#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อน ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และภาคใต้ ระมัดระวังอันตรายจากฝนตกหนักที่เกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในวันที่ 23-24 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 25 ? 29 มิ.ย. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 26 ? 29 มิ.ย. 63 ประชาชนบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
เย้ยก.ม.! ร้านอาหาร-คาเฟ่ อ.แม่ริม รุกล้ำแม่น้ำเพียบ จนท.รัฐตรวจสอบด่วน ชาวบ้านร้องเรียน ร้านอาหาร-คาเฟ่ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ รุกล้ำลำน้ำแม่สาจำนวนมาก จี้ จนท.รัฐตรวจสอบ จัดระเบียบใหม่ รื้อถอนสิ่งผิดกฎหมาย เนื่องจากเป็นพื้นที่สาธารณะ และแม่น้ำดังกล่าวเป็นเส้นเลือดหลักที่ชาวแม่ริมใช้ดื่มกิน ผู้สื่อข่าวท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผย กับ MGR Travel ว่า มีชาวบ้านมาร้องเรียนว่ามีร้านอาหารและร้านกาแฟแนวแช่เท้า ใน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ หลายร้าน ทำการรุกล้ำลำน้ำแม่สาซึ่งเป็นแม่น้ำสาธารณะจำนวนมาก โดยมีทั้งการสร้างซุ้ม เรือนไม้ การตั้งเป็นโต๊ะ-เก้าอี้ แคร่ แพ ขวางแม่น้ำ และรุกล้ำลำน้ำกันเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีบางร้านสร้างสิ่งก่อสร้างโครงเหล็กรุกเข้าไปในแม่น้ำอย่างน่าเกลียด สำหรับลำน้ำแม่สา เป็นแม่น้ำสาธารณะ ถือเป็นเส้นเลือดหลักของชาวแม่ริม ที่ใช้ทำประปา อุปโภค บริโภค การสร้างสิ่งแก่สร้างรุกล้ำแม่น้ำ หรือการยึดพื้นที่แม่น้ำมาเป็นพื้นที่ส่วนตัวจึงเป็นเรื่องผิดกฎหมาย นอกจากนี้การนำโต๊ะ เก้าอี้ แคร่ ไปวางในลำน้ำแล้วเปิดให้มีการดื่ม-กิน อาหาร ย่อมสร้างผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และต่อสายน้ำที่เป็นเส้นเลือดหลักของชาวแม่ริม เนื่องจากอาจมีขยะสิ่งปฏิกูลถูกทิ้งลงในลำน้ำแม่สา ทำให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมตามมา ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านในพื้นที่ละแวกนั้น จึงร้องเรียนมาเพื่อให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบ จัดระเบียบร้านอาหารประเภทแช่เท้า ไม่ให้รุกล้ำลำน้ำ และดำเนินการรื้อถอนสิ่งก่อสร้างที่ผิดกฎหมาย รวมถึงตรวจสอบมาตรการด้านสาธารณสุขเรื่องป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ด้วย เนื่องจากมีบางร้าน ยังคงละเลย และหละหลวมต่อมาตรการดังกล่าว สำหรับอำเภอแม่ริม บนถนนเส้น อ.แม่ริม ? อ.สะเมิง วันนี้ถือเป็นหนึ่งในเส้นทางท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างทางมีสถานที่ท่องเที่ยวน่าสนใจหลากหลาย รวมถึงทุ่ง-แปลงดอกไม้ที่กำลังมาแรง ด้วยเหตุนี้จึงมีร้านอาหาร ร้านกาแฟจำนวนมาก เปิดร้านแนวแช่เท้า รุกล้ำพื้นที่แม่น้ำสาธารณะเพื่อเป็นจุดดึงดูดลูกค้า สร้างประโยชน์ทางธุรกิจให้กับตัวเอง ซึ่งหลายร้านมีการทำรุกล้ำ ทำผิดกฎหมายอย่างชัดเจน โดยเหตุการณ์ร้านอาหารรุกล้ำลำน้ำแม่สา ที่เป็นพื้นที่สาธารณะ ได้เคยเกิดขึ้นมาแล้ว ปรากฏเป็นข่าวโด่งดังเมื่อปลายปี 2560 จนทางจังหวัดเชียงใหม่ได้เข้ามาสั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างผิดกฎหมาย และจัดระเบียบร้านอาหารริมน้ำแม่สา อ.แม่ริม ใหม่ ซึ่งวันนี้สถานการณ์การทำผิดกฎหมายแบบเดิมก็ได้หวนคืนมาอีกครั้งหนึ่ง https://mgronline.com/travel/detail/9630000064674 ********************************************************************************************************************************************************* ปริศนาคลาย...ฟอสซิลในแอนตาร์กติกาคือไข่เปลือกนิ่มอายุ 68 ล้านปี พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาในชิลีโชว์ฟอสซิลไข่เปลือกนิ่มที่พบในแอนตาร์กติกา ซึ่งมีอายุ 68 ล้านปี (Handout / CHILEAN NATIONAL MUSEUM OF NATURAL HISTORY / AFP) "เดอะธิง" ชื่อเล่นที่พิพิธภัณฑ์ในชิลีตั้งให้แก่ฟอสซิลปริศนาที่พบในแอนตาร์กติกา หลังจากรอคอยการไขปริศนาในที่สุดก็ได้รู้ว่า ฟอสซิลดังกล่าวคือฟอสซิลเปลือกไข่เปลือกนิ่มขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยค้นพบ และมีอายุประมาณ 68 ล้านปี คาดว่าอาจจะเป็นไข่ของงูทะเลหรือกิ้งก่าทะเลที่สูญพันธุ์ไปแล้ว รายงานเอเอฟพีระบุว่า การค้นพบดังกล่าวไปปิดฉากการคาดเดาที่ยาวนานเกือบสิบปี และยังอาจเปลี่ยนแปลงมุมมองต่อสิ่งมีชีวิตทางทะเลในยุคนั้น ซึ่งเป็นความเห็นของ ลูคัส เลเกนเดร (Lucas Legendre) หัวหน้าทีมวิจัยผู้ไขปริศนาฟอสซิลดังกล่าว ซึ่งกำลังศึกษาวิจัยหลังปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสในออสติน (University of Texas at Austin) สหรัฐฯ ที่ตีพิมพ์เผยแพร่การค้นพบดังกล่าวในวารสารเนเจอร์ (Nature) "ไข่ใบใหญ่นี้มีขนาดกว่าไข่ใบใหญ่ที่สุดที่เคยพบก่อนหน้านี้อย่างมาก เราไม่รู้มาก่อนว่า ใบแบบนี้สามารถใหญ่ได้ขนาดนั้น และเนื่องจากเราตั้งข้อสันนิษฐานว่า ไข่ถูกวางโดยสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลขนาดใหญ่ จึงอาจเป็นเบาะแสเจาะจงให้เราได้เห็นถึงกลวิธีในการขยายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดนี้" ลูคัสกล่าว สำหรับฟอสซิลไข่ใบนี้ถูกพบตั้งแต่ปี ค.ศ.2011 โดยนักวิทยาศาสตร์ชิลีที่ทำงานอยู่ที่ทวีปแอนตาร์กติกา ลักษณะภายนอกเหมือนมันฝรั่งอบที่ยับยู่ยี่ วัดขนาดได้ 11 x 7 นิ้ว หรือ 28 x 18 เซ็นติเมตร และใช้เวลาหลายปีที่มีนักวิทยาศาสตร์เวียนมาศึกษาฟอสซิลดังกล่าวแต่ก็เปล่าประโยชน์ จนกระทั่งเมื่อปี ค.ศ.2018 นักบรรพชีวินวิทยาชี้นำว่า ฟอสซิลนี้น่าจะเป็นไข่ ข้อสันนิษฐานดังกล่าวไม่ใช่ข้อสันนิษฐานที่เข้าใจได้ง่ายนัก เพราะทั้งขนาดและรูปลักษณ์ที่ปรากฏไม่บ่งชี้เช่นนั้น อีกทั้งยังไม่มีโครงกระดูกในไข่เพื่อยืนยันด้วย ทว่าจากการวิเคราะห์ตัดชิ้นส่วนของฟอสซิล เผยให้เห็นโครงสร้างที่คล้ายเนื้อเยื่ออ่อน และชั้นนอกที่เป็นของแข็งแต่บางกว่ามาก บ่งชี้ว่าเป็นไข่เปลือกนิ่ม การวิเคราะห์ทางเคมียังแสดงว่า เปลือกไข่นี้แตกต่างจากตะกอนที่อยู่รอบๆ อย่างชัดเจน และมีกำเนิดมาจากเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิต แต่ก็ยังมีปริศนาอื่นๆ ที่ยังรอการไขคำตอบ ทั้งปริศนาว่าสัตว์ชนิดใดที่ที่วางไข่ขนาดใหญ่มหึมานี้ ซึ่งไขขนาดใหญ่ที่เคยพบก่อนหน้านั้น คือไขจากนกยักษ์ในมาดากัสการ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ทีมวิจัยเชื่อว่าไข่ใบนี้ไม่ได้มาจากไดโนเสาร์ ซึ่งสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแอนตาร์กติกาในยุคนั้นส่วนใหญ่มีขนาดเล็กมากเกินกว่าที่วางไข่ขนาดมหึมานี้ได้ และถ้ามีสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ที่วางไข่ใบเท่านี้ได้ก็พบว่าเป็นสิ่งมีชีวิตที่ออกไข่เป็นรูปวงกลม มากกว่าออกไข่เป็นรูปวงรีเช่นนี้ ในทางหนึ่งพวกเขาเชื่อว่า เป็นไข่ที่มาจากสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาจจะเป็นของสัตว์ดึกดำบรรพ์ที่เรียกว่า "โมซาซอร์" (Mosasaurs) ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่พบได้มากที่แอนตาร์กติกายุคนั้น ไข่เปลือกนิ่มที่พบในแอนตาร์กติกา ซึ่งมีอายุ 68 ล้านปี (Handout / CHILEAN NATIONAL MUSEUM OF NATURAL HISTORY / AFP) ยังมีงานวิจัยคู่ขนานกับงานวิจัยนี้ที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์เช่นกัน โดยวานงิจัยดังกล่าวแย้งว่า ฟอสซิลไข่ใบนี้ไม่น่าจะเป็นของสัตว์เลื้อยคลานดึกดำบรรพ์ แต่น่าจะเป็นไข่เปลือกนิ่มของไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นเวลานานหลายปีแล้วที่ผู้เชี่ยวชาญเชื่อว่า ไดโนเสาร์จะวางไข่เปลือกแข็งเท่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหมดที่พวกเขาได้ค้นพบ ทว่า มาร์ก นอเรลล์ (Mark Norell) ภัณฑรักษ์ทางด้านบรรพชีวินวิทยาที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอเมริกัน (American Museum of Natural History) กล่าวว่า การค้นพบฟอสซฺลตัวอ่อนของกลุ่มไดโนเสาร์โปรโตเซอราทอปส์ (Protoceratops) ในมองโกลเลีย ทำให้เขาต้องกลับมาทบทวนสมมติฐาน "ทำไมเราจึงค้นพบแต่ไข่ไดโนเสาร์ในช่วงปลายยุคมีโซโซอิก (Mesozoic) และทำไมจึงมีแค่ 2-3 กลุ่มไดโนเสาร์" นอเรลล์ตั้งคำถามต่อตัวเอง และคำตอบที่เขาให้คือนั่นเป็นเพราะไดโนเสาร์ในยุคตั้นวางไข่เปลือกนิ่ม ซึ่งถูกสลายและไม่กลายเป็นฟอสซิล เพื่อทดสอบทฤษฎีดังกล่าว นอเรลล์และทีมวิจัยได้วิเคราะห์วัตถุที่อยู่รอบโครงกระดูกโปรโตเซอราทอปส์ ซึ่งเป็นฟอสซิลที่พบในมองโกลเลีย และฟอสซิลของมัสซอรัส (Mussaurus) ที่น่าจะอยู่ในระยะแรกเกิด และพวกเขาก้?ด้พบสัญญาณทางเคมีที่บ่งบอกว่า ไดโนเสาร์ดังกล่าวถูกห่อหุ้มด้วยเปลือกนุ่มๆ เหมือนหนัง "ไข่ไดโนเสาร์ใบแรกเป็นไข่เปลือกนิ่ม" คือข้อสรุปของนอเรลล์และทีมวิจัยที่สรุปลงรายงานทางวิชาการ การค้นพบของนอเรลล์อาจจะมีความเกี่ยวพันกับฟอสซิลแอนตาร์กติกาที่เรียกว่า "เดอะธิง" ซึ่งตอนนี้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า "แอนตาร์กติโกโอลิธัส" (Antarcticoolithus) ตามชื่อที่นักวิจัยระบุในวารสารเนเจอร์ ขณะที่ โจฮัน ลินด์เกรน (Johan Lindgren) จากมหาวิทยาลัยลุนด์ (Lund University) สวีเดน และ เบนจามิน เกียร์ (Benjamin Kear) จากมหาวิทยาลัยอุปซอลา (Uppsala University) กล่าวว่า การค้นพบนั้นอาจจะเกี่ยวกับลักษณะของไดโนเสาร์ในฐานะพ่อแม่ที่มีความภูมิใจในลูก ซึ่งพวกเขาคาดว่าจะมีการค้นพบฟอสซิลไข่ที่ลักษณะเฉพาะแบบเดียวกันนี้ในอนาคต ซึ่งเป็นไข่ที่ยึดติดกับตัวอ่อน ซึ่งจะช่วยไขปริศนาที่กระตุกข้อสงสัยนี้ได้ https://mgronline.com/science/detail/9630000064790
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
เปิดตัวเว็บศึกษาทวีปซีแลนเดีย ทวีปสาบสูญใต้ท้องทะเล เปิดตัวเว็บศึกษาทวีปซีแลนเดีย - วันที่ 23 มิ.ย. ซีเอ็นเอ็นรายงานว่า สถาบันวิจัย GNS Science ประเทศนิวซีแลนด์เปิดตัวเว็บไซต์รูปแบบอินเตอร์แอ็กทีฟ ช่วยให้ความรู้กับผู้ที่ต้องการศึกษาความเป็นมาของทวีปสาบสูญ "ซีแลนเดีย" ซึ่งจมอยู่ใต้ท้องทะเลลึก ทวีปซีแลนเดีย เป็นหนึ่งในแผ่นทวีปยุคบรรพกาลที่นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบไม่นานนี้ โดยแผ่นทวีปดังกล่าวแยกตัวออกจากทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) และออสเตรเลียเมื่อราว 85 ล้านปีก่อน และจมลงสู่ใต้ท้องทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตอนใต้ การเปิดตัวเว็บไซต์ดังกล่าวเกิดขึ้นหลังนักธรณีวิทยาประสบความสำเร็จในการทำแผนที่ทางภูมิศาสตร์ของทวีปซีแลนเดียใต้ทะเลได้สมบูรณ์ ซึ่งจะช่วยเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาคมโลกเกี่ยวกับความเป็นมา และการมีอยู่ของทวีปนี้ ดร.นิก มอร์ติเมอร์ ผู้นำทีมการจัดทำแผนที่และศึกษาสภาพภูมิศาสตร์ทวีปซีแลนเดีย กล่าวว่า การจัดทำแผนที่ที่เกิดขึ้นถือเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของวิทยาการปัจจุบัน และเป็นข้อมูลให้กับผู้ที่สนใจนำไปใช้วิจัยต่อได้ด้วย Zealadia - CNN ทวีปทั้งทวีปจมทะเลไปได้ไง!? การค้นพบทวีปดังกล่าวเกิดขึ้นครั้งแรกจากสมมติฐานของนายบรูซ ลูเญนดิก นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ในปีค.ศ. 1995 ซึ่งคาดว่าน่าจะมีทวีปที่ยังไม่ได้ค้นพบอยู่ในบริเวณข้างต้น โดยนายลูเญนดิก ตั้งชื่อให้ว่า "ซีแลนเดีย" (เพราะอยู่ใกล้กับประเทศนิวซีแลนด์) สมมติฐานดังกล่าวของนายลูเญนดิกนำไปสู่การวิจัยอย่างยาวนานของนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกด้วยการศึกษาภูมิศาสตร์ในบริเวณนี้กินพื้นที่กว่า 5 ล้านตารางกิโลเมตร กระทั่งพิสูจน์พบว่า หมู่เกาะในบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นทวีปใหม่ตามที่คาดการณ์ไว้ ทวีปซีแลนเดียเคยเป็นส่วนหนึ่งของมหาทวีปกอนด์วานา ซึ่งเป็นที่มาของทวีปหลายแห่งปัจจุบัา อาทิ ทวีปแอฟริกา และอเมริกาใต้ โดยซีแลนเดียขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของออสเตรเลียแยกตัวออกจากกอนด์วานาเมื่อราว 85 ล้านปีก่อน พร้อมกับไดโนเสาร์และพืชพันธุ์ต่างๆ หลายล้านปีต่อมาบรรดาเปลือกโลกเริ่มมีการจัดเรียงตัวใหม่ เกิดการเคลื่อนที่ของทวีปอย่างใหญ่หลวง รวมทั้งเป็นที่มาของ วงแหวนไฟแปซิฟิก รอยต่อของเปลือกโลกปัจจุบันในมหาสมุทรแปซิฟิกซีกตะวันตก เป็นแนวขอบที่มีความเคลื่อนไหวของภูเขาไฟมากที่สุดในโลก ข้อมูลจากมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ระบุว่า แผ่นทวีปแปซิฟิก แผ่นทวีปที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้นยุบตัวลงไปต่ำกว่าทวีปซีแลนเดียจนเกิดเป็น "เขตมุดตัว" (subduction) ส่งผลให้สัญฐานของทวีปซีแลนเดียเสียหายและทำให้ซีแลนเดียยุบตามแปซิฟิกลงไปด้วยนั่นเอง ปัจจุบัน ซีแลนเดีย มีพื้นที่ร้อยละ 94 จมอยู่ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก โดยส่วนที่ยังโผล่พ้นน้ำทะเลขึ้นมา ได้แก่ ประเทศนิวซีแลนด์ และชาติหมู่เกาะอื่นๆ โดยจุดที่สูงที่สุดของทวีปนี้เป็นภูเขาเอโอรากิ-เมาท์คุก ในนิวซีแลนด์ มีความสูง 3,724 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล GNS Science ระบุว่า การศึกษาทวีปซีแลนเดียจะยังดำเนินต่อไป เพราะมีปริศนาอีกมากมาย โดยเว็บไซต์ข้างต้นจะได้รับการอัพเดทอย่างต่อเนื่อง เมื่อองค์ความรู้ใหม่ได้รับการพิสูจน์ทราบ https://www.khaosod.co.th/update-news/news_4370581
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
เปิดชื่อ 127 อุทยานแห่งชาติ เตรียมเปิดให้บริการ 1 ก.ค.นี้ เช็คเลย!! 127 อุทยานแห่งชาติ เตรียมเปิดให้บริการ 1 ก.ค.นี้ พร้อมขั้นตอน-เงื่อนไข "จองเที่ยว" ย้ำกฎเหล็ก จำกัดนักท่องเที่ยว-ลดความแอดอัด ภายหลังนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมออกมาเปิดเผยว่าตามที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีประกาศปิดอุทยานแห่งชาติ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2563 ตามมาตรการเฝ้าระวัง "โควิด-19" แต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2563 จะมีการเปิดให้บริการ "อุทยานแห่งชาติ" หลายแห่ง แต่ยังบางแห่งที่จะยังคงปิดให้บริการอยู่ เช่น อุทยานแห่งชาติทางทะเลทางด้านฝั่งอันดามัน เนื่องจากช่วงนี้เข้าสู่ฤดูมรสุม หรืออุทยานแห่งชาติภูกระดึงที่ปัจจุบันอยู่ในช่วงของฤดูฝน ทั้งนี้ในวันที่ 1 ก.ค.จะมี อุทยานแห่งชาติ 64 แห่งที่เปิดทุกแหล่งท่องเที่ยว อีก 63 แห่งเปิดท่องเที่ยวบางส่วน และอีก 28 แห่งยังปิดให้บริการ โดยอุทยานแห่งชาติที่เปิดให้บริการจะมีการจำกัดการรองรับนักท่องเที่ยวแตกต่างกัน เพื่อลดความแออัดของนักท่องเที่ยว และสะดวกต่อการบริหารจัดการภายในอุทยานแห่งชาติ โดยเฉพาะมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด สำหรับขั้นตอนการจองเพื่อเข้าไปท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ จะเริ่มที่ต้องจองผ่านทางแอปพลิเคชั่น ชื่อว่า QueQ (คิวคิว) ในระบบ ios และ android รวมถึงการ Check in ผ่านระบบ "ไทยชนะ" ทั้งก่อนเข้าและออกจากแหล่งท่องเที่ยวภายในอุทยานแห่งชาติ ส่วนนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้จองล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่น QueQ สามารถมาท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติได้ตามปกติ แต่จะให้สิทธิ์กับผู้ที่ทำการจองผ่านทางแอปพลิเคชั่น QueQ ก่อนเท่านั้น สำหรับผู้จองผ่านพลิเคชั่น QueQ แต่ไม่มาตามเวลาจอง ทางเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ จะอนุญาตให้นักท่องเที่ยวที่ไม่ได้จองผ่านพลิเคชั่น QueQ ไปท่องเที่ยวได้ในรูปแบบร้อยละ 70 และ 30 แบ่งเป็น รับนักท่องเที่ยวที่จองผ่านแอปพลิเคชั่น 70 % ส่วนอีก 30 % เป็นนักท่องเที่ยวที่ไม่ได้จองล่วงหน้าผ่านแอปพลิเคชั่น QueQ https://www.bangkokbiznews.com/news/...ernal_referral
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
กรมทะเล จับมือ จุฬาฯ และสถาบันนิติวิทย์ พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเล เพื่อต่อยอดอนุรักษ์ 3 หน่วยงาน กรมทะเล จับมือ จุฬาฯ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเล เพื่อต่อยอดสู่การอนุรักษ์ กรณีการตายและการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากในช่วง 2 ? 3 ปี ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานได้พยายามศึกษาและหาสาเหตุการตาย รวมถึงกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ที่เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมข้อมูลและสถิติต่าง ๆ และในวันนี้ (23 มิถุนายน 2563) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่วมมือกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือด้านวิชาการในการศึกษา วิจัย และชันสูตรการตายของสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกของโลกที่มนุษย์จะศึกษาเพื่อหาความยุติธรรมให้แก่สัตว์ทะเล นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวย้ำ ความร่วมมือครั้งนี้ เพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายาก พร้อมวอนขอความร่วมมือหยุดพฤติกรรมทำร้ายสัตว์ทะเลเพื่อคงความสมบูรณ์คืนสู่ลูกหลานต่อไป นายโสภณ ทองดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวภายหลังการลงนามความร่วมมือด้านวิชาการว่า จากรายงานสถิติสถานการณ์สัตว์ทะเลหายากที่พบการเกยตื้น ช่วงปี 2562 ? 2563 พบสัตว์ทะเลหายากจำพวกเต่าทะเล พะยูน โลมาและวาฬ เกยตื้นชนิดพบเป็นซากสะสมกว่า 970 ตัว สามารถช่วยรอดชีวิตกว่า 473 ตัว และสามารถปล่อยกลับลงสู่ทะเลกว่า 200 ตัว ซึ่งสาเหตุการตายหรือการเกยตื้นส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์ ทั้งจากเครื่องมือประมง กลืนกินขยะทะเล ปัญหามลพิษปนเปื้อนในน้ำทะเล การเสียชีวิตเนื่องจากโรคตามธรรมชาติ นอกจากนี้ หลายกรณียังไม่ทราบสาเหตุการตายที่แน่ชัด ด้วยเหตุนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้มีนโยบายในการศึกษาและสืบหาสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายากต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการรักษา คุ้มครอง และฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากที่นับวันจะลดจำนวนลง จึงเป็นเหตุให้กรมฯ ได้หาพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญ และมีความพร้อมทั้งบุคลากร รวมถึงเครื่องมือในการพิสูจน์และชันสูตรการเสียชีวิต การลงนามข้อตกลงทางวิชาการในวันนี้ (23 มิถุนายน 2563) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้จับมือกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนธิกำลังบุคลากร ระดมความรู้และเครื่องมือในการศึกษา วิจัย และช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายาก สุดท้ายตนอยากฝากทิ้งท้ายไว้ "ในช่วงวิกฤติสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 มีการประกาศปิดอุทยานกว่า 140 แห่ง มนุษย์ได้อยู่ห่างจากธรรมชาติ ปล่อยให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว มีการรายงานการพบเห็นสัตว์ทะเลหายากบ่อยครั้งในหลาย ๆ พื้นที่ ในเดือนกรกฎาคมจะเริ่มเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล การท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก การทำประมงอย่างถูกหลักวิธี การลดการปล่อยของเสียและขยะลงทะเล เราคงต้องดำเนินการสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างจริงจัง บทเรียนที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงผลจากการกระทำของมนุษย์ต่อสัตว์ทะเลหายาก หากเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เราอาจจะสูญเสียสัตว์ทะเลหายากไปทั้งหมด และลูกหลานเราคงได้เห็นเฉพาะเพียงภาพถ่าย หน้าที่ของเราคือรักษาทรัพยากรทางทะเลให้คงอยู่และยั่งยืน เพื่อคืนให้ลูกหลานเราได้ชื่นชมและอนุรักษ์ ต่อไป? พ.ต.ท. วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงยุติธรรม โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานที่จะดำเนินการใด ๆ เพื่อความยุติธรรม ไม่ใช่เฉพาะต่อมนุษย์ แต่เรายังคำนึงถึงความยุติธรรมต่อสัตว์ที่อยู่ร่วมโลก ซึ่งครั้งนี้ อาจจะเป็นครั้งแรกของโลกที่จะใช้นิติวิทยาศาสตร์กับสัตว์ ซึ่งทางสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ก็มีความพร้อมและยินดีที่จะร่วมมือกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการพิสูจน์และชันสูตรหาสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายาก ทั้งเพื่อการศึกษาวิจัย และสืบหาความยุติธรรมให้แก่สัตว์ทะเลหายาก ศ. น.สพ. ดร. รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในด้านวิชาการเราจะยึดหลัก Prevention better than cure หรือการป้องกันดีกว่าการรักษา ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นหน่วยงานที่มีฐานข้อมูลที่สำคัญจำเป็น การพิสูจน์ทราบสาเหตุการตายหรือการเกยตื้นจะเป็นประโยชน์สำคัญอย่างยิ่งในอนาคต ทางทีมสัตวแพทย์จะใช้องค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อช่วยลดโอกาสการเกยตื้นและการตาย ในทางกลับกัน ทางทีมสัตวแพทย์ก็ยังได้ศึกษา วิจัย และเรียนรู้เพิ่มเติมจากความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและชาวโลกต่อไปในอนาคต ดร. รุ่งโรจน์ กล่าวในที่สุด https://www.bangkokbiznews.com/news/...mpaign=bangkok
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ครั้งแรกของโลก! นิติวิทยาศาสตร์พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเลตาย ครั้งแรกของโลก! กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จับมือจุฬาฯ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พิสูจน์อัตลักษณ์สัตว์ทะเลหายาก โดยใช้รูปแบบ "สืบจากศพ" มาสู่สัตว์ทะเลหายากที่ตายแบบมีเงื่อนงำ หลังพบ 2 ปีเกยตื้นตาย 970 ตัว ช่วยชีวิตกลับทะเล 200 ตัว วันนี้ (23 มิ.ย.2563) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) การลงนามความร่วมมือด้านวิชาการกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อชันสูตรการตายของสัตว์ทะเลหายาก ซึ่งอาจจะเป็นครั้งแรกของโลกที่มนุษย์จะศึกษาเพื่อหาความยุติธรรมให้แก่สัตว์ทะเล ไทยพีบีเอสออนไลน์ สัมภาษณ์นายโสภณ ทองดี อธิบดีทช.กล่าวว่า จากสถิติสัตว์ทะเลหายากที่พบการเกยตื้น ช่วงปี 2562?2563 พบสัตว์ทะเลหายากจำพวกเต่าทะเล พะยูน โลมาและวาฬ เกยตื้นชนิดพบเป็นซากสะสมกว่า 970 ตัว สามารถช่วยรอดชีวิตกว่า 473 ตัว และสามารถปล่อยกลับลงสู่ทะเลกว่า 200 ตัว ที่ผ่านมา สาเหตุการตายหรือการเกยตื้นส่วนใหญ่ก็มีสาเหตุจากกิจกรรมมนุษย์ ทั้งจากเครื่องมือประมง กลืนกินขยะทะเล ปัญหามลพิษปนเปื้อนในน้ำทะเล การเสียชีวิตเนื่องจากโรคตามธรรมชาติ แต่หลายกรณียังไม่รู้สาเหตุการตายที่แน่ชัด เช่น พะยูนโดนตัดหัว ตัดเขี้ยว เป็นการตายแบบผิดธรรมชาติหรือไม่ ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สืบจากศพสัตว์ทะเลหายากตายปริศนา นายโสภณ กล่าวว่า ที่ผ่านมา แม่ว่า ทช.จะมีสัตวแพทย์ในการตรวจพิสูจน์ชิ้นเนื้อ และหาร่องรอยสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นตายได้แล้ว แต่ยังไม่เพียงพอในบางกรณีที่พบสัตว์ทะเลหายากตายแบบปริศนา ดังนั้นจึงร่วมกับทางจุฬาฯ และสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ใช้เทคนิคการพิสูจน์อัตลักษณ์จากศพคน มาสู่การพิสูจน์ในสัตว์ทะเลหายาก เพื่อหาคำตอบตาย "จะใช้เทคนิคตรวจร่องรอยการตาย และสืบจากศพที่ทำกับมนุษย์มาใช้กับสัตว์ทะเลที่ตาย เช่น หากเจอซากพะยูนหัวขาด จะใช้นิติวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าตายจากคมมีด ตายแบบไหนเพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเอาผิด" อธิบดีทช.กล่าวว่า กระบวนการพิสูจน์สัตว์ทะเลหายากตาย ในเคสที่ไม่สามารถยืนยันได้ สัตวแพทย์จะส่งให้ทางนิติวิทยาศาสตร์ และจุฬาฯ ร่วมตรวจสอบทันที ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่เราจะใช้มิติทางวิทยาศาสตร์ และนิติวิทยาศาสตร์สืบศพสัตว์ทะเลตาย เพื่อทวงความยุติธรรมให้กับสัตว์ทะเลที่ตาย ภาพ:กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายโสภณ กล่าวว่า นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดทส. ได้มีนโยบายในการศึกษาและสืบหาสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายากต่าง ๆ เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการในการรักษา คุ้มครอง ฟื้นฟูสัตว์ทะเลหายากที่นับวันจะลดจำนวนลง "ช่วง COVID-19 มีการปิดอุทยาน 140 แห่ง มนุษย์ได้อยู่ห่างจากธรรมชาติ ปล่อยให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัว มีการรายงานการพบสัตว์ทะเลหายากบ่อยครั้งในหลายๆ แต่พื้นที่ในเดือนก.ค.นี้จะเริ่มเปิดแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล จึงอยากให้การท่องเที่ยวอย่างมีจิตสำนึก" ครั้งแรกของโลกสืบหาความยุติธรรมให้สัตว์ทะเล ด้านพ.ต.ท.วรรณพงษ์ คชรักษ์ ผอ.สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กล่าวว่า กระทรวงยุติธรรม โดยสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยงานที่จะดำเนินการใดๆ เพื่อความยุติธรรม ไม่ใช่เฉพาะต่อมนุษย์ แต่ยังคำนึงถึงความยุติธรรมต่อสัตว์ที่อยู่ร่วมโลก "อาจจะเป็นครั้งแรกของโลกที่จะใช้นิติวิทยาศาสตร์กับสัตว์ พิสูจน์และชันสูตรหาสาเหตุการตายของสัตว์ทะเลหายาก เพื่อการศึกษาวิจัยและสืบหาความยุติธรรมให้แก่สัตว์ทะเลหายาก" ศ.น.สพ.ดร. รุ่งโรจน์ ธนาวงษ์นุเวช คณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในด้านวิชาการจะยึดหลัก Prevention better than cure หรือการป้องกันดีกว่าการรักษา ซึ่งทช. เป็นหน่วยงานที่มีฐานข้อมูลที่สำคัญจำเป็น การพิสูจน์สาเหตุการตายหรือการเกยตื้น จะเป็นประโยชน์สำคัญอย่างยิ่งในอนาคต ทางทีมสัตวแพทย์ จะใช้องค์ความรู้ทางวิชาการเพื่อช่วยลดโอกาสการเกยตื้นและการตาย ในทางกลับกันทางทีมสัตวแพทย์ก็ยังได้ศึกษาวิจัย และเรียนรู้เพิ่มเติมจากความร่วมมือนี้ https://news.thaipbs.or.th/content/293934
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#7
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
THE EXIT : กัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี ตอน 2 โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ มูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ของเทศบาลตำบลปากน้ำปราณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังถูกตั้งคำถามถึงความคุ้มค่า หากย้อนบทเรียนของโครงการเมื่อปี 2558 ที่โครงสร้างหนักอย่างเขื่อนคอนกรีต กระทบชายหาดและทำให้ปูลมหายไป สภาพชายทะเลปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อปี 2557 ซึ่งมีทั้งนักท่องเที่ยวและชาวปากน้ำปราณ เข้าใช้พื้นที่ริมทะเลค่อนข้างคึกคัก และเห็นได้ชัดว่าในเวลานั้นแม้มีแนวกันคลื่นแล้ว แต่ยังมีหาดทรายในระดับที่เสมอกับแนวถนน แต่สภาพปัจจุบันของทะเลปากน้ำปราณ หาดทรายไม่ได้มีเพียงแค่เม็ดทราย แต่กลับมีสิ่งแปลกปลอมคือหินและเศษปูน หลังการสร้างเขื่อนคอนกรีตกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่ง เมื่อปี 2558 นายพิษณุพงษ์ เหล่าลาภผล ประธานกลุ่มคนรักทะเลและชายหาดปากน้ำปราณ บอกว่า พื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นทราย แต่หลังจากมีการสร้างเขื่อนความยาว 190 เมตร พื้นที่เปลี่ยนไปและทรายหายไปชัดเจน "เดิมตรงนี้ทำเขื่อนแบบตาข่ายครอบก้อนหิน แต่เมื่อตาข่ายแตกทำให้หินกระจายเกลื่อนเต็มหาด คนลงไปเล่นน้ำโดนเพรียงบาด และไม่เหมาะต่อการเล่นน้ำ" หลังเขื่อนที่สร้างตามแบบที่ใช้กล่องลวดตาข่ายเสียหาย มีการปรับแก้โดยการสร้างเขื่อนคอนกรีตแบบขั้นบันไดทับเขื่อนเดิม ส่งผลให้แนวกำแพงกันคลื่นที่มีอยู่เดิมพังเสียหาย ที่สำคัญคือ ทะเลบริเวณหน้าเขื่อนมีความลึกเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เมตร เพราะคลื่นซัดแนวเขื่อนคอนกรีตและม้วนทรายไปยังบริเวณอื่น และจะเป็นเช่นนี้ต่อไปจนกว่าพื้นที่ด้านหลัง และบริเวณฐานเขื่อนถูกคลื่นเซาะจนพังเสียหาย อาจใช้เวลาเพียงไม่กี่ปี นายศศิน เฉลิมลาภ ที่ปรึกษามูลนิธิสืบนาคะเสถียร กล่าวว่า สาเหตุที่ทะเลลึกขึ้นเพราะคลื่นกระทบกับกำแพงบันไดปูนยกตัวขึ้น เมื่อน้ำหนักจะกดลงที่พื้นก็จะขุดทรายออกไป เมื่อเอาทรายออกไปเรื่อย ๆ ในที่สุดหน้ากำแพงจะไม่มีทรายเหลืออยู่ ผลของหาดทรายที่ลึกขึ้น และสิ่งแปลกปลอมที่พบบนผืนทราย ทำให้สัตว์ทะเลที่เคยมีอยู่เดิมหายไป โดยเฉพาะปูลม ซึ่งเคยพบมากบริเวณชายหาดปากน้ำปราณ แต่ปัจจุบันกลับไปพบที่ชายหาดใกล้เขากะโหลกแทน เพราะบริเวณนั้นยังไม่มีเขื่อนคอนกรีตกันคลื่น ส่วนหาดทรายที่เคยถูกใช้ประโยชน์เพื่อการพักผ่อน ไม่สามารถทำกิจกรรมชายฝั่งได้หลายอย่าง โดยเฉพาะการลงเล่นน้ำ เพราะมีหินที่เป็นผลพวงจากการสร้างเขื่อนคอนกรีต ซึ่งภายในปี 2564 มีโครงการก่อสร้างเขื่อนคอนกรีตกันคลื่นแบบขั้นบันไดระยะ 900 เมตร งบประมาณกว่า 200 ล้านบาท จากจุดเตือนภัยสึนามิจนถึงศาลกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เพื่อแก้ปัญหาแนวกำแพงกันคลื่นที่พัง และปรับภูมิทัศน์รองรับการท่องเที่ยว นายธงชัย สุณาพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีเทศบาลปากน้ำปราณ ระบุถึงแผนพัฒนาเพื่อการท่องเที่ยว "เราเป็นเมืองทางทะเล เราก็พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว มีการประสานกับโยธาธิการและผังเมือง มีการออกแบบหลังทำเขื่อนเสร็จ จะมีการปรับภูมิทัศน์ ขยายถนนให้กว้างขึ้นทำเป็นเลนจักรยาน" แต่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติหลายคน กลับมีความเห็นที่แตกต่าง โดยหลายคนยืนยันว่าเดินทางมาปากน้ำปราณเพื่อสัมผัสกับหาดทราย และอาจทบทวนแผนการท่องเที่ยวหากเขื่อนคอนกรีตกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งเกิดขึ้นตลอดแนว เพราะโครงสร้างคอนกรีตสามารถพบเห็นได้โดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมาชายหาดปากน้ำปราณ https://news.thaipbs.or.th/content/293939
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|