เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #51  
เก่า 25-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

กรมเจ้าท่าใช้ไม้แข็ง

โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 25 เม.ย. 2558 05:52



ปราบเรือประมงฝ่าฝืน! เร่งปลดล็อกใบเหลือง

กรมเจ้าท่าออกโรงลุยจัดระเบียบเรือประมง หวังปลดล็อกไทยพ้นใบเหลือง “ไอยูยู ฟิชชิง” สั่งติดตั้งระบบติดตามเรือวีเอ็มเอสใน 3 เดือน แก้กฎหมายบังคับเพิ่มเรือ 30 ตันกรอสต้องแจ้งเข้า-ออก พร้อมเข้มจดทะเบียนเรือ ท่าเรือ ลูกเรือ ลงโทษหนักใครฝ่าฝืน ด้านอธิบดีกรมประมงเข้าพบ รมว.มหาดไทยหารือแนวทางแก้ปัญหา “บิ๊กป๊อก” เร่งทุกหน่วยคืนความเชื่อมั่นอียู กำชับเรือประมงติดเครื่องมือตรวจสอบ ขณะที่รัฐบาลแจงออก พ.ร.ก.อุดช่องปัญหาประมง

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการประมง ไม่อาจทำเป็นทองไม่รู้ร้อน หลังอียูให้ใบเหลืองไทย ต่างพากันขวนขวายแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า เปิดเผยเมื่อวันที่ 24 เม.ย. ว่า ในฐานะคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู ฟิชชิง) ได้เร่งบังคับใช้กฎหมายเพื่อจัดระเบียบเรือประมง และปราบปรามการค้ามนุษย์ในรูปแบบแรงงานประมงและการทำประมงผิดกฎหมายหลายรูปแบบ เพื่อให้ไทยหลุดพ้นจากการที่ถูกคณะกรรมาธิการยุโรปด้านประมงและทะเล ประกาศขึ้นบัญชีประเทศไทย เป็นประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมง ภายในเวลา 6 เดือน โดยมาตรการที่ดำเนินการประกอบด้วย การออกกฎข้อบังคับสำหรับการตรวจเรือ โดยอาศัยอำนาจตามความมาตรา 163 ของ พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย บังคับให้เรือขนาดตั้งแต่ 60 ตันกรอสขึ้นไป ต้องติดตั้งระบบติดตามเรือ วีเอ็มเอส ให้เสร็จภายใน 3 เดือน ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 26 เม.ย.58 หากพ้นกำหนดไปแล้ว ให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคเร่งตรวจสอบ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด

นายจุฬากล่าวด้วยว่า กรมฯยังเร่งแก้กฎหมายตาม พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย มาตรา 23 ซึ่งเพิ่มเติมในมาตรา 23/1 เพื่อบังคับเรือตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป ที่เดินเรือในน่านน้ำไทยสำหรับเรือประมง จะต้องแจ้งเข้าและแจ้งออก เป็นการควบคุมและติดตามเรือ ช่วยการตรวจสอบเรื่องแรงงานประมงกับหน่วยงานที่รับผิดชอบ หลังจากที่ผ่านมาจะบังคับการแจ้งเข้า-ออก เฉพาะเรือ 60 ตันกรอสขึ้นไป ที่ออกไปจับปลาต่างประเทศหรือนอกน่านน้ำไทย จะต้องแจ้งก่อน 6 ชม. และหลังจากเรือที่เข้ามาต้องแจ้งเข้าภายใน 24 ชม.

อธิบดีกรมเจ้าท่ากล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาเน้นให้ประเทศไทย ลงโทษเจ้าหน้าที่ที่มีส่วนร่วม ในการกระทำผิดในเรื่องค้ามนุษย์นั้น กรมให้ความสำคัญเต็มที่ โดยให้คำแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มที่ ในการลงโทษขั้นสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นการออกตรวจตราปราบปราม ตรวจสอบการติดตั้งอุปกรณ์อย่างถูกต้อง ขณะเดียวกันยังมีการบูรณาการ ในการตรวจตราลงโทษ โดยตั้งแต่เดือน ม.ค.-31 มี.ค.58 มีการออกตรวจเรือ 548 ครั้ง ตรวจเรือได้ 4,049 ลำ พบการกระทำผิด 270 ลำ มีบทลงโทษด้วยการปรับ ตั้งแต่ 500-10,000 บาท และยังได้เร่งรัดให้มีการจดทะเบียนเรือประมงให้ถูกต้อง โดยให้สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค ออกหน่วยทะเบียนเรือเคลื่อนที่ 351 ครั้ง รวมทั้งออกประกาศกระทรวง งดเว้นไม่เก็บค่าธรรมเนียมการตรวจเรือสำหรับเรือประมงขนาดไม่เกิน 20 ตันกรอส 1 ปี จนถึงวันที่ 12 มี.ค.59 เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวก พร้อมกับตรวจตราบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด โดยให้จัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ซึ่งนับตั้งแต่เดือน ม.ค.-มี.ค.58 มีเรือประมงเข้าสู่การจดทะเบียนเรือใหม่ 5,166 ลำ และมีเรือประมงต่ออายุ 7,153 ลำ

ขณะเดียวกันยังเข้มงวดการอนุญาตให้ลงทำการในเรือ ตามมาตรา 285 พ.ร.บ.การเดินเรือในน่านน้ำไทย พ.ศ. 2456 โดยการที่คนประจำเรือ หรือแรงงานจะลงทำการในเรือประมง ต้องแจ้งขออนุญาตจากกรมเจ้าท่าก่อน เมื่อได้รับอนุญาตจึงจะทำการในเรือได้ หากเป็นแรงงานต่างด้าว ต้องนำใบอนุญาตให้ทำงานกรมการจัดหางานและสัญญาจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง มาเป็นเอกสารประกอบในการขออนุญาต โดยปัจจุบันมีการอนุญาตผู้ทำการในเรือ 703 ลำ เป็นคนไทย 1,651 คน คนต่างด้าว 6,981 คน รวมอนุญาต 8,632 คน ตลอดจนได้สำรวจข้อมูลท่าเทียบเรือและแพปลาที่รองรับเรือขนาดตั้งแต่ 30 ตันกรอสขึ้นไป ซึ่งเบื้องต้นมีอยู่ 319 แห่ง และจะรณรงค์ให้ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือและแพปลาที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องขออนุญาตสร้าง หรือประกอบกิจการท่าเทียบเรือและแพปลาให้ถูกต้อง ตลอดจนให้มีการส่งข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมงที่ฝ่าฝืน หรือไม่กรอกข้อมูลแจ้งเข้า-ออก ให้ศูนย์แจ้งเรือเข้า-เรือออกด้วย

“การดำเนินการมาตรการต่างๆในการจัดระเบียบเรือประมง ทำให้เรือประมงเข้าสู่ระบบการจดทะเบียนเรือเพิ่มขึ้น กำกับดูแลอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และกรมยังคงเร่งทำตามแผนแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบแรงงานประมงและการทำประมงผิดกฎหมาย เพื่อสกัดกั้นขบวนการการค้ามนุษย์ในรูปแบบแรงงานประมง แสดงถึงความร่วมมือกับคณะกรรมาธิการยุโรป ในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย” นายจุฬากล่าว

วันเดียวกัน นายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง เข้าพบ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย หารือแนวทางแก้ไขปัญหาแรงงานประมงผิดกฎหมาย ในเรื่องความคืบหน้าการลงทะเบียนแรงงานประมง พล.อ.อนุพงษ์กล่าวว่า การทำงานของชุดเฉพาะกิจที่จัดตั้งขึ้น เพื่อตรวจสอบและจดทะเบียนแรงงาน และให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเร่งรัดให้เป็นไปตามนโยบายของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย กระทรวงมหาดไทยพร้อมสนับสนุนทุกด้าน เน้นการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยการทำงานร่วมกัน หลังจากมีกฎหมายหรือพระราชกำหนดออกมา กระทรวงมหาดไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะไปช่วยกันกำกับให้เป็นไปตามมาตรการ โดยมหาดไทย กรมเจ้าท่า ตำรวจน้ำ กรมประมง กระทรวงการต่างประเทศ จะร่วมกันเป็นชุดเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษ ถือเป็นเรื่องสำคัญของชาติ ถ้าแก้ไขปัญหานี้ไม่ได้จะเกิดผลกระทบมาก สิ่งที่ต้องทำคือการดำเนินมาตรการในท่าเรือ 26 แห่ง โดยกำชับให้ติดเครื่องมือตรวจสอบ ส่วนนี้กำนัน ผู้ใหญ่บ้านจะขอความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ทุกภาคส่วนจะร่วมมือกันอย่างเต็มที่เพื่อให้อียูมีความเชื่อมั่น และให้กรีนการ์ดกับประมงไทย

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการประมงที่ผิดกฎหมายว่า รัฐบาลเร่งดำเนินการ ออกกฎหมายให้ครอบคลุมสิ่งที่อียูเรียกร้อง ก่อนหน้านี้ เราได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2490 ที่ล้าสมัยให้เป็นสากลไปแล้ว กำลังรอประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา จึงทำให้สาระสำคัญบางประการไม่ได้ถูกกำหนดลงใน พ.ร.บ.ประมงฉบับที่ปรับปรุง ด้วยเหตุนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงจำเป็นต้องเตรียมร่างพระราชกำหนดขึ้นมาเพื่อปิดช่องโหว่ อาทิ การตรวจสอบย้อนกลับสินค้าประมงจากแหล่งจับ เพื่อทำให้ผู้บริโภคมั่นใจว่าเป็นสัตว์น้ำที่ได้มาจากการประมงที่ถูกกฎหมาย กำหนดบทลงโทษที่เป็นสากล คาดว่าจะประกาศออกมาในทันทีที่ พ.ร.บ.ประมงมีผลบังคับใช้ ส่วนการใช้มาตรา 44 ร่วมแก้ไขก็เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ทหารและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเร่งรัดปฏิบัติงาน โดยไม่ขัดกับหลักกฎหมายที่มีอยู่

ค่ำวันเดียวกัน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวผ่านรายการคืนความสุขให้คนในชาติ ทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถึงการเร่งแก้ไขปัญหาหลังจากอียู ให้ใบเหลืองเตือนไทยเรื่องการทำประมงที่ผิดกฎหมายว่า ได้แก้ปัญหาดังกล่าวมาตลอด มีคณะทำงานเป็นวาระแห่งชาติ ส่วนการใช้มาตรา 44 เป็นการใช้เพื่อจะบูรณาการ ให้เกิดความรวดเร็ว นำไปสู่การปฏิบัติได้เลย เรื่องการได้ใบเหลือง อย่าวิตก โทษใครไม่ได้ รัฐบาลนี้จะแก้ไขอย่างเต็มที่ แต่ไม่รับประกันได้ว่าจะเสร็จภายใน 6 เดือนหรือไม่ ขึ้นอยู่กับทุกคน แต่หวังว่าจะแก้ปัญหาได้ภายใน 6 เดือน ยืนยันว่าจะทำงานเต็มที่ ส่วนผลกระทบเรื่องการส่งออกนั้น คุยกับภาคเอกชนแล้ว อาจจะมีผลกระทบไม่มากนัก อย่าไปมองว่าอียูจับผิดอะไร เพราะเขาทำเหมือนกันหมดทุกประเทศ แม้จะเป็นปัญหาหนักพอสมควร แต่อย่าท้อถอยจะใช้วิกฤติเป็นโอกาส สร้างความเข้าใจ ร่วมมือกัน การเดินทางไปอินโดนีเซียช่วงที่ผ่านมา ได้คุยกับประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เพื่อแก้ปัญหาเรื่องการประมงอาเซียนร่วมกัน เพราะไทยมีปัญหาเยอะพอควรที่เรือประมงต่างๆ ไปทำผิดที่อินโดนีเซีย

ขณะเดียวกัน มีรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 เม.ย. กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญนายเฆซูส มิเกล ซันส์ เอกอัครราชทูตหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรป (อียู) ประจำประเทศไทย เข้าหารือกับนายนภดล เทพพิทักษ์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ แสดงความผิดหวังที่อียูประกาศเตือนหรือให้ใบเหลืองกับไทยเรื่องการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (ไอยูยู) พร้อมกับยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยที่แก้ไขปัญหาในภาคประมงอย่างเป็นระบบ ครอบคลุมทุกมิติ และเริ่มมีผลคืบหน้าให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม จึงอยากให้อียูยกเลิกประกาศเตือนในไทยโอกาสแรก ขณะที่ไทยยืนยันความพร้อมที่จะร่วมมือกับอียูอย่างใกล้ชิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวต่อไป รวมถึงการแจ้งให้สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำฟิลิปปินส์และเกาหลีใต้ไปขอข้อมูลกับทางการประเทศนั้นๆ ว่าได้ร่วมมือกับอียูอย่างไรในช่วงที่ผ่านมาจนทำให้หลุดจากประเทศในกลุ่มที่อียูให้ใบเหลืองได้ตามกรอบเวลา
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #52  
เก่า 29-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



มีผลแล้ว! พ.ร.บ.การประมง ฉบับใหม่ “ประวิตร” ชง “กองทัพเรือ” บูรณาการ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

28 เมษายน 2558 19:04


มีผลแล้ว! พ.ร.บ. การประมง ฉบับใหม่ “ประวิตร” สั่งกฤษฎีกา พิจารณาจัดทำรายละเอียดคำสั่งต่างๆ ตาม พ.ร.บ. ให้ กองทัพเรือ บูรณาการทุกหน่วยงานแก้ไข พร้อมสั่งการให้ กระทรวงเกษตรฯ จัดทำร่าง พ.ร.ก. ปิดช่องโหว่ต่างๆ ตามที่อียูได้ท้วงติงมา ส่วน “พ.ร.บ. ค้ามนุษย์” เพิ่มอํานาจทางปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่

วันนี้ (28 เม.ย.) มีรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ และ พระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘

โดย เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม การค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีบทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมต่อการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ในปัจจุบันที่มีความรุนแรง ซับซ้อน และเป็นอาชญากรรมข้ามชาติ

จึงเห็นควรปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์โดยกําหนดให้มีมาตรการสร้างแรงจูงใจให้ผู้พบเห็นเหตุการค้ามนุษย์แจ้งข้อมูลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ และกําหนดมาตรการเพิ่มอํานาจทางปกครองให้แก่เจ้าหน้าที่ รวมทั้งปรับปรุงบทกําหนดโทษที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จะมีการตั้ง คณะกรรมการ ปคม. ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการ ปกค. เป็นรองประธานกรรมการ รมว.กลาโหม รมว.การต่างประเทศ รมว.การท่องเที่ยวและกีฬา รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รมว.มหาดไทย รมว.ยุติธรรม รมว.แรงงาน และ ผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 4 คน ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์โดดเด่นเป็นที่ประจักษ์ด้านการป้องกัน การปราบปราม การบําบัดฟื้นฟูและการประสานงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ไม่น้อยกว่าเจ็ดปี ด้านละหนึ่งคน โดยต้องเป็นภาคเอกชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งเป็นกรรมการ

ทั้งนี้ ในกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่ามีการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์หรือพบการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ในสถานประกอบกิจการโรงงาน หรือยานพาหนะตามมาตรา ๑๖/๑ หากเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการโรงงาน หรือยานพาหนะ ดังกล่าวไม่สามารถชี้แจงหรือพิสูจน์ให้คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว ให้คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสองมีอํานาจสั่งอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้

(๑) ปิดสถานประกอบกิจการหรือโรงงานชั่วคราว
(๒) พักใช้ใบอนุญาตประกอบการสําหรับการประกอบธุรกิจหรือโรงงาน
(๓) ห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราว
(๔) ดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําผิดเกิดขึ้นอีก

ทั้งนี้ การสั่งตาม (๑) (๒) และ (๓) ต้องไม่เกินครั้งละสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ ได้รับทราบคําสั่งในกรณีมีการออกคําสั่งใดๆ ตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสองแจ้งให้หน่วยงานซึ่งควบคุมสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะนั้นทราบ และให้หน่วยงานดังกล่าวถือปฏิบัติตามนั้น การพิจารณาปิดสถานประกอบกิจการหรือโรงงานชั่วคราว การพักใช้ใบอนุญาตประกอบการ

สําหรับการประกอบธุรกิจหรือโรงงาน การห้ามใช้ยานพาหนะเป็นการชั่วคราวหรือการดําเนินมาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทําผิดเกิดขึ้นอีก ตามวรรคหนึ่ง และการแจ้งให้หน่วยงานรับทราบตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด

มาตรา ๑๖/๓ ให้แจ้งคําสั่งตามมาตรา ๑๖/๒ ต่อเจ้าของ ผู้ครอบครองหรือผู้ดําเนินกิจการ สถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะนั้นทราบเป็นหนังสือ ณ ภูมิลําเนาของผู้นั้น ภายในเจ็ดวันนับแต่วันออกคําสั่ง

ในกรณีที่ไม่มีผู้รับ ให้ปิดคําสั่งไว้ที่ภูมิลําเนาของผู้นั้นในที่เปิดเผย และให้ถือว่าเจ้าของ ผู้ครอบครองหรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะ ได้รับแจ้งคําสั่งนั้นแล้ว เมื่อพ้นกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันปิดคําสั่ง

ในกรณีเจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงาน หรือยานพาหนะไม่เห็นด้วยกับคําสั่งของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสอง ให้อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคําสั่งจากคณะอนุกรรมการ

การอุทธรณ์ไม่เป็นเหตุ ุให้ทุเลาการบังคับตามคําสั่งของคณะอนุกรรมการตามมาตรา ๒๕ วรรคสองคําวินิจฉัยของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด

มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๒๕ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๒๕ คณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานเพื่อพิจารณาและเสนอความเห็นในเรื่องหนึ่งเรื่องใดหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่คณะกรรมการและคณะกรรมการ ปกค. มอบหมายก็ได้ให้คณะกรรมการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อทําการตามมาตรา ๑๖/๒ให้นํามาตรา ๒๑ วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับกับการประชุมของคณะอนุกรรมการหรือคณะทํางานโดยอนุโลม”

มาตรา ๘ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๖/๑) ของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ “(๖/๑) ค่าปรับตามที่กระทรวงการคลังอนุญาต ให้นําไปใช้ได้โดยไม่ต้องนําส่งคลังเป็นรายได้ของแผ่นดิน”

มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๕๓/๑ และมาตรา ๕๓/๒ แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑“มาตรา ๕๓/๑ ถ้าการกระทําผิดตามมาตรา ๕๒ หรือมาตรา ๕๓ วรรคสอง เป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทํา

(๑) รับอันตรายสาหัส ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่แปดปีถึงยี่สิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนหกหมื่นบาทถึงสี่แสนบาท หรือจําคุกตลอดชีวิต
(๒) ถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจําคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตมาตรา ๕๓/๒ เจ้าของ ผู้ครอบครอง หรือผู้ดําเนินกิจการสถานประกอบกิจการ โรงงานหรือยานพาหนะ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งตามมาตรา ๑๖/๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ”

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี

ส่วน พระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘ มี เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการประมงได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบันที่มีทรัพยากรสัตว์น้ำจํานวนจํากัด ในขณะที่เทคโนโลยีด้านการประมงได้พัฒนาไปอย่างมากและถูกนําไปใช้เป็นเครื่องมือทําการประมง อันส่งผลให้สัตว์น้ำลดจํานวนลงอย่างรวดเร็ว จึงสมควรปรับปรุงการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำและการประมงของประเทศ

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...58/A/034/1.PDF

ให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล รวมทั้งความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยี
ด้านการประมง และสภาพของสังคมในปัจจุบัน โดยกําหนดให้มีมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการ

การบํารุงรักษา การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ และการดําเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และส่งเสริม
ให้ประชาชนหรือชุมชนประมงท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ การบํารุงรักษา และการใช้ประโยชน์
จากทรัพยากรสัตว์น้ำอย่างสมดุล เพื่อให้สามารถนําทรัพยากรสัตว์น้ำที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน
และกําหนดมาตรการในการส่งเสริมให้สัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่ได้จากการทําการประมงหรือจากการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานด้านสุขอนามัย มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และมิให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรวมทั้งกําหนดมาตรการควบคุมและจัดระเบียบการใช้เรือประมงไทยในการทําการประมงทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำไทย

มีรายงานว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ (28 เม.ย.) ได้มีการหารือเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU Fishing ซึ่งประเทศไทยถูกสหภาพยุโรป (อียู) ประกาศภาคทัณฑ์ โดย ครม. รับทราบว่า ขณะนี้พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประมง พ.ศ. 2558 ฉบับปรับปรุง ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 60 วัน

“พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานในที่ประชุม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาจัดทำรายละเอียดคำสั่งต่างๆ ตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวเพื่อให้ กองทัพเรือ เป็นหน่วยงานบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการดำเนินการแก้ไขเรื่องต่างๆตามมติของอนุกรรมการฯ และได้สั่งการให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำร่างพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อปิดช่องโหว่ต่างๆตามที่อียูได้ท้วงติงมาให้พร้อม เพื่อประกาศออกมาทันทีที่ พ.ร.บ.ประมงมีผลบังคับใช้”




http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...58/A/034/1.PDF

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #53  
เก่า 29-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



พระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. ๒๕๕๘

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DA...58/A/034/1.PDF

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #54  
เก่า 29-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



คำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฏหมายค่ะ



...........................................................................


คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๘

เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 23 ข้อ ผู้ใดกระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ ถ้าได้กระทําความผิดนั้นซ้ำอีกต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ

วันนี้(29 เม.ย.) มีรายงานว่า เวปไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำสั่ง หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๑๐/๒๕๕๘ เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

มีใจความว่า จากการที่ประเทศไทยได้รับการประกาศเตือนจากสหภาพยุโรปถึงการจัดให้มีมาตรการในการป้องกันยับยั้ง และขจัดการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated Fishing : IUU Fishing) ซึ่งหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจังโดยเร่งด่วนภายในหกเดือนอาจมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของประเทศไทยในอนาคตและความมั่นคงของประเทศไทยในภาพรวม ดังนั้น เพื่อให้สามารถเร่งดําเนินการแก้ปัญหาให้การทําการประมงสามารถดําเนินการได้อย่างยั่งยืนและเป็นระบบ และยกระดับมาตรฐานการประมงของประเทศไทยให้สอดคล้องกับ
มาตรฐานสากล รวมทั้งเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมง อุตสาหกรรมต่อเนื่องและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หากมิได้มีการป้องกันและแก้ไขโดยเร่งด่วน จะมีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศได้ เพื่อดําเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ โดยความเห็นชอบของคณะรักษาความสงบแห่งชาติจึงมีคําสั่ง ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ ให้จัดตั้ง “ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย” (Command Center for Combating Illegal Fishing) เรียกโดยย่อว่า ศปมผ. (CCCIF) เป็นศูนย์เฉพาะกิจ ขึ้นตรงกับนายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บัญชาการทหารเรือเป็นผู้บัญชาการศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย (ผบ.ศปมผ.) และทั้งนี้ ให้ ศปมผ. เริ่มปฏิบัติการตามคําสั่งนี้ ตั้งแต่วันที่๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

ข้อ ๒ ศปมผ. มีโครงสร้างการปฏิบัติการดังต่อไปนี้

(๑) ให้คณะกรรมการนโยบายแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และการทําประมงผิดกฎหมายซึ่งจัดตั้งขึ้นตามคําสั่งสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ ๕๒/๒๕๕๘ ลงวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๕๘ ทําหน้าที่กําหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในระดับรัฐบาล

(๒) ให้กองทัพเรือ และศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.) ซึ่งจัดตั้งโดยมติสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ และมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๑ ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักของ ศปมผ. ในการปฏิบัติการทางทะเลและชายฝั่ง และปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

(๓) ให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก (Port In - Port Out Controlling Center)และศูนย์ให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จ (Fishing One Stop Service)ประจําในแต่ละจังหวัดชายทะเล ทั้งนี้ ตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด

ข้อ ๓ ให้ ศปมผ. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) กําหนดแนวทางของไทยและจัดทําแผนปฏิบัติการแห่งชาติในการแก้ปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (Thailand’s National Plan of Action to Prevent, Deter and Eliminate IUU Fishing, NPOA - IUU) ตลอดจนกํากับดูแลการปฏิบัติให้เป็นไปตามแผนนั้น รวมถึงดําเนินงานทําความเข้าใจกับสหภาพยุโรป

(๒) ควบคุม สั่งการ กํากับดูแล และประสานการปฏิบัติการทั้งปวงของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สํานักงานตํารวจแห่งชาติและส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม

(๓) พิจารณาเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งการป้องกันการทําการประมงที่ผิดกฎหมายและบทลงโทษที่เหมาะสม

(๔) กําหนดโครงสร้างและอัตรากําลังของ ศปมผ. โดยในโครงสร้างนี้ต้องกําหนดให้มีศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก รวมถึงศูนย์ให้บริการและอํานวยความสะดวกแก่เรือประมงแบบเบ็ดเสร็จประจําในแต่ละจังหวัดชายทะเล

(๕) แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ที่จะปฏิบัติงานใน ศปมผ. จากข้าราชการหรือผู้ปฏิบัติงานในส่วนราชการต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสม

(๖) แต่งตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทํางาน เพื่อดูแลรับผิดชอบเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะได้ตามความเหมาะสม

(๗) เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชน รวมทั้ง หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อร่วมประชุมแนวทางการดําเนินงาน ประสานการปฏิบัติและติดตามผลการดําเนินงานตามความเหมาะสม

(๘) ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งยกระดับความร่วมมือกับประเทศที่สามโดยเฉพาะประเทศที่เรือที่ชักธงไทยเข้าไปทําการจับปลาในน่านน้ำของประเทศนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ

(๙) รายงานผลการปฏิบัติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสหภาพยุโรปได้ยกเลิกประกาศเตือนประเทศไทยว่าเป็นประเทศที่ไม่มีมาตรการอย่างเพียงพอในการป้องกัน ยับยั้ง และขจัดการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม

(๑๐) ปฏิบัติการอื่นตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย

ข้อ ๔ ให้ ศรชล. มีอํานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(๑) จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจขึ้นใน ศรชล. ประกอบด้วยกําลังทั้งเรือ อากาศยาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ ใน ศรชล. ปฏิบัติงานในแต่ละพื้นที่เพื่อบังคับใช้กฎหมายในทะเลและควบคุมการปฏิบัติต่าง ๆ ให้เป็นไปตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดโดยเร็วที่สุด

(๒) ควบคุมและสั่งการหน่วยงานที่มาปฏิบัติการภายใต้ ศรชล.

(๓) บูรณาการข้อมูลข่าวสารทางทะเลที่เกี่ยวข้อง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมต่อข้อมูลผ่านระบบสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการตระหนักรู้ภาพสถานการณ์ทางทะเล

(๔) จัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ประจําในศูนย์แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารทางทะเล (ศขท.)จากหน่วยงานต่าง ๆ ใน ศรชล. ปฏิบัติหน้าที่เฝ้าติดตาม พิสูจน์ทราบ และตรวจสอบพฤติกรรมการทําประมงผิดกฎหมายของเรือประมง โดยปฏิบัติหน้าที่เป็นศูนย์ติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง(Monitoring Control and Surveillance Center : MCS) ด้วย เพื่อให้ระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System) มีความครบถ้วนสมบูรณ์โดยเร็วที่สุด

(๕) ปฏิบัติการอื่นตามที่ ศปมผ. มอบหมาย

ข้อ ๕ ให้สํานักงบประมาณพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับ ศปมผ. และ ศรชล.เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงาน โดยเบิกค่าใช้จ่ายตามระเบียบของทางราชการ

ข้อ ๖ ให้เจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ที่มีขนาดตั้งแต่ ๓๐ ตันกรอสส์ขึ้นไป หรือตามขนาดที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดต้องดําเนินการดังต่อไปนี้

(๑) จัดทําสมุดบันทึกการทําการประมง ตามรูปแบบ ระยะเวลา และวิธีการที่ ศปมผ.ประกาศกําหนด

(๒) ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง (Vessel Monitoring System : VMS) ซึ่งมีมาตรฐาน
สมรรถนะของอุปกรณ์และข้อกําหนดเชิงหน้าที่ (Performance Standards and Functional
Requirements) ตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด โดยจะต้องติดตั้งให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาตามที่
ศปมผ. ประกาศกําหนด

(๓) แจ้งการเข้า - ออก ท่าเทียบเรือทุกครั้ง ณ ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดเมื่อได้ดําเนินการติดตั้ง VMS แล้ว ให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง แจ้งรหัสการเข้าถึงระบบการติดตามเรือ (Access Code) ให้ ศปมผ. ทราบ และต้องเปิดเครื่องไว้ตลอดเวลาขณะอยู่ในทะเล เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถติดตามตําบลที่เรือได้ ในกรณีที่อุปกรณ์ดังกล่าวขัดข้องหรือไม่สามารถส่งตําบลที่เรือได้ด้วยประการใด ๆ ให้ปฏิบัติตามแนวทางที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดเจ้าของหรือผู้ประกอบการตามวรรคหนึ่ง ต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเข้าระบบเพื่อตรวจสอบจุดพิกัดของเรือ

ข้อ ๗ ให้นายทะเบียนเรือตามกฎหมายว่าด้วยเรือไทยมีคําสั่งเพิกถอนทะเบียนเรือไทยสําหรับการประมงหรือเรืออ่วนตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด และจําหน่ายทะเบียนเรือออกจากสมุดทะเบียนในกรณีดังต่อไปนี้

(๑) เมื่อมีเหตุใดเหตุหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๒ แห่งพระราชบัญญัติเรือไทย
พุทธศักราช ๒๔๘๑

(๒) เจ้าของเรือแสดงความประสงค์เป็นหนังสือขอเลิกใช้ทะเบียนเรือไทยต่อนายทะเบียนเรือ

(๓) เรือไทยที่ได้จดทะเบียนแล้วแต่ไม่ได้รับใบอนุญาตใช้เรือ หรือใบอนุญาตใช้เรือสิ้นอายุเป็นเวลาต่อเนื่องกันตั้งแต่สามปีขึ้นไปเมื่อได้มีคําสั่งตามวรรคหนึ่ง ให้นายทะเบียนเรือแจ้งเป็นหนังสือให้เจ้าของเรือส่งคืนใบทะเบียนเรือภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งเป็นหนังสอจากนายทะเบียนเรือ

ข้อ ๘ เพื่อประโยชน์ในการแก้ปัญหาการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ห้ามมิให้เจ้าของเรือหรือผู้ประกอบการเรือประมงยินยอมให้บุคคลใด ๆ กระทําการดังต่อไปนี้ในเรือประมงของตน

(๑) ครอบครองเครื่องมือทําการประมงที่ไม่ได้รับอนุญาตในเรือประมง

(๒) นําเรือประมงซึ่งมีเครื่องมือทําการประมงที่ไม่ถูกต้องตรงกับเครื่องมือที่ได้รับอาชญาบัตรหรือไม่ได้รับอาชญาบัตรหรือเครื่องมือทําการประมง ออกจากท่าเทียบเรือไปทําการประมง

(๓) นําเรือประมงซึ่งปฏิบัติไม่ครบถ้วนตามกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทยกฎหมายว่าด้วยเรือไทย กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองออกจากท่าเทยบเร ี ือจนกว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายเหล่านั้นให้ครบถ้วน

ข้อ ๙ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือประมงออกไปทําการประมงในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศและในทะเลหลวง หรือนําเรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ออกไปน่านน้ำต่างประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ศปมผ. ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดการอนุญาตตามวรรคหนึ่ง ศปมผ. อาจมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้อนุญาตแทนได้

ข้อ ๑๐ ห้ามมิให้ผู้ใดใช้เรือประมงออกไปทําการประมงในน่านน้ำของรัฐต่างประเทศและในทะเลหลวงโดยฝ่าฝืนกฎข้อบังคับด้านการประมงของรัฐชายฝั่งที่เข้าไปทําการประมงหรือขององค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาค

(มีต่อ)
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 29-04-2015 เมื่อ 21:32
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #55  
เก่า 29-04-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default



คำสั่งหัวหน้า คสช. เรื่องการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฏหมาย (ต่อ)


..................................................................................


ข้อ ๑๑ ผู้ใดประสงค์จะนําเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดทุกขนาดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ออกนอกน่านน้ำไทยหรือเดินทางมาจากน่านน้ำต่างประเทศหรือทะเลหลวงเข้ามาในราชอาณาจักร ต้องออกจากท่าเรือหรือเข้าจอดเรือ ณ ท่าเรือหรือแพปลาที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด

ข้อ ๑๒ ห้ามมิให้ผู้ใดนําเรือประมงต่างประเทศ หรือเรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็นที่อยู่ในบัญชีเรือที่ห้ามเข้ามาในราชอาณาจักรตามที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด เข้ามาเทียบท่าในราชอาณาจักร

ข้อ ๑๓ เจ้าของท่าเรือและเจ้าของแพปลาในทุกจังหวัดชายทะเล รวมถึงตามเกาะแก่งต่าง ๆต้องจดบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็น ตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดทุกขนาดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่ายหรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช ้ทําการประมงทุกลําที่เข้าใช้บริการจอดเรือหรือขนถ่ายสินค้าสัตว์น้ำก็บไว้เพื่อการตรวจสอบในกรณีเรือตามวรรคหนึ่ง เป็นเรือที่ต้องปฏิบัติตามข้อ ๑๑ เจ้าของเรือและเจ้าของแพปลาต้องดําเนินการรวบรวมและจัดส่งรายงานการเข้า - ออกเรือ มาที่ศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออกตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่ ศปมผ. ประกาศกําหนดรายงานตามวรรคหนึ่งต้องกําหนดให้ครอบคลุมกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองเรือปฏิเสธแจ้งการเข้า - ออก ซึ่งเจ้าของท่าเทียบเรือหรือเจ้าของแพปลาจะต้องทําหน้าที่รายงานฝ่ายเดียว

ข้อ ๑๔ ให้ ศปมผ. และ ศรชล. แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามคําสั่งนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งตามวรรคหนึ่งมีอํานาจขึ้นตรวจสอบเรือ หรือกักเรือทุกลําที่กระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ กฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย กฎหมายว่าด้วยเรือไทยกฎหมายว่าด้วยการประมง กฎหมายว่าด้วยสิทธิการประมงในเขตการประมงไทย กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการประมงและการเดินเรือในการขึ้นตรวจสอบเรือตามข้อ ๑๒ หากมีเหตุสงสัยว่าเรือดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการทําการประมง
ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม ให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจสั่งห้ามการขนถ่ายสัตว์น้ำหรือผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำขึ้นจากเรือ และในกรณีที่เป็นเรือประมงต่างประเทศจะสั่งให้นําเรือออกไปจากราชอาณาจักรก็ได้ และให้ ศปมผ. แจ้งให้รัฐเจ้าของธงและองค์กรจัดการประมงระดับภูมิภาคเพื่อดําเนินการต่อไป

ข้อ ๑๕ พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ ศปมผ. และ ศรชล. ที่กระทําการไปตามอํานาจหน้าที่โดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจําเป็น ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทําผิดกฎหมายแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

ข้อ ๑๖ ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดในการป้องกันปราบปรามผู้กระทําผิดด้านการทําประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุมและปฏิบัติตามแผน npoa - iuu อย่างมีประสิทธิภาพ และต้องเร่งดําเนินการในเรื่องการจดทะเบียนเรือประมง การออกใบอนุญาตใช้เรือ การต่อใบอนุญาตใช้เรือ การออกอาชญาบัตรและใบอนุญาตทําการประมงและเอกสารทางราชการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทําผิด

ข้อ ๑๗ เพื่อให้การปฏิบัติตามคําสั่งนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ ศปมผ.และเจ้าหน้าที่ ศรชล. ได้สั่งการให้ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดกระทําการหรืองดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่งในการปฏิบัติตามคําสั่งนี้ แต่ส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นเพิกเฉยหรือละเลยไม่กระทําการหรืองดเว้นกระทําการตามคําสั่งของเจ้าหน้าที่ตามคําสั่งนี้ ให้เจ้าหน้าที่ ศปมผ.หรือเจ้าหน้าที่ ศรชล. รายงานพฤติกรรมดังกล่าวไปยัง ผบ.ศปมผ. และ ผบ.ศปมผ. มีอํานาจสั่งย้ายหัวหน้าส่วนราชการแห่งนั้นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นออกจากพื้นที่รับผิดชอบได้ทันที และให้แจ้งรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐที่หัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดทราบพร้อมด้วยเหตุผลในการนี้ ให้รัฐมนตรีหรือหัวหน้าส่วนราชการดําเนินการเพื่อให้หัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพ้นจากตําแหน่งหน้าที่ หรือพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่โดยเร็ว และในกรณีที่มีมูลความผิดทางวินัยให้ผู้บังคับบัญชาซึ่งมีอํานาจสั่งบรรจุของหัวหน้าส่วนราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นพิจารณาดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นต่อไป

คําสั่งของ ผบ.ศปมผ. ตามวรรคหนึ่งไม่อยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาในศาลปกครองพ.ศ. ๒๕๔๒

ข้อ ๑๘ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๖ ข้อ ๘ ข้อ ๙ ข้อ ๑๐ และข้อ ๑๑ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

ข้อ ๑๙ ผู้ใดฝ่าฝืนข้อ ๑๒ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามสิบล้านบาท

ข้อ ๒๐ ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อ ๗ วรรคสอง และข้อ ๑๓ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

ข้อ ๒๑ ผู้ใดกระทําความผิดตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ ถ้าได้กระทําความผิดนั้นซ้ำอีกต้องระวางโทษเป็นทวีคูณ

ข้อ ๒๒ ในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ประกอบการเรือประมง เรือบรรทุกสินค้าประมงห้องเย็นตลอดจนยานพาหนะทางน้ำทุกชนิดที่ใช้ทําการประมง ขนถ่าย หรือเก็บรักษาสัตว์น้ำที่ได้จากยานพาหนะทางน้ำทุกชนิด ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคําสั่งนี้ นอกจากจะต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้ตามคําสั่งนี้ ให้ ศปมผ. มีอํานาจสั่งให้มีการยกเลิกเอกสารทางราชการหรือใบอนุญาตที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่กําหนดไว้ในคําสั่งนี้ด้วย โดยห้ามมิให้หน่วยงานที่มีอํานาจออกใบอนุญาตออกเอกสารทางราชการหรือใบอนุญาตให้ใหม่เป็นเวลาหนึ่งปี หรือตามระยะเวลาที่ ศปมผ. ประกาศกําหนด

ข้อ ๒๓ ประกาศของ ศปมผ. ที่ออกตามคําสั่งนี้ เมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

ทั้งนี้ นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สั่ง ณ วันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #56  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

ไทยรัฐ
29-04-2015

จ่อออก พ.ร.ก.-ใช้ ม.44 แก้ประมง นายกฯไม่ให้ชี้ชัด 6 เดือนเสร็จ “เข้าใจตรงกันนะ”



พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ได้รายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

วานนี้ (28 เม.ย.) รับทราบความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู) หลังจากคณะกรรมาธิการยุโรป (อียู) ประกาศให้ใบเหลืองไทยว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธย ใน พ.ร.บ.ประมง พ.ศ. 2558 และโปรดเกล้าฯลงมาแล้ว โดยจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาเร็วๆนี้ และจะมีผลบังคับใช้ใน 60 วัน

ขณะเดียวกัน ครม.มีมติเกี่ยวกับการออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) เพื่อมาอุดช่องว่างของกฎหมายบางประเด็นที่อียูต้องกา ร ซึ่งยังไม่ได้มีการแก้ไขใน พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 โดยระบุว่า ควรออก พ.ร.ก.มาหลังจากที่ พ.ร.บ.ประมง พ.ศ.2558 มีผลบังคับใช้จะดีกว่าการออกในขณะนี้ ส่วนเหตุผลที่ต้องออก พ.ร.ก.เพิ่มเติม เนื่องจากในระหว่างมีพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประมง นั้น เราไม่ได้ ทราบถึงปัญหาของอียู

อย่างไรก็ตาม ในระหว่างนี้ก็ไม่ต้องเกรงว่าสิ่งที่รัฐบาลไทยทำจะไม ่เต็มที่ เพราะนายกรัฐมนตรีสามารถใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันอุดช่องว่างทางกฎหมายที่อีย ูต้องการได้ เช่น ได้ให้อำนาจทหารเรือในการตรวจตราเรือทุกลำก่อนออกจาก ท่าเรือ เช่น หากพบเรือลำใดมีอวนลากก็จะไม่อนุญาตให้ออกเรือ เพื่อไม่ให้มีโอกาสในการนำอวนลากไปใช้จับปลา นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้สื่อสารใหม่ ให้เข้าใจตรงกันด้วยว่า ไม่ให้สื่อสารว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จใน 6 เดือน แต่รัฐบาลให้พยายามแก้ไขปัญหานี้อย่างเต็มที่แน่นอน

ด้าน น.ส.สุภาวดี แย้มกมล อัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ เปิดเผยว่า เพื่อรับมือกับการแข่งขันในตลาดอาหารทะเลโลกและอียู ภาครัฐและเอกชนไทยต้องเร่งดำเนินการใน 4 เรื่อง คือ 1.แก้ปัญหาแรงงาน ค้ามนุษย์ และที่สำคัญการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (ไอยูยู) 2.หาแนวทางเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 3.ส่งเสริมระบบการตรวจสอบคุณภาพและปรับปรุงโครงสร้าง อุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อแก้ปัญหาด้านสุขอนามัย ตามมาตรฐานสากล และ 4.ส่งเสริมการขยายตลาดไปยังตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ.
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #57  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

เดลินิวส์
30-04-2015

'บิ๊กตู่' มีคำสั่งหัวหน้า คสช. ตั้ง ศปมผ. เร่งแก้ปัญหาประมง



เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา แพร่คำสั่งหัวหน้า คสช. อาศัย ม.44 จัดตั้งศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหม าย พร้อมดำเนินงานทำความเข้าใจสหภาพยุโรป จนกว่าจะยกเลิกประกาศเตือนไทย

เมื่อวันที่29เม.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่คำสั่งหัวหน้า คสช.ที่10/2558เรื่อง การแก้ไขปัญหาการทําการประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยมีเนื้อหาตอนหนึ่งว่า จากกรณีที่ประเทศไทยได้รับคำเตือนจากสหภาพยุโรปเกี่ย วกับมาตรการในการป้องกันยับยั้ง การประมงผิดกฎหมาย หากไม่ดำเนินการภายใน 6 เดือนอาจมีผลกระทบกับการส่งออกสินค้าสัตว์น้ำของประเ ทศไทย จึงอาศัยอำนาจตาม ม.44ของ รธน.ชั่วคราว หัวหน้า คสช. จึงมีคำสั่ง ให้จัดตั้ง "ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย " (ศปมผ.) เป็นศูนย์เฉพาะกิจขึ้นตรงกับนายกฯ โดยมี ผบ.ทร. เป็นผู้บัญชาการศูนย์ฯ และให้เริ่มปฏิบัติตามคำสั่งตั้งแต่วันที่1พ.ค. โดยให้ศูนย์ดังกล่าวกำหนดแนวทางการแก้ปัญหา รวมถึงดําเนินงานทําความเข้าใจกับสหภาพยุโรป ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาเสนอแนะ ปรับปรุง แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งพัฒนากฎหมาย เพื่อแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมายให้เป็นมาตรฐา นสากล และให้รายงานผลการปฏิบัติให้หัวหน้า คสช.ทราบอย่างต่อเนื่องจนกว่าสหภาพยุโรปได้ยกเลิกประ กาศเตือนประเทศไทย ให้ผู้ประกอบการเรือประมง ที่มีขนาดตั้งแต่30ตันกรอสส์ขึ้นไป หรือตามขนาดที่ ศปมผ. ประกาศกำหนดต้องดำเนินการ จัดทำสมุดบันทึกการทำประมง ติดตั้งระบบติดตามเรือประมง ห้ามเรือประมงออกไปทำการประมงในน่านน้ำของรัฐต่างประ เทศและในทะเลหลวง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก ศปมผ.ทั้งนี้ นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป..
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #58  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

ผู้จัดการออนไลน์
30-04-2015

ผู้ว่าฯภูเก็ตนำทีมออกตรวจเรือประมงป้องกันการค้ามนุ ษย์และทำประมงผิดกฎหมาย





ศูนย์ข่าวภูเก็ต - ผู้ว่าฯ ภูเก็ต นำทีมออกตรวจสอบเรือประมงบริเวณปากร่องน้ำคลองท่าจีน ป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ การทำประมงผิดกฎหมาย ฯลฯ ผลตรวจสอบเรือประมง 3 ลำ ไม่พบการกระทำความผิดแต่อย่างใด

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (29 เม.ย.) นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต พร้อมด้วย พ.ต.อ.พินิจ ศิริชัย รอง ผบก.ภ.จว.ภูเก็ต พ.ต.อ.ศิริพงษ์ เพ็ชรศิริรักข์ ผกก.8 บก.รน. พ.ต.ท.ปัญญา ชัยชนะ สว.ส.รน.3 กก.8บก.รน.พร้อมเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยต่างๆ ประกอบด้วย ทัพเรือภาคที่ 3 ประมง จัดหางาน แรงงาน สวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงเรือตรวจการณ์คุณพุ่มบูรณาการตรวจเรือประมงทุกประเ ภท บริเวณปากร่องน้ำคลองท่าจีน เป็นเวลา 2 ชั่วโมง ผลการตรวจสอบเรือประมง จำนวน 3 ลำ ลูกเรือทั้งหมด 47 คน เป็นสัญชาติไทย 7 คน พม่า 40 คน ไม่พบการกระทำผิดเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ การบังคับใช้แรงงาน น้ำมันเถื่อน พ.ร.บ.การเดินเรือ พ.ร.บ.คนเข้าเมือง ยาเสพติดหรืออาชญากรรมข้ามชาติ แต่อย่างใด

นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต กล่าวถึงการบูรณาการร่วมทุกฝ่ายเกี่ยวข้อง ออกตรวจเรือประมงในครั้งนี้ว่า การลงมาปฏิบัติงานในวันนี้เป็นการขับเคลื่อนนโยบายขอ งรัฐบาล ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และการดูแลเกี่ยวกับเรื่องการประมงผิดกฎหมายหรือ IUU ที่เราได้รับใบเหลืองจากสหภาพยุโรป ในขณะเดียวกันการทำงานในวันนี้ แสดงให้เห็นถึงการบูรณาการประสานความร่วมมือจากหน่วย งานหลายๆ ฝ่าย ในการออกตรวจเรือประมงต่างๆ ซึ่งทำให้เรามีข้อมูลของแต่ละฝ่ายและง่ายต่อการตรวจส อบ

ทั้งนี้จากการออกตรวจเรือประมงเหล่านี้ ปัญหาที่พบคือใช้เวลาพอสมควร ตรวจเรือ 3 ลำใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมง คิดว่าเรื่องนี้ต้องปรับปรุงให้ดีขึ้น และที่สำคัญเอกสารที่แต่ละหน่วยงานทำขึ้นมาเพื่อตรวจ สอบเรือประมงนั้น คิดว่าต้องมีลายเซ็นจากเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงาน เพื่อเป็นการรับรองว่า เรือได้รับการตรวจแล้ว มีการปฏิบัติตามระเบียบของ IUU เรื่องการค้ามนุษย์หรือเรื่องของคุณภาพชีวิตคนบนเรือ ต่างๆ เพราะฉะนั้น ลักษณะการทำงานแบบนี้ น่าจะช่วยแก้ปัญหาเทียร์ 3 เรื่องการค้ามนุษย์ที่เรากำลังเป็นปัญหาหรือเรื่องขอ ง IUU ที่เรากำลังประสบอยู่





นายนิสิต กล่าวอีกว่า สำหรับผลการตรวจสอบ ณ จุดหนึ่งที่เราตรวจสอบ มีความเห็นว่าผู้ประกอบการเรือหรือไต้ก๋งเรือ ยังไม่เข้าใจถึงวิธีการเพราะยังขาดเอกสารต่างๆ เช่นใบสัญญาของผู้ประกอบการในการแจ้งเข้า-ออกเรือ เป็นต้น ที่ทางกรมประมงทำขึ้น แต่ว่าเขาไม่ได้เอาออกมา อีกประเภทยังมีแรงงานที่ยังไม่มีบัตร แต่ก็มีเป็นส่วนน้อย ซึ่งเรื่องนี้เราได้เปิดโอกาสให้เรือประมงในภูเก็ตทำ ให้เสร็จก่อนกลุ่มอื่นๆ คือภายในเดือนพฤษภาคม ตนตกลงกับทางจัดหางานจังหวัดและแรงงานจังหวัดว่า เราจะเร่งรีบดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหานี้ ซึ่งเป็นปัญหาที่เห็นได้ชัด คือบัตรยังไม่ครบแต่ก็เป็นส่วนน้อย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ประกอบการหรือไต้ก๋งเรือลืมนำเอ กสารต่างๆ มาไว้บนเรือที่จะให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบถึงความถูก ต้องของด้านต่างๆ ซึ่งจะแจ้งให้ทางกรมประมงได้สื่อสารทำความเข้าใจกับผ ู้ประกอบการถึงการเตรียมความพร้อมเรื่องเอกสารหลักฐา นต่างๆ ไว้บนเรือให้พร้อมเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจ รวมถึงวิธีการตรวจเพื่อให้เกิดความรวดเร็วไม่เป็นการ รบกวนผู้ประกอบการมากเกินไป

นอกจากนี้ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ยังได้มอบนโยบายในเรื่องของการออกตรวจแบบบูรณาการร่ว มหลายฝ่าย ให้ออกตรวจในทุกๆ เดือน อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อสุ่มตรวจตามที่ต่างๆ ร่วมกับตำรวจน้ำ ทหารเรือ ซึ่งพร้อมช่วยเราอยู่แล้วในการทำงาน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ติดปัญหาในเรื่องของงบประมาณ ซึ่งจะหาแนวทางแก้ไขกันต่อไป
__________________
Saaychol
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #59  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default

ผู้จัดการออนไลน์
04-05-201

ปัญหาการประมง : “เป็นเรื่องการไร้ความสามารถที่จะคิดแตกต่างไปจากโลก ที่เห็นแก่ตัว” ....................... โดย ประสาท มีแต้ม

ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยได้รับคำเตือนหรือ “ใบเหลือง” เนื่องจากการทำประมงที่ผิดกฎระเบียบที่เรียกว่า “ ระเบียบ-ไอยูยู (IUU-fishing คือ ผิดกฎหมาย (Illegal), ขาดการรายงาน (Unreported), ไม่มีการควบคุม (Unregulated)” เป็นเวลา 6 เดือนจากสหภาพยุโรปเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา หากรัฐบาลไทยไม่ดำเนินการแก้ไขให้เป็นที่พอใจ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปซึ่งอ้างว่าเป็นผู้นำเข้าสิน ค้าจากการประมงมากที่สุดในโลกก็จะไม่รับซื้อสินค้าดั งกล่าวจากประเทศไทย

เราจึงควรมาทำความเข้าใจกับเรื่องนี้ให้ลึกกันสักหน่ อยเพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญมาก ด้วยเหตุผล 2 ประการ คือ (1) ประเทศไทยส่งออกปลาและผลิตภัณฑ์การประมงคิดเป็นมูลค่ ามากเป็นอัน 3 ของโลกรองจากจีนและนอร์เวย์ และ (2) เป็นเรื่องความยั่งยืนของทรัพยากรทางทะเลไม่เฉพาะแต่ สำหรับคนไทยเท่านั้น แต่เป็นเรื่องผลประโยชน์ในอนาคตของคนทั้งโลกอีกด้วย

ไม่ทราบว่าเป็นเรื่องบังเอิญหรือจงใจกันแน่ ในช่วงเวลาที่ใกล้กันนั้นได้มีข่าวการค้ามนุษย์หรือแ รงงานทาสในภาคการประมงเกิดขึ้นด้วย จึงทำให้สื่อหลายสำนักนำเสนอข่าวจนทำให้คนไทยเข้าใจค ลาดเคลื่อนว่า “ไอยูยู” มีเฉพาะปัญหาแรงงานทาสที่รัฐบาลไทยได้แก้ไขไปแล้วรวม ทั้งการผ่าน พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์รวดเดียว 3 วาระในสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วย

ในบทความนี้ ผมขอนำเสนอเป็นข้อๆ รวม 5 ข้อดังนี้


หนึ่ง เหตุผลของสหภาพยุโรป

สหภาพยุโรป (European Commission) ถือว่าการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (IUU-fishing) เป็นปัญหาที่รุนแรงของโลกปัญหาหนึ่ง เพราะส่งผลให้เกิด (1) การประมงที่มากเกินไป (overfishing) (2) ทำลายการแข่งขันทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้ชาวประมงที่ซื่อ สัตย์เสียเปรียบ และ (3) ทำให้ชุมชนชายฝั่งอ่อนแอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา

หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็เพื่อ “ส่งเสริมและสนับสนุนการทำประมงที่เหมาะสม สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่เ ป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลก”

สหภาพยุโรปได้เริ่มบังคับใช้มาตรการ IUU-fishing ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 โดยอ้างว่าได้ร่วมทำงานกับผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ ต่างๆ ทั่วโลก โดยใช้บังคับทั้งในน่านน้ำของแต่ละประเทศและในน่านน้ ำสากลด้วย มาตรการตอบโต้ต่อประเทศที่ไม่ให้ความร่วมมืออย่างจริ งจังก็คือประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปจำนวน 27 ประเทศจะไม่รับซื้ออาหารทะเลและผลิตภัณฑ์จากประเทศที ่ไม่ให้ความร่วมมือ โดยเริ่มต้นให้เวลาในการปรับตัวนาน 15 เดือน

จากเอกสารของอียูเอง (21 เมษายน 2558) ระบุว่า ในแต่ละปีปริมาณสัตว์น้ำจากการประมงที่ผิดกฎหมายทั่ว โลกมีประมาณ 11 ถึง 26 ล้านตัน หรือ 15% ของสัตว์น้ำทะเลที่จับได้ทั้งหมด คิดเป็นมูลค่า 8,000 ถึง 19,000 ล้านยูโร ในฐานะที่เป็นผู้นำเข้าที่ใหญ่ที่สุดในโลก อียูไม่มีความปรารถนาที่จะร่วมในการกระทำความผิดนี้ และไม่ยินยอมให้สินค้าเหล่านั้นเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโร ป

คำว่า “ผิดกฎหมาย” นี้ทาง FAO ได้ให้ขยายความว่า เป็นการทำประมงในเขตของประเทศอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายประมงหรือระเบียบของประเ ทศนั้นๆ เอง เช่น ทำประมงในช่วงเวลาที่ห้ามทำ หรือในบางพื้นที่อนุรักษ์เป็นพิเศษ เป็นต้น

ในการวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความเข้าใจในภาพรวมของ IUU-fishing ทั่วโลก นักวิจัยได้สรุปว่า “IUU-fishing นั้น ส่วนใหญ่ปฏิบัติกันในประเทศที่รัฐอ่อนแอ มีการคอร์รัปชันในวงกว้างมีความลังเลในการออกกฎหมาย และขาดความมุ่งมั่นหรือประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎห มายที่มีอยู่แล้ว” (ที่มา The Future of Fish – The Fisheries of the Future, world ocean review)


สอง ทำไมอียูจึงให้ใบเหลืองประเทศไทย

จากเอกสารของอียูที่ประกาศเมื่อ 21 เมษายน 2558 ได้ให้เหตุผลว่า “จากการวิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนและแลกเปลี่ยนความเห็นก ับทางการไทยอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554 คณะกรรมการจึงกล่าวโทษ (denounce) ข้อบกพร่องของประเทศไทยที่เกี่ยวกับระบบการติดตามสัง เกต ควบคุม และลงโทษในการทำประมง โดยสรุปว่าประเทศไทยไม่ได้ใช้มาตรการที่เพียงพอในการ ร่วมแก้ปัญหาในระดับสากลเพื่อแก้ปัญหา IUU-fishing”

มาตรการไม่ซื้อสินค้าดังกล่าวทางอียูได้ใช้มาแล้วกับ ประเทศเบลีซ (Belize ในอเมริกากลาง ประชากรไม่ถึง 3 แสนคน) ประเทศกินี (Guinea ในทวีปแอฟริกา ประชากร 8 ล้านคน) กัมพูชาและศรีลังกา ในขณะที่ประเทศเกาหลีและฟิลิปปินส์ก็เคยได้รับใบเหลื องเช่นเดียวกับไทย แต่ก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นปกติแล้ว


สาม สถานการณ์ประมงในประเทศไทย

ถ้ายึดกันตามระเบียบ IUU-fishing ตามตัวอักษรแล้ว ก็พบว่าการประมงในประเทศไทยก็มีปัญหาครบตามที่ทาง FAO ขยายความทั้งในเขตน่านน้ำไทยเอง และในน่านน้ำสากลรวมทั้งเขตของประเทศเพื่อนบ้าน กล่าวคือ เรือประมงขนาดใหญ่เข้ามาทำประมงในเขตไม่เกิน 3 พันเมตรจากชายฝั่งตามที่ระเบียบได้ห้ามไว้ ชาวประมงพื้นบ้านเล่าให้ผมฟังว่า มีเรือประมงที่ต้องห้ามเข้ามาทำประมงประมาณ 1 พันเมตรเท่านั้น แต่ทางการก็ไม่สามารถเข้าจับคุมได้ นอกจากนี้ยังมีเรือที่ไม่มีใบอนุญาตอีกจำนวนมาก บางรายมีใบอนุญาตใบเดียวแต่มีเรือหลายลำ เป็นต้น

แต่ถ้ายึดกันตามวัตถุประสงค์ของอียูที่ว่า “สร้างความยั่งยืนให้เกิดขึ้นกับทรัพยากรสัตว์น้ำที่ เป็นแหล่งอาหารของคนทั้งโลก” เราจะพบว่าในเขตน่านน้ำของประเทศไทยก็ได้สูญเสียความ ยั่งยืนไปนานแล้ว

จากงานวิจัยด้วยการสำรวจของกรมประมงชิ้นล่าสุด (2549, จากวารสารวิจัยเทคโนโลยีประมง) ที่เกี่ยวกับในอ่าวไทยตอนบนโดยใช้เรืออวนลากแผ่นตะเฆ ่ พบว่า ผลการจับสัตว์น้ำต่อหนึ่งชั่วโมงลงงานได้ลดลงจาก ที่ 256 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี พ.ศ. 2506 ลงมาเหลือ 14 กิโลกรัมต่อชั่วโมงลงงาน ในปี พ.ศ. 2549 หรือลดลงจาก 100% ลงมาเหลือ 5% เท่านั้น ผมได้นำรายละเอียดและผลสรุปเอาไว้ด้วยครับ



(มีต่อ)
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-07-2015 เมื่อ 14:24
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #60  
เก่า 21-07-2015
สายชล's Avatar
สายชล สายชล is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
สถานที่: Bangkok
ข้อความ: 9,160
Default


ปัญหาการประมง : “เป็นเรื่องการไร้ความสามารถที่จะคิดแตกต่างไปจากโลก ที่เห็นแก่ตัว” ....................... โดย ประสาท มีแต้ม (ต่อ)

งานวิจัยชิ้นนี้ยังได้นำเสนอด้วยว่า ในบริเวณจังหวัดเพชรบุรีสามารถจับได้เพียง 7 กิโลกรัมต่อชั่วโมงลงงานเท่านั้น ดังนั้น เราพอจะคิดกันเองได้ว่าน่านน้ำในอ่าวไทยของเรามีปัญห ารุนแรงขนาดไหนทั้งในฐานะชาวประมงและในฐานะคนกินปลา

นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า ผลการจับในปี 2549 ได้สูงกว่าในปี 2542 ซึ่งได้ 12.46 กิโลกรัม (ผมไม่ได้สรุปไว้ในตารางนี้) ว่าเป็นเพราะราคาน้ำมันในปี 2549 สูงกว่าในปี 2542 ทำให้จำนวนเรือประมงที่ออกทำการประมงในปี 2549 จึงน้อยลงด้วย แล้ว “ทำให้เรือสำรวจจับสัตว์น้ำได้สูงขึ้น”

แม้ผลการจับสัตว์น้ำในปี 2542 กับ 2549 อาจจะไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แต่ผมว่าแนวคิดของผู้วิจัยที่ซ่อนอยู่ในงานวิจัยนี้ม ีความสำคัญมาก คือจำนวนเรือประมงมีผลต่อความยั่งยืนของทรัพยากร ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของสหภาพยุโรปที่ได้กล่า วมาแล้ว

นอกจากนี้ ยังมีข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ต่อการเลือกใช้เครื่อง มือประมง (ซึ่งจะกล่าวต่อไป) คือผลการสำรวจครั้งนี้ยังพบอีกว่า ร้อยละ 46 (โดยน้ำหนัก) ของสัตว์น้ำที่จับได้เป็นปลาหน้าดิน โดยมีปลาเป็ดแท้เพียง 13% (คือปลาขนาดเล็กที่คนไม่นิยมบริโภคโดยตรง มักใช้ทำปลาป่นหรือน้ำปลา) ดังนั้น การใช้อวนลาก (ที่ทางอียูยังไม่ได้ยกขึ้นมาเป็นประเด็น) จึงเป็นการทำลายที่อยู่อาศัยอย่างถาวรของปลาจำนวนเกื อบครึ่งหนึ่งในทะเล


สี่ สิ่งที่ทางกรมประมงพยายามแก้ปัญหา

เมื่อทางสหภาพยุโรปได้ตั้งกติกาว่าด้วย IUU-fishing ทางกรมประมงจึงมีแนวคิดที่จะทำเรือที่ผิดกฎหมายอยู่แ ล้วในขณะนี้ให้ถูกกฎหมายเสีย ตามกติกาของอียู แต่ในเรื่องการติดตาม ตรวจตราและการควบคุม ทางกรมประมงก็อ้างว่าได้ทำเต็มที่แล้วตามกำลังที่มีอ ยู่

วิธีการของกรมประมงที่จะทำเรือประมงที่ผิดกฎหมายอยู่ แล้วให้ถูกฎหมายก็โดยการอ้างงานวิจัยในปี 2546 โดยองค์กรด้านอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ร่วมกับกรมประมงพบว่า จำนวนเรืออวนลากของประเทศไทยเกินศักยภาพที่ทรัพยากรจ ะรองรับได้ไป 33% หรือมีจำนวนเรืออวนลากมากเกินไปนั่นเอง โดยที่ขณะนั้นมีเรืออวนลากจำนวน7,968 ลำ

ในปี 2552 ทางกรมประมงพบว่ามีเรืออวนลากที่จดทะเบียนอย่างถูกกฎ หมายหรือมีเรืออวนลากที่ได้รับอาชญาบัตรไปแล้ว 3,619 ลำ ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามงานวิจัยในปี 2546 และกติกาของสหภาพยุโรป ทางกรมประมงจึงได้จิ้มเครื่องคิดเลขแล้วได้ข้อสรุปว่ า สามารถอนุญาตให้เรืออวนลากที่เป็นเรือเถื่อนอยู่ในขณ ะนี้ สามารถขึ้นทะเบียนเป็นถูกกฎหมายได้อีกประมาณ 2,300 ลำ

น่าเสียดายที่ทางกรมประมงได้เลือกเอาเฉพาะงานวิจัยบา งชิ้นมาปฏิบัติ (ชิ้นปี 2546) แต่ไม่ได้คำนึงถึงงานวิจัยในปี 2549 (ซึ่งผมนำมาสรุปไว้ข้างตน) ซึ่งแสดงอย่างชัดเจนว่าแนวโน้มของทรัพยากรสัตว์น้ำใน อ่าวไทยกำลังจะหมดไปจนเหลือแต่น้ำ และงานวิจัยชิ้นหลังนี้มีความสอดคล้องกับเจตนารมณ์ขอ งสหภาพยุโรปที่อยากจะรักษาทรัพยากรไว้ให้ทั้งคนรุ่นน ี้และลูกหลานในอนาคตด้วย

ผมขอหยุดเรื่องปัญหาการประมงไทยเอาไว้เพียงแค่นี้นะค รับ ต่อไปนี้ผมขอนำข้อมูลและแนวคิดของนักวิชาการในระดับโ ลกมาเล่าสู่กันฟังครับ ว่ากันแบบเบาๆ มีรูปประกอบ เผื่อว่าท่านผู้อ่านจะนำไปเล่าต่อเพื่อสร้างจิตสำนึก สาธารณะของลูกหลานต่อไปซึ่งก็เป็นวัตถุประสงค์ของสหภ าพยุโรปที่อยากให้รัฐบาลทำด้วย


ห้า ข้อมูล รูปภาพและแนวคิดของนักวิชาการระดับโลกบางคน


ผมได้เรื่องนี้มาจากการฟังคำบรรยายของศาสตราจารย์ Jeremy Jackson อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์ ท่านเป็นนักนิเวศวิทยาที่เชี่ยวชาญเรื่องปะการัง ผมอยากให้ท่านผู้อ่านได้ฟังด้วยตนเอง มีคำแปล 23 ภาษารวมทั้งภาษาไทย (https://www.ted.com/talks/jeremy_jackson) ท่านพูดในเวที TED Talk ซึ่งใช้เวลาประมาณ 19 นาที

รูปแรกเป็นการเปรียบเทียบขนาดปลาจากนักกีฬาตกปลาที่ท ่าเรือแห่งหนึ่ง จากเรือลำเดียวกัน แต่เวลาต่างกันถึง 60 ปี





ภาพถัดไปเป็นร่องรอยท้องทะเลที่ถูกเรืออวนลากทำลาย





ภาพถัดมาเป็นภาพวาดแสดงการทำงานของเรืออวนลาก (ไม่ได้มาจากคำบรรยายของศาสตราจารย์ Jackson)





หลังจากได้ฟังคำบรรยายแล้ว ผมค้นคว้าเพิ่มเติม จึงได้พบสิ่งที่น่าสนใจมากซึ่งผมไม่เคยทราบมาก่อนครับ




ในตอนสรุปคำบรรยายเรื่อง “เราทำให้มหาสมุทรอับปางได้อย่างไร” ศาสตราจารย์ Jackson ว่า

เราทั้งหมดจะรับมือกับเรื่องนี้อย่างไร? เรามีวิธีหลายวิธีที่จะแก้ปัญหาได้ แต่ท้ายที่สุดนะครับ สิ่งที่เราต้องแก้จริงๆ คือตัวเราเอง มันไม่ใช่เรื่องของปลาไม่ใช่เรื่องของมลพิษ ไม่ใช่เรื่องของสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง แต่เป็นเรื่องของเรา เรื่องของความโลภและความกระหายการเติบโต และความไร้ความสามารถของเราที่จะนึกภาพ โลกที่แตกต่างไปจากโลกที่เห็นแก่ตัว ที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ฉะนั้นคำถามคือ เราจะรับมือกับเรื่องนี้หรือไม่? ผมจะบอกว่าอนาคตของชีวิต และศักดิ์ศรีของมนุษยชาติ ตั้งอยู่บนการทำเรื่องนี้เลยครับ”


สรุป

ผมได้นำข้อความ “เป็นเรื่องการไร้ความสามารถที่จะคิดแตกต่างไปจากโลก ที่เห็นแก่ตัว” มาเป็นส่วนหนึ่งของชื่อบทความนี้ ก็เพราะประทับใจและเห็นความจริงบางอย่าง ในฐานะที่เคยเป็นกรรมการสมาคมรักษ์ทะเลไทย ผมได้มีโอกาสเห็นชาวประมงพื้นบ้านร่วมกันตั้งธนาคารป ู โดยการเสียสละปูม้าที่ตนจับได้ที่อยู่ในสภาพไข่หน้าท ้องมาเพาะฝักต่อ แล้วปล่อยไข่ปูนับแสนๆ ฟองลงสู่ทะเล ผลที่ตามมา ภายในเวลาไม่นานปรากฏว่ามีลูกปูนับพันๆ ตัวมาวิ่งเล่นตามชายหาดเต็มไปหมด ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นที่อ่าวแห่งหนึ่งในจังหวัดประจ วบคีรีขันธ์

ผมสรุปว่า ชาวประมงพื้นบ้านเริ่มมีความสามารถในการคิดถึงในสิ่ง ที่แตกต่างไปจากความเห็นแก่ตัวได้แล้วครับ แต่กับกลุ่มอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นเจ้าสัว ข้าราชการระดับสูงรวมทั้งนักการเมือง ผมยังไม่เห็นครับ
__________________
Saaychol

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 21-07-2015 เมื่อ 14:26
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 19:07


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger