|
|
Share | คำสั่งเพิ่มเติม | เรียบเรียงคำตอบ |
#81
|
||||
|
||||
ลีลาของกระเบนราหูตัวนี้ น่ารักน่าเอ็นดูมากค่ะ... น้องหมอเมธจับภาพมาได้งามๆหลายภาพเลย เชิญชมนะคะ
__________________
Saaychol |
#82
|
||||
|
||||
กระเบนราหูตัวนี้ ดูจะสนใจเข้ามาหากินอย่างเดียว ไม่ค่อยสนใจนักดำน้ำที่อยู่กันมากมายในบริเวณเกาะบอนนัก ดูสิคะ....กระเบนราหูเกือบจะว่ายชนน้องติ๊ก ที่ลอยตัวพักน้ำอยู่เฉยๆ.....
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 03-03-2011 เมื่อ 09:45 |
#83
|
||||
|
||||
ในวันสุดท้ายของการดำน้ำ (13 กุมภาพันธ์ 2554)...เราย้อนกลับไปดำน้ำที่เกาะบอนอีกครั้ง เราพบว่า...เกาะบอนมีปลานานาชนิดมาว่ายวนเวียนมากขึ้น เข้าใจว่าจะเป็นเพราะ Thermocline พัดพาแพลงก์ตอนจากน้ำลึกขึ้นมามาก ทำให้ปลาพากันมาหากินมากกว่าปกติ
__________________
Saaychol |
#84
|
||||
|
||||
ปลาหลายชนิดเริ่มจับคู่จู๋จี๋....
__________________
Saaychol |
#85
|
||||
|
||||
กระเบนราหู ยังคงว่ายร่อนหากินอยู่ที่เกาะบอน....
__________________
Saaychol |
#86
|
||||
|
||||
อุทยานแห่งชาติทางทะเล หมู่เกาะสิมิลัน เรือจมทูน่า (Tuna Wreck) เช้าวันที่สามของการทำงาน (12 กุมภาพันธ์ 2554) เราวางแผนจะไปตรวจหอยมือเสือที่ทาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง ประจวบคีรีขันธ์ ได้ร่วมกับสมาชิก SOS ได้นำมาปล่อยไว้บริเวณเกาะ 5 อุทยานแห่งชาติ หมู่เกาะสิมิลัน จำนวน 200 ตัว (ในเดือนเมษายน 2551 และ มกราคม 2552 ครั้งละ 100 ตัว) โดยเราจะลงดำน้ำที่บริเวณเรือจมทูน่า (Tuna Wreck) แล้วดำน้ำขึ้นไปตรวจหอยมือเสือที่ถูกปล่อยไว้ด้านน้ำตื้น หลังการสรุปแผนการดำน้ำทำงานกันเรียบร้อยแล้ว เราให้เรือไปจับทุ่นที่อยู่เหนือเรือจมทูน่า เมื่อแต่งตัวและใส่อุปกรณ์เรียบร้อย เราก็ทะยอยกระโดดลงน้ำ น้ำที่บริเวณเรือจมทูน่าใส่แจ๋ว จากผิวน้ำ เราจึงมองเห็นเรือจมลำใหญ่ที่อยู่ที่ความลึกกว่า 30 เมตร ได้ค่อนข้างชัดเจน
__________________
Saaychol แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายชล : 02-03-2011 เมื่อ 21:13 |
#87
|
|||
|
|||
อ่านรายงานแล้วดีใจค่ะพี่สอสาย ที่ทะเลไทยยังมีความสวยงาม ไม่เสียหายไปหมดกับการฟอกขาวที่ผ่านมา และหวังว่ามวลน้ำเย็นที่กำลังมาจะช่วยให้ทะเลของเรากลับมาสวยงามเหมือนเดิมไวๆนะคะ
|
#88
|
||||
|
||||
ส่วนมากที่ลงดำน้ำดูจะยังสวยอยู่ทั้งนั้นค่ะน้องไก่.... หวังว่าทะเลจะดีวันดีคืนขึ้นเรื่อยๆเช่นกันค่ะ
__________________
Saaychol |
#89
|
||||
|
||||
ปะการังอ่อนที่เกาะตามตัวเรือ ช่วยเพิ่มสีสันให้กับเรือจมลำนี้
__________________
Saaychol |
#90
|
||||
|
||||
กัลปังหาพัดต้นใหญ่ที่ตั้งอยู่บนกองหินด้านหัวเรือ ซึ่งเราเคยช่วยไว้ตอนสึนามิ ทำให้เรือจมทูน่าในวันนี้ดูสวยขึ้น...
__________________
Saaychol |
|
|