#31
|
||||
|
||||
ดูภาพนิ่งอย่างเดียวคงจะไม่ได้บรรยากาศ งั้นมาดูคลิปวิดีโอกันดีกว่า และจะเห็นตัวประหลาดที่ไม่ใช่แมนต้าพันธุ์ใหม่ปะปนอยู่ด้วย ก็เพียงเพื่อจะให้เจ้าหลานชายตัวแสบได้เห็น เพราะมันมักจะถามตอนดูคลิปวิดีโอว่า แล้วกู๋ก้อยอยู่ตรงไหน
http://www.youtube.com/watch?v=yNEr0co7Ebo แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-08-2010 เมื่อ 22:14 |
#32
|
||||
|
||||
ส่วนคลิปนี้คือแมนต้าสองตัวขณะว่ายวนรอบ cleaning station แห่งหนึ่ง
http://www.youtube.com/watch?v=LUADv89GGj0 แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-08-2010 เมื่อ 22:15 |
#33
|
||||
|
||||
แค่นั้นยังไม่พอ สองวันสุดท้ายก่อนเราจะจบทริปนี้ ยักษ์ใหญ่ใจดีแห่งท้องทะเลสองตัวเขื่องก็แวะเวียนมาอวดโฉมที่ Hanifaru ร่วมวงกับฝูงแมนต้ารุมกินโต๊ะแพลงตั้นกันอย่างเมามัน พวกเขาลอยอ้อยอิ่งให้นักดำน้ำได้จ้องมองอย่างใกล้ชิดทั้งจากใต้ทะเล และบนพื้นผิวน้ำ รูปทรงเหมือนเรือดำน้ำ
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย koy : 17-08-2010 เมื่อ 14:44 |
#34
|
||||
|
||||
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-08-2010 เมื่อ 22:16 |
#35
|
||||
|
||||
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 17-08-2010 เมื่อ 22:17 |
#36
|
||||
|
||||
ยังมีภาพและวิดีโออีกเพียบ แต่คงอัพโหลดขึ้นอินเตอร์เน็ตไม่ไหว เืผื่อใครสนใจก็จะเอาไปเปิดให้ดูที่ชุมพรนะครับ
ขอขอบคุณข้อมูลประกอบเรื่องจาก www.wikipedia.org http://www.scubascuba.com/edit/pdf/w...erofmantas.pdf ที่ยั่วยวนล่อลวงให้พวกเราได้ฝันหวาน ก่อนจะไปเยือนสถานที่จริง จนได้สัมผัสกับประสบการณ์ที่ยากจะพานพบ แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย koy : 17-08-2010 เมื่อ 14:45 เหตุผล: เพิ่มเติม/แก้ไขแหล่งข้อมูล |
#37
|
||||
|
||||
ตระการตาจริง น้องก้อย แบบว่าอิจฉามากกกกกกกก
แต่รู้ไหมว่า แมนต้ามีกี่พันธุ์ อยากรู้ก็เริ่มทำการศึกษาทันที แล้วจะมาบอกวันหลังนะ หรือถ้าใครทราบมาบอกก็ได้นะคะ อยากทราบเร็วๆๆ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
#38
|
|||
|
|||
ต่อมอิจฉาแตกดังโพละไปเรียบโร้ยยยย
|
#39
|
|||
|
|||
นั่งอมยิ้มไปเรื่องเท้านี่แหละ.. ขืนทำที่บ้านสงสัยจะโดนแม่ตีขาหัก.. ขอบคุณพี่ก้อยที่เอามาแบ่งปันจ้า.. เด๋วตามไปดูวีดีโอแล้วจะเอามาเม้าท์ต่อ..
|
#40
|
||||
|
||||
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ปลากระเบนราหูน้ำเค็ม "นกยักษ์แห่งท้องทะเล" หรือกระเบนราหู เป็นปลากระดูกอ่อนเช่นเดียวกับฉลาม เป็นกระเบนที่ ใหญ่ที่สุดในโลก อาจมีความกว้างช่วงปีก(ครีบหู) ได้ถึง 6.7 เมตร หรือ 22 ฟุต มีน้ำหนักได้ถึง 1,350 กิโลกรัม หรือ 3,000 ปอนด์ อาศัยอยู่ในน่านน้ำเขตร้อนทั่วโลก โดยเฉพาะรอบๆแนวปะการัง โดยทั่วไปกระเบนราหูจะมีหลังสีดำและท้องสีขาว แต่อาจพบกระเบนราหูหลังสีฟ้าได้บ้าง ตาของกระเบนราหูอยู่บริเวณข้างหัว และต่างจากกระเบนทั่วไป ปากของกระเบนราหูอยู่ทางด้านหน้าของหัว มีช่องเหงือก 5 คู่ เหมือนกระเบนทั่วไป ครีบหูพัฒนาเป็น ติ่งลักษณะคล้ายเขา หรือที่เรียกว่าครีบหัว (ลักษณะดังกล่าวทำให้กระเบนชนิดนี้มีอีกชื่อว่ากระเบนปิศาจ-Devil Ray) อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวแบนๆ ครีบดังกล่าวเจริญขึ้นในช่วงตัวอ่อน เลื่อนมาอยู่รอบปาก ทำให้เป็นหนึ่งในสัตว์มีกระดูกสันหลังมีขากรรไกร ที่มีรยางค์พิเศษอันเป็นที่รู้จักมากที่สุดชนิดหนึ่ง (อีกชนิดคือ เต่าหก-Manouria emys) เขาที่อ่อนนุ่มมีไว้สำหรับโบกพัดเอาน้ำเข้าปาก เพื่อกินแพลงก์ตอน และเพื่อจะฮุบน้ำจำนวนมากต้องว่ายอ้าปากและพัดอาหารเข้าปากอยู่เสมอ กระเบนราหูเคยเป็นผู้หาอาหารตามพื้นท้องทะเลมาก่อน ก่อนที่จะวิวัฒนาการมาเป็นผู้กรองกินตามทะเลเปิดในปัจจุบัน ทำให้สามารถเจริญเติบโตได้จนมีขนาดใหญ่มากกว่ากระเบนอื่นๆ ลักษณะการกรองกินทำให้ฟันลดขนาดลงเป็นซี่เล็กๆ ส่วนใหญ่แอบอยู่ใต้ผิว คล้ายกับกระเบนทั่วไป กระเบนราหูมีหางเป็นเส้นยาว แต่หากปราศจากเงี่ยงที่ส่วนหาง และเกล็ดแหลมหุ้มลำตัวก็มีขนาดเล็กลง แทนที่ด้วยเมือกหนาหุ้มร่างกาย ส่วน spiracle มีขนาดเล็กและไม่ทำหน้าที่ น้ำทั้งหมดไหลเข้าสู่ปากแทน เพื่อการว่ายน้ำที่ดี กระเบนราหูวิวัฒนาการรูปร่างร่างกายให้เป็นรูปเพชร และมีการพัฒนาครีบให้คล้ายปีกสำหรับโบยบินในท้องทะเล ขนาดตัวยักษ์ใหญ่และความเร็วชนิดใกล้เคียงจรวด ทำให้กระเบนราหูมีศัตรูตามธรรมชาติน้อย ศัตรูในทะเลไทยกลุ่มเดียว คือวาฬเพชรฆาตและวาฬเพชรฆาตเทียม แต่ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน โดยปกติกระเบนราหูกินแพลงก์ตอน ตัวอ่อนปลา และสิ่งมีชีวิตเล็กๆทั่วไปโดยการกรองน้ำที่ไหลเข้าสู่ปากโดยใช้ซี่เหงือก เรียกการกรองกินแบบนี้ว่า ram-jet ในเชิงอนุกรมวิธาน กระเบนราหูยังมีการจัดจำแนกที่ไม่ชัดเจน โดยมีกระเบนราหูถึง 3 ชนิดที่มีการจัดนำแนกไว้ ได้แก่ Manta birostris, Manta ehrenbergii และ Manta raya โดยชนิดแรกสุดมีขนาดเล็กกว่า และสองชนิดหลังนั้นอาจเป็นเพียงประชากรที่แยกตัวกันมานานแสนนาน เดิมทีแล้ว สกุลของกระเบนราหูถูกจัดอยู่ในวงศ์ Mobulidae แต่ในปัจจุบันอาจมีการจัดไว้ในวงศ์ Myliobatidae ซึ่งมีกระเบนอินทรีย์เป็นเพื่อนร่วมวงศ์ สามารถถูกพบเห็นได้บ่อยตามแนวปะการังของมหาสมุทรอินเดีย โดยเฉพาะหมู่เกาะมัลดีฟส์ หมู่เกาะสุรินทร์ รวมไปถึงหมู่เกาะสิมิลันของ ไทย โดยเฉพาะ หินแดง เกาะบอน เกาะตอรินลา และเกาะตาชัย พบได้บ่อยในทางด้านอ่าวไทยเช่นกัน เช่น หินใบ เกาะพงัน และกองหินโลซินอันห่างไกล กระเบนราหูเป็นปลาอีกชนิดที่นักดำน้ำต้องการที่จะพบเห็นมากที่สุด ซึ่งมักจะถูกพูดถึงร่วมกับฉลามวาฬเสมอ นอกจากนี้ กระเบนราหูเป็นปลากระเบนเพียงชนิดเดียว ที่ไม่มีเงี่ยงพิษเหมือนปลากระเบนชนิดอื่นๆ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS |
|
|