|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#51
|
||||
|
||||
ภายในวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพุทธรูปนี้เคยถูกนำไปจัดแสดงที่กรุงปารีส ในปี พ.ศ. 2474 และนำไปประดิษฐานที่นครเวียงจันทน์หลายสิบปี ก่อนจะนำมายังหลวงพระบางในปี พ.ศ.2507 และ ที่ฐานพระไสยาสน์ มีพระพุทธรูปตั้งไว้องค์หนึ่ง ไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นพระอะไร ผนังด้านหนึ่งตั้งพระพทธรูปเรียงกันสามองค์ ผนังด้านในของวิหารน้อยทุกด้าน ประดับด้วยพระองค์เล็กๆงามยิ่งนัก บนเพดานเป็นสีแดง วาดลวดลายเทวดาประดับไว้
__________________
Saaychol |
#52
|
||||
|
||||
ส่วนวิหารอีกหลังที่อยู่ด้านหลังพระอุโบสถคือ วิหารพระม่าน ผนังวิหารด้านนอกมีลักษณะคล้ายกับวิหารองค์แรก ภายในวิหารนี้ประดิษฐาน พระม่าน ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ จะมีการอันเชิญมาให้ประชาชนสรงน้ำและกราบไหว้เป็นประจำทุกปี.....เสียดายที่ในวันที่เราไป วิหารหลังนี้ไม่ได้เปิดให้เข้าชม หน้าต่างที่มีไม้ลูกมะหวดปิดกั้นไว้ แทนลูกกรง ผนังด้านหลังวิหารทาด้วยสีชมพูประดับด้วยกระจกสี แสดงถึงวิถีชีวิตของผู้คน สร้างขึ้นใน พ.ศ.2493 เพื่อเฉลิมฉลองที่โลกก้าวสู่ยุคกึ่งพระพุทธกาล
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 15-06-2014 เมื่อ 16:23 |
#53
|
||||
|
||||
โรงเมี้ยนโกศ หรือโรงเก็บราชรถพระโกศของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวัฒนา สร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2505 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ลักษณะเป็นโถงกว้าง ผนังด้านหน้าตั้งแต่หน้าบันลงมาจนถึงพื้น สามารถถอดออกได้ เพื่อให้สามารถเคลื่อนราชรถออกมาได้ จุดเด่นของโรงเมี้ยนโกศยังอยู่ที่ประตูด้านนอก ที่เป็นภาพแกะสลักวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ตอนสำคัญๆ เช่น ตอนพิเภกกำลังบอกความลับ ที่ซ่อนหัวใจของทศกัณฑ์ให้กับพระราม ถัดลงมา เป็นตอนที่ทศกัณฑ์ต้องศรของพระรามเสียบเข้าที่หัวใจ ถัดลงมาเป็นตอนที่พระรามพระลักษณ์ต่อสู้กับทศกัณฑ์ ด้านล่างสุด เป็นตอนที่นางสีดาลุยไฟเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์กับพระราม เดิมที่ภาพแกะสลักเหล่านี้เป็นการลงรักปิดทอง ต่อมาได้มีการบูรณะใหม่โดยทาสีทองเหลืองอร่าม หากจะไปชมโรงเมี้ยน ควรจะไปถึงในช่วงบ่ายๆ เมื่อพระอาทิตย์เริ่มคล้อยลงทางด้านตะวันตก แสงแดดจะตกกระทบหน้าโรงเมี้ยน ทำให้เห็นภาพชัดเจนและงดงามมาก ข้างทางก่อนออกจากประตูด้านข้าง มีซุ้มปูนปั้น รูปสี่เหลี่ยมด้านบนโค้งมน มีรูปปั้นพระฤๅษี คว่ำพังพาบอยู่ด้านบน ไปมองด้านในซุ้ม มีพระพุทธรูปปูนปั้นตั้งอยู่ ไม่ทราบว่ามีความหมายเช่นไร.. แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-05-2012 เมื่อ 23:09 |
#54
|
||||
|
||||
ภายในวัดยังมีเขตสังฆาวาสและยังมีพระจำพรรษาอยู่เช่นวัดทั่วไป วันนั้น เราได้เห็นพระและเณรช่วยกันเก็บกวาดลานวัด และเก็บขยะไปทิ้ง... ทางเข้าวัดด้านข้าง อยู่บนถนนเล็กๆชื่อถนนโพธิสารราช ซึ่งอยู่ข้างๆวัด นำไปสู่ริมน้ำโขง และตลาดเช้าของหลวงพระบางก็ตั้งอยู่ในซอยเล็ก ที่เชื่อมต่อกับถนนสายนี้... ท่าเรือหลังวัดเชียงทอง...นอกจากมีคนใช้บริการเรือ ทั้งข้ามไปมาระหว่างสองฝั่งแล้ว ยังมีการบริการให้เช่าไปวัดถ้ำติ่ง ไปดูหมู่บ้านต้มเหล้า การร่อนทองในแม่น้ำโขง และการเดินทางล่องแม่น้ำโขงไปจนถึงเมืองเชียงแสน และเมืองเชียงของ ในฝั่งไทยด้วย
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-05-2012 เมื่อ 23:11 |
#55
|
||||
|
||||
:d
มาชิม อาหารตา และอาหารใจ จานใหญ่ จากพี่สองสายค่ะ ขอบพระคุณมากค่ะพี่ น้องรออ่านหนังสือรวมเล่ม นะคะ....เมื่อไรวางแผงเอ่ย ?????
__________________
Superb_Sri_Nuan.Ray ณ SOS แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย Super_Srinuanray : 22-05-2012 เมื่อ 11:58 |
#56
|
||||
|
||||
ขอบคุณจ้ะ น้องติ่ง...อาหารจะอร่อย ต้องพิถีพิถัน และใช้เวลาในการปรุงแต่งรสชาติหน่อยนะจ๊ะ...
__________________
Saaychol |
#57
|
||||
|
||||
วันรุ่งขึ้น...หลังอาหารเช้าแล้ว เราจะไปเที่ยว "ถ้ำติ่ง" ถ้ำดังของลาวเหนือกัน เมื่อยี่สิบกว่าปีก่อน สองสายเคยไปเยือนถ้ำติ่งมาแล้ว โดยนั่งเรือจากท่าวัดเชียงทอง ทวนน้ำขึ้นไปทางเหนือ ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่งก็ถึง ระหว่างนั้นก็แวะชมหมู่บ้านต้มเหล้าริมฝั่งโขง และดูการร่อนทองในแม่น้ำด้วย ส่วนขากลับ เราล่องตามน้ำใช้เวลาประมาณชั่วโมงเศษก็กลับถึงหลวงพระบาง แต่ครั้งนี้ เราจะขับรถเป็นกองคาราวาน โดยใช้ถนนลาดยางสาย 13 กันค่ะ ถนนจากหลวงพระบางอยู่ในสภาพที่ดีทีเดียว เมื่อเราวิ่งไปสัก 20 กว่ากิโลเมตร ก็ถึงทางแยกเข้าซ้ายมือ ถนนดีๆก็กลายเป็นถนนลูกรังแคบๆ เป็นหลุมเป็นบ่อ สูงๆต่ำๆ ขบวนคาราวานของเรา ก็กลายเป็นขบวนรถออฟโรด วิ่งกันฝุ่นตลบ ไม่นานก็ถึงริมฝั่งแม่น้ำโขง วิ่งลัดเลาะไปตามตลิ่งอีกไม่นานก็ถึงหมู่บ้านปากอู รวมระยะทางราว 30 กิโลเมตร แต่ใช้เวลาไปกว่าชั่วโมง เราต้องจอดรถไว้ที่ลานจอดรถนอกหมู่บ้าน..จากนั้นก็เดินผ่านหมู่บ้านไปที่ร้านอาหารริมโขง ระหว่างทาง มีร้านขายของพื้นเมืองวางล่อตาล่อใจอยู่ อดใจไว้ก่อน เดี๋ยวขากลับค่อยมาซื้อดีกว่า ร้านอาหารมื้อกลางวันของเรา ตั้งอยู่บนริมฝั่งโขง วิวดี สะอาด และอาหารอร่อยมากๆ จานที่อร่อยเด็ด และเราอยากรับประทานกันมากคือ สาหร่ายหรือ "ไคแผ่น" โรยงาทอดกรอบ ทานกับน้ำพริกเผาใส่หนังหมูหรือหนังควาย ที่เรียกว่า "แจ่วบอง" ทานเพลินจนต้องขอเพิ่มอีก.. “ไค” เป็นสาหร่ายน้ำจืดในวงศ์ Zygnemataceae รูปร่างเป็นเส้นยาวละเอียดคล้ายเส้นผมสตรี สีเขียวสด ชอบขึ้นเป็นกลุ่มตามห้วยธารที่น้ำไหลตลอดเวลา และใสสะอาด ฤดูหาไคเริ่มประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ซึ่งแม่น้ำลำธารใสสะอาด และยังมีปริมาณน้ำมากอยู่ พอน้ำเริ่มลด หรือมีฝนตกซึ่งทำให้น้ำขุ่น ชาวบ้านก็จะเลิกหา เมื่อได้ไคมาแล้วก็จะนำมาล้างให้สะอาด เอาเศษดินเศษทรายออกจนหมด จากนั้นนำไคมาชุบน้ำ ละลายส้มมะขามซึ่งผสมด้วยขิง ข่า กระเทียม หอมใหญ่ มะเขือเทศ ผงชูรส และเกลือ แล้วรอให้สะเด็ดน้ำ แผ่ไคบนตับใบหญ้าคาโดยใช้ไม้ตีให้ไคแผ่ออกเป็นแผ่นบางๆ เสร็จแล้วโรยด้วยงา ตากแดดให้แห้ง เวลาเก็บจะม้วนเป็นก้อนกลมทำนองเดียวกับม้วนผ้า เมื่อจะนำมารับประทานก็ใช้กรรไกรตัดไคเป็นชิ้นเล็กๆ พอคำ ทอดในน้ำมันร้อนๆ แต่ไฟต้องอ่อน การทอดต้องรวดเร็วแบบจุ่มแล้วเอาขึ้นทันที มิฉะนั้นไคจะไหม้ และมีรสขม ควรรับประทานขณะที่ไคยังร้อนเพราะหากปล่อยให้เย็นจะเหนียว ไม่อร่อย “แจ่วบอง” เป็นน้ำพริกเผาชนิดหนึ่ง ไม่มีน้ำมันมากเหมือนน้ำพริกเผาไทย แต่ไม่แห้งร่วนเหมือนน้ำพริกปลาย่าง ส่วนสำคัญคือต้องใส่หนังหมู หรือหนังควายหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ ผสมอยู่ในเนื้อน้ำพริกด้วย (บางตำรับไม่ใส่)เวลากินจะกรุบๆ อร่อยใช้ได้ทีเดียว ไคแผ่นทอด (จื่นไคแผ่น) เป็นอาหารว่าง หรือของแกล้มที่ชาวหลวงพระบางนิยมรับประทานกัน และมักจิ้มกับแจ่วบอง เพื่อเพิ่มรสชาติให้กล่อมกลมมากยิ่งขึ้น
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-05-2012 เมื่อ 18:47 |
#58
|
||||
|
||||
ที่ร้านนี้ เลี้ยงนกฮูกตัวโต ขนฟูฟ่องไว้ด้วย เจ้าของร้าน เขาเลี้ยงนกตัวนี้ด้วยปลาสดๆจากแม่น้ำโขง... เราทานข้าวเสร็จ ก็เข้าห้องน้ำ เรียบร้อยแล้วก็เดินลงไปที่ชายหาด เพื่อเตรียมลงเรือข้ามไปยังถ้ำติ่งที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ริมฝั่งแม่น้ำโขงอยู่สูงจากชายหาดเกือบยี่สิบเมตร บันไดที่สูงชัน ทำให้ต้องระมัดระวังในการเดินลงมากๆ ชายหาดของแม่น้ำโขงบริเวณนี้ เป็นลานทรายที่ทอดยาวกว่าร้อยเมตร ลงไปถึงชายน้ำโขง พื้นที่ไม่ได้ถูกทิ้งไว้ให้ไร้ประโยชน์ ชาวบ้านนำพืชสวนครัว และข้าวโพดลงมาปลูกกันเป็นแถวเป็นแนว.. ถึงริมโขงแล้ว นึกว่าจะได้ลงเรือ กลับต้องเดินลัดเลาะไปตามริมน้ำอีกหลายสิบเมตร เพราะท่าเรือไม่ได้อยู่ตรงหน้าร้านอาหารสักหน่อย...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-05-2012 เมื่อ 23:19 |
#59
|
||||
|
||||
การเดินไปบนพื้นทรายนี่ ทุลักทุเลมากค่ะ ทรายละเอียดสีขาวสะอ้าน สวยดีนะคะ แต่เดินได้ลำบากมาก ทำให้เท้าจมลงไป แล้วก็พลิกได้ง่ายๆ... เห็นเรือที่เราจะเดินไปลงแล้วค่ะ....อ้าวววว...ไม่ใช่ลำนี้ค่ะ....!!! ถึงเรือของเราเสียทีค่ะ...อูยยยย....ทั้งเหนื่อยทั้งร้อน....!!! เรือไม่ได้จอดที่ท่าเรือใหญ่แต่เป็นแพเล็กๆ การขึ้นเรือจึงลำบากมาก ต้องปีนจากเรือลำหนึ่งไปยังเรืออีกลำหนึ่งที่จอดอยู่ด้านนอก งานนี้เล่นเอาคนแก่บ่นกันเป็นแถว (รวมทั้งสองสายด้วย)
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 22-05-2012 เมื่อ 23:15 |
#60
|
||||
|
||||
ได้นั่งเรือแล้ว ค่อยยังชั่วหน่อย...แดดไม่ร้อน แถมมีลมโชยผ่านมา ทำให้คลายร้อนไปได้มาก การนั่งเรือข้ามไป-กลับนี่ เขาคิดเงินคนละ 10,000 กีบ (50 บาท) บนเรือมีบริการน้ำชากาแฟไว้ให้ดื่มด้วยค่ะ ส่วนค่าเข้าชมถ้ำติ่งคนละ 20,000 กีบ (100 บาท) เห็นเรือหลายลำจอดอยู่หน้าถ้ำติ่ง ก็เดาได้เลยว่า คนในถ้ำคงมีมากมาย... เรือวิ่งไปไม่ถึงสิบนาที ก็ถึงท่าเรือหน้าถ้ำติ่งซึ่งทำไว้อย่างดี แต่..เงาของภูเขาที่ถ้ำติ่งตั้งอยู่ ทาบลงมาที่ท่าเรือ ทำให้มืดครึ้มและเย็นสบายดีค่ะ... เห็นทางขึ้นตัวถ้ำแล้ว...โอ้...พระเจ้าช่วย ทำไมบันไดถึงชันเช่นนี้ !!!
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 12-06-2012 เมื่อ 00:17 |
|
|