เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #51  
เก่า 10-11-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


'โลกป่วย คนป่วน' ..... อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ต่อ)



เรื่องการเตือนภัยก็มีข้อบกพร่องเยอะเหมือนกัน?

ผมคิดว่าก่อนอื่นเราต้องไปสร้างขีดความสามารถที่ปลายทาง แปลผลตรงนั้น พยากรณ์ตรงนั้น เตือนตรงนั้น การเตือนที่ปลายทางดีกว่าการเตือนที่ต้นทาง เพราะถ้าคุณเตือนผิด คนที่เตือนผิดจะมาด่าเดี๋ยวนั้นเลย แต่เราต้องไปสร้างขีดความสามารถที่ปลายทางให้ได้ เรื่องการถ่ายทอดความรู้ตรงนี้สำคัญ ความรู้ไม่ใช่ความรู้แบบวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีไกลตัวคน บางอันอาจใช้ empirical เช่น มดมันคาบไข่ขึ้นมาตรงนั้นแล้วฝนจะตก อธิบายไม่ได้หรอกแต่มันเวิร์กก็ใช้ไปก่อน เราต้องพยายามเอามาโยงใช้ประโยชน์ให้ได้บ้าง แต่ตอนนี้ทุกคนไม่มองสิ่งรอบตัวเลย จะฟังวิทยุโทรทัศน์หรืออ่านหนังสือพิมพ์นิดหน่อย เป็นช่องทางเดียวแล้วเดี๋ยวนี้ แทนที่จะคอยฟังว่าวันนี้ฝนจะตกรึเปล่า ก็ออกไปชะโงกหน้าต่างดูว่าฝนตกรึเปล่า ถ้าสังคมไปติดอยู่กับตรงนี้มากเกินไปจะลำบาก


แล้วทัศนคติของคนมีปัญหาไหม

มี คือที่ผ่านมาเรานึกเอาเองว่าอยู่กรุงเทพฯต้องแห้ง ที่มันแย่คือเงื่อนไขทางธรรมชาติกับเทคโนโลยีที่สร้างขึ้นมา พอมาถึงจุดหนึ่งเราจะไปไม่ไหว คนที่อายุน้อยว่าสามสิบปีที่ไม่เคยเห็นภาพกรุงเทพน้ำท่วมก็รู้สึกอีกอย่างหนึ่ง ไม่ได้เหมือนเมื่อก่อนหกสิบเจ็ดสิบปีที่แล้วที่น้ำท่วมปีเว้นปีเลย ก็จะรู้สึกอย่างหนึ่ง ทีนี้พอเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นมามันก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ แต่ว่าเราจะทำอย่างไรให้จัดการเรื่องนี้ได้ดีขึ้น อย่างกรุงเทพฯ คงต้องปล่อยไปแล้ว มันมาไกลเกินกว่าจะถอยกลับไปได้ แต่มันมีเมืองอื่นๆอีกหลายเมืองที่เข้าคิวรอจะเป็นเหมือนกรุงเทพฯ
ถ้าเกิดเมืองในประเทศไทยเป็นเหมือนกรุงเทพฯหมดคงไม่ไหว การลงทุนตรงนี้จะมหาศาลมาก เพราะว่าถ้าเราออกแบบเมืองโดยไม่ได้คำนึงถึงเรื่องปริมาณน้ำ ในที่สุดน้ำมันก็จะย้อนกลับมาหาเราอยู่ดี คือเราสามารถจัดการให้เราอยู่กับน้ำได้ แต่ตอนนี้เราผลักให้การจัดการน้ำเป็นของหน่วยงานรัฐเป็นส่วนใหญ่ ถ้ามีระบบเอกชนหรือให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม สามารถทำให้เป็นธุรกิจที่มีรายได้ ตรงนั้นจะทำให้น้ำที่ไม่มีประโยชน์ที่ต้องปัดทิ้งลงทะเลมีมูลค่าขึ้นมา พอน้ำมีมูลค่าก็จะมีคนสนใจลงทุน


นอกจากการตั้งรับแล้ว อาจารย์คิดอย่างไรกับการใช้เทคโนโลยีเพื่อควบคุมธรรมชาติ

บางเรื่องมันอาจจะทำได้ แต่เรื่องของการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวมันทำไม่ได้ อย่างเรื่องพายุในทางทฤษฎี ถ้าผมมีเครื่องบินสักลำหนึ่ง แล้วมีพายุใหญ่มา ผมก็ทิ้งระเบิดที่มีความเย็นมากๆ ลงไปคุณก็สลายพายุได้ หลักการไม่ได้ไฮเทคอะไร แต่อยู่ที่การปฏิบัติ ซึ่งเรื่องการสลายพายุ หรือการสลายฝนที่จีนเขาก็ใช้นะในโอลิมปิก อาจจะได้ประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือว่าได้ผล ตอนนี้บางเรื่องมันมีความเป็นไปได้ แต่ต้องดูว่าคุ้มขนาดไหน ต้องจัดการให้ดี เทคโนโลยีถ้าใช้มากเกินไปมันก็เป็นอันตราย

เพราะฉะนั้นผมมองว่าเราน่าจะใช้เทคโนโลยีไปทำให้คนมีความเข้มแข็งในระดับปลายทางดีกว่า เพราะต้นทางถ้าทำให้คนมายึดติดตรงนี้มากไป จะทำให้คนที่คุมตรงนี้ชี้ทางได้เลยว่าจะให้ฝนไปตกที่ไหน ซึ่งผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการคุมแบบนี้ มันจะนำไปสู่ปัญหาเชิงสังคมอีกมาก ตอนนี้มีคนไม่กี่คนที่จะตัดสินใจว่าให้กรุงเทพน้ำท่วมหรือไม่ท่วม มันก็ทำให้คนเกิดความรู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่แล้ว


ในมุมกลับอาจจะอันตรายมากกว่า?

ในภาพรวมผมว่ามันจะทำให้สถานการณ์เปราะบางมากขึ้น ถ้าให้เลือกระหว่างมีเทคโนโลยีคุมที่ต้นทางได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ กับไม่มีเทคโนโลยีเลย แล้วปล่อยไปตามบุญตามกรรม อย่างหลังอาจจะดีกว่า เพราะคนเราจะหาทางเอาตัวรอดของตัวเองอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต นั่นคือทุกคนจะมีวิธีที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง แล้ววิทยาศาสตร์เทคโนโลยีจะไปช่วยส่งเสริมกัน แต่ไม่ใช่คอนเซ็ปต์แบบท็อปดาวน์นะ


สำหรับเมืองไทยนอกจากปัญหาเรื่องการจัดการแล้ว มีอะไรที่ต้องกังวลอีกบ้าง

ปัญหาเรื่องชายฝั่ง ระยะเวลาไม่นานหรอก ยี่สิบปี สามสิบปีก็เห็นแล้ว มันจะทำให้การบริหารการจัดการยุ่งยากมากขึ้น เพราะเรามีปัญหาเรื่องการทรุดตัวของแผ่นดินในอัตราที่สูงมาก ตอนนี้เรามีนักวิจัยโดยเฉพาะเลยนะที่ใช้ดาวเทียมเรดาห์ดูว่าเป็นอย่างไร พบว่ามันทรุดตัว 2-3 เซนติเมตรต่อปี 10 ปีก็หนึ่งฟุต 20 ปี ก็ 2 ฟุต 30 ปีก็หนึ่งเมตร บวกเรื่องน้ำทะเลเพิ่มขึ้นทุกปี มันยากที่จะจัดการ บางคนบอกว่าไม่เป็นไรหรอกแค่กั้นกำแพง แต่มันไม่ง่ายอย่างนั้น


หลายปีก่อนอาจารย์เคยบอกว่าโลกยังไม่ป่วย ตอนนี้ถือว่าอาการแย่ลงไหมคะ

ตอนนี้จะเรียกว่าป่วยก็ได้ในระดับหนึ่ง แต่ว่าป่วย ความหมายคือผิดปกติไปจากเดิม แล้วเราพยายามดึงมันกลับมาให้เหมือนเดิม แต่ตอนนี้โลกกำลังจะเปลี่ยนผ่านไปอีกสถานภาพหนึ่ง สำหรับตัวโลกเองมันไม่ได้เดือดร้อนอะไรหรอก ที่เดือดร้อนจริงๆ คือมนุษย์ โลกก็มีวิวัฒนาการของมันไป จริงๆ บรรยากาศรอบโลกเป็นส่วนนิดเดียวเท่านั้นเอง ถ้าเกิดเหตุอะไรขึ้นมาแล้วทำให้มนุษย์ทั้งโลกตายเรียบไปเลยนะ 7 พันล้านคน โลกใช้เวลาอีกไม่เกิน...ระดับเป็นหมื่นปีเท่านั้นเองมันก็กลับมาได้


เพราะตัวปัญหาจริงๆ ก็คือมนุษย์?

อันนี้แน่นอน ชัดเจนอยู่แล้ว ไม่ต้องทำวิจัย แต่ตอนนี้เรากำลังจะดูว่าจะทำได้อย่างไรโดยที่ไม่เอาตัวปัญหา 7 พันล้านคนออกไป แถมยังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีก คือตอนนี้โจทย์ที่ตั้งกันอยู่นี่จะเอาทุกอย่างเลย ผมมองว่าป็นโจทย์ที่หาคำตอบไม่ได้ สำหรับผมเรื่องเชื้อเพลิงฟอสซิลอาจไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอีกไม่กี่ร้อยปีก็หมด ปัญหาเรื่องโลกร้อนเดี๋ยวมันแก้ของมันเอง ในระยะยาวผมไม่ได้แคร์หรอก ร้อยกว่าปีก็แค่ 2 เจเนอเรชั่นเอง แต่ผมสนใจประเด็นปัญหาใหม่ๆที่เกิดขึ้นมา เช่นเรื่องคุณภาพดิน พวกนี้อันตรายมาก เพราะดินถ้ามันเสื่อมสภาพไปแล้ว แก้ยาก นับหมื่นปี นับแสนปี ในการจะฟื้นสภาพมันเค็มแล้วมันเค็มเลย กว่าจะจืดใหม่ใช้เวลานานกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศเยอะ


เหมือนเรากำลังโฟกัสผิดจุด?

เรามักจะมองอะไรที่มันใกล้ตัว แต่แค่มองเรื่องโลกร้อนก็นับว่าดีขึ้นมาระดับหนึ่งแล้ว เป็นการมองที่ระดับร้อยสองร้อยปี เมื่อก่อนมองแค่วันต่อวัน เราขยับจากมองวันต่อวันมาเป็นระดับร้อยปีถือว่าประสบความสำเร็จอย่างมหาศาลแล้ว ทุกอย่างมันต้องมีกระบวนการของมันไป แล้วก็ต้องมีการเจ็บตัวบ้าง แต่การเจ็บตัวที่ดีควรเป็นการเจ็บตัวโดยสมัครใจ ถือเป็นต้นทุนที่ทุกคนต้องแชร์กัน




จาก .............. กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ Life Style วันที่ 10 พฤศจิกายน 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #52  
เก่า 16-12-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เจาะลึกภัยพิบัติ โลกาจะวินาศจริงหรือ??



ตั้งแต่เริ่มต้นย่างกรายเข้าสู่ขวบปีศักราช 2553 หรือ ค.ศ.2010 เป็นต้นมา จะพบได้ว่า หลากหลายผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก ทั้งจากทวีปยุโรป อเมริกา แอฟริกา เอเชีย ฯลฯ ไล่ตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ นักธรณีวิทยา นักวิชาการ แม้กระทั่งคนในวงการภาพยนตร์ฮอลลีวู๊ด ต่างให้ความสำคัญ และตระหนักกับกระแสภัยพิบัติ ที่จะอุบัติขึ้นในดาวเคราะห์ ของระบบสุริยะจักรวาล ที่มวลมนุษย์ชาติยึดถือเป็นที่พำนักอาศัย และเรียกกันอย่างกว้างขวางว่า “โลก” เนื่องจากมีการวิเคราะห์ตลอดจนวิพากษ์ ด้วยองค์ความรู้และหลักของเหตุผลที่ยกขึ้นมาประกอบว่า อนาคตวันหนึ่งโลกจะถึงกาลอวสาน โลกกำลังจะแตก ที่สำคัญทวีปต่างๆที่เคยถูกบรรจุอยู่ในแผนที่ อาจไม่มีอีกแล้วในอนาคต

หลังความวิตกดังกล่าว ปรากฏให้เกิดกระแสการตื่นตัวเริ่มกลับมาให้ความใส่ใจในการปกปักรักษา อีกทั้งรณรงค์เพื่อแก้ไขปัญหาโลกแตกนี้กระจายทั่วโลก ด้วยเหตุผลหลักคือ ไม่ต้องการให้ความวิตกนี้เกิดขึ้นจริง มีการหยิบยกจินตนาการนำเอาไปทำภาพยนตร์บนแผ่นฟิล์ม “ 2012 วันสิ้นโลก” จำลองเหตุการณ์โลกแตก สร้างความบันเทิง โดยอิงไว้ด้วยเจตคติที่ใฝ่เตือนผู้คนทางอ้อม ให้หันกลับมาใส่ใจระบบนิเวศน์ของโลกใบนี้ มากกว่ามุ่งแต่ฉกฉวยโอกาส ที่เน้นหนักไปในด้านทำลาย จนสามารถโน้มน้าวจิตใจคนทั่วโลก ให้เกิดความตระหนักว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่โลกกำลังเผชิญ ล้วนแล้วแต่เกิดจากการทำลายของเงื้อมมือมนุษย์ทั้งสิ้น

หรืออาจกล่าวได้ว่า ณ ห้วงเวลาปัจจุบัน คือ ช่วงเวลาที่โลกเอาคืนแล้วหรือไม่ หรือขวบปี 2010 ที่ผ่านมา คือ เสียงเตือนขั้นต้น ที่ให้มวลมนุษยชาติเตรียมหาทางระแวดระวัง ก่อนที่ทุกสิ่งจะสายเกินไป

หากมองย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงต้นปี จะพบว่าสัญญาณเตือนที่โลกพยายามสื่อสารกับมวลมนุษยชาติ กระจายความรุนแรงไปทั่วทุกมุมโลก มีเหตุการณ์สร้างความเสียหายมหาศาล ทั้งเรื่องแผ่นดินไหว น้ำท่วมครั้งใหญ่ในหลากหลายประเทศ ดินโคลนถล่มคร่าชีวิตประชาชนจำนวนมาก พายุพัดถล่ม หรือแม้กระทั่งปรากฏการณ์ภูเขาไฟระเบิดปะทุ เป็นต้น

เริ่มต้นจากในช่วงต้นปี วันที่ 12 ม.ค. เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่รุนแรงขนาด 7.0 ริกเตอร์ ที่ประเทศเฮติ ที่สร้างความศูนย์เสียครั้งสำคัญ เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 3 แสนคน ประชาชนได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก และไร้ที่อยู่อาศัยอีกหลายล้านคน หลังจากนั้นถัดมาอีก 1 เดือน ช่วงวันที่ 27 ก.พ. เกิดแผ่นดินไหว ที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นเป็น 8.8 ริกเตอร์ บริเวณนอกชายฝั่งประเทศชิลี ซึ่งกล่าวได้ว่า คือความเสียหายอย่างใหญ่หลวง ที่ยังผลให้แกนโลกเอียงไปจากตำแหน่งเดิมถึง 3 นิ้ว อันมีผลให้ระยะเวลาสั้นลงไป 1.26 ไมโครวินาที

ในเดือนถัดมา 8 มี.ค. เกิดเหตุฝนตกหนักในประเทศออสเตรเลีย ที่เมืองหลวงนครเมลเบิร์น เป็นเหตุให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ก่อนตามด้วยปรากฏการณ์ลูกเห็บยักษ์ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 นิ้ว ตกลงมาสร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนจำนวนมาก โดยในช่วงวันที่ 20 เดือนเดียวกัน ยังเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุในประเทศไอซ์แลนด์ ส่งผลกระทบรบกวนต่อการจราจรทางอากาศทั่วทวีปยุโรป มีประชาชนได้รับความเดือดร้อนหลายล้านคน ทั้งนี้ในช่วงสิ้นเดือน มี.ค. ยังส่งท้ายด้วยเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.5 ริกเตอร์ ในอ่าวเบงกอลด้วย

หลังจากนั้นในช่วงต้นเดือนเม.ย. พบว่ามีเหตุการณ์แผ่นดินไหวบริเวณนอกชายฝั่งของเกาะสุมาตรา มีขนาดความรุนแรง 7.8 ริกเตอร์ ก่อนที่จะเกิดภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งทางตอนใต้ของเกาะไอซ์แลนด์ เกิดการระเบิดปะทุขึ้นฟ้าสูงถึง 8 กิโลเมตร เป็นเหตุให้เกิดฝุ่นขี้เถ้าปกคลุมน่านฟ้าสูงกว่า 6,000 เมตร ในอีกอาทิตย์ต่อมา ส่งผลกระทบโดยตรงกับการสัญจรทางอากาศ โดยเฉพาะในภูมิภาคยุโรป ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลาเดียวกันพบว่า ในประเทศจีน ก็ได้เกิดแผ่นดินไหว มีความรุนแรงกว่า 7.1 ริกเตอร์ ปรากฏมีผู้เสียชีวิต 2,220 ราย สูญหาย 70 ราย และบาดเจ็บนับหมื่นราย ในเขตปกครองตนเองยูซู มณฑลชิงไห่ ข้ามเดือนมาในกลางเดือนพ.ค. ภัยพิบัติยังคงปกคลุมโลกอย่างต่อเนื่อง เมื่อเกิดเหตุการณ์พายุทอร์นาโด และพายุลูกเห็บ ที่เมืองซุ่ยหัว ในประเทศจีน ก่อให้เกิดความสูญเสีย มีผู้เสียชีวิตหลายราย

กระทั่งย่างเข้ากลางปี 2553 หรือ ค.ศ.2010 ในเดือนมิ.ย. พบมีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.4 ริกเตอร์ นอกหมู่เกาะอันดามันประเทศอินเดีย ห่างกันไม่กี่วัน ได้เกิดพายุทอนาร์โดถาโถมเข้าใส่ตะวันตกของอเมริกา กระทั่งเกิดเหตุการณ์ภูเขาไฟระเบิดในประเทศรัสเซีย และประเทศเอกวาดอร์ ต่อมาในวันที่ 9 มิ.ย. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 6 ริกเตอร์ที่ประเทศฟิลิปปินส์ ก่อน 1 วันต่อมาจะมีน้ำท่วมเฉียบพลันที่รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา

วันที่ 13 มิ.ย. เกิดพายุฝน และดินโคลนถล่มทางตอนใต้ของจีน เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต มีความเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 43,000 ล้านหยวน ผู้อพยพขึ้นหลัก 3 ล้านคน ก่อนที่อีก 5 วันต่อมา จะเกิดน้ำท่วมใหญ่เฉียบพลัน ดินโคลนถล่มต่อเนื่อง ในพื้นที่ 74 เมือง 6 มณฑล ของจีน โดยมีประชาชนชาวจีนจำนวนมากหลักล้านคนได้รับความเสียหาย โดยในประเทศจีนยังเคราะห์ซ้ำกรรมซัด หลังสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย กลับปรากฏว่าในช่วงวันที่ 14 ก.ค. ยังเกิดน้ำท่วม และดินถล่มเพิ่มเติม ทางตอนใต้ของประเทศ ทำให้มีผู้เสียชีวิตอีก 400 คน

แม้แต่ในประเทศรัสเซีย ยังเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ เกิดไฟป่าในประเทศหลายร้อยแห่ง เนื่องจากอุณหภูมิภายในเกิดความร้อนสูงขึ้น ชนิดไม่เคยปรากฏมาก่อน สร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนเป็นจำนวนมาก ก่อนที่โลกจะเกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ตามมา ในช่วงเดือน ส.ค. พายุฤดูร้อนทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่ ในประเทศปากีสถาน บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ มีผู้เสียชีวิตหลายพันคนเลยทีเดียว

ทั้งนี้ในประเทศจีน ยังกลับมาพบภัยพิบัติเข้าเล่นงานอย่างต่อเนื่อง ในช่วงวันที่ 8 ส.ค. หลังจากฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน และแผ่นดินถล่ม ทางตะวันตกเฉียงเหนือ สร้างความสูญเสียกว่า 1,500 ราย ก่อนปรากฏการณ์ภัยพิบัติ จะข้ามฟากไปเล่นงานในภูมิภาคอเมริกาใต้ ในประเทศโบลิเวีย โดยเกิดเหตุการณ์ไฟป่าลุกลามไปกว่า 25,000 จุดทั่วประเทศ จนต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยยังพบอีกว่า ยังมีโคลนถล่มเพิ่มเติม ในประเทศกัวเตมาลา ทำให้เกิดความสูญเสียอีกกว่า 100 ชีวิต

สำหรับในประเทศไทย สถานการณ์ภัยพิบัติ เริ่มตึงเครียดตั้งแต่ช่วงปลายฤดูฝน ช่วงเดือนต.ค.เป็นต้นมา ทั้งนี้แม้จากรายงานจะพบว่าตั้งแต่ช่วงปลายเดือน ก.ค. จะมีรายงานน้ำท่วมบางพื้นที่เป็นระยะ แต่ยังไม่หนักหนาเท่าที่ควร กระทั่งเริ่มต้นเดือนส.ค. ทั่วทุกภาคของประเทศ จะมีฝนตกอย่างหนักต่อเนื่อง จนก่อให้เกิดนำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ก่อนเข้าสู่ช่วงวันที่ 10 ต.ค. เรื่อยมาจนถึงวันที่ 30 ต.ค. จะเกิดภัยน้ำท่วมหนักที่สุดในรอบ 10 ปี ในหลายพื้นที่ ทั้งทางอีสาน ตะวันออก แม้กระทั่งภาคใต้ ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ได้รับความเดือดร้อนนานร่วมเดือน บ้านเรือนได้รับความเสียหาย จนภาครัฐและเอกชนต้องเข้าไปดูแลกันอย่างเต็มความสามารถ

และด้วยความตื่นตัวในปัญหาภัยพิบัติดังที่กล่าวข้างต้น ซึ่งอาจมีทั้งเกิดจากเงื้อมมือมนุษย์ และเกิดจากภัยธรรมชาติ ทางหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นำโดย ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้เล็งเห็นถึงข้อเท็จจริงในการนำเสนอข่าวสารและความรู้ ตลอดจนการนำเสนอให้ประชาชนรับทราบในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ภัยพิบัติไม่ให้ตื่นตระหนกตกใจ จึงได้ร่วมมือกับทาง มหาวิทยาลัยศรีปทุม มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ และเว็บไซต์พลังจิตดอทคอม ร่วมจัดโครงการสัมมนาเชิงวิชาการ “เจาะลึกภัยพิบัติ พลิกวิกฤติให้เป็นทางรอด” ขึ้น โดยจะมี 8 วิทยากร ประกอบด้วย ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น ดร.วัฒนา กันบัว ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล พระอาจารย์รัตน์(รัตน รตนญาโณ) และนายคณานันท์ ทวีโภค หัวหน้าทีมพลังจิตพิชิตภัยพิบัติ ทำหน้าที่บรรยายให้ความรู้

โดยงานดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 19 ธ.ค.ระหว่างเวลา 08.30 น.-17.00 น. ที่ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม ชั้น 6 อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ รับผู้สนใจเข้าฟังสัมนาฟรีจำนวน 1,200 คน ปรากฏว่าข่าวออกไปเพียงวันแรกก็มีผู้สนใจในเรื่องเหตุการณ์วิกฤติของโลก ติดต่อเข้าฟังจนเต็มจำนวนในเวลาอันรวดเร็ว สำหรับผู้ที่พลาดหวังในการเข้าฟังการสัมมนาสามารถติดตามชมการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ www.palungjit.com ได้ในวันเวลาดังกล่าว.



จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 16 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #53  
เก่า 20-12-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เตือนจักรวาลเพี้ยนห่วงอีก 3 ปีโลกวิบัติ




วันนี้ ( 20 ธ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่ห้องประชุมอาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา มีการจัดงานสัมมนาเชิงวิชาการเรื่อง “เจาะลึกภัยพิบัติ...พลิกวิกฤตให้เป็นทางรอด” จัดโดยนสพ.เดลินิวส์ มูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม และเว็บไซต์พลังจิต มีนักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปสนใจเข้าร่วมงานกว่า 1 พันคน โดย ดร.ประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด บรรณาธิการบริหาร นสพ.เดลินิวส์ กล่าวเปิดงานสัมมนาว่า หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ในฐานะสื่อมวลชนของประเทศ รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสร่วมกับพันธมิตรทั้ง 3 หน่วยงาน จัดงานสัมมนาในครั้งนี้ อย่างที่ทราบกันดีว่าในปัจจุบันได้เกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงและบ่อยครั้งมากขึ้นในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ประเทศไทยก็หนีไม่พ้นภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่นกัน ดังเห็นได้จากข่าวสารจากสื่อมวลชนต่างๆ

ดร.ประภากล่าวต่อว่า เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมานี้ พี่น้องร่วมชาติของเราต้องประสบปัญหาน้ำท่วมหนักในหลายพื้นที่ แม้ภาครัฐและเอกชนเยียวยาให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน แต่ก็เป็นการช่วยเหลือเพียงน้อยนิดเมื่อเปรียบเทียบความเสียที่เกิดขึ้น กระนั้นก็ยังดีเสียกว่าที่พวกเราจะนิ่งอยู่เฉย เพราะในห้วงเวลาเช่นนั้น น้ำใจและกำลังใจ คือสิ่งสำคัญ ที่พวกเราต่างก็เป็นพี่น้องร่วมชาติพึงมีให้แก่กัน ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นบางอย่างมนุษย์ก็สามารถรู้หรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้ จนสามารถเตรียมพร้อมรับมือหรืออพยพคนออกจากพื้นที่ได้ทัน แต่ภัยพิบัติทางธรรมชาติบางอย่าง มนุษย์ก็ไม่สามารถรู้หรือคาดการณ์ล่วงหน้าได้เลย ผลกระทบที่ตามมาจึงก่อให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงเกือบทุกครั้ง

“การจัดงานสัมมนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเกี่ยวกับข้อเท็จจริง เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่ตื่นตระหนก สามารถเตรียมพร้อมรับมือ และบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้” ดร.ประภา กล่าว

ต่อจากนั้น ดร.สมิทธ ธรรมสโรช ประธานกรรมการมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวถึง “สถานการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติในปัจจุบัน” ว่า จากประสบการณ์การทำงานกว่า 22 ปี โดยปีนี้กรมอุตุนิยมวิทยาวัดอุณหภูมิในไทยได้สูงถึง 42.5 องศาเซลเซียส จากอดีตที่มีอุณหภูมิสูงสุดที่ 37.5 องศาเซลเซียส พบว่าอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ลักษณะเช่นนี้ทำให้เห็นว่าโลกมีความเปลี่ยนแปลง สถิติล่าสุดไทยมีคนเสียชีวิตจากโลกร้อนในปีนี้ 16 คน เพิ่มจากอดีตที่มีคนเสียชีวิต เพียง 1-2 คน ปกติอุณหภูมิร่างกายมนุษย์อยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส ถ้าต้องทนอยู่ในสภาวะอากาศที่สูงถึง 42.5 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานๆ ก็ทำให้เสียชีวิตได้ ไม่เฉพาะในไทย ในอินเดียมีคนเสียชีวิตด้วย ดังนั้นต้องให้ความรู้กับประชาชนในการเอาตัวรอดจากภัยพิบัตินี้

“ส่วนปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ และต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ภาคอื่นๆของประเทศไทย โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการย้ายเมืองหลวงของไทยไปอยู่ภาคอื่นๆ เนื่องจากถ้าย้ายไปภาคอีสานก็ต้องเจอกับสภาพขาดแคลนน้ำ หากย้ายไปภาคเหนือก็ต้องพบกับการเกิดแผ่นดินไหว ส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกก็เสี่ยงกับการเจอสตอร์มเซิร์จ ดังนั้นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและรับมือกับภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น “ ดร.สมิทธ กล่าว

ด้าน ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรคนไทยที่ทำงานในองค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา กล่าวในหัวข้อ “ความสัมพันธ์ระหว่างอวกาศกับการเปลี่ยนแปลงบนโลก” ว่า 20 ปีที่ผ่านมา ระบบสุริยะจักรวาลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก มีพลังงานต่างๆเข้ามาในระบบสุริยะจักวาล นาซ่าส่งดาวเทียมขึ้นไปศึกษาพบความเปลี่ยนแปลงมวลลมสุริยะลดลงอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวส่งผลกระทบต่อดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ เช่น ดาวอังคารเกิดภาวะโลกร้อน น้ำแข็งละลาย ดาวพฤหัส มีความสว่างเพิ่ม 200% ความร้อนสูงขึ้น ส่วนโลก ก็พบปริมาณรังสีคอสมิกมาก มีปริมาณฝุ่นละลองเพิ่มสูงขึ้น และปริมาณฝนดาวตก และวัตถุพวกอุกาบาตรเข้ามาในโลกมากขึ้น รวมถึงตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของชั้นบรรยากาศนอกโลก

“ชั้นบรรยากาศของโลกลดลง ส่งผลให้โลกมีความไว้ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศนอกโลก และแกนโลกมีการเคลื่อนตัวจากเดิม ช่วงต้นปี 2013 หรือปี 2556 ต้องระวังเรื่องภัยพิบัติที่อาจจะเกิดขึ้นจากปฎิกิริยาของดวงอาทิตย์ที่จะส่งผลกระทบต่อโลก จนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กของโลกจนทำให้โลกเกิดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น เราควรเตรียมความพร้อมในการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติตลอดเวลา โดยเฉพาะเรื่องอาหารให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ 3-5 วัน” ดร.ก้องภพกล่าว

ขณะที่ ดร.วัฒนา กันบัว ผอ.ศูนย์อุตุนิยมวิทยาทะเล สำนักตรวจและเฝ้าระวังสภาวะอากาศ กรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวบรรยายในหัวข้อ “พายุหมุนเขตร้อน คลื่นพายุกระทบฝั่ง และน้ำท่วม” ว่า พายุหมุนเขตร้อน เป็นพายุที่อยู่ในทะเลเขตร้อน มีปัจจัยจากอุณหภูมิของน้ำทะเลที่เหมาะสมอยู่ที่ 26-27 องศาเซลเซียส โดยพายุหมุนเขตร้อนจะเกิดในน้ำทะเลลึก และเคลื่อนตัวเข้าฝั่งกลายเป็นสตอร์มเซิร์จ โดยเส้นทางการเกิดพายุจะเกิดไม่ซ้ำที่กันขึ้นอยู่กับแต่ละช่วงเดือน ปัจจุบันกรมอุตุนิยมวิทยาใช้งบประมาณ 200 ล้านบาท วางเครื่องมือเตือนภัยพิบัติทางทะเลซึ่งสามารถเตือนภัยได้ล่วงหน้า 7 วันก่อนพายุจะเคลื่อนเข้ามายังชายฝั่ง

“การหลีกเลี่ยงภัยพิบัติต่างๆ คือ ต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับภัยพิบัติ เช่น ต้องฟังคำเตือนภัย และมีการกระจายคำเตือนการเกิดภัยพิบัติอย่างรวดเร็ว โดยกรมอุตุนิยมวิทยา และศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ต้องส่งคนลงพื้นที่ทันที่เมื่อมีข้อมูลการเกิดภัยพิบัติ เพื่อเตือนประชาชน รวมทั้งต้องมีการก่อสร้างที่หลบภัยในพื้นที่ในหมู่บ้านเมื่อเกิดภัยพิบัติ และมีการซ้อมอพยพภัยพิบัติอย่างจริงจัง” ดร.วัฒนา กล่าว

ส่วน ดร.เสรี ศุเพทราทิตย์ ผอ.ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิริธร กล่าวว่า ประเทศไทยมีข้อมูลมากมายแต่ยังขาดการนำมาบริหารจัดการ ถ้าสามารถบริหารจัดการได้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เช่น ข้อมูลตรวจจับเรดาร์กลุ่มฝนและปริมาณน้ำฝนซึ่งต้องนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบันคาดการณ์ว่าอีก 2 ปีข้างหน้าจะเกิดลานินญา ฝนตกหนักมากแล้วค่อยๆเบาลง โดยปี พ.ศ. 2554 จะเกิดฝนตกหนัก ส่วนปีพ.ศ. 2555 ฝนไม่ตกเกิดความแห้งแล้ง

“จากข้อมูลต่างๆชี้ว่า ในระยะยาวช่วง 10-20 ปี หน้าแล้งก็จะแล้งหนัก หน้าฝนก็จะฝนมาก และจากการประมวลข้อมูลปัจจุบันที่มี 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ปริมาณฝนที่เพิ่มขึ้น 5% และแผ่นดินทรุดตัว เป็นต้น บวกกับฐานข้อมูลน้ำท่วมในปีพ.ศ. 2538 พบว่า ถ้าเกิดน้ำท่วมอีก กรุงเทพฯ จะรับไม่ได้ รวมทั้งพระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี ซึ่งจากการวิเคราะห์มีความเสี่ยงที่จะเกิดน้ำท่วมถึง 40% เหตุการณ์น้ำท่วมที่ผ่านมาในปีนี้คนกรุงเทพฯรอดพ้น แต่ปีหน้ากรุงเทพฯมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วม และภายใน 10 ปีนี้ ความเสี่ยงของการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯมีเกิน 50 % และในอนาคตอาจได้เห็นการนั่งรถแล่นบนน้ำในกรุงเทพฯ” ดร.เสรี กล่าว

ดร.เสรี กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการต่างๆ ที่รัฐบาลจะสร้างเพื่อช่วยป้องกันน้ำท่วมคือ สร้างเขื่อนเก็บน้ำขนาดใหญ่ และสร้างเจ้าพระยา โดย 2 มาตรการแรกทำไม่ได้ ความหวังอยู่ที่การสร้างคันกั้นน้ำ ซึ่งเป็นคันดินที่เหมาะกับสภาพแวดล้อม การสร้างที่พักน้ำ (แก้มลิง) และทำคลองระบายน้ำ โดยปีนี้ต้องใช้เงินอีกเป็นแสนล้านในการทำมาตรการป้องกันน้ำท่วมทั้ง 3 มาตรการ ส่วนการเกิดสึนามิในประเทศไทยจะเกิดเมื่อไหร่ยังคาดการณ์ไม่ได้ ต้องรอคำนวณจากการเกิดแผ่นดินไหว แต่ขณะนี้ได้ทำแบบจำลองการเกิดสึนามิว่าจะเคลื่อนตัวไปที่ไหนบ้าง เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถระบุเวลาจะเคลื่อนเข้าฝั่ง เพื่อใช้ในการหลบหนีได้

ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้บริหารโรงเรียนสัตยาไส อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี กล่าวถึง “วิกฤตน้ำท่วมโลก” ว่า ขณะนี้ประชากรโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และใช้พื้นที่และทรัพยากรอย่างไม่ระมัดระวัง ทำให้ปัจจุบันโลกเล็กเกินไปสำหรับประชากรทั้งโลก ซึ่งมีคนในแอฟริกาตายไปเดือนละ 1 ล้านคน เพราะไม่มีอาหาร และถ้าจะให้ประชากรโลกอยู่กันอย่างเพียงพอต้องใช้โลกถึงหนึ่งใบครึ่ง วันนี้โลกไม่เพียงพอสำหรับมนุษย์แล้วข้อมูลจากศูนย์ของสหรัฐอเมริกา โดย 30 ปีที่ผ่านมาทั่วโลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันสูงขึ้นเฉลี่ย 1 องศาเซลเซียส ส่วนขั้วโลกสูงขึ้น 4 องศาเซลเซียส ทำให้เกิดผลกระทบ อากาศแปรปรวน ร้อนจัด หนาวจัด แห้งแล้ง ปะการังมีการเปลี่ยนสีและฟอกสี และมีพายุที่รุนแรงเพิ่มขึ้นและขาดแคลนน้ำ

ดร.อาจอง กล่าวต่อว่า ช่วงหน้าร้อนแม่น้ำโขงจะแห้งสนิท เพราะน้ำแข็งบนเทือกเขาหิมาลัยต้นกำเนิดของแม่น้ำโขงละลายไปมาก โดยสิ่งที่อันตรายที่สุด คือ น้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ที่สะสมมาหลายพันปีเริ่มละลายและเริ่มไหลออกจากแผ่นดินแอนตาร์กติก ซึ่งมีปฏิกิริยาเร่งจากบริเวณขั้วโลกเหนือที่มีแก๊สมีเทนผุดขึ้นมาจากการ ละลายของน้ำแข็ง ซึ่งแก๊สมีเทนมีผลทำให้เกิดภาวะโลกร้อนเร็วกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า และถ้าเมื่อไหร่ที่ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นถึง 6-7 เมตร เมืองที่อยู่ติดทะเล เช่น ฟลอริด้า ไมอามี่ เซี่ยงไฮ้ รวมถึงกรุงเทพฯจะได้รับผลกระทบ ซึ่งประเทศไทยเมืองในแถบภาคกลางตอนล่างเสี่ยงจะจมอยู่ใต้น้ำ เช่น จ.สมุทรปราการ นนทบุรี และ ปทุมธานี เรื่องน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ ไม่ใช่เรื่องที่กะทันหัน สามารถเตรียมการรับมือได้ การสร้างเขื่อนคงเป็นเรื่องที่สายเกินไป ซึ่งองค์การนาซ่าได้จัดทำแผนที่ใหม่ของโลก พบว่าเมืองเซียงไฮ้ไม่มีเหลือเลย

“น้ำทะเลสูงขึ้นทำให้โลกขาดความสมดุล ซึ่งปัจจุบันแกนโลกมีการเคลื่อนที่เพื่อหาสมดุลใหม่ ขณะที่เปลือกโลกก็เคลื่อนไหวเร็วขึ้นเพื่อให้เกิดสมดุลเช่นกัน ส่งให้เกิดแผ่นดินไหวบนรอยต่อของเปลือกโลก ซึ่งประเทศไทยมีปัญหาที่รอยต่อและรอยร้าวของเปลือกโลกที่อยู่ในประเทศพม่า ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดแผ่นดินไหวมากขึ้น เช่น จ.แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ พะเยา น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ จึงควรต้องสร้างบ้านให้ทนต่อการเกิดเผ่นดินไหวได้อย่างน้อย 5 ริกเตอร์” ดร.อาจอง กล่าว

สำหรับ นพ.ชาตรี เจริญชีวกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน กล่าวถึงเรื่อง “การเตรียมการรองรับและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ” ว่า จุดอ่อนของคนไทยจากเหตุการณ์สึนามิ คือ ทำงานไม่เกิน 3 วัน และทำงานเอาหน้า แต่ก็ยังมีคนดีๆอีกมากมายที่นำพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้ และพยายามทำการแพทย์ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพและทั่วถึง สถาบันฯจะเป็นตัวประสานให้เกิดการช่วยเหลือ โดยใช้เบอร์ 1669 เป็นเบอร์รับแจ้งเหตุซึ่งเป็นบริการฟรีที่สถาบันฯ ให้เงินทุนสนับสนุน

“ถ้าเกิดภัยพิบัติใหญ่ๆ เช่น แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม น้ำท่วม และน้ำป่าไหลหลากทีมแพทย์ของสถาบันฯพร้อมรับมือ ซึ่งหลังเกิดสึนามิ 7 ปีที่แล้ว ทีมแพทย์ของสถาบันฯ ซ้อมรับมือกันอย่างหนัก เชื่อว่าถ้าเกิดสึนามิอีกครั้ง ทีมแพทย์จะเข้าช่วยเหลือได้ทันท่วงทีและจะทำให้เกิดการสูญเสียน้อยมาก เพราะมีกลไกการเตรียมพร้อมรับมือระดับสากล ขณะที่ประชาชนต้องเชื่อข้อมูลการเตือนภัยจากหน่วยงานต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการเตรียมพร้อมรับมือตลอดเวลา ต้องซ้อมเรื่องนี้อย่างหนักหน่วง” นพ.ชาตรี กล่าว



จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 20 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #54  
เก่า 21-12-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


จุฬาฯโต้เป็นไปไม่ได้กรุงเทพฯจมบาดาล




วานนี้ ( 20 ธ.ค.)นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารระบบการเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ให้สัมภาษณ์ถึงการเตรียมพร้อมรับมือปัญหาภัยพิบัติต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นว่า เราเตรียมแผนงาน และเตรียมพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องแผ่นดินไหว หรือสึนามิ รวมทั้งได้มีการซ้อมรับมือตลอดเวลากับสถานการณ์ในพื้นที่ที่วิตกว่าอาจจะเกิดเหตุขึ้น ถามว่ามั่นใจกับทุ่นเตือนภัยที่ปล่อยลงทะเลมากน้อยแค่ไหน นายสุเทพ กล่าวว่า เท่าที่ได้รับรายงานก็ช่วยได้มากในการเตือนให้เราได้รู้ก่อนล่วงหน้า เพื่อที่จะได้มาบอกกับประชาชนในพื้นที่ที่อาจจะมีอันตรายได้ อย่างไรก็ตามอย่าเพิ่งไปกังวลใจอะไร เพราะไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ง่ายๆ แต่เจ้าหน้าที่ก็ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ถามถึงกรณีที่ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น วิศวกรคนไทยที่ทำงานในองค์การนาซ่า สหรัฐอเมริกา ออกมาเตือนให้ระวังภัยพิบัติครั้งใหญ่ ขณะนี้มีปัจจัยที่จะเกิดเหตุเช่นนั้นหรือไม่ นายสุเทพกล่าวว่า ยังไม่มีสิ่งบอกเหตุอย่างนั้น

ด้านนาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ ผอ.ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กล่าวว่า หลังจากศูนย์เตือนภัยฯปล่อยเรือซีฟเดค ปฏิบัติการติดตั้งทุ่นลอยน้ำลึกตรวจคลื่นสึนามิในทะเลอันดามัน จำนวน 2 ทุ่น เมื่อที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา ขณะนี้ห้องปฏิบัติการศูนย์เตือนภัยฯ ได้รับสัญญาณจากทุ่นลอยน้ำลึกตรวจคลื่นสึนามิในทะเลอันดามันทั้ง 2 ทุ่นเรียบร้อยแล้ว ตั้งแต่วันที่ 17 ธ.ค.ที่ผ่านมา สำหรับสัญญาณที่ได้รับจากการทำงานของทุ่นทั้ง 2 ทุ่น เป็นสัญญาณที่บอกความลึกของท้องทะเลที่ติดตั้งทุ่นและค่าเฉลี่ยของระดับน้ำทะเล รวมทั้งระบบการทำงานของตัวทุ่นเองซึ่งเป็นไปตามขอบเขตที่ศูนย์เตือนภัยฯวางแนวทางไว้ ทั้งนี้ระบบดังกล่าวจะแจ้งให้ประชาชนทราบภายใน 15 นาที เมื่อทุ่นพบการเกิดสึนามิในทะเล ทำให้ประชาชนมีเวลาหนีเป็นชั่วโมง ขอให้ประชาชนสบายใจ-มั่นใจในระบบเตือนภัยของภาครัฐ

นายเจตน์ โศภิษฐ์พงศธร โฆษกกรุงเทพมหานคร(กทม.) เปิดเผยผลการประชุมคณะผู้บริหาร กทม.ว่า นายสัญญา ชีนิมิตร ผอ.สำนักการระบายน้ำ(สนน.)ชี้แจงในที่ประชุมกรณีนักวิชาการภาคส่วนต่างๆ ออกมาคาดการณ์ว่าอีกไม่เกิน 10 ปีนับจากนี้กรุงเทพฯ ต้องเจอกับสภาพน้ำท่วม โดย สนน.รายงานว่าตัวเลขที่นักวิชาการนำมาใช้นั้นเป็นการคาดการณ์ที่รุนแรงเกินจริง ทั้งเรื่องของปริมาณน้ำฝนที่อ้างว่าจะเพิ่มขึ้น 15 % ในขณะที่ผลการศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิศาสตร์และการปรับตัวของพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลของธนาคารโลก (เวิลด์แบงก์)นั้น ระบุว่าปริมาณน้ำฝนจะเพิ่มขึ้นแค่ 3 % ส่วนระดับน้ำทะเลที่อ้างว่าจะสูงขึ้น 13 ม.ม./ปีนั้น ก็มีข้อมูลว่าจะเพิ่มสูงขึ้น 8 ม.ม./ปี

นอกจากนี้ผลการวิจัยของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ เรื่องสภาวะโลกร้อนกับการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลในน่านน้ำไทย อ้างอิงข้อมูลย้อนหลัง 67 ปี ปรากฏว่าค่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั้งฝั่งอันดามันและฝั่งอ่าวไทยปี พ.ศ.2483 – 2550 ระดับน้ำทะเลเฉลี่ยไม่ได้สูงขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามยอมรับว่าการทรุดตัวของแผ่นดินใน กทม.ปีละ 4 ม.ม.ตามที่ได้มีการคาดการณ์นั้นมีความเป็นไปได้ ซึ่งขณะนี้ กทม.พยายามเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้มากขึ้น และลดการใช้น้ำบาดาล ทั้งนี้ กทม.ได้นำสถิติที่น่ากลัวที่สุดจากทั้ง 3 หน่วยงานมาประมวล โดยจากนี้ไป กทม.จะมีการหารือในเรื่องการปรับใช้ผังเมืองรวมมากขึ้น ทั้งกรณีที่มีผู้สร้างที่อยู่อาศัยรุกล้ำแม่น้ำลำคลองและพื้นที่รับน้ำต่างๆก็จะต้องเข้มงวดมากขึ้นด้วย

ที่คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดเสวนา “เจาะลูกข้อมูลวิชาการด้านพิบัติภัยกับข่าวสารที่ประชาชนควรได้รับรู้อย่างถูกต้อง” โดย ศ.ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล จากภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีข่าวสารเกี่ยวกับไทยจะประสบภัยพิบัติออกมาหลายครั้ง ซึ่งเป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากหลักวิชาการ ส่งผลให้ประชาชนตื่นตระหนก และเกิดผลเสียต่อเศรษฐกิจและสังคมตามมา การจัดเสวนาครั้งนี้เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องโดยนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ เรื่องน้ำจะท่วมกรุงเทพฯจนถึงภาคกลาง จากภาวะโลกร้อนและน้ำแข็งขั้วโลกละลายนั้นคงเป็นเรื่องที่อ้างอิงจากข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง เพราะปัจจุบันน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นจากการละลายของน้ำแข็งเฉลี่ยทั่วโลกเพียง 3 มิลลิเมตรเท่านั้น

ศ.ดร.ธนวัฒน์ กล่าวต่อว่า จากที่ได้ทำวิจัยในเรื่องนี้มากว่า 10 ปี โดยใช้สมมุติฐานระบบและเครื่องมือการป้องกันของไทยยังเป็นแบบในปัจจุบันพบว่า ในอีก 20 ปีข้างหน้าน้ำทะเลจะกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาเพียง 1.3 กิโลเมตร และ 50 ปี จะเข้ามาประมาณ 2.3 กิโลเมตร หรือกินพื้นที่ 1 แสนไร่ ส่วนอีก 100 ปี จะเพิ่มขึ้นเป็น 6-8 กิโลเมตร หรือประมาณ 2 แสนไร่ โดยมี 5 จังหวัดที่รับผลกระทบ คือ ฉะเชิงเทรา กรุงเทพฯ สมุทรปราการ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร การที่จะน้ำทะเลจะเพิ่มสูง 6-7 เมตร จนท่วมถึง สิงห์บุรี อ่างทอง จึงเป็นเรื่องเป็นไปได้ยาก และไม่เกิดขึ้นในเวลาเร็วๆนี้แน่นอน

ดร.เครือวัลย์ จันทร์แก้ว อาจารญ์ภาควิชาธรณีวิทยา กล่าวว่า ในส่วนของการเกิดสึนามิในฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน เป็นเรื่องที่ไม่สามารถระบุได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร เพราะมีปัจจัยจากการเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งโอกาสที่จะเกิดแผ่นดินไหวรุนแรงในบริเวณรอยเลื่อนของเปลือกโลกแถบเกาะนิโคบาร์เหมือนปี 2547 จนที่เกิดสึนามิมีโอกาสน้อยมาก เพราะพลังงานบริเวณนั้นได้ถูกปลดปล่อยไปแล้วและต้องใช้เวลาในการสะสมใหม่ไม่น้อยกว่า 100 ปี จึงจะเกิดแผ่นดินไหวระดับ 8 ริกเตอร์ขึ้นไปได้อีก

ด้าน ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า เรื่องพายุสุริยะที่จะส่งผลให้เกิดแผ่นดินไหว และสึนามิเป็นการอ้างข้อมูลในเว็บไซต์ที่ไม่ถูกต้อง เพราะการเกิดแผ่นดินไหมีสาเหตุจากการปลดปล่อยพลังงานที่สะลมบริเวณรอยเลื่อนเปลือกโลก หากไหวรุนแรงจึงมีโอกาสเกิดสึนามิ ส่วนเรื่องสนามแม่เหล็กโลกมีการเปลี่ยนแปลงก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกๆ 11 ปีอยู่แล้ว



จาก .................... เดลินิวส์ วันที่ 21 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #55  
เก่า 31-12-2010
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


โศกนาฏกรรมโลกปี 53 ดิน-น้ำ-ลม-ไฟ-มนุษย์ รุมเร้า


1.ศพเกลื่อนเฮติ
2.เหยื่อภูเขาไฟเมราปี
3.ภูเขาไฟไอร์แลนด์
4.สึนามิกวาดหาดเมนตาไว
5.น้ำท่วมที่ปากีสถาน
6.-7.ระเบิดแท่นขุดเจาะน้ำมันบีพี
8.สะพานถล่มที่กัมพูชา


ปี2553 เป็นอีกปีที่เกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติร้ายแรงทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ เล่นงานมนุษย์อย่างหนัก ขณะเดียวกัน มนุษย์ก็ก่อเหตุทำร้ายธรรมชาติอย่างน่าตกตะลึง พร้อมด้วยโศกนาฏกรรมทางอุบัติเหตุของมนุษย์เอง

เปิดศักราชมาได้เพียง 12 วัน มหันตภัยแผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐเฮติ ในทะเลแคริบเบียน คร่าชีวิตในประเทศยากจนแห่งนี้ถึง 230,000 ราย บาดเจ็บกว่า 300,000 คน มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยมากกว่า 1.6 ล้านคน

เป็นเหตุธรณีพิโรธที่รุนแรงที่สุดในรอบ 200 ปีของประเทศ

สภาพภายในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวง พังพินาศย่อยยับ เต็มไปด้วยเศษซากบ้านเรือนกว่า 250,000 หลังคาเรือน สาธารณูปโภคพื้นฐานทั้งหมดใช้การไม่ได้

แต่ภาพที่ช็อกสายตาชาวโลกมากที่สุดคือ ศพผู้ประสบภัยกองเกลื่อนราวกับทะเล

ซ้ำร้ายในเดือนต.ค. ยังเกิดการระบาดของเชื้ออหิวาตกโรคคร่าชีวิตชาวเฮติ 2,000 ราย โดยคาดว่าจะมีผู้ติดเชื้อกว่า 270,000 คนภายในสิ้นปี

ด้านอินโดนีเซีย ชาติที่เคยประสบแผ่นดินไหวและสึนามิรุนแรงเมื่อปี 2547 มีผู้เสียชีวิตเรือนแสนต้องเผชิญเหตุการณ์แบบนี้ซ้ำอีก เมื่อ 25 ต.ค. แผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ทางตะวันตกของเกาะสุมาตราก่อให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสูง 3 เมตร ถาโถมเข้าใส่เกาะเมนตาไว มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 ราย สูญหายอีกราว 100 คน บ้านเรือนถูกน้ำพัดทำลายกว่า 4,000 หลัง มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยกว่า 20,000 คน

และเกิดคำถามถึงประสิทธิภาพของระบบเตือนภัยสึนามิว่าเหตุใดจึงป้องกันไม่ได้

ปีนี้ยังเป็นปีที่ภูเขาไฟปั่นป่วนหนักกว่าปีก่อนๆ

ภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งเอยาฟยาตลาเยอคุตล์ ประเทศไอซ์แลนด์ ปะทุขึ้นในวันที่ 20 มี.ค. และวันที่ 14 เม.ย. พ่นควันเถ้าถ่านที่มาพร้อมอนุภาคแก้วขนาดเล็ก พวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นระยะทางกว่า 9 กิโลเมตร นอกจากบดบังน่านฟ้าทวีปยุโรปแล้ว เถ้าถ่านซึ่งมีแก้วเจือปนยังเป็นอันตรายต่ออากาศยาน จนประเทศในยุโรปต้องทยอยปิดน่านฟ้ากันระนาว สะเทือนการคมนาคมทางอากาศมากที่สุดนับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2

ด้านฝั่งเอเชีย ภูเขาไฟเมราปีของอินโดนีเซียตั้งอยู่ภาคกลางของเกาะชวา ปะทุต่อเนื่องในเดือนต.ค.-พ.ย. ทางการอินโดนีเซียต้องอพยพประชาชนกว่า 350,000 คนออกจากพื้นที่เสี่ยง

มีผู้เสียชีวิต 353 รายจากฝุ่นกำมะถันและความร้อนมหาศาล

หายนะจากน้ำมือมนุษย์อุบัติในวันที่ 20 เม.ย. เมื่อเกิดเหตุระเบิดที่แท่นขุดเจาะน้ำมันดีพวอเตอร์ ฮอไรซัน ในอ่าว เม็กซิโก สหรัฐ ดำเนินการโดยบริษัทบีพี ยักษ์ใหญ่แห่งวงการพลังงานโลก สัญชาติอังกฤษ

มีคนงานเสียชีวิตทันที 11 ราย และหายนะที่ตามมาก็คือ น้ำมันทะลักรั่วไหลลงทะเล กว่าจะควบคุมได้ต้องใช้เวลาถึงวันที่ 15 ก.ค. หรือเกือบ 3 เดือน

รวมแล้วน้ำมันรั่วกระจายไปในทะเลถึง 4.9 ล้านบาร์เรล

ภาพที่นกทะเลชายฝั่งหลุยเซียนาถูกน้ำมันเคลือบไปทั้งตัวชวนให้สลดใจถึงชะตากรรมของระบบนิเวศทางทะเลของโลก ที่ต้องใช้เวลาเยียวยาอีกยาวนาน

ด้านเหตุอุทกภัยที่สร้างความเสียหายใหญ่หลวงในปีนี้เกิดขึ้นที่ปากีสถาน เดือนก.ค. หลังฝนตกหนักทางภาค เหนือของประเทศ

ปริมาณน้ำในแม่น้ำสินธุซึ่งเป็นเสมือนแม่น้ำสายหลักที่หล่อเลี้ยงปากีสถานตั้งแต่เหนือจรดใต้ไม่สามารถรองรับน้ำไหวจึงเกิดภาวะล้นตลิ่งและน้ำหลากฉับพลันไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่กว่า 1 ใน 5 ของประเทศ มีผู้เสียชีวิตกว่า 2,000 ราย

แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้นคือมีผู้ได้รับผลกระทบกว่า 20 ล้านคน มากกว่าในเหตุแผ่นดินไหวเฮติ แต่กลับได้รับความช่วยเหลือน้อยกว่าและช้ากว่า

นับเป็นภัยพิบัติที่มีผู้ได้รับความเดือดร้อนมากที่สุดในปี 2553

ส่งท้ายปีด้วยโศกนาฏกรรมมนุษย์ บนสะพานแขวนที่เชื่อมระหว่างเกาะเพชรเข้ากับกรุงพนมเปญ ในค่ำคืนลอยกระทง เมื่อวันที่ 22 พ.ย.

ความตื่นตระหนกของผู้คนที่คลาคล่ำอยู่บนสะพานหลังมีผู้ตะโกนบอกว่า สะพานกำลังจะถล่ม ทำให้ทุกคนวิ่งหนีเอาตัวรอด บางส่วนจึงตกสะพานลงไปจมน้ำตาย บางส่วนถูกไฟฟ้าดูดตาย และส่วนใหญ่นอนทอดร่างไร้วิญญาณเป็นกองพะเนินอยู่บนสะพานเนื่องจากถูกเหยียบ

มีผู้เสียชีวิต 347 ราย ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงและเด็ก

นายฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า เป็นโศกนาฏกรรมร้ายแรงที่สุดนับตั้งแต่เหตุการณ์ "ทุ่งสังหาร" ในยุคเขมรแดงเรืองอำนาจ



จาก .................... ข่าวสด วันที่ 31 ธันวาคม 2553
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #56  
เก่า 03-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


ปี 53 ภัยธรรมชาติมาทุกรูปแบบ อากาศแปรปรวน แรงกว่าสถิติ 100 ปี



เมื่อมองในแง่ "ภัยธรรมชาติ" ปี 2553 ถือเป็นปีที่มีภัยธรรมชาติเกิดขึ้นครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นความร้อน น้ำท่วม ภูเขาไฟปะทุ ซูเปอร์ไต้ฝุ่น สึนามิ พายุหิมะ ดินถล่ม และภัยแล้ง ที่คร่าชีวิตมนุษย์รวมกันอย่างน้อย 2.5 แสนคน หรือสูงกว่ายอดผู้ที่เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายในรอบ 40 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจมูลค่าอีกมหาศาล

ความเข้มข้นของภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ทำให้คำว่า "ที่สุดในรอบ 100 ปี" แทบจะหมดความหมาย เพราะภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นหลายครั้งหลายหนถูกบันทึกลงในหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะเหตุการณ์ภัยธรรมชาติที่ไม่ธรรมดา

และแม้ว่าหายนะจากธรรมชาติ บางส่วนเกิดขึ้นตามวัฏจักรปกติ แต่ต้องยอมรับว่า "น้ำมือมนุษย์" ทำให้ภัยธรรมชาติเหล่านี้รุนแรงยิ่งกว่าเดิมหลายเท่าตัว และทำให้ปี 2553 กลายเป็นปีที่เกิดภัยธรรมชาติแบบสุดขั้วหลายต่อหลายครั้ง

เมื่อผนวกกับการก่อสร้างและการพัฒนาที่ด้อยคุณภาพ ทำให้เหตุการณ์แผ่นดินไหวหลายครั้งคร่าชีวิตมนุษย์มากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะปัจจุบันมีคนยากจนจำนวนมากขึ้นอาศัยอยู่ในบ้านเรือนที่ไม่แข็งแรงพอที่จะต้านภัยธรรมชาติอันหนักหน่วง ดังนั้นจึงหมายความว่าเมื่อเกิดแผ่นดินไหว น้ำท่วม หรือพายุไซโคลน ก็จะทำให้มีคนเสียชีวิตมากขึ้นด้วย

เริ่มต้นศักราชในเดือนมกราคมด้วยแผ่นดินไหวในเฮติ ที่คร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 220,000 คน ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมากขนาดนี้คือ คนส่วนใหญ่ยากจนและอยู่อาศัยในบ้านที่สร้างอย่างไร้มาตรฐาน ทั้งนี้ ริชาร์ด ออลสัน ผู้อำนวยการฝ่ายลดความเสี่ยงภัยธรรมชาติแห่งฟลอริดา อินเตอร์เนชั่นแนล ยูนิเวอร์ซิตี้มองว่า หากเกิดแผ่นดินไหวความรุนแรงขนาดเดียวกันในปี 2528 น่าจะมีผู้เสียชีวิตเพียง 80,000 คนเท่านั้น

จากนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ เกิดแผ่นดินไหวในชิลี ซึ่งแม้ว่าจะมีความรุนแรงกว่าที่เกิดขึ้นในเฮติ แต่เนื่องจากเกิดในบริเวณที่มีประชากรอยู่อาศัยน้อย และอาคารก่อสร้างดีกว่า ทำให้มีคนเสียชีวิตเพียง 1,000 คน

ทั้งนี้ บรรดานักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศชี้ว่า ภูมิอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลง จากผลของโลกร้อนที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ทำให้เกิดภาวะอากาศรุนแรงแบบสุดๆ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความร้อนเรื่อยไปถึงน้ำท่วม

อย่างเช่นที่เกิดในช่วงฤดูร้อนที่ผ่านมา เพราะขณะที่รัสเซียประสบภัยจากคลื่นความร้อนอันหนักหน่วง แต่กลับเกิดน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน จมพื้นที่ราว 62,000 ตารางไมล์ หรือขนาดเท่ากับ รัฐวิสคอนซินของสหรัฐ สภาพอากาศที่มีทั้งร้อนและพายุในคราวเดียวกัน คร่าชีวิตมนุษย์เกือบ 17,000 คน หรือมากกว่ายอดผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินตกในช่วง 15 ปีที่ผ่านมาเสียอีก

คราวนี้ลองมาดูสถิติต่างๆของภัยธรรมชาติในรอบปีที่ผ่านมาในหลากแง่มุมกันบ้าง


คร่าชีวิตมนุษย์มากแค่ไหน ?

ขณะที่แผ่นดินไหวในเฮติ คลื่นความร้อนในรัสเซีย และน้ำท่วมใหญ่ในปากีสถาน คือภัยธรรมชาติที่คร่าชีวิตมนุษย์ครั้งใหญ่ที่สุด ปี 2553 ถือเป็นปีที่มีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นถี่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษ โดยเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ๆในชิลี ตุรกี จีน อินโดนีเซียเช่นกัน และหากนับจนถึงกลางเดือนธันวาคม พบว่าเกิดแผ่นดินไหวขนาดตั้งแต่ 7.0 ริกเตอร์ขึ้นไปถึง 20 ครั้ง เทียบกับในอดีตที่เคยเกิดเพียง 16 ครั้งต่อปีเท่านั้น

ในอีกด้านหนึ่ง ข้อมูลขององค์การอนามัยโลกระบุว่า หากนับถึงเดือนกันยายน ภัยน้ำท่วมคร่าชีวิตมนุษย์ไปกว่า 6,300 ชีวิต ใน 59 ประเทศ มีหลายประเทศที่ประสบภัยน้ำท่วมใหญ่ในปีนี้ ไม่ว่าจะเป็นจีน อิตาลี อินเดีย โคลัมเบีย ชาด ฟิลิปปินส์ จีนบางส่วน ออสเตรเลีย รวมถึงไทยที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในแถบภาคอีสาน ภาคกลางบางส่วน และภาคใต้บางส่วน ทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 100 ชีวิต สร้างความเสียหายต่อเรือกสวนไร่นา และย่านธุรกิจสำคัญมหาศาล

หากรวมผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติทุกประเภท สวิสรีระบุว่า นับถึงวันที่ 30 พ.ย.มีผู้เสียชีวิตทั่วโลกเกือบ 260,000 คน เทียบกับยอดผู้เสียชีวิตจากภัยธรรมชาติ 15,000 คนในปี 2552


รุนแรงเพียงใด ?

หลังจากพายุหิมะพัดถล่มสหรัฐ รวมถึงเหตุการณ์หิมะตกหนักในรัสเซียและจีนเมื่อช่วงต้นปี อุณหภูมิในโลกก็แปรปรวนกลายเป็นร้อนจัดในหลายพื้นที่ โดยองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกระบุว่า ปี 2553 อาจเป็นปีที่ทำสถิติร้อนที่สุดสำหรับประเทศต่างๆทั่วโลก หรืออย่างน้อยติดอันดับ 1 ใน 3 ของปีที่ร้อนที่สุด ขณะที่ศูนย์ข้อมูลภูมิอากาศแห่งชาติของสหรัฐระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปีเดียวกัน นับถึงสิ้นเดือนตุลาคมอยู่ที่ 58.53 องศาฟาห์เรนไฮต์

และมีหลายพื้นที่ทำสถิติร้อนที่สุด เช่น ลอสแองเจลิส ที่สร้างสถิติร้อนที่สุดถึง 113 องศาฟาห์เรนไฮต์ เมื่อวันที่ 27 ก.ย. และก่อนหน้านั้นปากีสถานก็เผชิญกับวันที่ร้อนที่สุดที่ระดับ 129 องศาฟาห์เรนไฮต์เช่นกัน

ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐ เริ่มต้นปีด้วยอากาศหนาวเย็นในฟลอริดา ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นฤดูร้อนที่สุดของพื้นที่ดังกล่าว

และมาส่งท้ายในช่วงคริสต์มาสที่ควรเป็นเวลาของการฉลองอย่างมีความสุขกับครอบครัว แต่คนจำนวนมากกลับต้องนั่งแกร่วอยู่ตามสนามบินในหลายประเทศของยุโรป เพราะหิมะตกหนักทำให้จราจรทางอากาศและการคมนาคมทางบกระหว่างเมืองในยุโรปเป็นอัมพาตไปหลายวัน เช่นเดียวกับเหตุการณ์พายุหิมะที่พัดถล่มฝั่งตะวันออกของสหรัฐหลังวันคริสต์มาส ที่ส่งผลให้การคมนาคมทางบกและทางอากาศหยุดชะงักไปเช่นกัน และมีการยกเลิกเที่ยวบินไปกว่า 6,000 เที่ยว

ด้านภาคเหนือของออสเตรเลียพบกับฝนตกหนักที่สุดในช่วงเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม แต่ฝั่งตะวันตกเฉียงใต้กลับพบภัยแล้งอย่างหนัก เช่นเดียวกับลุ่มน้ำอะเมซอนที่พบกับปัญหาภัยแล้งด้วยระดับน้ำต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์


ความเสียหายมหาศาล

สวิส รี ประเมินว่า ภัยธรรมชาติสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 2.22 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2553 หรือมีมูลค่า สูงกว่าขนาดเศรษฐกิจฮ่องกง แต่แม้ว่าจะเป็นสถิติสูงกว่าปกติ แต่ก็ไม่ใช่สถิติสูงสุดเพราะภัยธรรมชาติในรอบปีดังกล่าวมักเกิดในพื้นที่ยากจนที่ไม่มีการประกันภัย เช่น เฮติ เป็นต้น


ประหลาดอย่างไร ?

เหตุการณ์ภูเขาไฟปะทุในไอซ์แลนด์ส่งผลให้จราจรทางอากาศในน่านฟ้ายุโรปเป็นอัมพาตต่อเนื่องหลายวัน ทำให้คนกว่า 2 ล้านคนจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแผนเดินทางเนื่องจากภัยธรรมชาติที่เหนือการคาดคิดนี้ นอกจากนี้ยังมีการปะทุของภูเขาไฟในอีกหลายพื้นที่ เช่น คองโก กัวเตมาลาซิตี เอกวาดอร์ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ซึ่งทำให้คนต้องหนีหลบภัย ขณะที่นิวยอร์กซิตีต้องเผชิญกับพายุทอร์นาโดที่เกิดขึ้นน้อยมากในแถบนั้น และฝั่งตะวันออกของสหรัฐถูกถล่มด้วยพายุหิมะอย่างหนักหน่วง

ส่วนประเทศในเอเชียอย่างอินโดนีเซีย พบกับภัยธรรมชาติ หนัก ๆ ถึง 3 ระลอก ในรอบ 24 ชั่วโมงเมื่อเดือนตุลาคม เริ่มจากแผ่นดินไหวขนาด 7.7 ริกเตอร์ ที่ส่งผลให้เกิดสึนามิตามมาคร่าชีวิตคนไปกว่า 500 ชีวิต ก่อนที่จะปิดท้ายด้วยภูเขาไฟปะทุที่ทำให้คนกว่า 390,000 คนต้องหนีภัยชั่วคราว ภัยพิบัติระลอกดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่แดนอิเหนาต้องรับมือกับอุทกภัย แผ่นดินถล่ม และ แผ่นดินไหวหลายครั้งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคนไปแล้วในช่วงต้นปี

หากมองในแง่ความประหลาดสุดขั้ว ปี 2553 ถือเป็นตัวอย่าง ที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเริ่มต้นปีด้วยปรากฏการณ์ "เอลนิโญ" ที่ส่งผลให้เกิดภาวะภูมิอากาศแบบสุดขีดไปทั่วโลก ก่อนที่จะเกิดภาวะ "ลานินญา" ที่เป็นสาเหตุของอากาศสุดขั้วในอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญและลานินญาแบบเข้มข้นในรอบปีเดียวกันถือเป็นเรื่อง "ไม่ปกติ" เลย




จาก ..................... ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 3 มกราคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #57  
เก่า 08-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


'นับจากนี้อีก 50 ปี โลกจะแตก คนไทยจะสูญพันธุ์' …........... ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา




จาก ..................... ไทยรัฐ วันที่ 8 มกราคม 2554
รูปขนาดเล็ก
คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	110108_Thairath_01.jpg
Views:	0
Size:	248.9 KB
ID:	10126   คลิ๊กเพื่อดูภาพขนาดใหญ่

Name:	110108_Thairath_02.jpg
Views:	0
Size:	249.3 KB
ID:	10127  
รูป
 
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #58  
เก่า 14-01-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


อะไรกันนี่โลกเรา ฝนตก น้ำท่วม ดินถล่ม หิมะถาโถม!!!


ช่วงนี้เปิดข่าวไปตามทีวีช่องไหน หนังสือพิมพ์ฉบับใด วิทยุคลื่นอะไร สื่ออินเตอร์เน็ตเว็บใดก็เจอแต่ข่าวมหันตภัยธรรมชาติกันมาโดยตลอด

จะว่าไป ข่าวเหล่านี้ก็มาให้เราได้รับทราบกันตลอดทั่วทุกทวีป ทุกมุมโลกทั้งปีอยู่แล้ว เพียงแต่ว่า นับวันๆ ภัยธรรมชาติมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น อาจเนื่องความวิปริตผิดแผกจากเดิม จะด้วยภาวะโลกร้อน ปรากฏการณ์เอลนินโญ่-ลานินญ่า หรือเป็นความเพราะชะตาฟ้าลิตขิตอะไรก็แล้วแต่ ผู้ที่ได้รับผลกระทบก็ล้วนเป็นสิ่งมีชีวิตนับหมื่นล้านล้านๆบนโลกใบนี้นี่ล่ะ โดยเฉพาะมนุษย์ ซึ่งสูญเสียชีวิตทรัพย์สิน

เพื่อสอดรับกับสถานการณ์มหันตภัยที่เกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย มติชนออนไลน์ จึงรวบรวมภาพถ่ายจากสำนักข่าวต่างประเทศ ซึ่งนำเสนอข่าวภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในหลายๆทวีปทั่วโลก



เริ่มต้นที่ประเทศไทย ซึ่งต้องเรียกว่า อากาศของสยามเมืองยิ้มตอนนี้ มีครบทุกฤดู ใน 1 ประเทศ ใน 1 ภูมิภาคแล้วก็ว่าได้ เริ่มต้นที่ความหนาวเย็นของภาคเหนือและอีสาน ที่ยิ่งสูงเท่าไหน่ยิ่งหนาว ตามยอดดอยก็มีผู้ได้รับผลกระทบจากความหนาวเย็นต้องทนทุกข์ทรมานแสวงหาความอบอุ่นกันไปถ้วนหน้า ส่วนอากาศในภาคพื้นดิน ลามเรื่อยมาถึงกรุงเทพฯและเขตจังหวัดโดยรอบก็พลอยได้รับอานิสงส์กะเขาไปด้วย ให้พอหนาวๆเย็นๆพอเป็นกษัย หลังจากที่วันก่อนๆต้องพบเจอกับอากาศมืดครึ้ม ฝนปรอย กลางวันร้อน กลางคืนหนาวงถ้วนหน้ากันไป

ส่วนที่ภาคใต้ตอนล่างของไทย ยังคงเผชิญกับฝนตกหนัก น้ำท่วม ซึ่งตอนนี้ จังหวัดที่ได้รับผลกระทบหนักและยังคงต้องซับน้ำตากันต่อไปเป็นทอดๆ ทั้ง พัทลุง สตูล ยะลา ฯลฯ แม้จะสถานการณ์ดีขึ้นแล้ว แต่ทุกฝ่ายก็คงต้องช่วยกันฟื้นฟูให้กำลังใจคนไทยเลือดไทยหัวใจเดียวกันต่อไป



ข้ามไปที่ออสเตรเลีย จัดว่าเสียหายอย่างหนัก เมื่อเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในรัฐควีนส์แลนด์ โดยพื้นที่ 3 ใน 4 ของรัฐถูกประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติหลังจากเกิดฝนตกลงมาอย่างหนักซ้ำเติมภาวะน้ำท่วมครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 37 ปี สร้างความเสียหายให้กับเมืองบริสเบน เมืองหลวงของรัฐอย่างมาก ทั้งน้ำยังจะเริ่มท่วมเข้าไปถึงรัฐนิวเซ้าท์เวลส์ ที่อยู่ใกล้เคียงแล้ว

ถึงขนาดที่มุขมนตรีรัฐควีนแลนด์ปาดน้ำตาไปพร้อมกับการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนถึงสถานการณ์น้ำท่วมรัฐควีนแลนด์ในขณะนี้ ซึ่งถือว่าเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ของประเทศ คล้ายกับเกิดภาวะหลังสงคราม ความเสียหายที่เกิดขึ้นคิดมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงหลายพันล้านดอลลาห์สหรัฐ ประชาชนนับแสนๆคนต้องได้รับความเดือดร้อน ไร้ที่อยู่อาศัย และถูกตัดขาดจากระบบสาธารณูปโภค โดยน้ำท่วมออสเตรเลียครั้งนี้ครอบคลุมพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศสและเยอรมนีรวมกัน และต้องใช้เวลาหลายเดือนถึงจะฟื้นฟูให้กลับสู่สภาวะปกติ



ข้ามไปที่อมเริกาใต้ ที่นครริโอเด เจเนโร ของ บราซิล ก็ต้องมีการอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ ซึ่งเสี่ยงต่อเกิดน้ำท่วมและแผ่นดินถล่ม ที่อาจจะเกิดขึ้นซ้ำรอยเหตุการณ์แผ่นดินถล่ม ในหลายเขตชุมชนที่อยู่บนเชิงเขา หลังจากที่เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักติดต่อกัน คร่าชีวิตประชาชนเป็น 229 คน เมื่อเดือนที่แล้ว

เช่นเดียวกับที่โคลอมเบียซึ่ง ก็เกิดภาวะน้ำท่วมขนาดใหญ่ กินพื้นที่เป็นนวงกว้างเกือบทั่วประเทศ จากภาวะฝนตกหนักต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีที่แล้ว คร่าไปแล้วหกลายร้อยชีวิต และผู้คนกว่า 2 ล้านต้องเดือดร้อน



โศกเศร้ากับภาวะฝนตกน้ำท่วม ดินถล่ม กันไปมากพอควร ข้ามไปฝั่งยุโรป อเมริกาเหนือ ที่ให้ความรู้สึกหนาวจับขั้วหัวใจเมื่อต้องผจญกับพายุหิมะถล่มหนักสุด โดยเฉพาะรัฐภาคตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ ทำให้การจราจรทางอากาศ รถไฟ และรถยนต์ตามท้องถนน กลายเป็นอัมพาตในหลายพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็น บอสตัน ,แมสซาชูเสส วอชิงตัน เซาท์ คาโรไลน่า เป็นต้น ด้วยบางแห่งหิมะหนาแทบท่วมบ้าน

กลับมาที่ประเทศจีน ยังต้องเผชิญกับอากาศหนาวที่สุดต่อไป ทั้งยังมีลมหนาวและหิมะตกในบางพื้นที่ โดยเมื่อปลายปี2010 มณฑลเหยหลงเจียง ที่เมืองโมเฮในมณฑลเดียวกันมีอุณหภูมิติดลบ 43.5 องศาเซลเซียส ขณะที่สำนักอุตุนิยมวิทยาจีนกล่าวเตือนด้วยว่า จีนจะตกอยู่ในสภาพหนาวเย็นอย่างนี้ต่อไป และจะทำให้มีหิมะตกอีกครั้งหนึ่งทางตอนใต้ของประเทศ ทั้งในมณฑลหูหนาน และนครเซี่ยงไฮ้ด้วย

จะเห็นได้ว่า มหันตภัยธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป้น ฝนตก น้ำท่วม ดินถล่ม แผ่นดินไหว ภุเขาไฟระเบิด ฯลฯ ล้วนให้โทษกับมนุษย์อย่างมหันต์ ประหนึ่งเอาคืนจากความเหยียบย่ำและไม่รู้จักธำรงรักษาทรัพยากรธรรมชาติเมื่อก่อนหน้ากันเอาไว้เป็นร้อยๆปี แม้เราจะหยุดยั้งความโกรธาหรือความเป็นไปของธรรมชาติไม่ได้ แต่สิ่งที่ต้องฟื้นฟูและบำบัดอย่างเร่งด่วนคือ "จิตสำนึก" ในการอนุรักษ์ธรรมชาติ ไม่เช่นนั้นเคราะห์กรรมที่เกิดขึ้นจากสิ่งที่เราก่อ ก็อาจตกอยู่กับตัวเอง คนในครอบครัว คนรัก เพื่อนฝูง คนรู้จัก หรือคนอื่นๆที่ไม่รู้เรื่องใดๆ ที่ต้องมารับกรรมจากความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ความเห็นแก่ตัว ซึ่งเมื่อเวลาถูกเอาคืน เราอาจจะไม่เหลืออะไรเลยแม้แต่ชีวิต



จาก ................ มติชน วันที่ 14 มกราคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #59  
เก่า 26-02-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


เบื้องลึกเหตุ 'วิปโยค' 'วงแหวนแห่งไฟ' 'ธรณีไหว'จัดหนัก!!



"...ประมาณ 90% ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นทั่วโลก และกว่า 80% ของแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ เกิดขึ้นในบริเวณวงแหวนแห่งไฟ..."...เป็นส่วนหนึ่งจากเนื้อหาที่มีการระบุไว้ในวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เป็นเรื่องของ ’วงแหวนแห่งไฟ” และ ’แผ่นดินไหว“

และเกี่ยวพันกับ ’นิวซีแลนด์วิปโยค” ที่เพิ่งเกิดขึ้น...

ทั้งนี้ เหตุการณ์แผ่นดินไหวรุนแรง 6.3 ริคเตอร์ ซึ่งเกิดขึ้นบริเวณเมืองไครส์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา จัดเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่อีกครั้ง ซึ่งส่งผลเสียหายทั้งต่อทรัพย์สิน อาคาร บ้านเรือน และส่งผลต่อชีวิตผู้คน ซึ่งไม่เพียงคนนิวซีแลนด์ แต่ยังรวมถึงคนชาติอื่นๆ รวมถึงเกี่ยวพันกับคนไทยกลุ่มหนึ่งด้วย

นี่เป็นอีกครั้งที่ภัยธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้น ณ จุดหนึ่งของโลก สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนทั่วทุกมุมโลก โดยภัยธรรมชาติ “แผ่นดินไหว” นั้น เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวของชั้นหินขนาดใหญ่ เกิดการเลื่อน เคลื่อนที่ แตกหัก เกิดการโอนถ่ายพลังงานศักย์ผ่านในชั้นหินที่อยู่ติดกัน

นักธรณีวิทยาประมาณว่า... วันหนึ่งๆ โลกเกิดแผ่นดินไหวราว 1,000 ครั้ง แต่ส่วนใหญ่เป็นแผ่นดินไหวที่มีการสั่นสะเทือนเพียงเบาๆ ทั้งนี้ จุดศูนย์กลางการเกิดแผ่นดินไหวนั้นมักเกิดตามรอยเลื่อน อยู่ในระดับความลึกระดับต่างๆ ของผิวโลก โดยแผ่นเปลือกโลกแต่ละแผ่นจะหนาต่างกัน บางแผ่นหนาถึง 70 กิโลเมตร บางแผ่น เช่น ส่วนที่อยู่ใต้มหาสมุทร หนาเพียง 6 กิโลเมตร และแผ่นเปลือกโลกแต่ละแห่งจะมีส่วนประกอบทางกายภาพและทางเคมีที่แตกต่างกัน เมื่อเคลื่อนที่แยกหรือชนกัน ก็จะเกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรงมากน้อยต่างกัน

แต่ประเด็นคือ...แหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวหรือตำแหน่งจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหว จะอยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลก โดยที่กว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นจะเกิดรอบๆมหาสมุทรแปซิฟิก

หรือที่เรียกกันว่า ’วงแหวนแห่งไฟ (Ring of Fire)”


กับเรื่องของ “วงแหวนแห่งไฟ” นี้ จากข้อมูลใน วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี โดยสังเขปคือ... วงแหวนแห่งไฟนั้นเป็นบริเวณในมหาสมุทรแปซิฟิกที่เกิดแผ่นดินไหว และ “ภูเขาไฟระเบิด” บ่อยครั้ง มีลักษณะเป็นเส้นเกือกม้า ความยาวรวมประมาณ 40,000 กิโลเมตร วางตัวตามแนวร่องสมุทร แนวภูเขาไฟ และบริเวณขอบแผ่นเปลือกโลก โดย มีภูเขาไฟที่ตั้งอยู่ภายใน “วงแหวนแห่งไฟ” ทั้งหมด 452 ลูก

และเป็นพื้นที่ที่มีภูเขาไฟคุกรุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก

มากในระดับ..กว่า 75% ของภูเขาไฟที่คุกรุ่นทั้งโลก!!

วงแหวนแห่งไฟเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่และการชนกันของแผ่นเปลือกโลก แบ่งเป็น :
- ส่วนวงแหวนทางตะวันออก มีผลมาจากแผ่นนาซคาและแผ่นโคคอส ที่มุดตัวลงใต้แผ่นอเมริกาใต้
- ส่วนของแผ่นแปซิฟิกที่ติดกับแผ่นฮวนดีฟูกา ซึ่งมุดตัวลงแผ่นอเมริกาเหนือ
- ส่วนทางตอนเหนือที่ติดกับทางตะวันตกเฉียงเหนือของแผ่นแปซิฟิก มุดตัวลงใต้บริเวณเกาะเอลูเชียนจนถึงทางใต้ของญี่ปุ่น และ
- ส่วนใต้ของวงแหวนแห่งไฟเป็นส่วนที่มีความซับซ้อนของแผ่นเปลือกโลก มีแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กมากมายที่ติดกับแผ่นแปซิฟิก ซึ่งเริ่มตั้งแต่หมู่เกาะมาเรียน่า ประเทศฟิลิปปินส์ เกาะบัวเกนวิลเล ประเทศตองกา และ นิวซีแลนด์
แนววงแหวนแห่งไฟยังมีแนวต่อไปเป็นแนวอัลไพน์ (อีกหนึ่งแนวที่มีการเกิดแผ่นดินไหว) ซึ่งเริ่มต้นจากเกาะชวา เกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซีย

"รอยเลื่อน" ที่ตั้งอยู่บน "วงแหวนแห่งไฟ" นี้ ก็ได้แก่ รอยเลื่อนซานอันเดรียส ในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเกิดแผ่นดินไหวเล็กๆเป็นประจำ, รอยเลื่อนควีนชาร์ลอตต์ ทางชายฝั่งตะวันตกของหมู่เกาะควีนชาร์ลอตต์ รัฐบริติชโคลัมเบีย แคนาดา ซึ่งเคยเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ 3 ครั้ง คือ ขนาด 7 ริคเตอร์ เมื่อ ค.ศ. 1929 ขนาด 8.1 ริคเตอร์ ปี ค.ศ. 1949 (แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่สุดในแคนาดา) และขนาด 7.4 ริคเตอร์ ในปี ค.ศ. 1970

สำหรับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ที่เคยเกิดขึ้นในแนว ’วงแหวนแห่งไฟ“ นี้ เช่น แผ่นดินไหวคาสคาเดีย ขนาด 9 ริคเตอร์ เมื่อ ค.ศ. 1700 แผ่นดินไหวโลมาพรีเอตา ในแคลิฟอร์เนีย แผ่นดินไหวภาคคันโต ในญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1923 มีผู้เสียชีวิตกว่า 130,000 คน แผ่นดินไหวเกรตฮันชิน ในปี ค.ศ. 1995 และอีกครั้งใหญ่ที่เคยบันทึกไว้คือแผ่นดินไหวเมื่อ ค.ศ. 2004 บริเวณมหาสมุทรอินเดีย ขนาด 9.3 ริคเตอร์ ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิพัดถล่มบริเวณโดยรอบ โดยเฉพาะอินโดนีเซียถูกถล่มด้วยคลื่นสูงราว 10 เมตร มีผู้เสียชีวิตรวมราว 230,000 คน

ทั้งนี้ ประเทศที่ตั้งหรือมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในแนว ’วงแหวนแห่งไฟ“ ได้แก่ เบลีซ โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลัมเบีย ชิลี คอสตาริกา เอกวาดอร์ ติมอร์ตะวันออก เอลซัลวาดอร์ ไมโครนีเซีย ฟิจิ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น คิริบาตี เม็กซิโก นิการากัว ปาเลา ปาปัวนิวกินี ปานามา เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย ซามัว หมู่เกาะโซโลมอน ตองกา ตูวาลู สหรัฐอเมริกา และรวมถึง นิวซีแลนด์ ที่เพิ่งเกิด ’วิปโยคแผ่นดินไหว“

"วงแหวนแห่งไฟ" มักเกิด "ธรณีพิโรธ" แบบ "จัดหนัก"

เป็นพื้นที่ที่เกิด "หายนะใหญ่ต่อชาวโลก" ประจำ!!!.




จาก ..................... เดลินิวส์ คอลัมน์สกู๊ปหน้า 1 วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #60  
เก่า 31-03-2011
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default


แผ่นดินไหว สึนามิ อุบัติภัยธรรมชาติที่หนักขึ้นทุกวัน .......................... เรียบเรียงโดย นายสมเกียรติ พงษ์กันทา วิศวกรอิสระ



ภัยพิบัติแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์ ที่เกิดขึ้นในทะเลด้านตะวันออกของเมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น ซ้ำด้วยคลื่นสึนามิสูงเกิน 10 เมตร โถมเข้าฝั่งด้วยความเร็วแปดร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2554นั้น ได้สร้างความเสียหายต่ออาคาร บ้านเรือน ถนน โครงสร้างพื้นฐาน รถไฟ เครื่องบิน ยานพาหนะ และอุปกรณ์ทุกชนิดที่ขวางหน้า คร่าชีวิตมนุษย์จำนวนกว่า 20,000 คน แผ่กระจายเป็นอาณาบริเวณกว้างขวางปราศจากขอบเขต และสร้างความหวาดผวาแก่มนุษยชาติ โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นผู้ซึ่งเป็นต้นตำรับของตำนานสึนามิ และซ้ำร้ายเมื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิม่า ไดอิชิ ของบริษัทการไฟฟ้าโตเกียว ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่นได้รับผลกระทบ เป็นความเสียหายอย่างหนักนั้น ถือเป็นอุบัติภัยที่ควรจะมีอยู่แต่ในตำราที่เป็นจินตนาการเท่านั้น แต่ที่เกิดขึ้นจริงครั้งนี้สร้างผลกระทบความเสียหายเลวร้ายกว่าที่เคยถูกบันทึกว่าเป็นความเลวร้ายที่สุดสำหรับอุบัติภัยในประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณีของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ทรีไมล์ไอส์แลนด์ในสหรัฐฯ หรือเชอร์โนบิลในรัฐยูเครนสหภาพโซเวียต

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิม่าแห่งนี้จะหยุดทำงานทันทีโดยอัตโนมัต แต่แรงปะทะและน้ำท่วมของสึนามิทำให้อุปกรณ์ในห้องควบคุมชั้นล่าง ระบบการสื่อสารทั้งหมดซึ่งเป็นหัวใจของการควบคุมอัตโนมัติและระบบไฟฟ้าสำรองเสียหายหยุดทำงานพังพินาศ ทำให้การหล่อน้ำเพิ่มความเย็นเพื่อลดอุณหภูมิแก่เชื้อเพลิงซึ่งเป็นแท่งยูเรเนี่ยมครอบด้วยโลหะเซอร์โคเนี่ยมจุ่มอยู่ในน้ำรวมกับแท่งควบคุมของเตาปฏิกรณ์ วิศวกรผู้ควบคุมได้พยายามทุกวิถีทางเพื่อควบคุมอุณหภูมิเตาปฏิกรณ์ ป้องกันไม่ให้แท่งเชื้อเพลิงร้อนจัดจนถึงขั้นหลอมละลายหรือระเบิดกระจายกัมมันตรังสีออกสู่บรรยากาศ ลังเลกันอยู่นานก่อนตัดสินใจใช้น้ำทะเลมาช่วยหล่อเย็นแต่มาได้ผลมากนัก เพื่อลดความดันของก๊าซไฮโดรเจนที่กระจุกรวมตัวกันอยู่ในอาคารด้านนอกของเตาปฏิกรณ์ เปิดให้ออกสู่บรรยากาศมีผลเสียตามมา เกิดการระเบิดเมื่อผสมเข้ากับออกซิเจน การระเบิดของไฮโดรเจนส่งผลให้หลังคาฝาครอบด้านนอกของเตาปฏิกรณ์เครื่องหนึ่งเปิดออก เกิดการรั่วไหลของกัมมันตรังสีออกสู่บรรยากาศโดยรอบน่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่ง แต่กระนั้นหน่วยดับเพลิงและป้องกันสาธารณภัยของญี่ปุ่นก็ยังไม่ย่อท้อ ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อฉีดน้ำดับเพลิงหล่อเลี้ยงลดอุณหภูมิให้แก่เตาปฏิกรณ์โดยเฉพาะหน่วยที่3 ซึ่งมีปัญหาวิกฤติที่สุดของจำนวนทั้งหมด6หน่วย กรณีนี้ถือเป็นบทเรียนที่ล้ำค่าของวิศวกรโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และบริษัทการไฟฟ้าโตเกียว

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ฟุกุชิม่าแห่งนี้ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยภูมิปัญญาความรู้สูงสุดความสามารถของวิศวกรชาวญี่ปุ่นที่ถือว่าจะให้ความปลอดภัยสูง มีความเสี่ยงน้อยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก สามารถทนต่อความแรงของแผ่นดินไหวขนาด 9 ริกเตอร์สเกลได้ แต่เมื่อถูกกระแทกด้วยแรงกระแทกซ้ำแล้วซ้ำอีกของพลังน้ำมหึมาที่ความเร็ว 800 กม.ต่อชั่วโมงนั้น เป็นสิ่งที่เหนือความคาดหมายของวิศวกรผู้ออกแบบ เป็นผลให้ระบบไฟฟ้า การควบคุมอัตโนมัติและอุปกรณ์สำรองของความปลอดภัยทุกชนิดพังพินาศเป็นอัมพาตหมด ถึงกระนั้นวิศวกรและช่างชาวญี่ปุ่นก็ได้พยายามหามาตรการต่างๆทำงานแข่งกับเวลาเพื่อที่จะควบคุมการทำงานของเตาปฏิกรณ์ทุกเครื่องให้อยู่ในภาวะที่ปลอดภัยให้ได้แม้จะเสี่ยงกับความปลอดภัยของตนเองก็ตาม

ประเทศญี่ปุ่นเป็นเกาะเล็กๆไม่มีทางเลือกสำหรับแหล่งพลังงานมากนัก พลังงานไฟฟ้าจากนิวเคลียร์จึงมีความจำเป็น มีจำนวนร้อยละ 30 ของพลังงานทั้งหมด

ญี่ปุ่นรู้ว่าโรงไฟฟ้าของตนอยู่ในเขตแผ่นดินไหวที่รุนแรง เคยมีขนาด 8.6 ริกเตอร์ ใน ค.ศ.1700 และขนาด 8.4 ใน ค.ศ.1933 มาแล้วแต่เขาก็พยายามใช้ความรู้และประสบการณ์จากอุบัติภัยที่เลวร้ายที่สุดในอดีตมาเป็นตัวกำหนดการออกแบบและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีให้มีความเสี่ยงน้อยที่สุดในการออกแบบก่อสร้าง สำหรับกรณีนี้ใช้เทคโนโลยีเตาปฏิกรณ์ต้มน้ำให้เดือดเป็นไอที่อุณหภูมิสูงนำไปปั่นกังหันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แต่ปัญหาอื่นๆเช่น การรวมตัวของไฮโดรเจนทำให้เกิดระเบิดขึ้นและความเสียหายของไฟฟ้าและอุปกรณ์สำรองฉุกเฉินที่เสียหายจากน้ำและภัยสึนามินั้น เป็นสิ่งที่เกินความคาดหมาย ถือเป็นการเรียนรู้ที่แสนจะเจ็บปวด


สาเหตุของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเป็นความเสี่ยงที่มนุษย์ต้องยอมรับโดยดุษณีภาพ แยกเป็นสองประเภท

1.เกิดจากภูเขาไฟที่ยังมีพลังงานอยู่ เมื่อหินลาวามีปริมาตรสะสมและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นทำให้เกิดระเบิด แรงระเบิดนี้ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อเนื่องเป็นคลื่นแผ่นดินไหวสั่นสะเทือนไปรอบปริมณฑล มีขอบเขตจำกัด

2.เกิดจากการหดตัวและขยายตัวของแผ่นพื้นชั้นใต้แผ่นดิน เกิดขึ้นเมื่อภูมิภาคในขอบเขตหนึ่งของพื้นที่ใต้ผิวโลกเกิดสภาวะเครียดหดตัวแยกออกจากพื้นที่ข้างเคียงอย่างฉับพลันทำให้ผิดรูปไปจากเดิม เป็นการปลดปล่อยพลังงานที่สะสมอยู่ในมวลสารของแผ่นดินออกมาในรูปของคลื่นแผ่นดินไหว เช่น ในกรณีของเซนไดและของวันที่ 26 ธ.ค.2547 ที่หมู่เกาะสุมาตรา อินโดนีเซีย ส่งผลเป็นคลื่นสึนามิเข้าฝั่งเป็นวงกว้าง สร้างความสูญเสียแก่ประชากรกว่า 150,000 ชีวิต ในจำนวนนี้มีคนไทยเสียชีวิตไปด้วย 5,000 คน

คลื่นแผ่นดินไหวนี้จะกระจายตัวออกไปอย่างต่อเนื่องรอบทุกทิศ สร้างรอยปริ แตกแยกทั้งแนวตั้ง ทางลึกและแนวนอนไปตามผิวพื้นโลกในขนาดความถี่ต่างๆกันระหว่าง 2-7 ไมล์ต่อวินาที ทำให้เกิดความสั่นสะเทือน เปลี่ยนแปลง เสียหายต่อโครงสร้างทางกายภาพของธรรมชาติ และโครงสร้างทั้งหลายที่เปลี่ยนแปลงจากธรรมชาติหรือที่ถูกปลูกสร้างด้วยน้ำมือมนุษย์ปราศจากขอบเขต ปริมาตรมวลสารของโลกที่หดยืดหรือแยกตัวนี้ เมื่อคำนวณจากพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาแล้วจะมีจำนวนมากถึง 2,000,000 ลูกบาตรไมล์ ในความลึกของจุดที่เกิดแผ่นดินไหวระหว่าง 30-450 ไมล์จากผิวโลก หลังจากแผ่นดินที่ไหวรุนแรง จะมีปรากฏการแผ่นดินไหวย่อยๆตามมาทิ้งระยะห่างไม่แน่นอน อาจเป็นวันหรือเป็นปีนานถึง 15 ปี

พื้นที่เสี่ยงต่อแผ่นดินไหว

อาจเกิดบ่อยตามอาณาบริเวณของเส้นร่องร้าวของพื้นโลกและเป็นครั้งคราวในแห่งอื่น นักวิชาการจะอาศัยสถิติที่บันทึกไว้ เช่นพื้นที่ตามขอบของมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งทวีปอเมริกาและเอเชียในมหาสมุทรอินเดีย หมู่เกาะอินโดนีเซีย ประเทศพม่าตอนบนและประเทศจีนเป็นต้น

นับตั้งแต่แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด 8.3 ริกเตอร์ วันที่ 18 เม.ย.2449 ทำให้ชาวซานฟรานซิสโกเกิดเพลิงไหม้ทั้งเมืองติดต่อกัน 3 วันเป็นต้นมา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ให้ความสนใจค้นคว้าเกี่ยวกับแผ่นดินไหวเป็นพิเศษ

อาจกล่าวได้ว่าจากสถิติความเสียหายจากแผ่นดินไหว มีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นเป็นลำดับ

17 ส.ค.2542 แผ่นดินไหวที่ตุรกี ขนาด 7.4 ริกเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 16,000 คน
27 ก.ย.2542 แผ่นดินไหวที่ไต้หวัน ขนาด 7.6 ริกเตอร์ มีผู้เสียชีวิต 2,300 คน
ใน พ.ศ.2551 ที่ประเทศจีน มีผู้เสียชีวิต 85,000 คน
ใน พ.ศ.2553 ที่ประเทศเฮติ มีผู้เสียชีวิต 224,000 คน และที่สุมาตรา มีผู้เสียชีวิตกว่า 226,000 คน
และล่าสุดที่เซนได ประเทศญี่ปุ่น ขนาด 9 ริกเตอร์ คาดว่ามีผู้เสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน ที่มีจำนวนไม่มากนัก เพราะญี่ปุ่นเป็นชาติที่เตรียมพร้อมเสมอสำหรับภัยพิบัติแผ่นดินไหว

การเปรียบเทียบความรุนแรงของแผ่นดินไหว

จากเดิมใช้เมอร์แคลลี่สเกลเป็น 12 ระดับ ปัจจุบันปรับเปลี่ยนเป็นริกเตอร์สเกล โดย ซี เอฟ ริกเตอร์ และกูเต็นเบิร์ก โดยใช้ขนาดความแรงของคลื่นที่วัดได้จากแผ่นดินไหวทำเทียม มีระยะห่างจากจุดที่เกิด 100 กม. เวลา 0.8 วินาที ขยาย 2,800 เท่า ให้ความแรงของคลื่นที่วัดได้เท่ากับ 1 ไมครอน (0.001 ม.ม.) ของเครื่องมือวัดไซสโมแกรม ถือเป็นหนึ่งหน่วยของริกเตอร์ แต่ละหน่วยมีความรุนแรงต่างกันสิบเท่าตัว

การออกแบบทางวิศวกรรม

ในสหรัฐอเมริกาการออกแบบโครงสร้างอาคาร การติดตั้งอุปกรณ์ตามพื้นที่ให้สามารถต้านการสั่นสะเทือนเสี่ยงกับปรากฏการณ์แผ่นดินไหวเรียกว่า เอ็มซีอี ปกติจะขึ้นอยู่กับระดับของแรงถ่วงของโลกระหว่าง 0.07-0.08 ของแรงถ่วงของโลก

สำหรับประเทศไทยจากสถิติ 30 ปี มีแผ่นดินไหวประมาณ ครั้งขนาดเบา มิได้สร้างความเสียหาย

จากสถิติใกล้เคียง

วันที่ 26 ธ.ค.2547 ขนาด 9 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่หมู่เกาะสุมาตราเหนือ
วันที่ 22 ม.ค.2546 ขนาด 7.3 ริกเตอร์ ศูนย์กลางที่หมู่เกาะสุมาตรา
วันที่ 22 ก.ย.2546 ขนาด 7.3 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่เหนือกรุงย่างกุ้งประเทศพม่า 355 กม.

ครั้งหลังสุดได้สร้างแรงสั่นสะเทือนให้อาคารสูงในกรุงเทพฯเล็กน้อย คาดว่าการออกแบบของวิศวกรโครงสร้างสำหรับประเทศไทยควรจะอยู่ระหว่างร้อยละ 6 ของแรงโน้มถ่วงของโลก (0.06g)



จาก ..................... เดลินิวส์ วันที่ 30 มีนาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:43


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger