#81
|
||||
|
||||
เตือนอย่าเกาแผล เสี่ยงติดเชื้อง่าย จาก ..................... ไทยรัฐ วันที่ 31 ตุลาคม 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#82
|
||||
|
||||
วิตกจริตทำจิตใจร้าย 'ไทยตื่นน้ำ' ธรรมดาแต่อย่าฝังลึก กลางกระแสวิกฤติน้ำท่วม ในเมืองไทยก็เกิดภาพดีๆมากมาย อย่างภาพแห่งจิตอาสาของคนไทยเพื่อคนไทย แต่ในอีกด้านหนึ่ง ภาพความแตกตื่นโกลาหล รวมไปจนถึงภาพไม่ดีอันไม่น่าพึงประสงค์ ก็ไม่น้อย!! อาจกล่าวได้ว่า...ไทยกำลังอยู่ในยุค ’ตื่นน้ำ“ ก็เป็นธรรมดา...ทว่า ’บางอย่างก็ไม่น่าเลย...“ ’ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น เรามองได้ว่าสังคมมีภาพใหญ่ 2 ภาพซ้อนกัน ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ“...ที่ปรึกษาฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ระบุถึงภาพปรากฏการณ์ต่างๆในวิกฤติน้ำท่วม พร้อมทั้งบอกอีกว่า...มุมดีๆเรื่อง จิตอาสา-จิตสาธารณะ เป็นเรื่องดีมาก ขณะที่การแตกตื่นข่าว กักตุนอาหาร เอารถไปจอดบนทางด่วนซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน จากเหตุที่ไม่คาดคิด ก็เป็นเรื่องธรรมดาที่ปรากฏการณ์เช่นนี้จะเกิดขึ้น “แง่ลบ เรื่องความขัดแย้ง การทำลายคันดินคันทราย สะท้อนให้เห็นถึงการดูแลแก้ไขน้ำในระดับจังหวัดและระดับเขตที่ต่างคนต่างทำ ไม่มีความเป็นเอกภาพ การจัดการทำได้ไม่ดี ไม่ปรึกษาหารือ ไม่ช่วยเหลือกันและกัน ที่สุดก็ทะเลาะเบาะแว้งกันเป็นธรรมดา” ...ศ.ดร.อดิศร์ ระบุ และยังบอกด้วยว่า...ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ทั้งดีและไม่ดี สะท้อนชัดว่าเราไม่ได้มีการเตรียมตัว วางแผน ประเมินสถานการณ์ต่ำเกินไป ให้ความสำคัญเรื่องอุทกศาสตร์ต่ำมาก และมีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำโดยรวม ที่สำคัญสภาพภูมิประเทศของไทยในปัจจุบันไม่สามารถรองรับปริมาณน้ำฝนที่มากได้ สะท้อนถึงป่าต้นน้ำของเราที่ถูกทำลายจนไม่มีที่ชะลอความแรงและความเร็วของน้ำฝน ที่ปีนี้มีมากกว่าเดิม 3 เท่าตัว ด้าน รศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ และวิจัย และอาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มองว่า...ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในช่วงน้ำท่วม โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ ทั้งการแตกตื่นข่าว ทะเลาะเบาะแว้ง ห่วงรถ ก็เป็นปรากฏการณ์ที่สมกับเหตุ คนเห็นภาพน้ำท่วมหลายจังหวัดไล่มาเรื่อยๆ จึงกลัวว่าจะเกิดขึ้นกับตนบ้าง เรื่องต่างๆก็จึงเกิดขึ้น อย่างเรื่องรถก็เป็นธรรมดาที่ทุกคนจะต้องห่วง เพราะรถมิดทั้งคันไม่เคยเห็นมาก่อน ซึ่งต้องเสียค่าซ่อมหลายแสน คงไม่มีใครอยากจ่าย การแตกตื่นข่าวสารที่เกิดขึ้น ก็เพราะข่าวจริงของรัฐบาลเชื่อไม่ค่อยได้ เพราะบอกว่าควบคุมได้ ป้องกันได้ แต่ไม่จริง ขณะที่ข่าวลือที่บอกว่ามาแน่ ท่วมแน่ กลับจริง คนจึงเชื่อข่าวลือมากกว่า และเพราะความรุนแรงของน้ำครั้งนี้มีมาก จึงไม่แปลกที่คนจะปริวิตกเดือดเนื้อร้อนใจถึงขนาดทะเลาะกัน พึ่งรัฐไม่ได้ ก็ต้องพึ่งตัวเอง เมื่อพึ่งตัวเอง ก็ต่างคนต่างทำ ความโกลาหลอลหม่านต่างๆก็เกิดให้เห็น “การรื้อกระสอบทราย พังคันดิน ในระดับชาวบ้าน ถือว่าไม่แปลก เพราะเครียด ฝั่งเราเปียก อีกฝั่งแห้ง ที่ทำเพราะอยากบรรเทาความเดือดร้อนของชีวิตตัวเองมากกว่าที่จะคำนึงถึงภาพรวม ไม่ได้มีเจตนาร้าย แต่ภาพนักการเมืองท้องถิ่นพาชาวบ้านไปพังกระสอบทรายอีกด้าน เป็นเรื่องที่ไม่น่าดู ไม่ควรทำ”…รศ.พรชัย ระบุ พร้อมทั้งกล่าวถึงเรื่องจิตอาสาว่า...เป็นเรื่องดี เป็นอีกมุมดีของพลังโซเชียลเน็ตเวิร์ก ทำให้ได้เห็นว่าโซเชียลเน็ตเวิร์กไม่ได้ถูกใช้แค่ประท้วงรัฐบาล คราวนี้เราได้เห็นเด็กวัยรุ่นอายุไม่มาก ที่บ้านก็ยังไม่ปลอดภัย แต่ก็ออกมาช่วยคนอื่น เพราะการบอกข่าวกันในโซเชียลเน็ตเวิร์ก นี่เป็นพลังด้านดีอีกด้านที่ควรขยายความต่อ นอกจากมุมมองของนักวิชาการ 2 ราย ดังที่ว่ามาแล้ว ทาง ดร.จิตรา ดุษฎีเมธา ประธานโครงการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ก็วิเคราะห์และแบ่ง คนไทยกลางวิกฤติน้ำท่วม ได้น่าพิจารณา โดยแบ่งเป็น 7 กลุ่ม ซึ่งโดยสังเขปคือ... กลุ่มที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ตั้งสติ เตรียมพร้อมรับมือ แต่ไม่ได้ตื่นกลัวหรือทำให้แตกตื่น, กลุ่มที่ยังไม่ได้รับผลกระทบ แต่ผวา วิตกกังวล แตกตื่นหรือตื่นตูม จิตเตลิดตลอดเวลา, กลุ่มที่ต้องทำตามหน้าที่ เก็บเรื่องราวของตัวเองไว้ก่อน ยึดภาระรับผิดชอบเป็นหลัก กลุ่มที่เข้าช่วยเหลือเผื่อแผ่ แบ่งปัน แม้บุคคลที่ช่วยจะไม่ใช่ญาติพี่น้องหรือเป็นคนที่ไม่ชอบหน้า, กลุ่มที่ร่วมด้วยช่วยกัน แม้จะทุกข์ก็ช่วยประคับประคองกันและกัน ช่วยอะไรได้ก็จะช่วย ทำอะไรได้ก็จะทำ, กลุ่มที่มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ หาเรื่องตำหนิได้เสมอ สนุกกับการทำให้ผู้อื่นตื่นตระหนก ไม่ได้ช่วยทำให้สถานการณ์ต่างๆดีขึ้นมีแต่จะนั่งดูและพูดถึงคนอื่นในด้านลบ, กลุ่มที่เอาตัวเองให้รอด คนอื่นเป็นอย่างไรไม่สนใจ ถ้ามีใครเข้ามาช่วยก็จะขอบคุณ แต่ถ้าใครรุกล้ำก็จะเดือดดาล หากตัวเองเป็นอะไรไปหรือต้องประสบชะตากรรม จะไม่ยอมและจะพยายามให้คนอื่นเป็นอย่างตนเองด้วย ทั้งนี้ จาก 7 กลุ่มที่ว่ามา กลุ่มใดถือว่าดี-ถือว่าไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นคนกลุ่มใดมองก็ย่อมมองออก แต่ ’ประเด็นสำคัญจริงๆ“ อยู่ตรงที่ ดร.จิตรา ทิ้งท้าย คือ... ’สำคัญมากในช่วงนี้สำหรับทุกคนทุกกลุ่มคือ กายต้องรอดต้องไม่เจ็บป่วย ใจต้องแกร่งคือจิตไม่ตก รู้จักตื่นตัวแทนการตื่นกลัว ตั้งสติให้ได้แทนสติแตก มองปัญหาว่าสามารถคลี่คลายได้เสมอ เพื่อให้สามารถมองไกลไปถึงวันข้างหน้าได้“. จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#83
|
||||
|
||||
เปิดคู่มือ เอาตัวรอดจากสัตว์มีพิษที่มากับน้ำ แนะต้องมีสติตลอดเวลา นพ.ชาตรี เจริญชีวะกุล เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวว่า ในช่วงที่มีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ พบสถิติการเข้ารักษาฉุกเฉินที่พบบ่อย คือ การถูกสัตว์มีพิษที่มากับน้ำกัด ทั้ง ปลิง ตะขาบ แมงป่อง และงู ซึ่งเฉพาะ งู มีทั้งงูเหลือม งูเขียว งูเห่า โดยงูมีพิษแบ่งได้เป็นเป็น 3 ชนิด คือ - ชนิดเป็นพิษต่อระบบประสาท พบใน งูเห่า งูจงอาง ผลคือเกิดอัมพาต ลืมตาไม่ได้ และอาจหยุดหายใจจนเสียชีวิตได้ - ชนิดที่ 2 คือเป็นพิษต่อเลือด ได้จากงูแมวเซา งูเขียวหางไหม้ ผู้รับพิษจะมีเลือดออกตามที่ต่างๆ อาเจียนเป็นเลือดไม่หยุด เพราะพิษจะส่งผลให้เลือดไม่แข็งตัว และ - ชนิดเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อ ได้จาก งูทะเล เป็นอัตรายต่อกล้ามเนื้อ วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากถูกสัตว์มีพิษ โดยเฉพาะงูกัด ก่อนที่ทีมแพทย์ฉุกเฉินจะเข้าไปถึงพื้นที่ คือประชาชน ต้องตั้งสติก่อนเป็นอันดับแรก ดูให้แน่ว่าเป็นงูที่มีพิษหรือไม่ หากแน่ใจเป็นงูมีพิษผู้บาดเจ็บมีเวลาครึ่งชั่วโมงกว่าพิษจะเริ่มแสดงอาการ สิ่งแรกที่ต้องทำคือรีบล้างแผลให้สะอาดด้วยน้ำหรือแอลกอฮอล์ แต่ห้ามกรีดแผล ดูดแผล ใช้ไฟจี้ ดื่มสุรา หรือกินยาแก้ปวดที่มีส่วนผสมของแอสไพรินโดยเด็ดขาด เพราะจะเพิ่มการติดเชื้อที่แผลมากขึ้นจนเนื้อรอบบริเวณตาย หรือไปเสริมฤทธิกับพิษงูให้รุนแรงมากขึ้น จากนั้นให้ผู้บาดเจ็บนอนนิ่งๆ จัดส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ ห้ามเคลื่อนไหวโดยไม่จำเป็น เพื่อชะลอการดูดซึมพิษงูเข้าสู่ท่อน้ำเหลืองและเส้นเลือดดำไหลเวียนเข้าหัวใจ หาไม้ดามบริเวณที่ถูกงูกัดแล้วใช้ผ้าพันให้แน่นพอประมาณเหนือแผลงูกัดประมาณ 5-15 เซนติเมตร รีบนำผู้ถูกงูกัดส่งสถานบริการสาธารณสุขที่ใกล้ที่สุดโดยเร็ว หากระหว่างนำส่งผู้บาดเจ็บหยุดหายใจให้กดนวดหัวใจ จนกว่าจะถึงโรงพยาบาล หากผู้บาดเจ็บอยู่คนเดียว ควรโทรหาสายด่วน 1669 ตั้งแต่ถูกงูกัดแล้วปฐมพยาบาลตัวเองระหว่างรอเจ้าหน้าที่เข้าถึงพื้นที่ จาก ....................... มติชน วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#84
|
||||
|
||||
ทำอย่างไรเมื่อถูกคราบสารเคมีในน้ำ ผู้ประสบอุทกภัยบางพื้นที่บ่นว่าน้ำที่เอ่อท่วมนั้นสกปรก มีสีและกลิ่นไม่พึงประสงค์ บางคนบอกมีคราบมันๆลอยรวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่สบายใจเมื่อต้องลงไปลุยน้ำ 'เกร็ดความรู้' วันนี้เตรียมวิธีเบื้องต้นในการกำจัดสารพิษสารเคมีที่ปะปนมากับน้ำ หากสัมผัสถูกทางผิวหนัง ให้ถอดเสื้อผ้าที่สวมใส่อยู่ออก รีบล้างตัวด้วยน้ำอุ่นหรือน้ำสะอาดทุกซอกทุกมุมของร่างกาย โดยให้ล้างด้วยวิธีรดหรือราด อย่าเข้าไปแช่ตัวในอ่างเพราะสารเคมีจะเจือปนและกลับมาเกาะผิวหนังอีก กรณีที่รู้แน่ชัดว่าคราบมันๆ เป็นน้ำมันหรือไฮโดรคาร์บอน ควรล้างตัวพร้อมถูสบู่อ่อนๆ ด้วย โดยให้ชำระล้างร่ายกาย 10 นาที หรือจนกว่าผิวหนังจะหายลื่นมัน ขณะที่เสื้อผ้าชุดที่เปื้อนคราบมันๆ ไม่ควรนำมาใช้ใหม่ หากจำเป็นต้องใช้ จะต้องซักทำความสะอาดหลายครั้ง ทว่าน้ำต้องสงสัยพวกนั้นกระเด็นเข้าตา ควรล้างตาทันทีโดยใช้ได้ทั้งน้ำอุ่น น้ำสะอาด หรือน้ำเกลือ เทไหลผ่านตาเบาๆ ในขณะที่นอนตะแคงข้าง ล้างนาน 15-20 นาที อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง ตาลืมไม่ขึ้น ควรรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด. จาก ....................... เดลินิวส์ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#85
|
||||
|
||||
หลอดดูดน้ำยังชีพ จาก ..................... ไทยรัฐ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#86
|
||||
|
||||
น้ำประปา หลายคนเกรงว่า เหตุการณ์น้ำท่วมจะทำให้คุณภาพน้ำประปาต่ำลงจนไม่สามารถใช้อุปโภคบริโภคได้ เนื่องจากน้ำทุ่งไหลลงคลองน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา จนการประปานครหลวง (กปน.) ต้องออกมาชี้แจงว่า คุณภาพน้ำดิบต่ำลงจริง แต่ได้เร่งแก้ปัญหา โดยเพิ่มสารเคมีปรับปรุงคุณภาพน้ำให้มากขึ้น ยืนยันว่า น้ำประปาที่จ่ายปราศจากสารพิษที่เป็นอันตราย ยกเว้นมีกลิ่นและสีบางส่วนที่ยังกำจัดไม่ได้ การประปานครหลวง รับผิดชอบผลิตและให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร นนทบุรี และสมุทรปราการ มีอัตราการสูบจ่ายน้ำประมาณ 5 ล้านลบ.ม. สำหรับคน 10 ล้านคน ด้วยปริมาณที่มากมายเช่นนี้ การควบคุมคุณภาพน้ำจึงมีความสำคัญ สิ่งที่ท้าทายมากที่สุด คือการควบคุมให้น้ำมีคุณภาพเดียวกันทั้งเส้นท่อ หรือตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง ซึ่งตามปกติ กปน. จะใช้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคในน้ำประปา โดยจะควบคุมให้มีปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือตามเกณฑ์แนะนำขององค์การอนามัยโลก คือ 0.5 ม.ก./ล. ณ สถานีสูบจ่ายน้ำ และ 0.5 ม.ก./ล. ณ ปลายทางบ้าน ผู้ใช้น้ำ แต่เนื่องจากต้องส่งน้ำผ่านท่อระยะไกลกว่าจะถึงมือผู้ใช้น้ำ การเติมคลอรีน ณ โรงงานผลิตน้ำประปาเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ กปน. จึงนำ "ระบบจ่ายคลอรีนอัตโนมัติปลายสาย" (automatic chlorination booster system) ซึ่งเป็นระบบเฝ้าระวังและควบคุมคุณภาพน้ำที่มีประสิทธิภาพกว่ามาใช้ การจ่ายคลอรีนปลายสาย หมายถึง การจ่ายคลอรีนกลางทางลงในเส้นท่อระบบสูบส่งหรือระบบจ่ายน้ำ ซึ่งโดยปกติจะดำเนินการเติมคลอรีน ณ สถานีเพิ่มแรงดันหรือสถานีสูบจ่าย ในกรณีนี้ กปน. เลือกติดตั้งระบบนำร่องจ่ายคลอรีนอัตโนมัติปลายสาย ณ สถานีสูบจ่ายน้ำที่อยู่ห่างไกลจากต้นทาง (โรงงานผลิตน้ำบางเขน) มากที่สุด นั่นคือ สถานี สูบจ่ายน้ำบางพลี โดยเปิดเดินระบบมาแล้วตั้งแต่ ม.ค. 2553 ผลดำเนินการพบว่า ปริมาณคลอรีนอิสระคงเหลือในน้ำประปาระบบสูบส่งมีการกระจายตัวอย่างสม่ำเสมอ ลดความผันผวน และยังช่วยให้สารไม่พึงประสงค์อันสืบเนื่องจากการใช้คลอรีนเกิดน้อยลงด้วย นอกจากนี้ ยังมีการรายงานผลเป็นระบบบันทึกข้อมูลแบบปัจจุบัน (Real-time) ระบบประมวลข้อมูลเป็นรายชั่วโมง สำหรับรายงานเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้รับผิดชอบสามารถเปิดดูข้อมูลและควบคุมระบบได้ทันท่วงทีเมื่อคุณภาพน้ำเกิดความผิดปกติ อีกหนึ่งระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้การเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาเป็นไปอย่างทั่วถึงและเต็มประสิทธิภาพ คือ ระบบเฝ้าระวังคุณภาพน้ำประปาแบบรายงานผลเป็นปัจจุบัน" (Real-time tapwater quality monitoring system) เป็นการดึงข้อมูลจากตู้วัดคุณภาพน้ำที่ประจำอยู่ตามสถานีสูบส่งและสูบจ่าย 20 แห่ง เข้ามาสู่ระบบประมวลผล จากนั้นนำข้อมูลรายงานขึ้นสู่อินเตอร์เน็ตให้ประชาชนทราบทางเว็บไซต์ของ กปน. ที่ www.mwa.co.th โดยแสดงเป็นค่าต่อเนื่อง และเปลี่ยนไปทุกๆ 10 วินาที ส่วนผู้ที่กลัวว่า ดื่มน้ำประปาที่มีคลอรีน จะทำให้เป็นมะเร็งนั้น กปน.ชี้แจงว่า คลอรีนในน้ำประปาอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน หากไม่ชอบกลิ่นคลอรีน รองน้ำตั้งทิ้งไว้ในภาชนะเปิด 1 ช.ม. กลิ่นคลอรีนจะระเหยไปเอง และใช้ดื่มได้อย่างปลอดภัยแน่นอน จาก ...................... ข่าวสด คอลัมน์ คอลัมน์ที่ 13 วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#87
|
||||
|
||||
ระวังสวมบู๊ตนาน เกิดผื่นคันจนได้ ผอ.สถาบันโรคผิวหนังเผย มีผู้ป่วยด้วยอาการผื่นคันเข้ารับการรักษาที่สถาบันแล้วกว่า 100 ราย แต่สถานการณ์ยังไม่น่าวิตก เตือนผู้สวมบู๊ตตลอดเวลาก็อาจเกิดผื่นคันได้ง่ายเช่นกัน เพราะเท้าอับชื้น นพ.จิโรจ สินธวานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวว่า ระหว่างเหตุการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ สถาบันโรคผิวหนังได้เปิดให้บริการประชาชนตามปกติ ยกเว้นวันเสาร์-อาทิตย์ ซึ่งพบว่าขณะนี้มีประชาชนป่วยด้วยอาการผื่นแพ้ ผื่นคัน ตามง่ามมือ ง่ามเท้ากันมากขึ้น เข้ารักษาที่สถาบันวันละกว่า 20 ราย ส่วนมากเกิดจากการแพ้สิ่งปฏิกูลและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร กรณีที่หนักสุดเป็นผิวหนังอักเสบ ซึ่งเกิดจากดูดซับความชื้นเป็นเวลานานทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ด้วยการทายา แต่บางรายมีบาดแผลเป็นแผลเปิดวงกว้าง ก็ต้องกินยาแก้อักเสบด้วย ซึ่งจากจำนวนผู้ป่วยกว่า 100 รายที่มารักษา พบแค่ 1 รายมีอาการติดเชื้อรา จึงไม่ถือว่ามีการระบาดเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางผิวหนังที่รุนแรง ซึ่งแพทย์จะสั่งยาแก้ผื่นคันให้ และอาการผิวหนังติดเชื้อราจะหายไปในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์ นพ.จิโรจกล่าวว่า ในสภาวะเช่นนี้ การสวมใส่รองเท้าบู๊ตเป็นสิ่งที่ดี แต่ไม่ควรสวมใส่ตลอดเวลา เนื่องจากรองเท้าบู๊ตจะเก็บความอับชื้นทำให้เท้าแฉะ เสี่ยงต่อการเกิดผื่นคันได้ง่ายเช่นกัน ไม่ต่างจากการเดินลุยน้ำสกปรกหรือแช่เท้าในน้ำนานๆ ดังนั้นถ้าน้ำไม่สกปรกมาก และมีสถานการณ์การท่วมแค่บางช่วง แนะนำให้ถอดรองเท้าบู๊ตออกเพื่อให้เท้าไม่อับชื้นจนเกินไป “หากมีการดูแลร่างกายที่ดีและหลีกเลี่ยงสิ่งปฏิกูลในน้ำ ก็สามารถป้องกันอาการผื่นคันได้แล้ว ดังนั้นขอให้ประชาชนเฝ้าระวังตัวเองให้มาก และพยายามแยกภาชนะหรือเครื่องใช้ไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการละลายรวมกับน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน แต่กรณีมีน้ำระบายตลอดเวลาก็ไม่ถือว่าอันตราย” นพ.จิโรจกล่าว. จาก ..................... ไทยโพสต์ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#88
|
||||
|
||||
'จุลินทรีย์' บำบัดน้ำเสีย ฟื้นคืนคุณภาพแหล่งน้ำ พิบัติภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิต ทรัพย์สิน อีกด้านหนึ่งหลังจากน้ำท่วมขังนิ่งเป็นเวลานานยังทำให้เกิดการเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น การฟื้นฟูคุณภาพน้ำ จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสีย เป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาน้ำเน่าเสียในช่วงเวลานี้ รวมทั้งยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายหลังจากน้ำลดและจากที่หลายหน่วยงานได้ร่วมกันให้ความช่วยเหลือ กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาประสานความร่วมมือกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. นำดาสต้าบอลจุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง อ.ดำรงศักดิ์ แก้ววงษ์ไหม ที่ปรึกษาองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ให้ความรู้ว่า ในสถานการณ์น้ำท่วมขังการใช้จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ไขซึ่งวิธีการดังกล่าวเป็นกระบวนการทางชีวภาพ แต่อย่างไรก็ตามคงต้องทราบก่อนว่าทำไมจึงต้องใช้จุลินทรีย์ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจุลินทรีย์ในพื้นที่บริเวณนั้นมีไม่พอที่จะสามารถกำจัดของเสียได้ ขณะเดียวกันพื้นที่บริเวณนั้นมีสภาวะไม่เหมาะสมทำให้จุลินทรีย์ตายไป อีกทั้งอาจมีจุลินทรีย์ที่ไม่เหมาะสมอยู่ในพื้นที่จึงมีความจำเป็นต้องใช้จุลินทรีย์เติมลงไปในการกำจัดของเสีย ดังนั้นหากน้ำท่วมขังนานเกินกว่าสัปดาห์ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวจะเริ่มส่งผลเกิดการหมักตัวของของเสียไม่ว่าจะเป็นต้นไม้ ใบหญ้า ขยะ ฯลฯ สารอินทรีย์จำนวนมากเหล่านี้จะไปดึงออกซิเจนในน้ำต่ำลงเกิดการหมักตัวของของเสีย กลุ่มจุลินทรีย์ก็จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน จุลินทรีย์บางสายพันธุ์ทำให้เกิดซัลเฟอร์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อน้ำท่วมขังเน่าเสียก็จะส่งผลกระทบในหลายด้านทั้งเป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค แพร่ระบาดของเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นฉี่หนู เชื้อรา ฯลฯ อีกทั้งน้ำที่เน่าเสียไม่สามารถนำน้ำมาใช้อุปโภคบริโภคได้ “การฟื้นฟูคุณภาพน้ำหากเป็นช่วงที่สถานการณ์ปกติอาจมีหลายแนวทางแก้ไข อย่างการเติมอากาศเพิ่มออกซิเจนซึ่งก็เป็นทางหนึ่ง แต่ช่วงน้ำท่วมขังการควบคุมพื้นที่เป็นไปได้ยากลำบากจึงมีความพยายามในการเพิ่มจุลชีพหรือจุลินทรีย์ลงไป ซึ่งจุลินทรีย์นั้นมีด้วยกันหลายชนิด โดยทั่วไปจะใช้เชื้อที่เหมาะสมเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงไม่กลายพันธุ์ง่ายและเป็นเชื้อที่มีความทนทานต่อสภาวะแวดล้อมได้ดี” จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียจากที่มีใช้กันและมีการจัดทำขึ้นในลักษณะทรงกลมทำเป็นจุลินทรีย์บอลจะมีการเติมเชื้อจุลินทรีย์ลงไปผสมกับส่วนผสมหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกลบ ขี้เถ้า ฯลฯ นำมาปั้นเป็นก้อนซึ่งที่รู้จักคุ้นเคยกันในลักษณะของ อีเอ็มบอล ซึ่งก็เป็นจุลินทรีย์อย่างหนึ่งที่นำมาปรับปรุงฟื้นฟูคุณภาพน้ำ ส่วนความร่วมมือฟื้นฟูคุณภาพน้ำ อพท. ได้ผลิต ดาสต้าบอล (DASTA Ball) จุลินทรีย์บำบัดน้ำเสียที่ผู้ศึกษาวิจัยมอบชื่อเป็นเกียรติแก่หน่วยงานโดยจุลินทรีย์บอลดังกล่าวเกิดจากสายพันธุ์ที่คัดเลือก อีกทั้งมีปริมาณส่วนผสมที่เหมาะสมสามารถปรับสภาพให้ดำรงชีพในน้ำที่เน่าเสียหรือมีระดับความเค็มตามสภาพพื้นที่จริงได้ดี จากการปั้นส่วนผสมทั้งหมดเป็นลูกกลมขนาดเท่าลูกปิงปองเพื่อให้จุลินทรีย์มีพื้นที่เกาะและสามารถได้รับออกซิเจนในการหายใจ ทั้งยังมีน้ำหนักพอเหมาะจมลงในน้ำได้ดีจึงทนกับสภาพแวดล้อม ส่วนประกอบสำคัญของจุลลินทรีย์บอลได้แก่ จุลินทรีย์ เพอร์ไลท์ ขี้ไก่ น้ำหมักปลา รำละเอียด อาหารกุ้งและกากน้ำตาล ซึ่ง อพท. ได้จดสิทธิบัตรส่วนผสมของดาสต้าบอลไว้ พร้อมกันนั้นที่ผ่านมาได้เผยแพร่ความรู้ต่อเนื่องแก่ผู้ที่สนใจ “ดาสต้าบอลเป็นจุลินทรีย์บอลที่มีการคัดสายพันธุ์ซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เกิดขึ้นมากว่าสองปี จากส่วนประกอบมีเพอร์ไลท์แร่ธรรมชาติที่มีคุณสมบัติดี จุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ที่คัดเลือกนำมาทำหน้าที่ฟื้นฟูสภาพน้ำอย่างมีประสิทธิผล ฯลฯ การใช้จะโยนดาสต้าบอลลงในบริเวณที่มีน้ำเน่าเสียในอัตราส่วน 1 ลูกต่อ 1-4 ลูกบาศก์เมตร โดยหลังจากใช้ภายใน 48 ชั่วโมงมีการรายงานถึงความเปลี่ยนแปลงของสภาพน้ำทั้งในเรื่องของกลิ่น สีน้ำที่เปลี่ยนไป” จุลินทรีย์บอลดังกล่าวสามารถ กำจัดน้ำเสีย ได้เนื่องจากภายในดาสต้าบอลเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่กินสิ่งเน่าเสียเป็นอาหาร มีเพอร์ไลท์ที่มีลักษณะทางกายภาพเป็นรูพรุนทำให้แบคทีเรียสามารถยึดเกาะและช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่างของน้ำให้อยู่ที่ pH 5-8 เหมาะกับการทำงานของจุลินทรีย์ ขณะที่การ กำจัดกลิ่น สามารถกำจัดไนโตรเจนซึ่งเป็นส่วนประกอบที่ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของขี้ไก่ซึ่งมีไนโตรเจนอยู่เพื่อปรับสภาพของจุลินทรีย์ให้คุ้นเคยกับสภาพจริงและเป็นอาหารของจุลินทรีย์ เมื่อจุลินทรีย์ในดาสต้าบอลลงไปอยู่ในน้ำเสียก็จะกินไนโตรเจนที่อยู่ในน้ำเสียนั้นทำให้ไนโตรเจนหมดไป กลิ่นเหม็นจึงหายไปด้วย การสังเกตคุณภาพน้ำนอกเหนือจากการตรวจวัดด้วยเครื่องมือ คุณภาพน้ำที่ดีขึ้นยังสังเกตได้จากกลิ่นเหม็นที่ห่างหายไป ขณะที่สีของน้ำจะดีขึ้นและนอกเหนือจากจุลินทรีย์ซึ่งมีส่วนช่วยบำบัดน้ำเสีย อาจารย์ท่านเดิมยังฝากถึงการมีส่วนร่วมช่วยกันดูแลธรรมชาติ รักษาน้ำไม่ให้เน่าเสียทั้งในภาวะปกติและน้ำท่วมเวลานี้อีกว่า สิ่งที่ไม่ควรละเลยมองข้ามคือการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกต่างๆลงในแม่น้ำลำคลอง รวมทั้งการมีจิตสำนึกรักษ์โลก ห่วงใยธรรมชาติสิ่งแวดล้อมซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้จะเป็นแนวทางการรักษาคุณภาพน้ำให้คงความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างยั่งยืน. จาก ....................... เดลินิวส์ หน้าวาไรตี้ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#89
|
||||
|
||||
ปริศนา”น้ำท่วม” อะไรที่ไม่หนัก แต่ย้ายยากกว่า”ตู้เย็น-เครื่องซักผ้า-เปียโน” อะไรเอ่ย??? ก่อนที่น้ำจะเริ่มไหลบ่าเข้ามาตีโอบบ้าน และทะลุทะลวงฝ่าแนวป้องกันเข้ามาท่วมบ้าน ทุกบ้านจะมีการเตรียมพร้อม เริ่มจากใช้กระสอบทรายหรือก่ออิฐบล๊อครอบบ้าน หรือค้นคิดวิธีการที่จะทำให้บ้านเราปลอดภัยจาก ”น้องน้ำ” จากนั้นก็เริ่มยกของสำคัญขึ้นที่สูง สำคัญมากก็สูงมาก เอกสารหรือของสำคัญส่วนใหญ่จะไว้บนชั้นสองของบ้าน ส่วนของหนักหรือสำคัญรองมาก็จะยกขึ้นที่สูง อาจจะเป็นบนโต๊ะหรือบนตู้ ในช่วงของการเตรียมพร้อม ถ้าถามว่าอะไรคือ คือสิ่งที่หนักที่สุดและขยับย้ายยากที่สุดของบ้าน บ้านทั่วไปจะตอบว่า ”ตู้เย็น” หรือ ”เครื่องซักผ้า” แต่บ้านที่ฐานะดีจะบอกว่า ”เปียโน” ยากที่สุด ยิ่งใครที่คิดจะอพยพหนีไปที่อื่น ของ 3 สิ่งนี้ถือว่าปัญหาใหญ่ที่สุดของการขนย้าย แต่เมื่อน้ำมาจริงๆ แทบทุกบ้านได้ค้นพบว่าสิ่งที่คิดไว้ไม่ใช่ ”ความจริง” เพราะสิ่งที่ย้ายออกจากบ้านยากที่สุด ไม่ใช่”ตู้เย็น” ไม่ใช่”เครื่องซักผ้า” แต่เป็น”พ่อ”หรือ”แม่”ของเราเอง คุยเท่าไรก็ไม่ยอมออกจากบ้าน จะขอร้อง อ้อนวอน ร้องไห้ โวยวาย ฯลฯ ทั้ง”ขู่”ทั้ง”ปลอบ” แต่ก็ไม่ได้ผล ”ผู้อาวุโส” ส่วนใหญ่มักจะติดบ้าน เป็นห่วงบ้าน ไม่อยากย้ายไปไหนที่เราไม่คุ้นเคย และส่วนใหญ่จะเคยลำบากมาก่อน จึงไม่กลัวความลำบาก โดยลืมไปว่าตอนที่ฝ่าฟันความลำบากนั้น ทั้งคู่ยังเป็นคนหนุ่มสาวที่พร้อมด้วยความแข็งแรงของร่างกายและจิตใจ ไม่ใช่อายุ 70 เหมือนกับวันนี้ แม้ว่าลูกจะอธิบายถึงความห่วงใย ฉายภาพความลำบากในการย้ายหากน้ำขึ้นสูง ยกตัวอย่างที่บางบัวทอง ทวีวัฒนนา หรือจุดต่างๆที่น้ำท่วมสูงว่าน่ากลัวเพียงใด อธิบายแค่ไหน “พ่อ-แม่”ก็ไม่ยอม ลูกหลายคนเป็นระดับผู้บริหารในองค์กร มีลูกน้องใต้บังคับบัญชาจำนวนมาก แต่ไม่ว่าตำแหน่งจะใหญ่โตมาจากไหน เมื่อเข้าบ้านทุกคนก็เป็น ”ลูก” ไม่มีใครสั่งการให้ ”พ่อ-แม่” ย้ายออกจากบ้านเหมือนกับสั่งลูกน้องในบริษัทได้ ยิ่งลูกโวยวายมากเท่าไร พ่อ-แม่ก็จะน้อยใจมากเท่านั้น เพราะ”ผู้ใหญ่”ยิ่งอายุมาก ยิ่งใจน้อยง่าย ในเฟซบุ๊คของแต่ละคนมีการสนทนาถึงเรื่องนี้เยอะมาก ทั้งบ่น ทั้งขอคำปรึกษา บางคนถึงขั้นถามเพื่อนว่าใช้ ”ทนาย” ฟ้องขับไล่ได้ไหม ยอมให้ ”พ่อ-แม่” โกรธ แต่ขอชีวิต ”พ่อ-แม่” ให้รอดไว้ก่อน เรื่องอื่นค่อยเคลียร์ทีหลัง มีบางคนบ่นกับเพื่อนว่าถ้าเจรจาครั้งสุดท้ายไม่ได้ผล “สงสัยข้าต้องวางยานอนหลับ แล้วอุ้มเลย” แม้เรื่องการขอให้พ่อ-แม่ย้ายออกจากบ้านในช่วงน้ำท่วมจะเป็น ”ปัญหา” ที่ใหญ่ยิ่งของลูกๆหลายคน แต่ทั้ง 2 ฝ่ายก็รู้ว่าปัญหานี้ไม่ได้เกิดจาก ”ความเกลียดชัง” หากเป็น ”ปัญหา” ที่เกิดจาก ”ความรัก” ในเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ครั้งนี้ นี่คือ ”ปัญหา” ที่ ”น่ารัก” แต่ ”หนัก” เหลือเกิน จาก ..................... มติชน วันที่ 3 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#90
|
||||
|
||||
FloodDuck "เจ้าเป็ดน้อย" แสนดี เตือนภัยก่อนไฟมาดูด สถานการณ์การเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดในพื้นที่น้ำท่วมนับวันมีตัวเลขเพิ่มขึ้น เป็นภัยแฝงที่น่ากลัวที่มากับน้ำท่วม มีการรายงานขั้นต่ำแล้วว่ามีผู้เสียชีวิตไม่ต่ำกว่า 36 ราย ใน 15 จังหวัด โดยมากเป็นการเสียชีวิตจากถูกไฟฟ้าดูดในวันแรกที่น้ำท่วม และมักจะเสียชีวิตในบ้าน จากการสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า ตู้เย็น ปั๊มน้ำ สายชาร์จโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์ที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ ความจริงแล้วตัวเลขผู้เสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดอาจมากกว่าที่ได้รับรายงาน เนื่องจากการลงพื้นที่พบปะจากชาวบ้านที่ประสบภัยยืนยันว่ามีการเสียชีวิตจากไฟดูดมากกว่าตัวเลขจริงถึง 2 เท่า หรือประมาณ 50 ราย เช่นในพื้นที่บางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี เพราะบางคนถูกไฟดูดจมอยู่ในน้ำ เวลาไปชันสูตรศพก็จะรายงานว่าจมน้ำ แต่ก่อนจมน้ำคือถูกไฟฟ้าดูดก่อน วิธีป้องกันด้วยการเช็คว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วในบริเวณที่เราจะต้องผ่านหรือไม่แน่ใจที่แนะนำกันคือใช้ไขควงแบบเช็คไฟฟ้าแต่วิธีนี้ทำได้ไม่สะดวก และติดจะรู้สึกไม่สบายใจนักเมื่อน้ำมีระดับความสูงเพิ่มขึ้น นั่นทำให้สัปดาห์ที่ผ่านมา ชื่อเสียงของ "เป็ดน้อยเตือนภัย" จึงเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยนี้สามารถนำไปลอยน้ำเพื่อตรวจวัดกระแสไฟฟ้ารั่วก่อนเข้าช่วยเหลือผู้ประสบภัยในพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งเป็ดน้อยเตือนภัยจะส่งเสียงและมีไฟแดงขึ้นในตัว เมื่อพบกระแสไฟฟ้ารั่ว และสามารถรับกระแสไฟฟ้าได้ในรัศมี 1 ตารางเมตร และความลึก 50 เซนติเมตร ที่มาที่ไปของ เป็ดน้อยเตือนภัย หรือ FloodDuck มีที่มาจากแรงบันดาลใจของ อ.ดุสิต สุขสวัสดิ์ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่คิดว่านอกจากไขควงเช็คกระแสไฟฟ้าแล้วอะไรจะเป็นตัวแจ้งเตือนให้คนรู้ว่ามีไฟรั่วในน้ำได้อีก อ.ดุสิตเล่าผ่านเฟซบุคเพจที่ชื่อ FloodDuck ว่า ในเชิงช่างอุปกรณ์ที่เราใช้ตรวจสอบว่าสายเส้นใดมีไฟก็คือไขควงวัดไฟ แต่จะให้ถือไขควงวัดไฟก็จะดูไม่เข้าท่า มันน่าจะมีอะไรดีกว่านั้นไหม เมื่อมองไปในอ่างก็มีเป็ดตัวหนึ่งซึ่งมันลอยอยู่จึงเป็นที่มาของเป็ดเตือนภัยตัวแรกของโลกและนำมาสู่โครงการเป็ดน้อยเตือนภัยในที่สุด ทีมงานและอาสาสมัครผลิตเจ้าเป็ด หลักการทำงานของเจ้า "เป็ดน้อย" FloodDuck หัวใจการทำงานจริงจะอยู่ที่บริเวณด้านล่างของตัวเป็ดน้อย ที่บริเวณด้านล่างประกอบด้วยแท่งตัวนำจำนวน 2 แท่งวางตัวอยู่ห่างกัน ( กรณีนี้ใช้สายไฟหุ้มปลายทองแดง ) ลักษณะเหมือนตะเกียบ ประจุไฟฟ้าจะเดินทางจากปลายข้างหนึ่งไปสู่ปลายอีกข้างหนึ่ง ตะเกียบต้องมีระยะห่างสักประมาณหนึ่ง ทั้งนี้ อ.ดุสิตได้ออกแบบวงจรตรวจจับกระแสไฟฟ้าใส่ลงไป โดยรุ่นแรกที่ออกแบบมาจะมีแต่ไฟเตือน ทีนี้โจทย์ข้อต่อไปคือไฟจะต้องสว่างเมื่อกำลังจะเข้าสู่ย่านที่แรงดันเริ่มจะมีผลต่อร่างกายมนุษย์ ก็เริ่มต้องใช้เครื่องมือวัดซึ่งปริมาณกระแสที่ตรวจสอบได้ในระดับ 1 ใน 1000 แอมป์ ที่แรงดันประมาณ 40 โวลท์ ก็จะเริ่มมีแสงสว่างพอท่ีจะสังเกตได้เมื่อเพิ่มแรงดันตกคร่อมเข้าไปแสงก็จะสว่างขึ้นและดังขึ้น โดยคุณสมบัติข้อนี้นี่เองเจ้าเป็ดน้อยจึงมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งคือสามารถตรวจหาตำแหน่งของแหล่งจ่ายไฟที่อยู่ใต้น้ำได้อีกด้วย ต้นทุนเป็ดหนึ่งตัวอยู่ที่ประมาณ 150-160 บาท โดยขณะนี้มีบรรดานักศึกษา และอาสาสมัครเข้าไปร่วมผลิตเจ้าเป็ดน้อยที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ส่วนวิธีใช้-วิธีดูแลเจ้าเป็ด..ควรทำคันแขวนเอาไว้ถือคล้ายตะเกียงส่องนำทางไปยังจุดหมายที่จะลุยน้ำไป เมื่อใช้เสร็จก็ควรเช็ดให้แห้งและตรวจสอบว่ามีน้ำรั่วเข้าไปบ้างหรือไม่ และสุดท้ายหมั่นตรวจสอบอยู่เสมอว่าแบตเตอรี่หมดหรือไม่ ขณะนี้เจ้าเป็ดน้อยลอยน้ำได้ถูกส่งมอบให้หน่วยงานต่างๆนำไปใช้ประโยชน์ทั้ง กทม. พนักงานการไฟฟ้าที่ต้องเสี่ยงเข้าไปลุยน้ำตัดไฟให้ประชาชน รวมไปถึงนำไปมอบให้โรงพยาบาลศิริราชด้วย มีเจ้าเป็ดน้อยเตือนภัยก็อุ่นใจได้ระดับหนึ่งในยามน้ำท่วมทุลักทุเลเวลานี้ จาก ..................... กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 2 พฤศจิกายน 2554
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|