#11
|
|||
|
|||
อืม.... ต้องดำลึกๆ ถึงจะมีอะไรดู รึ
...แล้วจะทำไง ละเนี๊ยะ |
#12
|
||||
|
||||
ที่กองหินริเชริว บริวณน้ำตื้น จะไม่ค่อยพบ กออะนีโมน ที่แน่นขนัด แต่ด้านเหนือ ตั้งแต่กองใหญ่ตรงกลาง ไปยังด้านตะวันตก ก็ไม่สวยเหมือนเดิม แต่ที่แปลกคือ หอยเบี้ยลายเสือ ปีนี้ แน่นขนัดมาก พบเห็นได้ทั่วไป ปลาหมึก Cuttlefish ก็ยังแสดงลีลาให้นักดำน้ำได้ประทับใจเหมือนเดิม
ที่พบเห็นมากขึ้น คือฝูงปลาเล็กๆ และ ปลาสากฝูงใหญ่ หายไป แถมมีร่องรองการทำประมงและลากอวน เข้ามามากขึ้น มีนักดำน้ำได้มาทำการเก็บกู้อวน ขึ้นไปบ้างแล้ว แต่ยังไม่หมดดี เห็นได้จากด้านลึกฝั่งตะวันตก/เหนือ จากสายทุ่นลงมา ปีนี้พบม้าน้ำ เพียง 1 ตัวเท่านั้น ที่เหลือหายไป และ ที่ยอดกองหินตื้นๆ มีการดำน้ำลงมาเก็บหอยนางรมไปบริโภค มากขึ้น
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#13
|
||||
|
||||
ปีนี้เป็นเรื่องที่น่าเศร้าของนักดำน้ำในเมืองไทย อีกแล้ว
ในขณะที่การเก็บเงินของอุทยานจากนักท่องเที่ยวและนักดำน้ำ ก็ได้บำรุงและปรับปรุงภูมิทัศน์ บนเกาะสี่ เกาะแปด ให้ดีขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับนักท่องเที่ยวที่เข้ามา แต่ในจุดดำน้ำที่เป็นหลักๆๆ ไม่สามารถไปปรับปรุง หรือทำอะไรได้เลย ทั้งๆที่เก็บเงินมากกว่ากำดำน้ำตื้นอีก ก็ได้แต่หวังว่า มันจะสามารถฝืนคืนชีพได้ด้วยตัวของมันเอง อีก 4-5 ปีตามที่พี่น้อยว่า... ถามว่า ... เราจะสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเหลือ แนวปะการังของเรา ให้ฟื้นกลับมาเร็วที่สุด ข้อ 1 การทิ้งขยะลงทะเล ทั้งขยะที่ย่อยสลายได้ และย่อยสลายไม่ได้ ห้ามทิ้งได้ไหม แยกขยะแล้วนำมาทิ้งบนฝั่งทำได้ไหม กำจัดขยะได้อย่างไร ข้อ 2 การทิ้งน้ำเสียจากการอาบน้ำ การซักล้าง หรือการใช้น้ำยาล้างจาน สบู่ แชมพูต่างๆ ของเรือดำน้ำ จะสามารถช่วยบรรเทาได้จริงหรือไม่ ข้อ 3 การกำหนดจุดห้ามดำน้ำ และ จำกัดจำนวนนักท่องเที่ยว หรือนักดำน้ำ ทำได้จริงหรือไม่ และจะวางมาตรการอย่างไร ใครเป็นผู้ริเริ่ม และ มีการติดตามผล การสรุปผล รวมทั้งการวางแผนระยะสั้น ระยะยาว ทำได้หรือไม่ หรือเป็นแค่แนวคิดเท่านั้น ข้อ 4 หากทำได้ ต้องใช้ระยะพักฟื้นอีกนานเท่าใด ข้อ 5 เราควรจะต้องวางมาตรการด้านอื่นๆ เสริมควบคู่กันไปอีกหรือไม่ เช่นการให้การประชาสัมพันธุ์ กับคนไทยทุกคน หรือคนที่มาเที่ยวประเทศไทย หากคนอื่นเค้าตระหนักกันดี แล้วเราเองปล่อยปละละเลย หรือไม่ทำ ก็เหมือนพายเรือในอ่าง เหมือนเดิม
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Super_Srinuanray : 02-12-2010 เมื่อ 11:09 |
#14
|
||||
|
||||
อารมณ์ตอนนี้ อยากเห็นความจริง ชมภาพเละๆของแนวปะการัง มากกว่าภาพสวยๆของน้องติ่งนะคะ.... สิ่งที่น้องติ่งเสนอมานั้น ทางหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกับนักวิชาการดำเนินการออกมาตรการอยู่อย่างเร่งด่วนทั้งทางด้านการวิจัย และการจัดการ ค่ะ...ผลเป็นอย่างไร คงจะประกาศออกมาให้ทราบได้ในไม่ช้านี้... ส่วนมาตรการที่จะออกมา...จะทำได้จริง หรือประสบผลสำเร็จหรือไม่ ทุกๆฝ่ายไม่ว่าจะเป็นหน่วยราชการ นักวิชาการ เอกชน และประชาชนทั่วไป คงต้องให้ความร่วมมือร่วมใจ ช่วยกันอย่างเต็มที่ และต้องลุ้นให้ธรรมชาติเป็นใจไม่มาซ้ำเดิมให้แนวปะการังบอบช้ำมากขึ้นค่ะ...
__________________
Saaychol |
#15
|
||||
|
||||
พี่น้อยขา ด้วยความสัตย์จริง...ที่น้องนำภาพสวยๆๆ มาให้ชมนั้น ไม่ได้จะอวดนะคะ แต่อยากนำเสนอว่า
ส่วนที่ยังสวยๆๆ และ น่าจะอนุรักษ์ หรือจำกัดเขตก็ยังมีอีกนะคะ...ไม่ใช่ว่าจะดำไม่ได้เลย แต่หาก การดำเนินงานของภาครัฐช้าไป อาจจะเหลือแต่สุสาน แบบที่คุณ thoto_dive นำเสนอน่ะค่ะ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#16
|
|||
|
|||
ภาพสะท้อน
ตอนนี้ผมกำลังอยากจะรวบรวมภาพก่อนและหลังเหตุการณ์ที่เป็นจุดเดียวกันไม่ว่าที่ไหนของท้องทะเลไทย เหมือนที่คุณอัลกอร์เปรียบเทียบกรณีโลกร้อน เพื่อเสนอต่อสื่อมวลชนเพื่อเป็นแรงงกระตุ้นต่อทุกภาคส่วน
ถ้ามีท่านใดพอจะช่วยได้ก็ติดต่อมาที่ Termsak_Tang@yahoo.com ครับ พร้อมรับภาพและคำแนะนำเสมอ ภาพปะการังบริเวณด้านซ้ายของหาดเล็กของเกาะ 4 สิมิลันครับ |
#17
|
|||
|
|||
เพิ่งกลับจากสิมิลันมาเหมือนกัน คราวนี้ได้ดำแค่ 2 ไดฟ์ แต่ขอลงดำน้ำจุดที่ผมสนใจคือ แนวslope บริเวณเรือนกล้วยไม้เกาะ 7 และ แนว slope บริเวณหินม้วนเดียวเกาะ 5 มีความแตกต่างของ 2 บริเวณนี้ครับ เกาะ 7 ด้านบนslope เสียหายเยอะมาก 70-80% แต่ยังพบบางส่วน ที่ยังดี(แต่ไม่เท่าเดิม)อยู่ ปะรังที่พบว่าฟอกขาวน้อยกว่าชนิดอื่นๆในระดับน้ำลึกคือ ปะการังแผ่นผิวเกล็ดน้ำแข็ง Montipora sp.ปะการังลายลูกฟูก Pachyseris sp. ปะการังดาวใหญ่ Diploastrea sp. และปะการังดอกกะหลำ Pocillopora sp. ผมพยายามมองหาปะการังปลายเข็ม Seriatopora hystrix:ซึ่งในเมืองไทยพบที่หมู่เกาะสุรินทร์-สิมิลัน แต่เที่ยวนี้หาไม่พบครับ
เกาะ5 ปะการังเขากวางที่ขึ้นเป็นหย่อมในที่ตื้น 10-15 เมตร ตายเกือบหมด แต่ยังยืนโครงร่างอยู่ได้ ส่วนในที่ลึกปะการังยังพบอยู่บ้างแต่ไม่มาก ส่วนความสวยของกองหินม้วนเดียวยังคงมีอยู่ครับ แต่ไม่สวยเหมือนเดิม ปลาที่พบในทั้งสองที่ยังคงชุกชุมอยู่แต่กลุ่มองค์ประกอบอาจเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อยปลากินพืชหลักๆจะมีมากขึ้น ปลาสลิดหิน ปลาขี้ตังเบ็ด ยังคงมากอยู่ ปลาผีเสื้อยังมีครับแต่น้อยกว่าเดิม ปลานกขุนทองก็น้อยกว่าเดิม ส่วนปลานกแก้วเต็มวัยพบได้น้อย แต่ปลาวัยรุ่นและลูกปลาพบได้มากน่าจะอยู่ในช่วงการแทนที่ประชากร น่าสนใจว่าประชากรปะการังในอนาคตจะมีรูปแบบการแทนที่กันอย่างไร แหล่งพันธ์ปะการังที่เหลืออยู่จะยังมีมากพอที่จะฟื้นสภาพได้เร็วแค่ใหน ที่สำคัญครับ จะทำอย่างไรให้กิจกรรมของเรากระทบกลไกธรรมชาติให้น้อยที่สุด |
#18
|
|||
|
|||
อ่านแล้วใจหายจัง
|
#19
|
||||
|
||||
เศร้าใจ..>.<
|
#20
|
||||
|
||||
ขอบคุณคุณ thoto_Dive และพี่ติ่งด้วยครับสำหรับรายงาน ..
กำลังคิดอยู่ว่าเราพอจะทำอะไรได้บ้าง .. หรือว่าเราอาจจะต้องทำโครงการรณรงค์เฉพาะกิจ ปลุกกระแสสังคมเพื่อ Save Similan กันดี ผมเห็นด้วยกับคุณ Thoto_Dive ที่จะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นกันก่อนครับผม พี่สองสายและเพื่อนๆคิดว่าอย่างไรบ้างครับ .. |
|
|