#11
|
||||
|
||||
งานสร้างปะการังเทียมเข้าเป้า ฟื้นฟูประมงอ่าวไทย-อันดามัน นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปี 2552 กรมประมงได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดสร้างปะการังเทียม 20 แห่งจำนวน 77 ล้านบาท แบ่งเป็นแหล่งการจัดสร้างในพื้นที่ขนาดเล็ก 19 แห่ง ในพื้นที่ จ.ตราด จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยฝั่งอ่าวไทยคงเหลือเพียงที่ จ.ตราด และ จันทบุรี ส่วนฝั่งอันดามันเหลือ จ.สตูล กระบี่ ตรัง ซึ่งต้องรอให้มรสุมหยุดก่อน โดยคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จไม่เกิดเดือนมกราคมปีหน้า "จากผลการจัดสร้างปะการังเทียมที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2552 มีการสร้างปะการังเทียมทั้งหมด 362 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ 2,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ยังผลให้บริเวณที่ไปจัดสร้างปะการังเทียม มีจำนวนทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ขึ้น สัตว์น้ำบางชนิดที่หายากก็กลับมีการพบเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่ ปลาช่อนทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาจะละเม็ดเทา ปลาดุกทะเล และปลาตะลุมพุก" นายธีระกล่าวอีกว่า สำหรับปี 2553 ได้มอบหมายให้กรมประมงจัดสร้างปะการังเทียมขนาดเล็ก 23 แห่ง โดยจะจัดวางใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 14 แห่ง นอกจากนี้ยังเร่งการจัดสร้างปะการังเทียมแก่ชาวประมงพื้นบ้านใน จ.ปัตตานี และ นราธิวาส ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ซึ่งได้ขอความร่วมมือไปยังกระทรวงคมนาคมและกรุงเทพมหานคร เพื่อขอรับการสนับสนุนตู้รถไฟเก่า และรถขนขยะที่ไม่ใช้งานแล้ว มาจัดทำปะการังเทียมดังกล่าว จาก : ข่าว อสมท. MCOT News วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 10-11-2009 เมื่อ 08:43 |
#12
|
||||
|
||||
วางปะการังเทียมฟื้นฟูทะเลไทย กรมประมงสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ดึงชาวประมง ชุมชนมีส่วนร่วมวางปะการังเทียม ขยายพันธุ์สัตว์น้ำ ฟื้นฟูทะเลไทยให้กลับมาสมบูรณ์ พร้อมปลูกจิตสำนึกให้ชาวประมง เยาวชน และประชาชน ช่วยอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำอยู่คู่ท้องทะเลไทยสืบไป นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีเปิดการจัดวางปะการังเทียม ที่ จ.ระยอง ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยพสกนิกร ซึ่งเป็นชาวประมงขนาดเล็กที่ยากจน ขาดแหล่งทำการประมง ทำให้มีรายได้น้อย ตามที่มีพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2552 ซึ่งผลจากการสร้างปะการังเทียม ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กมีแหล่งทำการประมงชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องออกทำการประมงไกลฝั่ง ลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งเป็นการลดต้นทุนในการประกอบอาชีพได้ อีกทั้งเป็นแนวป้องกันการทำลายสัตว์น้ำขนาดเล็ก และสภาพแวดล้อมจากการทำการประมงด้วยเครื่องมืออวนลากและอวนรุนได้ด้วย การจัดสร้างปะการังเทียม ในพื้นที่ จ.ระยอง นั้น เป็นการสร้างในพื้นที่ขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 21.6 ตารางกิโลเมตร ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 2 แปลง คือ ทางทิศตะวันออกของเกาะเสม็ด และหน้าหาดแม่รำพึงห่างจากฝั่งประมาณ 7-14 เมตร น้ำลึก 12-18 เมตร ใช้วัสดุแท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์แบบโปร่ง ขนาด 1.5x1.5x1.5 เมตร จำนวนทั้งสิ้น 3,681 แท่ง คาดว่าจะสามารถจัดวางแท่งปะการังเทียมในทะเลได้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2552 นี้ จาก : คม ชัด ลึก วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#13
|
||||
|
||||
ทุ่ม 77 ล้านสร้างปะการังเทียม นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานในพิธีเปิดการจัดวางปะการังเทียมว่า ในปี 2552 กรมประมงได้รับจัดสรรงบประมาณสำหรับจัดสร้างปะการังเทียม 20 แห่งจำนวน 77 ล้านบาท แบ่งเป็นแหล่งการจัดสร้างในพื้นที่ขนาดเล็ก จำนวน 19 แห่ง อยู่ในพื้นที่จังหวัดตราด จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง กระบี่ ปัตตานี นราธิวาส สงขลา และสตูล ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในขณะที่ฝั่งอ่าวไทยยังคงเหลือเพียงที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ส่วนสตูล กระบี่ ตรัง ฝั่งทะเลอันดามัน ที่ต้องรอ ให้มรสุมหยุดก่อน ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการ จัดวางได้แล้วเสร็จไม่เกินมกราคมปีหน้าส่วนอีก 1 แห่ง เป็นแหล่งการจัดสร้าง ในพื้นที่ขนาดใหญ่ ก็คือ การจัดงานในครั้งนี้ที่จังหวัดระยอง เป็นการจัดสร้างปะการังเทียม จำนวน 3,681 แท่ง ครอบคลุมพื้นที่ 21.6 ตารางกิโลเมตร ใช้ งบประมาณ 20 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 2 แปลง คือทางทิศตะวันออกของเกาะเสม็ด และหน้าหาดแม่รำพึง ห่างจาก ฝั่งประมาณ 7-14 เมตร น้ำลึก 12-18 เมตร ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดวางแท่งปะการังเทียมในทะเลได้แล้วเสร็จภาย ในเดือนพฤศจิกายนนี้ หลังจากนั้นชาว ประมงในพื้นที่และบริเวณใกล้เคียงจึงสามารถเข้าไปใช้ประโยชน์ได้ จากผลการจัดสร้างปะการังเทียม ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2528 จนถึงปี 2552 มีการจัดสร้างปะการังเทียมทั้งหมด 362 แห่ง ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 2,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามันยังผลให้บริเวณที่ไปจัดสร้างปะการังเทียม มีจำนวนทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ขึ้น สัตว์น้ำบางชนิดที่หายากก็กลับมีการพบเพิ่มมากขึ้น เช่น ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่ ปลาช่อนทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาจะละเม็ดเทา ปลา ดุกทะเล และปลาตะลุมพุก ซึ่งเป็นประโยชน์แก่ชาวประมงไม่ว่าจะสามารถ จับสัตว์น้ำได้มากขึ้น ช่วยประหยัดค่าน้ำมันได้มากขึ้น เพราะไม่ต้องออกทะเลไปไกล ทำให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ในปี 2553 ได้มอบหมายให้กรมประมงจัดสร้างปะการังเทียมอีก 23 แห่ง เป็นปะการังเทียมขนาดเล็กทั้งหมด โดย มีแผนจัดวางใน 4 จังหวัดชายแดนภาค ใต้ รวม 14 แห่ง นอกจากนี้ ยังได้ เร่งให้มีการจัดสร้างปะการังเทียม แก่ชาวประมงพื้นบ้านในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส โดยใช้วัสดุเหลือใช้ ได้แก่ ตู้รถไฟ และรถขนขยะ ตามพระราช เสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ จาก : เดลินิวส์ วันที่ 12 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#14
|
||||
|
||||
ปะการังเทียม..ฟื้นฟูทะเลไทย ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ในประเทศไทยถูกคุกคามและถูกทำลาย จากการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่สำคัญ ๆ อย่างการทำประมงแบบผิดกฎหมายเช่น การระเบิดปลา การทำประมงอวนลากในบริเวณแนวปะการัง การเบื่อปลาในแนวปะการังด้วยสารไซยาไนด์ ทำให้ปะการังตาย มีผลให้แหล่งหญ้าทะเลและป่าชายเลนเกิดการเปลี่ยนแปลง ผลจากการกระทำเหล่านี้เองทำให้สัตว์น้ำและสัตว์ทะเลไม่มีที่อยู่อาศัย ไม่มีอาหาร นับวันจำนวนประชากรของสัตว์จึงลดลงอย่างน่า ใจหาย การจัดสร้างแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล หรือปะการังเทียม จึงเป็นอีกหนึ่งหนทาง ที่จะช่วยให้ระบบนิเวศฟื้นฟูเร็วที่สุดและช่วยเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำ สร้างแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยเฉพาะปะการังเทียม หากวางไว้บริเวณชายฝั่งนั้น มีประโยชน์อย่างยิ่งในการ อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำขนาดเล็กมิให้ถูกนำไปใช้ก่อนถึงเวลาที่เหมาะสมและ สามารถดึงดูดสัตว์น้ำนานาชนิดให้เข้ามาอยู่อาศัยหาอาหาร สืบพันธุ์ รวมไปถึงพัฒนาเป็นแหล่งประมงสำหรับการทำประมงขนาดเล็กและเชิงพาณิชย์ได้ ผลจากการสร้างปะการังเทียม ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กมีแหล่งทำการประมงชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพราะไม่ต้องออกไปทำการประมงไกล ลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิง มีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินมากยิ่งขึ้น เนื่องจากทำการประมงใกล้ชายฝั่ง ไม่ต้องออกไปไกล สามารถลดข้อขัดแย้งระหว่างชาวประมงในพื้นที่กับประมงแบบอวนลากและอวนรุนได้ มากขึ้น เพราะมีการช่วยกันดูแลทรัพยากรธรรมชาติร่วมกันของชาวประมงในท้องถิ่น นอกจากนั้นแล้ว จากการดูแลสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นให้มีความอุดมสมบูรณ์ขึ้นแล้วนั้น ส่งผลทำให้สามารถมีรายได้เพิ่มจากการทำเป็นแหล่ง ท่องเที่ยวเชิงนิเวศทางทะเลอีกด้วย นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรฯกล่าว ส่วน นายจัตุรัส เอี่ยมวรนิธาน ประธานกลุ่มประมงเรือเล็ก อาศัยอยู่ที่บ้านเลขที่ 49 ถนนแหลมรุ่งเรือง ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.ระยอง เล่าว่า ที่ผ่านมากลุ่มประมงเรือเล็กนั้น ได้ขอปะการังเทียมมาตลอด เพราะเห็นถึงข้อดีของการทำที่อยู่ให้กับปลา ทำให้มีปลามาอยู่อาศัยมากขึ้น จนถึงทุกวันนี้กรมประมงได้มาสร้างปะการังเทียมให้เป็นเวลาหลายปีแล้ว ทำให้มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย แต่ในวันนี้สิ่งที่กลุ่มประมงเรือเล็กต้องการก็คือ ต้องการให้ทำปะการังเทียมมาวางในบริเวณชายฝั่ง ทั้งนี้เพื่อให้เป็นที่อยู่ของปลาขนาดเล็ก เพราะปลานั้นโดยธรรมชาติจะขยายพันธุ์ในป่าชายเลน จากนั้นจะย้ายมาอยู่ริมฝั่ง พอโตก็จะไปอยู่ในน้ำลึก หากมีการวางปะการังเทียมใกล้ชายฝั่งก็จะเป็นที่อยู่ เป็นแหล่งอนุบาลปลาขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี “ทุกวันนี้เรือประมงเล็กมีประมาณ 2,000 ลำ จริง ๆ แล้วอยากให้ทำปะการังเทียมมากขึ้นกว่านี้ เพราะจำนวนของเรือและการทำประมงที่มากขึ้น ทำให้ทรัพยากรลดน้อยลงไปมาก วันนี้ถือว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดีมาก ๆ เพราะเมื่อประมาณ 5 ปีมาแล้วนั้น ชาวประมงจับปลาได้มากกว่านี้ อย่างเช่นเมื่อก่อนเคยจับปลาหมึกได้วันละ 100 กิโลกรัม ณ วันนี้ โดยเฉลี่ยแล้วจับได้วันละประมาณ 10 กิโลกรัมเท่านั้น ถือว่าน้อยลงเยอะมาก อันนี้ผมว่าสาเหตุนั้นเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้นของการทำประมงด้วย ทำให้ประมงพื้นบ้านได้ปลาน้อยลง อย่างรายได้ตอนนี้มีรายได้วันละ 1,000 บาท หักค่าใช้จ่าย ค่าน้ำมันแล้วเหลือประมาณ 300-400 บาท ก็ถือว่าอยู่ได้แล้วครับ” นายจัตุรัส กล่าว การจัดสร้างปะการังเทียมในพื้นที่จังหวัดระยองนั้น เป็นการสร้างในพื้นที่ขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ 21.6 ตารางกิโลเมตร ใช้งบประมาณ 20 ล้านบาท ใช้วัสดุคอนกรีต รูปลูกบาศก์แบบโปร่ง ขนาด 1.5x1.5x1.5 เมตร จำนวนทั้งสิ้น 3,681 แท่ง ซึ่งแท่งคอนกรีตแบบโครงสี่เหลี่ยม ถือได้ว่ามีความเหมาะสมที่สุด แม้ต้นทุนสูงแต่มีอายุการใช้งานนาน สะดวกในการลำเลียงขนส่ง ควบคุมการจัดวางให้ซ้อนทับกันได้สูง มีประสิทธิภาพในการดึงดูดสัตว์น้ำให้มาอยู่อาศัยได้หลายชนิด เมื่อใช้นานๆไปจะค่อยๆ สลายไปเป็นทราย ไม่เป็นสารพิษกับน้ำ. จาก : เดลินิวส์ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#15
|
||||
|
||||
ระดมสมองแผนปะการังเทียม นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมประมงในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบภารกิจในการเพิ่มผลผลิตและฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ ได้พยายามเร่งหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการนำปะการังเทียมมาเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการทรัพยากรประมง ซึ่งสามารถช่วยปรับเปลี่ยนระบบนิเวศชายฝั่งให้มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของทรัพยากรสัตว์น้ำ และทำให้กลับมาคงความอุดมสมบูรณ์ได้ในระดับหนึ่ง ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านมีแหล่งทำการประมงชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ลดต้นทุนในการประกอบอาชีพ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังเป็นแนวป้องกันการทำลายทรัพยากรสัตว์น้ำขนาดเล็กและสภาพแวดล้อมจากการทำประมงด้วยเครื่องมืออวนลาก อวนรุน และยังสามารถลดข้อขัดแย้งในการแย่งชิงทรัพยากร และแหล่งทำการประมงที่มีอยู่จำกัด ขณะเดียวกัน พบว่าในปัจจุบันมีหลากหลายหน่วยงานที่เข้ามาร่วมดำเนินการในการฟื้นฟูแหล่งปะการังเทียมเพิ่มมากขึ้น อาทิ กระทรวงคมนาคม กรุงเทพมหานคร ที่ให้ความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรฯ เป็นอย่างดีมาโดยตลอด ดังนั้นกรมประมงจึงมีการจัดสัมมนาสืบสานตำนานปะการังเทียมเพื่อชาวประมง เพื่อบูรณาการความรู้ ความเข้าใจ และหาแนวทางในการพัฒนาและบริหารจัดการให้การจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อการประมงมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการประมงเป็นไปอย่างเหมาะสม ภายใต้การระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดสร้างปะการังเทียม อาทิ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาบูรพา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จาก : แนวหน้า วันที่ 19 มกราคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#16
|
||||
|
||||
ประมงตรังตรวจเช็กสภาพปะการังเทียม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ดร.จุมพล สงวนสิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล พร้อมด้วย นายสุริยะ วิฑูรย์พันธุ์ ประมงจังหวัดตรัง นำคณะตรวจสอบการจัดทำปะการังเทียมที่ทางกรมประมงและจังหวัดตรัง จัดสรรงบประมาณในการดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียม เพื่อนำไปวางในทะเลในพื้นที่อำเภอสิเกาและอำเภอหาดสำราญ จำนวน 6 ล้านกว่าบาท เพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล โดยปะการังเทียมมีการจัดสร้างเป็นรูปทรงรูปบาศก์แท่งคอนกรีต ขนาด 1.5 x 1.5 เมตร ดร.จุมพล กล่าวว่า การจัดสร้างปะการังเทียม ทางกรมประมงถือเป็นหน่วยงานหลักและหน่วยงานแรก ที่ดำเนินการจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อเพิ่มพูนทรัพยากรสัตว์น้ำมาอย่างต่อ เนื่อง ซึ่งมีการนำไปวางในทะเลทั้งทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จำนวนทั้งหมด 362 แห่ง โดยจังหวัดตรังจะมีการนำปะการังเทียมไปวางในพื้นที่บ้านแหลม หมู่ที่ 3 ต.เขาไม้แก้ว อ.สิเกา จ.ตรัง และพื้นที่บ้าน ตะเสะ หมู่ที่ 4 ต.ตะเสะ อ.หาดสำราญ จ.ตรัง ทั้งนี้ในส่วนของจังหวัดตรัง เคยดำเนินการวางปะการังเทียมมาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อปี 2550 ที่ผ่านมา จำนวน 1,900 แท่ง ใน 3 พื้นที่ของอำเภอสิเกา จาก : เดลินิวส์ วันที่ 20 มกราคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#17
|
||||
|
||||
ม.อ.ลุยโครงการ "ปะการังเทียม" หวังลดวิกฤติกัดเซาะชายฝั่งภาคใต้ ม.อ. เดินหน้าโครงการปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่ง ภายใต้โครงการ “สมาร์ทโปรเจค เฟส 3” หลังผ่านการทดลองในห้องปฏิบัติการและการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์ พบว่าปะการังเทียมที่ออกแบบสามารถช่วยลดพลังงานคลื่นได้สูงสุดถึง 88% เผยเตรียมทดลองเชิงประจักษ์กับสภาพการใช้งานจริงในทะเล ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี เดือน เม.ย. นี้ ก่อนติดตามผลต่อเนื่องอีก 1 ปี เพื่อประเมินผลด้านวิศวกรรม ด้านระบบนิเวศ และด้านสังคม หวังช่วยลดวิกฤติการกัดเซาะชายฝั่งภาคใต้ ม.อ. เดินหน้าโครงการปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่ง ภายใต้โครงการ “สมาร์ทโปรเจค เฟส 3” ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยอม รัตนมณี อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ หัวหน้าโครงการปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่ง เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ในทั้ง 23 จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล โดยในบางพื้นที่มีการกัดเซาะวิกฤติถึง 20 เมตรต่อปี นอกจากนั้น ยังมีปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งมาตรการแก้ปัญหาที่ผ่านมามักเป็นการแก้ปัญหาความเดือดร้อนเฉพาะหน้า ที่ยังไม่มีการจัดโซนนิ่งและแผนแม่บทระยะยาว ยังไม่ได้แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ทำให้มาตรการแก้ไขปัญหาในหลายพื้นที่ ทั้งวิธีใช้โครงสร้างและไม่ใช้โครงสร้างไม่บรรลุผลเท่าที่ควร “ม.อ. หวังที่จะแก้ปัญหาให้ชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้ จึงได้จัดตั้งกลุ่มวิจัยทางทะเลขึ้นมาเพื่อดำเนินการศึกษาวิจัยการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการ โดยแนวความคิดของการวิจัย ได้จากการสังเกตหาดทรายที่มีแนวปะการังอยู่ตามธรรมชาติ พบว่าพื้นที่เหล่านี้ประสบปัญหาน้อยมาก เนื่องจากแนวปะการังจะทำหน้าที่เป็นโครงสร้างตามธรรมชาติที่สามารถชะลอความแรงของคลื่นได้เป็นอย่างดี จึงได้นำหลักการ “แนวปะการังเทียมกันคลื่น” มาเป็นทางเลือกในการแก้ใขปัญหาแบบบูรณาการที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล และไม่บดบังภูมิทัศน์การท่องเที่ยว ภายใต้ชื่อ สมาร์ท โปรเจค” ผู้ช่วยศาสตราจารย์พะยอมกล่าว คณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ ทั้งนี้ โครงการ “สมาร์ท โปรเจค” เฟส 1 ได้เริ่มตั้งแต่ปี 2549 โดยได้ศึกษาพื้นที่หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา และเฟส 2 ในปี 2552 ได้ขยายผลไปยังพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดระยอง-จันทบุรี ภายใต้การสนับสนุนของกรมทรัพยากรธรณี โดยได้ทำการวิจัยรูปแบบ รูปทรง และขนาดของแท่งปะการังเทียม พร้อมทั้งผังการจัดวาง ด้วยแบบจำลองทางกายภาพในรางจำลองคลื่น และด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ในคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้ปะการังเทียมที่สามารถสลายพลังงานคลื่นได้สูงสุดและเกื้อกูลต่อสัตว์ทะเล หัวหน้าโครงการปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่ง กล่าวว่า พบว่า แท่งปะการังเทียมที่ได้จากการศึกษาวิจัยเป็นรูปทรงโดมฐานหกเหลี่ยม สามารถสลายพลังงานคลื่นได้ 60-88% มีช่องเปิดขนาดต่างๆโดยรอบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสลายพลังงานคลื่น ลดการสะท้อนกลับของคลื่น และยอมให้กระแสน้ำสามารถไหลผ่านได้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือรวมฝูงของปลา และเพิ่มพื้นผิวให้สิ่งมีชีวิตกลุ่มเกาะยึด ซึ่งในบางพื้นที่อาจพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวดำน้ำดูสัตว์น้ำใต้ทะเลได้ “ปัจจุบัน สมาร์ท โปรเจค เป็นโครงการเฟส 3 ภายใต้การสนับสนุนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบแท่งปะการังเทียม การผลิตแท่งปะการังเทียมที่มีความคงทนในน้ำเค็มโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเล แล้วทดลองเชิงประจักษ์ (Real Experiment Research) โดยจะวางในพื้นที่สาธิต ณ อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่กำลังประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และสถานที่แห่งนี้ยังเป็นศูนย์การเรียนรู้ในระดับสากลอีกด้วย โดยจะวางแนวปะการังเทียมจำนวน 254 แท่ง จำนวน 5 แถว เป็นแนวยาว 100 เมตร ที่ระดับน้ำลึกประมาณ 3 เมตร ห่างจากชายฝั่งประมาณ 400 เมตร แล้วทำการติดตามข้อมูลทุกเดือนเป็นเวลา 1 ปี เพื่อตรวจสอบประเมินผล ทั้งด้านประสิทธิภาพการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียง ระบบนิเวศทางทะเล และทัศนคติของชุมชนและผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่” ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยอมกล่าว อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากรณีที่ได้ผลการทดลองเชิงประจักษ์ที่เพชรบุรีจะได้ผลเป็นที่พอใจ แต่การจะนำไปประยุกต์เพื่อช่วยแก้ปัญหาในภาคใต้ตอนล่าง ก็จะต้องสำรวจข้อมูลเฉพาะพื้นที่ให้รอบคอบ เช่น สภาพภูมิประเทศ ความลึก ความลาดชันของท้องทะเล สัณฐานของชายฝั่ง สภาพทางสมุทรศาสตร์ น้ำขึ้น-น้ำลง ลักษณะคลื่นลม กระแสน้ำ ตะกอนท้องทะเล สภาพทรัพยากรชายฝั่ง สภาพการใช้พื้นที่ชายหาด และที่สำคัญคือสภาพวิถีชุมชนในพื้นที่ จากนั้นจึงทำการออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพของพื้นที่ เพื่อให้ตอบสนองทั้งการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ลดผลกระทบด้านต่างๆ และการเกื้อกูลต่อระบบนิเวศชายฝั่ง พัฒนารูปแบบแท่งปะการังเทียม ผู้ช่วยศาสตราจารย์พยอม กล่าวอีกว่า แนว ทางการแก้ปัญหาในระยะยาวนั้น ภาครัฐจะต้องจัดทำโซนนิ่งเพื่อจัดเขตการใช้พื้นที่ชายฝั่ง พร้อมวางแผนแม่บทการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างเร่งด่วน บางพื้นที่อาจจะต้องปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ที่มีคุณค่าทางสังคมและประวัติศาสตร์ ก็จำเป็นต้องหามาตรการที่เหมาะสม จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 7 มีนาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#18
|
||||
|
||||
อบจ.เมืองคอนทุ่มงบฯ วางปะการังเทียมชายทะเล นครศรีธรรมราช/ นายพิชัย บุณยเกียรติ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นประธานในพิธีวางปะการังเทียม จำนวน 620 แท่ง ณ อ่าวแขวงเถ้า ต.ท้องเนียน อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช เพื่อสนองพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จัดทำโครงการวางปะการังเทียมมาตั้งแต่ปี 2547 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครศรีธรรมราชจัดโครงการต่อเนื่องตั้งแต่สมัยนายกคนเก่า ได้วางปะการังเทียมตลอดแนวชายฝั่งทะเลพื้นที่จังหวัดไปแล้ว 5,400 แท่ง นอกจากนี้ทาง อบจ.ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานส่วนกลางผ่านกรมประมงเพื่อจัด สร้างปะการังเทียมวางตลอดแนวชายฝั่งอีก 60 ล้านบาท แยกเป็นปี 2553 จำนวน 30 ล้านบาท และปี 2554 จำนวน 30 ล้านบาท ระยะแนวชายฝั่งอ่าวไทยของจังหวัดประมาณ 230 กิโลเมตร ในพื้นที่ 6 อำเภอ คือ อ.หัวไทร ปากพนัง เมือง ท่าศาลา สิชล และ อ.ขนอม และจะยังดำเนินการต่อไป โดยได้จัดตั้งงบประมาณเพื่อวางปะการังเทียมเสริมตามจุดต่างๆ ที่ชาวประมงร้องขอการวางปะการังเทียมจะใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับข้อมูลด้านวิชาการของกรมประมง และจากการพูดคุยกับชาวประมงพบว่า ขณะนี้สัตว์น้ำที่สูญหายจากชายฝั่งทะเลน้ำตื้นได้กลับมาแล้ว ช่วยเพิ่มพูนรายได้แก่ชาวประมงชายฝั่งเป็นอย่างดี ทาง อบจ.จะจัดงบประมาณอีกส่วนหนึ่งในการจัดซื้อเรือเร็วตรวจการณ์ชายฝั่งให้กับภาคประชาชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 2 ลำ ประจำการใน อ.ขนอม 1 ลำ และ อ.หัวไทร อีก 1 ลำ นายพิชัย กล่าวว่า การจัดทำโครงการวางปะการังเทียมได้ดำเนินการตามระเบียบพัสดุในการจัดหาผู้ประกอบการที่มีความชำนาญเชี่ยวชาญทางทะเล มีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการวางปะการังเทียม ตามพิกัดที่กรมประมงกำหนดไว้ สามารถตรวจสอบได้ และจากการส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจดูการวางปะการังเทียมใต้ทะเลพบว่า ปะการังเทียมที่วางไว้ส่วนหนึ่งกำลังพัฒนาไปสู่การเป็นปะการังแท้ และได้อบรมชาวประมงชายฝั่งให้เกิดความรักความหวงแหน ช่วยดูแลปะการังเทียม เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำต่อไปอีกด้วย ที่สำคัญทาง อบต.ท่าศาลาได้มีการทำพระราชบัญญัติท้องถิ่นในการดูแลทรัพยากรชายฝั่งทะเล ทำให้การปกป้องดูแลทรัพยากรทางทะเลมีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ ทาง อบจ.จะนำแบบอย่างของ อบต.ท่าศาลา มาจัดทำ พ.ร.บ.ท้องถิ่น อบจ.นครศรีธรรมราช เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในการปกป้องดูแลทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งจะมีอำนาจดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทั้งหมดของจังหวัดนครศรีธรรมราช จาก : บ้านเมือง วันที่ 13 เมษายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#19
|
||||
|
||||
สมาร์ทโปรเจ็กต์ ปะการังฟื้นชายฝั่ง ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทั้งในทะเลอ่าวไทยและอันดามันลุกลามและขยายวงมากขึ้น ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศชายฝั่ง จึงมีความพยายามปรับปรุงฟื้นฟูแถบชายฝั่งที่ถูกคลื่นกัดเซาะให้กลับมาคงสภาพเดิม กรมทรัพยากรธรณีและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตปัตตานี มอบทุนสนับสนุน ผศ.พยอม รัตนมณี อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ.ปัตตานี ไปศึกษาวิจัยภายใต้โครงการ "การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลเชิงบูรณาการ" หรือโครงการ "สมาร์ทโปรเจ็กต์" เพื่อช่วยลดวิกฤตการกัดเซาะชายฝั่งให้กลับคืนสภาพสมบูรณ์ คณะวิจัยกว่า 20 คน จึงเริ่มโครงการสมาร์ทโปรเจ็กต์ เฟส 1 ผ่านการทำ "ปะการังเทียมกันคลื่น" พร้อมทั้งก่อสร้างแบบรางจำลอง คลื่นขึ้นที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ มอ.ปัตตานี เพื่อเป็นห้องวิจัยทางทะเล หลังจากนั้นได้สร้างแบบปะการังเทียมขึ้นมา พร้อมศึกษาทางกายภาพ รูปแบบ รูปทรง ขนาด ช่องเปิดรอบแท่งปะการัง แนวและตำแหน่งการจัดวางแท่งปะการังเทียม กระทั่งพัฒนาแท่งปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่งได้สำเร็จ สามารถต้านแรงคลื่นได้ดี มีลักษณะเป็นรูปโดม มี 3 ขนาด ประกอบด้วย ขนาดเล็กมีฐานกว้าง 1.8 เมตร สูง 1.3 เมตร, ขนาดกลาง ฐานกว้าง 1.8 เมตร สูง 1.5 เมตร และขนาดใหญ่ ฐานกว้าง 1.8 เมตร สูง 1.6 เมตร แต่ละขนาดจะมีช่องเปิดลักษณะเดียวกัน ประกอบไปด้วย ช่องเปิดด้านบน 1 ช่อง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ช่องเปิดด้านข้าง จำนวน 3 แถว แถวละ 6 ช่อง โดยแถวบนช่องเปิดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 20 เซนติเมตร แถวกลางมีช่องเปิดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 เซนติเมตร และแถวล่างมีช่องเปิดมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร โดยช่องเปิดดังกล่าวช่วยการชะลอความแรงคลื่น ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อฟื้นฟูหาดทราย ให้เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเล และเป็นแหล่งดำน้ำในอนาคต จากนั้นทางคณะวิจัยเลือกพื้นที่ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนานเป็นพื้นที่นำร่อง ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แนวปะการังเทียมสามารถสลายพลังงานคลื่นได้เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ต่อมาจึงขยายผลโครงการสมาร์ทโปรเจ็กต์ เฟส 2 ไปยังพื้นที่ จ.ระยอง และจ.จันทบุรี เนื่องจากมีหลายพื้นที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง หลังผ่านการทดลองพบว่าปะการังเทียมสามารถช่วยลดพลังงานคลื่นได้สูงสุดถึง 88 เปอร์เซ็นต์ ล่าสุดคณะวิจัยเตรียมทดลองสมาร์ทโปรเจ็กต์ เฟส 3 กับสภาพการใช้งานปะการังเทียมในทะเลจริง ที่ชายฝั่งทะเล บริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี ในช่วงเดือนก.ค. เพื่อประเมินผลด้านวิศวกรรม ด้านระบบนิเวศ และด้านสังคม ต่อเนื่อง 12 เดือน หากประสบผลสำเร็จก็จะปรับปรุงเพื่อเป็นศูนย์การเรียนรู้ที่สำคัญแห่งหนึ่งของไทย ผศ.พยอม เปิดเผยว่า ทีมวิจัยโครงการปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับทะเลชายฝั่งมานานกว่า 10 ปี พบว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายหาดอย่างต่อเนื่อง และตามแนวชายฝั่งส่วนใหญ่ยังประสบปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่งอีกด้วย เพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างบูรณาการ จึงนำผลการสำรวจและข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่ของไทยมาศึกษาวิเคราะห์ จึงพบว่าชายฝั่งที่มีโขดหินหรือแนวปะการังอยู่ด้านนอก มักไม่มีปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ทำให้หาดทรายมีเสถียรภาพค่อนข้างดี เนื่องจากแนวปะการังจะทำหน้าที่เป็นแนวสลายพลังงานคลื่น เป็นโครงสร้างตามธรรมชาติที่แข็งแรงปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม และเกื้อกูลต่อระบบนิเวศทางทะเลเป็นอย่างดี "แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมายังเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ยังขาดการบูรณาการองค์ความรู้ด้านต่างๆในการแก้ปัญหา โดยส่วนใหญ่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศมาแก้ปัญหา ทำให้การแก้ปัญหาชายฝั่งทะเลในบ้านเราไม่บรรลุผลเท่าที่ควร เนื่องจากประเทศไทยมีปัจจัยหลายประการที่แตกต่างกับต่างประเทศ เช่น สัณฐานชายฝั่ง สภาพคลื่นลม น้ำขึ้น น้ำลง กระแสน้ำ ตะกอน ระบบนิเวศทางทะเล รวมทั้งวิถีชีวิต ปัญหาจึงถูกแก้ไม่ถูกวิธี" อาจารย์พยอมระบุว่า ในอนาคตการใช้แนวปะการังเทียมฟื้นฟูชายฝั่งจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการนำไปแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายหาดในบางพื้นที่ของประเทศไทย โดยแนวปะการังเทียมเหล่านี้จะทำหน้าที่สลายและลดพลังงานคลื่น ปรับเปลี่ยนลักษณะของคลื่นที่เคลื่อนที่เข้าสู่ชายหาดให้เบาลง ในขณะเดียวกันที่การเคลื่อนย้ายเม็ดทรายขึ้นมาบนชายหาดจะมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับคลื่นลม ดังนั้น เราศึกษาถึงรูปแบบ รูปร่าง รูปทรง และขนาดแท่งปะการังเทียม รวมถึงช่องเปิดโดยรอบแท่งปะการังเทียม เพื่อให้เป็นช่องทางเข้าออกของน้ำทะเลและสัตว์ทะเล เพื่อให้แนวปะการังเทียมสามารถเป็นที่ยึดเกาะ อยู่อาศัย หลบภัย และอนุบาลสัตว์ทะเลได้ หากการศึกษาวิจัยสัมฤทธิผลจะช่วยลดวิกฤตการกัดเซาะชายฝั่งได้ ในแง่ของการวิจัยอาจจะใช้เวลาหลายปี แต่ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมหาศาล จาก : ข่าวสด วันที่ 13 เมิถุนายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#20
|
||||
|
||||
สร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม การทำประมงชายฝั่งเป็นอาชีพที่อยู่คู่ประเทศไทยมาอย่างช้านาน จวบจนสถานการณ์ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรชายฝั่งและปัจจัยต่างๆมีผลกระทบ ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในน่านน้ำของไทยมีปริมาณลดลงอย่างมากจนบางชนิดใกล้สูญพันธุ์ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานต่างๆจะต้องดำเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน กรมประมงนับเป็นหน่วยงานแรกและหน่วยงานหลักที่ริเริ่มให้มีการจัดสร้างปะการังเทียมขึ้น เพื่อให้เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเลมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2522 และได้ดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปี ควบคู่กับการรณรงค์ปลูกจิตสำนึกให้ชาวประมง เยาวชน และประชาชน ได้ตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ การรักษาสภาพแวดล้อม ระบบนิเวศให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำ และจากการสำรวจสภาวะการประมงทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง โดยศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยตอนล่าง กรมประมง ในปี พ.ศ. 2540 ที่ผ่านมาพบว่ามีปริมาณสัตว์ทะเลเฉพาะที่นำมาขึ้นที่ท่าขึ้นปลาที่สำคัญๆ ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส รวม 666,848 ตัน และมีปริมาณสัตว์ทะเลสูงสุดที่จังหวัดปัตตานี 288,241 ตัน นอกจากนี้ยังมีธุรกิจที่ต่อเนื่องจากการประมง อาทิ อู่และคานเรือประมงกว่า 35 แห่ง โรงน้ำแข็งกว่า 59 แห่ง ห้องเย็นกว่า 23 แห่ง โรงงานปลากระป๋อง กว่า 13 แห่ง โรงงานน้ำปลา 1 แห่ง โรงงานปลาป่น 32 แห่ง นอกจากนี้พื้นที่ดังกล่าวยังมีจำนวนประชากรประมงเป็นจำนวนมากที่ได้ดำเนินธุรกิจทำการประมง และด้วยความต้องการในทรัพยากรสัตว์น้ำเป็นจำนวนมาก จึงเป็นผลให้การจับสัตว์น้ำขึ้นมาจากทะเลเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับสภาพแวดล้อมของท้องทะเลในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเป็นผลให้ปริมาณสัตว์น้ำลดลงและการเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำตามธรรมชาติได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีแหล่งอาศัยให้กับสัตว์น้ำในท้องทะเล ซึ่งแหล่งอาศัยหากินเพื่อเจริญเติบโตของสัตว์น้ำที่สำคัญก็คือแนวปะการังนั่นเอง จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2552 ให้มีการสร้างปะการังเทียมให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือชาวประมงที่เดือดร้อนให้ได้มีแหล่งทำมาหาเลี้ยงชีพที่อุดมสมบูรณ์ เหมือนเช่นในอดีต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมสนองพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จัดทำปะการังเทียมขึ้น นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในพิธีเปิดการส่งมอบและจัดวางปะการังเทียมภายใต้โครงการ “ร่วมสร้างบ้านปลาด้วยปะการังเทียม” ณ จังหวัดปัตตานี เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมาว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับสนองพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงห่วงใยในวิถีความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของชาวประมงขนาดเล็กที่มีฐานะยากจน มีรายได้น้อยขาดพื้นที่ทำการประมง โดยได้จัดสร้างปะการังเทียมเพิ่มขึ้นเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์ทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์ดังเดิมจึงดำเนินการกำหนดแผนการจัดสร้างปะการังเทียมปี 2553 ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ชายฝั่งทะเลทั่วประเทศ รวม 15 แห่ง รวมทั้งพื้นที่พิเศษใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ จังหวัดสงขลา สตูล นราธิวาส ยะลา และปัตตานี ด้วย โดยจะจัดวางห่างจากฝั่งประมาณ 6 กิโลเมตร ระดับน้ำลึก 13 เมตร เป็นแท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์แบบโปร่ง ขนาด 1.5x 1.5x1.5 เมตร จำนวน 638 แท่ง วางเป็นแถวเดี่ยวยาว 150 เมตร แบ่งเป็น 4 กลุ่มมีระยะห่างระหว่างกลุ่ม 50 เมตร ทางด้าน ดร.สมหญิง เปี่ยมสมบูรณ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากการติดตามผลการจัดสร้างปะการังเทียมในปี 2552 ที่ผ่านมาในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 6 แห่ง พบว่าชาวประมงขนาดเล็กมีแหล่งทำการประมงชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นลดต้นทุนค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 10-20 เปอร์เซ็นต์ มีรายได้เพิ่มขึ้น 20-30 เปอร์เซ็นต์ และพบว่าบางพื้นที่มีสัตว์น้ำบางชนิดที่หายไปในช่วงเวลาหนึ่งกลับคืนมา เช่น ปลาหมอทะเลขนาดใหญ่ ปลาช่อนทะเล ปลาผีเสื้อเทวรูป ปลาจะละเม็ดเทา ปลาดุกทะเล และปลาตะลุมพุก เป็นต้น แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำแพงจะช่วยป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่นและกระแสน้ำโดยตรง บริเวณชายฝั่งที่แนวปะการังถูกทำลายจะถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงจากคลื่นลมทะเลในฤดูมรสุม เป็นแหล่งกำเนิดทรายให้กับชายหาด ทั้งจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน การกัดกร่อนโดยสัตว์ทะเลบางชนิดและจากกระแสคลื่น ซึ่งทำให้หินปูนปะการังแตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่ขาวสะอาด เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด เช่น เต่าทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน และปลิงทะเล เป็นต้น. จาก : เดลินิวส์ วันที่ 24 เมิถุนายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|