เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #41  
เก่า 06-09-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


มหันตภัยจาก "สายน้ำ"


วิกฤติน้ำท่วมหนักที่สุดในประวัติศาสตร์ "ปากีสถาน" กว่า 1 เดือนที่ผ่านมา ซ้ำเติมความทุกข์เข็ญของประเทศในเอเชียใต้แห่งนี้มากมายสุดคณานับ

แม้ยอดผู้เสียชีวิตเป็นทางการจะอยู่ที่ราว 2,000 ศพ แต่จริงๆน่าจะสูงกว่านี้มาก ส่วนผู้ได้รับผลกระทบสูงถึง 20 ล้านคน บ้านเรือนกว่า 1.2 ล้านหลังถูกทำลาย พื้นที่ 1 ใน 5 ของประเทศ หรือเท่าๆกับประเทศอิตาลีจมอยู่ใต้น้ำ ขณะที่ความช่วยเหลือยังล่าช้าและไม่พอเพียง

รัฐบาลปากีสถานประเมิน ค่าความเสียหายจากน้ำท่วมอย่างน้อย 43,000 ล้านดอลลาร์ หรือเกือบ 1 ใน 4 ของจีดีพีปี 2552-2553 ธนาคารโลกต้องอนุมัติเงินกู้ฉุกเฉินช่วยเหลือถึง 1,000 ล้านดอลลาร์ ไอเอ็มเอฟอีก 450 ล้านดอลลาร์ ยังไม่นับความช่วยเหลือจากยูเอ็น เอดีบี และอื่นๆ แต่ก็ดูเหมือนจะ "จิ๊บจ๊อย" ไปถนัด เมื่อเทียบกับความสูญเสียซึ่งต้องใช้เวลานานนับสิบปีในการฟื้นฟู

จะว่าไปแล้ว ปากีสถานต้องต่อสู้กับปัญหาเรื่อง "น้ำ" มาตลอด ส่วนใหญ่เป็นปัญหาจาก "ความแห้งแล้ง" ปริมาณฝนตามฤดูกาลไม่เพียงพอกับการเกษตร ซึ่งเป็นเส้นเลือดใหญ่หล่อเลี้ยงเศรษฐกิจของประเทศ คิดเป็น 23% ของจีดีพี แต่เมื่อใดที่น้ำมากเกินไปก็จะเกิดน้ำท่วมรุนแรงดังที่เห็น

เรียกว่าตกเป็นเหยื่อ "น้ำ" ทั้งขึ้นทั้งล่อง

ปากีสถานมีเครือข่าย "แม่น้ำ" สายใหญ่ น้อยยุ่บยั่บซึ่งไหลลงสู่แม่น้ำ "อินดุส" และ "สินธุ" แม่น้ำใหญ่อันดับ 1 และ 2 ของประเทศ อุทกภัยครั้งนี้ส่วนใหญ่อยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำอินดูสทางภาคใต้ ซึ่งเอ่อล้นฝั่งจนเขื่อนและทำนบกั้นริมฝั่งแม่น้ำแตก เพราะท้องแม่น้ำสายนี้เต็มไปด้วยโคลนเลนและตะกอนจึงดูดซับน้ำเร็วมาก ถ้าฝนตกหนักในฤดูมรสุมแค่ไม่ถึง 2 เดือนน้ำก็ล้นฝั่งแล้ว

ด้วยเหตุที่มีแม่น้ำเยอะ การเกษตรถึง 80% ของปากีสถานจึงต้องพึ่งพาน้ำจากเครือข่าย "ชล-ประทาน" แต่ระบบชลประทานกลับไร้ประสิทธิภาพสุดๆ เพราะคูคลองส่งน้ำตื้นเขินอุดตัน หรือน้ำซึมลงดินเร็วเกินไป น้ำที่ผ่านระบบชลประทานจึงตกถึงพื้นที่เกษตรกรรมแค่ราว 1 ใน 3 เท่านั้น

การปฏิรูประบบชลประทานเพื่อรับมือกับทั้งน้ำท่วมและภัยแล้งจึงเป็นความท้าทาย สูงสุด แม้แต่แผนช่วยเหลือปากีสถานของสหรัฐฯ มูลค่า 7,500 ล้านดอลลาร์ ยังต้องยกเรื่องนี้เป็นแกนหลัก

ปากีสถานยังกลัวว่าน้ำท่วมครั้งล่าสุดจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ ถ้า "อินเดีย" คู่อริ ระบายน้ำที่ท่วมอินเดียเช่นกันลงมาสู่ปลายน้ำ ทั้งที่ปกติจะกักเก็บน้ำไว้ซะเองจนมีกรณีพิพาทแย่งชิงน้ำกันมาตลอด เพราะแม่น้ำหลายสายมี "ต้นน้ำ" จากอินเดีย จนต้องทำข้อตกลงกันตั้งแต่ปี 2503 เพื่อแบ่งปันน้ำในแม่น้ำหลัก 6 สาย ขณะที่อินเดียมักกล่าวหาว่าปัญหาเกิดจากระบบชลประทานที่ย่ำแย่ของปากีสถาน

อุทกภัยครั้งนี้นอกจากจะซ้ำเติมวิกฤติเศรษฐกิจของปากีสถานซึ่งถึงขั้นวิ่งโร่ไปขอ กู้เงินจากไอเอ็มเอฟถึง 11,300 ล้านดอลลาร์ ก่อนหน้านี้แล้ว ยังจะส่งผลกระทบด้านการเมืองและความมั่นคงอย่างรุนแรง ขณะที่กำลังต่อสู้กับกลุ่มหัวรุนแรงซึ่งโยงใยกับกลุ่มตาลีบันและอัลเคดาในอัฟกานิสถาน

เป็น "วิกฤติ" รอบด้าน ซึ่งรัฐบาลปากีสถานผู้ครอบครองอาวุธนิวเคลียร์ และ "อภิมหาพันธมิตร" สหรัฐฯ หนักใจอย่างที่สุด!!!



จาก .......... ไทยรัฐ วันที่ 6 กันยายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #42  
เก่า 06-09-2010
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



อุ๊ยยย....อ่านหัวเรื่องย่อยข้างบนแล้ว นึกว่าคุณสายน้ำเป็นมหันตภัย.....

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #43  
เก่า 06-09-2010
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

น้ำทุกอย่างสามารถเป็นภัยได้ ยกเว้น น้ำใจ มีให้ต่อกัน สม่ำเสมอ ไม่มีภัยใดๆ เคลือบแฝง...รวมทั้งพี่สายน้ำ ที่ไม่เป็นมหันตภัยค่ะ น้องเชื่อดังนั้น
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #44  
เก่า 06-09-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

อ้างอิง:
น้ำทุกอย่างสามารถเป็นภัยได้ ยกเว้น น้ำใจ มีให้ต่อกัน สม่ำเสมอ ไม่มีภัยใดๆ เคลือบแฝง...รวมทั้งพี่สายน้ำ ที่ไม่เป็นมหันตภัยค่ะ น้องเชื่อดังนั้น

อาจจะเป็นก็ได้นะจ๊ะ น้อง snr แต่คงเลือกเป็นกับคนบางคนที่เป็นภัยเท่านั้นจ้ะ

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #45  
เก่า 06-09-2010
Super_Srinuanray's Avatar
Super_Srinuanray Super_Srinuanray is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Deep Blue Sea
ข้อความ: 1,073
Default

หุยเล.... ใครบางคนที่ไม่ได้เป็นคนถูกเลือกของพี่จ๋อม คงเสียวหลังวาบ บ บ บ บ

แต่พี่ขา ..หนูไม่ใช่ ใช่ไหมค่ะ อิอิอิ
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #46  
เก่า 26-10-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


2553 ปีน้ำท่วม ล้นทะลักทั่วโลก!




ปี พ.ศ.2553 หรือ ค.ศ.2010 เป็นปีหนึ่งที่หลายประเทศทั่วโลกเผชิญกับฝนตกหนักและน้ำท่วมครั้งรุนแรงอย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในอดีตที่ผ่านมา

โดยปีนี้ไม่เพียงประเทศอินเดียเท่านั้นที่มีฝนตกหนักรุนแรงและน้ำท่วม

แต่อีกในหลายประเทศ ได้แก่ อียิปต์ จีน เกาหลีเหนือ ปากีสถาน โปรตุเกส โปแลนด์ ฮังการี ออสเตรีย เยอรมัน สโลวะเกีย เซอร์เบีย ยูเครน ลัตเวีย ก็ประสบกับสภาวะอันเลวร้ายและได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมจนก่อให้เกิดการสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินเช่นกัน

สภาวะน้ำท่วมในปีนี้ได้ส่งผลกระทบหลายพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง

ประเทศปากีสถานมีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเสียชีวิต ประชาชนหลายพันคนและพื้นที่เป็นบริเวณกว้างได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยที่ Swat Valley ประชาชนกว่า 900,000 คนต้องย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย พืชผลทางการเกษตรเช่น ข้าว ข้าวสาลี อ้อย และยาสูบเสียหาย

อีกทั้งร้านค้ารวมถึงถนนหนทางและสะพานถูกกระแสน้ำพัดพาเสียหายทั้งสิ้น

ประชาชนต้องการอาหารและที่พักชั่วคราวอย่างเร่งด่วนก่อนที่สภาพอากาศหนาวที่เลวร้ายจะมาเยือน

ส่วนเกาหลีเหนือ จากฝนที่ตกหนักอย่างรุนแรงก่อให้เกิดดินถล่มปิดถนนหนทาง บ้านเรือน โรงเรียน และพืชผลการเกษตรต้องถูกฝังกลบอยู่ภายใต้กองโคลน



นอกจากนี้ ประเทศจีนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ประสบกับสภาวะน้ำท่วมรุนแรงในรอบทศวรรษ สร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน พืชผลทางการเกษตร และโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศด้วย

สําหรับอินเดีย ซึ่งไม่เคยประสบกับปริมาณฝนที่สูงมากส่งผลกระทบต่อหลายรัฐในช่วงเวลาเดียวกันมาก่อน แต่ปีนี้ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ไหนก็จะพบเห็นแต่ความเสียหายที่เกิดจากน้ำท่วม พืชผลการเกษตรเสียหาย บ้านเรือนถูกน้ำพัดพา

ในเมืองเดลี แม่น้ำยมนาซึ่งปกติจะค่อนข้างแห้งขอด มีน้ำน้อย

แต่ปรากฏว่าปีนี้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร ประชาชนจำเป็นต้องย้ายถิ่นฐาน รวมถึงในอีกหลายรัฐของอินเดียก็ประสบกับปัญหาน้ำท่วมหนัก มีการประกาศภาวะฉุกเฉิน ประชาชนถูกอพยพออกนอกพื้นที่เพื่อที่จะบูรณะฟื้นฟูจากความเสียหายที่เกิดขึ้นจากที่หลายชีวิตต้องสูญเสีย บ้านเรือนถูกน้ำพัดพา ถนนหนทางเสียหาย

โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ไฟฟ้า โทรศัพท์ พืชผลและพื้นที่การเกษตรได้รับผลความเสียหายได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ดังกล่าวที่ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งอาหารและที่พักอาศัย อีกทั้งเริ่มมีการระบาดของโรค



สําหรับในทวีปยุโรปก็เช่นเดียวกัน

ปี 2010 นับเป็นปีที่หลายประเทศในยุโรปทั้งออสเตรีย เยอรมัน ฮังการี โปแลนด์ ลัตเวีย ยูเครน สโลวะเกีย ต้องเผชิญกับสภาวะน้ำท่วม

เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งเป็นช่วงจังหวะเวลาเดียวกันกับที่ทวีปยุโรปกำลังเผชิญกับปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจ ซึ่งก็เป็นสิ่งท้าทายอย่างยิ่งต่อความพยายามที่จะหลุดพ้นจากวิกฤตการณ์เหล่านี้

นอกจากนี้ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งโดยปกติจะมีฝนน้อย แต่ปรากฏว่าปีนี้รัฐวิกตอเรียมีฝนมากกว่าปกติทำให้เกิดน้ำท่วมจนก่อให้เกิดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ประเทศแม็กซิโก แคนาดา และสหรัฐอเมริกาก็เช่นกันที่ประสบกับฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มในปีนี้

สําหรับประเทศไทย มีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่เป็นระยะๆ ตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคม

โดยในเดือนสิงหาคมทั่วทุกภาคของประเทศมีฝนตกหนาแน่นจนก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากในหลายพื้นที่

ส่วนเดือนกันยายนบริเวณประเทศไทยมีฝนตกหนาแน่นเป็นช่วงๆ และยังคงมีหลายพื้นที่ทียังคงประสบอุทกภัย

ดังนั้น ถ้าจะกล่าวว่าปี 2010 เป็นปีแห่งอุทกภัยของศตวรรษนี้ก็ไม่เป็นการกล่าวเกินจริงนัก

ส่วนสาเหตุที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักและหลายพื้นที่ต้องประสบกับสภาวะน้ำท่วมนั้น นอกจากปัจจัยหลักทางอุตุนิยมวิทยาอันได้แก่ร่องมรสุม หย่อมความกดอากาศต่ำ พายุ รวมถึงมรสุมที่พัดปกคลุมในแต่ละช่วงฤดูกาลแล้วนั้น เราคงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ก่อให้เกิดฝนตกหนักน้ำท่วมรุนแรงมากขึ้น ส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

สอดคล้องกับรายงานของ ′คณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ′ (IPCC) ที่ระบุว่า

หนึ่งปรากฏการณ์ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 21 คือ การเกิดเหตุการณ์รุนแรงด้านภูมิอากาศเช่นฝนตกหนัก น้ำท่วม และดินถล่มเพิ่มมากขึ้น

ฉะนั้นปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จึงเป็นปัญหาสำคัญที่เราจะต้องร่วมมือกันป้องกันและเสริมสร้างความสามารถในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น



จาก .............. ข่าวสด วันที่ 26 ตุลาคม 2553


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-11-2010 เมื่อ 08:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #47  
เก่า 31-10-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


คลื่นซัด-ภูเขาไฟซ้ำ ชาวอินโดนีเซียกระอัก




สัปดาห์นี้ อินโดนีเซีย ซึ่งไม่ได้เผชิญกับภัยพิบัติทางธรรมชาติขั้นร้ายแรงอีกครั้ง จากการที่ตั้งอยู่ตรงแนววงแหวนไฟ

นับจากวันที่ 25 ต.ค. ที่เจ้าหน้าที่ประกาศเตือนภัยภูเขาไฟเมราปี บนเกาะชวา จ่อระเบิดได้ไม่นาน วันเดียวกันนั้น เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ใต้ทะเล ใกล้กับเกาะเมนตาไวในช่วงดึก ซึ่งมีประกาศจับตาสึนามิอยู่พักหนึ่ง

จากที่คิดว่าไม่มีอะไร ไม่กี่ชั่วโมงจากนั้น คลื่นสึนามิสูง 3 เมตรโถมซัดชายหาดของเกาะเมนตาไว ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา กวาดเอารีสอร์ตและบ้านเรือนของชาวบ้านหายวับไปกับตา

ยังไม่ทันที่เจ้าหน้าที่จะประเมินยอดผู้เสียชีวิตหรือบาดเจ็บ ภูเขาไฟเมราปีก็ระเบิด พ่นเอาควันและขี้เถ้าตลบไปทั่วพื้นที่อยู่อาศัย ซึ่งชาวบ้านหลายพันคนยังไม่ได้อพยพออกไป

จนถึงปลายสัปดาห์ จำนวนผู้เสียชีวิตในเหตุสึนามิสูงทะลุ 400 ราย และคาดว่าอาจเกิน 600 ราย ส่วนเหตุภูเขาไฟระเบิดอยู่ที่ราว 34 ราย บรรดาปศุสัตว์ในพื้นที่ล้มหายไปด้วยจากการสูดเอาควันพิษและขี้เถ้าเข้าไปด้วย



แม้หายนภัยทางธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก แต่ในประเทศที่เผชิญกับเหตุแผ่นดินไหวของตนเองบ่อยๆ เช่น ญี่ปุ่น ไต้หวัน มีมาตรการและเทคโนโลยีที่ช่วยได้มาก

ในส่วนของอินโดนีเซีย หลังเกิดเหตุมหันตภัยสึนามิเมื่อปี 2547 ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนไปกว่า 220,000 ราย โดยเป็นอินโดนีเซีย 168,000 ราย มีการติดตั้งระบบตรวจจับและเตือนภัยสึนามิ

แต่จากการเปิดเผยของนายเฟาซี หัวหน้าศูนย์ พบว่า ระบบเตือนภัยสึนามิ หรือ GITEWS ที่ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานของเยอรมนีหยุดทำงานไปตั้งแต่เมื่อเดือนก่อน เพราะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบำรุงรักษาไม่มีประสบการณ์ดูแล

ความผิดพลาดของมนุษย์ดังกล่าว จึงทำให้เมื่อถึงเวลา กลับไม่มีเครื่องมือใดๆที่จะช่วยป้องกันความเสียหายร้ายแรง

ในเหตุการณ์ภูเขาไฟเมราปีระเบิด สะท้อนถึงความผิดพลาดของมนุษย์อีกเช่นกัน



เฮรู สุปาร์โวโก ผู้เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟ กล่าวว่า การที่ชาวบ้านไม่ยอมอพยพจากบ้านเรือนตามประกาศหรือคำสั่งนั้นเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ในช่วงที่ทางการประกาศเตือน มีชาวบ้านอพยพจากบ้านเรือนชั่วคราวราว 50,000 คน แต่จำนวนมากกลับไปไร่นาอีก เพราะเป็นห่วงบ้าน ไร่นาและทรัพย์สิน โดยไม่กลัวการระเบิดที่ตามมาอีกระลอก

จึงทำให้เหตุภูเขาไฟระเบิดครั้งนี้เป็นเหตุมรณะ

ในส่วนของความช่วยเหลือ อินโดนีเซียต้องประสบปัญหาซ้ำ เมื่อสภาพอากาศฝนตกหนักขัดขวาง

แม้ว่า เมนตาไวจะเป็นเกาะสวรรค์สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่นิยมไปโต้คลื่น แต่นอกเหนือจากพื้นที่ รีสอร์ตแล้ว มีสภาพยากจนและถูกละทิ้ง

หลายหมู่บ้าน ถนนทรุดโทรมมาก บางแห่งไม่มีถนน หรือโทรศัพท์ให้ติดต่อ ต้องเดินเท้าหรือนั่งเรือเข้าไป ซึ่งเป็นปัญหาต่อปฏิบัติการบรรเทาทุกข์

ผู้ประสบภัยที่รอดชีวิตเกือบ 13,000 ราย ต้องอาศัยอยู่ตามค่ายที่พักพิงชั่วคราว เพราะไม่เหลือบ้านแล้ว

ในชุมชนหนึ่งพบว่า เด็ก 30 จาก 100 คนเสียชีวิตในเหตุคลื่นยักษ์ถาโถมครั้งนี้

เดฟ เจนกินส์ จากองค์กรเซิร์ฟเอด อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า สภาพอากาศที่เลวร้ายทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ลงไปอีก

"เราจำเป็นต้องรักษาชีวิตคนที่รอดมาได้ให้อุ่นและมีอาหารกิน เพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาดของเชื้อโรค จากนั้นถึงค่อยเข้าสู่การฟื้นฟู" เจนกินส์กล่าว

ด้าน สุศีโล บัมบัง ยุดโธโยโน ผู้นำอินโดนีเซีย ซึ่งต้องเดินทางกลับประเทศ จากที่ประชุมอาเซียนในกรุงฮานอยโดยยังไม่ได้ประชุม กล่าวหลังจากเยี่ยมพื้นที่ประสบภัยว่า รัฐบาลจะทำทุกทางเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

แต่ผู้นำอินโดนีเซียแนะ นำให้ชาวบ้านย้ายที่อยู่อาศัยจากพื้นที่ชายหาดเข้าไปอยู่ในพื้นที่ลึกขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงถูกคลื่นสึนามิซัดอีก

โดยเป็นการแก้ปัญหาในระยะยาวทางเดียวเท่านั้น



จาก .............. ข่าวสด วันที่ 31 ตุลาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 02-11-2010 เมื่อ 08:16
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #48  
เก่า 02-11-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


'สึนามิ' ถล่ม 'เมนตาไว' อีก 'บทเรียน' มหันตภัยคลื่นยักษ์




มหันตภัย 'สึนามิ 2547' ซัดถล่มพื้นที่ชายฝั่งทั่วมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงชายฝั่งทางภาคใต้ของไทย ยังคงเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่ยากจะลืมเลือน เนื่องด้วยมีผู้เสียชีวิตกว่า 2 แสนราย

หลายปีผ่านมา แม้นักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มจะเตือนถึงความเป็นไปได้ในการเกิดสึนามิครั้งใหม่ในเอเชีย แต่ความกระตือรือร้นสร้างและวางระบบเครือข่ายเตือนภัยสึนามิยังดูไม่มีประสิทธิภาพมากเพียงพอ ล่าสุด กลางดึกของวันที่ 25 ตุลาคม 2553 สึนามิก็หวนกลับมาคร่าชีวิต ประชาชนตามแนวชายฝั่งหมู่เกาะเมนตาไว ประเทศอินโดนีเซีย จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตร่วมๆ 500 ราย สูญหายนับร้อย

คำถามที่ดังอื้ออึง คือ เกิดอะไรขึ้นกับระบบเตือนภัยสึนามิที่ทุ่มเงินลงทุนไปเกือบ 2 พันล้านบาท

ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เกิดจาก 'เครื่องจักร' หรือ 'ความประมาท' ของมนุษย์กันแน่...

ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ประเทศต่างๆ ควรจะศึกษาเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ต้องเผชิญความสูญเสียซ้ำรอย!



ทุ่นเตือนสึนามิพันล้าน

ระบบเตือนภัยสึนามิที่ติดตั้งนอกชายฝั่งอินโดนีเซียนั้น ออกแบบโดยทีมวิศวกรชาวเยอรมนี

ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนไปราว 1.8 พันล้านบาท




เหตุแผ่นดินไหนนอกชายฝั่งตะวันตกค่อนไปทางตอนใต้ของเกาะสุมาตรา เมื่อวันที่ 25 ต.ค.นั้น วัดความแรงได้ถึง 7.7 ริกเตอร์

โดยพื้นที่ฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา จะมีหมู่เกาะเมนตาไวตั้งอยู่ข้างซ้าย แต่สภาพวิถีชีวิตบนเกาะถือว่าเป็นชนบทห่างไกลความเจริญพอสมควร

เบื้องต้น สำนักข่าวบีบีซีระบุว่า ระบบเตือนภัยสึนามิของวิศวกรเยอรมนีบางจุดกลับไม่ทำงาน ขณะที่ชาวบ้านในหมู่เกาะเมนตาไว ซึ่งเป็นจุดที่โดนสึนามิปะทะยืนยันว่าไม่มีใครได้ยินสัญญาณ 'ไซเรน' เตือนภัยแม้แต่คนเดียว

ผลลัพธ์หลังจากสึนามิซัดเข้าฝั่ง มีผู้เสียชีวิตและสูญหายร่วมพันราย บ้านเรือนวินาศ 25,000 หลัง

พื้นที่ชายฝั่งถูกแรงพิโรธของเกลียวคลื่นยักษ์ความสูง 3-8 เมตร โถมเข้าถล่มจนเหี้ยนเตียน



เตือนภัย..แต่ไม่ทันการณ์ !?

หนังสือพิมพ์ชปีเกลของเยอรมนีระบุว่า หลังเกิดเหตุ นักวิทยาศาสตร์อินโดนีเซียตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพของระบบทุ่นเตือนภัยสึนามิของเยอรมนี ว่า ใช้งานได้จริงหรือไม่

อย่างไรก็ตาม นายยอร์น ลาตูร์ยัง นักวิจัยประจำศูนย์ธรณีศาสตร์ ประเทศเยอรมนี ยืนยันว่า จากการตรวจสอบข้อมูลพบว่า

ระบบเตือนภัยสึนามิทำงานได้จริง และส่งข้อมูลไปให้สถานีเตือนภัยสึนามิในกรุงจาการ์ตา เมืองหลวงอินโดนีเซีย ออกประกาศเตือนภัยสึนามิ เมื่อเวลา 21.47 น. วันที่ 25 ต.ค. หรือ หลังตรวจจับแรงสั่นสะเทือนแผ่นดินไหวได้ราว 5 นาที

ต่อจากนั้นอีก 39 นาที เมื่อพบว่า มีเพียง สึนามิ 'ขนาดเล็ก' ความสูง 23 เซนติเมตร พัดเข้าตอนใต้ของฝั่งสุมาตราบริเวณเมืองปาดัง จึงยกเลิกประกาศเตือนภัย

สิ่งที่ไม่มีใครรู้เลย ก็คือ หลังเกิดแผ่นดินไหวดังกล่าวเพียง 'ไม่กี่นาที' สึนามิสูงตั้งแต่ 3-8 เมตรได้โถมเข้าชายฝั่งหมู่เกาะเมนตาไวเข้าไปเรียบร้อยแล้ว

แต่ฝ่ายทางการ รวมถึงศูนย์เตือนภัยสึนามิแปซิฟิก ก็ไม่รู้เรื่อง เพราะหลายพื้นที่ บนหมู่เกาะแห่งนี้ขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานด้านการสื่อสาร!



ขั้นตอนปฏิบัติขาดมาตรฐาน

เจ้าหน้าที่ฝ่ายเยอรมนี ผู้รับผิดชอบการวางระเบิดเตือนสึนามิ พยายามอธิบายว่า

เหตุที่ชาวบ้านเมนตาไวไม่มีโอกาสได้ยินเสียง 'ไซเรน' เตือนให้หนีขึ้นที่สูง เพราะหน้าที่การวาง 'ระบบแจ้งเตือนแนวสุดท้าย' บนชายฝั่งอยู่ในความรับผิดชอบของรัฐบาลอินโดนีเซีย

นอกจากนั้น ยังพบว่า การวางสายเคเบิลส่งสัญญาณต่างๆ ไม่ตรงตามมาตรฐานที่เยอรมนีกำหนดไว้ เช่น การวางเคเบิลต้องฝังดิน ไม่ใช่ไปแขวนระโยงระยางกับต้นไม้

ขณะเดียวกัน รัฐบาลอินโดนีเซียยังไม่ให้ความสำคัญกับการจัดฝึกซ้อมหนีภัยสึนามิ และให้ความรู้เอาตัวรอดเบื้องต้นด้วยการจับสัญญาณบ่งชี้ว่า อาจมีสึนามิขึ้นฝั่ง

จากการสอบสวนเบื้องต้น พบว่า ผู้เสียชีวิตในเมนตาไว ส่วนใหญ่เมื่อเห็นสึนามิลูกแรก ขนาดไม่ใหญ่มากซัดสู่ฝั่งแล้วไม่มีอะไร จึงไม่ได้อพยพขึ้นที่สูง ทำให้เมื่อสึนามิขนาดใหญ่ลูกหลังๆไล่ตามมา จึงหนีไม่ทัน

แต่ประเด็นที่ฝ่ายเยอรมนีชี้แจงก็ยังไม่ตรงกับข้อมูลของสำนักข่าวต่างประเทศ อื่นๆซึ่งรายงานว่า ทุ่นเตือนภัยสึนามิ 2 ทุ่นที่ลอยอยู่ในทะเลเสียหาย ใช้การไม่ได้อยู่แล้ว




มาแน่'สึนามิ'ระลอกใหม่

กรณีของทุ่นเตือนภัยสึนามิเยอรมนี ชปีเกลพบข้อมูลด้วยว่า มีอย่างน้อย 1 ทุ่นเสียจริง ภายหลังโดนสาหร่ายรุมเกาะจนทุ่นแตก

ส่วนอีกทุ่น เสียหายเพราะมีเรือประมงแล่นผ่าน

อย่างไรก็ตาม มีทุ่นเตือนสึนามิถึง 5 ทุ่นในมหาสมุทรอินเดีย ถูกโจรกรรมหายไป และคาดว่าเป็นฝีมือของกลุ่มโจรสลัด

สถานการณ์เหล่านี้ทำให้ต้องคิดวางมาตรการดูแลและเช็กความพร้อมของทุ่นเตือนภัยเสียใหม่

ปีเตอร์ โคลเทอร์แมน เจ้าหน้าที่แผนกเฝ้าระวังสึนามิขององค์การยูเนสโก กล่าวว่า

"ในกรณีเกิดแผ่นดินไหวเขย่ารุนแรง เราแทบไม่ต้องการคำแจ้งเตือนจากทุ่น เพราะต้องรีบหนีขึ้นที่สูงทันที ปัญหาคือทำไมชาวเมนตาไวไม่ทราบวิธีปฏิบัติตัวยามเกิดเหตุ"

ด้าน 'เคอร์รี่ เซียะ' ผู้เชี่ยวชาญแผ่นดินไหวชื่อดัง สังกัดศูนย์สังเกตการณ์โลกของสิงคโปร์ เตือนว่า ตามฐานข้อมูลแล้วพบว่า แผ่นดินไหวนอกชายฝั่งสุมาตราจะเกิดขึ้นแบบ 'โดมิโน่ เอฟเฟ็กต์' คือ เมื่อจุดใดบนรอยเลื่อนเปลือกโลกเกิดไหวตัวก็จะจุดชนวนให้จุดอื่นๆไหวตัวตามมา

คาดว่าแผ่นดินไหวระดับแรงกว่า 7.7 ริก เตอร์ เมื่อวันจันทร์ 25 ต.ค. จะเกิดขึ้นอีกในไม่ช้า

โดยจุดที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ อาจเกิดธรณีพิโรธถึง 8.8 ริกเตอร์ ได้แก่ พื้นที่แถบ 'เกาะซิเบรุต' ตั้งอยู่ใกล้เกาะสุมาตราเช่นกัน

หนนี้ถ้าพยากรณ์ถูกต้องคลื่น 'สึนามิ' จะใหญ่โตกว่าเดิมและสร้างความเสียหายมากกว่าหลายเท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าแต่ละฝ่ายไม่เลิกยืนอยู่บนความประมาท!



จาก .............. ข่าวสด วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #49  
เก่า 09-11-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


'นับจากนี้อีก 50 ปี โลกจะแตก คนไทยจะสูญพันธุ์…


จาก .............. ไทยรัฐ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2553
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	101109_Thairath_01.jpg
Views:	0
Size:	218.4 KB
ID:	9646   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	101109_Thairath_02.jpg
Views:	0
Size:	246.0 KB
ID:	9647   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	101109_Thairath_03.jpg
Views:	0
Size:	247.7 KB
ID:	9648  
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #50  
เก่า 10-11-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


'โลกป่วย คนป่วน' ..... อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา



ต้นปีภัยแล้ง อีกไม่กี่เดือนน้ำท่วมอีสานลามมาถึงภาคกลาง ก่อนไปจมภาคใต้ ปลายปียังมีภัยหนาว นี่คือสัญญาณของโลกป่วยหรือคนต่างหากที่เป็นตัวป่วน

ทศวรรษที่ผ่านมาดูเหมือนว่าวาทกรรมเรื่องโลกร้อนจะประสบความสำเร็จอย่างดีเยี่ยมใน การสร้าง "แพะ" ผู้รับผิดชอบภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งปวง โดยมีฮอลลีวูดรับหน้าที่ฉายภาพอันน่าสะพรึงกลัวออกมาข่มขวัญมวลมนุษยชาติอย่างต่อเนื่อง

แต่ถ้าถามถึงความตื่นตัวของคนไทยแล้ว คงไม่มีอะไรน่ากังวลเท่ากับสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ก่อนจะซ้ำเติมด้วยภัยหนาวที่คาดว่าจะหนักหนากว่าทุกปี

หลายคนอาจสงสัยว่า "เรากำลังเผชิญหน้ากับหายนภัยชนิดไหนกันแน่" บางคนฟันธงว่าโลกกำลังจะเอาคืนมนุษยชาติอย่างที่ เจมส์ เลิฟล็อก นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมผู้โด่งดัง เขียนไว้ใน 'The Revenge of Gaia เมื่อโลกเอาคืน' ..."หากเราไม่ใส่ใจดูแลรักษาโลก โลกก็จะหันมาจัดการดูแลตัวเอง และเมื่อถึงจุดนั้นโลกก็จะทำลายล้างผู้ก่อความเสียหายให้นั่นเอง"

ทว่าในบรรดาข้อสันนิษฐานทั้งหลาย มีข้อสังเกตเรื่องวิธีคิดและการรับมือแบบไทยๆ เป็นหนึ่งในปัญหาคาใจด้วย

เรื่องนี้ ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายงานวิเคราะห์วิจัยและฝึกอบรมการเปลี่ยนแปลงของโลกแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิชาการผู้ถูกตั้งคำถามมากที่สุดในช่วงนี้ มีทั้ง "คำตอบ" และ "คำเตือน" ถึงมหันตภัยที่คนไทยต้องเผชิญในอนาคตอันใกล้


สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นถือว่ารุนแรงมากกว่าที่ผ่านมาหรือเปล่าคะ

เรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้น ในแง่ความเสียหายก็ถือว่ามาก แต่ถ้าเรามาดูต้นเหตุของปัญหาที่มาจากด้านกายภาพภายนอก คือตัวสภาพอากาศหรืออะไรก็แล้วแต่ มันอาจจะมีความเปลี่ยนแปลงในเชิงความถี่ ช่วงเวลาหรือสถานที่ แต่มันไม่ได้เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง เป็นต้นว่าฝนตกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 - 19 ตุลาคมที่ผ่านมา ปริมาณฝนขนาดนี้ก็ไม่ได้แปลกมาก ไม่ถึงขนาดว่าไม่เคยมีมาก่อน แต่มันเป็นฝนมรสุมที่ไปตกแถวจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งไม่เคยมีอย่างนี้มานานแล้ว เพราะฉะนั้นปัจจัยจากภายนอกก็มีส่วนแต่ไม่มาก

ส่วนสำคัญที่ก่อให้เกิดความเสียหายมากก็คือวิธีในการรับมือของเรา หรือความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาพวกนี้มีน้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่เคยเจอ หรือเคยเจอเมื่อนานมาแล้วลืมไปแล้ว คนไทยส่วนใหญ่เมมโมรีสั้น อะไรเกินสี่ห้าปีนี่ลืมแล้ว เพราะพอผ่านไปเกินกว่านั้น เรามักจะถือว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องคำนึง เพราะฉะนั้นจะทำอย่างไรให้ความตระหนักในเรื่องนี้มันต่อเนื่อง มีการฝึกซ้อม มีการกระตุ้นให้มันเข้มข้น ผมเชื่อว่าจะทำให้ลืมช้าลงนิดหน่อย ซึ่งก็จะช่วยได้ แต่เรามักเห่อกันอยู่เฉพาะในช่วงเหตุการณ์นั่นแหละ

อย่างเรื่องสึนามิเป็นตัวอย่างนะครับ ตอนนี้ไม่มีใครดูเรื่องสึนามิ แล้วถ้าเผื่อใครไปทำตรงนี้ ถ้าจะหาทุนมารณรงค์ แหล่งทุนก็บอก โห...คุณจะมาทำเรื่องสึนามิตอนนี้เหรอ ไม่มีสปอนเซอร์ ทำขึ้นมาก็ไม่มีคนฟัง ก็เป็นอย่างนี้ มันก็เป็นปัญหาไก่กับไข่ตลอดเวลานะครับ แล้วถ้าเกิดพรุ่งนี้สึนามิมา...เอาอีกแล้ว ถึงบอกว่ามันต้องไปแก้เรื่องการให้ความรู้ให้ความตระหนักก่อน ไม่ใช่เราไม่มีเงินนะ เงินจำนวนเท่ากันนี้ ถ้าเราเอาไปกระจายให้ดี ถูกกว่าด้วยซ้ำ ดีกว่ามาโหมเอาตอนนี้ เงินมันซ้ำซ้อนกัน ผมว่าเรื่องแรกเป็นเรื่องของความตระหนัก ความพร้อมเราไม่ค่อยมี

อย่างที่สองคือทิศทางการพัฒนา เราไม่ค่อยเอาเรื่องนี้มาเป็นประเด็น ไม่ค่อยเอาเรื่องภัยพิบัติมาเป็นประเด็นในการพัฒนาเลย เรามักจะมองว่าทำอย่างไรให้ถูกที่สุด เร็วที่สุด นั่นคือเงื่อนไขในการพัฒนาเมือง พัฒนาฐานการผลิต พัฒนาอะไรต่างๆ แต่เรามักจะไม่ค่อยดูว่าความเสี่ยงของการเกิดเรื่องแบบนี้เป็นอย่างไร เราถึงคิดว่ามันยังไม่เสี่ยง หรือมีอะไรเกิดขึ้นก็ค่อยมาแก้เอาแบบนี้ เอาตัวรอดไปครั้งนึง เพราะหวังว่ามันไม่เกิดบ่อย คือถ้าเหตุการณ์แบบนี้มันเกิดสิบปีครั้งสิบห้าปีครั้ง ผมว่าวิธีการแบบนี้ก็ยังพอใช้ได้ แต่ถ้าเกิดมันเกิดขึ้นสามปีครั้งสี่ปีครั้งแบบนี้ผมว่ามันไม่ไหว เพราะฉะนั้นเราต้องมานั่งคิดว่า ตอนนี้ความเสี่ยงหรือโอกาสในการเกิดซ้ำเป็นอย่างไร


แล้วความเสี่ยงที่จะเกิดซ้ำมีมากน้อยแค่ไหน

ถ้าเราเชื่อในระดับหนึ่งว่าปรากฎการณ์ลานีญา (La Nina) มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ อย่างน้อยๆในช่วงปลายปีนี้ ช่วงกรกฎา-สิงหาเป็นต้นมานะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของฝนมรสุมที่มีเยอะ หรือว่าอากาศที่เริ่มเย็นมากกว่าปกติในปีนี้ เชื่อมโยงกับเรื่องลานีญา มีโอกาสเป็นไปได้ว่าในช่วง 10 - 20 ปีข้างหน้านี้ สิ่งเหล่านี้จะเกิดถี่ขึ้น เพราะดูจากสถานการณ์ที่ผ่านมา 5 - 6 ปี เราเริ่มเห็นทิศทางที่อาจจะชัดเจนมาก ดูเหมือนลานีญาจะมาถี่ขึ้น อันนี้ยังไม่เกี่ยวกับโลกร้อนนะ มันเป็นวงรอบตามธรรมชาติของมัน และถ้ามันเกิดถี่ขึ้นจริง กระบวนการแบบเดิมๆ ก็อาจจะใช้ไม่ได้

การเกิดลานีญาถี่ๆ 2 - 3 ปีมีครั้งในอดีตก็เคยเกิด แต่เป็นอดีตที่นานมากแล้ว สัก 50-60 ปีมาแล้ว แต่สมัยก่อนคนไทยเรามีไม่ถึง 20 ล้านคน เงื่อนไขการใช้ทรัพยากรต่างๆ มันต่างจากเดี๋ยวนี้มาก เพราะฉะนั้นเมื่อก่อนใช้แบบวิธีแบบเดี๋ยวนี้ยังพอใช้ได้ แต่ว่าเดี๋ยวนี้ยังใช้วิธีตั้งรับแบบเดิมโดยที่เรามีประชากร 70 กว่าล้านคน มีการใช้ทรัพยากรมากขึ้น มีความซับซ้อนในเรื่องทางสังคมมากขึ้น ผมว่ามันไม่เพียงพอครับ


จากข้อมูลที่มีอยู่คาดการณ์ได้ไหมคะว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศเราหลังจากนี้

เวลาพูดถึงภูมิอากาศ ทศวรรษเดียวอาจจะสั้นไป เอาสัก 2-3 ทศวรรษที่จะมาถึงนี้ เราอาจจะเห็นสภาพที่น้ำค่อนข้างมากนะครับ อากาศค่อนข้างเย็นกว่าปกติ เมื่อเทียบกับ 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาถ้าคุณไปดูข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์จะเห็นข่าวภัยแล้งเป็นอันดับ 1 น้ำท่วมนานๆมีที แต่ภัยแล้งนี่มีเยอะมาก คือเกือบทุกปี แล้วพอมันเป็นอย่างนั้น ระบบต่างๆในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมาจึงถูกออกแบบให้รับแล้งมากกว่า ซึ่งถ้าให้คะแนนกันระหว่างการรับภัยแล้งกับน้ำท่วม ภัยแล้งได้คะแนนดีกว่าแน่นอน เพราะว่ามันเป็นปัญหาที่เกิดบ่อย

อีกอย่างดูเหมือนกับว่าความแห้งแล้งเป็นไปในทิศทางโลกร้อนเหมือนกัน มันมีความรู้สึกในเชิงจิตวิทยาว่าโลกร้อนก็ต้องแล้ง แต่คราวนี้ในอีก 2-3 ทศวรรษข้างหน้า ถ้ามันพลิกกับมาเป็นเรื่องน้ำมากและเย็น อาจจะเริ่มขัดๆ กันว่า เฮ้ย! ไหนบอกโลกร้อนไง แต่ปีนี้ทำไมมันหนาว คือคำว่าโลกร้อนเนี่ยเหมือนดาบสองคม พอมีคำว่าร้อนอยู่คนก็คิดว่ามันต้องร้อน ไม่คิดว่าโลกร้อนมันอาจจะเย็นก็ได้ เพราะมันเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ แล้วการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ มันอาจจะไม่เกี่ยวกับโลกร้อน แต่มันก็เป็นความแปรปรวน โลกร้อนอาจจะเสริมเข้าไป ทำให้บางที่เย็นกว่าปกติ หรือบางที่ร้อนกว่าปกติ ส่วนที่ที่มีฝนมากก็มากเข้าไปอีก


แต่ทุกวันนี้เวลาเกิดภัยธรรมชาติคนทั่วไปมักเชื่อว่ามาจากภาวะโลกร้อน?

ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นที่เราเห็นอยู่ตอนนี้ในปีนี้ อาจจะยังไม่มีข้อมูลที่บอกได้ทันทีว่ามาจากปัญหาโลกร้อน ผมว่าตอนนี้ปัญหาข้อจำกัดมันอยู่ที่ความรู้ ความเข้าใจ งานวิจัย คือจะตอบให้เกี่ยวมันก็เกี่ยวได้ พวกนี้เอาทฤษฎีมาโยงได้หมดแหละ แต่ว่าพอโยงเสร็จแล้วต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วยการไปเก็บข้อมูลจริง มีการศึกษา แต่ว่าเราไม่มีตรงนั้นไง ถ้าโยงในทางทฤษฎีมันก็ได้ในระดับหนึ่ง คือมีความเป็นไปได้ แต่ก็มีบ้างเรื่องที่ไม่เกี่ยวกันแน่นอน โยงยังไงก็โยงไม่ได้ เช่น เรื่องภูเขาไฟระเบิด หรือว่าเรื่องน้ำขึ้นน้ำลง ระดับน้ำที่มันสูง วงรอบต่างๆที่มาจากดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อิทธิพลจากดาราศาสตร์ ซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้โดยตรง


อนาคตหากเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงขึ้นอีก อาจารย์ประเมินความพร้อมในการรับมือไว้แค่ไหน

คุณดูว่าปีนี้รับได้ไหม ปีนี้เป็นบทพิสูจน์ของเราเลย ซึ่งผมมองว่ามันยังไม่พร้อม แต่ถ้าถามว่ายังมีโอกาสพัฒนาได้ไหม โดยไม่ต้องทำอะไรมาก อย่างน้อยๆ ต้องลงทุนในเรื่องการบริหารจัดการเรื่องข้อมูล เรื่องความรู้ ให้มันกระจายไปในท้องถิ่น ส่วนในระดับบน ระดับวิชาการ ระดับองค์ความรู้ ข้อมูลให้มันเชื่อมโยงกันให้ได้ ไม่ใช่หมายความว่าเราต้องมีองค์ความรู้ที่เป็นหนึ่งเดียวของประเทศหรือเป็น ฐานข้อมูลเป็นหนึ่งเดียว มีเอกภาพ อะไรอย่างนี้นะ

ผมกลัวมากเลยไอ้ความเป็นเอกภาพ เพราะตอนนี้การบริหารจัดการเรื่องภัยพิบัติมันต้องใช้หลักการจัดการความเสี่ยง ไม่ใช่การจัดการความแม่นยำ ถ้าเกิดคุณไปเน้นเรื่องความแม่นยำเมื่อไหร่ มันจะทำให้คุณ input ตัวเองไปในจุดที่เสี่ยง เพราะถ้าเราพูดว่ามันแม่น เกิดไม่แม่นจะซวยเลย แต่ถ้าเรารับสภาพว่า เฮ้ย...มันไม่แม่น ห้าหน่วยงานบอกมาต่างกันขนาดนี้เลย ความคิดผมนะต่างกันเยอะๆ ยิ่งดี เพราะว่าอย่างน้อยๆ การเตรียมพร้อมในช่วงกว้าง คือจะมาน้อยมามากรับได้หมด แต่ถ้าคุณเรียกร้องให้แม่นเนี่ยน่ากลัว เพราะว่าผิดแน่นอน

เพราะฉะนั้นอย่าไปกลัวเรื่องความไม่ลงรอย ตอนผมไปนั่งประชุมที่ทำเนียบ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่หน่วยงานกลัวกันมาก สำหรับผมข้อมูลความรู้ไม่จำเป็นต้องมีเอกภาพ แต่การตัดสินใจต้องมีเอกภาพ

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 14:14


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger