#41
|
||||
|
||||
ในไดฟ์สุดท้ายของการดำน้ำที่รถถังปะการังเทียม...น่าจะเป็นวันที่ทัศนวิสัยใต้น้ำดีที่สุด เราจึงสามารถมองเห็นรถถังที่จอดเรียงรายต่อๆกันไปได้ไกลที่สุด และมากที่สุด
__________________
Saaychol |
#42
|
||||
|
||||
เราแวะเวียนไปสำรวจรถถังคันต่างๆอย่างสุขใจ...
__________________
Saaychol |
#43
|
||||
|
||||
รถถังประจัญบาน...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 02-09-2012 เมื่อ 21:52 |
#44
|
||||
|
||||
นั่นอะไร... อ๋อ...ลอบเก่าๆ ที่มีคนจัดการกรีดให้ปลาออกไปแล้ว... ดูลักษณะที่ทั้งใหญ่และยาว ขนาดเดียวกับรถถังแล้ว ไม่ใช่เป็นลอบของชาวประมงพื้นบ้านที่นำเรือเล็กๆ ออกมาหาปลาเลยค่ะ... เก่าอย่างนี้ คงอยู่มาหลายปีแล้ว...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-09-2012 เมื่อ 22:07 |
#45
|
||||
|
||||
เมื่อสองสายมาลงดำน้ำที่นี่เมื่อปีที่แล้ว เราสังเกตเห็นว่ามีปะการังอ่อนสีสวยหวาน เริ่มมาเกาะอยู่บนรถถังแล้ว แต่น่าเสียดาย...ที่ปีนี้ไม่ได้เห็นปะการังอ่อนเลย อย่างไรก็ตาม เราเริ่มเห็นฟองน้ำกิ่งมาเกาะติดบนตัวรถถังแล้ว...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-09-2012 เมื่อ 22:14 |
#46
|
||||
|
||||
โดยสรุป...สองสายเห็นว่ารถถังปะการังเทียม ที่ได้เห็นนั้น อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ยังไม่เห็นร่องรอยของการผุพัง ดูเหมือนสัตว์เกาะติดประเภทหอยนานาชนิดและเพรียง จะชื่นชอบรถถัง จึงพากันมาเกาะอาศัยอยู่มากมาย จนไม่เห็นเนื้อเหล็กของรถถัง มีปลามากมายหลายขนิดทั้งปลาในแนวปะการัง และปลากลางน้ำ เข้ามาวนเวียนหากินอยู่ทั่วไปในบริเวณรถถังปะการัง เราได้เคยมาตัดอวนที่นี่ ซึ่งก็แทบจะไม่มีให้เห็น และในปีนี้ เราก็พบเศษอวนเกาะที่เกี่ยวพันรถถังอยู่บ้างเล็กน้อย เข้าใจว่า ชาวประมงอวนลากหรืออวนรุน คงไม่หาญกล้าเข้ามาลากอวนในบริเวณนี้นัก เพราะเสียงกับการสูญเสียอวน จากการไปติดกับตัวรถถังที่หนักและแข็งแรง ส่วนลอบที่เห็นก็เป็นลอบขนาดใหญ่ๆเก่าๆ ที่ถูกทิ้งร้างแล้ว ลอบของชาวประมงพื้นบ้าน ก็ไม่มีให้เห็นในบริเวณนี้เช่นกัน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-09-2012 เมื่อ 22:22 |
#47
|
||||
|
||||
เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า...โครงการนี้จะยังประโยชน์ให้กับชาวประมงพื้นบ้าน ไปอีกนานเท่านาน และ หากเหตุการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาาคใต้ มีความสงบและสันติ เราเชื่อว่า ที่นี่...จะเป็นจุดที่ดึงดูดนักดำน้ำ ให้เข้ามาใช้ประโยชน์ ซึ่งเป็นการลดการทำความเสียหายให้กับแนวปะการังธรรมชาติได้เป็นอย่างดี และสามารถจะนำรายได้มาให้กับท้องถิ่นแห่งนี้ ได้เพิ่มมากขึ้น ตู้รถไฟและรถขยะที่ถูกนำมาใช้ทำปะการังเทียม ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้ๆกันนั้น จะช่วยส่งเสริม ทั้งการมีปริมาณสัตว์น้ำที่เพิ่มมากขึ้น และการดึงดูดนักดำน้ำให้มาเยี่ยมเยือนที่นี่ ได้มากขึ้นเป็นทวีคูณ
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 02-09-2012 เมื่อ 23:00 |
#48
|
||||
|
||||
รถขยะปะการังเทียม ในวันที่ 9 สิงหาคม 2553...มีรถขยะที่ได้รับมาจากกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่ง ถูกนำมาทิ้งลงด้านเหนือของกองรถถังปะการังเทียม ที่เรียกว่า "ทิ้ง" นั้น เข้าใจว่าจะเป็นเพราะไม่มีการวางแผนว่าจะจัดวางอย่างไร และในรูปใด พอเรือที่บรรทุกรถขยะมามาถึง ก็คงใช้รถแบคโฮดันลงไปจากเรือบาจ เป็นระยะๆไป เมื่อเราดำน้ำลงไปตามสายทุ่น ที่ทางเรือได้ให้คนลงไปผูกไว้...เราก็เห็นว่าเป็นไปตามที่เราเข้าใจ คือรถขยะ (ไม่ใช่รถขยะทั้งคัน แต่เฉพาะตัวถังขยะที่ตั้งอยู่บนรถเท่านั้น) กองระเกะระกะเป็นแถวยาวแนวเหนือใต้ อยู่บนพื้นทรายราบเรียบที่ความลึก 22 เมตร (ความลึกเดียวกับที่รถถังตั้งอยู๋) ผ่านไปเพียงสองปี...สภาพรถขยะก็ผุพังไปมากมาย ความทนทานคงทนสู้ไม่ได้เลย เมื่อเทียบกับรถถังปะการังเทียมที่เราได้เห็นมาแล้ว.. สัตว์เกาะติดประเภทหอยและเพรียงก็ดูจะบางเบา กว่าที่ได้เห็นที่รถถัง แต่ที่ดูดีกว่ารถถังปะการังเทียม ก็เห็นจะเป็นปลาที่มากมาย ว่ายกันขวั่กไขว่ทั่วบริเวณ เป็นวงกว้างกว่า...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 24-09-2012 เมื่อ 22:32 |
#49
|
||||
|
||||
เหตุที่รถขยะมีปลามาอาศัยมากมายกว่ารถถังนั้น น่าจะเป็นเพราะรถขยะมีโพรงกว้างขวาง ให้ปลาได้อาศัยหากิน หลบภัย และแพร่พันธุ์...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 03-09-2012 เมื่อ 11:15 |
#50
|
||||
|
||||
และความที่รถขยะมีความสูงและยาว อีกทั้งอยู่ไม่ห่างกันมาก ทำให้มีที่ว่าง ระหว่างรถขยะ เกิดเป็นซอกซอย มีที่ให้ปลาว่ายเล่นได้มากขึ้น และรู้สึกว่าปลอดภัยมากกว่า..
__________________
Saaychol |
|
|