมา....ยังไม่เคยเห็น Mimic Octopus เลยค่ะ อยากทราบว่า ไปพบ Mimic Octopus ที่เกาะสาก บริเวณไหนคะ เผื่อเราจะไปลองหาดูบ้างค่ะ...
__________________
Saaychol |
#15
|
||||
|
||||
รวดเร็วทันใจวัยรุ่นมากเลยค่ะ ขอบคุณมากๆ เลยนะคะ ดร.จรวย
ดีใจค่ะ ที่มีผู้เชี่ยวชาญกรุณาสละเวลามาให้ความรู้แก่พวกเรา |
#16
|
|||
|
|||
sukhsangchan
mimic octopus ตอนนี้ที่ภาควิชาฯ มีตัวอย่างแล้วครับ โชคดีที่นิสิตเขาเก็บตัวอย่างมาให้ (ที่บ้านมีเรือประมง) เลยเอามาเลี้ยงที่ภาควิชาอยู่พักนึง ก็เลยได้ทั้งภาพนิ่งและวีดีโอไว้เยอะเลย อีกสักพักคงได้พิมพ์เผยแพร่ในบทความครับ (ที่น่าเสียดายคือมันขึ้นสวรรค์ไปแล้ว)
|
#17
|
|||
|
|||
บ้านเรา...ช่างดีจริงๆ มีหลายอย่างให้น่าจดจำ... ทั้งความรู้และผู้คน ขอบคุณคะพี่ๆน้องๆ sos
__________________
คิดดี ทำดี ชีวีเป็นสุข |
#18
|
|||
|
|||
อัดแน่นด้วยความรู้ ดีมาก ๆ เลยค่ะ
ขอบคุณค่ะ |
#19
|
||||
|
||||
น่าเสียดายจริงๆค่ะที่เจ้า Mimic Octopus ตัวแรกที่ได้เห็นในไทยได้ไปเฝ้าพระอินทร์ซะแล้ว ขอบคุณน้อง Sukhsangchan มากๆค่ะ สำหรับข้อมูลและความรู้ที่ให้กับเราค่ะ ว่างๆขอเรียนเชิญมาให้ความรู้กับเราอีกนะคะ สองสายไปดำน้ำที่ Puerto Galera และ Anilao ประเทศ Philippines มีภาพเจ้า Mimic Octopus มาฝากไว้ในกระทู้ "เรื่องเล่าชาวทะเล" ของเราอยู่หลายภาพเหมือนกัน จึงขอนำมาลงที่นี่ไว้ให้ดูเล่นด้วยนะคะ เขาแปลงตัวเป็นสัตว์อื่นๆได้อย่างรวดเร็ว อย่างน่ามหัศจรรย์เลยล่ะค่ะ ทำตัวเหมือนปลาดาว....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 14-10-2010 เมื่อ 09:56 |
#20
|
||||
|
||||
แปลงตัวเป็นปลาลิ้นหมา... หรือเหมือนหมึกยักษ์ธรรมดาๆ หรือเปลี่ยนสี จากขาวดำเป็นสีน้ำตาลอ่อนแก่ จนไม่แน่ใจว่าใช่ Mimic Octopus หรือไม่...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 14-10-2010 เมื่อ 09:57 |
|
|