เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #41  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

ระดมสมอง…ยกร่าง กม.ประมงฉบับใหม่

พิมพ์ครั้งแรกที่ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์ (15 ธันวาคม 2555)

โดย ชลธิชา ภัทรสิริวรกุล

ที่ผ่านมาจะเห็นข่าวการทะเลาะกันระหว่างชาวประมงพื้นบ้านกับหน่วยงานรัฐ หรือภาคเอกชนที่เข้าไปลงทุนในพื้นที่นั้นๆ อยู่บ่อยๆนั่นก็เพราะว่าโครงสร้างกฎหมายประมงเดิมได้รวมศูนย์อำนาจการตัดสินใจและการดำเนินการไว้ที่รัฐมนตรีและกรมประมงเป็นหลัก ไม่มีระบบถ่วงดุลอำนาจ เมื่อนโยบายส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการจับสัตว์น้ำให้ได้มากเพื่อรองรับอุตสาหกรรมอาหารทะเล

ดังนั้น เนื่องในโอกาสวันประมงโลกเมื่อวันที่ 21 พ.ย.ที่ผ่านมา กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย จึงได้จัดการสัมมนาชาวประมงพื้นบ้านในประเทศไทยขึ้นภายใต้หัวข้อ “การมีส่วนร่วมของชาวประมงพื้นบ้านกับกระบวนการแก้ไขปัญหาการประมงและทะเลไทยอย่างยั่งยืน” เพื่อให้ชาวประมงและเจ้าหน้าที่ของกรมประมงได้แลก

เปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนชาวประมงและชุมชนชายฝั่งตามรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะสิทธิชุมชนในร่าง พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่อีกทั้งยังย้ำเตือนให้เห็นถึงความสำคัญของการประมงขนาดเล็ก

ศิริวัฒน์ ขจรประศาสน์รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า การหารือร่วมกันครั้งนี้ จะเป็นการหารือถึงแนวทางแก้ไขปัญหาการประมงและชายฝั่งทะเลในสถานการณ์ ปัจจุบัน ทั้งด้านแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรประมงในเขตประมงชายฝั่งการบริหาร จัดการทรัพยากรชายฝั่งโดยชุมชนมีส่วนร่วม ปัญหาการตลาดและการ

เก็บรักษาสัตว์น้ำ แนวทางการเฝ้าระวังและการใช้เครื่องมือประมงที่ไม่เหมาะสมโดยการหารือดัง กล่าวจะก่อให้เกิดความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นระหว่างกรมประมงและ ชุมชนชาวประมงพื้นบ้าน

ขณะที่ วิมล จันทรโรทัยอธิบดีกรมประมงกล่าวถึงการจัดการทรัพยากรประมงทะเลไทยยุคใหม่ว่า ปัจจุบันผลผลิตประมงไทยลดลงเหลือเพียงปีละ 1.6 ล้านตัน จากเดิมที่มีผลผลิตสูงถึง 3-4 ล้านตัน เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไป ทำให้กรมประมงต้องจัดทำแผนแม่บททะเลไทย เพื่อคงระดับผลผลิตประมงไทยไม่ให้ลดต่ำไปกว่านี้ เพราะผลผลิตประมงไทยมีมูลค่าประมาณ 2 แสนล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็น 1.2% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยดึงชาวบ้านชุมชนประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำด้วย เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ความเสี่ยงที่ประมงพื้นบ้านและทะเลไทยต้องเจอ คือ ความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ ความเสี่ยงในด้านอาชีพ ความเสี่ยงในด้านเศรษฐกิจ(ราคาสินค้าตกต่ำ) ความเสี่ยงในด้านสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมลงและความขัดแย้งกันทั้งระหว่างชาวบ้านกันเอง ผู้ประกอบการเอกชนที่เข้ามาลงทุนในพื้นที่ และภาครัฐ

ส่งผลให้ต้องมีการกำหนดกฎเกณฑ์ร่วมกันขึ้นมาเพื่อบรรจุไว้ในแผนแม่บททะเลไทยเช่น ด้านเศรษฐกิจ ต้องจับสัตว์น้ำที่มีขนาดเหมาะสม ขณะเดียวกันก็ต้องอนุรักษ์ให้ปริมาณสัตว์น้ำมีเพียงพอสำหรับอนาคตด้วยและด้านขนาดพื้นที่ เพื่อให้เกิดความสมดุลในระบบนิเวศ

“ที่ผ่านมากรมประมงได้มีการปรับปรุงกฎหมายในร่าง พ.ร.บ.การประมง (ฉบับที่ 4)พ.ศ. … ให้มีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายมากขึ้น มีการกำหนดขอบเขตประมงชายฝั่งที่ชัดเจน โดยนับจากขอบน้ำชายฝั่งออกไป 5 ไมล์ทะเล เว้นแต่บริเวณใดที่มีความจำเป็นที่สามารถได้เป็น 12 ไมล์ทะเล เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน” วิมลกล่าว

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการประมงจังหวัด ซึ่งมีหน้าที่ติดตาม กำกับดูแลสนับสนุน รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานขององค์กรชุมชนประมง เพื่อใช้เป็นกลไกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างกัน

สะมะแอ เจะมูดอนายกสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย กล่าวว่าปัจจุบันประเทศไทยมีหมู่บ้านชาวประมงประมาณ 3,800 หมู่บ้าน หรือ 5.7 หมื่นครอบครัว และที่ผ่านมาชาวประมงพื้นบ้านและชุมชนชายฝั่งในประเทศไทยได้มีบทบาทอย่างมากในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง ทั้งยังเป็นผู้ผลิตสินค้าประมงเกรดเอปลอดสารเคมีและได้มาจากการทำประมงอย่างรับผิดชอบ ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศอย่าง ญี่ปุ่น สหรัฐ และกลุ่มสหภาพยุโรป แต่ในแง่ของการบริหารจัดการทรัพยากรนั้น กลับยังไม่มีส่วนร่วมมากเท่าที่ควร ดังนั้นจึงได้รวมตัวกันขององค์กรชาวประมงพื้นบ้านใน 13 จังหวัดชายฝั่งทะเลภาคใต้ เพื่อส่งเสริมการรวมพลังของชาวประมงพื้นบ้านให้มีส่วนร่วมมากขึ้น

อย่างไรก็ดี การที่สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยเข้ามาร่วมมือในการดำเนินการตามแผนแม่บทการจัดการประมงทะเลไทย เพราะตระหนักดีว่าชุมชนประมงพื้นบ้านขนาดเล็กจะเป็นกำลังสำคัญในการแก้ไขปัญหาการจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้อย่างยั่งยืน


ข้อมูลจาก...http://thailawwatch.org/2012/12/brainstorming_fishery/

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #42  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ประมงพื้นบ้านเข้ากรุง ดัน พรบ.ประมงฉบับประชาชน

ประมงพื้นบ้าน เข้ากรุง พร้อม10,000 รายชื่อ ดัน พรบ.ประมงฉบับประชาช



เมื่อวันที่1-2 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย นำโดยนายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ นายกสมาคม รวมทั้งคณะกรรมการสมาคมและสมาชิกเครือข่ายกว่า 30 คน จากทั้วประเทศ ได้มายื่นรายชื่อหนึ่งหมื่นชื่อในการร่างกฎหมายประมงฉบับชาวบ้าน ที่รัฐสภาโดยทั้งนี้ได้มีการเข้าพบหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ สมาคมประมงแห่งประเทศไทย กรมประมง

ซึ่งวันที่1 พฤศจิกายน 2555 ในช่วงเช้าได้เข้าหารือกับสมาคมประมงแห่งประเทศไทย โดยมีนายนายภูเบศ จันทนิมิต นายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทยให้การต้อนรับ ในการพื้นคุยในครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งแรกที่มีการพูดคุยกันอย่างเป็นทางการระหว่างเรือประมงพื้นบ้านและเรือประมงพานิชย์ ซึ่งในอดีตถือเป็นคู่ขัดแย้งในการใช้ทรัพยากรทางทะเล แต่โดยสถานการณ์ปัจจุบันทำให้ต้องมีการพูดคุยหารือในวาระที่จะมีการผลักดัน พรบ.ประมงฉบับใหม่ ซึ่งมีผลกระทบทั้งเรือประมงพื้นบ้าน และเรือประมงพานิชย์ วาระในการพูดคุยครั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับการผลักดันให้ในเรื่องสิทธิชุมชน เข้ากลับมาอยู่ในพรบ.ประมงฉบับใหม่ แต่เนื่องจากกกฤษฎีกาได้ตัดเนื่อหาส่วนนี้ออกจาก พรบ.ประมงฉบับประชาชน โดยแนวคิดสิทธิชุมชนในพรบ.ประมงฉบับใหม่ที่กำลังจะเกิด ทั้งนี้ในการจัดการทรัพยากรทางทะเล โดยให้มีคณะกรรมการระดับจังหวัดทุกจังหวัด และหลังจากนี้จะมีการพบปะหารือกันมากขึ้นเพื่อร่วมมือกันแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรทางทะเลในแต่ละพื้นที่ด้ว




ในช่วงบ่าย คณะสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ได้แยกเป็นสองกลุ่มเพื่อพบกับอธิบดีของกรมประมงและกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ซึ่งส่วนของการเข้าหารือกับอธิบดีกรมประมง และราชการในกรมประมง นายสะมะแอ เจ๊มูดอ ได้กล่าวว่า ทางกรมประมงเห็นด้วยกับการร่วมมือเพื่อให้เกิดความเข้าใจระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและกรมประมง ทั้งนี้จะเร่งผลักดัน ให้เกิดเครือข่ายระดับดังหวัด ที่มีอำนาจในการจัดการด้านการประมง ที่มีครบทุกภาคส่วน อีกทั้งในเรื่องของการเสนอพรบ.ประมงฉบับประชาชน ในส่วนโควต้าของกรมประมง ที่ได้สัดสวน5 คน นั้น ทางกรมประมงจะให้เป็นโควต้าของสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 3 คน




ต่อมาวันที่2 พฤศจิกายน 2555 คณะสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยได้เดินทางไปยังรัฐสภาเพื่อนยื่นรายชื่อ ประชาชน10,000 รายชื่อเพื่อเสนอกฎหมายประมงและกฎหมายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมีเลขาประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนออกมาต้อนรับและร่วมแถลงข่าวการยื่นรายชื่อในครั้งนี้




หลังจากนั้นทางคณะได้เดินทางเข้าพบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งในส่วนของฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึงในส่วนของฝ่ายรัฐบาลให้เข้าพบกับตัวแทนของพรรคชาติไทยพัฒนาและพรรคเพื่อไทย โดยทั้งสองพรรคจะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับกรรมการของพรรคในเวลาต่อไป แต่ทั้งนี้ในส่วนของฝ่ายรัฐบาลยืนยันว่าจะให้โควต้ากรรมาธิการแก่สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทยหนึ่งคน และในส่วนของพรรประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นฝ่ายค้าน ก็ยินดีที่จะนำเรื่องนี้เข้าหารือกับกรรมการของพรรค เพื่อหาิศทางที่จะสนับสนุน พรบ.ฉบับประชาชนฉบับนี้ และยืนยัยว่าในส่วนของโควต้ากรรมาธิการที่พรรคฝ่ายค้านได้ จะให้กับสมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านหนึ่งคน

โดยพรบ.ประมงฉบับใหม่นี้จะเข้าพิจจารณาในสมัยการประชุมที่จะถึงนี้


ข้อมูลจาก....http://www.oknation.net/blog/print.php?id=833886
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #43  
เก่า 10-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


มัวแต่ทะเลาะกันอยู่ และต่อด้วยการยุบสภาผู้แทนราษฏร....จนบัดนี้ พ.ร.บ. การประมง ฉบับใหม่ ที่ยกร่างไว้แล้ว ก็ยังค้างเติ่งไม่ได้คลอดออกมา...

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #44  
เก่า 11-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

สื่ออังกฤษเปิดโปง! ชะตากรรมแรงงานทาสต่างด้าวบนเรือประมงไทย



ภาพที่ถูกตีพิมพ์ลงในรายงานข่าวของเดอะ การ์เดียน


นสพ. เดอะ การ์เดียนในอังกฤษ เปิดโปงชะตากรรมของแรงงานต่างด้าวอาเซียน บนเรือประมงไทย ถูกกระทำเยี่ยงทาส โดนทารุณสารพัด และถึงขั้นถูกฆ่าทิ้ง เพื่อจับกุ้งส่งไปยังบรรดาซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่ วโลก ทั้งวอลมาร์ต และเทสโก้..

เว็บไซต์ของสำนักข่าว เดอะ การ์เดียนในอังกฤษ รายงานเปิดโปงชะตากรรมของแรงงานทาสจากอาเซียนที่ต้อง มาทำงานบนเรือประมงของไทย เพื่อจับกุ้งป้อนส่งตามซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำในสหรั ฐฯ และอังกฤษ โดยระบุว่า เรือประมงเถื่อนของไทย ใช้แรงงานต่างด้าวเยี่ยงทาส, โหดร้ายทารุณ แม้กระทั่งโดนฆ่าทิ้ง ในกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการส่งกุ้งไปจำหน่ายทั่ว โลก

เดอะ การ์เดียน เปิดเผยว่า จากการสืบหาข่าวเกี่ยวกับการใช้แรงงานทาสในช่วง 6 เดือน พบว่า มีผู้ชายเป็นจำนวนมากถูกซ้ือและขายเยี่ยงสัตว์ อีกทั้งยังถูกควบคุมไว้บนเรือประมงนอกชายฝั่งของไทย เพ่ือจับกุ้งส่งไปยังซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำทั่วโลก โดยเฉพาะ ห้างค้าปลีกชื่อดังยักษ์ใหญ่ อย่างวอลมาร์ต,คาร์ฟูร์, คอสต์โก้ และเทสโก้

พร้อมกันนั้น เดอะ การ์เดียน ยังรายงานด้วยว่า แรงงานต่างด้าวบนเรือประมงของไทย ต้องทำงานหนักถึงวันละ 20 ชั่วโมง ซึ่งพวกเขาโดนทุบตีและทรมานเป็นประจำ จนถึงขั้นถูกฆ่าทิ้ง โดยมีแรงงานบางคนต้องอยู่บนเรือในทะเลนานหลายปี ,มีบางคนโดนล่อให้ทำงานต่อไป ด้วยการให้ยาบ้า อีกทั้งมีบางคนเห็นเพื่อนแรงงานด้วยกันถูกสังหารต่อห น้าต่อตา

หนังสือพิมพ์ของอังกฤษ เปิดโปงต่อไปว่า มีคนงานต่างด้าว 15 คน จากพม่า และกัมพูชา เล่าว่า พวกเขาถูกใช้งานเยี่ยงทาสกันอย่างไร รวมถึงยังบอกว่าพวกเขาต้องจ่ายเงินค่านายหน้าเพ่ือช่ วยในการหางานตามโรงงานในประเทศไทย หรือไม่ก็ทำงานด้านก่อสร้าง แต่สุดท้ายพวกเขากลับถูกขายให้กับบรรดาเจ้าของเรือปร ะมง ซึ่งมีบางครั้ง ถูกขายด้วยค่าตัวเพียงแค่ 250 ปอนด์หรือประมาณ 14,000 บาทเท่านั้น


ข้อมูลจาก
....ไทยรัฐ ประจำวันที่ 11 มิถุนายน 2557

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 11-06-2014 เมื่อ 22:02
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #45  
เก่า 11-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



Trafficked into slavery on Thai trawlers to catch food for prawns

The Thai fishing industry is built on slavery, with men often beaten, tortured and sometimes killed - all to catch 'trash fish' to feed the cheap farmed prawns sold in the west




There is nothing but a jagged line of splinters where Myint Thein’s teeth once stood – a painful reminder, he says, of the day he was beaten and sold on to a Thai fishing boat.

The tattooed Burmese fisherman, 29, bears a number of other “reminders” of his life at sea: two deep cuts on each arm, calloused fingers contorted like claws and facial muscles that twitch involuntarily from fear. For the past two years, Myint Thein has been forced to work 20-hour days as a slave on the high seas, enduring regular beatings from his Thai captain and eating little more than a plate of rice each day. But now that he’s been granted a rare chance to come back to port, he’s planning something special to mark the occasion: his escape.

Using a pair of rusty scissors, Myint Thein chops off his long, scraggly locks. He rinses himself down with a hose, slips on his only pair of trousers and, peering out at his surroundings, remembers not to open his mouth too wide. A man with no teeth is easy to remember.


Under the tinny roof of Songkhla’s commercial port, on Thailand’s south-east coast, the imperial-blue cargo boat that brought Myint Thein back to shore is unloading its catch, barrel by barrel. The day’s international fish trading has just begun, and buyers are milling about in bright yellow rubber boots, running slimy scales between their fingers, as hobbling cats nibble at the fishbones and guts strewn across the pavement.

Myint Thein doesn’t have much time to talk, so he tells us the basics. He paid a middleman two years ago to smuggle him across the border into Thailand and find him a job in a factory. After an arduous journey travelling through dense jungle, over bumpy roads and across rough waves, Myint Thein finally arrived in Kantang, a Thai port on its western, Andaman coast, where he discovered he’d been sold to a boat captain. “When I realised what had happened, I told them I wanted to go back,” he says hurriedly. “But they wouldn’t let me go. When I tried to escape, they beat me and smashed all my teeth.”

For the next 20 months, Myint Thein and three other Burmese men who were also sold to the boat trawled international waters, catching anything from squid and tuna to “trash fish”, also known as bycatch – inedible or infant species of fish later ground into fishmeal for Thailand’s multibillion-dollar farmed prawn industry. The supply chain runs from the slaves through the fishmeal to the prawns to UK and US retailers. The product of Myint Thein’s penniless labour might well have ended up on your dinner plate.






Despite public promises to clean up the industry, many Thai officials not only turn a blind eye to abuse, the Guardian found, they are often complicit in it, from local police through to high-ranking politicians and members of the judiciary – meaning that slaves often have nowhere to turn when they have the opportunity to run.

“One day I was stopped by the police and asked if I had a work permit,” says Ei Ei Lwin, 29, a Burmese migrant who was detained on the docks at Songkhla port. “They wanted a 10,000 baht (£180) bribe to release me. I didn’t have it, and I didn’t know anyone else who would, so they took me to a secluded area, handed me over to a broker, and sent me to work on a trawler.”
Brokers
Advertisement

Thailand produces roughly 4.2m tonnes of seafood every year, 90% of which is destined for export, official figures show. The US, UK and EU are prime buyers of this seafood – with Americans buying half of all Thailand’s seafood exports and the UK alone consuming nearly 7% of all Thailand’s prawn exports.

“The use of trafficked labour is systematic in the Thai fishing industry,” says Phil Robertson, deputy director of Human Rights Watch’s Asia division, who describes a “predatory relationship” between these migrant workers and the captains who buy them.

“The industry would have a hard time operating in its current form without it.”

Speaking on condition of anonymity, a high-ranking broker explained to the Guardian how Thai boat owners phone him directly with their “order”: the quantity of men they need and the amount they’re willing to pay for them.

“Each guy costs about 25,000-35,000 baht [£450-£640] – we go find them,” explains the goateed broker, who operates out of the industrial fishing and prawn-processing hub of Samut Sakhon, just south of the capital, Bangkok.

“The boat owner finds the way to pay and then that debt goes to the labourers.”

At various points along the way, checkpoints are passed and officials bribed – with Thai border police often playing an integral role.

“Police and brokers – the way I see it – we’re business partners,” explains the broker, who claims to have trafficked thousands of migrants into Thailand over the past five years. “We have officers working on both sides of the Thai-Burmese border. If I can afford the bribe, I let the cop sit in the car and we take the main road.

“This is a big chain,” he adds. “You have to understand: everyone’s profiting from it. These are powerful people with powerful positions – politicians.”

The price captains pay for these men is a extremely low even by historical standards. According to the anti-trafficking activist Kevin Bales, slaves cost 95% less than they did at the height of the 19th-century slave trade – meaning that they are not regarded as investments for important cash crops such as cotton or sugar, as they were historically, but as disposable commodities.

For the migrants who believed Thailand would bring them opportunity, the reality of being sent out to sea is devastating.

“They told me I was going to work in a pineapple factory,” recalls Kyaw, a broad-shouldered 21-year-old from rural Burma. “But when I saw the boats, I realised I’d been sold … I was so depressed, I wanted to die.”
Chained

Life on a 15-metre trawler is brutal, violent and unpredictable. Many of the slaves interviewed by the Guardian recalled being fed just a plate of rice a day. Men would take fitful naps in sleeping quarters so cramped they would crawl to enter them, before being summoned back out to trawl fish at any hour. Those who were too ill to work were thrown overboard, some interviewees reported, while others said they were beaten if they so much as took a lavatory break.

Many of these slave ships stay out at sea for years at a time, trading slaves from one boat to another and being serviced by cargo boats, which travel out from Thai ports towards international borders to pick up the slave boats’ catch and drop off supplies.

The vessels catch fish and shellfish for domestic and international markets, including roughly 350,000 tonnes of trash fish, every year, according to the UN’s Food and Agriculture Organisation (FAO). This trash fish is separated at sea and ferried back on cargo boats to shore, where it is ground down and turned into fishmeal for multinational companies such as CP Foods, which use it in animal feed for prawn, pig and chicken farming.

CP in turn supplies food retailers and giant international supermarkets including Walmart, Tesco, Carrefour, Costco, Morrisons, the Co-operative and Iceland, with frozen and fresh prawns, and ready-made meals.


ข้อมูลจาก....http://www.theguardian.com/global-de...d-thai-fishing

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #46  
เก่า 13-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



“ซีพีเอฟ” ซัด “เดอะการ์เดียน” ตั้งธงโจมตี ยันพร้อมแก้ “แรงงานทาส” คุมมาตรฐานซื้อปลาป่น



“ซีพีเอฟ” โต้ “เดอะการ์เดียน” ลั่นพร้อมประณามการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมประมง ควบคุมการจัดซื้อปลาป่นให้ได้มาตรฐาน แจงมีโครงการคุ้มครองน่านน้ำไทย แก้ละเมิดสิทธิมนุษยชนบนเรือ ติงสื่ออังกฤษมุ่งโจมตีประเด็นแรงงานทาส ไม่พูดถึงแผนปรับปรุงที่บริษัทกำลังทำ ย้ำหากจำเป็น พร้อมพัฒนาโปรตีนใช้แทนปลาป่นทั้งหมดในปี 2021

หลังจากหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนของอังกฤษ ได้นำเสนอรายงานปัญหาการใช้แรงงานทาสในอุตสาหกรรมปลาป่นและการผลิตกุ้งในประเทศไทย ฝ่ายสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ผู้ผลิตอาหารายใหญ่ของประเทศไทย ได้ชี้แจงเรื่องดังกล่าว ว่า บทความของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ซึ่งเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งอุตสาหกรรมในห่วงโซอุปทานอาหารทะเลของประเทศไทยนั้น ซีพีเอฟถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง หลังจากล็อบบี และไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทย หนังสือพิมพ์ได้หันมากดดันแบรนด์และธุรกิจใหญ่ๆ ของโลกเพื่อผลักดันให้ปรับปรุงสถานการณ์ทันที

ซีพีเอฟเป็นตัวแทนเพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมนี้ ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับสื่อและตอบคำถามสื่อ โดยพื้นฐานแล้ว ซีพีเอฟ เชื่อว่า แต่ละคนที่ทำงานให้ซีพีเอฟ ทำงานกับซีพีเอฟในฐานะผู้ค้า หรือผ่านส่วนใดของห่วงโซ่อุปทานของซีพีเอฟ ตั้งแต่โรงงานไปจนถึงเรือประมง สมควรต้องได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและด้วยเกียรติภูมิทุกขณะเป็นอย่างน้อย ในเรื่องนี้ ซีพีเอฟจึงอยู่ระหว่างการตรวจสอบปฏิบัติการทั้งหมดของบริษัทเพื่อประณามการใช้แรงงานทาสตลอดแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานของเรา และนำระบบตรวจสอบอิสระแบบสุ่ม (spot check) ที่ได้รับการประสานงานมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของเราไม่มีและยังคงไม่มีการใช้แรงงานทาส

ส่วนการดำเนินการระยะยาว ในฐานะผู้ซื้อปลาป่นรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศไทยและผู้นำการผลิตของภูมิภาค ซีพีเอฟมีพันธสัญญาที่จะควบคุมระบบการจัดซื้อปลาป่นให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อขจัดการทำประมงผิดกฎหมายและปรับปรุงการทำประมง ทั้งนี้ ซีพีเอฟใช้ปลาป่นประมาณ 10% ของส่วนประกอบในการผลิตอาหารเลี้ยงกุ้ง มีโรงผลิตอาหารสัตว์น้ำ 5 แห่งในประเทศไทย แต่ละแห่งได้รับการรับรองมาตรฐานแนวปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Best Aquaculture Practice) และบริษัทซื้อปลาป่นที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงปลาจากโรงงานแปรรูปปลาป่นอิสระ 55 แห่ง ในจำนวนนี้ 40 แห่งปฏิบัติตามมาตรฐานรับรองการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (non-IUU certification scheme) ของกรมประมงเต็มรูปแบบ

ซีพีเอฟชี้แจงอีกว่า โรงงานปลาป่นอิสระที่เราซื้อปลาป่นแปรรูปปลาป่นจากผลพลอยได้ (by-product) ที่ได้จากการตัดแต่งทูน่าและปูอัดและทั้งหมดได้รับการรับรองว่าได้จากการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย หรือปลาที่เหลือจากการจับ (by-catch) ที่บางครั้งเรียกว่า “ปลาเป็ด” จากน่านน้ำนอกประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ (อินโดนีเซีย) และเป็นประเด็นที่เดอะการ์เดียนยกขึ้นมาโจมตีว่ามีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายประมาณ 200,000 ราย ถูกเอาเปรียบจากหัวหน้าแก๊ง ซีพีเอฟพยายามแก้ปัญหานี้ด้วยโครงการ “ทำประมงในอ่าวไทยอย่างยั่งยืน” เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2013 เพื่อคุ้มครองอนาคตของน่านน้ำของประเทศไทย และเพื่อให้ชุมชนชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ถึงรุ่นลูกหลาน โครงการนี้ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจของการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนเรือประมงไทยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ

นอกจากนี้ ซีพีเอฟพยายามใช้คู่ค้าหรือซัปพลายเออร์ที่ซื้อวัตถุดิบจากผลพลอยได้ให้มากที่สุด ปัจจุบันทำได้แล้ว 42% และเป้าหมายของเราคือ 70% ภายในปี 2016 ผู้ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดคือ คิงฟิชเชอร์ (Kingfisher) ใช้ผลพลอยได้จากทูน่าที่ได้จากมหาสมุทรแปซิฟิก และเป็นบริษัทปลาป่นรายแรกที่ได้รับมาตรฐานรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นผู้ค้าที่รับผิดชอบ (responsible supply) ส่วนคู่ค้า 40 จากทั้งหมด 55 ราย ได้รับการรับรองตามมาตรฐานรัฐบาลไทยว่าด้วยการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย คิดเป็น 73% ของคู่ค้าและเราตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 100%

นอกจากนี้ ซีพีเอฟเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่จ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบว่าไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายแก่คู่ค้า ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปี 2013 ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มไปแล้วอีก 48.2 ล้านบาท

ซีพีเอฟชี้แจงกรณีเป็นข่าวในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนว่า หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนติดต่อบริษัทเพื่อสอบถามแผนความยั่งยืนโดยทั่วไป ซึ่งบริษัทตัดสินใจจะสื่อสารกับหนังสือพิมพ์ ด้วยเข้าใจว่าในฐานะเป็นหนังสือพิมพ์ที่รับผิดชอบ บริษัทหวังว่าเดอะการ์เดียนจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ที่จำเป็นในงานที่บริษัทกำลังทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับแผนปรับปรุงการทำประมงที่ทั้ง SPF และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากลนำเสนอ

ระหว่างการติดต่อสื่อสาร บริษัทส่งคำตอบให้กับคำถามต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสถิติการส่งออกมหภาคและรายละเอียดการกำกับดูแลห่วงโซ่อาหารในขณะนี้ ข้อมูลคู่ค้าปลาป่นและความคืบหน้าในการควบคุมการจัดซื้อปลาป่นให้เข้มงวดขึ้นอย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าหนังสือพิมพ์ได้ตัดสินใจไปแล้วว่าจะเจาะประเด็นแรงงานทาสเพียงประเด็นเดียวโดดๆ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเรื่องนี้เกี่ยวโยงกับแผนปรับปรุงการทำประมงโดยรวม

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สามารถช่วยได้ด้วยการเขียนข่าวโดยมีบริบทผูกโยงกับงานที่ซีพีเอฟกำลังทำ แต่หากหนังสือพิมพ์เลือกที่จะแค่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าปลีกที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาสอย่างที่กำลังทำอยู่ งานของเราก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของทั้งอุตสาหกรรม

ซีพีเอฟมีทางเลือกสามารถเลือกที่จะไม่ใช้ปลาป่นอีกต่อไป ทั้งนี้ เราได้พัฒนาโปรตีนซึ่งสามารถนำมาใช้แทนปลาป่น และเรามีพันธะสัญญาที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จภายในปี 2021 หากจำเป็น หรือสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปและประพฤติตัวด้วยความรับผิดชอบด้วยการใช้พลังและศักยภาพของเราเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม สิ่งที่เราทำกำลังคืบหน้าไปด้วยดี แต่ขณะนี้เรายืนอยู่บนจุดหักเห เราสามารถเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลยและเฝ้าดูปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมพวกนี้ทำลายน่านน้ำรอบประเทศไทยรวมทั้งอุตสาหกรรมประมงในอีกหลายรุ่นข้างหน้า หรือไม่เราสามารถช่วยผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมงที่ SFP และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ



รายละเอียดคำชี้แจงของซีพีเอฟ

หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน - การตอบโต้ข้อกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาสในห่วงโซ่อุปทานของซีพีเอฟ


ปัญหา

· ซีพีเอฟเป็นผู้ซื้อปลาป่นรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งในประเทศไทย

· ปลาป่นเป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดการวิพากษ์ เพราะมีโอกาสเป็นผลพวงจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU) การทำประมงผิดกฎหมายนี้นำไปสู่ปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมร้ายแรงหลายอย่างรวมถึงประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนโจมตี

· บทความเมื่อวานนี้ (11 มิถุนายน 2557) เป็นบทความล่าสุดในรายงานของหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน (The Guardian) ซึ่งเปิดโปงการละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วทั้งอุตสาหกรรมในห่วงโซอุปทานอาหารทะเลของประเทศไทย ซีพีเอฟถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง
· หลังจากล็อบบี และไม่ได้รับการตอบรับจากรัฐบาลไทย หนังสือพิมพ์ได้หันมากดดันแบรนด์และธุรกิจใหญ่ๆ ของโลกเพื่อผลักดันให้ปรับปรุงสถานการณ์ทันที


ท่าทีและการดำเนินการของซีพี


การดำเนินการทันที

· ซีพีเอฟเป็นตัวแทนเพียงรายเดียวในอุตสาหกรรมนี้ที่พร้อมจะเผชิญหน้ากับสื่อและตอบคำถามสื่อ

· โดยพื้นฐานแล้ว ซีพีเอฟเชื่อว่าแต่ละคนที่ทำงานให้ซีพีเอฟ ทำงานกับซีพีเอฟในฐานะผู้ค้า หรือผ่านส่วนใดของห่วงโซอุปทานของซีพีเอฟ ตั้งแต่โรงงานไปจนถึงเรือประมง สมควรต้องได้รับการปฏิบัติอย่างยุติธรรมและด้วยเกียรติภูมิทุกขณะเป็นอย่างน้อย

· ในเรื่องนี้ ซีพีเอฟจึงอยู่ระหว่างการตรวจสอบปฏิบัติการทั้งหมดของบริษัทเพื่อ

o ประณามการใช้แรงงานทาสตลอดแต่ละขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทานของเรา

o นำระบบตรวจสอบอิสระแบบสุ่ม (spot check) ที่ได้รับการประสานงานมาใช้เพื่อให้มั่นใจว่าห่วงโซ่อุปทานของเราไม่มีและยังคงไม่มีการใช้แรงงานทาส


การดำเนินการระยะยาว

ในฐานะผู้ซื้อปลาป่นรายใหญ่รายหนึ่งในประเทศไทยและผู้นำการผลิตของภูมิภาค ซีพีเอฟมีพันธะสัญญาที่จะ

1. ควบคุมระบบการจัดซื้อปลาป่นของเราให้เข้มงวดมากขึ้น เพื่อขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย

2. ปรับปรุงการทำประมงเพื่อปกป้องคุ้มครองน่านน้ำไทยให้กับคนรุ่นหลัง


ความเข้าใจเกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานปลาป่นในขณะนี้ของเรา

· ซีพีเอฟใช้ปลาป่นเป็นส่วนประกอบในจำนวนไม่มาก (ประมาณ 10% ของส่วนประกอบ) ในการผลิตอาหารเลี้ยงกุ้ง เรามีโรงผลิตอาหารสัตว์น้ำ 5 แห่งในประเทศไทย ซึ่งทุกโรงใช้ปลาป่นในการผลิตอาหารปลา (โรงงานบ้านบึง มหาชัย หนองแค บ้านพรุ น้ำน้อย)

· โรงงานผลิตอาหารสัตว์แต่ละแห่งของเราได้รับการรับรองมาตรฐานแนวปฏิบัติในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (Best Aquaculture Practice) http://www.gaalliance.org/

· ปัจจุบันบริษัทซื้อปลาป่นที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาหารเลี้ยงปลาจากโรงงานแปรรูปปลาป่นอิสระ 55 แห่ง ซึ่ง 40 แห่งจากทั้งหมด ปฏิบัติตามมาตรฐานรับรองการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (non-IUU certification scheme) ของกรมประมงเต็มรูปแบบ


โรงงานแปรรูปผลิตปลาป่นอย่างไร

· โรงงานปลาป่นอิสระที่เราซื้อปลาป่นแปรรูปปลาป่นจากผลพลอยได้ (by-product) หรือ ปลาที่เหลือจากการจับ (by-catch)

Ø ผลพลอยได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการตัดแต่งทูน่าและปูอัดและทั้งหมดได้รับการรับรองว่าได้จากการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย ผลพลอยได้จากทูน่าส่วนใหญ่มาจากมหาสมุทรแปซิฟิกและจากเรือประมงที่มีผู้สังเกตการณ์อิสระประจำภูมิภาคบนเรือเพื่อรับรองความถูกต้องของวิธีจับสัตว์น้ำ ผู้สังเกตการณ์อิสระนี้มาจากคณะกรรมาธิการการประมงแปซิฟิกตะวันตก และแปซิฟิกกลาง (WCPFC) http://www.wcpfc.int/

Ø ปลาที่เหลือจากการจับหรือที่บางครั้งเรียกว่า “ปลาเป็ด” จะมาจากน่านน้ำนอกประเทศไทยเป็นส่วนใหญ่ (อินโดนีเซีย) และเป็นแค่เสี้ยวหนึ่งของสัตว์น้ำที่เรือจับได้โดยเป็นสิ่งที่ขายไม่ได้อย่างสิ้นเชิงไม่ว่าในตลาดใด ปกติแล้ว ปลาที่เหลือจากการจับจะถูกแช่แข็งในเรือขนาดใหญ่ที่เรียกว่า “เรือแม่” ซึ่งจะออกเดินทะเลเป็นเวลาหลายๆ เดือนในแต่ละครั้ง เรือขนส่งลำเล็กจะไปรับบล็อกปลาแช่แข็งจากเรือใหญ่นี้เพื่อนำมาขายต่อที่ท่าเรือประมงของไทย

__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 13-06-2014 เมื่อ 20:41
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #47  
เก่า 13-06-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ซีพีเอฟ” ซัด “เดอะการ์เดียน” (ต่อ)




ปลาที่เหลือจากการจับและเรือแม่เป็นประเด็นที่เดอะการ์เดียนยกขึ้นมาโจมตี

· ขณะนี้ มีแรงงานต่างชาติผิดกฎหมายประมาณ 200,000 ราย ที่ทำงานในอุตสาหกรรมประมงของไทย หลายคนทำงานบน “เรือแม่” มีการกล่าวหาว่าบางราย (16% ตามรายงานของกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ) ถูกเอาเปรียบจาก “หัวหน้าแก๊งค์” และตัวแทนเพียงเพราะเรือพวกนี้ต้องอาศัยแรงงานประเภทนี้ ชาวพม่าและเขมรมักเป็นเหยื่อที่หาได้ง่ายของนายจ้างผู้เอารัดเอาเปรียบที่สามารถจัดหาแรงงานให้ได้ทันที และเรือเหล่านี้ชักธงไทยไม่ทางใดทางหนึ่ง

ซีพีเอฟทำอะไรเพื่อแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายจากปลาที่เหลือจับ รวมทั้งกรณีการละเมิดสิทธิมนุษยชน/ใช้แรงงานผิดกฎหมายที่เกี่ยวข้องใน “เรือแม่”

โครงการ “ทำประมงในอ่าวไทยอย่างยั่งยืน” ของซีพีเอฟเปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2013 เพื่อคุ้มครองอนาคตของน่านน้ำของประเทศไทยและเพื่อให้ชุมชนชาวประมงสามารถทำมาหากินได้ถึงรุ่นลูกหลาน

โครงการของซีพีเอฟนี้ครอบคลุมปัญหาสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจของการประมงผิดกฎหมาย ซึ่งการจัดการปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนบนเรือประมงไทยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้เท่านั้น

ขณะนี้ เรากำลังร่วมมือกับหุ้นส่วน ผู้มีส่วนได้เสียรายสำคัญและองค์กรพัฒนาเอกชน ทั่วโลกที่มองโลกด้วยหลักการและเหตุผล เพื่อช่วยขับเคลื่อนโครงการนี้ อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ยังคงซับซ้อนมากและจำเป็นต้องทำทีละขั้นตอน


สรุปกิจกรรมหลักๆ จนถึงขณะนี้

แผน 10 ประการของซีพีเอฟ


เราสามารถบรรลุเป้าหมายแผน 10 ประการ – มีหลายประเด็นในแผนที่จะส่งผลต่อสังคม อาทิ การกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาส ตามที่หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนไฮไลต์ สิ่งที่เราทำคือใช้คู่ค้าหรือซัปพลายเออร์ที่ซื้อวัตถุดิบจากผลพลอยได้ (by-product) ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ปัจจุบันเราทำได้แล้ว 42% และเป้าหมายของเราคือ 70% ภายในปี 2016 ซึ่งขณะที่เรากำลังเพิ่มสัดส่วนนี้ การพึ่งปลาที่เหลือจากการจับของเราก็ลดลงเป็นจำนวนมหาศาล ผู้ค้าปลาป่นรายใหญ่ที่สุดของเรา ซึ่งก็คือ คิงฟิชเชอร์ (Kingfisher) ใช้ผลพลอยได้จากทูน่าที่ได้จากมหาสมุทรแปซิฟิกและเป็นบริษัทปลาป่นรายแรกที่ได้รับมาตรฐานรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นผู้ค้าที่รับผิดชอบ (responsible supply)


การรับรองภายใต้มาตรฐานการไม่ทำประมงผิดกฎหมายของรัฐบาลไทย

ขณะนี้ คู่ค้า 40 จากทั้งหมด 55 รายของเราได้รับการรับรองตามมาตรฐานรัฐบาลไทยว่าด้วยการไม่ทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งกำหนดให้โรงงานแปรรูปต้องยื่นเอกสารทั้งหมด รวมถึงเอกสารการซื้อสัตว์น้ำที่จับได้ หนังสือรับรองการจับสัตว์น้ำ คำแถลงของกัปตัน และหนังสือรับรองการทำประมง ซึ่งทั้งหมดคิดเป็น 73% ของคู่ค้าของเราและเราตั้งเป้าว่าจะทำให้ได้ 100%


ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับคู่ค้าที่ไม่ทำประมงผิดกฎหมาย (supplier premium for non-IUU)


ขั้นตอนหนึ่งที่ทำได้ทันทีเพื่อสนับสนุนให้ผู้ค้าปลาป่นของเราทุกรายเข้าร่วมในโครงการนี้ คือเราเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่จ่ายค่าส่วนเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการรับรองเต็มรูปแบบว่าไม่ได้มาจากการทำประมงผิดกฎหมายแก่คู่ค้า ซึ่งเมื่อสิ้นสุดปี 2013 ซีพีเอฟจ่ายค่าส่วนเพิ่มไปแล้วอีก 48.2 ล้านบาท


การรับรองห่วงโซ่อุปทานอิสระผ่านทาง Chain of Custody


ขั้นตอนที่ 2 คือขณะนี้เรากำลังทำงานกับ IFFO ในโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS (IFFO RS Improvers Program)http://www.iffo.net/node/493 ซึ่งเป็นโครงการตรวจสอบอิสระเพื่อสนับสนุนให้คู่ค้าทุกรายของเรานำกลไกที่ปรับปรุงการทำงานของตนมาใช้เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎระเบียบ ขั้นตอนที่ต้องทำก่อนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของโครงการผู้ปรับปรุง IFFO RS อย่างเป็นทางการคือคู่ค้าต้องได้รับมาตรฐานการรับรองการผลิตที่ดี (GMP) และการเป็นคู่ค้าที่รับผิดชอบwww.gmpplus.org ก่อน

ในเดือนนี้ โรงงานบ้านบึงของซีพีเอฟจะเป็นโรงงานอาหารสัตว์แห่งแรกในเอเชียที่จะได้รับการรับรอง IFFO RS CoC (Chain of Custody) ผ่านคู่ค้าปลาป่นรายหนึ่งของเรา และภายใน 3 ปี โรงงานแห่งนี้ตั้งเป้าว่าจะใช้ปลาป่น 100% จากคู่ค้าผู้ได้รับการรับรองมาตรฐาน IFFO RS ตามพันธะสัญญาที่เราทำไว้ในแผน 10 ประการของเรา


การทำงานกับรัฐบาลไทย

เราเป็นผู้ผลิตรายใหญ่รายเดียวในเอเชียที่ทำงานกับรัฐบาลไทย (กรมประมง) เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายประมง โดยได้มีการประชุมอย่างเป็นทางการกับหน่วยงานรัฐตลอดปี 2013 และในไตรมาสแรกของปี 2014 ขณะนี้ กฎหมายใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงอยู่ระหว่างการพิจารณาของรัฐสภา


การผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมง – แถบอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ผู้แปรรูปอาหารทะเลไทยรายสำคัญ 8 ราย*ลงนามในบันทึกเพื่อความเข้าใจ (MOU) (เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014) พร้อมโครงร่างแผนที่นำทางเพื่อการพัฒนาการประมงไทยอย่างยั่งยืน ซึ่งงานนี้จะมีการนำประเด็นสังคมว่าด้วยการใช้แรงงาน “ทาส” ที่ถูกกล่าวหามาแก้ไขด้วย ขณะนี้ ผู้แปรรูปกำลังจัดทำแผนปรับปรุงการทำประมง (Fishery Improvement Plan – FIP) สำหรับอ่าวไทยและทะเลอันดามัน แต่จำเป็นต้องมีเงินทุน c$500,000 ดอลลาร์เพื่อว่าจ้าง Sustainable Fisheries Partnership (SFP) http://www/sustainablefish.orgและองค...สากล (WWF) http://www.wwf.or.th/en/ซึ่งมีทั้งทั...ึกษา ซีพีเอฟอยู่ระหว่างการระดมทุนก้อนแรก


*สมาคมอาหารสัตว์ไทย สมาคมประมงแห่งชาติ สมาคมประมงไทยต่างประเทศ สมาคมผู้ผลิตปลาป่นประจำประเทศไทย สมาคมอาหารแช่แข็งไทย สมาคมกุ้งไทย สมาคมอุตสาหกรรมปลาทูน่าไทย และสมาคมผู้แปรรูปอาหารไทย


การที่บริษัทเข้าไปเกี่ยวข้องกับหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน


หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียนติดต่อบริษัทเพื่อสอบถามแผนความยั่งยืนโดยทั่วไปของเรา ซึ่งบริษัทตัดสินใจจะสื่อสารกับหนังสือพิมพ์ ด้วยเข้าใจว่าในฐานะเป็นหนังสือพิมพ์ที่รับผิดชอบ บริษัทหวังว่าเดอะการ์เดียนจะช่วยสร้างความตระหนักรู้ที่จำเป็นในงานที่บริษัทกำลังทำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เกี่ยวกับแผนปรับปรุงการทำประมงที่ทั้ง SPF และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ


ระหว่างการติดต่อสื่อสาร บริษัทส่งคำตอบให้กับคำถามต่างๆ ของหนังสือพิมพ์ รวมทั้งสถิติการส่งออกมหภาคและรายละเอียดการกำกับดูแลห่วงโซ่อาหารในขณะนี้ของเรา ข้อมูลคู่ค้าปลาป่นและความคืบหน้าที่ดีในการควบคุมการจัดซื้อปลาป่นของเราให้เข้มงวดขึ้น หนึ่งในตัวอย่างคืองานที่เรากำลังทำกับ IFFO เพื่อผลักดัน “โครงการ IFFO RS Improvers Chain of Custody”


อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าหนังสือพิมพ์ได้ตัดสินใจไปแล้วว่าจะเจาะประเด็นแรงงานทาสเพียงประเด็นเดียวโดดๆ โดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ว่าเรื่องนี้เกี่ยวโยงกับแผนปรับปรุงการทำประมงโดยรวม


หนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน สามารถช่วยได้ด้วยการเขียนข่าวโดยมีบริบทผูกโยงกับงานที่ซีพีเอฟกำลังทำ แต่หากหนังสือพิมพ์เลือกที่จะแค่ตั้งเป้าไปที่ผู้ค้าปลีกที่ถูกกล่าวหาว่าใช้แรงงานทาสอย่างที่กำลังทำอยู่ งานของเราก็จะยิ่งยากขึ้น เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องของทั้งอุตสาหกรรม


ซีพีเอฟมีทางเลือก เราสามารถเลือกที่จะไม่ใช้ปลาป่นอีกต่อไป ทั้งนี้ เราได้พัฒนาโปรตีนซึ่งสามารถนำมาใช้แทนปลาป่น และเรามีพันธะสัญญาที่จะทำเรื่องนี้ให้สำเร็จภายในปี 2021 หากจำเป็น (แผน 10 ประการของซีพีเอฟ)


หรือเราสามารถเลือกที่จะทำสิ่งที่ถูกต้องต่อไปและประพฤติตัวด้วยความรับผิดชอบด้วยการใช้พลังและศักยภาพของเราเพื่อผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีกว่าเดิม


สิ่งที่เราทำกำลังคืบหน้าไปด้วยดี แต่ขณะนี้เรายืนอยู่บนจุดหักเห เราสามารถเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลยและเฝ้าดูปัญหาสิ่งแวดล้อมและสังคมพวกนี้ทำลายน่านน้ำรอบประเทศไทยรวมทั้งอุตสาหกรรมประมงในอีกหลายรุ่นข้างหน้า หรือไม่เราสามารถช่วยผลักดันแผนปรับปรุงการทำประมงที่ SFP และองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล นำเสนอ


นอกเหนือจากที่ซีพีเอฟได้ออกเงินสนับสนุนไปแล้ว ขณะนี้เราอยู่ระหว่างการพัฒนาแผนเพื่อระดมทุน ในการนำเงินไปใช้ในการจัดทำแผนและกิจกรรมที่เหมาะสมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมนี้เพื่อความยั่งยืน


ข้อมูลจาก....ผู้จัดการออนไลน์ ประจำวันที่ 13 มิย. 57
http://www.manager.co.th/Home/ViewNe...=9570000066612

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #48  
เก่า 11-12-2014
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



ประมงไทยปะทะบทโหดมะกัน-อียู


โดย ทีมข่าวเศรษฐกิจ 11 ธ.ค. 2557 06:01







ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า ในปี 2558 จะเป็นปีลุ้นระทึกสำหรับอุตสาหกรรมประมงและการส่งออกสินค้าประมงไทย เพราะมีอุปสรรคใหญ่ในตลาดหลักคือยุโรปและสหรัฐฯ ที่มีมูลค่าตลาดรวมกันประมาณ 76,000 ล้านบาท หรือกว่า 30% ของการส่งออกประมงปีละกว่า 200,000 ล้านบาท โดยตลาดยุโรปมูลค่าประมาณ 32,000 ล้านบาท มีการยกเลิกสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ทำให้กุ้งไทยแข่งขันได้ลำบาก นอกจากนี้ ยังต้องจับตาสหภาพยุโรป (อียู) ที่อาจออกมาตรการกีดกันสินค้าไทยเพิ่มเติม โดยใช้กฎระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้านและขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) ซึ่งล่าสุดอียูได้แจ้งเตือนผ่านทางสำนักงานที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตรประจำกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม ว่า พบว่าไทยยังดำเนินการได้ไม่เข้มงวด โดยให้เวลาแก้ไขปรับปรุงให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน ซึ่งใกล้ครบกำหนดแล้ว หากไทยไม่สามารถปฏิบัติได้ตามเงื่อนไขอาจถูกอียูออกใบแดง หรือมาตรการงดนำเข้าสินค้าประมงจากไทยทั้งหมด ซึ่งขณะนี้กระทรวงเกษตรฯพยายามแก้ไขปัญหานี้ โดยเร่งออกกฎหมายควบคุมกิจกรรมการประมง และการติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนลำละประมาณ 40,000 บาท จากเรือประมงพาณิชย์และเรือประมงนอกน่านน้ำที่ขึ้นทะเบียนไว้ทั้งสิ้นประมาณ 8,500 ลำ

สำหรับตลาดสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 44,000 ล้านบาท ยังต้องติดตามผลกระทบจากกรณีสหรัฐฯประกาศให้จัดอันดับสถานการณ์การค้ามนุษย์ในไทยให้ลงไปอยู่ในระดับเทียร์ 3 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุด ซึ่งไทยมีเวลาดำเนินการแก้ไขในปีหน้า แม้ว่าการจัดอันดับการค้ามนุษย์ประเทศต่างๆ ตามกฎหมายของสหรัฐฯ จะไม่มีมาตรการสั่งห้ามนำเข้าสินค้า แต่กรณีนี้สินค้าประมงจากไทย จะมีภาพลักษณ์ที่เสียหายในสายตาของผู้บริโภคในสหรัฐฯ.


ข้อมูลจาก....http://www.thairath.co.th/content/468416
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 11-12-2014 เมื่อ 16:43
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #49  
เก่า 25-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



อียูแจกใบเหลือง ! เตือนไทยครั้งสุดท้าย ขีดเส้น 6 เดือน แก้ประมงเถื่อน

โพสต์เมื่อ : 22 เมษายน 2558 เวลา 08:19:40





อียูแจกใบเหลือง ! เตือนไทยครั้งสุดท้าย ขีดเส้น 6 เดือน แก้ประมงเถื่อน

อียูแจกใบเหลือง ! เตือนไทยครั้งสุดท้าย ขีดเส้น 6 เดือน แก้ประมงเถื่อน


กระทรวงการต่างประเทศ แถลงผิดหวังอียูแจกใบเหลืองไทย พร้อมขีดเส้นตาย 6 เดือน แก้ปัญหาประมงเถื่อน ขู่ถ้าแก้ไม่ได้ส่อระงับการนำเข้าอาหารทะเล สูญกว่า 3 หมื่นล้านบาท

เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) ได้เผยแพร่เอกสารแถลงข่าวแจ้งว่า ที่ประชุมได้ลงมติภาคทัณฑ์ หรือให้ใบเหลืองกับประเทศไทย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกอาหารทะเลรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก เพื่อแจ้งเตือนไทยอย่างเป็นทางการต่อกรณีที่ยังไม่มีมาตรการเพียงพอตามกฎระเบียบว่าด้วยการป้องกัน ต่อต้าน และขจัดการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไร้การควบคุม หรือกฎระเบียบ (ไอยูยู) ทั้งนี้ไทยมีเวลาอีก 6 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหากิจการประมงผิดกฎหมาย



อียูแจกใบเหลือง ! เตือนไทยครั้งสุดท้าย ขีดเส้น 6 เดือน แก้ประมงเถื่อน

ทั้งนี้ สำนักข่าวเอพี รายงานเพิ่มเติมโดยอ้างคำพูดแหล่งข่าวว่า การเตือนครั้งนี้ของอียูจะเป็นการแจ้งเตือนครั้งสุดท้าย หากไทยถูกอียูสั่งห้ามนำเข้าสินค้าประมงจริง ไทยจะสูญเสียรายได้เกือบ 30,000 หมื่นล้านบาทต่อปี

ขณะที่ นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า จากการออกหน่วยเคลื่อนที่แบบเบ็ดเสร็จ 112 หน่วยใน 23 จังหวัดชายทะเล เพื่อรับจดทะเบียนและออกใบอนุญาตทำการประมงให้กับเรือประมงไทย พบว่า ขณะนี้มีเรือประมงเข้ารับการจดทะเบียนใหม่ จำนวน 4,243 ลำ และสามารถออกอาชญาบัตรการทำประมงได้ จำนวน 12,455 ลำ โดยมีเรือประมงที่จดทะเบียนรวมทั้งหมด 50,710 ลำ และเรือประมงมีใบอนุญาตทำการประมง รวม 28,364 ลำ

ส่วนความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) กรมประมง ได้ดำเนินการจัดตั้งศูนย์ควบคุมเฝ้าระวัง จำนวน 18 ศูนย์ และเตรียมจัดตั้งศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกของเรือประมงอีก 26 ศูนย์ เพื่อทำหน้าที่รับแจ้งและตรวจสอบเรือประมงผิดกฎหมายต่อไป




อียูแจกใบเหลือง ! เตือนไทยครั้งสุดท้าย ขีดเส้น 6 เดือน แก้ประมงเถื่อน


ทั้งนี้ในเวลาต่อมา กระทรวงการต่างประเทศ ได้ออกแถลงชี้แจงถึงเรื่องที่คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) แจกใบเหลืองไทย โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. ไทยรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจออกประกาศเตือนดังกล่าวซึ่งสะท้อนว่า อียู มิได้ตระหนักถึงความมุ่งมั่นและความก้าวหน้าที่เป็นรูปธรรมของไทยในการแก้ปัญหา ไอยูยู รวมถึงความร่วมมือระหว่างไทยกับ อียู ในการต่อต้าน การประมง ไอยูยู ที่มีมายาวนาน

2. ไทยเรียกร้องให้ อียู พิจารณาการดำเนินการของไทยในเชิงเทคนิคตามหลักเกณฑ์และมาตรฐานที่มีความโปร่งใสและเที่ยงตรง อย่างไม่เลือกปฏิบัติ และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่แท้จริงในไทย

3. ไทยจะสานต่อความร่วมมือกับ อียู เพื่อให้ไทยออกจากกลุ่มที่ถูกประกาศเตือน รวมทั้งสามารถแก้ไขและป้องกันการทำประมงแบบ ไอยูยู ต่อไปในอนาคตได้อย่างยั่งยืน

รัฐบาลไทยตระหนักถึงความสำคัญในการรักษาทรัพยากรทางทะเลและกำหนดให้การแก้ไขปัญหาการประมงแบบไอยูยูเป็นปัญหาสำคัญระดับชาติที่ต้องแก้ไขโดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะหน่วยงานหลักได้เป็นผู้นำในการบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งดำเนินการตามแผนงานหลัก6แผนงานให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง ได้แก่

(1) การปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและกฎหมายลำดับรอง

(2) การจัดทำแผนระดับชาติในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทำประมง ไอยูยู

(3) การเร่งจดทะเบียนเรือประมงและออกใบอนุญาตทำการประมง

(4) การพัฒนาระบบควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง โดยเฉพาะการควบคุมการเข้า-ออกท่าของเรือประมง

(5) การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ (Vessel Monitoring System - VMS)

(6) การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability)




ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ การรักษาทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน และการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำประมงเป็นวาระสำคัญของรัฐบาลนี้ และรัฐบาลจะยังคงดำเนินการอย่างแข็งขันในการแก้ปัญหาภายใต้การนำของผู้นำระดับสูงต่อไป

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #50  
เก่า 25-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

'ประวิตร' ยันไม่ใช้ ม.44 แก้ 'อียู' ใบเหลืองประมงไทย

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 23 เม.ย. 2558 14:12




"ประวิตร" เรียกถกแก้ปัญหา "อียู" แจกใบเหลืองประมงไทย ยันไม่จำเป็นต้องใช้ ม.44 เตรียมออก พ.ร.ก. แก้ปัญหา ตั้งเป้า 3 เดือนปัญหาจบ และจะได้ใบเขียวภายใน 6 เดือน ...

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 เม.ย. ที่อาคารรับรองเกษะโกมล พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคงและ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) หลังจากสหภาพยุโรป หรืออียู ประกาศให้ใบเหลืองไทยด้านการประมงที่ผิดกฎหมาย โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ พล.อ.สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์ รมว.แรงงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงแรงงาน ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงคมนาคม ผบ.ทร. ผบ.ตร. กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าร่วมประชุม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหานั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเสนอที่ประชุมให้ออกพระราชกำหนด โดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 21 ซึ่งจะเป็นกฎหมายที่ควบคุมในเรื่อง IUU โดยตรง และควบคุมการทำประมงนอกน่านน้ำของเรือประมงไทย ทั้งในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศและในทะเลหลวง เพื่อให้ทันก่อนที่อียูจะมาตรวจสอบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาในเดือนพฤษภาคมนี้ และยังเป็นการอุดช่องว่างระหว่างที่รอราชกิจจานุเบกษา ประกาศแก้ไข พ.ร.บ.ประมง ซึ่งจะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน หลังวันประกาศ

ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร ได้กล่าวในที่ประชุมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญ และมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ซึ่งเป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมานาน ขณะที่หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเอกชนและประชาชน ต่างก็ให้ความร่วมมือที่จะเร่งแก้ไขปัญหาให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว มิฉะนั้น จะกระทบกับอุตสาหกรรมประมงในประเทศได้ ทั้งนี้ อยากขอความร่วมมืออุตสาหกรรมประมง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง ขณะที่ประชาชนเองก็เป็นส่วนสำคัญ ที่จะให้การสนับสนุนภาครัฐ เมื่อเห็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง จะต้องรีบแจ้งโดยทันที

จากนั้น พล.อ.ประวิตร ให้สัมภาษณ์หลังการประชุมว่า เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาประชุมเพื่อทำความเข้าใจ ทั้งนี้ การที่เราโดนใบเหลืองไม่มีปัญหา เราจะต้องร่วมมือกับทางอียูว่า อะไรบ้างที่เรายังทำไม่สมบูรณ์ ซึ่งเราก็ทราบแล้วว่า ทางอียูต้องการกฎหมายที่มองว่ายังไม่เป็นไปตามหลักสากล และยังไม่เป็นไปตามที่เขาต้องการ ตลอดจนเรื่องการติดตามเรือ การตรวจสอบ คือเรายังทำไม่ครบและไม่เป็นไปตามกำหนดเวลา และเราก็ไม่ได้คาดคิดว่าเขาจะให้ใบเหลืองกับเรา เพราะที่ผ่านมาเราได้ทำอะไรไปมาก แต่เมื่อเขาแจ้งมาทั้งหมด ซึ่งเราก็ทำ แต่ยังไม่เป็นไปตามหลักสากล หรืออย่างที่อียูต้องการ ประเทศอื่นๆ ที่เคยประสบปัญหาเหมือนเรา แต่เขาแสดงเจตจำนงชัดเจนว่า เขาจะดำเนินการอย่างไรในอนาคต ซึ่งเรื่องต่างๆ เหล่านี้ ตนได้ทำความเข้าใจกับหน่วยงานทั้งหมดว่าเราจำเป็นต้องแก้ไข และต้องทำให้ได้ทั้งหมด และตกลงกันได้แล้วว่า ทุกส่วนจะไปดำเนินการในเรื่องกฎหมาย การออกของประมง การทำประมงผิดกฎหมาย การติดตามเรื่องจีพีเอส ทั้งเรื่องเรือประมงย้อนกลับว่าจะทำอย่างไร ซึ่งเราจะดำเนินการทั้งหมด

พล.อ.ประวิตร กล่าวต่อว่า เรามีความจำเป็นต้องจัดตั้งชุดเฉพาะกิจ เพื่อทำหน้าที่ไปชี้แจงกับอียู ได้รับทราบว่า เราทำอะไรไปบ้าง โดยเฉพาะในส่วนเรือที่จะออกท่า เราจะตั้งจุดเฉพาะกิจใน 22 จังหวัด ในห้วงระยะเวลา 2 เดือน อย่างไรก็ตาม จะมีการเรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งชุดเฉพาะกิจมาประชุมทุกสัปดาห์ เพื่อติดตามความคืบหน้า

"ผมมั่นใจว่าเราจะได้ใบเขียวภายใน 6 เดือนข้างหน้า ถ้าเราดำเนินตามที่อียูต้องการ เพราะผมตั้งเป้าไว้ว่า 1 เดือน เราต้องมีความชัดเจน และ 3 เดือน การแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวต้องจบ ทั้งนี้ ทางอียูจะเดินทางมาตรวจสอบความคืบหน้าในเดือน พ.ค.นี้ ซึ่งเรามีความชัดเจนในการแก้ปัญหาเตรียมให้เขาดูแล้ว ซึ่งผมไม่หนักใจอะไร เราพร้อมให้ความร่วมมือกับอียูทุกเรื่อง" พล.อ.ประวิตร กล่าว

เมื่อถามว่า จะใช้พระราชกำหนด หรือมาตรา 44 ในการออกกฎหมายแก้ไขปัญหา พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า มาตรา 44 คงไม่ใช้ ถ้าเราออก พ.ร.บ.ไปแล้ว และไม่ได้ ก็ต้องออกกฎหมายลูก เพื่อให้เกิดความครอบคลุม ถ้ากฎหมายลูกยังไม่พอ ก็ออกเป็นพระราชกำหนดได้อีก เมื่อถามย้ำว่าจะใช้พระราชกำหนดแทนใช่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ใช้พระราชกำหนดได้ เพราะมาตรา 44 เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงในอนาคต และเราจะใช้เมื่อจำเป็น ตอนนี้ไม่มีความจำเป็น เพราะเรามีกฎหมายตัวอื่นอยู่ ส่วนการแต่งตั้งชุดเฉพาะกิจชี้แจงกับอียูนั้น ตนจะแต่งตั้งเอง ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือ รมว.ต่างประเทศ ก็ได้ ตลอดจนถึงปลัดกระทรวงต่างๆที่เกี่ยวข้อง

เมื่อถามว่า ห่วงเรื่องปัญหาการค้ามนุษย์ของไทยที่ภายหลังสหรัฐอเมริกาลดระดับให้อยู่ใน เทียร์ 3 หรือไม่ พล.อ.ประวิตร กล่าวว่า ต่อไปเราจะมีหารือกันในเรื่อง เทียร์ 3 เพราะที่ผ่านมา เราได้ส่งเอกสารชี้แจงไป 2 ครั้งแล้ว ซึ่งอาจจะมีปัญหาในเรื่องการจับกุม การดำเนินคดี ซึ่งมีผลต่อการจัดอันดับ เราต้องเรียกประชุมใหม่ว่าจะดำเนินการอย่างไร เพื่อให้เกิดความเหมาะสม และให้เกิดความมั่นใจว่าทางสหรัฐฯ จะลดจากเทียร์ 3 เป็นเทียร์ 2.
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:23


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger