เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #11  
เก่า 24-05-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ปฏิบัติการพลิกฟื้น ปะการังไทยไม่ให้สูญพันธุ์



"ไทย" นับเป็นประเทศหนึ่งในโลกที่มีแนวปะการังอันอุดมสมบูรณ์และงดงามอยู่หลายจุดทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งอันดามัน

บรรดาสัตว์ทะเลต่างต้องพึ่งพาแนวปะการังเป็นที่หลบภัย เป็นแหล่งอาหาร และเป็นที่อยู่อาศัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญในระบบนิเวศอันซับซ้อนใต้ท้องมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ เปรียบได้เช่นเดียวกัน กับตึกรามบ้านช่องในสังคมมนุษย์

หากจะกล่าวไปแล้วประเทศไทยนั้นมีรายได้หลักอันดับหนึ่งจากการท่องเที่ยว

แนวปะการังจึงถือเป็นหนึ่งในสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวด้วยเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม ตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ระบบนิเวศปะการังทั่วโลกเสื่อมโทรมลงในอัตราที่รวดเร็วจนน่าตกใจ โดยปะการังเกือบร้อยละ 60 ถูกคุกคามจากพฤติกรรมของมนุษย์ จนทำให้ปะการังกว่าร้อยละ 30 ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพอย่างรุนแรง ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการประมงแบบทำลายล้าง

สารเคมีที่ปล่อยลงสู่ทะเลทั้งทางเรือและตามแนวชายฝั่ง

รวมทั้งภาวะสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ


ย้อนกลับไปในปี 2553 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ได้ร่วมกันสำรวจสภาพการฟอกขาวของปะการัง

รวมทั้งรวบรวมข้อมูลจากนักประดาน้ำในบริเวณต่างๆ พบว่า

แนวปะการังในทุกจังหวัดของฝั่งทะเล "อันดามัน" เกิดการฟอกขาวมากกว่าร้อยละ 70

ส่วนทางฝั่งอ่าวไทย พบว่ามีการฟอกขาวในปริมาณที่ต่ำกว่า โดยแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากการฟอกขาวอยู่ในระดับที่แตกต่างกันไปขึ้นกับสถานที่ สภาพสิ่งแวดล้อม และการรบกวนของกิจกรรมของมนุษย์

ในแนวปะการังที่มีปะการังเขากวาง หรือปะการังประเภทกิ่งก้าน และปะการังแผ่น เป็นชนิดเด่น มีการตายของปะการังเป็นจำนวนมาก เช่น แนวปะการังทางทิศตะวันออกของหมู่เกาะสิมิลัน แนวปะการังทุกบริเวณของหมู่เกาะสุรินทร์ จ.พังงา และในบางบริเวณของเกาะห้าใหญ่ หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ พบว่า

ปะการังเขากวางประมาณราวร้อยละ 70-90 ตายและมีสาหร่ายขึ้นปกคลุม

ส่วนบริเวณอ่าวไทย โดยเฉพาะแนวปะการังในจ.ระยอง และกลุ่มเกาะช้าง จ.ตราด อันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญมีปะการัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มปะการังเขากวางที่ตายจากการฟอกขาวราวร้อยละ 35-60 ทางสมาคมวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งประเทศไทย ระบุว่า

ปะการังได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง อันจะส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องทะเลลดลง ระบบนิเวศปะการังเสี่ยงต่อการถูกทำลายมากขึ้น

ทั้งยังส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของชุมชนชายฝั่ง เช่น ชาวประมง และผู้ประกอบการท่องเที่ยว รวมทั้งต่อเนื่องไปยังเศรษฐกิจโดยรวมของชาติ และภาพลักษณ์ของไทยในฐานะแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สวยงามติดอันดับโลก




เพื่อเป็นการสนับสนุนการหามาตรการแก้ไขพลิกฟื้นวิกฤตการณ์ดังกล่าว

ล่าสุด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ "เนคเทค" ซึ่งจะมีอายุครบ 25 ปี ในเดือนก.ย.นี้ เป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งชาติ หรือสวทช. ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จึงทำงานร่วมกับคณะนักวิจัยทางทะเลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐแห่งแรกของไทย ตั้งอยู่ที่ อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการ "เครือข่ายศูนย์ความรู้เฉพาะด้านนิเวศวิทยาพยากรณ์และการจัดการ" (Centre of Excellence for Eco-Informatics) เพื่อเดินหน้าโครงการวิจัยต้นแบบของการนำระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์มาใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงของลักษณะทางกายภาพของระบบนิเวศปะการังในไทย บริเวณรีสอร์ต บ้านรายา อ่าวขอนแค เกาะราชาใหญ่ ห่างจากฝั่ง จ.ภูเก็ต ไปราว 20 กิโลเมตร

โดย "ไทย" ถือเป็นประเทศแรกในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศที่ 4 ของโลกที่มีระบบเครือข่ายเซ็นเซอร์ศึกษาลักษณะทางกายภาพทางทะเลของแนวปะการังที่ทันสมัย ถัดจากประเทศออสเตรเลีย ไต้หวัน และเกาะมูกิ ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ผศ.ดร.กฤษณะเดช เจริญสุธาสินี ผู้นำคณะนักวิจัยและอาจารย์ประจำสำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ กล่าวว่า

โครงการติดตั้งเครือข่ายเซ็นเซอร์ใต้ทะเลริเริ่มมาเป็นเวลาราว 3 ปีครึ่ง เพื่อเก็บข้อมูลนำไปศึกษาหาสาเหตุของปะการังฟอกขาวเป็นเวลา 10 ปี

ในระยะแรกใช้เซ็นเซอร์ชนิด HoBo จำนวน 10 ตัว ราคาตัวละ 3,000-4,000 บาท เป็นทุ่นขนาดเล็กนำไปผูกไว้กับเชือกใต้น้ำลึกลงไปราว 3-5 เมตร เพื่อวัดปริมาณแสงกับอุณหภูมิ ซึ่งเมื่อต้องการเก็บข้อมูลจะต้องประดาน้ำลงไปเพื่อนำเครื่องเก็บข้อมูลไปโหลดข้อมูลจากเซ็นเซอร์ดังกล่าว ส่งผลให้มีข้อเสียไม่สามารถวัดค่าต่างๆ ได้ในแบบต่อเนื่อง หรือเรียลไทม์ ทั้งยังมีปัญหาเพรียงเกาะเซ็นเซอร์ทำให้ขัดข้อง

ผศ.ดร.กฤษณะเดช กล่าวว่า ต่อมาในเดือนต.ค.2553 เนคเทคได้สนับสนุนอุปกรณ์ตรวจวัดน้ำทะเล หรือ "ซีทีดี" (Conductivity Temperature and Depth Pressure Sensor) จากออสเตรเลีย จำนวน 2 เครื่อง ราคาประมาณ 500,000 บาทต่อเครื่อง ให้นำมาทดลองใช้

ทางคณะจึงได้นำลงไปติดตั้ง โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากออสเตรเลียมาช่วยติดตั้ง เนื่องจากออสเตรเลียเป็นผู้นำการใช้เซ็นเซอร์ชนิด ซีทีดี บริเวณแนวปะการัง "เกรท แบริเออร์ รีฟ" ซึ่งซีทีดีสามารถวัดค่า หรือพารามิเตอร์ เพิ่มได้อีกหลักๆ 2 ตัว ได้แก่ ความดันซึ่งจะทำ ให้รู้ความลึก และความเค็มของน้ำทะเลผ่านกระบวนการทางไฟฟ้าเคมีในการหาความต่างศักย์ไฟฟ้าแปลงออกมาเป็นปริมาณเกลือแกงหรือโซเดียมไอออน ที่อยู่ในรูปของโซเดียมคลอไรด์ในน้ำทะเล

นอกจากนั้น ในอนาคตจะหาเซ็นเซอร์ตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง หรือพีเอช มาติดตั้งด้วย เนื่องจากปริมาณก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ที่มีอยู่มากในชั้นบรรยากาศละลายลงในทะเล ทำให้มีความเป็นกรดเพิ่มขึ้น (พีเอชลดลง) ซึ่งอาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อปะการังเสื่อมโทรม

ผศ.ดร.กฤษณะเดช กล่าวอีกว่า เครื่องซีทีดีนั้นสามารถทำให้วัดค่าต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์

โดยจะส่งข้อมูลผ่านสายเคเบิลขึ้นมายังสถานีวิจัยในบ้านรายา รีสอร์ท แอนด์ สปา ประกอบกับข้อมูลจากศูนย์ตรวจวัดสภาพอากาศบนบก ซึ่งติดตั้งไว้ที่อาคารระบบ "เซิร์ฟเวอร์" ของรีสอร์ต ส่งข้อมูลออกไปยังเนคเทค มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และมหา วิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ซานดิเอโก รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา หนึ่งในสมาชิกเครือข่ายสำรวจทรัพยากรแนวปะการัง หรือครีออน (CREON) ซึ่งข้อมูลนี้หน่วยงานทั่วโลกสามารถเข้ามาดูได้ผ่านโปรแกรมอาร์ดีวี คิดค้นโดยสำนักงานบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐ หรือนาซ่า

ในอนาคตมีแผนจะเพิ่มเซ็นเซอร์ และนำไปติดตั้งในพื้นที่อื่นด้วย เช่น เกาะกระ จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีปะการังจำนวนมากและเริ่มถูกรบกวนโดยเรือประมง




ด้านดร.ศรเทพ วรรณรัตน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยการจำลองขนาดใหญ่ ของเนคเทค กล่าวว่า อุปกรณ์ซีทีดี ยังสามารถวัดพารามิเตอร์เกี่ยวกับเรื่องน้ำขึ้นน้ำลงได้ด้วย อันจะมีประโยชน์ในแง่ของการเก็บข้อมูลไปออกแบบการจำลองสภาพการขึ้นลงของน้ำอันจะส่งผลอย่างมากต่อความถูกต้องในการหามาตรการรับมือปรากฏการณ์ "สตอร์ม เซิร์จ" ที่จะทำให้เกิดน้ำท่วมชายฝั่งรุนแรง

ขณะเดียวกัน นายปิยะวัฒน์ เสงี่ยมกุล ประธานผู้จัดการโรงแรมบ้านรายา รีสอร์ท แอนด์ สปา กล่าวถึงการตัดสินใจสนับสนุนคณะนักวิจัย ว่า

เนื่องจากตนเป็นคนรักธรรมชาติและชื่นชอบการประดาน้ำ โดยได้มีโอกาสเข้ามาช่วยแม่บริหารรีสอร์ตหลังเรียนจบวิศว กรรมศาสตร์ไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยเทคโน โลยีมหานคร ซึ่งทุกวันตนจะดำน้ำลงไป เก็บขยะในอ่าวขอนแคของรีสอร์ต แต่ด้วยความที่ไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการอนุรักษ์มากนักจึงรู้สึกยินดีต้อนรับนักวิทยาศาสตร์และทุกหน่วยงานที่จะเข้ามาดำเนินการใดๆ เพื่อช่วยฟื้นฟูและอนุรักษ์ธรรมชาติในพื้นที่ไว้

นอกจากนี้ รีสอร์ตของตนยังมีความเพียบพร้อมด้านการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นระบบ 3จี ไว-ไฟ และเครือข่ายอินเตอร์เน็ตผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสง จึงคิดว่าเหมาะเป็นสถานที่สำหรับการทำวิจัยด้วย

นายปิยะวัฒน์ ยังระบุด้วยว่า บ้านรายาเป็นรีสอร์ตแห่งเดียวบนเกาะราชาใหญ่ที่รอดพ้นจากคลื่นยักษ์สึนามิเมื่อปี 2547 มาได้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะแนวปะการังที่อุดมสมบูรณ์ในอ่าวของรีสอร์ตตนเชื่อว่า สามารถลดทอนความรุนแรงของคลื่นมรณะดังกล่าวได้

การสนับสนุนอาคารศูนย์วิจัยในรีสอร์ตเป็นเหมือนการทำธุรกิจแบบวิน-วิน ตนได้มีส่วนอนุรักษ์ธรรมชาติ ทางรีสอร์ตสามารถใช้ข้อมูลเป็นสภาพอากาศแบบเรียลไทม์ให้ลูกค้าได้ทราบ กล้องที่ติดตั้งไว้ใต้ทะเลเพื่อติดตามดูปะการังก็สามารถถ่ายทอดมายังล็อบบี้ของโรงแรมได้ นับเป็นจุดขายที่โดดเด่นของรีสอร์ต นอกจากนี้ ประเทศชาติก็ยังได้ประโยชน์ด้วย ทุกคนได้ประโยชน์หมด

"ผมเกิดที่ภูเก็ต ผมเห็นความเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศ โดยเฉพาะปะการังว่ามันพังทลายไปรวดเร็วแค่ไหน นักท่องเที่ยวมาที่นี่มาเพราะต้องการธรรมชาติ ถ้าธรรมชาติพัง ผมก็พัง ชาวบ้านก็พัง ก็ต้องรีบป้องกันและแก้ไขกัน เพราะที่นี่เป็นเสมือนบ้าน ผมว่ายน้ำเป็นก็ที่อ่าวขอนแค ตอน 8 ขวบ มันอาศัยความผูกพันมากกว่า ผมแค่อยากได้ปะการังที่สวยงามในอ่าวนี้ไปนานๆ" ปิยะวัฒน์ กล่าว




จาก ................... ข่าวสด วันที่ 24 พฤษภาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
เก่า 27-03-2017
moon1245
ข้อความนี้ถูกลบโดย สายน้ำ.
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:58


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger