#31
|
||||
|
||||
น่าสนใจครับ ใช้น้ำต้านน้ำ แต่ถุง/สายยางยาวสำหรับใส่น้ำไว้สกัดน้ำอย่างนั้นไม่รู้จะไปหาที่ไหน วันก่อนในเฟซบุ๊คเห็นคนเขาดัดแปลงเอาถุงดำมาเป็นตัวสกัด/เบี่ยงเบนน้ำ ไม่ทราบจะได้ผลหรือเปล่า และต้องหาอะไรมากั้นด้านหน้าถุงไม่ให้สิ่งของแหลมคมที่ไหลมากับน้ำ มาเจาะถุงดำทะลุได้ ตามรูปนี้ครับ เครดิต Anupong รักและเทิดทูนในหลวง
รายละเอียดเพิ่มเติม ดูในนี้นะครับ http://www.facebook.com/photo.php?fb...&type=1&ref=nf |
#32
|
||||
|
||||
สิ่งของที่ต้องเตรียมไว้ยามน้ำท่วม
ขอบคุณข้อมูลจาก....http://www.facebook.com/photo.php?fb...type=1&theater
__________________
Saaychol |
#33
|
||||
|
||||
เตรียมน้ำดื่มช่วงน้ำท่วม
คุณพงศกร พัฒผล ผู้เชี่ยวชาญการเดินป่าและพจญภัยแห่งThailand Survivalครับ กับ1ไอเดียในการเอาชีวิตรอด จากการเสวนาเรื่อง"การออกแบบเพื่อเตรียมพร้อมรับมือและจัดการกับภัยพิบัติ" เมื่อวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2554 โดยกลุ่มDesign for disasters และ หอศิลปกรุงเทพ ขอบคุณข้อมูลจาก...a1.sphotos.ak.fbcdn.net/hphotos-ak-ash4/308166_299403576741920_100000168398246_1344643_2115520348_n.jpg
__________________
Saaychol |
#34
|
||||
|
||||
บรรเจิด! “ผ้าอนามัยฉุกเฉิน” ยามน้ำท่วม ช่างเป็นความลำบากของคุณผู้หญิงที่ต้องเจอภาวะ “น้ำหลาก” หลายทางท่ามกลางอุทกภัย บางคนมัวแต่เตรียมข้าวของจำเป็นและเสบียงจนลืมวันนั้นของเดือน ในภาวะฉุกเฉินที่ไม่อาจลุยน้ำไปหา “ผ้าอนามัย” มาผลัดเปลี่ยน ลองหยิบของใกล้ตัวมากู้วิกฤตกันก่อน อีกหนึ่งแนวคิด “ต้องรอด” กู้วิกฤตยามฉุกเฉินจาก แฟนเพจ Design for Disasters ที่นำแนวคิดชาวญี่ปุ่นมาประดิษฐ์เป็น “ผ้าอนามัยยามฉุกเฉิน” ซึ่งมี สิ่งที่ต้องเตรียม ได้แก่ เสื้อแขนยาว, กระดาษชำระหรือเศษผ้า, กรรไกร และเทปกาว วิธีทำ 1.สละเสื้อแขนยาว 1 ตัว นำมาตัดแขนให้ยาว 15-20 เซนติเมตร (ความยาวปรับได้ตามความเหมาะสม) 2.ใช้กระดาษชำระหรือเศษผ้า ซ้อนให้หนาพอประมาณ แล้วสอดเข้าไปในแขนเสื้อที่ตัดออกมา 3.ใช้เทปสอดเข้าไปใต้เศษผ้า โดยให้ยื่นเทปยาวส่วนหนึ่งออกมาเพื่อแปะกับกางเกงชั้นใน เมื่อใช้งานแล้วสามารถนำแขนเสื้อไปซักทำความสะอาด และเปลี่ยนกระดาษชำระหรือเศษผ้าได้ ขอบคุณแนวคิดดีๆเพื่อผู้ประสบภัยจากแฟนเพจ Design for Disasters จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#35
|
||||
|
||||
ขับอย่างไรเมื่อน้ำท่วม ขณะนี้ประเทศไทยของเรากำลังประสบปัญหาน้ำท่วมในหลายจังหวัด สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือการขนย้ายข้าวของและการส่งสิ่งของไปบรรเทาความเดือนร้อน ใครที่ต้องขับรถขณะสถานการณ์แบบนี้ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัว แต่หากหลายท่านไม่รู้จะทำอย่างไร การเตรียมตัวรับมือกับสายฝนและน้ำท่วมนั้นเพียงแต่ผู้ขับขี่ เพิ่มความรอบคอบ และวินัยในการขับมากขึ้น รวมทั้งเทคนิคที่เรานำมาฝากกัน **การขับรถเมื่อฝนตกหรือถนนลื่น** จำเป็นต้องระวังเป็นอย่างมากขณะฝนตกใหม่ๆ ถนนจะลื่นมาก เพราะน้ำฝนฝุ่นโคลน จะรวมกันกลายเป็นฟิล์มรองรับระหว่างยางกับพื้นถนนรถจะเกิดการลื่นเสียหลัก เมื่อวิ่งผ่านหากขับรถฝ่าสายฝนต้องลดความเร็วลงให้มากกว่าปกติ ควรใช้เกียร์ต่ำกว่าปกติ1 เกียร์จะทำให้รถเกาะจับถนนไดดีขึ้นขณะขับรถให้เปิดไฟหรี่หรือไฟใหม่ตามแต่ สถานการณ์ การเปิดไฟจะช่วยให้รถคันอื่นมองเห็นเราควรหลีกเลี่ยงการเบรกอย่างรุนแรงและ กะทันหักจะทำให้รถลื่นไถลหรือหมุนกลางถนนได้ถ้ารถเริ่มเสียหลักให้ผู้ขับขี่ ถอนคันเร่งจะทำให้รถเกาะขับถนนได้ดีรถวิ่งผ่านแอ่งน้ำ ให้ยกเท้าออกจากคันเร่งโดยทันที อย่าเบรกอย่าหักพวงมาลัย จับพวงมาลัยให้แน่นเมื่อรถลดความเร็วลงหรือผ่านแอ่งน้ำไปแล้ว รถก็จะเริ่มจับเกาะถนนได้และก็สามารถควบคุมได้ *การขับระดับน้ำท่วมผิวถนน** คือระดับความลึกของน้ำประมาณไม่เกิน 6 นิ้ว ไม่มีผลต่อรถของเราส่วนที่จมน้ำจึงมีเพียงลูกหมากและบูชยางของระบบรองรับและ ระบบบังคับเลี้ยวเท่านั้นชิ้นส่วนเหล่านี้ถูกออกแบบมาให้แช่น้ำชั่วคราวได้ โดยไม่เกิดความเสียหายสิ่งสำคัญที่สุด คือ การรักษาระดับความเร็วของรถโดยขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้น้ำที่ถูกล้อรถ รีดด้วยความเร็วจะทะลักพุ่งออกมาทางด้านข้างอย่างแรงฉีดไปที่ห้องเครื่อง ยนต์ อาจทำให้กระแสไฟจุดระดับลัดวงจร และเครื่องดับหรือไม่ก็ฉีดไปบนห้องเกียร์และเล็ดลอดเข้าไปภายในทำให้น้ำมัน เกียร์เสื่อมสภาพได้ **การขับระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถ** ระดับนี้อาจจะมีน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวขณะขับรถจะได้ยินเสียงน้ำกระทบท้องรถค่อนข้างดังควรขับให้ช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ หลีกเลี่ยงการตกหลุมที่มองไม่เห็นโดยสังเกตจากรถคันหน้าและพยายามจำแนวไว้ ความลึกระดับนี้จานเบรกจะจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา รถที่ใช้ดรัมเบรกประสิทธิภาพการทำงานจะลดลงอย่างมาก หากพ้นช่วงน้ำท่วมจะต้องทดสอบเบรกทันทีโดยการเบรกและเร่งความเร็วสลับกันไป เพื่อให้ผ้าเบรกรีดน้ำจากจานเบรกและเพื่อให้จากเบรก หรือดุมเบรกร้อนจนน้ำระเหยเป็นไอหมด **การขับระดับน้ำท่วมเลยท้องรถ** ไม่ว่าจะขับช้าเพียงใดน้ำก็อาจจะทะลักท่วมห้องเกียร์และเฟืองท้าย (รถขับเคลื่อนล้อหลัง)ผสมกับน้ำมันเกียร์ และน้ำมันเฟืองท้าย ทำให้เสื่อมสภาพฟันเฟืองต่างๆภายในจะสึกหรออย่างรวดเร็วเนื่องจากน้ำใต้ท้อง รถจะแทรกซึมเข้ามาทางจุกยางหลายจุดจากพื้นรถพรมและฉนวนกันเสียงจะชุ่ม หากเจ้าของรถไม่รีบรื้อเก้าอี้และถอดออกมาผึ่งแดดรถบางรุ่นจะมีศูนย์ควบคุม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E C U)อยู่ใต้เก้าอี้ซึ่งชิ้นส่วนนี้มีราคาสูงมาก หากความชื้นเล็ดลอยเข้าไปจะชำรุดภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน ส่วนด้านหน้ารถก็เกิดความเสียหายไม่น้อยเช่น ใบพัดของพัดลมระบายความร้อนหม้อน้ำ ซึ่งอยู่ด้านหลังของหม้อน้ำจะดูดน้ำจากด้านหน้าใบพัดซึ่งทำจากพลาสติก จึงงอไปทางด้านหน้าครูดกับรังผึ้งหม้อน้ำจนหัก น้ำซึ่งถูกกันชนหน้ารถดันจน สูงอาจทะลักเข้าทางขั้วของโคมไฟหน้ากลายเป็นไอน้ำสะสมอยู่ภายในและจะทำลาย ผนังโคมที่ฉาบปรอทไว้ซึ่งจะทำให้หลุดล่อนในเวลาไม่นาน **ระดับน้ำท่วมจนถึงไฟหน้า** ถือว่าระดับน้ำที่อันตรายที่สุดหากขับหรือจอดอยู่นานน้ำ ท่วมภายในห้องโดยสารจนถึงเบาะนั่งห้องเกียร์และเฟืองท้ายจะถูกท่วมมิด หากเครื่องยนต์ไม่ดับไปเสียก่อนเนื่องจากระบบจุดระเบิดขัดข้องและผู้ขับยัง ฝืนขับด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (โดยเฉพาะรถเครื่องยนต์ดีเซลจึงไม่ต้องอาศัยกระแสไฟจุดระเบิด)น้ำจะทะลักเข้า ทางท่อดูดอากาศ ผ่านไส้กรองอากาศ ท่อไอดีและเข้าไปในกระบอกสูบลูกสูบที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นอย่างรวดเร็วจะ กระแทกกับปริมาตรน้ำอย่างรุนแรง(ไฮดรอลิกลอค) จนลูกสูบและก้านสูบชำรุดทันที สรุปว่าระดับน้ำที่เรายังใช้งานได้โดยไม่เกิดความเสียหาย คือ ระดับน้ำท่วมผิวถนนและระดับที่ผิวน้ำสูงถึงท้องรถเป็นครั้งคราวเท่านั้น วิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้องเมื่อต้องเผชิญกับถนนที่มีน้ำท่วมลึกจำเป็นต้องหลีก เลี่ยง โดยกลับรถเพื่อเปลี่ยนเส้นทางหรือหาที่จอดรถซึ่งน้ำท่วมไม่ถึงไว้ก่อนแทนเป็นการประหยัดค่าซ่อมรถได้มากทีเดียว หากมีปัญหาความนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์และน้ำมันเฟือง ท้ายหลังจากลุยน้ำลึกมาทุกครั้งและให้เจ้าหน้าที่บริการถอดเก้าอี้และตรวจด้านล่างของพรมปูพื้นว่ามีน้ำรั่วเข้าถึงหรือไม่ รถที่ลุยน้ำลึกมาแล้วหากถึงที่หมายหรือรถพ้นน้ำห้ามดึงเบรกมือทิ้งไว้เด็ดขาดเพราะเมื่อน้ำแห้ง ผ้าเบรกจะยึดกับจานเบรกจะทำให้เกิดสนิมจนไม่สามารถเคลื่อนรถออกไปได้ : ขอบคุณข้อมูลประกอบจาก : บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์(ประเทศไทย) จำกัด จาก .................... ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ 13 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#36
|
||||
|
||||
มาดู"ทางด่วนน้ำบายพาส" ทริคเก๋กู๊ดเลี่ยงน้ำท่วมจากเยอรมัน (เผื่อไทยเราจะนำไปใช้บ้าง...) ในเฟซบุ๊กของ Geranun Giraboonyanon ได้มีการเผยแพร่ "ทางด่วนน้ำบายพาส" จาก สะพานน้ำ อควาดัค ที่ประเทศเยอรมัน เขาใช้ในการระบายน้ำเป็นเหมือนทางเลี่ยงเพื่อผลักดันมวลน้ำส่วนเกินให้พ้นทะเล ออกไปซึ่งประเทศไทยอาจสามารถนำมาประยุกต์ในการรับมือน้ำท่วมในครั้งต่อไปได้ โดยเขาระบุข้อความ รวมถึงโพสต์รูปภาพไว้ดังนี้ "สะพานน้ำ อควาดัค ถ้าประยุกต์เอาวิธีนี้มาใช้ จะทำสะพานถ่ายน้ำ ยกน้ำบายพาส ข้ามอยุธยา ข้าม กทม.ไปลงทะเลได้อย่างรวดเร็วโดยตรง หรือจะถ่ายน้ำจากเขื่อนได้โดยไม่เดือดร้อนชาวบ้านได้อย่างสบายๆ (น่าจะประยุกต์ติดตั้งระบบดันน้ำเสริมได้ด้วย) ในภาพจากในเยอรมันเขาทำขึ้นใหม่ ความกว้างขนาดใช้เรือขนสิ่งทางน้ำได้ด้วย กลายเป็นเส้นทางขนส่งในยามปกติ และสะพานถ่ายน้ำจากเหนือลงทะเลสบาย เนื่องจากความชัน-ลาดเอียงระหว่างเชียงใหม่ นครสรรค์ ถึงกรุงเทพ อยู่ระดับ 30- 45 องศา ก็เหมือนทางด่วนของน้ำแหละครับ สะพานถ่ายน้ำบายพาสผ่านแนวแก้มลิงเดิมก็ได้กันพลาด ทำหลายเส้นก็ได้ ลัดน้ำออกทะเลไปเลยตรงๆ ต้นแบบในเยอรมัน ในยุโรปมีตัวอย่าง น่าจะประยุกต์เอาแบบมาทำได้" จาก ..................... มติชน วันที่ 13 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#37
|
||||
|
||||
คู่มือเผชิญน้ำท่วม รับมือวิกฤติน้ำ (1) ................................จาก ไทยรัฐ วันที่ 15 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#38
|
||||
|
||||
คู่มือเผชิญน้ำท่วม รับมือวิกฤติน้ำ (2) ............................. จาก ไทยรัฐ วันที่ 15 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#39
|
||||
|
||||
รวมเทคนิค กู้ภัยน้ำท่วมรถน้ำเข้ารถ เป็นเรื่องหนาสาหัสสากรรจ์สำหรับผู้ใช้รถ ที่อยู่ๆก็เจอกับภัยธรรมชาติ จนน้ำท่วมรถมิดคัน อย่างไรก็ตาม ยังพอมีทางออกที่จะทำให้เสียเงินน้อยหน่อยในการกู้คืนรถต่างๆ ลองพิจารณาขั้นตอนต่อไปนี้สำหรับการสู้ภัยน้ำท่วม การกู้รถกรณีน้ำเข้ารถขณะจอด(ดับเครื่อง) - ลากจูงจนรถพ้นน้ำ ห้ามสตาร์ทเครื่องยนต์เด็ดขาด - เปิดหรือคลายน็อตอ่างน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ เฟืองท้ายและที่ถังน้ำมันเชื้อเพลิง - คลายน็อตเดรนน้ำมันพอหลวม ให้น้ำที่ขังอยู่ไหลออกมาจนหมดแล้วปิดน็อต - ถอดหัวเทียน ถอดหัวฉีด - กรณีรถใช้ก๊าซ ปิดการใช้งานระบบก๊าซให้หมด ให้เหลือระบบน้ำมันอย่างเดียว - หมุนเครื่องด้วยมือเปล่า 2-3 รอบเพื่อไล่น้ำออกจากห้องเผาไหม้ - ปล่อยชิ้นส่วนต่างๆไว้ให้แห้งโดยการตากแดดหรือเปล่าลมร้อน - ถอดแบตเตอรี่ออกตรวจเช็กปริมาณไฟที่มีอยู่ว่ามากพอที่จะสตาร์ทเครื่องได้ไหมถ้าไฟหมดส่งเข้าร้านชาร์จไฟ - ตรวจสอบ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่เกี่ยวกับการจุดระเบิด - ถอดปลั๊ก สมองกล ECU อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกระบบ - แกะซีลสมองกล ECU ออกแม้ มีระบบกันน้ำอยู่แล้วก็ตามเพื่อทำให้แห้ง - ตากแดดหรือเป่าด้วยลมร้อน (จากไดร์เป่าผม) จนแห้งสนิท ชิ้นส่วนต่างๆที่เกี่ยวกับไฟฟ้าทุกตัวไม่เว้นแม้สมองเครื่อง - ตรวจปลั๊กทุกตัวในห้องเครื่อง เมื่อพบให้ถอดออกเช็กและเป่าให้แห้ง - ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ออโต้ - เมื่อทุกอย่างแห้งและไม่ชิ้นให้ใส่แบตฯ เปิดสวิทช์ไฟเพื่อตรวจดูแผงไฟบนหน้าปัด - ประกอบชิ้นส่วนเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า ทดลองติดเครื่องยนต์ (อาจจะต้องสตาร์ทหลายครั้ง) - หากพบว่า เครื่องเดินไม่เรียบ ไม่ต้องแตะคันเร่ง ไม่ต้องเปิดแอร์ อุ่นเครื่องไล่ความชื้นที่หลงเหลือ - สังเกตอาการเครื่องเมื่ออุณหภูมิพร้อมทำงาน(เครื่องปกติจะกลับมาเดินเรียบ) - ถอดอุปกรณ์ในรถ เบาะนั่ง พรมปูพื้น ออกตากแดด - ตรวจดูความเปียกชื้นบนพื้นรถ หากพบทำให้แห้ง - ตรวจระบบไฟส่องสว่างไฟหน้า ไฟท้าย ไฟเบรก ไฟเลี้ยว ที่ปัดน้ำฝน (ถ้าเสียซ่อมเป็นกรณีไป) - ลองเข้าเกียร์ทุกตำแหน่ง(โดยไม่ต้องออกรถ) - หากทุกเกียร์ตอบสนอง แสดงว่ารถพร้อมทำงาน ลองขับเคลื่อน ด้วยเกียร์ต่ำ ระยะหนึ่ง(สั้นๆ) - หากอาการ รถวิ่งได้ แต่วิ่งไม่ออก อาจต้องนำรถเข้าตรวจที่อู่ อีกครั้ง กรณีดับกลางน้ำ(น้ำเข้าเครื่อง) ในกรณีที่ขับรถไปแล้วรถเกิดตกน้ำจมน้ำ เรื่องค่าใช้จ่ายการกู้คืนรถจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเกี่ยวกับเครื่องยนต์และเกียร์ - เมื่อน้ำเข้าเครื่อง จะเกิดความเสียหาย ตั้งแต่ฝาสูบ วาล์ว ลูกสูบก้านสูบ - เกียร์ออโต้ ต้องทำการถ่ายน้ำออกจากห้องเกียร์ ไม่พยายามทำให้เกียร์หมุน(ก่อนเดรนน้ำออก) จาก .................... คม ชัด ลึก วันที่ 16 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#40
|
||||
|
||||
“รถยนต์ประสบอุทกภัย” บริษัทประกันชดเชยอย่างไร?! สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในปี 2554 นี้นับเป็นครั้งที่รุนแรงและหนักที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนจนทำให้หลายคนเครียดจัด แต่สิ่งหนึ่งที่จะสามารถช่วยเหลือและบรรเทาความเสียหายได้นั่นก็คือ การประกันภัยที่ได้ทำไว้ให้กับทรัพย์สินต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รถยนต์” ซึ่งหากต้องได้รับความเสียหายจากวิกฤติอุทกภัย ความครอบคลุมของประกันภัยจะชดเชยได้มากน้อยแค่ไหน...?!? จันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้ความรู้ว่า สำนักงาน คปภ.มีความห่วงใยผู้ประสบอุทกภัยเป็นอย่างยิ่ง จึงเร่งให้บริษัทประกันภัยสำรวจความเสียหายเพื่อจ่ายค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ประสบภัยได้ทันทีหลังน้ำลด โดยสถิติความสูญเสียทรัพย์สินด้านการประกันภัยจากความเสียหายสถานการณ์น้ำท่วมเบื้องต้นแบ่งเป็นความเสียหายต่อรถยนต์มีจำนวน 818 คัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหาย 53,199,744.30 บาท จ่ายเต็มจำนวนเงินที่เอาประกันภัยแล้ว 1,878,388.60 บาท ซ่อมแซมรถยนต์ที่ได้รับความเสียหายคิดเป็นมูลค่าเงินที่เอาประกันภัย 5,826,981.08 บาท อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำท่วมยังไม่คลี่คลาย บริษัทประกันจึงไม่สามารถเข้าไปประเมินความเสียหายได้ทั้งหมด ต้องรอสรุปตัวเลขหลังน้ำลดต่อไป ทั้งนี้ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จะได้รับความคุ้มครองจากประกันภัย แบ่งเป็นประเภท การประกันภัยเกี่ยวกับบุคคล คือ 1. การประกันชีวิต คุ้มครองการเสียชีวิตทุกกรณี (รวมถึงการเสียชีวิตจากภัยน้ำท่วม) 2. การประกันภัยอุบัติเหตุ ส่วนบุคคล คุ้มครองกรณีเสียชีวิตเนื่องจากการจมน้ำหรือถูกน้ำซัดจมหายไป 3. การประกันสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยจากเหตุการณ์น้ำท่วม สำหรับ การประกันภัยเกี่ยวกับทรัพย์สิน (บ้าน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ) คือ 1. การประกันภัย คุ้มครองผู้ที่ได้ทำประกันอัคคีภัย และ ’ต้องซื้อภัยคุ้มครองภัยน้ำท่วมเพิ่มเติมไว้“ 2. การประกันความเสี่ยงทรัพย์สิน คุ้มครองผู้ที่ได้ทำประกันภัยความเสียหายทรัพย์สิน ซึ่งให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อทรัพย์สินที่เอาประกันอันเกิดจากภัยต่างๆ รวมถึงน้ำท่วมด้วย 3. การประกันภัยธุรกิจหยุดชะงัก คุ้มครองกรณีผู้ประกอบการต้องการปิดกิจการและขาดรายได้จากภัยน้ำท่วมด้วย ส่วนการประกันภัยรถยนต์ คือ 1. การประกันรถยนต์ คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นหากเสียหายบางส่วนจะได้รับการชดเชยค่าเสียหายตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง แต่ไม่เกินจำนวนเงินเอาประกันภัย หากรถยนต์เสียหายจนไม่สามารถซ่อมได้หรือความเสียหายที่มีมูลค่าความเสียหายตั้งแต่ร้อยละ 70 ของมูลค่ารถยนต์ บริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนเต็มตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ระบุไว้ 2. การประกันภัยรถยนต์ประเภทอื่น (นอกจากประเภท 1) คุ้มครองสำหรับรถที่ประกันภัยภาคสมัครใจและได้มีการซื้อประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคลไว้ด้วยก็จะได้รับความคุ้มครองเพิ่มในส่วนนี้ตามจำนวนเงินที่เอาประกันภัยไว้ 3. การประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ (พ.ร.บ.) คุ้มครองในกรณีที่มีผู้เสียชีวิตหรือได้รับบาดเจ็บขณะที่ได้รับบาดเจ็บขณะที่ขับขี่หรือโดยสารในรถนั้นเบื้องต้นจะได้รับความคุ้มครองจากกรมธรรม์ประกันภัยตาม พ.ร.บ.เป็นค่าเสียหายเบื้องต้น กรณีค่ารักษาพยาบาลตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท กรณีเสียชีวิตได้รับ 35,000 บาท ทั้งนี้ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ให้คำแนะนำแก่ผู้เสียหายที่เป็นเจ้าของรถยนต์ที่ประสบภัยน้ำท่วมว่า ข้อควรปฏิบัติกรณีที่รถยนต์ได้รับความเสียหาย คือหลังจากน้ำลดผู้เป็นเจ้าของรถควรแจ้งความเสียหายต่อบริษัทประกันทราบโดยเร็ว แสดงรายละเอียดของเอกสาร หลักฐาน ที่สำคัญ กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์แก่บริษัทประกันภัยเพื่อดำเนินการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน (ในกรณีที่เอกสารทำการประกันภัยหรือกรมธรรม์ประกันภัยสูญหายขณะน้ำท่วม สามารถประสานสำนักงาน คปภ.จังหวัดได้ทันที) และนำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด ที่สำคัญข้อห้ามสำหรับเจ้าของรถเพื่อไม่ให้รถได้รับความเสียหายมากยิ่งขึ้น คือ อย่าสตาร์ตรถยนต์ในทันที ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อสำรวจให้มั่นใจว่าไม่มีเศษอะไรมาติดอยู่ในตัวเครื่อง รวมถึงตรวจเช็กชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆในตัวถัง พร้อมทั้งสายไฟในบริเวณต่างๆ ว่ายังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ หากไม่มั่นใจให้นำรถเข้าศูนย์โดยรถยกให้เร็วที่สุด เพื่อป้องกันความเสียหายที่ไม่คาดคิด และอย่าพ่วงไฟควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีระบบไฟฟ้าลัดวงจรที่จะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบเครื่องยนต์และระบบไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ นอกจากนี้ทางสำนักงาน คปภ.ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือด้านการประกันภัยให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัยทั่วประเทศ โดยให้บริการรับแจ้งเหตุและให้คำปรึกษาด้านการประกันภัยรวมถึงการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยเหลือเจ้าของรถที่ได้รับความเสียหายในการให้บริการรถลาก ซ่อมรถยนต์และการตรวจสภาพรถที่ได้รับความเสียหายจากภัยน้ำท่วมฟรี ดังนั้นผู้ประสบภัยที่เป็นเจ้าของรถสามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือด้านการประกันภัย ตั้งแต่เวลา 08.30-16.30 น. ทุกวันจันทร์-ศุกร์ หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนประกันภัย 1186 ภัยธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้งโดยที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่สามารถบรรเทาความเสียหายและความเดือดร้อนทางด้านการเงินได้ด้วยการทำประกันภัย แต่สิ่งสำคัญเหนืออื่นใดคือก่อนซื้อประกันภัยควรพิจารณาเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยให้เหมาะสมตรงกับความต้องการของตัวเอง รวมทั้งตรวจสอบใบอนุญาตตัวแทนหรือนายหน้าจากนายทะเบียนเท่านั้น ที่สำคัญอย่าลืมตรวจสอบเอกสารการชำระเบี้ยประกันภัยทุกครั้งเพื่อรักษาและคงไว้ซึ่งประโยชน์ของตัวเอง. ............................. วิธีดูแลรถหลังประสบภัยน้ำท่วม อาจารย์รักชาติ แสงวงศ์ หัวหน้าสาขาวิชาวิศวกรรมยานยนต์และหัวหน้าศูนย์บริการยานยนต์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้ความรู้ในการดูแลรักษารถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำว่า การสำรวจรถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำต้องตรวจดูสภาพโดยรวมว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน จากนั้น ควรเปิดฝากระโปรงรถเพื่อปลดขั้วแบตเตอรี่ออกเพื่อตัดระบบการจ่ายไฟ ที่สำคัญไม่ควรสตาร์ตรถ เพื่อลองเครื่องยนต์เนื่องจากระบบกลไกในรถยนต์รุ่นปัจจุบันมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสมองกล ซึ่งระบบเหล่านี้จมน้ำเพียง 5 นาทีก็เกิดความเสียหายได้ ทั้งนี้หากจมน้ำ 1-2 วัน ระบบดังกล่าวอาจเป็นสนิมทำให้ระบบการทำงานเสียหายมาก และที่สำคัญต้องตรวจดูว่าเครื่องยนต์เสียหายมากน้อยแค่ไหน จากนั้น ให้ทำการเป่าหรือใช้สเปรย์ไล่ความชื้น เพราะในจังหวะที่เราดับเครื่อง กระบอกสูบบางกระบอกยังทำงานอยู่อาจทำให้น้ำเข้าได้ และควรถ่ายน้ำมันทุกชนิดที่อยู่ในรถออกทันที เช่น น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเบรก น้ำมันคลัตช์ ฯลฯ เพราะน้ำที่ปนกับน้ำมันจะทำให้เกิดสนิม สำหรับรถยนต์ที่ผ่านการจมน้ำมาควรซ่อมแซมหรือขายทิ้ง อาจารย์รักชาติ แนะนำว่าต้องเอารถไปประเมินสภาพก่อนว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่าหรือไม่ที่จะนำไปใช้ต่อ โดยปกติค่าซ่อมแซมรถยนต์ที่เสียหายจากการจมน้ำมีมูลค่าต่อคันอยู่ที่ประมาณ 300,000 บาท เพราะทุกอย่างเสียหายหมดเหลือแต่โครงรถกับเครื่องยนต์ ซึ่งต้องเริ่มนับหนึ่งใหม่ ส่วนเครื่องยนต์ก็ต้องผ่าดูอีกว่ามีน้ำขังอยู่ข้างในหรือเปล่า ถึงแม้จะเสียเงินซ่อมแล้ว สภาพก็ไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม เพราะมีอุปกรณ์บางตัวที่ติดอยู่กับรถซึ่งไม่สามารถถอดออกมาเปลี่ยนได้ หากต้องการส่งซ่อมควรใช้บริการศูนย์ของรถยนต์ยี่ห้อนั้นๆ หรือส่งซ่อมที่อู่รถที่ได้มาตรฐาน มีผู้เชี่ยวชาญดูแล สำหรับรถยนต์ที่มีประกันชั้นหนึ่ง บริษัทประกันจะรับผิดชอบความเสียหายทั้งหมด โดยบริษัทจะสำรวจว่ามีความเสียหายมากน้อยแค่ไหน แต่ต้องขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของบริษัทประกันด้วย ส่วนข้อควรระวังในการซื้อรถยนต์มือสองหลังเกิดเหตุอุทกภัย เพื่อป้องกันการหลอกขายรถยนต์ที่เคยจมน้ำมา คือก่อนตัดสินใจซื้อรถต้องสำรวจดูสภาพโดยรวมก่อน เช่น รถที่ผ่านการจมน้ำเมื่อเปิดประตูเข้าไปจะได้กลิ่นอับ แม้จะซ่อมดีแค่ไหนแต่กลิ่นก็ไม่หาย เพราะน้ำท่วมไม่ใช่น้ำสะอาดต้องใช้เวลานานในการดับกลิ่น และผู้ซื้อควรตรวจสอบระบบจ่ายไฟว่ามีความขัดข้องหรือไม่ แม้จะซ่อมดีแค่ไหน หากรถยนต์ผ่านการจมน้ำมาระบบจะมีข้อบกพร่อง และจุดเด่นที่ต้องสังเกตคือ นอต ที่ใช้ขันเครื่องยนต์ ควรสำรวจดูว่ามีร่องรอยการรื้อหรือเป็นสนิมเพราะผ่านการจมน้ำมาหรือไม่ จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 17 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|