#41
|
||||
|
||||
มองออกไปขอบอ่าวที่เป็นเทือกเขาต่อกันยาว โค้งเป็นครื่งวงกลม มองเห็นเกาะใหญ่ตั้งอยู่กลางทะเลสีเขียวมรกต ด้านขวาไกลออกไป มองเห็นเกาะไข่ และเกาะง่ามน้อย - ง่ามใหญ่อยู่ไกลๆ
ระหว่างโค้งเขากับเกาะใหญ่ เราเห็นเกาะเล็กๆลอยอยู่กลางทะเล ดูลักษณะภูมิประเทศแวดล้อมและลักษณะของเกาะแล้ว เราก็จำได้ว่า นั่นคือ "เกาะร้านเป็ด" และเกาะใหญ่หน้าอ่าวทุ่งมหานี่เอง ที่เรามักจะมาจอดเรือหลบลม ทุกครั้งที่เรามาดำน้ำที่เกาะร้านเป็ด และเกาะร้านไก่.... ถ้ามีร้านดำน้ำมาตั้งอยู่ที่อ่าวทุ่งมหา.... หรือเรามาขึ้นเรือที่อ่าวทุ่งมหาได้ การไปดำน้ำที่เกาะร้านเป็ด และเกาะร้านไก่ จะใช้เวลาเพียงน้อยนิด และแสนจะสดวกสบาย มีอ่าวให้เราหลบคลื่นลมได้อย่างปลอดภัย ดีกว่าที่จะเดินทางตรงมาจากชุมพรเสียอีกนะคะ มีใครคิดจะไปตั้งร้านดำน้ำที่อ่าวทุ่งมหาไหมคะ....สองสายจะได้ไปอุดหนุน...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 06:28 |
#42
|
||||
|
||||
ตามพี่สองสายมาทัวร์ชุมพรต่อนะครับ .. เพลินดีจังเลย แถมได้ความรู้ัอีกด้วย
__________________
If we see the hearts of others, peace will follow You may say I'm a dreamer .. but I'm not the only one: John Lennon |
#43
|
||||
|
||||
ขอบคุณจ้ะน้องปี๊บ.... พรุ่งนี้จะพาเที่ยวต่อจ้ะ....คืนนี้ขอไปนอนก่อนนะจ๊ะ...
__________________
Saaychol |
#44
|
||||
|
||||
โพสของตัวเองเรียบร้อยแล้วขอมาเกาะเป็นเหาฉลามติดพี่สายชลไปด้วยคนครับ
|
#45
|
||||
|
||||
ไปเลยค่ะ....ตามไปเที่ยวด้วยกันต่อเลยค่ะน้องkeng@sk.....
__________________
Saaychol |
#46
|
||||
|
||||
ไปค้นหาข้อมูลของอ่าวทุ่งมหา ใน Google ได้พบว่า ที่อ่าวทุ่งมหานี้ มีปราชญ์ชาวบ้านที่มีชื่อเสียงอยู่ด้วยท่านหนึ่ง เชิญอ่านดูนะคะ จาง ฟุ้งเฟื่อง ปราชญ์ชาวบ้าน นักอนุรักษ์ปูม้า แห่งอ่าวทุ่งมหา ที่มา http://www.santirat.net "ถ้าอยากรู้เรื่องปู ต้องมาดูลุงจาง" สโลแกนประจำตัวของประธานธนาคารปู จาง ฟุ้งเฟื่อง เฒ่าทะเลวัย 70 ปี แห่งบ้านเกาะตืบ ต.ปากคลอง อ.ปะทิว จ.ชุมพร ผู้มีความสุขอยู่กับการอนุรักษ์พันธุ์ปู ที่มีจำนวนลดน้อยลงทุกวัน ให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น วิธีการนี้ขยายไปสู่ฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน นับเป็นปราชญ์ชาวบ้านที่น่ายกย่อง ภาพจาก http://share.psu.ac.th/blog/coasta-activities/6979 ฟื้นฟูคู่อนุรักษ์ รู้จักใช้อย่างยั่งยืน มันก็คล้ายๆ กับการฝากเงิน-ถอนเงินของธนาคาร แต่เปลี่ยนมาเป็นการฝากแม่ปูและจับปูแทน ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ธนาคารปู ส่วนดอกเบี้ยก็คือ ลูกปู ที่ปล่อยลงทะเล ถึงเวลาก็ไปจับขึ้นมาขาย เป็นรายได้ของชาวบ้าน ส่วนแม่ปูที่ไข่หลุดจากกระดอง ก็เอาไปขายนำเงินเข้าเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกในกองทุนต่อไป คนในวัย 70 คงถึงเวลาแก่การพักผ่อน มีความสุขอยู่กับลูกหลาน หลังต้องตรากตรำทำงานหนักมาค่อนชีวิต แต่สำหรับ ลุงจาง ฟุ้งเฟื่อง เฒ่าทะเลแห่งอ่าวทุ่งมหา เจ้าของแนวคิดธนาคารปู กลับมีความสุขอยู่กับการอนุรักษ์พันธุ์ปู ที่มีจำนวนลดน้อยลงทุกวัน ก่อนแนวคิดนี้จะแพร่กระจายไปสู่หลายพื้นที่ ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ลุง จางได้ริเริ่มก่อตั้ง ธนาคารปู เมื่อปี 2545 หลังทะเลที่ทำกินอยู่เกิดวิกฤติหนัก หลังจากที่มีเรือประมงขนาดใหญ่ลักลอบเข้ามาหากินบริเวณชุมชนเกาะเตียบ อ่าวทุ่งมหา โดยเรือที่ว่าใช้ลอบที่มีขนาดตาถี่เกินไป หรือที่ชาวเลรู้จักกันดีว่าลอบ 1 นิ้ว 2 หุน แทนที่จะได้ปูตัวใหญ่อย่างเดียว แต่กลับลากลูกปูที่อยู่ในวัยอนุบาลขึ้นมาด้วย จากจำนวนปูม้าที่เคยจับได้อย่างเป็นกอบเป็นกำก็เริ่มลดจำนวนลงอย่างรวด เร็ว... เพียงหนึ่งปีภายหลังเกิดวิกฤติ ลุงจางจึงออกไปพูดคุยกับชาวบ้านเพื่อรวบรวมสมาชิกสำหรับจัดตั้งเป็นกลุ่ม ได้รับความสนใจดีทีเดียว แต่ติดปัญหาที่ขาดแหล่งเงินทุน ในการทดลองและจัดซื้ออุปกรณ์ ลุงจึงเข้าไปปรึกษากับหน่วยงานประมงในจังหวัดชุมพร แม้จะเข้าไปท่ามกลางความกลัว เนื่องจากไม่แน่ใจว่าหน่วยงานจะเชื่อใจหรือไม่ เพราะไม่เคยมีคนใช้วิธีแบบนี้มาก่อน แต่ทุกอย่างก็ผ่านไปด้วยดีหลัง ทุกอย่างพร้อมลุงจางจึงเริ่มลงมือ เวลาผ่านไปไม่นานก็เห็นผลงาน เมื่อพบว่าจำนวนลูกปูมากขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ความสำเร็จก็เป็นรูปธรรมมากขึ้น จากที่วันหนึ่งๆ แทบจะจับปูไม่ได้เลย แต่ภายหลังมีโครงการธนาคารปู จำนวนปูม้าก็ขยายตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยความอุตสาหะดังกล่าวทำให้ลุงจาง ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นคนดีศรีชุมพรในปี 2549 และคว้ารางวัลชนะเลิศคนดีทำงานเพื่อสังคมดีเด่นจากบริษัท กรุงเทพประกันภัย ในปีเดียวกัน ผลงานเป็นที่ประจักษ์จนกล้าเอ่ยปากได้ว่า "ถ้าอยากรู้เรื่องปู ต้องมาดูลุงจาง" 0 อะไรเป็นแรงบันดาลใจในการก่อตั้งธนาคารปู จริงๆ แล้ว ในอดีตอ่าวทุ่งมหานี้ปูม้าประมาณ 80-92 เปอร์เซ็นต์ แต่พอในปี 2544 ปูม้าเริ่มหายไป ชาวบ้านอยู่ไม่ได้ คนอื่นก็หันไปทำอย่างอื่น ผมก็มานอนคิดว่าทรัพยากรตัวนี้เราใช้มากเกินไป โดยที่เราไม่ได้เหลียวแลเลย บังเอิญได้ยินสมเด็จพ่อของเราท่านพูดไว้ว่าทรัพยากรยังมีอยู่ ถ้าเรารู้จักใช้ รู้จักดูแล ตรงนี้เขาจะอยู่กับเราอย่างยั่งยืน ผมก็มาคิดตรงนี้ว่า ที่ผ่านมาเราไม่ได้ดูแลเขาเลย มีแต่จับอย่างเดียว ก็เลยมาปรึกษากับผู้ใหญ่ว่าจะทำอย่างไรจะให้ชาวบ้านช่วยกันอนุรักษ์และขยาย พันธุ์ปูเพิ่มขึ้น ผู้ใหญ่ก็อนุเคราะห์กระชังมาให้ลูกหนึ่ง ต่อมาศูนย์วิจัยประมง จ.ชุมพร ได้เข้ามาดูแลช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ จากนั้นในปี 2547 อบต.บ้านปากคลอง ก็มาสร้างอาคารศึกษาดูงานให้ 1 หลัง 0 ที่ผ่านมามีปัญหาและอุปสรรคอะไรบ้าง เริ่ม ก่อตั้งกลุ่มเมื่อปี 2545 ตอนนั้นมีสมาชิก 4 คนก็บอกว่าทุกคนขอให้เอาแม่ปูมาฝากกับธนาคาร ผมเป็นประธานกลุ่ม เมื่อตกลงกันแล้วสมาชิกก็เอามาฝากไว้กับผม วันละตัว ทุกวันนี้นี้ผมจะเอาแม่ปูไปเลี้ยงในกระชังทุกวัน ช่วงแรกเราขอคนละตัว คุณได้ 4-5 ตัวเราขอวันละตัว เพื่อเสียสละนำร่อง เรามองว่าถ้าเราเอาของเขามาก เขาไม่ร่วมกับเราแน่ เพราะวิธีการอย่างนี้มันไม่มีที่ไหนทำ คนที่ไม่ร่วมกับเรา เขาพูดกันว่าลุงจางมันบ้า เพราะว่าถ้าโครงการนี้ดี ไม่ตกมาถึงมือผม มีคนทำหมดแล้ว ผมถามว่ามีคนที่คิดตรงนี้สักกี่คนถ้าเราไม่ทำ เราไม่ลอง เราก็ไม่รู้ ผมประกาศในกลุ่มว่าใครจะทำไม่ทำ ผมไม่ว่า แต่ผมจะทำ แม้จะมีผมคนเดียวก็จะทำ ผมตั้งปณิธานไว้อย่างนั้น คุณเอ๊ยมันมีอุปสรรคมาก ในช่วงแรกๆ คนเขาไม่ค่อยเห็นด้วย 0 กลุ่มวางกฎระเบียบไว้อย่างไร กฎที่วางไว้คือ1.ลอบที่ใช้ต้องใช้ ลอบตาห่าง 2.5 นิ้ว เพื่อให้ปูที่ตัวเล็กหรือปูที่กำลังเติบโตมีโอกาสหลุดรอดออกไปแพร่พันธุ์ 2.สมาชิกที่จะจับปูม้าในเขตอ่าวทุ่งมหา หรือเกาะเตียบนั้นจะต้องทำตามกติกาที่วางไว้ คือ นำแม่ปูมาฝากไว้เท่าไร ก็จับปูม้าได้แค่นั้น คือยิ่งฝากแม่ปูมาก ก็ยิ่งจับปูม้าได้มากขึ้น มันก็คล้ายๆกับการฝากเงินถอนเงินของธนาคาร แต่เปลี่ยนมาเป็นการฝากแม่ปูและจับปูแทน ก็เลยเป็นที่มาของชื่อ ธนาคารปู ส่วนดอกเบี้ยก็คือลูกปูที่ปล่อยลงทะเลให้มันเติบใหญ่ถึงจะไปจับขึ้นมาขาย เป็นรายได้ของชาวบ้านต่อไป ส่วนแม่ปูไข่ที่ชาวบ้านนำมาฝากไว้ ผมก็นำไปเลี้ยงต่อประมาณ 7 วัน จนไข่แม่ปูหลุดจากกระดองไปแล้ว ก็จะนำแม่ปูของสมาชิกที่ฝากไว้ไปขายเพื่อนำเงินที่ได้เข้ากองทุนธนาคารปู ซึ่งขณะนี้ฝากไว้ที่ ธ.ก.ส.สาขามาบอำมฤต ซึ่งเงินก้อนนี้จะนำมาเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกกองทุน 0 ทำไมทำเฉพาะปูม้า ปูอื่นก็ได้ครับแต่ขอ ปูม้าก่อน เพราะเป็นปูที่ขายได้ราคา ส่วนปูดำไม่มีวันหมด ตราบใดที่ยังมีป่าชายเลนสมบูรณ์ อย่างที่นี่ยังมีปูดำอีกมาก ตั้งแต่ป่าชายเลนสมบูรณ์นี่ ปูดำยั้วเยี้ยไปหมด แต่ราคาไม่ดีเท่าปูม้า 0 วางอนาคตโครงการธนาคารปูไว้อย่างไร ใน อนาคตให้สมาชิกได้สืบทอดเจตนารมณ์ต่อไปคือทำเรื่อยๆ อย่างที่ผมทำอยู่ทุกวันนี้ วันนี้อาจไหวอยู่ แต่ต่อไปคงทำเองไม่ไหว สมาชิกจะได้สานต่อไปได้ ทุกวันนี้ใครหรือหน่วยงานไหนจะมาขอแนวความคิด ขอการทำงาน ผมยินดีให้เป็นวิทยาทาน ตราบใดยังมีลมหายใจ ยังมีชีวิตอยู่ จริงๆ แล้วตรงนี้เป็นแนวความคิดของผมเอง มีฝรั่งจากเนเธอร์แลนด์มาดูงาน เขาก็ถามว่าลุงไปก๊อบปี้ใครมา ผมก็บอกว่าแนวทางนี้มีแต่คนมาก๊อบปี้ผม 0 คติประจำใจในการทำงานของลุง ถ้าคติ ประจำใจของผมก็คือฟื้นฟู คู่อนุรักษ์ รู้จักใช้อย่างยั่งยืน คือใช้ยังไงไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติหมดไป ตรงนี้ผมยึดมั่นเลย แล้วก็กลุ่มที่มาดูงานต่างๆ ถ้าคุณหาคำขวัญไม่ได้ ขอให้นำคำขวัญของผมใช้ คำขวัญผมนี่ไม่สงวนลิขสิทธิ์ (หัวเราะ) 0 มีความรู้สึกอย่างไรต่อรางวัลนี้ การทำงานของผมจริงๆไม่ได้ ตั้งเป้าหมายว่าจะได้รับรางวัล แต่การทำงานตรงนี้ทำเพื่อส่วนรวม การหวังรางวัลผมก็ไม่เคยหวังตรงนั้น แต่ขณะนี้ที่ผมได้รับรางวัลเมื่อปี 2549 รางวัลคนดีศรีชุมพร ก็ได้เข็มเกียรติยศ ป้ายประกาศเกียรติคุณ พออีกครั้งหนึ่งจากบริษัท กรุงเทพประกันภัย ก็มาให้รางวัลอีกในฐานะคนดีทำประโยชน์เพื่อสังคม เมื่อได้แล้ว มันก็ต้องดีใจ ทีนี้มาดีใจมากอีกครั้งหนึ่งเมื่อได้ไปประเทศญี่ปุ่น ขนาดญี่ปุ่นเรียกว่าประเทศพัฒนาแล้วเขายังสนใจโครงการของเรา แล้วเขาก็เชิญให้ผมเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับธนาคารปู ญี่ปุ่น แล้วก็มาครั้งนี้ที่จะให้ไปรับรางวัลแทนคุณแผ่นดิน (ในปี 2550 )ผมดีใจสุดๆ เหมือนกัน เพราะว่าคนทำความดี ความดีย่อมมาหา แต่จริงๆ เป้าหมายที่ผมทำโครงการธนาคารปูนั้น ผมพูดด้วยน้ำใสใจจริงว่าผมไม่ได้ทำเพื่อรางวัล แต่คนที่ทำความดีตรงนี้รางวัลมาหาเอง คิดว่าคนที่จะทำโครงการอะไรก็ตาม อย่าทำเพื่อหวังรางวัล ถ้าทำเพื่อหวังรางวัลถ้าผิดหวังจะเสียใจ ที่มา : หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ทำ ความรู้จักกับ "ธนาคารปู" http://share.psu.ac.th/blog/coasta-activities/6979 http://www.siangdek.com/index.php?la...414522&Ntype=3
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 06:29 |
#47
|
||||
|
||||
สายเลือดลูกน้ำเค็มของชาวประมงบ้านเกาะเตียบ ในอ่าวทุ่งมหา อ.ปะทิว จ.ชุมพร ทะเลเปรียบได้ดังบ้าน และขุมทรัพย์แห่งชีวิต ชาวบ้านบ้านเกาะเตียบแทบทุกหลังคาเรือนประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน การดักลอบปูม้าเป็นอีกหนึ่งอาชีพของคนที่นี่ ในวันที่อากาศปลอดคลื่นลมมรสุม เรือประมงพื้นบ้านออกไปวางลอบดักปูไว้กลางทะเลตั้งแต่เย็นวาน เช้าวันรุ่งขึ้นจึงกลับมากู้และกลับเข้าฝั่งพร้อมปูม้าและปูอื่นๆ ที่พร้อมต้มแกะเนื้อและส่งขาย วันนี้ทรัพยากรทางทะเลอย่างปูม้าใน อ่าวทุ่งมหาอุดมสมบูรณ์ ไม่นับเรื่องสภาวะอากาศช่วงมรสุมที่ชาวบ้านบอกว่าจะจับปูได้มากกว่าวันอื่นๆ ที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งคลื่นลมไม่แรง วางลอบตรงจุดไหนก็ติดปูม้าขึ้นมาทุกครั้ง นั่นเพราะชาวประมงที่นี่ตระหนักถึงการอนุรักษ์ฟื้นฟูปูม้าด้วยวิธีการที่ ยั่งยืน หลังจากเคยได้รับบทเรียนวิกฤตด้านทรัพยากรทางทะเลที่ร่อยหรอเมื่อปีพ.ศ.2544 จาง ฟุ้งเฟื้อง วัย 71 ปี ผู้เฒ่าแห่งท้องทะเลบ้านเกาะเตียบ ผู้ทำอาชีพประมงมาทั้งชีวิต ได้พบเห็นความเปลี่ยนแปลงทั้งดีและร้าย เคยเผชิญหน้ากับวิกฤตทรัพยากรทางทะเลในอ่าวทุ่งมหา ที่ร่อยหรอ จนกระทั่งส่งผลต่ออาชีพและรายได้ ลุงจางเล่าว่า "ปี 2544 ปูหายหมด เรียกว่าไม่มีให้เราขาย แค่มีพอบริโภคในครัวเรือน ตอนนั้นมีปัญหาเรืออวนลากเข้ามาหากินในทะเลบริเวณอ่าวทุ่งมหา เรือพวกนี้เขาใช้ลอบตาถี่ขนาด 1 นิ้ว 2 หุน เรียกได้ว่าเป็นลอบทำลายล้าง ทำให้สัตว์น้ำไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ติดอวนไปหมด อย่างปูตัวเต็มวัยก็ติดลอบ ปูตัวเล็กๆ วัยอนุบาลก็ติดมาด้วย ทำให้จำนวนสัตว์น้ำในอ่าวทุ่งมหาช่วงนั้นลดลงมาก ชาวประมงบางคนทำกินไม่ได้ก็ต้องย้ายถิ่น บางคนก็หันไปทำอย่างอื่น เดือดร้อนกันมาก" "ปี 45 ผมกับชาวบ้านก็อยู่ไม่ได้ เพราะเรามีอาชีพจับปูขาย ผมมานั่งคิดว่าเราจะมีวิธีไหนได้บ้างที่จะไม่ให้ปูหมดไปมากกว่านี้ ปูไข่นอกกระดองที่พร้อมจะวางไข่สืบพันธุ์ตัวที่เราจับมาได้ เราน่าจะลองเลี้ยงในกระชังกลางทะเลเพื่อให้ปูปล่อยไข่คืนสู่ทะเล ผมจึงหาเพื่อนสมาชิกผู้ทำอาชีพจับปูเหมือนกัน ทดลองเลี้ยงแม่ปูในกระชัง 1 ลูก หลังจากนั้นก็เพิ่มกระชังขึ้น ร่วมมือกันทำธนาคารปูขึ้น สมาชิกคนไหนจับปูมาได้ก็เอามาใส่กระชังรวมให้อาหารและเลี้ยงแม่ปูให้ปล่อย ไข่ให้หมด แล้วจึงคืนปูตัวนั้นๆ ให้เจ้าของนำไปขายต่อไป นอกจากจะทำ ธนาคารปู ผมยังรณรงค์ให้เพื่อนสมาชิกใช้ลอบตาห่างขนาด 2.5 นิ้ว มาใช้แทนลอบทำลายล้างอย่างลอบตาถี่ เพื่อเป็นมิตรต่อสัตว์น้ำทุกชนิดด้วย" ผล จากการอนุรักษ์ของลุงจางและชาวบ้านกลุ่มสมาชิกเห็นผลเป็นที่น่าพอใจ ปูม้าเพิ่มจำนวนมากขึ้น นับจากเริ่มต้นแนวคิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน รวมเวลากว่า 8 ปีแล้ว วันนี้ธนาคารปูม้าของลุงจากได้รับการตอบรับอย่างดี "คำขวัญของธนาคารปูคือ ฟื้นฟูคู่อนุรักษ์ รู้จักใช้อย่างยั่งยืน คำว่าฟื้นฟู หมายถึงว่าเราได้แม่ปูไข่นอกกระดองหรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ไข่ลากทราย เราจะนำมาใส่กระชังเพื่อให้แม่ปูวางไข่เพื่อขยายพันธุ์ ทีนี้เมื่อได้ลูกปูเยอะๆ แล้ว เราก็ต้องดูแลให้เขาเจริญเติบโต และเราต้องใช้เครื่องมือที่เป็นมิตรกับทรัพยากร เมื่อเราได้ทำอย่างนี้แล้วได้แม่ปูไข่นอกกระดองเราก็เอามาใส่ในกระชัง เมื่อใส่กระชังแม่ปูก็วางไข่ มันจะเป็นวัฏจักร เป็นลูกโซ่หมุน เรียกว่าใช้อย่างไม่มีวันหมด ใช้อย่างยั่งยืน" ส่วนเด็กรุ่นใหม่ ลูกหลานชาวเล หลานสาวของลุงจางอย่าง น้องเมย์ ด.ญ.เฟื่องฟ้า สกุลนุ่ม วัย 12 ขวบ เด็กน้อยก็ตระหนักถึงการร่วมกันดูแลทรัพยากรท้องทะเลเช่นกัน "ตา ของหนูทำธนาคารปูมานานแล้ว โดยเอาแม่ปูไข่ไปปล่อยในธนาคารให้มันวางไข่ตามธรรมชาติ" น้องเมย์เล่ารูปแบบการอนุรักษ์ของลุงจางและชาวบ้านคนอื่นๆ ปูม้าตัวเมียสีน้ำตาลไม่สดใสสีสวยด้วย กระดองสีฟ้าเหมือนตัวผู้ แต่สีสันของไข่นอกกระดอง หรือที่เรียกว่าไข่ลากทรายดึงความสนใจของเด็กๆ ได้ น้องดาว ด.ญ.มะลิวัลย์ ฟุ้งเฟื่อง วัย 8 ขวบ ติดใจในสีสันของไข่ปูที่เป็นสีส้ม ลูกทะเลอย่างน้องทราย มีความรู้เรื่องระยะไข่ปูด้วย เด็กหญิงบอกเสียงเจื้อยแจ้วถึงลักษณะและสีสันของไข่ปูตามช่วงเวลา ก่อนที่แม่ปูจะปล่อยไข่ว่า "แม่ปูมีไข่ทั้งหมด 4 สี สีเหลืองอยู่กับเรา 2 วัน สีส้มอยู่กับเราอีก 2 วัน สีเทาอยู่กับเราอีก 2 วัน สีดำอยู่กับเราอีก 1 วัน พอจับปูมาได้แล้วเอาไปปล่อยในธนาคาร ปล่อยเพื่อให้ไข่มันหลุดก่อน เป็นลูกมัน ตอนโตมันก็จะเป็นปูม้าค่ะ" เด็ก หญิงเล่าถึงช่วงเวลาแต่ละขั้นของสีไข่ปู ในช่วงเวลา 7 วันนี้แม่ปูไข่จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษจากเจ้าของกระชังแต่ละเจ้า เรือ ประมงแล่นออกจากฝั่งไม่ไกลนัก กระชังปูลอยอยู่กลางทะเลหลายลูก เมย์เล่ากิจวัตรของเจ้าของกระชังปูแต่ละคนให้ฟังว่า "เดี๋ยวนี้เขาจะ แยกกัน แต่บางคนก็เอากระชังไว้รวมกัน กระชังของบางคนก็อยู่ใกล้ๆ ฝั่งไม่ต้องออกไปไกล เวลาให้อาหารจะได้ไม่ต้องยุ่งยากค่ะ เวลากู้ลอบได้แม่ปูไข่มาเขาจะเอามาใส่ไว้ในกระชังของตัวเอง แล้วเขาจะเอาเหยื่อมาให้ปู อาหารที่มันชอบคือปลา แล้วก็ดูว่าตัวไหนออกไข่หมดแล้ว เขาก็จะจับไปขายต่อไปค่ะ บางคนก็เอาไปทีละตัว บางคนก็รอให้ออกไข่หมดพร้อมกันแล้วจับขึ้นไปพร้อมกันก็มีค่ะ" ไข่ปู ม้านับแสนฟองกำลังจะได้กลับคืนสู่บ้านแห่งท้องทะเล รอวันเติบโตเป็นปูม้าต่อไป เด็กๆ ลูกหลานชาวเลเข้าใจคุณค่าการมีอยู่ของทรัพยากรและข้อดีของการอนุรักษ์ที่ ยั่งยืน ข้อมูลจาก....http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=14747.0 (ขอขอบคุณไว้ ณ. ที่นี้ค่ะ)
__________________
Saaychol |
#48
|
||||
|
||||
น่าเสียดาย....ที่สองสายไม่ได้อ่านเรื่องราวของ "ลุงจาง ฟุ้งเฟื่อง ปราชญ์ชาวบ้าน นักอนุรักษ์ปูม้า แห่งอ่าวทุ่งมหา" ก่อนที่จะได้ไปทุ่งมหา มิฉะนั้นแล้ว เราจะดั้นด้นไปพบและพูดคุยกับลุงจางด้วยตัวเราเอง ซึ่งน่าจะได้ความรู้และความประทับใจมากยิ่งขึ้น...
อย่างไรก็ตาม....เราได้พบกับชายสูงอายุท่านหนึ่ง ซึ่งกำลังนั่งเตรียมอวนตาถี่เล็กๆอยู่บนระเบียงบ้านที่สร้างเป็นตึกใหม่เอี่ยมอย่างดีและสวยงาม เราถามท่านว่า..."อวนนี้จะนำไปทำอะไรจ๊ะ" คุณลุงเงยหน้ามามองเรายิ้มๆ แล้วตอบเราว่า "จะนำไปทำกระชังปู" จากนั้น...ก็ก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไปอย่างขมักเขม่น... แม้เราจะไม่พบลุงจาง....แต่คุณลุงที่ที่เราได้พบ ก็คงจะเป็นหนึ่ง ในผู้สืบสานแนวความคิดในเรื่องการทำธนาคารปูของคุณลุงจาง...ปราชญ์ชาวบ้านแห่งอ่าวทุ่งมหาท่านนั้น.... และผลจากการสืบทอดแนวความคิดนี้ ก็ทำให้มีปูให้จับมากขึ้น นำมาซึ่งรายได้ที่สูงขึ้น จนคุณลุงท่านนี้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบาย สามารถสร้างบ้านสวยงามไว้อยู่อาศัยได้ เราอยากรู้จริงๆ.....แล้วคุณลุงจางเจ้าของความคิดธนาคารปูล่ะ ชีวิตความเป็นอยู่ของท่านจะเป็นเช่นไร....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 06:41 |
#49
|
||||
|
||||
จากอ่าวทุ่งมหา....เป้าหมายต่อไปของเราอยู่ที่ เนินทรายมหัศจรรย์ ที่ได้ยินมาว่าอยู่บริเวณเขตแดนระหว่างอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร กับ บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์...
ก่อนที่จะเลี้ยวขวาเข้าไปทางเนินทรายมหัศจรรย์ เราบังเอิญมองไปทางซ้ายมือ เห็นป้าย "สถานีวิจัยสิทธิพรกฤดากร" ที่ร่มรื่นและสวยงาม ไม่แวะที่นี่ เห็นทีจะไม่ได้แล้วล่ะค่ะ....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 06:44 |
#50
|
||||
|
||||
คุ้นๆไหมคะกับชื่อ "สิทธิพรกฤดากร" ถ้าไม่คุ้น....แล้ว "แตงโมบางเบิด" ล่ะ.....คุ้นไหมคะ.... ถ้าไม่คุ้น....มาลองอ่านเรื่องนี้ดูนะคะ.... หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร....บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร (11 เมษายน พ.ศ. 2426 - 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514) พระโอรสในพระ เจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา เษกสมรสกับ เจ้าหญิงศรีพรหมา ณ น่าน ทรงได้รับการยกย่องเป็น บิดาแห่งการเกษตรแผนใหม่ หม่อมเจ้าสิทธิพร เสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษตั้งแต่ทรงพระ เยาว์ ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ ที่กรุงลอนดอน เริ่มรับราชการที่กระทรวงพระคลัง เมื่อ พ.ศ. 2444 ต่อมาทรงดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมกษาปณ์ และอธิบดีกรมฝิ่น ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงขอเจ้าศรีพรหมาให้อภิเษกสมรส กับหม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน คือ หม่อมราชวงศ์อนุพร และหม่อมราชวงศ์เพ็ญศรี เมื่อ พ.ศ. 2464 ทรงลาออกจากราชการ เพื่อทรงประกอบอาชีพเกษตรกรรม ณ บ้านบางเบิด อำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หม่อมเจ้าสิทธิพร ได้ทรงบุกเบิกการเกษตรแผนใหม่ ณ ฟาร์มบางเบิด ทรงริเริ่มนำรถแทรกเตอร์มาใช้ในการเกษตรเป็นครั้งแรก ทรงเลี้ยงไก่พันธุ์เล็กฮอร์น สายพันธุ์ไข่ดก เป็นครั้งแรกที่บางเบิด ทรงสั่งพันธุ์แตงโมจากสหรัฐอเมริกา เพื่อปลูกจำหน่ายรู้จักกันทั่วไปในชื่อ แตงโมบางเบิด หม่อมเจ้าสิทธิพร ทรงริเริ่มทดลองปลูกยาสูบพันธุ์เวอร์จิเนีย ซึ่งบ่มด้วยความร้อนจนเป็นผลสำเร็จ ณ สถานีทดลอง เกษตรแม่โจ้ ซึ่งต่อมากลายเป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้ให้แก่เกษตรกรทางภาคเหนือ พระองค์ท่านถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ร่วมก่อการกับ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐา ในกบฏบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2476 ถูกตัดสินลงโทษจำคุกตลอดชีวิต คุมขังที่เรือนจำบางขวาง แล้วย้ายไปคุมขังที่ทัณฑนิคม เกาะตะรุเตา ก่อนย้ายมาเกาะเต่า ก่อนจะได้รับพระราชทานอภัยโทษในปี พ.ศ. 2487 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เมื่อปี พ.ศ. 2490 และ พ.ศ. 2491 ในรัฐบาลนายควง อภัยวงศ์ ทรงเป็นประธานคณะกรรมการข้าวระหว่างชาติ ในการประชุมเมื่อปี พ.ศ. 2492, 2493 และ 2495 ได้รับรางวัลแมกไซไซ ด้านบริการสาธารณะ เมื่อ พ.ศ. 2510 หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2514 ข้อมูลจาก...http://th.wikipedia.org
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 08-07-2010 เมื่อ 06:50 |
|
|