เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 12-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก เนื่องจากมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมเวียดนามตอนบน ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยระวังอันตรายจากฝนตกหนัก และฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 12 - 13 และ 17 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศลาวและประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 ส.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่ง


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 14 - 16 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 12-08-2021 เมื่อ 03:09
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


ทร.ระทึก! ไปจับเรือประมงเวียดนาม เจอพุ่งชน-แล่นหนี ตามไม่ทัน หนีออกน่านน้ำไทยไปได้

ทหารเรือขับไล่เรือประมงเวียดนาม 2 ลำ รุกล้ำน่านน้ำไทย ทำประมงในเขตไทยกลางวันแสกๆ แต่เรือประมงเห็นทหารเรือ ขับหนีและพยายามขับเรือชนเรือจนท.สุดท้ายหนีออกน่านไทยไปได้



ช่วงเช้าวันที่ 10 สิงหาคม 2564 ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 (ศปก.ทรภ.1) แจ้งว่ามีเรือประมงต่างชาติ (เรือประมงอวนลากคู่) จำนวน 2 คู่ ได้รุกล้ำเข้ามาทำการประมงในน่านน้ำไทย ห่างปลายแหลมเทียน อ.เกาะกูด จ.ตราด ประมาณ 29 ไมล์ ใกล้กับพื้นที่รับผิดชอบของหมวดเรือลาดตระเวนชายแดน (มชด.)จึงสั่งการเรือในหมู่เรือลาดตระเวนชายแดนส่วนที่ 1 (มชด./1) ออกลาดตระเวนค้นหา ตรวจสอบและจับกุม

โดยส่งเรือ ต.113 และ เรือ ต.237 ออกเรือทำการลาดตระเวนค้นหา กลุ่มเรือประมงต่างชาติ สัญชาติเวียดนาม ตามที่ได้รับจำนวน 2 ลำ เบื้องต้นพบว่า ลักษณะตัวเรือมีสีเขียว เก๋งสีขาวคาดเทา จึงนำเรือเข้าตรวจค้นและจับกุม แต่เรือทั้งสองลำได้ทิ้งอุปกรณ์ทำการประมง และพยายามหลบหนี ไม่ยินยอมให้เข้าตรวจค้นจับกุมแต่โดยดี ทั้งนี้เรือทั้งสองลำได้เพิ่มความเร็ว แล่นส่ายไปมา และพยายามจะพุ่งชนเรือที่เข้าสกัดกั้น

โดยเรือ ต.113 และเรือ ต.237 ได้ปฏิบัติตามหลักการปฏิบัติการตรวจค้นและจับกุมเรือประมงต่างชาติ แต่ยังไม่อาจทำให้ เรือประมงต่างชาติหยุดเรือได้ ยังคงนำเรือมุ่งหน้าไปยังทิศตะวันออก เพื่อออกนอกน่านน้ำไทย

ทั้งนี้ มชด./1 ได้สั่งการให้ เรือ ต.113 และ เรือ ต.237 ไล่ติดตาม เรือประมงต่างชาติจนออกนอกเขตน่านน้ำไทย พร้อมทั้งให้ดำเนินการบันทึกภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อรายงานให้กับหน่วยที่เกี่ยวข้องทราบ และดำเนินการต่อไป



สำหรับเหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอยู่เรื่อย ๆ โดยการทำประมงรุกล้ำน่านน้ำไทยของเรือประมงต่างชาติ โดยเฉพาะเรืออวนลาก สร้างความเสียหายแก่ทั้งของพี่น้องชาวประมงไทยเป็นจำนวนมาก แถมยังกีดขวาง และแย่งพื้นที่การทำประมงของพี่น้องประมงไทย อีกด้วย

พล.ร.ท.โกวิท อินทร์พรหม ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 1 มีความห่วงใยพี่น้องชาวประมงจึงได้มีมาตรการขั้นเด็ดขาดต่อเรือประมงต่างชาติที่ทำประมงรุกล้ำน่านน้ำ เน้นย้ำให้ทุกหน่วยในการบังคับบัญชา จัดเรือออกลาดตรวจการณ์ในพื้นที่ อย่างสม่ำเสมอ และออกค้นหาจับกุมหรือผลักดันเมื่อได้รับแจ้ง

ส่วนชาวประมงรายใด พบเห็น เรือประมงต่างชาติทำประมง รุกล้ำน่านไทย สามารถแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ 1 โทร 038-438008 หรือติดต่อชมรมวิทยุมดดำนาวี ทัพเรือภาคที่ 1 โทร.092-758-8977 ทางวิทยุมดดำ ช่อง 21C ความถี่ 27.215 MHz ทางวิทยุย่าน HF ความถี่ 8249 KHz ทางวิทยุย่าน VHF Maritime Band ช่อง 16 ความถี่ 156.800 MHz ตลอด 24 ชั่วโมง


https://www.matichon.co.th/region/news_2880016

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 12-08-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


โลกร้อน : สภาพอากาศสุดขั้วเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างไร


Fire-fighters tackle a wildfire near Athens ....... ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

คลื่นความร้อน น้ำท่วมฉับพลัน และไฟป่ารุนแรง เหล่านี้คือผลกระทบที่คนต้องเผชิญในปีนี้ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

สิ่งที่ถูกปลดปล่อยจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ หรือเชื้อเพลิงฟอสซิล ไปเก็บความร้อนเอาไว้ในชั้นบรรยากาศตั้งแต่สมัยการปฏิวัติอุตสาหกรรม เป็นผลให้อุณหภูมิสูงขึ้นโดยเฉลี่ย 1.2 องศาเซลเซียส

ความร้อนสะสมนี้เป็นผลทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้วที่เราได้เห็นมาในปีนี้ และหากไม่ลดการปลดปล่อยคาร์บอน วงจรวิกฤตนี้ก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ

นี่คือสาเหตุ 4 ประการที่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดสภาพอากาศสุดขั้ว (extreme weather)


1. ยิ่งร้อน ยิ่งเกิดคลื่นความร้อนนานกว่าเดิม

หากอยากจะเข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยอุณหภูมิเพียงเล็กน้อยสามารถส่งผลกระทบยิ่งใหญ่ได้อย่างไร ให้ลองนึกถึงกราฟเส้นโค้งที่มีสภาวะร้อนและเย็นสุดขั้วอยู่ 2 ฝั่ง ส่วนตรงกลางเป็นระดับอุณหภูมิโดยเฉลี่ย การเปลี่ยนแปลงของส่วนกึ่งกลางเพียงเล็กน้อยทำให้เส้นโค้งนั้นไปแตะบริเวณที่เป็นสุดขั้วมากขึ้น ดังนั้น คลื่นความร้อนที่บางประเทศเจอจึงได้เกิดขึ้นบ่อยและนานขึ้น

สำนักงานอุตุนิยมวิทยาของสหราชอาณาจักรให้ข้อมูลว่า สหราชอาณาจักรเผชิญกับคลื่นความร้อนที่ยาวนานขึ้นถึง 2 เท่าในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา แต่ฝั่งตะวันตกของแคนาดาและสหรัฐฯ ต้องเจอกับคลื่นความร้อนที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์เพราะโดมความร้อน (heat dome) หรือปรากฏการณ์โดมความร้อน

ในบริเวณที่มีความกดอากาศสูง มวลอากาศร้อนถูกกดลงและกักไว้อยู่กับที่ ส่งผลให้อุณหภูมิทั้งทวีปพุ่งสูงขึ้น ที่เมืองลิตตัน ทางฝั่งตะวันตกของแคนาดา อุณหภูมิสูงถึง 49.6 องศาเซลเซียส มากกว่าสถิติเดิมเกือบ 5 องศาเซลเซียส กลุ่มเครือข่ายความร่วมมือด้านสภาพภูมิอากาศนานาชาติ หรือ World Weather Attribution บอกว่าคลื่นความร้อนรุนแรงแบบนี้แทบจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากไม่ใช่เพราะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ



มีทฤษฎีหนึ่งพยายามอธิบายปรากฏการณ์นี้ว่าเกิดมาจากการที่อุณหภูมิที่สูงขึ้นในแถบอาร์กติกทำให้กระแสลมกรด (Jet Stream) หรือแถบกระแสลมแรงที่เคลื่อนที่ในเขตโทรโพพอส (แนวแบ่งเขตระหว่างชั้นโทรโพสเฟียร์กับชั้นสตราโตสเฟียร์) เคลื่อนตัวช้าลง ทำให้มีแนวโน้มเกิดโดมความร้อนมากขึ้น

แต่ในฤดูร้อนนี้ ไม่ใช่ทวีปอเมริกาเหนือเท่านั้นที่เจอปรากฏการณ์นี้ รัสเซีย ไอร์แลนด์เหนือ และทวีปแอนตาร์กติกาก็เจอด้วย




2. ภาวะแล้งที่หนักกว่าเดิม

พอมีคลื่นความร้อนที่หนักและนานกว่าเดิม ภาวะแล้งก็อาจรุนแรงกว่าเดิม

เมื่อฝนตกระหว่างมีคลื่นความร้อนน้อยลง ความชื้นบนพื้นดินและแหล่งน้ำก็แห้งเหือดเร็วขึ้น พอเป็นเช่นนี้ พื้นดินก็ร้อนเร็วขึ้น ทำให้อากาศร้อนหนักขึ้นไปอีก

เหล่านี้นำไปสู่ภาวะขาดแคลนน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญในดำรงชีวิตและการเกษตร

หลังจากเจอคลื่นความร้อนในหน้าร้อน เมื่อถึงกลางเดือน ก.ค. มีพื้นที่ถึง 1 ใน 4 ของสหรัฐฯ ที่ต้องเผชิญกับภาวะแล้งอย่างรุนแรง




3. ไฟป่ารุนแรง

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดความร้อนอย่างยาวนานและเกิดขึ้นซ้ำ ๆ เป็นวงจร เป็นผลให้พื้นดินและต้นไม้ไร้ความชุ่มชื้น ความแห้งแล้งนี้เองเป็นเชื้อเพลิงให้เกิดไฟป่าซึ่งลุกลามไปอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างที่มีให้เห็นคือที่ภูมิภาคตะวันตกของแคนาดาในหน้าร้อนนี้ ไฟป่าลุกลามรวดเร็วและรุนแรงจนสร้างระบบสภาพอากาศเฉพาะขึ้นมาพร้อมกับการก่อตัวของเมฆไพโรคิวมูโลนิมบัส เมฆยักษ์เหล่านี้ทำให้เกิดฟ้าผ่า และฟ้าผ่าก็ไปทำให้ไฟลุกไหม้เพิ่มขึ้นมาอีก เหตุการณ์ลักษณะนี้ก็เกิดขึ้นในไซบีเรียเช่นกัน

ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา มีการเกิดไฟป่าขนาดใหญ่บ่อยขึ้นมาก

Climate Central องค์กรอิสระซึ่งเป็นการรวมตัวของนักวิทยาศาสตร์และผู้สื่อข่าวบอกว่า ไฟป่าขนาด 40 ตร.กม. ที่เผาผลาญฝั่งตะวันตกของสหรัฐฯ เกิดขึ้นบ่อยกว่าในช่วงทศวรรษ 1970 ถึง 7 เท่า


4. ฝนตกหนักกว่าเดิม

ในปีนี้ เกิดน้ำท่วมหนักเป็นประวัติการณ์ที่จีน เยอรมนี เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์

ปีเตอร์ เกลค ผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำจากสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ บอกว่า เมื่อมีพื้นที่ที่แห้งแล้งมากขึ้นอย่างในไซบีเรียหรือภาคตะวันตกของสหรัฐฯ ฝนก็ไปตกที่อื่นแทน ในพื้นที่ที่เล็กกว่า เกิดเป็นน้ำท่วมที่รุนแรงกว่า อย่างในเยอรมนีและเบลเยียม

สภาพอากาศทั่วโลกจะเปลี่ยนแปลงไปมาตลอดเวลาอยู่แล้ว แต่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งทำให้ความเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ สุดขั้วมากขึ้น


https://www.bbc.com/thai/international-58164331

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 18:30


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger