เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > Main Category > ห้องรับแขก

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #21  
เก่า 07-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



ข้อมูลจากรมควบคุมมลพิษ ละเอียดและอ่านเข้าใจได้ง่ายค่ะ...

http://wqm.pcd.go.th/water/images/st.../report/EM.pdf

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #22  
เก่า 08-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



มาอีกแล้วค่ะ...คราวนี้บอกว่า EM Ball ใช้ได้ แต่ให้บิเป็นชิ้นเล็กๆก่อนโรย

http://www.thairath.co.th/content/edu/215162

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #23  
เก่า 14-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ใช้ EM Ball อย่างไร ? จึงจะได้คุณค่า



จากปัญหาน้ำเน่าที่ยังตามทำลายคุณภาพชีวิตของคนไทยในขณะนี้ เป็นที่ทราบดีว่า EM ball กลายเป็นฮีโร่หมายเลขหนึ่ง ที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาดังกล่าว

แต่ภายใต้ความสะดวกในการบำบัดน้ำเน่าเสียด้วยวิธีการดังกล่าวนั้น ต้องมีเงื่อนไขการใช้อย่างเหมาะสมจึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจุลชีววิทยา อย่าง ดร.เชิดชัย เชี่ยวธีรกุล คณบดีคณะเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ยืนยัน ว่า EM Ball ใช้ได้ผลจริง แต่ที่บอกว่าการกำจัดน้ำเสียที่ดีที่สุดคือการใช้กังหันชัยพัฒนา ด้วยหลักการเติมออกซิเจนลงไปในน้ำให้มากที่สุดเป็นเรื่องจริง แต่ในกรณีน้ำท่วมทั่วประเทศจะให้ไปติดตั้งกังหันทั่วประเทศอาจเป็นไปไม่ได้ แต่ยังมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกซิเจนอีกมากมายที่สามารถนำมาบำบัดน้ำเสียได้ เนื่องจากจะทำงานเป็นห่วงโซ่อาหารที่กินต่อกันเป็นทอดๆ โดยเฉพาะในภาวะน้ำท่วมเช่นนี้ จะมีเชื้อบาดทะยัก เชื้อโรคต่างๆที่เป็นอันตราย แต่เมื่อส่งจุลินทรีย์ EM ลงไป

ทว่า สิ่งสำคัญที่จะทำให้ EM ball มีประสิทธิภาพคือการใช้ที่ถูกต้อง เช่น บ่อ 10 x 10 เมตร ควรใส่ไม่เกิน 2-4 ลูก แล้วรอประมาณ 2-3 วัน ถ้ายังไม่ดีขึ้น ให้เติมไปอีก 2 ลูก เพราะก้อนจุลินทรีย์แห้ง เมื่อจุลินทรีย์ถูกโยนลงไปแล้วจะใช้เวลาในการปรับตัวกว่าจะเจริญเติบโต ฉะนั้น ผู้ใช้จึงต้องใจเย็น ไม่ใช่โยนไปแล้วจะได้ผลทันที ต้องรอให้เชื้อดังกล่าวเจริญเติบโต ถึงจะแพร่พันธุ์ไปได้เร็วมากจากนั้นจุลินทรีย์ก็จะกินอาหาร ของเน่าเสียในน้ำจนหมด จากนั้นสภาพน้ำจะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งวิธีการแก้ไขปัญหาเช่นนี้ช่วยประหยัดงบประมาณได้ดี

ดร. หฤษฏ์ นิ่มรักษา อาจารย์ประจำสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เสริมว่า การใช้ EM Ball ให้ถูกต้องใช้ในน้ำที่เริ่มต้นเสียจึงจะมีประสิทธิภาพ เป็นน้ำนิ่ง หรือน้ำขังอยู่ในบริเวณบ้าน กรณีน้ำไหลแรงจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ เนื่องจากจะถูกพัดไปกับน้ำหมด ซึ่งหลังจากใส่ไปแล้ว 7-15 วัน คุณภาพน้ำจะเริ่มดีขึ้น ซึ่งหลักการนี้ใช้ในการบำบัดน้ำเสียในคอกปศุสัตว์ ดังนั้นการกำจัดน้ำจากขยะได้ดี

เช่นเดียวกับรศ.ดร.สุมาลี เหลืองสกุล คณบดีคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวยืนยันเช่นกันว่า “ฟันธงได้เลยว่าจุลินทรีย์ใช้บำบัดน้ำเสียได้ เพราะจุลินทรีย์มีหลายชนิด มีวงจรชีวิต ความสามารถ และดำรงชีวิตอยู่ด้วยวงจรชีวิตที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะ EM ย่อมาจาก Effective Micro organism ต้องผ่านการทดลองวิจัยมาแล้วว่ามีความสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ที่เราต้องการให้ย่อยได้ เช่น ในน้ำเสียมีสารอินทรีย์หลายอย่างปะปนกัน ก็จะมีการแยกจุลินทรีย์ที่มีหน้าที่ต่างกันมาทำหน้าที่ เช่น จุลินทรีย์ตัวที่ 1 ย่อยสารอาหารที่มีขนาดใหญ่ ก็ได้ผลผลิตออกมา ตัวที่ 2 ก็มาใช้ผลผลิตของตัวที่ 1 ให้ผลผลิตเป็นอาหารของตัวที่ 3 มันอยู่ร่วมกันแบบถ้อยทีถ้อยอาศัยเป็นระบบนิเวศของเขา ช่วยกันทำงานจนสุดท้ายทำให้น้ำสะอาด เพราะสารอินทรีย์ในน้ำถูกย่อยสลายไปหมด



ด้วย EM ถือเป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ทั้งซากพืช ซากสัตว์ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ประกอบไปด้วยก้อนจุลินทรีย์ธรรมชาติสามกลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลกติก ยีสต์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยย่อยตะกอนให้กลายเป็นอาหารของสัตว์เล็กๆ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในน้ำทำให้เกิดการย่อยสลายที่มากขึ้น และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ทำให้สภาพของน้ำสมดุล เมื่อมีผู้เชี่ยวชาญพรั่งพรุศัพท์วิทยาศาสตร์ออกมายืนยันสรรพคุณเช่นนี้จะไม่ให้EM เป็นพระเอกคงไม่ได้ แต่ก็ยังมีกระแสสงสัยในประสิทธิภาพของเจ้าก้อนกลมนี่ออกมามากมายเช่นกัน ฉะนั้น จะเราควรจะดูว่าหากเราเลือกใช้แล้วผลที่ได้จะคุ้มค่ากับงบในกระเป๋าที่เสียไปหรือไม่




จาก ....................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #24  
เก่า 14-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


Love...จุลินทรีย์ EM นี้มีไว้รักษ์



ถ้าขยะกระทงคือควันหลงของการแสดงความเคารพต่อพระแม่คงคา จะดีกว่ามั้ยหากปีนี้ทุกคนจะเปลี่ยนมาใช้ "EM Ball" เพื่อขอให้พระแม่คงคายิ้มได้ และอภัยต่อความผิดพลาดทั้งหลายที่มนุษย์ได้เคยกระทำ

หลายเดือนมานี้คนไทยหลายภาคส่วนต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก ทั้งแบบที่ "สาหัส" จนถึงกับต้องอพยพไปพึ่ง "ศูนย์พักพิง" และแบบที่พอจะ "เอาอยู่" เลยขอปักหลักเฝ้าดูสถานการณ์น้ำท่วมที่บ้าน แต่ที่มาพร้อมกับ "มวลน้ำ" เห็นจะเป็น "มวลน้ำใจ" ที่มีปริมาตรใหญ่ไม่แพ้กัน

ประชาชนคนไทยรวมถึงชาวต่างชาติที่มี "จิตอาสา" ต่างเสียสละเวลา เงินทอง รวมถึงแรงกาย แรงใจ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในหลายมิติ หนึ่งในนั้นคือการพยายามฟื้นฟูสภาพน้ำที่เน่าเสียจากการท่วมขังและการหมักหมมของขยะปฏิกูลต่างๆ ให้กลับมาคงสภาพ โดยการใช้ตัวช่วยที่เรียกว่า "ลูกบอลจุลินทรีย์" หรือ EM Ball

ทำไมต้องเป็นลูกบอลจุลินทรีย์ แล้ว EM Ball คืออะไร จะช่วยแก้ปัญหาน้ำเน่าได้แค่ไหน วีรณัฐ โรจนประภา เจ้าของ "บ้านอารีย์" ซึ่งเป็นจิตอาสากลุ่มแรกๆ ที่คิดถึงการใช้ลูกบอลจุลินทรีย์ในการบำบัดน้ำเสีย มีคำตอบ

"ตอนนี้มันจะคล้ายๆผงซักฟอกกับแฟ๊บ หรือผ้าอนามัยกับโกเต็ก คือ EM Ball จริงๆ เป็นประเภทหนึ่งของ EM ไม่ใช่ทั้งหมด"

เจ้าของบ้านอารีย์ อธิบายต่อว่า EM ที่ย่อมาจาก Effective Microorganism เป็นจุลินทรีย์ชนิดดีที่มีคุณสมบัติในการบำบัดสิ่งปฏิกูล ไม่ว่าจะในบ่อกุ้ง บ่อปลา โถสุขภัณฑ์ ในน้ำขัง น้ำนิ่ง น้ำไหล ซึ่งแต่ละจุดดังกล่าวต้องใช้ EM ที่มีสูตรต่างกันออกไป โดยลูกบอลจุลินทรีย์เป็นสูตรหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำที่ท่วมขัง ส่วนที่ทำเป็นรูปทรงลูกบอลก็เพื่อความสะดวกในการใช้ สามารถโยนลงไปตามจุดต่างๆ ที่ต้องการได้ เมื่อลูกบอลจมน้ำไปแล้วก็จะทำงานตามขั้นตอนของมัน

"พอเราโยนลงไปจุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านี้ก็จะไปสู้กับอินทรีย์ที่ทำให้เกิดน้ำเน่า แล้วก็ชักชวนเพื่อนๆจุลินทรีย์ที่มีจำนวนล้านตัว เพิ่มเป็นพันล้านตัว ถ้ามันขยายตัวเยอะๆ ก็จะชนะอินทรีย์ ทำให้น้ำเริ่มมีกลิ่นที่ดีขึ้น"

สำหรับลูกบอลจุลินทรีย์ เป็นจุลินทรีย์กลุ่มสร้างสรรค์ที่เกิดจากการค้นคว้าวิจัยของ ศ.ดร.เทรูโอะ ฮิงะ นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญสาขาพืชสวน มหาวิทยาลัยริวกิว เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งส่วนประกอบหลักของลูกบอล EM นี้ คือ ดินสมบูรณ์(หรือทรายละเอียด) รำละเอียด รำหยาบ(หรือแกลบ) กากน้ำตาล น้ำสะอาด และหัวเชื้อจุลินทรีย์

เมื่อนำส่วนผสมทั้งหมดนี้มาคลุกรวมกันและปั้นจนเป็นก้อนกลมแข็งขนาดราวลูกเทนนิส ทิ้งไว้ในเวลาที่เหมาะสมแล้วนำไปโยนในแหล่งน้ำเน่าเสีย ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้นๆได้รับการบำบัดจนค่อยๆดีขึ้นในที่สุด


-------------------------------


คุณสมบัติน่ารักน่าคบแบบนี้ หากจะนำ EM Ball มาเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมขอขมา "น้ำ" ก็คงจะเป็นประโยชน์กว่าการเพิ่มจำนวนขยะให้กับแม่น้ำลำคลอง

"ผมว่าเป็นความคิดที่ดีนะ ลอยกระทง ขยะมันเยอะ เราก็บูรณาการไปเลย ไม่มีขยะด้วย แล้วก็รู้สึกว่า มีส่วนร่วมในประเพณีลอยกระทง เพียงแต่เราอาจจะต้องมาประยุกต์สักหน่อย...ผมกำลังนึกถึงว่า จะเอาภาชนะอะไรมาแทน อืม...กะลามะพร้าวเจาะรูเหมือนที่เขาตีไก่ แล้วเอาลูก EM วางไว้ เจาะรูให้น้ำเข้าไป แต่ต้องให้มันเข้าเร็วเหมือนกัน เพราะถ้า EM แช่น้ำนานๆ จะเปื่อย ต้องเจาะรูใหญ่หน่อย อย่างน้อยให้ลอยนิดหนึ่ง สักครึ่งนาที นาทีหนึ่ง แล้วค่อยจม ไม่งั้นมันจะไม่ได้ประสิทธิภาพ" วีรณัฐ พยายามคิดไอเดียกระทงจุลินทรีย์

ส่วน เก่ง - สุณิชา สู่ศิริ นักวิชาการขนส่ง กรมการบินพลเรือน จิตอาสาที่มาช่วยปั้นลูกบอลจุลินทรีย์ในงาน "ย่านราชประสงค์ รวมพลคน Do D ปั้นน้ำใจ ช่วยภัยน้ำท่วม" ณ ลานกิจกรรม event hall ชั้น 1 ศูนย์การค้าอัมรินทร์พลาซ่า บอกว่า เคยเข้ารับการอบรมเรื่องการผลิตน้ำ EM สำหรับใช้ในบ้านเรือนมา จึงค่อนข้างมั่นใจว่า ประสิทธิภาพของ EM นี้ จะสามารถบำบัดน้ำเสียให้ดีขึ้นได้จริง

"คิดว่าถ้าเป็นน้ำนิ่งๆ น่าจะช่วยได้ในบริเวณที่จำกัด แต่ถ้าเป็นน้ำไหลเชี่ยวคงลำบาก ต้องใช้ EM Ball จำนวนมาก ส่วนบ้านของใครที่มีน้ำขังนานๆ น่าจะช่วยได้" สุณิชา บอก ทั้งยังแสดงความเห็นว่า หากนำลูกบอลจุลินทรีย์ไปหย่อนลงในแหล่งทำเสีย แทนการลอยกระทงในเทศกาลลอยกระทงที่จะมาถึง ไม่เพียงแต่จะเป็นการบำบัดน้ำเท่านั้น แต่ยังเป็นการขอขมาพระแม่คงคาที่สร้างสรรค์ได้อีกทางหนึ่งด้วย

"ปีนี้อย่าเพิ่งลอยกันดีกว่า ก็เข้าใจว่ามันเป็นวัฒนธรรมประเพณีของไทยเรา แต่ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างนี้ เราก็น่าจะหากิจกรรมอย่างอื่นทดแทนไปก่อน ปั้นลูก EM ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีมีประโยชน์ ถ้าใครมีเวลาว่าง อยากให้ใช้เวลาที่มีมาช่วยกันปั้น EM Ball แล้วเอาไปใช้ที่บ้านตัวเองก็ได้ ช่วยเพื่อนบ้านที่น้ำท่วมได้ด้วย ช่วงนี้ก็ต้องดูตามสถานการณ์บ้านเมืองไปก่อน ถ้าลอยกระทง เจ้าหน้าที่ก็ต้องไปคอยเก็บ เป็นขยะในน้ำเพิ่มเข้าไปอีก" สุณิชา อธิบาย

ด้านหนุ่มรั้วนนทรี อย่าง อิ่ม-สุรเชษฐ์ รัตนาคณหุตานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า หากยกเลิกการจัดงานวันลอยกระทงไป ก็คิดว่าไม่ควร แต่ควรจะจำกัดเขตที่ลอยกระทงก็พอได้ เช่น เขตที่จัดไว้อย่างเป็นสัดส่วนบริเวณที่น้ำยังไม่ท่วม โดยจัดให้มีการลอยกระทงตอนค่ำ แล้ววันรุ่งขึ้นก็ช่วยกันเก็บขึ้นมา น่าจะพอรับมือได้ เพราะไม่ทำให้น้ำเน่า ทั้งยังรักษาประเพณีไทยไว้ได้ด้วย หากลอยตามแม่น้ำที่น้ำท่วมอยู่ก็ไม่ไหว

"หันมาโยน EM แทนการทำกระทงไปลอยน้ำมีประโยชน์ในการช่วยสังคมมากกว่า สมมติเรายกเลิกลอยกระทงปีนี้ แต่ปีหน้าเราก็ลอยได้ แต่ว่าช่วงนี้มันเป็นวิกฤตของประเทศจริงๆ ผมว่าควรมาทำอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศก็จะดีกว่า อาจจะสร้างกระแสว่า ลอยกระทงปีนี้มาทำ EM กันเถอะ คือทำเป็นสโลแกนว่าปีนี้เป็นปีพิเศษ คิดเป็น Motto ออกมาเฉพาะปีนี้ไปเลย ว่าทุกคนมาร่วมมือร่วมใจกันลดน้ำเสีย ไม่ลอยกระทง แต่มาโยน EM Ball แทน และอยากให้ทุกคนมาช่วยๆกัน ลำพังทำคนเดียวก็ทำไม่ไหว ถ้าทุกคนร่วมมือกันเราก็จะเกิดพลังที่ยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้" นิสิตภาคการบิน บอก

ส่วน กิม-ไพโรจน์ วงศาสุทธิกุล นักศึกษาชั้นปีที่ 5 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ก็บอกว่าเป็นลักษณะที่ดีที่จะนำสิ่งที่ทันต่อสถานการณ์มาใช้ เพราะตอนนี้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขัง ซึ่งสร้างมลพิษทางน้ำ หากเปลี่ยนจากการลอยกระทงที่อาจไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์ในช่วงนี้มากนัก มาเป็นการโยนลูกบอลจุลินทรีย์ลงไป น่าจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สถานการณ์น้ำเน่าเหม็นก็จะคลี่คลาย

สำหรับผู้มีประสบการณ์อย่าง เซอร์ดาเมียน ปิยวรรณ วงศ์วณิชย์เจริญ บอกว่า ที่โรงเรียนเซนต์ไมเคิ้ลของเธอผลิตน้ำจุลินทรีย์ใช้ทำความสะอาด และรดน้ำต้นไม้มาเป็นเวลานาน แต่การปั้นเป็นลูกบอลแบบนี้เพิ่งจะลองทำเป็นครั้งแรก

ต่อข้อซักถามถึงความคิดเห็นในการใช้ EM Ball แทนการใช้กระทงนั้น เซอร์ดาเมียน ปิยวรรณ เห็นว่า ไม่น่าจะใช้เฉพาะวันลอยกระทง แต่ทุกคนควรตระหนักและใช้กันอย่างเป็นปกติ

"ในช่วงนี้เป็นช่วงที่เราเห็นผลแล้วว่า มนุษย์เราทำลายอะไรไว้บ้าง ฉะนั้นเป็นโอกาสดีที่วันลอยกระทงเราจะกลับมาทบทวนชีวิตของเราเอง แล้วก็เริ่มต้นใหม่ ตั้งแต่ขอโทษจากแม่น้ำ คิดว่าเป็นอะไรที่ต้องเริ่มแล้ว"


-------------------------------


สิ่งมีชีวิตเล็กๆ ที่เรียกว่า จุลินทรีย์ หรือที่บางคนเรียกว่า จุลินทรีย์มีคุณธรรมนั้น มีคุณสมบัติที่สร้างสรรค์ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหากใช้ให้ถูกต้องจะเป็นประโยชน์กับภาวการณ์ปัจจุบันไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ นักวิชาการและที่ปรึกษาของฝ่ายสื่อสิ่งพิมพ์และมัลติมีเดีย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ตั้งข้อสังเกตว่า หัวเชื้อ EM ที่นำมาใช้ในการผลิตลูกบอลจุลินทรีย์ทุกวันนี้ เป็นหัวเชื้อเดิมที่ถูกเก็บไว้ หรือเป็นหัวเชื้อที่เลี้ยงต่อๆ กันมา เพราะถ้าเป็นแบบหลัง EM Ball ที่จิตอาสาลงมือปั้นกันเป็นแสนเป็นล้านลูกนั้น อาจไม่มีประสิทธิภาพตรงตามคุณสมบัติดั้งเดิม

"เชื้อเดิมที่ญี่ปุ่นคิด เป็นเชื้อที่สามารถย่อยสารอินทรีย์ได้ดี ถ้าเราไม่เก็บหัวเชื้อไว้ แต่ใช้วิธีเลี้ยงต่อๆกันไป มันก็จะทำให้ประสิทธิภาพเปลี่ยนไป ซึ่งการเลี้ยงต่อๆ กันแบบที่ชาวบ้านเลี้ยง ถ้ามีเชื้อไม่ดีติดไปด้วย ยิ่งถ้ามันเป็นเชื้อหัวแข็งหรืออยู่รอดได้ ทุกครั้งที่เอาไปเลี้ยงต่อก็อาจจะติดเชื้อไม่ดีไปด้วย"

ดร.นำชัย อธิบายต่อว่า จุลินทรีย์มี 2 แบบ คือแบบที่ต้องการออกซิเจน กับไม่ต้องการออกซิเจน หากนำจุลินทรีย์ที่ต้องการออกซิเจนไปโยนลงในแหล่งน้ำเน่าเสีย ซึ่งมีสภาพไร้ออกซิเจน หรือมีออกซิเจนน้อยอยู่แล้ว ก็จะไม่เกิดผลในด้านดี ทั้งยังจะส่งผลให้น้ำเน่าเสียกว่าเดิม เพราะจุลินทรีย์เหล่านี้จะปล่อยสารไรโตรเจนชนิดที่มีกลิ่นเหม็นออกมา สร้างปัญหาเพิ่มทวีคูณ

"ถ้าเป็นกลุ่มที่ใช้ออกซิเจนน้อย จะไม่ปล่อยสารไนโตรเจน อันนี้จะใช้กับน้ำนิ่ง ถ้าน้ำไหลแล้วเอาไปโยนนั่นก็จะเสียของ...สถานการณ์เฉพาะหน้า ถามผมว่าใช้ได้หรือเปล่า ถ้าอยู่บ้านก็ใช้ได้ ถ้าน้ำนิ่ง น้ำขัง มีประโยชน์ แต่จะหวังว่ามันจะทำให้กลิ่นเสียหมดไปเลยมั้ย ผมไม่มั่นใจว่าจะได้ผลขนาดนั้นเลยหรือเปล่า เพราะน้ำเน่าแต่ละที่ สภาพความเป็นกรดด่างไม่เท่ากัน การจะได้ประโยชน์มากน้อยจึงไม่เท่ากัน ถ้าเชื้อเอาตัวรอดได้ดี มีสารอินทรีย์เยอะๆ ก็กินได้เรื่อยๆ แต่ถ้าอาหารหมด ก็จะทยอยตายไปเอง ถามว่า นานเท่าไร ไม่รู้เหมือนกัน แล้วแต่สภาพแวดล้อม ถ้าเยอะเกินน้ำก็จะเน่า แต่เท่าที่ผมเห็น 1 ก้อนต่อ 5 ตร.ม. มันก็ไม่เยอะเกินไปที่จะไปเพิ่มน้ำเน่า" ดร.นำชัย สรุป

แม้ว่าการใช้ EM Ball ในการบำบัดน้ำเสียจะต้องใช้ตามข้อจำกัดที่เหมาะสม ทว่า ณ ห้วงเวลาที่ทุกพื้นที่มีแต่มวลน้ำล้อมรอบแบบนี้ การใช้ลูกบอลจุลินทรีย์แทนเครื่องบูชาอย่าง "กระทง" ที่เคยทำกันมา น่าจะเกิดประโยชน์ต่อแหล่งน้ำมากกว่าปริมาณกระทงขยะที่ต้องสะสางหลังเทศกาลลอยกระทงปีละเกือบ 1 ล้านใบ




รู้ไว้ก่อนใช้ EM Ball

1. การทํางานของ EM Ball ไม่ใช่เป็นการบําบัดน้ำเสียโดยตรง แต่ใช้หลักการนําเอาจุลินทรีย์ชนิดดีมีประสิทธิภาพไปแย่งอาหารจากสารอินทรีย์ อันเป็นต้นตอของปัญหาน้ำเน่าเสีย เป็นการสกัดกั้นการเจริญเติบโตของสารอินทรีย์ ดังนั้นการใช้ EM Ball ในที่น้ำเริ่มจะเน่าเสีย จะเห็นผลเร็วกว่าในน้ำที่เน่าเสียแล้ว

2. การผลิต EM Ball ที่จะช่วยปรับสภาพน้ำได้ต้องใช้กรรมวิธีที่ถูกต้องเหมาะสม คือ ต้องใช้หัวเชื้อน้ำจุลินทรีย์ชนิดดีมีคุณภาพ และใช้สูตรการผสมที่เหมาะสมกับสภาพน้ำในแต่ละแหล่ง ซึ่งมีค่าความเป็นกรด-ด่าง ต่างกัน

3. EM Ball ที่ทําเสร็จแล้วไม่สามารถนําไปใช้ได้ทันที ต้องผึ่งลมไว้เป็นเวลา 3-5 วัน ห้ามตากแดดเป็นอันขาด จากนั้นสามารถนำไปใช้ หรือเก็บใส่กล่องไว้ได้นานกว่า 1 ปี

4. การใช้งาน EM Ball ที่เหมาะสมต้องนําไปใช้เฉพาะพื้นที่มีสภาพน้ำท่วมขัง หรือแหล่งน้ำนิ่งเท่านั้น และต้องใช้ในปริมาณ รวมถึงระยะเวลาที่เหมาะสม

5. ลูกบอลจุลินทรีย์ 1 ลูก ใช้ได้ในพื้นที่ราว 4-5 ลูกบาศก์เมตร (พื้นที่ 4-5 ตารางเมตร x น้ำลึก 1 เมตร)

6. EM Ball จะค่อยๆปลดปล่อยจุลินทรีย์ออกมาทํางานต่อเนื่องเป็นระยะเวลาประมาณ 7 วัน จึงจะเห็นผล อย่าเพิ่มจำนวนลูกบอลจุลินทรีย์มากเกินไป เพราะอาจเกิดปัญหาน้ำเน่าเสียเพิ่มเติมได้

7. หากสังเกตว่าน้ำเสียเริ่มลดลง ไม่จำเป็นต้องโยนลูกจุลินทรีย์ลงไป เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว ยังจะเพิ่มจำนวนกองจุลินทรีย์ที่ต้องทำความสะอาดหลังน้ำลดด้วย




จาก ....................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 14 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #25  
เก่า 23-11-2011
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ชมเป็นภาพการ์ตูน EM Ball จะแก้น้ำเสียได้หรือไม่ อย่างไร...


__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #26  
เก่า 28-11-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


น้ำหมักชีวภาพ พด.6 กับ EM BALL ความเหมือนที่แตกต่าง


จากกรณีที่มีหลายหน่วยงานได้ออกมา สนับสนุนและช่วยเหลือในการฟื้นฟูบำบัดน้ำเน่าเสียในพื้นที่ประสบอุทกภัยด้วยผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามแต่ละหน่วยงานที่ทำขึ้นมา แต่ประชาชนส่วนใหญ่ยังคงเข้าใจและเรียกรวมผลิตภัณฑ์ที่บำบัดน้ำเสียว่า EM หรือ EM BALL

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อน ว่า จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ที่ ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดู หรือเห็นเมื่อเกิดการเกาะกลุ่มกัน ซึ่งจุลินทรีย์ ประกอบด้วย แบคทีเรีย เชื้อรา ไวรัส และยีสต์ ซึ่งมีอยู่ตามธรรมชาติ และเป็นจุลินทรีย์ที่มีทั้งประโยชน์และโทษ สำหรับ EM ใช้กันมากทางการเกษตร ย่อมาจากคำว่า Effective Microorganism แปลว่า จุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจริงๆแล้วก็เป็นหลักการเดียวกัน ที่นำจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ขณะนี้เกิดปัญหาน้ำท่วมขัง เกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น จึงได้มีการคัดเลือกจุลินทรีย์กลุ่มหนึ่งมาใช้ประโยชน์ แต่มีการเรียกชื่อผลิตภัณฑ์ของแต่ละหน่วยงาน ตลอดจนการผลิตขายโดยเอกชนในชื่อที่แตกต่างกัน รวมถึง ลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่างกัน เช่น เป็นของเหลว เป็นลูกบอล หรือเป็นผง

ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดิน เรียกว่า "น้ำหมักชีวภาพ พด.6" โดย ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการที่มีความรู้ด้านนี้โดยเฉพาะได้คัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น พัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์สารเร่ง พด.6 ซึ่งเป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่ประกอบด้วย ยีสต์ ทำหน้าที่ผลิตแอลกอฮอล์ช่วยรักษาความสะอาด แบคทีเรียย่อยโปรตีน และแบคทีเรียย่อยไขมัน ช่วยย่อยสลายซากสัตว์และไขมันได้เร็วขึ้น ไม่ให้เกิดการหมักหมม จนเกิดการเน่าเสียและมีกลิ่นเหม็น รวมทั้งแบคทีเรียที่ยับยั้งการเจริญเติบโต ของจุลินทรีย์ตัวร้ายที่ทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น แล้วนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมใช้ในรูปของเหลวสีน้ำตาล เรียกว่า น้ำหมักชีวภาพ พด.6 ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้พัฒนาและใช้มาตั้งแต่ปี 2547 แล้ว รวมทั้งได้มีการศึกษา วิจัย ทดสอบถึงประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ จนเป็นที่มั่นใจได้ในประโยชน์ของน้ำหมักชีวภาพ พด.6 ดังกล่าว รวมทั้งได้มีการนำไปใช้ในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ เช่น เหตุการณ์สึนามิที่เกิดขึ้นทางภาคใต้ของไทย และเหตุการณ์พายุนากิสถล่มประเทศพม่า

สำหรับการผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด. 6 ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่มีปัญหา น้ำท่วมขังเกิดการเน่าเสียมีกลิ่นเหม็น ในครั้งนี้ ขอให้ประชาชนมั่นใจได้ว่ากระบวนการผลิตและคุณภาพน้ำหมัก จะได้รับการควบคุมและตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ และนักวิชาการเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมาตรฐานตามที่กำหนด ประกอบกับได้มีการนำไปใช้ในพื้นที่ต่างๆได้ผลเป็นที่ยอมรับ และมีเสียงยืนยันตอบรับที่ดี ดังนั้น จึงยืนยันได้ว่าน้ำหมักชีวภาพ พด.6 ที่กรมพัฒนาที่ดินผลิตขึ้นนั้น สามารถนำไปใช้ในการบำบัดน้ำเน่าเสียในชุมชนได้จริง และไม่กระทบต่อสุขภาพของผู้ใช้ ตลอดจนไม่ส่งผลทำให้น้ำเน่าเสียมากกว่าเดิมอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม การนำน้ำหมักชีวภาพ พด.6 ไปใช้งาน ถ้าต้องการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ต้องใช้ในบริเวณน้ำนิ่ง และใช้ในปริมาณที่เหมะสม คือ น้ำหมักชีวภาพ 50 ลิตรต่อพื้นที่ 250 ตร.ว. ที่ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 ซม. ซึ่งถ้า พื้นที่ใดมีระดับน้ำสูงกว่านี้ ก็ให้เพิ่มสัดส่วนน้ำหมักชีวภาพ พด. 6 ขึ้นไปอีก และถ้ากลิ่นยังไม่หาย สามารถใส่ซ้ำได้อีกในอัตราสัดส่วนเดิม เช่น พื้นที่ 1 ไร่ ระดับน้ำสูง 50 ซม. ใช้น้ำหมัก 80 ลิตร พื้นที่ 100 ตร.ว. ระดับน้ำสูง 50 ซม.ใช้น้ำหมัก 20 ลิตร พื้นที่ 100 ตร.ม. ระดับน้ำสูง 50 ซม. ใช้น้ำหมัก 5 ลิตร โดยเทในน้ำเสียทุกๆ 3-7 วัน จนกว่าน้ำจะใสและกลิ่นลดลง

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า ขณะนี้กรมได้ผลิตน้ำหมักชีวภาพ พด.6 เพื่อนำไปบำบัดน้ำเสียในพื้นที่ชุมชนที่ประสบอุทกภัยแล้วใน 22 จังหวัด ประมาณ 12 ล้านลิตร แต่ด้วยพื้นที่ที่มีปัญหาน้ำท่วมขัง เกิดการเน่าเสีย และมีกลิ่นเหม็นยังมีอีกมาก โดยเฉพาะใน กทม.และเขตภาคกลาง กรม ซึ่งได้รับมอบหมายภารกิจจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ให้รับผิดชอบดำเนินการบำบัดน้ำเน่าเสีย ในพื้นที่ชุมชน และพื้นที่เกษตรกรรม ดังนั้น กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดทำแผนช่วยเหลือ เพิ่มเติม จนกว่าปัญหาความเดือดร้อนของ ประชาชนจะทุเลาลง

ทั้งนี้ เกษตรกรหรือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำเน่าเสีย สามารถแจ้งขอรับการช่วยเหลือได้ที่ กรมพัฒนาที่ดิน ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กทม. 10900 โทร.สายด่วน 1760 กด 7 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ หรือ ที่สถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดทั่วประเทศ




จาก ....................... แนวหน้า วันที่ 28 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #27  
เก่า 03-02-2012
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



รวบรวมมาไว้ด้วยกันค่ะ..



ผู้จัดการออนไลน์


จุฬาฯ คลี่ผลวิจัย “อีเอ็ม” ไม่ช่วยแก้น้ำเสีย


จุฬาฯ เผยผลทดสอบอีเอ็มอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ชี้ไม่ช่วยทำให้น้ำดีขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ เผยผลทดสอบประสิทธิภาพ “อีเอ็ม” ในการบำบัดน้ำเสียในแหล่งน้ำท่วมขัง พบคุณภาพน้ำไม่ดีขึ้น ซ้ำร้ายปริมาณออกซิเจนกลับลดลง อีกทั้งปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นยังไม่ใช่ผลจากจุลินทรีย์แต่เป็นสารที่เกิดจากการหมักเชื้อ แนะใช้ “ปูนขาว” ได้ผลดีและถูกกว่า หรือเก็บขยะและเติมอากาศจะให้ผลดีกว่า

จากข้อถกเถียงว่าการนำเชื้อจุลินทรีย์อีเอ็ม (EM: Effective Microorganism) มาใช้บำบัดน้ำเสียนั้นได้ผลจริงหรือไม่ ทางคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เพื่อทดสอบว่าอีเอ็มสามารถบำบัดน้ำเสียจากน้ำท่วมที่ผ่านมาได้หรือไม่ โดยมุ่งตอบคำถามว่าอีเอ็มนั้นช่วยเพิ่มออกซิเจนในน้ำเสียได้หรือไม่ โดยเก็บตัวอย่างน้ำเสียที่ท่วมขังบริเวณ ต.คูคต อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ระหว่างวันที่ 6-16 ธ.ค.54 มาใส่โหลทดสอบ

น้ำเสียจากน้ำท่วมขังดังกล่าวถูกแบ่งออกเป็นชุดทดลอง 3 ชุด คือ ชุดควบคุม ที่ไม่ได้เติมอีเอ็มลงน้ำเสีย ชุดอีเอ็ม ที่เติมอีเอ็มซึ่งเลี้ยงด้วยกากน้ำตาลนาน 2 วันลงไปในน้ำเสีย และชุดอีเอ็มกรอง ซึ่งเติมน้ำอีเอ็มที่ขยายด้วยกากน้ำตาลแต่กรองตัวเชื้อทิ้งไป เพื่อดูว่าผลิตภัณฑ์หรือสารเคมีต่างๆ เช่น แอลกอฮอล์ กรดแลคคิก เป็นต้น ที่เชื้อสร้างขึ้นนั้นเป็นตัวการที่ทำให้น้ำเสียใสขึ้นหรือไม่


การทดสอบประสิทธิภาพอีเอ็มของคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ

จากนั้นตรวจวิเคราะห์ค่าดัชนีคุณภาพน้ำ 5 ค่า ได้แก่ 1.ค่าบีโอดี (BOD) ที่บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่แบคทีเรียใช้ย่อยสารอินทรีย์ในน้ำ หากมีค่าสูงแสดงว่าน้ำสกปรกมาก 2.ค่าซีโอดี (COD) บอกถึงปริมาณออกซิเจนที่ใช้ในปฏิกิริยาเคมีเพื่อย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำ ยิ่งค่าสูงน้ำยิ่งสกปรก 3.ค่าดีโอ (DO) คือปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงน้ำยิ่งมีคุณภาพดี 4.ค่าไนโตรเจนอินทรีย์ในน้ำ ยิ่งสูงยิ่งไม่ดี และค่าทีเอสเอส (TSS) หรือปริมาณของแข็งแขวนลอยในน้ำ ยิ่งมีค่าสูงยิ่งไม่ดี

น้ำเสียที่นำมาทดสอบประสิทธิภาพอีเอ็มนี้มีค่าบีโอดีประมาณ 13.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีความเน่าเสียต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแหล่งน้ำผิวดินที่มีค่าบีโอดีได้ไม่เกิน 4 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อเริ่มทดลองพบว่าชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าบีโอดีสูงขึ้นใกล้เคียงน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรมคือประมาณ 20 มิลลิกรัมต่อลิตร และเมื่อผ่านไป 2 วันพบว่าชุดควบคุมยังคงมีค่าบีโอดีต่ำกว่าชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็ม และเมื่อทิ้งไว้ 7 วัน พบว่าชุดควบคุมมีค่าซีโอดีต่ำกว่าของชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็ม ส่วนค่าดีโอนั้นพบว่าเมื่อทิ้งไว้หลังการทดลองชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าต่ำกว่าชุดควบคุม ส่วนค่าไนโตรเจนอินทรีย์และค่าทีเอสเอสนั้นไม่พบความแตกต่างระหว่างชุดทดลอง

ทางทีมวิจัยจึงสรุปว่าการเติมอีเอ็มหรือผลิตภัณฑ์จากอีเอ็มลงในน้ำเสียจากน้ำท่วมนั้นไม่ได้ส่งผลให้น้ำมีคุณภาพดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเทียบกับน้ำเสียในชุดควบคุม ในทางตรงกันข้ามการเติมอีเอ็มลงในน้ำกลับส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนในน้ำลดลง และปฏิกิริยาใดๆ ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็นผลจากผลิตภัณฑ์ของอีเอ็ม ที่ได้ระหว่างการเลี้ยงขยายเชื้อด้วยกากน้ำตาล จึงเป็นผลให้เมื่อนำน้ำอีเอ็มที่ขยายแล้วไปใช้ ต้องเติมน้ำอีเอ็มขยายลงไปเรื่อยๆ


กราฟแสดงค่าบีโอดีของชุดทดลอง พบว่าในชุดอีเอ็มและชุดกรองอีเอ็มมีค่าสูงกว่าชุดควบคุมในวันแรกๆ

ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ หนึ่งในทีมวิจัยกล่าวว่า ที่ผ่านมามีงานวิจัยเกี่ยวกับอีเอ็มน้อยมาก และแทบไมมีงานวิจัยที่ปราศจากการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอีเอ็ม งานวิจัยครั้งนี้จึงเป็นงานวิจัยแรกๆ เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของอีเอ็มอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเขากังขาว่าภายในอีเอ็มหรือลูกอีเอ็มบอลนั้นมีเชื้อจุลินทรีย์ชนิดใดอยู่บ้างแน่ๆ ทั้งนี้ผู้สนับสนุนอีเอ็มมักอ้างว่ามีแบคทีเรียสีม่วงซึ่งสังเคราะห์แสงได้ แต่จริงๆ แล้วเป็นการสังเคราะห์แสงเพื่อสร้างอาหารให้ตัวเอง แต่ไม่ได้ผลิตออกซิเจนหรือต้นไม้หรือสาหร่ายแต่อย่างใด

ทางด้าน รศ.ดร.สุเทพ ธรียวัน หัวหน้าทีมวิจัย และหัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา จุฬาฯ กล่าวว่า อีเอ็มนี้ช่วยกำจัดกลิ่นได้อย่างไม่ต้องสงสัยแต่ไม่ได้หมายความว่าความสกปรกของน้ำจะลดลงด้วย ทั้งนี้ แบคทีเรียสีม่วงมีคุณสมบัติเปลี่ยนสารเคมีก๊าซไข่เน่าไปเป็นสารรูปอื่นที่ไม่มีกลิ่น และทีมวิจัยไม่ได้ใช้ก้อนอีเอ็มบอลทดสอบเพราะทราบแน่ชัดว่ามีสารอินทรีย์ที่สร้างปัญหาให้เกิดน้ำเน่าอย่างแน่นอน และเลือกใช้น้ำอีเอ็มยอดนิยมที่มีขายตามท้องตลาด และการเติบกากน้ำตาลย่อมทำให้ความสกปรกเพิ่มขึ้น

รศ.ดร.สุเทพ ยังกล่าวด้วยว่า จริงๆ แล้วชาวบ้านไม่ได้สนใจเท่าไรต่อค่าน้ำเสียทางวิทยาศาสตร์ซึ่งเป็นตัวเลข แต่ปัญหาที่ชาวบ้านสนใจคือน้ำใสไม่มีกลิ่น ซึ่งมีทางเลือกอื่นที่ได้ผลและถูกกว่า นั่นคือการใช้ปูนขาว โดย ผศ.ดร.เจษฎาได้ทดลองใช้ดูในบริเวณน้ำท่วมที่ดอนเมือง และพบว่าได้ผลในการช่วยลดกลิ่นได้ดี พร้อมกันนี้ทีมวิจัยได้แนะว่าทางที่ดีควรช่วยกันเก็บขยะ ลดการทิ้งสารอินทรีย์ลงในน้ำและช่วยกันเติมอากาศก็จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้

ส่วน ผศ.ดร.เจษฎาเสริมอีกว่า อีเอ็มนี้ใช้ได้ผลดีในดารทำปุ๋ยหมักทางการเกษตร ซึ่งควรจะจำกัดวงอยู่ในกรอบนั้นต่อไป สิ่งที่เขากลัวคือกลัวว่าศรัทธาต่ออีเอ็มจะไปไกลเกินกว่านั้นเหมือน “น้ำป้าเชง” หรืออาจเลยเถิดไปถึงขั้นอ้างว่ารักษาสิว เสริมความแข็งให้แก่คอนกรีต หรือข้ออ้างอื่นๆ ทางที่ดีควรช่วยกันลดทิ้งขยะลงน้ำเป็นดีที่สุด


ทีมวิจัยแถลงผลทดสอบ

สำหรับทีมวิจัยประกอบด้วย ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณะบดีคณะวิทยาศาสตร์, รศ.ดร.สุเทพ ธนียวัน หัวหน้าภาควิชาจุลชีววิทยา, รศ.ดร.กำธร ธีรคุปต์ หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา, รศ.ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ หัวหน้าวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล, ศ.ดร.อรัญ อินเจริญศักดิ์ ภาควิชาชีวเคมี, ผศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ภาควิชาชีววิทยา, ดร.อนุสรณ์ ปานสุข ภาควิชาชีววิทยา และ ดร.สราวุธ ศณีทองอุทัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:28


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger