#21
|
||||
|
||||
ขนซากรถถังใช้ทำเป็นปะการังเทียมฟื้นฟูทะเลอ่าวไทยออกจากโคราชแล้ว ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 05.00 น. วันที่ 23 ก.ค. ที่กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธทหารบก เจ้าหน้าที่กรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ได้นำซากรถถังรุ่น 30 T 69-2 ล็อตแรกจำนวน 9 คันที่จะใช้ทำเป็นปะการังเทียมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลอ่าวไทย แถบจังหวัดนราธิวาส ตามโครงการพระราชดำริปะการังเทียมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ออกเดินทางจากจังหวัดนครราชสีมาแล้ว โดยขบวนซากรถถังได้เดินทางมุ่งหน้าไปยังท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ เพื่อส่งมอบซากรถถังให้ทางกรมประมงรับช่วงต่อเคลื่อนย้ายซากรถถังไปทิ้งลงทะเลอ่าวไทยแถบจังหวัดนราธิวาสต่อไป สำหรับซากรถถังที่ถูกนำไปทำเป็นแหล่งปะการังเทียมนี้ เป็นรถถังขนาดกลาง รุ่น 30 T 69-2 ซึ่งผลิตขึ้นในประเทศจีน และถูกนำมาประจำการที่กองพันทหารม้าที่ 16 จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. 2530 ก่อนที่เสื่อมสภาพและถูกนำมาซ่อมบำรุงกับทางกองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ เมื่อปี พ.ศ.2547 แต่หลังจากประเมินแล้วหากดำเนินการซ่อมแซมจะไม่คุ้มค่า ทางกองทัพบกจึงเห็นควรส่งมอบซากรถถังที่ไม่ใช้แล้วให้กับกรมประมงใช้ทำเป็นปะการังเทียมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ตามโครงการพระราชดำริปะการังเทียม ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงต้องการส่งเสริมและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลและการประมงของประเทศไทย ทั้งนี้ ซากรถถังที่ทางกองทัพบกส่งมอบให้กับกรมประมงครั้งนี้มีจำนวน 25 คัน โดยจะทำการเคลื่อนย้ายทั้งหมด 3 รอบ ซึ่งในวันนี้ (23 ก.ค. 53) เป็นการเคลื่อนย้ายซากรถถังรอบแรกจำนวน 9 คัน รอบที่สองวันที่ 25 ก.ค. จำนวน 8 คัน และรอบสุดท้ายวันที่ 27 ก.ค.อีกจำนวน 8 คันโดยทางกองทหารขนส่งรักษาพระองค์จะทำการเคลื่อนย้ายซากรถถังไปที่ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ จากนั้นกรมประมงจะรับช่วงเคลื่อนย้ายต่อเพื่อนำซากรถถังไปทิ้งลงทะเลอ่าวไทยต่อไป โดยโครงการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นภายในวันที่ 9 สิงหาคม 2553 นี้ จาก : มติชน วันที่ 23 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#22
|
||||
|
||||
ทบ.ปลดรถถังชำรุดส่งประมงทำปะการังเทียม กองทัพบกส่งมอบซากรถถัง 25 คันให้กรมประมงนำไปสร้างปะการังเทียม ฟื้นฟูทะเลอ่าวไทยที่ จ.นราธิวาส ปัตตานี ที่กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ สายสรรพวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์ สายสรรพวุธ กรมสรรพวุธทหารบก (กรซย.ศซส.สพ.ทบ.) ภายในค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดเตรียมซากรถถังที่ถูกปลดระวางจำนวน 25 คันไปทำเป็นปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดนราธิวาสและ ปัตตานี รถถังดังกล่าวอยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรมจนเป็นสนิมเขรอะ ซึ่งจอดเรียงรายตาก แดดตากฝนอยู่ลานด้านหน้าโรงซ่อมบำรุงภายในศูนย์ดังกล่าว เป็นรถถังขนาดกลาง รุ่น 30 t 69-2 ที่เคยใช้งานอยู่แถบชายแดนประเทศไทย ซึ่งเป็นรถถังที่ผลิตขึ้นในประเทศจีน และถูกนำมาประจำการที่กองพันทหารม้า ที่ 16 จังหวัดนครศรีธรรมราช กองทัพบกไทย ตั้งแต่เมื่อปี 2530 ก่อนที่เสื่อมสภาพและถูกนำมาซ่อมบำรุงที่ กรซย.ศซส.สพ.ทบ. เมื่อปี 2547 แต่ไม่สามารถทำการซ่อมแซมได้ เนื่องจากประเมินความเสียหายแล้วเกิน 60% และไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม โดยมาจัดเตรียมลำเลียงขึ้นหัวรถลากเทรนเลอร์ 22 ล้อของกรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ เพื่อขนย้ายไปยังท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ ก่อนจะนำขึ้นเรือไปยังจังหวัดนราธิวาส และจะถูกนำไปทิ้งลงในทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดนราธิวาสและปัตตานี เพื่อสร้างเป็นปะการังเทียมให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล ตามโครงการพระราชดำริปะการังเทียมของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงต้องการส่งเสริมและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของท้องทะเลและการประมงของประเทศไทย พ.อ.มังกร ว่านเครือ รองผู้อำนวยการ กรซย.ศซส.สพ.ทบ. เปิดเผยว่า การส่งมอบซากรถถังในครั้งนี้เป็นการสนองพระเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงต้องการช่วยเหลือประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะแถบชายฝั่งจังหวัดปัตตานีและ นราธิวาส ซึ่งจริงๆแล้วโครงการนี้มีหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกรมประมง รวมถึงหน่วยราชการอื่นๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะอนุรักษ์ฟื้นฟูความสมบูรณ์ของท้องทะเลเช่นเดียวกัน สำหรับทางหน่วยทหารในสังกัดแห่งนี้ก็เป็นซากรถถังที่หมดสภาพซ่อมไม่คุ้มค่า เนื่องจากถูกใช้การมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเข้ามาประจำการในกองทัพไทยตั้งแต่ปี 2530 ที่ผ่านมา และกองทัพบกได้มีการพิจารณาแล้วว่า หากนำไปพัฒนาฟื้นฟูทะเลจะทำให้เกิดประโชยน์ต่อชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความสมบูรณ์ของท้องทะเลมากกว่าอย่างอื่น พ.อ.มังกรกล่าวอีกว่า สำหรับการขนย้ายซากรถถังทั้งหมดจะทำการเคลื่อนย้าย 3 รอบ คือ วันที่ 22, 24 และ 26 กรกฎาคม 2553 โดยทางกองทหารขนส่งรักษาพระองค์จะทำการขนย้ายไปที่ท่าเรือคลองเตย กรุงเทพฯ จากนั้นกรมประมงจะรับช่วงต่อโดยเดินทางทางเรือ เพื่อนำซากรถถังทั้งหมดไปรวมไว้ที่หน้าพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ก่อนจะนำไปทิ้งลงทะเลทำเป็นปะการังเทียมต่อไป. จาก : ไทยโพสต์ วันที่ 23 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#23
|
||||
|
||||
เห็นข่าวนี้เหมือนกัน และมีข้อสงสัยตามประสาคนความรู้น้อย การที่เอารถถังลงไปอย่างนี้ มันจะสร้างมลพิษอะไรให้กับทะเลบ้างมั๊ยครับ อย่างสนิมจากตัวรถถัง ส่วนพวกน้ำมันเครื่อง จารบีอะไรต่างๆ คาดว่าเขาคงจะชำระทำความสะอาดก่อนเอาลงไปไว้ัในทะเลนะครับ ไม่ทราบว่ามีการศึกษาทำวิจัยผลดี/ผลเสียจากการทำปะการังเทียมอย่างนี้มั๊ยครับ
|
#24
|
||||
|
||||
คงต้องทำความสะอาดตามขบวนการปฏิบัติเหมือนกับรถไฟและเครื่องบินที่นำไปทิ้งลงทะเลมาแล้วน่ะค่ะน้องก้อย ส่วนจะสะอาดจริงหรือไม่ ยากจะรู้ จนกว่าจะนำไปจมแล้วน้ำมันลอยฟ่องหรือไม่นะคะ ผลดี....ก็น่าจะมีปลามาอาศัยกันมากขึ้น....ส่วนผลเสียก็น่าจะเป็นส่วนที่เป็นสนิม จะทำให้มีมลพิษเพิ่มขึ้นในท้องทะเล เหมือนกับตู้รถไฟ ที่ผุพัง กองเป็นขยะอยู่ก้นทะเลในเวลานี้... ได้ยินเรื่องนี้มาจากนักเรียนที่เป็นนักข่าวช่อง 9 แต่ไม่นึกว่าจะนำไปลงที่นราธิวาส ถ้าไม่ไกลจากโลซิน เราน่าจะไปแวะดูนะคะ..
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 23-07-2010 เมื่อ 10:11 |
#25
|
||||
|
||||
แล้วมันจะอยู่ได้นานซักเท่าไหร่เหรอครับแบบที่ยังพอเป็นโครงอยู่
|
#26
|
||||
|
||||
โบกี้รถไฟ ที่มีไม้เป็นโครงหลักกับเหล็กที่เป็นสนิมได้ง่าย.... 5 ปี ก็กองเป็นขยะอยู่ที่พื้นทราย
ถ้าเป็นเหล็กกล้าอย่างเรือครามก็อยู่ได้นานค่ะ ไม่ผุง่ายๆ 7 ปีแล้วก็ยังดีอยู่ (ยกเว้นหอบังคับการ ที่ต่อในไทย ยุบไปเรียบร้อย)... แต่ไม่ทราบว่ารถถังเป็นเหล็กประเภทไหน เลยตอบไม่ได้ค่ะ...
__________________
Saaychol |
#27
|
||||
|
||||
ซากรถถัง 25 คัน ทำปะการังเทียม ส่งให้กรมประมงฟื้นฟูทะเลนราธิวาส-ปัตตานี นครราชสีมา เมื่อวันที่ 22 ก.ค. ที่กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ ภายในค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมืองนครราชสีมา ทางหน่วยได้จัดเตรียมซากรถถังจำนวน 25 คัน ซึ่งเป็นรถถังขนาดกลาง รุ่น 30 T 69-2 ซึ่งเป็นรถถังที่ผลิตขึ้นในประเทศจีน และถูกนำมาประจำการที่กองพันทหารม้าที่ 16 นครศรีธรรมราช กองทัพบก เมื่อปี 2530 ก่อนที่เสื่อมสภาพและถูกนำมาซ่อมบำรุงเมื่อปี 2547 แต่ไม่สามารถซ่อมแซมได้ เนื่องจากประเมินความเสียหายแล้วเกิน 60% และไม่คุ้มค่ากับการซ่อมแซม มาจัดเตรียมลำเลียงขึ้นหัวรถลากของกรมทหารขนส่งรักษาพระองค์ เพื่อขนย้ายไปยังท่าเรือคลองเตย ก่อนจะขึ้นเรือไปยังจ.นราธิวาส และจะถูกนำไปทิ้งลงในทะเลอ่าวไทยที่นราธิวาสและปัตตานี ทำเป็นปะการังเทียม เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเล พ.อ.มังกร ว่านเครือ รองผอ.กองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ เปิดเผยว่า การส่งมอบซากรถถังในครั้งนี้เป็นการสนองพระเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงต้องการช่วยเหลือประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะแถบชายฝั่งจ.ปัตตานีและนราธิวาส ซึ่งจริงๆแล้วโครงการนี้มีหลายหน่วยงานที่เข้าร่วมให้การสนับสนุน ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของกรมประมง รวมถึงหน่วยราชการอื่นๆ ทั้งนี้ ก็เพื่อต้องการที่จะอนุรักษ์ฟื้นฟูความสมบูรณ์ของท้องทะเลเช่นเดียวกัน สำหรับในส่วนของทางหน่วยทหารในสังกัดตนเองนี้ก็เป็นซากรถถังที่หมดสภาพซ่อม ไม่คุ้มค่า เนื่องจากถูกใช้การมาเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน โดยเข้ามาประจำการในกองทัพไทยตั้งแต่ปี 2530 กองทัพบกพิจารณาแล้วว่าหากนำไปพัฒนาฟื้นฟูทะเลจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อชาวประมงพื้นบ้าน สร้างความสมบูรณ์ของท้องทะเลมากกว่าอย่างอื่น สำหรับการขนย้ายซากรถถังทั้งหมด จะเคลื่อนย้าย 3 รอบ คือวันที่ 22 ก.ค. 24 ก.ค. และ 26 ก.ค. นำไว้ที่หน้าพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ก่อนจะนำไปทิ้งลงทะเลต่อไป จาก : ข่าวสด วันที่ 24 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#28
|
||||
|
||||
หย่อนปะการังเทียมฟื้นทะเลสนองพระราชดำรัสราชินี หลายหน่วยสนองพระราชดำรัสราชินี ทำปะการังเทียม ตามแผน 15 จุด โบกี้ 273 คัน รถขยะกทม. 198 คัน รถถัง 25 คัน ฤกษ์หย่อนทะเลปัตตานี-นราธิวาส 2-9 ส.ค. นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในวโรกาส 78 พรรษา ในวันที่ 12 สิงหาคม 2553 และรับสนองพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2552 ในโอกาสที่คณะบุคคลต่างๆเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสร้างปะการังเทียมเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวประมงเพิ่มขึ้น จากพระราชดำรัสดังกล่าว ขณะนี้หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้บูรณาการการทำงานร่วมกันในการจะจัดสร้างปะการังเทียมภายใต้ “โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส” ประกอบด้วย การรถไฟแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร กองทัพบก และกองทัพไทย โดยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน ซึ่งมอบหมายให้กรมประมงประสานงานหน่วยงานต่างๆกำหนดจุดพิกัดที่จัดวางปะการังเทียมร่วมกับชาวประมงท้องถิ่น และควบคุมการจัดวางวัสดุให้ถูกต้องตามที่ชาวประมงต้องการ สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการฯกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงได้ประสานงานกับหน่วยสนับสนุนต่างๆ จนกระทั่งทุกหน่วยงานมีความพร้อมที่จะส่งมอบวัสดุดังกล่าวข้างต้น โดยได้กำหนดแผนให้มีการส่งมอบวัสดุทั้งหมด ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทยสนับสนุนตู้รถสินค้า จำนวน 273 คัน กรุงเทพมหานครสนับสนุนรถยนต์เก็บขยะมูลฝอย จำนวน 198 คัน กองทัพบกสนับสนุนรถถัง รุ่น T 69 จำนวน 25 คัน และกองทัพไทยสนับสนุนรถยนต์ 3 คัน บริเวณท่าเทียบเรือชายฝั่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร ในวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2553 และการสังเกตการณ์ในทะเล ในทะเลพื้นที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ช่วงวันที่ 2 - 9 สิงหาคม 2553 ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ตั้งเป้าหมายของโครงการฯ ที่นอกจากหน่วยงานต่างๆดังกล่าวข้างต้นได้ร่วมกันจัดทำโครงการพิธีมอบวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้วเพื่อ จัดสร้างเป็นปะการังเทียมในโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสครั้งนี้ขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถแล้ว ยังจะส่งผลทำให้เกิดแหล่งที่อยู่อาศัยสำหรับทรัพยากรทางธรรมชาติใต้ทะเลมากขึ้น ทั้งนี้คาดว่าจะเริ่มเห็นผลสำเร็จใน ระยะเวลาประมาณ 1 ปี ที่นอกจากจะก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ทะเลแล้ว ยังส่งผลทำให้ชาวประมงมีแหล่งประกอบอาชีพทางการประมงเพิ่มมากขึ้นด้วยและจะเพิ่มเติมจากโครงการจัดสร้างปะการังเทียมของกระทรวงเกษตรฯ ตามแผนเร่งรัดในการจัดสร้างปะการังเทียมให้เสร็จตามแผนงาน ทั้งสิ้น 15 แห่ง งบประมาณรวมทั้งสิ้น 42 ล้านบาท แบ่งเป็น การจัดสร้างในเขตจังหวัดตราด 1 แห่ง จันทบุรี 1 แห่ง จังหวัดเพชรบุรี 2 แห่ง จังหวัดชุมพร 2 แห่ง จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 แห่ง จังหวัดสงขลา 2 แห่ง จังหวัดปัตตานี 2 แห่ง จังหวัดนราธิวาส 1 แห่ง จังหวัดสตูล 1 แห่ง จังหวัดกระบี่ 1 แห่ง และจังหวัดพังงา 1 แห่ง เพื่อเป็นการฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำซึ่งจะส่งผลประโยชน์ต่อชาวประมงในการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืนในอนาคต จาก : กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#29
|
||||
|
||||
ทริปโลซินพวกเราอาจจะได้ไปดูกันเหรอคร้าบพี่น้อย ^^
|
#30
|
||||
|
||||
ทบ.ระดมซากรถถัง จัดทำปะการังเทียม สนองพระราชดำรัส ฟื้นธรรมชาติใต้ทะเล นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ เผยว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดสร้างปะการังเทียม เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ทะเลและเป็นแหล่งสร้างรายได้ให้แก่ชาวประมงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หลายหน่วยงานต่างๆประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร กองทัพบก กองบัญชาการกองทัพไทย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อดำเนินโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ปัตตานีและนราธิวาส ทั้งนี้การรถไฟแห่งประเทศไทยสนับสนุนตู้รถสินค้า จำนวน 273 คัน กรุงเทพมหานครสนับสนุนรถยนต์เก็บขยะมูลฝอย จำนวน 198 คัน กองทัพบกสนับสนุนรถถัง รุ่น t 69 จำนวน 25 คัน และกองทัพไทยสนับสนุนรถยนต์ 3 คัน เพื่อนำไปจัดสร้างปะการังเทียมในทะเลพื้นที่ จ.ปัตตานีและนราธิวาส นายธีระ กล่าวด้วยว่า การจัดสร้างปะการังเทียมดังกล่าว นอกจากจะก่อให้เกิดความสมบูรณ์ของระบบนิเวศใต้ทะเลแล้ว ยังส่งผลทำให้ชาวประมงมีแหล่งประกอบอาชีพทางการประมงเพิ่มมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังจะมีการจัดโครงการสร้างปะการังเทียมเพิ่มเติมจากโครงการจัดสร้างปะการังเทียมของกระทรวงเกษตรฯ ตามแผนเร่งรัดในการจัดสร้างปะการังเทียมให้เสร็จตามแผนงาน ทั้งสิ้น 15 แห่ง งบประมาณรวมทั้งสิ้น 42 ล้านบาท แบ่งเป็น จ.ตราด 1 แห่ง จันทบุรี 1 แห่ง เพชรบุรี 2 แห่ง ชุมพร 2 แห่ง นครศรีธรรมราช 1 แห่ง สงขลา 2 แห่ง ปัตตานี 2 แห่ง นราธิวาส 1 แห่ง สตูล 1 แห่ง กระบี่ 1 แห่ง และพังงา 1 แห่ง จาก : แนวหน้า วันที่ 26 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|