|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#71
|
||||
|
||||
จุดเด่นของกองหินจมนี้ สองสายยกให้ "ปะการังหนัง" (Leather or Wrinkled Soft Coral, Sarcophyton Trocheliophorum) ที่มีอยู่หนาแน่น เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งได้รับผลกระทบจากโลกร้อน ทำให้เกิดฟอกขาวเป็นบริเวณกว้าง แต่ในปีนี้ อาการฟอกขาวไม่มีให้เห็น แต่ปริมาณของปะการังหนังลดน้อยลงมาก โดยเฉพาะที่อยู่บนฟื้นทรายนั้น หายไปเกือบหมด ปะการังหนังส่วนที่เหลืออยู่ ยังดูสวยงามและสมบูรณ์อยู่ แต่บางแถบ ปะการังหนังสีดูจะอ่อนกว่าบริเวณอื่นๆ
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 05-06-2011 เมื่อ 15:11 |
#72
|
|||
|
|||
อะแฮ่ม! ขอบคุณที่คิดถึงกันค่ะพี่ป้ากบ ^__^
รอติดตามอ่านตอนต่อไปอยู่นะคร้าพี่สองสาย ว่าแต่ใครมีตุ๊กตาฉลามเฉิ่มๆ ฉลามบ้านๆมาขายต่อมั่งป่ะคร้า?? T__t มันช้ำใจสุดๆตอนโดนพี่ห้อยเอ๊ยพี่ก้อยตอกย้ำ...เรียวเหลือทนแล้วนั่น ขวัญของเรียว =.=' |
#73
|
||||
|
||||
ส่วนปะการังหนังอีกชนิดหนึ่ง คือ Finger Leather Coral,Alcyonium sp. นั้น ก็ดูสวยงามไม่แพ้กัน แต่ไม่เข้าใจที่ทำไมต้องไปปีนป่าย รุกรานฟองน้ำครกอย่างนั้น...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 05-06-2011 เมื่อ 15:12 |
#74
|
||||
|
||||
ปลาโนรีครีบยาวของกองหินจม..ทำไมชอบอยู่อย่างโดดเดี่ยว
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 05-06-2011 เมื่อ 15:13 |
#75
|
||||
|
||||
ปลิงทะเลขาว (Graeffe's Sea Cucumber) ตัวโต เกาะหากินอยู่บนหน้าผา ของหินก้อนใหญ่ ที่อยู่ห่างจากผิวน้ำเพียง 12 เมตร
__________________
Saaychol |
#76
|
||||
|
||||
ปะการังแข็งของหินกองจมมีไม่มากนัก แต่ค่อนข้างสมบูรณ์ดี ปะการังขึ้นซ้อนกันเป็นชั้นๆ เริ่มจากกอเล็กๆ จนขยายใหญ่ขึ้นๆ ปะการังชั้นล่างๆที่ไม่ได้รับแสงแดด และหาอาหารกินเองลำบาก ก็พากันลาตาย
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 03-06-2011 เมื่อ 12:44 |
#77
|
||||
|
||||
ปะการังแข็งที่แตกกิ่งก้านสาขา ขยายอาณาเขตออกไป.. ปะการังเกิดใหม่บนซากปะการังแข็ง...
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 06-06-2011 เมื่อ 22:21 |
#78
|
||||
|
||||
ภัยคุกคามของปะการังสิ่งหนึ่งคือ ดาวมงกุฎหนาม ที่ย่อยและดูดกินโพลิบของปะการัง จนเหลือแต่ซากหินปูนขาวซีด ถ้าใน 1 เฮกแตร์ (ประมาณ 10,000 ตารางเมตร) มีจำนวนดาวมงกุฎหนามเกิน 10 ตัว ก็ถือว่าอยู่ในระดับระบาดแล้ว ถ้าเกิน 30 ตัว ถือว่าระบาดรุนแรงมาก (ข้อมูลจาก...http://www.dmcr.go.th/dmcr2009/webbo...=special&No=79) ถ้าดาวมงกุฎหนามมีไม่มากเกินไป จนถึงขั้นที่เรียกว่า "ระบาด"...เราก็ไม่จำเป็นต้องไปกำจัดเขานะคะ เพราะเขาจะช่วยเพิ่มเนื้อที่ว่างในแนวปะการัง เพื่อให้ตัวอ่อนปะการังและสัตว์อื่นๆลงเกาะได้ใหม่ ทำให้เกิดความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศได้มากขึ้น แต่ถ้าเห็นดาวมงกุฎหนามกำลังกัดกินปะการังอย่างเอร็ดอร่อย เราก็อดไม่ได้ ที่จะขอย้ายเขาไปอยู่บนพื้นทราย ไกลๆจากแนวปะการัง ถ้าจะทำอย่างนี้ ก็ต้องระวังหนามของดาวมงกุฎหนามให้ดีๆนะคะ เพราะมีเพื่อนๆของเราทำอย่างนี้ แล้วพลาดถูกหนามของน้องดาวแทงนิ้วมือ แล้วเกิดแผลอักเสบ มือบวมเป่ง เสียเงินรักษาอยู่นานเป็นเดือน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 05-06-2011 เมื่อ 15:19 |
#79
|
||||
|
||||
เห็นภาพรอยแหว่งบนฟองน้ำครก เป็นภาพ "หัวใจ" เหมือนมีใครไปแกะสลักไว้แล้ว ก็ทำอารมณ์ไม่ถูกเลยค่ะ...
__________________
Saaychol |
#80
|
||||
|
||||
ขยะและเศษอวนที่หินกองจม ไม่ค่อยมีให้เห็นมากนัก ที่เราเก็บมาได้ ส่วนมากจะเป็นสายเบ็ด และเชือกเส้นขนาดนิ้วก้อย ไดฟ์นี้เราเลยไม่ค่อยจะเหนื่อยเท่าไรค่ะ...
__________________
Saaychol |
|
|