#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 21 พฤศจิกายน 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ แต่ยังคง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า ส่วนยอดดอยและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว ในขณะที่มีลมตะวันออกพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระมัดระวังอันตรายในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย สำหรับอ่าวไทยและภาคใต้มีคลื่นกระแสลมตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมทำให้ภาคใต้ มีฝนตกในระยะนี้และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 21 ? 23 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลัง ปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย0 ในช่วงวันที่ 21 ? 26 พ.ย. 63 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเกิดขึ้นในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 23-26 พ.ย. 2563 โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1-2 เมตร บริเวณที่มี ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 21 ? 24 พ.ย. ขอให้เกษตรกรบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ให้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและตกสะสม ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
ยานหุ่นยนต์ดำน้ำนักวิจัยจีน ดำดิ่งลงสู่'มาเรียนาเทรนช์' ทางการจีนถ่ายทอดสด ยานหุ่นยนต์ดำน้ำรุ่นใหม่ นำทีมนักวิจัยดำดิ่งลงจอด ร่องลึกก้นสมุทรมาเรียนา เทรนช์ ซึ่งเป็นจุดที่ลึกที่สุดของพื้นโลก กว่า 10 กม. ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก เมื่อวันศุกร์ นับเป็นความสำเร็จครั้งล่าสุด ของวงการวิทยาศาสตร์จีน ในการสำรวจวิจัยความลี้ลับของโลกใต้ทะเลลึก สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ว่า ยานหุ่นยนต์ดำน้ำ เฟินตู้ซื่อ หรือ คนสู้ชีวิต (Striver) ดำลงลึกกว่า 10,000 เมตร เข้าสู่มาเรียนา เทรนช์ ใต้มหาสมุทรแปซิฟิก พร้อมกับนักวิจัย 3 คนของจีน คลิปวิดีโอที่บันทึกและถ่ายทอดสด โดยกล้องถ่ายภาพใต้น้ำลึก แสดงให้เห็นยานดำน้ำสีเขียว-ขาว-ส้ม เคลื่อนตัวผ่านน้ำมืดทึบ ล้อมรอบด้วยเศษสิ่งของ ขณะที่มันค่อยๆ หย่อนตัวลงแตะพื้นมหาสมุทร ช่วงต้นเดือน พ.ย.นี้ ยานเฟินตู้ซื่อ ทำสถิติใหม่ของประเทศ ดำน้ำได้ลึกสุด 10,909 เมตร (35,790 ฟุต) โดยมีมนุษย์อยู่ในยานด้วย เกือบทำลายสถิติโลกจนถึงปัจจุบัน ระดับความลึก 10,927 เมตร ที่นายวิคเตอร์ เวสโคโว นักสำรวจชาวอเมริกันทำไว้ เมื่อเดือน พ.ค. 2562 ยานดำน้ำเฟินตู้ซื่อ ติดตั้งแขนหุ่นยนต์ เพื่อเก็บรวบรวมตัวอย่างทางชีววิทยา และ "ดวงตา" โซนาร์ ที่ใช้คลื่นเสียงระบุวัตถุต่างๆ รอบยาน นายจู หมิน นักวิจัยของวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน เผยว่า ทีมนักวิจัยที่ส่งลงไปกับยานหุ่นยนต์เฟินตู้ซื่อ จะทำการศึกษาสิ่งมีชีวิตใต้ก้นมหาสมุทร และเก็บรวบรวมตัวอย่างขึ้นมาศึกษา การดำดิ่งลงสู่จุดลึกที่สุดของพื้นโลก ต้องใช้ความพยายามทดลองมากกว่า 2 ครั้ง จึงประสบความสำเร็จ https://www.dailynews.co.th/foreign/808134
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
ชาวประมงกระบี่ เจอ "ปลาคางคก" หน้าตาประหลาดหาดูยาก นายอำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ โพสต์คลิปลงโลกออนไลน์ หลังชาวประมงในพื้นที่จับปลาชนิดหนึ่งได้ หน้าตาประหลาด จะเป็นอย่างไร เดี๋ยวเราไปชมภาพกัน ปลาหน้าตาประหลาดตัวนี้ มีลักษณะ คล้ายก้อนหิน หัวมีขนาดใหญ่ มุมปากกว้าง ตากลมโต มีลายแถบที่ครีบข้างลำตัวมากถึงถึง 7-8 ขีด คลิปนี้ โพสต์ลงโลกออนไลน์ โดยนายสมบูรณ์ เต็มชื่น นายอำเภอเกาะลันตา จ.กระบี่ พร้อมระบุว่า ชาวประมง ยกไซได้ที่กระชังปลาคลองทราย หลังบ้านพักนายอำเภอเกาะลันตา สร้างความตื่นเต้นให้กับชาวประมงในพื้นที่ เนื่องจากไม่พบเห็นบ่อยหนัก สำหรับปลาชนิดดังกล่าว ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง ม.เกษตรศาสตร์ เคยให้ข้อมูลเมื่อ 3 ปี ที่แล้ว ว่า ปลาชนิดนี้ คือ "ปลาคางคก" หรือ "ปลาอุบ" ไม่ใช่เป็นปลาประหลาดหรือสัตว์กลายพันธุ์แต่ประการใด ทั่วโลก มีประมาณ 80 ชนิด อย่างไรก็ตาม ปลาคางคก หรือ ปลาอุบเป็นปลาน้ำกร่อย พบอาศัยอยู่ตามปากแม่น้ำ บริเวณที่น้ำจืดและน้ำเค็มมาบรรจบกัน ทำให้ปลาชนิดนี้สามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม ชอบอาศัยอยู่ตามพื้นดิน บางครั้งจะพรางตัวอยู่ตามขอนไม้ มีพิษอ่อนๆ หากถูกทิ่มหรือแทงจะรู้สึกปวด ลำตัวโตเต็มที่ได้ราว 1 ฟุต ส่วนหัวและปากมีขนาดใหญ่ เพื่อที่จะสามารถกินปลาได้ทั้งตัว โดยทั่วไปจะพบในแม่น้ำสายต่างๆ ของประเทศไทย แต่จะพบมากในทะเลสาบสงขลา ส่วนใหญ่แล้วชาวประมงมักจะนำมันมาเป็นอาหารเสียเป็นส่วนใหญ่ ไม่ได้นำมาเลี้ยงเพื่อเป็นปลาสวยงาม https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/136999
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก BBCThai
โลกร้อน : การส่งอีเมลน้อยลงช่วยแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศได้จริงหรือ ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES คุณเป็นคนประเภทชอบเอ่ยคำว่า "ขอบคุณ" ทุกครั้งที่ใครทำอะไรให้หรือเปล่า ถ้าชอบทำเช่นนั้นทางอีเมล เจ้าหน้าที่ในสหราชอาณาจักรที่พยายามหาทางรักษาสิ่งแวดล้อมแนะนำว่าให้หยุดได้แล้ว หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทมส์รายงานว่า เร็ว ๆ นี้ อาจมีการรณรงค์ให้คนส่งอีเมลให้น้อยลงในแต่ละวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการตอบอีเมลสั้น ๆ บรรทัดเดียวที่ "ไร้ประโยชน์" เช่นว่า "ขอบคุณ" เจ้าหน้าที่คนหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการจัดงานการประชุมภาคีแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ COP26 ซึ่งสหราชอาณาจักรจะเป็นเจ้าภาพปีหน้า บอกว่า การทำเช่นนั้นจะช่วย "ลดคาร์บอนได้เยอะมาก" แต่มันจะสร้างความแตกต่างได้ขนาดนั้นเชียวหรือ ทำไมอีเมลถึงสร้างคาร์บอน คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าการส่งอีเมลคือการสื่อสารผ่านทางอากาศ แต่จริง ๆ แล้ว เวลาคุณส่งอีเมล มันต้องผ่านเครือข่ายเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ที่สิ้นเปลืองพลังงาน อุปกรณ์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต หรือเราเตอร์ ของเราต้องส่งสัญญาณไปยังชุมสายในพื้นที่ก่อนที่จะส่งต่อไปยังบริษัทโทรคมนาคมที่ให้บริการอีกที และบริษัทต่าง ๆ ก็ต้องมีศูนย์ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าในการปฏิบัติทำงาน และทั้งหมดนี้ก็ทำให้สิ้นเปลืองพลังงานทั้งสิ้น แต่อีเมลแค่หนึ่งฉบับส่งผลน้อยมากต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES นสพ.ไฟแนนเชียลไทมส์ บอกว่า เจ้าหน้าที่ทางการคนดังกล่าวอ้างถึงสิ่งที่บริษัทไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ชื่อ โอโว เอนเนอร์จี (Ovo Energy) เสนอไว้เมื่อปีที่แล้ว บริษัทนี้บอกว่า หากคนในสหราชอาณาจักรทุกคนส่งเมล "ขอบคุณ" น้อยลง คนละหนึ่งฉบับ จะลดการปลดปล่อยคาร์บอน 16,4433 ตันต่อปี หรือเทียบเท่ากับเที่ยวบินหลายพันเที่ยวไปยุโรป แต่ปัญหาคือ หากว่าตัวเลขนั้นเป็นจริง มันก็ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้มาก ในปี 2019 สหราชอาณาจักรปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดถึง 435.2 ตัน ดังนั้นตัวเลขที่ว่าคิดเป็นเพียงแค่ 0.0037% เท่านั้นของการปลดปล่อยคาร์บอนทั้งประเทศ ไมค์ เบอร์เนอร์ส เป็นศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้ ซึ่งโอโว เอนเนอร์จี เอาข้อมูลงานวิจัยของเขาไปใช้ เขาบอกกับไฟแนนเชียลไทมส์ว่า นั่นเป็นตัวเลขที่คำนวณขึ้นไว ๆ "บนหลังซองจดหมาย" เมื่อปี 2010 เขาบอกว่า ดีที่เรื่องนี้ทำให้คนเริ่มถกเถียงในประเด็นนี้ แต่ยังมีประเด็นใหญ่กว่านั้นที่ควรคำนึงถึง คริส พรีสต์ ศาสตราจารย์ด้านความยั่งยืนและระบบคอมพิวเตอร์จากมหาวิทยาลัยบริสตอล บอกว่า ไม่ว่าจะส่งหรือไม่ส่งอีเมลหนึ่งฉบับ ผลกระทบก็เกิดขึ้นแล้วเพราะคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ของคุณก็กำลังทำงานอยู่อยู่ดี แล้วเราจะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES ในปี 2019 สหราชอาณาจักรปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดถึง 435.2 ตัน นักวิจัยบอกว่าแทนที่จะไปสนใจเรื่องอีเมล ควรหันมาดูเรื่องเกมออนไลน์ หรือเว็บไซต์ให้บริการดูวิดีโอ และการจัดเก็บข้อมูลออนไลน์ มากกว่า แต่การคำนวณว่ากิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งปลดปล่อยคาร์บอนเท่าไหร่มีความซับซ้อนมาก อย่างบริษัทกูเกิล "มีความเป็นกลางทางคาร์บอน" (Carbon Neutral) แล้ว หมายความว่าบริษัทได้จ่ายเงินให้กับโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อมชดเชยกับปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากการให้บริการอีเมลคุณแล้ว ดังนั้น ศ.พรีสต์ บอกว่า เราควรมุ่งความสนใจไปที่สิ่งที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริง ๆ แทน เช่น อาหารที่เรากิน พลังงานที่สร้างความอบอุ่นในบ้าน หรือการเดินทาง เมื่อถามศาตราจารย์ผู้นี้ว่าแล้วเรื่องการส่งอีเมลตอบ "ขอบคุณ" สั้น ๆ ล่ะ ยังควรทำอยู่ไหม "ก็ส่งถ้าหากรู้สึกว่าคน ๆ นั้นจะเห็นค่า แต่ถ้าเขาไม่น่าจะเห็นค่า ก็ไม่ต้องส่ง" https://www.bbc.com/thai/international-55020673
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|