เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 27-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ ประเทศลาว และเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรง พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดพังงาขึ้นมามีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 ก.ค. - 1 ส.ค. 64 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ลาว และประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยยังคงมีกำลังแรง ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น กับมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันยังคงมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 27 ก.ค. - 1 ส.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 27-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ผลการศึกษาใหม่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นในระยะยาวกับภาวะโลกร้อน



การส่ายไปมาของดวงจันทร์มักมีบทบาทในกระแสน้ำ แต่ผลการศึกษาใหม่ขององค์การนาซาระบุว่าระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศนั้น มีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติในวงโคจรของดวงจันทร์ ซึ่งคาดการณ์ว่าชุมชนชายฝั่งตั้งแต่ชายฝั่งเจอร์ซีย์ไปถึงไมอามีและจนถึงแคลิฟอร์เนียตอนใต้ มีแนวโน้มว่าจะมีน้ำท่วมฉับพลันในช่วงกลางทศวรรษนี้ไปจนถึงทศวรรษที่ 2030

นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันวิทยาศาสตร์ธรรมชาติแห่งมหาวิทยาลัยเดร็กเซิล ในสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาผลกระทบของระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นต่อแหล่งน้ำตามชายฝั่งในรัฐนิวเจอร์ซีย์และเดลาแวร์ รายงานว่าการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ จะสูญเสียหนองบึงมากขึ้น ป่าชายฝั่งทะเลจะได้รับผลกระทบ และจะเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่สิบปีข้างหน้า หลังจากได้ตรวจสอบข้อมูล ทางประวัติศาสตร์อย่างใกล้ชิดในพื้นที่ 89 แห่งในทุกรัฐชายฝั่งของสหรัฐอเมริกา ยกเว้นรัฐอลาสกา

การคาดการณ์การเกิดน้ำขึ้นน้ำลงอย่าง รุนแรงในการศึกษาครั้งใหม่นี้ เกิดจากสิ่งที่เรียกว่าการส่ายไปมาในวงโคจรของดวงจันทร์ วัฏจักรการส่ายไปมาของดวงจันทร์จะเกิดขึ้นใน 18.6 ปีข้างหน้า จะทำให้เกิดกระแสน้ำขึ้นสูง ระดับน้ำจะท่วมถึงระดับสูงสุดเป็นประจำ ส่งผลให้น้ำขึ้นน้ำลงจะเกินเกณฑ์ระดับน้ำท่วมทั่วประเทศบ่อยขึ้น น้ำท่วมจะเกิดขึ้นเป็นกลุ่มๆ ซึ่งอาจอยู่ได้ครั้งละหนึ่งเดือนหรือนานกว่านั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ และโลก การวิจัยนี้จึงมีความสำคัญสำหรับนักวางผังเมืองชายฝั่ง อาจมีแนวโน้มที่จะมุ่งเน้นไปที่การเตรียม พร้อมสำหรับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดโต่งจากน้ำท่วมเรื้อรัง.


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2149342

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 27-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


เฮดังๆ "กลุ่มป่าแก่งกระจาน" ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว

"แก่งกระจาน" ได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 โดยถือเป็นแหล่งมรดกโลกแห่งที่ 6 ของไทย



วันนี้ (26 ก.ค. 64) ในที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ซึ่งมีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพ โดยจัดประชุมผ่านระบบทางไกล ได้มีมติขึ้นทะเบียน "กลุ่มป่าแก่งกระจาน" บรรจุเข้าไปเป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ

การนำเสนอกลุ่มป่าแก่งกระจานเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลก มีการนำเสนอมาแล้ว 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2553 โดยถูกเลื่อนการพิจารณามา 2 ครั้ง โดยครั้งแรกปี 2560 มีปัญหาเรื่องการปักปันเขตแดนไทย-เมียนมา จนต้องเลื่อนพิจารณามาแล้วรอบหนึ่ง ต่อมาในปี 2562 ในคราวการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 43 ณ กรุงบากู สาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน ที่ประชุมฯ เลื่อนการพิจารณาเป็นครั้งที่ 2 และให้ไทยกลับไปทำเอกสารเพิ่มเติมและส่งกลับมาพิจารณาใหม่โดยให้เวลา 3 ปี

ทั้งนี้มติขอให้ไทยดำเนินการเกี่ยวกับชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน 3 เรื่อง ได้แก่ 1) ข้อเรียกร้องของชุมชนกะเหรี่ยง 2) การแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชน และ 3) การรับฟังความคิดเห็นต่อการเสนอพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นมรดกโลก

กระทั่งเข้าสู่การประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญครั้งที่ 44 ในปี พ.ศ. 2564 โดยในครั้งนี้ พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจานได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ภายใต้เกณฑ์ข้อที่ 10 ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งนับเป็นความสำเร็จในการดำเนินการอนุรักษ์พื้นที่ถิ่นที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญสูงสุดสำหรับการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในถิ่นกำเนิด รวมไปถึงการเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดพันธุ์พืช และพันธุ์สัตว์ ที่มีคุณค่าโดดเด่นเชิงวิทยาศาสตร์ หรือ เชิงอนุรักษ์ระดับโลก

พื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน นับเป็นมรดกโลกแห่งที่ 6 ของประเทศไทย และเป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติแห่งที่ 3 ของไทย นับตั้งแต่การขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ ? ห้วยขาแข้ง ในปี พ.ศ. 2534 และ กลุ่มป่าดงพญาเย็น ? เขาใหญ่ ในปี พ.ศ. 2548

กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาตะนาวศรีมีพื้นที่ครอบคลุม 3 จังหวัด คือ จังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และ ประจวบคีรีขันธ์ ประกอบด้วยพื้นที่อุทยานแห่งชาติ 3 แห่ง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 1 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อุทยานแห่งชาติกุยบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี รวมพื้นที่ 2,938,909.84 ไร่

ด้วยตำแหน่งที่ตั้งอยู่ในเขตนิเวศอินโดมาลายันซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภูมิศาสตร์ย่อยของพืชพันธุ์สัตว์ป่าหลายเขตมาประจบกัน อีกทั้งยังเป็นผืนป่าขนาดใหญ่ที่ต่อเนื่องไปกับเทือกเขาตะนาวศรี ทำให้กลุ่มป่าแก่งกระจานเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่สุดแห่งหนึ่งในทวีปเอเชีย และบริเวณต้นแม่น้ำเพชรบุรียังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์เลื้อคลานขนาดใหญ่ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์อย่างจระเข้น้ำจืด (Siamese Crocodile) ซึ่งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน


https://mgronline.com/travel/detail/9640000073173


*********************************************************************************************************************************************************


ฝนพันปี! ตกหนัก-น้ำท่วมขยายวงกว้าง! กรีนพีซ ชี้สัญญาณวิกฤตสภาพภูมิอากาศโลกยกระดับรุนแรง



สภาพฝนที่ตกหนักและน้ำท่วมครั้งใหญ่ทางตอนกลางของมณฑลเหอหนานในจีน ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก เมืองเจิ้งโจวได้รับความเสียหายหนัก

นับเป็นเหตุการณ์ฝนตกหนักที่เหอหนานครั้งหนักที่สุดในรอบ 1,000 ปี รวมทั้งมีรายงานข่าวอีกว่าตรวจพบรอยร้าวที่เขื่อนซึ่งเสี่ยงต่อการพังทลาย

ก่อนหน้านี้ยังมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นในหลายแห่งทั่วโลก เช่น ออสเตรีย เบลเยี่ยม เยอรมนี ลักแซมเบิร์ก อินเดีย จีน และล่าสุด คือจังหวัดชุมพร ของประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบ



ดร.หลิว จวินเอี๋ยน หัวหน้าโครงการสภาพภูมิอากาศและพลังงาน กรีนพีซเอเชียตะวันออก กล่าวว่า ความเสี่ยงและความไม่แน่นอนได้กลายเป็นคุณลักษณะใหม่ของแบบแผนสภาพอากาศ ดังที่เรารู้กันว่าเมื่ออุณหภูมิผิวโลกร้อนขึ้นทำให้สภาพอากาศแปรปรวนและรุนแรงถึงชีวิตมากขึ้น

"รัฐบาลท้องถิ่นต้องรับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างเร่งด่วน และจะต้องมีความกล้าหาญที่จะต่อสู้และกอบกู้วิกฤตสภาพภูมิอากาศด้วย ซึ่งหากเราไม่ทำอะไรเลยก็จะเกิดวิกฤตกว่าเดิมในอนาคต ซึ่งสร้างหายนะเหมือนกับเหตุการณ์นี้ ซึ่งในภาพรวมเรายังมีความเข้าใจถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว และความเสี่ยงของปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่เพียงพอ"

ประเทศไทยเองก็ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน เจิมปากา ที่พัดถล่มตำบลพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร ฝนที่ตกหนักและน้ำป่าไหลหลาก ชุมชนต้องอพยพหนีออกจากพื้นที่ สร้างความเสียหายต่อบ้านเรือน ทรัพย์สินและสวนผลไม้ของชุมชน

พายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงมากขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นสัญญาณเตือนที่เด่นชัดถึงวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญ สิ่งที่น่ากังวลคือเรากำลังจะเจอปัญหาเรื่อง "ความเป็นธรรมด้านสภาพภูมิอากาศ" มากขึ้น เราจะเห็นว่ากลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวนอย่างรุนแรงนี้คือกลุ่มผู้มีรายได้น้อย กลุ่มชายขอบ ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าถึงทรัพยากรในการเอาตัวรอดจากวิกฤตดังกล่าวได้น้อยกว่ากลุ่มผู้มีรายได้สูงที่เข้าถึงทรัพยากรได้มากกว่า

คำประกาศว่าด้วยภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศ (climate emergency declaration) เป็นกลยุทธเชิงนโยบายที่รัฐบาลหลายประเทศทั่วโลกและชุมชนวิทยาศาสตร์นำมาใช้เพื่อรับรู้ร่วมกันว่ามนุษยชาติกำลังเผชิญกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ คำประกาศแรกมีขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ.2559 จนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 รัฐบาลท้องถิ่นมากกว่า 1,400 แห่งใน 28 ประเทศทั่วโลกได้ประกาศภาวะฉุกเฉินด้านสภาพภูมิอากาศขึ้น


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9640000072805

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 27-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


โลกใต้ทะเล ของนักดำน้ำ ตอน2

"ริเชลิว" เป็นกองหินใต้น้ำกลางทะเลลึก ที่มีกระแสน้ำพัดผ่านพาเอาแพลงตอนมากมายให้ฟุ้งกระจายอยู่ทั่วมวลน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของกองหินเหล่านี้ ชักนำให้ฝูงปลามากมายมารวมตัวกัน ขนาดของฝูงปลายังบอกได้ถึงความสมบูรณ์ของอาหารบริเวณนั้น จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไมจึงพบปลานักล่าขนาดเล็กหลายฝูงที่นี่




https://www.mcot.net/view/uEBwnRSL

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 27-07-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก BBCThai


เกรตแบร์ริเออร์รีฟ มรดกโลกของออสเตรเลีย เผชิญปัญหาอะไรบ้าง


เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมาตั้งแต่ปี 1981 ... ที่มาของภาพ,GETTY IMAGES

เกรตแบร์ริเออร์ยังไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในบัญชีมรดกโลกของยูเนสโกที่ "ตกอยู่ในอันตราย" หลังจากที่รัฐบาลออสเตรเลียพยายามโน้มน้าวให้เกิดขึ้น

รายงานจากยูเนสโก หรือองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า ยังไม่มีการดำเนินการที่เพียงพอในการปกป้องแนวปะการังนี้จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโลก หรือควบคุมคุณภาพของน้ำให้ได้ตามเป้าหมาย

แต่คณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโกตัดสินใจให้เวลาออสเตรเลียมากขึ้น

ออสเตรเลียระบุว่า ได้รับปากที่จะมอบงบประมาณมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 7.27 หมื่นล้านบาท) เพื่อฟื้นฟูเกรตแบร์ริเออร์รีฟ

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ทางธรรมชาติของโลก เป็นหนึ่งในสถานที่ที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบมากที่สุดของออสเตรเลีย

แต่การฟอกขาวของปะการังและปัญหาอื่น ๆ ได้สร้างความเสียหายอย่างรวดเร็วต่อแนวปะการังขนาดใหญ่แห่งนี้


แนวปะการังนี้มีความพิเศษอย่างไร และเพราะอะไร

เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกมานาน 40 ปีแล้ว เพราะ "มีความสำคัญทางธรรมชาติและทางวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง"

ครอบคลุมความยาวกว่า 2,300 กิโลเมตร ตามแนวชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ประกอบด้วยแนวปะการังน้อยใหญ่ราว 3,000 แห่ง

นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในระบบนิเวศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพมากที่สุดในโลก เต็มไปด้วยพืชและสัตว์ทะเลจำนวนมากที่อาศัยอยู่ตามโครงสร้างของปะการังต่าง ๆ

เหล่านักวิทยาศาสตร์ต่างตกตะลึงกับความหลากหลายและความสวยงามของแนวปะการังแห่งนี้มานานหลายสิบปีแล้ว

ที่นี่มีปะการังอาศัยอยู่มากกว่า 400 ชนิด มีปลาราว 1,500 สายพันธุ์ และมีสิ่งมีชีวิตที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์หลายชนิดอย่างเต่าตนุยักษ์

โครงสร้างทางทะเลของแนวปะการังแห่งนี้ยังช่วยคุ้มครองชายฝั่งจากคลื่นและพายุขนาดใหญ่ด้วย


ทำไมจึงมีความเสี่ยง

ปัญหาโลกร้อนได้ทำให้แนวปะการังแห่งนี้สูญเสียปะการังไปแล้วราวครึ่งหนึ่งนับตั้งแต่ปี 1995

โดยเฉพาะปะการังประเภทที่มีขนาดใหญ่และมีกิ่งก้าน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยอยู่สิ่งมีชีวิตทางทะเลจำนวนมาก ได้รับความเสียหายอย่างมาก

ส่วนโพลิปของปะการัง (coral polyp) ซึ่งเป็นส่วนเนื้อเยื่อที่สำคัญของปะการังนี้ มีความอ่อนไหวต่ออุณหภูมิของน้ำทะเลมาก พวกมันอาจตายได้ ถ้าน้ำทะเลอุ่นเกินไป

เฉพาะในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แนวปะการังนี้เผชิญกับการฟอกขาวขนาดใหญ่แล้ว 3 ครั้ง

การฟอกขาวเกิดขึ้นเมื่อปะการังที่เผชิญกับความเครียดขับสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในปะการังและช่วยทำให้ปะการังมีสีสันและชีวิตชีวาออกไป ทำให้ปะการังกลายเป็นสีขาว กระบวนการนี้เรียกว่า การฟอกขาว


แนวปะการังนี้เผชิญกับการฟอกขาวครั้งใหญ่มาแล้ว 3 ครั้ง ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังเป็นสาเหตุให้เกิดการเซาะกร่อนของแนวปะการังและการเป็นกรดของน้ำทะเล

ถ้าน้ำทะเลที่เย็นขึ้นไหลกลับมา ก็เป็นไปได้ว่า แนวปะการังต่าง ๆ จะกลับคืนมาด้วย การฟื้นตัวอาจจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 10-15 ปี

แต่นักวิทยาศาสตร์เตือนว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟ กำลังเข้าใกล้การล่มสลาย

การศึกษาหนึ่งพบว่า หลังเกิดการฟอกขาวปะการังในปี 2016 และ 2017 มีปะการังที่โตเต็มวัยเหลืออยู่ไม่มากพอที่จะช่วยฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

ในปี 2019 ออสเตรเลียได้ลดระดับโอกาสการฟื้นตัวในระยะยาวของแนวปะการังนี้ลงมาอยู่ที่ระดับ "แย่มาก"

หน่วยงานอุทยานทางทะเลเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ระบุแล้วว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศยังคงเป็นความเสี่ยงมากที่สุด


ภัยคุกคามอื่น ๆ มีอะไรบ้าง

กิจกรรมของมนุษย์อย่าง การพัฒนาตามแนวชายฝั่ง และมลพิษจากการทำการเกษตร ส่งผลกระทบต่อแนวปะการังมานานหลายปีแล้วเช่นกัน

เศษตะกอน ไนโตรเจน และยาฆ่าแมลงจากพื้นที่การเกษตรใกล้เคียง ได้ไหลลงมาสู่แนวปะการัง ทำให้คุณภาพของน้ำแย่ลง และทำให้สาหร่ายขยายตัวเพิ่มขึ้น

การหาปลาผิดกฎหมายก็เป็นอีกปัญหาหนึ่ง และแม้แต่ตัวนักท่องเที่ยวเองก็ได้สร้างความเสียหายต่อปะการังขณะออกท่องเที่ยว


ปะการังฟอกขาวในปี 2017 .... ที่มาของภาพ,BRETT MONROE GARNER

ดาวมงกุฎหนาม ซึ่งเป็นนักล่าปะการังตามธรรมชาติ กลายเป็นปัญหาใหญ่เช่นกัน

เมื่อสัตว์ทะเลลดน้อยลง ดาวมงกุฎหนามขยายตัวมากขึ้น ปลาดาวเพียงตัวเดียวสามารถที่จะทำให้พื้นที่ปะการังขนาดใหญ่หายไปได้


มีการทำอะไรเพื่อปกป้องแนวปะการังนี้แล้วบ้าง

หลังการฟอกขาวปะการังในปี 2016 และ 2017 รัฐบาลออสเตรเลียได้รับปากว่าจะมอบงบประมาณช่วยเหลือมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (ประมาณ 1.21 หมื่นล้านบาท)

มาตรการต่าง ๆ รวมถึง ความพยายามในการกำจัดดาวมงกุฎหนามและจ่ายเงินให้เกษตรกรเพื่อลดการปล่อยน้ำจากการทำการเกษตรลงทะเล

แต่ผู้ไม่เห็นด้วยระบุว่า มาตรการเหล่านี้ไม่ได้ช่วยแก้ไขเรื่องสภาพภูมิอากาศโลก ซึ่งเป็นปัญหาหลักที่คุกคามอยู่


จำเป็นต้องทำอะไร

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า หนทางเดียวในการรักษาแนวปะการังไว้คือ การเร่งตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง

สหประชาชาติระบุว่า ต่อให้สามารถรักษาอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นเพียง 1.5 องศาเซลเซียส ปะการังราว 90% ของโลกจะยังคงตายอยู่ดี

อุณหภูมิโลกได้เพิ่มขึ้นแล้วราว 1 องศาเซลเซียส นับตั้งแต่ช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม

นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า มนุษย์ต้องเลิกใช้เชื้อเพลิงที่มาจากฟอสซิล

แม้ว่า ออสเตรเลียจะชี้ว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือปัญหาระดับโลก แต่ผู้ไม่เห็นด้วยระบุว่า รัฐบาลออสเตรเลียยังคงไม่เร่งดำเนินการ

ในฐานะหนึ่งในประเทศที่ส่งออกเชื้อเพลิงฟอสซิลรายใหญ่ที่สุดของโลก ออสเตรเลียยังคงสนับสนุนให้ใช้ถ่านหิน ก๊าซ และน้ำมัน โดยได้มีการโน้มน้าวให้ยูเนสโกขึ้นทะเบียนแนวปะการังนี้ให้อยู่ในกลุ่ม "ตกอยู่ในอันตราย"

รัฐควีนส์แลนด์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของแนวปะการังนี้ เป็นแหล่งที่มีอุตสาหกรรมถ่านหินมากที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

ออสเตรเลีย รับปากว่าจะตัดลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 26% จากระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปี 2005 ให้ได้ภายในปี 2030 แต่สหประชาชาติระบุว่า ออสเตรเลียยังห่างไกลจากเป้าหมายนั้น

จนถึงขณะนี้ออสเตรเลียยังคงไม่ยอมรับปากว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 แม้ว่า สหรัฐฯ, สหราชอาณาจักร และหลายชาติในเอเชียและยุโรปรับปากแล้วก็ตาม


https://www.bbc.com/thai/international-57962757
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:22


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger