#31
|
||||
|
||||
รถถังหย่อนทะเล กรมประมงสร้างปะการังเทียมจากตู้รถไฟ รถขยะ กทม. และรถถังกองทัพบก ทำเป็นบ้านหลังใหม่ให้ปลาน้อยใหญ่อยู่อาศัย ช่วยเหลือประมงพื้นบ้านจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เฉลิมพระชนมพรรษา 78 พรรษา นักวิชาการเผยสำรวจพบปลาหายากเพิ่มมากขึ้นและไม่เกิดมลพิษในระบบนิเวศใต้ทะเล ในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ กรมประมงได้ทำพิธีรับมอบวัสดุขนาดใหญ่ที่ไม่ใช้งานแล้วเพื่อนำไปจัดสร้างปะการังเทียมในทะเลอ่าวไทยที่จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เพื่อสนองพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยส่งมอบตู้สินค้าจำนวน 273 คัน กรุงเทพมหานครมอบรถเก็บขยะมูลฝอย 198 คัน กองทัพบกมอบรถถัง 25 คัน และกองทัพไทยสนับสนุนรถราดน้ำ 3 คัน รวมทั้งสิ้น 499 คัน จัดขึ้น ณ ท่าเทียบเรือชายฝั่งการท่าเรือแห่งประเทศไทย คลองเตย นายธานินทร สิงหะไกรวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันและพัฒนาเทคโนโลยีประมงทะเล กรมประมง ให้ข้อมูลว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้สร้างปะการังเทียมภายใต้โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเลอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส เสร็จสิ้น แล้วจำนวน 72 จุด ในปีนี้จะทำปะการังเทียมเพิ่มอีก 15 จุด จากการสำรวจสภาพปะการังเทียมเหล่านี้พบว่า ได้กลายเป็นระบบนิเวศแห่งใหม่ใต้ทะเลที่อุดมสมบูรณ์มากแห่งหนึ่ง โดยพบเจอปลาและสัตว์น้ำหลายชนิดที่สูญหายไปนานแล้วกลับเข้ามาอาศัยและหากิน เช่น ปลาหมอทะเล และปลาผีเสื้อเทวรูป เป็นต้น ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้านหรือประมงขนาดเล็กๆ สามารถจับสัตว์น้ำได้จำนวนมากขึ้นและมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย นายธานินทรกล่าวว่า การนำวัสดุเก่าที่ไม่ใช้งานแล้วมาทำปะการังเทียมถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และไม่มีผลกระทบต่อทรัพยากรสัตว์น้ำและระบบนิเวศใต้ทะเล ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ติดตามผลการจัดสร้างปะการังเทียม โดยเก็บตัวอย่างน้ำทะเล ตะกอนดินและในตัวสัตว์น้ำ เพื่อสำรวจหาสารโลหะหนัก พบว่าไม่มีสารที่เป็นอันตรายต่อสัตว์น้ำและผู้บริโภค ทั้งนี้ วัสดุต่างๆที่นำมาทำปะการังเทียมส่วนใหญ่เป็นเหล็กขนาดหนาคงทน เมื่ออยู่ในน้ำทะเลซึ่งมีความเป็นด่างทำให้เกิดการผุกร่อนน้อย และปริมาณออกซิเจนในทะเลน้อยกว่าในอากาศทำให้เกิดสนิมบนวัสดุไม่มากนัก "ตู้สินค้ารถไฟ รถถังและรถขยะ มีพื้นผิวหลังคาและผนังที่ให้สิ่งมีชีวิตชนิดเกาะติด เช่น หอย เพรียงและฟองน้ำเข้ามาอาศัย ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของปลาขนาดเล็ก จากนั้นก็จะมีสัตว์น้ำใหญ่ๆเข้ามาหากิน เกิดเป็นห่วงโซ่อาหารและเป็นถิ่นอาศัยถาวร มีการวางไข่และเลี้ยงตัววัยอ่อน เกิดระบบนิเวศใหม่ที่มนุษย์สร้างขึ้น จึงเรียกว่าปะการังเทียม มีปลาเข้าไปอยู่มาก เราไม่ห้ามชาวประมงจับปลา แต่ต้องใช้เครื่องมือประมงที่ไม่ทำความเสียหายต่อทรัพยากร" ภายหลังจากกรมประมงรับมอบตู้สินค้า รถถังและรถขยะจากหน่วยงานต่างๆ แล้ว จะนำขนส่งทางเรือไปยังจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ส่วนจุดพิกัดที่จะวาง ปะการังเทียมได้กำหนดร่วมกับชาวประมงท้องถิ่น และควบคุมการจัดวางวัสดุให้ถูกต้องตามที่ชาวประมงต้องการ ในเบื้องต้นวางแผนที่จะวางปะการังเทียมตั้งแต่วันที่ 5-9 สิงหาคม 2553 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 78 พระชนมพรรษา อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นักวิชาการผู้ประเมินโครงการปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า บริเวณที่นำวัสดุไม่ใช้แล้วไปทำปะการังเทียมกลายเป็นแหล่งอาศัยแห่งใหม่ของปลาและสัตว์น้ำจำนวนมาก โดยพบว่าไม่มีมลพิษหรือสารอันตรายต่อสัตว์น้ำ ส่งผลให้ชาวประมงจับปลาได้มากขึ้นโดยไม่ต้องออกเรือไปไกล ลดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลาทำประมง จากการสำรวจปะการังเทียมภายใต้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พบว่ามีสัตว์น้ำหายากเข้าไปอาศัย เช่น ปลาหมอทะเล ปลากระเบน เต่าทะเล กัลปังหา และดอกไม้ทะเล เป็นต้น อนึ่ง เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2552 ในโอกาสที่คณะบุคคลต่างๆเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล ในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชดำรัสใจความว่า "ปีนี้ประมงพื้นบ้านตั้งแต่ปัตตานีจนถึงนราธิวาสหลายร้อยคนเขียนจดหมายถึง ข้าพเจ้าแล้วก็เซ็นชื่อเป็นบัญชีหางว่าวเลย ขอให้ข้าพเจ้าช่วยจัดทำปะการังเทียมเพิ่มเติมขึ้นอีก แล้วตอนนี้ใครจะช่วยข้าพเจ้า ตอนนี้จะเอาอะไรไปทิ้งให้ปลามันอยู่ ข้าพเจ้าจึงนำมาเล่าให้ท่านทั้งหลายฟังว่า ปะการังเทียมนั้นใช้ได้ผลจริงๆ น่าภูมิใจแทนหน่วยงานทั้งหลายที่ช่วยเหลือประชาชนประสบผลสำเร็จ และข้าพเจ้าก็เลยขอถือโอกาสนี้ส่งข่าวถึงกลุ่มประมงพื้นบ้านที่เขาเขียนจดหมายถึงข้าพเจ้าขอปะการังเทียมเพิ่มเติมด้วยว่า ข้าพเจ้าจะพยายามขอร้องให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และทุกแห่งช่วยกันประสานงาน เชื่อว่าอีกไม่นานเกินรอก็คงจะเริ่มจัดสร้างพื้นที่บริเวณปะการังเทียมได้อีก เพื่อประชาชนจะได้ไปตกปลา ไปทำมาหากินได้เพิ่ม". จาก : ไทยโพสต์ วันที่ 30 กรกฎาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#32
|
||||
|
||||
สร้างบ้านปลา 'ปะการังเทียม' ฟื้นชีวิตใต้ท้องทะเล จากปริมาณประชากรสัตว์น้ำที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความต้องการของมนุษย์ที่เพิ่มขึ้น และผลจากการทำลายทรัพยากรธรรมชาติใต้ท้องทะเลที่เป็นบ้านพักพิงของสัตว์น้ำต่างๆที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การฟื้นฟูธรรมชาติใต้ท้องทะเลจึงเป็นอีกหนทางหนึ่งที่มนุษย์ต้องเร่งแก้ไข แม้การช่วยฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติให้เหมือนเดิมจะเป็นเรื่องยาก แต่การช่วยเหลือให้ทรัพยากรธรรมชาติกลับฟื้นคืนมาดังเดิมโดยวัสดุที่มนุษย์สร้างขึ้น ถือเป็นอีกแนวทางหนึ่งของการฟื้นฟู จากพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงเป็นห่วงประชากรสัตว์น้ำที่ลดลง จึงเกิดโครงการ ร่วมสร้างบ้านปลา...ด้วยปะการังเทียม ณ บริเวณ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ห่างจากฝั่งประมาณ 6 กิโล เมตร โดยความร่วมมือระหว่าง กองทัพเรือ-กรมประมง- กรมเจ้าท่า-กรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ทำการทิ้งปะการังเทียมแท่งคอนกรีตทรงสี่เหลี่ยมจำนวน 638 แท่ง กระจายรอบพื้นที่เพื่อฟื้นฟูสัตว์น้ำให้มีแหล่งพักพิงอาศัย พลเรือเอก กำธร พุ่มหิรัญ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นความร่วมมือของ 4 หน่วยงานที่ร่วมกันดำเนินการเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรใต้ท้องทะเลในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน โดยการดำเนินโครงการมีความต่อเนื่องในการศึกษาพื้นที่ซึ่งจะนำปะการังไปวาง และศึกษาความคิดเห็นของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อให้โครงการดำเนินไปอย่างได้ผลสูงสุด สำหรับพื้นที่ จ.ปัตตานี ที่ทำการทิ้งปะการังเทียมในครั้งนี้อยู่ในพื้นที่ อ.ยะหริ่ง ห่างจากฝั่งประมาณ 6 กิโล เมตร ระดับน้ำลึก 13 เมตร วัสดุที่ใช้เป็นแท่งคอนกรีตรูปลูกบาศก์แบบโปร่ง ขนาด 1.5X1.5X1.5 เมตร โดยการนำไปวางในลักษณะแถวเดียวกันยาว 150 เมตร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มห่างกัน 50 เมตร หลังจากวางลงไปใต้ท้องทะเลไม่นานดินจะทับถมปะการังเทียมให้ยึดติดอยู่บริเวณดังกล่าว และบรรดาสัตว์น้ำต่างๆจะเข้ามาอาศัยเพื่อเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ โดยจะส่งผลให้ประชากรสัตว์น้ำมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่งผลดีต่อชาวประมงในพื้นที่ได้มีปลาที่ทำการประมงเพิ่มขึ้น ในส่วนของการเลือกใช้วัสดุที่จะนำมาทำเป็นปะการังเทียม ทุกหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการมีมติร่วมกันว่า ต้องใช้วัสดุที่ไม่เป็นพิษหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในท้องทะเลทั้งระยะสั้นและระยะยาว และมีประสิทธิภาพในการดึงดูดสัตว์น้ำตลอดจนพัฒนาเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยใต้ท้องทะเลได้ ขณะเดียวกันต้องมีสภาพที่คงเดิมไม่เสี่ยงต่อการเสียหายในระยะสั้น สามารถคงรูปเดิมได้ยาวนาน นอกจากนี้ยังเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ สะดวกต่อการเคลื่อนย้ายสู่ทะเล ตลอดจนคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่ควรมากเกินไป สำหรับการเลือกพื้นที่ควรอยู่หน้าหมู่บ้านประมง ซึ่งเคยเป็นแหล่งประมงที่ดีมาก่อน แต่ได้รับผลกระทบเสื่อมโทรมลง เป็นทางผ่านหรือเส้นทางย้ายของฝูงปลา ขณะเดียวกันพื้นที่ในทะเลไม่เป็นโคลนเหลว เพราะจะทำให้ปะการังจมตัว หรือไม่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำทะเลอย่างรวดเร็ว ขณะเดียวกันพื้นที่ซึ่งทำการวางปะการังเทียมต้องคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ ซึ่งต้องมีความลึกของน้ำทะเลที่เหมาะสม ไม่เป็นพื้นที่หวงห้าม หรือเป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์อื่น เช่น เขต ท่าเรือ เขตสัมปทานขุดแร่ เขตสัมปทานรังนก เขตอุทยานทางทะเล แนวท่อหรือสายเคเบิลใต้น้ำ ไม่เป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบต่อการปฏิบัติการของทหารและความมั่นคงของประเทศ ด้านรูปทรงของปะการังเทียม ต้องคำนึงถึงการใช้งาน เช่น การใช้งานเพื่อเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ทะเล นิยมใช้รูปทรงที่มีโครงสร้างซับซ้อนและมีช่องว่างหรือรูเพื่อให้เป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำ จะจัดวางเป็นจำนวนมากซ้อนกันในจำนวนสูงในน้ำลึก มีลักษณะเป็นกองใหญ่ เพื่อสามารถดึงดูดฝูงปลาได้หลายชนิด ทั้งปลาหน้าดิน และปลากลางน้ำ ส่วนการจัดวางเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงที่มีพื้นที่หน้าตัดแบบราบและมีพื้นที่ว่างจำนวนมากสำหรับการยึดเกาะ จัดวางชั้นเดียวให้ สามารถรับแสงได้ ในบริเวณที่มีคุณภาพน้ำทะเลที่เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปะการัง ขณะที่การจัดวางเพื่อป้องกันระบบนิเวศทางทะเล ส่วนใหญ่เป็นรูปทรงที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก จัดวางซ้อนกันเป็นแนวขวางการเข้ามาของเครื่องมือประมง สำหรับพื้นที่เพื่อการดำน้ำ ควรมีรูปทรงที่มีเอกลักษณ์ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมทางทะเล เช่น เครื่องบิน เรือ หรืองานประติมากรรมรูปปั้นที่มีเอกลักษณ์ที่ไม่เป็นอันตรายต่อการดำน้ำ การจัดวางเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เป็นรูปทรงที่เลียนแบบแนวปะการังธรรมชาติ ลดพลังงานของ การเคลื่อนที่เข้ามากระทบฝั่ง จัดวางขนานแนวชายฝั่งในระยะที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงสภาพคลื่นลม และความลึกของท้องทะเล จุมพล สงวนสิน ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาประมงทะเล กล่าวว่า การจัดสร้างปะการังเทียมของกรมประมง ดำเนินการเพื่อสร้างแหล่งอาศัยให้สัตว์ทะเล และจากพระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงเกิดโครงการปะการังเทียมขึ้นเพื่อประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างปะการังเทียม คือ ทำให้ชาวประมงขนาดเล็กมีแหล่งทำการประมงชายฝั่งที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น โดยไม่ต้องออกไปทำการประมงไกลฝั่ง การทำประมงริมชายฝั่งย่อมส่งผลให้ชาวประมงประหยัดต้นทุน และมีความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินในการประกอบอาชีพ อีกทั้งเป็นแนวป้องกันการทำลายสัตว์น้ำขนาดเล็ก และสภาพแวดล้อมที่ถูกทำให้เสียหายด้วยเครื่องมืออวนลากชายฝั่ง โดยจะสามารถลดข้อขัดแย้งระหว่างชาวประมงในเรื่องพื้นที่ทำประมงได้ ปะการังเทียม นับเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยเหลือให้สัตว์น้ำและชาวประมงอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืนในพื้น ที่หากินของตนเอง. ******************************** รู้จักปะการังเทียม ปะการังเทียม มีชื่อเรียกเป็นทางการในภาษาอังกฤษว่า อิมมิเทชั่น รีฟ (Imitation Reef) หมายถึง กองหินเทียมใต้น้ำ เป็นการทำขึ้นเลียนแบบโขดหิน หรือหินกองใต้น้ำ ซึ่งนักตกปลาทางทะเลจะรู้จักกันดี โดยในบ้านเราใช้คำว่า ปะการังเทียม ปะการังเทียม มักถูกสร้างขึ้นในรูปแบบต่างๆ เพื่อดัดแปลงสภาพของพื้นท้องทะเลที่ปะการังทางธรรมชาติถูกทำลายเหลือจำนวนลดน้อยลงให้มีความอุดมสมบูรณ์เฉกเช่นในอดีต โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่ายๆ ว่า บ้านปลา เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออับปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ ราคาไม่แพง มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์น้ำกำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่างๆตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม. จาก : เดลินิวส์ วันที่ 5 สิงหาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#33
|
||||
|
||||
พวกเศษเหล็กที่ทิ้งน้ำน่าจะเรียกได้ว่าการแก้ปัญหาระยะสั้น หรือการเพิ่มสัตว์น้ำแบบชั่วคราว ถ้าโชคดีปะการังหรืออะไรแข็งๆเกาะจนเป็นโครงได้ก็ดีไป น่าจะได้ระยะยาว ส่วนเหล็กและสนิม ส่วนตัวความรู้น้อยของผม คิดว่าไม่กระทบมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ได้กลับมา เพราะธาตุเหล็กที่มีในทะเลบริเวณนั้นก็เป็นองค์ประกอบหลักในการสร้างชีวิตใหม่อยู่แล้ว แต่ผมคิดว่าถ้าใส่ในพื้นที่ปะการังเสื่อมหรือไม่มีเลย น่าจะดีกว่าวางต่อหรือใกล้กับแนวปะการังสมบูรณ์
ส่วนปัญหาอย่างอื่นที่มากกว่าแค่ การปนเปื้อน และประชากรปลา เช่น กระแสน้ำ ภูมิประเทศ ผลกระทบต่อแนวปะการังที่อื่น ยังขาดอีกมากที่จะมีการศึกษาจริงจัง เหมือนกันทุกประเทศ สุดท้ายค่อยรอดูผลลัพธ์ แล้วเอาเป็นบทเรียน อาจจะนานไป บางจุดที่เคยเห็นทำแนวฟื้นฟู เกิดแนวปะการังใหม่ที่ยังไม่สมบูรณ์จริงๆ แต่แนวข้างเคียงที่สมบูรณ์อยู่แล้ว และน่าเสียดายมาก ก็พังทลายไป เพราะกระแสน้ำเปลี่ยน การสะสมตะกอนเปลี่ยน เกิดปะการังฟอกขาวก็โทษโลกร้อนก็จบ ไม่เห็นต้องคิดมาก แค่ตอนนี้จะออกข่าวนี่นา อุ๊บ! ถ้าผมโดนอุ้มอาจจะเพราะกระทู้นี้
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#34
|
||||
|
||||
ได้ยินมาว่า พวกตู้รถไฟ...รถขยะ...รถถัง จะนำไปไว้บนพื้นทราย ห่างไกลแนวปะการังค่ะ มีอาจารย์บอย...ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง ทำการศึกษา ดูแล และควบคุมโครงการอยู่ ก็เบาใจไปได้หน่อยค่ะ
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 07-08-2010 เมื่อ 16:15 |
#35
|
||||
|
||||
ถ้าอย่าพี่สายชลบอกก็สบายใจไปได้เยอะครับ
เพราะประเภทที่เคยเจอมาบ้าง โครงการ...ตามด้วยคำหวานๆอย่างเพื่อทะเลไทย เพื่ออนุรักษ์สัตว์น้ำ บลา บลา บลา ... เพื่อให้รู้ว่าควรส่งเสริมทั้งๆที่ไม่ปี่ ขลุ่ย หรือแตรที่ไหนมาเป่าก่อน แล้วก็เอาแท่ง เสา หรืออะไรก็ไม่รู้ใหญ่ๆ วางโครมๆ มีทั้งฝั่งอันดามัน และฝั่งอ่าวไทย มีทั้งเอกชนที่ไม่รู้มาจากไหน และหลวงที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงทำโดยไม่มีการศึกษาเลย พวกวางต่อข้างแนวปะการังก็มี ผมไม่ได้จำแน่นอนว่าวางตำแหน่งไหนแต่ได้ร่วมวางกับเขาด้วยเพราะเพื่อชวนกันไป สุดท้าย อยากร้องไห้บนเรือ สรุปจากสถานการณ์ที่ผมประมวลได้ในสิ้นวันนั้น คือ เจ้าของรีสอร์ทแถวเกาะช้าง ต้องการขนซากอาคารเก่าทิ้งแต่ไม่อยากขนเสียปล่าว เลยน่าจะมีเส้นที่จะให้หลวงหรืออะไรคล้ายๆอย่างนี้ มาช่วยขนทิ้ง ไหนๆก็จะลงทุนแล้วก็ขอผลทางการค้าด้วยเลยจะเป็นโครงการโปรโมตซะ สุดท้ายทิ้งแถวเกาะช้างนั่นแหละ ห่างจากรีสอร์ทมันมาไม่ไกลเลย นี่คือเหตการณ์เน่าๆของการเมืองแบบ สะดวกซื้อ ที่ซื้อได้อยู่เมื่อปีที่แล้ว ส่วนนอกนั้น ยังเจอมาเกือบทุกปีกับเรื่องแบบนี้ ทั้งหน่วยงานที่มีสี หรือไม่มีสี ผมซีเรียสเองครับพี่ อย่างพวกรีสอร์ทไฮโซนี่ก็ชอบไปชัก ngo ฝรั่งเข้ามาป่วนออกบ่อย จะวางปะการังเทียมตรงนั้นตรงนี้ ไม่มีงานศึกษารองรับ รู้แค่ได้หน้าพอ พี่ๆกรมทรัพย์น่าจะเคยได้ปวดหัวผ่านๆกันมาแล้วทุกปี
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#36
|
||||
|
||||
หัวข้อหนักๆแบบนี้ คราวหน้าไม่โพสดีกว่า นอนไม่หลับเอง มันเครียด -_-"
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#37
|
||||
|
||||
เรื่องแบบนี้....พี่ก็เคยเครียดเหมือนน้องหอยกะทิมาแล้วค่ะ.... แต่หลังๆมาคิดได้ว่า จะเครียดไปทำไมให้แก่เร็วขึ้นไปอีก ตอนนี้ก็เลยเลิกเครียด....หันมานั่งปลงอนิจจังอย่างเดียว...สบายใจดีออก
__________________
Saaychol |
#38
|
||||
|
||||
ปลงๆๆๆครับ
__________________
จงกลายเป็นวงๆๆ ปุ๋งๆๆๆๆๆ |
#39
|
||||
|
||||
ปะการังเทียมจากรถขยะ กทม. แนวปะการังใต้ท้องทะเลของประเทศไทยเป็นมรดกทางธรรมชาติที่ทรงคุณค่า และมีความงดงามมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก แต่วันนี้ชายฝั่งทะเลและแนวปะการังใต้ทะเลกำลังถูกทำลายทั้งทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะด้วยความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ แต่ได้สร้างความเสียหายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของชาวไทยและเศรษฐกิจของประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมไม่เพียงเฉพาะในกรุงเทพฯเท่านั้น แต่ยังได้ขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่างๆ ด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งเน้นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จากการที่กรุงเทพฯมีซากรถเก็บขนมูลฝอยเก่าซึ่งหมดสภาพการใช้งานเป็นจำนวนมาก และต้องการสนองพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ จึงได้จัดทำ “โครงการน้อมเกล้าถวายรถยนต์เก่า เพื่อทำเป็นปะการังเทียม” ตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมา กรุงเทพฯได้น้อมเกล้าฯถวายซากรถเก็บขนมูลฝอยเพื่อใช้เป็นปะการังเทียมในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาสอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2549 ได้น้อมเกล้าฯ ถวายรถเก็บขนมูลฝอยเพื่อทำปะการังเทียมจำนวน 189 คัน และในปี 2550 จำนวน 200 คัน ในปี 2553 เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา กรุงเทพฯ ได้สานต่อโครงการน้อมเกล้าฯถวายรถยนต์เก่าเพื่อทำเป็นปะการังเทียม (ครั้งที่ 3) อันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายวากรถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 5 ตัน จำนวน 198 คัน เป็นรถขยะเก่าที่หมดสภาพการใช้งานมานานกว่า 9 ปีขึ้นไปโดยได้ทำการล้างทำความสะอาด ตัดล้อ รวมทั้งตัดวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับน้ำมันออกทั้งหมดและส่งมอบรถยนต์ดังกล่าวให้กรมประมง สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และคณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ (กปร.) ครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 ก.ค.53 และทำพิธีส่งมอบในวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมาที่ท่าเทียบเรือชายฝั่ง การท่าเรือแห่งประเทศไทย เขตคลองเตย และได้มีการจัดวางปะการังเทียมในทะเลเขตอำเภอปะนาเระ สายบุรี และไม้แก่น จังหวัดปัตตานี และเขตอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส ไปแล้วเมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่าน สำหรับการสร้างปะการังเทียมจะดึงดูดให้ปลามาอยู่อาศัยเป็นจำนวนมาก และหลากหลายชนิด ทำให้เกิดระบบนิเวศห่วงโซ่อาหารของปลาที่เพิ่มมากขึ้นและไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นมลพิษกับสิ่งแวดล้อม เพราะซากรถจะถูกกัดกร่อนย่อยสลายไปโดยธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดมลพิษทางทะเล อีกทั้งประโยชน์ที่มองเห็นของแนวปะการังซึ่งมีลักษณะเป็นเขื่อน ถ้าไม่มีแนวปะการังคลื่นจะซัดเข้าชนชายหาดกัดเซาะแนวชายฝั่ง แนวปะการังจึงมีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม การดำเนินการดังกล่าวนอกจากเป็นการฟื้นคืนความสมบูรณ์ของท้องทะเลแล้ว ยังก่อให้เกิดภูมิปัญญาอาชีพใหม่ทำให้คนในท้องถิ่นกับธรรมชาติอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน จาก ............... บ้านเมือง วันที่ 15 สิงหาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#40
|
||||
|
||||
ภารกิจ 'รถถัง' ใต้ทะเล เชื่อไหมว่ารถถังปลดระวางยังมีประโยชน์ ถึงรบไม่ได้ แต่กินได้! แม้กระทั่งรถขนขยะ หรือจะใหญ่ยักษ์ขนาดรถไฟ ก็กินได้ทั้งนั้น ปล่า... เราไม่ได้ให้คุณๆ ผู้อ่านหันมาบริโภคเหล็ก แต่ที่บอกว่ากินได้ ก็เพราะวันนี้เจ้าพี่ยักษ์จักรกลปลดเกษียณเหล่านี้ได้รับมอบหมายภารกิจใหม่ ดิ่งลงสู่ใต้ทะเล เพื่อรอวันที่จะเกิดใหม่ในชื่อ "ปะการังเทียม" ความหวังของสิ่งมีชีวิตน้อยใหญ่ใต้ทะเลที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังนี้มาแต่อ้อนแต่ออก เมื่อบ้านพังเสียหาย แน่นอนว่าผู้อาศัยย่อมลำบาก ปะการังไม่มี ปลาก็ไม่มา จนกระทั่งวันนี้ ใครๆ ก็รู้ว่าชาวเลต้องออกเรือหาปลาไกลบ้านขนาดไหน ถึงจะจับปลาได้มากพอที่จะคุ้มค่าเหนื่อย อย่างนี้แล้ว ยังมีใครเถียงอีกไหมว่า รถถังกินไม่ได้? หลายคนอาจไม่ทราบว่าทะเลไทยบ้านเราจัดว่ามีทรัพยากรทางทะเลที่อุดมสมบูรณ์ที่สุดประเทศหนึ่งในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปะการัง ที่มีอยู่ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลด้านอันดามัน แต่สถานการณ์ของปะการังในปัจจุบันพบว่ามีความเสื่อมโทรมลงอย่างมาก โดยเกิดขึ้นทั้งจากภัยธรรมชาติและด้วยน้ำมือมนุษย์ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ ข้อมูลของกรมประมงพบว่า ฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีพื้นที่ปะการัง 74.9 ตารางกิโลเมตร แต่มีสภาพสมบูรณ์ดีมากและสภาพสมบูรณ์ดีไม่ถึงครึ่งมีเพียงร้อยละ 45.5 และที่สำคัญมีมากถึงร้อยละ 23.7 ที่พบว่ามีสภาพเสื่อมโทรมสาเหตุหลักมาจากผลกระทบจากพายุ การพัฒนาแนวปะการังเป็นแหล่งท่องเที่ยว และผลกระทบจากการทำประมง จึงต้องเรียกว่าเป็นภาวะเร่งด่วนจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหันมาแก้ปัญหากันอย่างจริงจัง ทั้งการรณรงค์เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ประชาชน จนถึงการจัดสร้างปะการังเทียมขึ้นมาเพื่อช่วยย่นเวลาในการนำความสมดุลกลับคืนสู่ท้องทะเล "เทียม" แต่ "แท้" ก่อนอื่นขออธิบายถึงวิธีการสร้าง "ปะการังเทียม" ที่ถูกต้องเสียก่อนว่า ไม่ใช่อะไรๆก็สามารถโยนลงทะเลแล้วจะเรียกว่าปะการังเทียมได้ เพราะหากเป็นเช่นนั้น เปลี่ยนคำเรียกให้ใหม่ว่า "ทิ้งขยะในทะเล" เสียยังจะเหมาะกว่า โดยหลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่า ซากตึก เศษปูน หรืออะไรก็ตามแต่ที่สิ่งมีชีวิตอย่าง หอยนางรม เพรียง ฟองน้ำสามารถเกาะได้ ก็จะถือว่าช่วยสร้างสมดุลแก่ธรรมชาติได้แล้ว อย่าลืมว่าเป้าหมายสำคัญของการทำปะการังเทียม ก็คือ เพื่อทำให้กุ้งหอยปูปลากลับมาอยู่กันอย่างคึกคักเหมือนแต่ก่อน ฉะนั้น หากว่าสิ่งที่คนโยนลงไปไม่มีช่องว่างภายในให้สิ่งมีชีวิตเหล่านั้นเข้าไปอาศัยได้ ก็เหมือนกับบ้านไม่มีประตู แล้วจะยังมีประโยชน์อยู่หรือ? ข้อมูลจากกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้คำนิยามของปะการังเทียม ไว้ว่า "แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล (Artificial Habitats) หรือ ปะการังเทียม (Artificial Reefs) เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อดัดแปลงสภาพพื้นทะเล โดยการนำวัสดุที่แข็งแรงทนทานต้านกระแสน้ำได้และค่าใช้จ่ายคุ้มทุน ไปจัดวางที่พื้นทะเล เพื่อดึงดูดสัตว์น้ำให้เข้ามาอยู่อาศัย เป็นที่หลบภัย รวมทั้งเป็นแหล่งอาหาร และแหล่งสืบพันธุ์ของสัตว์น้ำ เป็นประโยชน์ต่อการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ เสริมมาตรการควบคุมและบริหารจัดการทรัพยากรประมง" เกณฑ์ในการเลือกสถานที่สร้างบ้านให้ปลานั้น กรมประมงกำหนดให้ต้องเป็นสถานที่ที่มีความลึกของน้ำทะเล 6 ม.ขึ้นไป พื้นทะเลไม่เป็นโคลนเหลว ไม่อยู่ใกล้ปากแม่น้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงความเค็มของน้ำทะเลอย่างรวดเร็วในฤดูน้ำหลาก ไม่เป็นพื้นที่ซึ่งมีตะกอนแขวนลอยในน้ำมาก ไม่กีดขวางการสัญจรทางน้ำ ไม่เป็นที่หวงห้ามเพื่อการใช้ประโยชน์อื่นๆทางทะเล เช่น เขตร่องน้ำเดินเรือ เขตจอดเรือ เขตพื้นที่ท่าเรือ เขตสัมปทานขุดแร่และแก๊สธรรมชาติ เขตสัมปทานรังนก เป็นต้น ส่วนเรื่องวัสดุที่จะนำมาใช้ทำเป็นปะการังเทียมนั้น ได้มีการวิจัยและพัฒนาโดยกรมประมงต่อเนื่องมาหลายสิบปี โดยปะการังเทียมชุดแรก เกิดขึ้นในปี 2521 ทดลองจัดทำโดยสถานีประมงทะเลจังหวัดระยอง และเรียกว่า "มีนนิเวศน์" เป็นการใช้วัสดุแตกต่างกันหลายชนิด เช่น ยางรถยนต์เก่า ท่อคอนกรีต ผูกมัดเป็นรูปทรงต่างๆ กัน เพื่อศึกษาผลของการใช้วัสดุ และการดึงดูดสัตว์น้ำ โดยพบว่ามีสัตว์น้ำหลายชนิดเข้ามาอยู่อาศัย นอกจากทดลองที่ชนิดของวัสดุแล้ว ก็ยังมีการทดสอบความแตกต่างของรูปทรงที่เหมาะสมด้วย ตัวอย่างเช่น พ.ศ.2526 สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดสงขลา ได้ทดลองใช้วัสดุคอนกรีตเสริมเหล็กรูปสามเหลี่ยมพีระมิด ยาวด้านละ 80 ซม.จัดสร้างที่บริเวณชายฝั่งด้านหน้าของสถาบันฯ โดยเรียกว่า "แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล" ขณะที่ทางฝั่งทะเลอันดามัน สถานีประมงทะเลจังหวัดภูเก็ต ได้จัดสร้างปะการังเทียมด้วยยางรถยนต์เก่า และคอนกรีตเสริมเหล็กชนิดสี่เหลี่ยมที่บริเวณอ่าวพังงา ในปี พ.ศ.2525 บ้านเหล็กใต้ทะเล แต่ที่แปลกใหม่และเป็นข่าวฮือฮาก็คือ ปะการังเทียมซึ่งเกิดขึ้นจากโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ โดยใช้ซากตู้รถไฟจำนวน 208 ตู้ทิ้งลงในทะเลลึกเขตจังหวัดปัตตานี เมื่อปี 2545 เพื่อฟื้นความสมบูรณ์ของธรรมชาติ โดยก่อนที่รถไฟจะได้ย้ายบ้านสู่ก้นทะเลนั้น ต้องผ่านการศึกษาวิจัยในเรื่องอิทธิพลของกระแสน้ำว่าจะกระทบต่อกระแสน้ำหรือไม่ มีผลต่อชายฝั่งอย่างใดหรือไม่ และก็ได้รับทราบข้อมูลทางวิชาการว่า หากนำตู้รถไฟลงไปวางในระดับน้ำที่ลึกเกิน 20 เมตร จะไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชายฝั่งทะเล ขณะเดียวกันก็มีการศึกษาด้านชีววิทยาและเคมีโดยกรมประมงได้ทำการศึกษาถึงผลกระทบของเหล็กที่มีต่อน้ำทะเล และสิ่งมีชีวิตต่างๆ ซึ่งได้รับคำตอบว่าไม่มีอันตราย จากนั้นตู้สินค้าขนาดความยาว 6.5 เมตร กว้างและสูงเท่ากัน 2.18 เมตร น้ำหนัก 5.5 ตัน ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการถอดล้อ ทำความสะอาดตู้ให้ปราศจากคราบน้ำมัน เปิดประตูทั้งสองและเชื่อมไว้ให้ถาวร จึงได้มีโอกาสดำดิ่งสู่ทะเลลึก ก่อนจะตามด้วยวัสดุอื่นๆ เช่น ท่อระบายน้ำ รถเก็บขยะมูลฝอย และแท่งคอนกรีต จากการลงสำรวจของทีมนักดำน้ำในบริเวณที่เคยที่ปะการังเทียมเหล็ก ที่เคยวางไว้นั้น จากเดิมซึ่งเคยเป็นพื้นทรายกว้างสุดระยะสายตา พบว่า มีปลาทะเลหลายชนิดอาศัยอยู่ วนเวียนว่ายอยู่รอบรถขยะและในช่องโพรงของรถ กลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลา เป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำได้ไม่ต่างจากปะการังธรรมชาติ ผลพลอยได้ที่ตามมา เมื่อปลาที่เคยหายไปกลับคืนมา ชาวประมงไม่ต้องออกเรือไปหาไกลจากชายฝั่ง ประหยัดค่าน้ำมัน มีรายจ่ายลดลง และมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นแนวกั้นให้กับเรือประมงพาณิชย์อวนลากได้อีกด้วย มะรอฟี ลอตันหยง ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน ต.กะลุวอเหนือ ยืนยันชัดเจนว่า ปะการังเหล็กเหล่านี้ช่วยให้ปากท้องอิ่มขึ้นจริง “หลังจากมีปะการังเทียม ปลากลับมาอาศัยอยู่มาก เราหาปลาได้ง่ายและมากขึ้น รายได้ก็เพิ่มขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลง สัตว์น้ำหลายชนิดที่เคยสูญหายไปเมื่อหลายปีที่ผ่านมา บางชนิดกลับมาอยู่ในปะการังเทียม ปลาที่เคยหายไปกลับมา ทั้งปลาหมอ ปลาสวยงาม ปลาหมอทะเล ปลาโทงเทง และสัตว์น้ำอีกหลายชนิด ก็กลับมา” และเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 78 พระชนมพรรษา ในปี 2553 นี้ กรมประมงได้สานต่อ "โครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส" ขึ้นอีกครั้ง โดยวัสดุที่ไม่ใช้งานแล้วจากกระทรวงคมนาคม โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยสนับสนุน "ตู้รถสินค้า" จำนวน 273 ตู้ กรุงเทพมหานครสนับสนุน "รถเก็บขยะมูลฝอย" จำนวน 198 คัน กองทัพบกสนับสนุน "รถถัง รุ่น ที 69" จำนวน 25 คัน และกองทัพไทยสนับสนุน "รถยนต์" 3 คัน รวมทั้งสิ้น 499 คัน เพื่อทำเป็นปะการังเทียม และแนวกันคลื่น รวมทั้งสิ้น 15 จุด ในพื้นที่ อ.ปะนาเระ อ.สายบุรี อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี รวม 9 จุด และ อ.เมือง อ.ตากใบ จ.นราธิวาส รวม 6 จุด ถือเป็นบิ๊กโปรเจคถึงขนาดที่ต้องใช้เรือบรรทุก สินค้าขนาดใหญ่ 2 ลำ ขนรถไปทิ้งโดยใช้เครนยก แล้วจึงใช้รถแบ็คโฮดันลงทะเล ด้วยหวังจะให้ยักษ์เหล็กเหล่านี้สร้างความกินดีอยู่ดี ชาวบ้านได้อิ่มท้อง ทะเลได้อิ่มหนำ แล้วนักท่องเที่ยวยังจะได้อิ่มใจจากแนวปะการังน้องใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกด้วย (ข้อมูลส่วนหนึ่งจากมูลนิธิสวัสดี และ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) จาก ........... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 24 สิงหาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|