#11
|
||||
|
||||
เมื่อสองอาทิตย์ก่อนกลับไปบ้านที่อ.ปากพนัง เลยหาโอกาสไปตามหาทากเปลือยไอ้เท่งให้เห็นกับตา โดยใช้เปเปอร์ดังกล่าวเป็นลายแทงตามแต่จะมีข้อมูล โดยจากจุดที่ลองพล๊อตดูนั้นอยู่ในบริเวณริมถนนซึ่งเป็นป่าชายเลนข้างทางไปแหลมตะลุมพุก ซึ่งเพื่อนผมที่มีชื่อเป็นผู้แต่งร่วมในเปเปอร์ยืนยันมาว่าพิกัดถูกต้องแล้ว (แต่ผมว่าความละเอียดน่าจะไม่พอ)
ก็ลองขี่มอเตอร์ไซค์ไประยะทางราวยี่สิบกิโลจากบ้าน แล้วทดลองแวะริมป่าชายเลนข้างทางเป็นระยะ หาปลักน้ำขังที่มียุงดู ซึ่งหายาก เพราะพื้นป่าชายเลนที่เจอจากริมถนน มักจะอยู่สูง หรือไม่ก็พื้นดินมีสัดส่วนทรายอยู่เยอะ จึงหาปลักน้ำขังยาก เจอในบริเวณรอยคูน้ำที่น้ำยังไม่ท่วมถึงมีปลักที่มีลูกน้ำอยู่เต็ม ก็ยังหาตัวทากเปลือยไม่เจออีก หาทั้งปลักน้ำใส และน้ำดำเหม็นแก็สไข่เน่าก็แล้ว ยังไม่เจอเลยครับ คงต้องไว้แก้ตัวกลับบ้านคราวหน้าอีกแหละครับ ถึงจะมารายงานใหม่อีกครั้ง ตอนนี้ลองอีเมลไปถามเพื่อนให้ได้รายละเอียดลึกยิ่งขึ้น แล้วรอเมลตอบกลับอยู่ครับ |
#12
|
||||
|
||||
ขอบคุณสำหรับความพยายามและการรายงานอย่างต่อเนื่องค่ะ คุณนกกินเปี้ยว... สองสายไปโลซินคราวนี้ได้ร่วมทำงานกับน้องก้องเกียรติ และ น้องสะดี จากสถาบันวิจัยฯ ภูเก็ต น้องสันติ จากสงขลา น้องอัญชลีจากมันใน อาจารย์จาก ม. บูรพา และเกษตรฯ อีกหลายท่าน รวมทั้งน้องโจ้ ซึ่งทำงาน Wetland อยู่ที่สุราษฎร์ จะขอให้น้องโจ้ ช่วยดูเรื่องนี้ให้อีกทางค่ะ
__________________
Saaychol |
#13
|
||||
|
||||
"ไอ้เท่ง" ทากชนิดใหม่ของโลก ค้นพบโดย นักวิทย์ฯ ม.อ. นัก วิทยาศาสตร์ ม.อ. ปัตตานี ค้นพบทากทะเลชนิดใหม่ของโลก บริเวณร่องน้ำ ป่าชายเลนที่อ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งชื่อ “ไอ้เท่ง” ตามตัวหนังตลุงปักษ์ใต้ "ไอ้เท่ง"ทากทะเลชนิดใหม่ของโลก Dr. C.Swennen ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลจากประเทศเนเธอร์แลนด์ และ นายสมศักดิ์ บัวทิพย์ นักวิทยาศาสตร์ จากแผนกชีววิทยา ร่วมกับ พิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ค้นพบทากทะเล (slug) ชนิดใหม่ของโลก อยู่ในไฟลัม Mollusca ชั้น Gastropoda วงศ์(Family) Aitengidae ชื่อ Aiteng ater หรือ “ไอ้เท่ง” " เราค้นพบทากทะเล ชนิดนี้ โดยพบในป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน ซึ่งถูกปกคลุมด้วยต้นโกงกาง แสมทะเล ตาตุ่มทะเล และปรงทะเล ในบริเวณที่เป็นร่องน้ำ รอยเท้ามีน้ำท่วมขัง รูปู แอ่งที่มีน้ำท่วมขัง และที่มีการทับถมของใบไม้และไม้ผุ และเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลง สิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลนเหมือน กับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ" การขับเมือกหุ้มร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น ลักษณะภายนอกของ “ไอ้เท่ง” ที่สามารถสังเกตได้คือ มี ขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก โดยมีการขับเมือกหุ้มร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น และในน้ำ คล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วๆไป ซึ่งความพิเศษนี้พบได้น้อยมากกับชนิดของทากทะเลที่มีการค้นพบหรือมีการศึกษาอยู่แล้วในปัจจุบัน จากการทดสอบพบว่า อาหารที่มันกินคือ แมลงในระยะดักแด้ ขณะนี้ ได้มีการเก็บมาจากปากพนังไว้ที่แผนกชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมไป" สำหรับชื่อ Aiteng ater มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ คือคำว่า Aiteng มาจากชื่อเรียกตัวหนังตะลุงของปักษ์ใต้ ชื่อ ไอ้เท่ง ซึ่งมีลักษณะตัวสีดำและมีลักษณะของตาที่คล้ายกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ และ คำว่า ater มาจากภาษาลาติน หมายถึง สีดำ จาก : ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 5 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#14
|
||||
|
||||
ม.อ.ปัตตานี ค้นพบ"ไอ้เท่ง" ทากทะเลพันธุ์ใหม่ของโลก นักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) วิทยาเขตปัตตานี ประสบความสำเร็จจากการค้นพบทากทะเลชนิดใหม่ของโลก บริเวณร่องน้ำป่าชายเลนอ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งชื่อ "ไอ้เท่ง" ตามตัวหนังตะลุงปักษ์ใต้ ระบุมีส่วนช่วยรักษาสมดุลธรรมชาติ เมื่อ วันที่ 6 ตุลาคม ผศ.พักตรา คูบุรัตถ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี เปิดเผยว่า Dr.C.Swennen ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำงานค้นคว้าวิจัยที่ ม.อ.ปัตตานี มาเป็นเวลานานนับ 10 ปี และนายสมศักดิ์ บัวทิพย์ นักวิทยาศาสตร์ แผนกชีววิทยา ได้ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติ และเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี ค้นพบทากทะเล (slug) ชนิดใหม่ของโลก อยู่ในไฟลัม Mollusca ชั้น Gastropoda วงศ์ (Family) Aitengidae ชื่อ "Aiteng ater" หรือ "ไอ้เท่ง" "นักวิทยาศาสตร์ค้นพบทากทะเลพันธุ์ใหม่ในบริเวณป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน ซึ่งถูกปกคลุมด้วยต้นโกงกาง แสมทะเล ตาตุ่มทะเล และปรงทะเล เป็นต้น ในบริเวณที่เป็นร่องน้ำ รอยเท้ามีน้ำท่วมขัง รูปู แอ่งที่มีน้ำท่วมขัง รวมถึงบริเวณที่มีการทับถมของใบไม้และไม้ผุ และเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลง และสิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลน เหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ" ผศ.พักตรากล่าว และว่า ลักษณะภายนอกของ "ไอ้เท่ง" ที่สามารถสังเกตได้คือ มีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก โดยมีการขับเมือกหุ้มร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น คล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วๆ ไป ซึ่งความพิเศษนี้พบได้น้อยมากกับชนิดของทากทะเลที่มีการค้นพบหรือมีการศึกษา อยู่แล้วในปัจจุบัน ผศ.พักตรากล่าวอีกว่า จากการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า แมลงในระยะดักแด้เป็นอาหารของทากทะเลชนิดนี้ ขณะนี้ได้มีการเก็บตัวอย่างทากทะเล "ไอ้เท่ง" มาจากปากพนังเพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมที่แผนกชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และว่า สำหรับชื่อ Aiteng ater มีความหมายเกี่ยวข้องกับความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ คำว่า Aiteng มาจากชื่อเรียกตัวหนังตะลุงของปักษ์ใต้ ชื่อ ไอ้เท่ง ซึ่งมีลักษณะตัวสีดำและมีลักษณะของตาที่คล้ายกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ ขณะที่คำว่า ater มาจากภาษาละติน หมายถึง สีดำ จาก : มติชน วันที่ 7 ตุลาคม 2552
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#15
|
||||
|
||||
ตอนนี้เพื่อนผมให้ข้อมูลละเอียดมากขึ้นแล้ว แต่ก็ไม่แน่ว่าจะเจอได้ครับ เพราะต่างฤดูกาล สภาพพื้นป่าก็เปลี่ยน อย่างคราวหน้าที่จะกลับบ้านคือปีใหม่ ช่วงนั้นน้ำทะเลน่าจะท่วมพื้นป่าจนทั่วไปหมด
|
#16
|
||||
|
||||
ทากทะเลที่ขึ้นมาตายเกลื่อนชายหาด อ่าวประจวบคีรีขันธ์ หน้า อบจ.ประจวบฯ พอจะทราบกันไหมคะว่าเป็นทากพันธุ์อะไร ดูตัวโตและรูปร่างคล้ายลูกปลิงทะเลมากกว่าทากนะคะ ภาพจาก...ไทยรัฐ (รายละเอีดยดอ่านได้ในสรุปข่าวฯ ของ SOS วันนี้)
__________________
Saaychol |
#17
|
||||
|
||||
เป็นกระต่ายทะเล Bursatella leachii ค่ะ ตัวเป็นๆ สวยน่ารักพอดูได้ แต่พอตายดูขึ้นอืดเชียวค่ะ
|
#18
|
||||
|
||||
ที่เห็นในภาพดูดำๆ คล้ายปลิงทะเลนั้นเพราะมันตายและเริ่มอืดน่ะค่ะ
พอดีวันที่มันขึ้นมาตายเกลื่อนนั้น แม่หอยอยู่กรุงเทพฯ แต่น้องๆ ได้ไปถ่ายภาพและเก็บตัวอย่างดู เป็นพันธุ์ที่ปกติก็พบเข้ามาอยู่ในบ่อเลี้ยงสัตว์ทะเลของเราอยู่ประจำค่ะ พันธุ์เดียวกับที่พี่สายชลและหลายๆ ท่านได้เห็นใต้ทะเลกันมาแล้ว ไม่ทราบว่าโลกแปรปรวนท่าไหน เลยพากันถูกซัดมาตายเกลื่อนเต็มหาดขนาดนั้น |
#19
|
||||
|
||||
ภาพจาก....http://www.saveoursea.net/boardapr20...?topic=272.105 ขอบคุณจ้ะน้องแม่หอย.... ถ้าเป็นพันธุ์ Bursatella leachii อย่างที่น้องแม่หอยบอก ก็น่าเสียดายมากๆค่ะ เพราะเมืองไทยหาดูได้ยากมาก สองสายดำน้ำมานาน แต่เคยเห็นทากทะเลพันธุ์นี้เพียงสองครั้งเท่านั้น คือที่เกาะสาก พัทยา และที่กองหินสามเหลี่ยม ชุมพร ส่วนทะเลต่างด้าว ไม่เคยเห็นเลยค่ะ ภาพข้างบนนั้นพบที่เกาะสาก พัทยาค่ะ ตัวโตจนน่าตกใจ คือตัวยาวราว 12 ซม. กว้าง 2 ซม. มีหูยาว ขนปุกปุย และกลางหลังมีหลุมลึก ประหลาดดี ส่วนที่ชุมพรยังหาไม่พบ จำได้ว่ามันอาศัยอยู่บนอวนที่คลุมกองหินสามเหลี่ยมอยู่ เราจะตัดอวน แต่ Dive Leader ของชุมพรคาบาน่าไม่ให้ตัด เพราะห่วงทากพันธุ์นี้ที่เกาะอวนอยู่ 2-3 ตัว...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 31-10-2009 เมื่อ 04:21 |
#20
|
||||
|
||||
ไม่ต้องเสียดายหรอกค่ะ พี่สายชล
.. คือที่จริงก็เสียดาย ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ทากทะเลตายหมู่อย่างที่เกิดนะคะ แต่จะบอกว่าเจ้ากระต่ายทะเลพวกนี้ที่จริงมีอยู่เยอะ เป็นกระต่ายทะเลสามัญประจำบ้าน เวลานี้ก็มีสร้างหลักปักฐานอยู่ตามบ่อเลี้ยงกุ้งเลี้ยงปลาทั้งของชาวบ้านและในศูนย์ของเราที่คลองวาฬก็พบเป็นประจำค่ะ ไม่กี่วันมานี้ก็เห็นวางไข่อยู่ในกระชังเลี้ยงปลาของเรา 2 ตัว บางช่วงมีมากจนขนลุก.. ไข่ของมันเป็นสายๆ วางเป็นกระจุกคล้ายขนมจีนหรือเส้นหมี่ หน้าตาคล้ายไข่หอยชักตีน แต่เส้นใหญ่กว่ามาก ลูกน้อยๆ ก็หน้าตาเหมือนหอยฝาเดียว พวกเราเคยเอามาทดลองเพาะฟัก เพราะช่วงนั้นระบาดมาก นักวิชาการคนหนึ่งเลยอยากจะดูว่ามันจะเป็นพิษเป็นภัยหรือไม่ รวมทั้งจะกำจัดอย่างไรให้หมดไปจากบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเรา แต่สุดท้ายก้ไม่ต้องทำอะไร ช่วงหนึ่งมันก็จะแพร่พันธุ์มาก อาศัยกินตะไคร่สาหร่ายในบ่อ วางไข่ แล้วก็หายไปเฉยๆ อยู่อย่างสงบเสงี่ยมเจียมตัว ดูไม่มีพิษภัยอะไร พวกเราเลยชินๆ กับมัน |
|
|