เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม 2563

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งในระยะนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงไว้ด้วย สำหรับลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนต่อเนื่อง สำหรับหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้น และเคลื่อนไปทางตะวันตกเฉียงเหนือเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน

อนึ่งพายุโซนร้อน ?หว่องฟ้ง? (VONGFONG) บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 15 - 16 พ.ค. 63 บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงเกิดขึ้นบางพื้นที่ เนื่องจากลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้าปกคลุมประเทศไทยตอนบน

ส่วนในช่วงวันที่ 17-21 พ.ค. 63 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอล จะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และจะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศอินเดียตอนบน


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 17-21 พ.ค. 63 ขอให้ประชาชนภาคใต้ฝั่งตะวันตกระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


"เกาะลิบง" ใช้บทเรียน "มาเรียม" วาง "เขตอภัยทาน" อนุรักษ์พะยูน


ภาพชาวบ้านจังหวัดกระบี่ให้การช่วยเหลือ มาเรียม พะยูนเคราะห์ร้ายพลัดหลงแม่เกยตื้น ก่อนนำไปปล่อยในทะเลตรัง กระทั่งสิ้นใจตายเพราะกินพลาสติก.


ยังจำกันได้ไหม...? ช่วงปลายเดือน เม.ย.62 ที่ผ่านมา

ปธน.บราซิลยันเตรียมคลายล็อกดาวน์โควิด แม้ยอดตายยังสูงจนโลงไม่พอ
'สมุย' เปิดเกาะ สนามบินกลับมาให้บริการ จัดเข้มจุดตรวจคัดกรอง
"สาธิต" ตรวจเยี่ยมภูเก็ต พบเป็นศูนย์ 13 วันแล้ว พร้อมเปิดเกาะรับ นทท.
ลูกพะยูนกำพร้าเพศเมียที่ชื่อว่า "น้องมาเรียม" วัย 7-8 เดือน พลัดหลงแม่เข้ามาเกยตื้นในพื้นที่ จ.กระบี่ ได้ครองใจผู้คนในโซเชียลเป็นอย่างมาก เพราะความน่ารักและเรื่องราวของความ สู้ชีวิต เพื่อความอยู่รอด

เจ้าหน้าที่นำไปเลี้ยงในพื้นที่ธรรมชาติเขาบาตู หมู่เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง มีชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันอนุบาลให้สามารถเติบโตและมีชีวิตรอดในท้องทะเล

จนเกิดเป็นเรื่องราวความผูกพันระหว่างมนุษย์และสัตว์ทะเลตัวหนึ่ง ส่งผลทำให้มีกำลังใจจากผู้คนส่งไปยัง ?มาเรียม? มากมาย มีการจัดโครงการเพื่อระดมทุนช่วยเหลือ

มีการนำเสนอข่าวพัฒนาการของเจ้ามาเรียมอย่างต่อเนื่อง จนผู้คนในสังคมรับรู้แนวคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทะเลไทย ผ่านการเฝ้ามองชีวิตของมาเรียมเป็นอย่างมาก


ป้ายที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง จ.ตรัง สังกัดกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

แต่ความหวังของมนุษย์กลับมลายหายไป เมื่อ "มาเรียม" ต้องจากโลกนี้ไปอย่างน่าเสียดาย สร้างความสะเทือนใจให้กับผู้คนเป็นอย่างมาก ผลชันสูตรของทีมสัตวแพทย์ ลงความเห็น "มาเรียม" จากเราไปด้วยอาการช็อก

ที่สำคัญพบเศษพลาสติกเล็กๆหลายชิ้นขวางลำไส้ จนอุดตันบางส่วนและอักเสบ ทำให้มีแก๊สสะสมเต็มทางเดินอาหาร แถมติดเชื้อในกระแสเลือด และปอดเป็นหนองด้วย

การตายของ "น้องมาเรียม" ทำให้ผู้คนตระหนักว่า มนุษย์จะต้องเลือกใช้ชีวิตในแบบที่ไม่รบกวนสัตว์และธรรมชาติมากขึ้น รวมไปถึงกระตุ้นให้ภาครัฐเอาจริงกับการออกกฎหมายด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้มีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีก

มาถึงวันนี้...วันเวลาผ่านไปครบขวบปีเศษ เรื่องราวสะเทือนใจเกี่ยวกับ ?น้องมาเรียม? ยังไม่จากหาย ประกอบกับมีวิกฤติเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาดจนต้องปิดเกาะ ส่งผลทำให้ทะเลตรังอุดมสมบูรณ์ น้ำใสทะเลสวย


เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภาคีเครือข่ายประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบง ร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาระยะทาง 1 กม. บริเวณแหลมจุโหย.

เจ้าหน้าที่อุทยานฯพลิกวิกฤติเป็นโอกาส ถอดบทเรียน "น้องมาเรียม" จัดวางทุ่นไข่ปลายาว 1 กม.เนื้อที่กว่า 2,000 ไร่ บริเวณแหลมจุโหย ต.เกาะลิบง เป็นพื้นที่ที่มีแหล่งหญ้าทะเลใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

อีกทั้งพบว่ามีฝูงพะยูนอาศัยมากที่สุดในประเทศด้วย จึงได้กำหนด "เขตอภัยทาน" เป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำ และที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำหายาก

"สิ่งที่คาดหวังคือ...อยากให้ตรงนี้เป็นเขตที่เหล่าสัตว์น้ำได้อยู่อย่างสงบจริงๆ ทางเจ้าหน้าที่ได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวเกาะลิบงเรียบร้อยแล้ว ส่วนใหญ่ก็เห็นด้วยที่ให้มีเขตอภัยทานขึ้น"

เป็นคำกล่าวของ นายชัยพฤกษ์ วีระวงศ์ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง ภายหลังนำเจ้าหน้าที่ร่วมกับตัวแทนประมงพื้นบ้าน และชาวบ้านเกาะลิบงร่วมกันวางทุ่นไข่ปลาบริเวณแหลมจุโหย หมู่ 1 ต.เกาะลิบง

เป้าหมายเพื่อกำหนดพื้นที่คุ้มครองแหล่งหญ้าทะเล พะยูน รวมถึงเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์ทะเลหายาก ไม่ให้ได้รับผลกระทบจากการทำประมง การท่องเที่ยว และการขนส่งสินค้าทางทะเล

พร้อมเดินหน้าบริหารจัดการคุ้มครองพื้นที่ให้เข้มข้นอย่างเป็นระบบและครอบคลุม เพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรชายฝั่ง และสัตว์ทะเลหายากประเภทเต่าทะเล โลมา และพะยูน


นักท่องเที่ยวแห่ชมพะยูน บนยอดเขาโต๊ะเต๊ะ หมู่ 4 บ้านบาตูปูโต๊ะ ที่มองเห็นพะยูนว่ายน้ำเข้ามาหากินได้ชัดเจน.

"เป็นการร่วมมือกับพี่น้องชาวเกาะลิบง เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กำหนดเป็นเขตอภัยทาน ห้ามล่าหรือทำการประมง ขณะเดียวกันยังเป็นแหล่งที่พะยูนอยู่กันเป็นกลุ่ม 20-30 ตัว จึงต้องสงวนที่ตรงนี้พิเศษ" นายชัยพฤกษ์ กล่าวย้ำ

นายชัยพฤกษ์ กล่าวด้วยว่า ก่อนหน้านี้มีการใช้โดรนบินสำรวจก็พบฝูงพะยูนประมาณ 10-20 ตัว กระจายตัวเป็นเดี่ยวและเป็นคู่บริเวณอ่าว ทุ่งจีน หน้าเขาบาตูปูเต๊ะ ตั้งแต่ต้นปีเจ้าหน้าที่พบเจอพะยูนคู่แม่ลูกทั้งหมด 15 คู่ เพิ่มมากกว่าปี 62

จะเห็นได้ว่าสถิติการเพิ่มประชากรของพะยูนมีมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้จากข้อมูลมีประชากรพะยูนรวมแล้วไม่ต่ำกว่า 250 ตัว ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ทำให้ธรรมชาติสงบขึ้นมีเวลาพักฟื้นฟู

เพราะกิจกรรมของมนุษย์น้อยลงทำให้สัตว์ทะเลหายากต่างๆมีความสงบ ภัยคุกคามน้อยลง พะยูน เต่าทะเล ปลาโลมา ช่วงนี้จะเห็นบ่อยมากขึ้น

ส่วนแหล่งหญ้าทะเลที่มีเนื้อที่ประมาณ 18,000 ไร่ ตอนนี้ทางเขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบงได้วางทุ่นไข่ปลาไปแล้ว 40-50 ลูก ตั้งแต่บริเวณทุ่งจีน หาดมดตะนอย หน้าแหลมจุโหย รวมทั้งหมด 7,000 ไร่

เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ร่วมกับพี่น้องชาวเกาะลิบง พลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างเหมาะสมยิ่ง.


https://www.thairath.co.th/news/local/south/1845084

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 16-05-2020
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Greennews


ปิดอุทยานให้ธรรมชาติฟื้น ดีแต่ไม่ยั่งยืน นักอนุรักษ์แนะจัดท่องเที่ยวให้เหมาะสม ................. โดย ณิชา เวชพานิช

นักอนุรักษ์ชี้ นโยบายปิดอุทยานนั้นดี แต่ไม่ใช่ทางออกที่ยั่งยืน แนะควรจำกัดจำนวนคนและส่งเสริมคุณภาพนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติ หลังกรมอุทยานฯ ประกาศให้ 133 แห่งทั่วไทยต้องมีช่วงปิดฟื้นฟูธรรมชาติไม่น้อยกว่า 3 เดือนทุกปี ตามแนวคิดใหม่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


ฝูงช้างออกหากิน ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี // ขอบคุณภาพจาก: ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2563 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วราวุธ ศิลปอาชา เผยบนเพจเฟซบุ๊กถึงแนวคิดปิดอุทยานแห่งชาติ 133 แห่งทั่วไทย ไม่ต่ำกว่า 3 เดือนทุกปีเพื่อให้ธรรมชาติได้พักฟื้น หลังพบทรัพยากรธรรมชาติฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัดเพราะปราศจากการรบกวนจากมนุษย์ในช่วงอุทยานปิดเพื่อลดการแพร่ระบาดไวรัสตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม

นับตั้งแต่กรมอุทยานแห่งชาติ ประกาศปิดอุทยานแห่งชาติทุกแห่งทั่วประเทศ เพจเฟซบุ๊กฝ่ายประชาสัมพันธ์ของอุทยานต่างๆ ได้เผยภาพและคลิปสัตว์ป่าในพื้นที่ออกหากินอย่างคึกคักอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะอุทยานทางบก และอุทยานแห่งชาติทางทะเล เช่น พบฝูงช้างออกหากิน ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และฝูงโลมาปากขวดนับร้อยตัวบริเวณใกล้เกาะบอน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

"แนวคิดนี้อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลร่วมกับนักวิชาการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อวางแผนการปิดอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งในช่วงเวลาที่เหมาะสม ให้เกิดประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป" วราวุธ กล่าว

อย่างไรก็ตาม แนวคิดดังกล่าวเป็นที่ตั้งคำถามของนักอนุรักษ์หลายรายถึงประสิทธิภาพ ผศ. ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการทางทะเล โพสเฟซบุ๊กว่า เห็นด้วยกับนโยบายปิดอุทยาน แต่จะต้องปฏิบัติด้วยความรอบคอบและครบถ้วน เนื่องจากอุทยานแต่ละแห่งมีลักษณะแตกต่างกัน เช่น บางแห่งมีการปิดอุทยานเป็นธรรมเนียมทุกปีอยู่แล้ว บางแห่งมีนักท่องเที่ยวมาตลอดทั้งปี แต่ละที่มีศักยภาพรับนักท่องเที่ยวได้แตกต่างกัน จึงมีรายละเอียดหลายประการต้องพิจารณา โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุทยานทางทะเล ซึ่งจะกระทบกับการท่องเที่ยวอันเป็นรายได้หลักของประเทศ นอกจากนี้ เขาย้ำว่าสิ่งสำคัญที่สุดที่ต้องทำควบคู่คือการจำกัดจำนวนผู้มาเยือนในเวลาหนึ่งไม่ให้มากเกินไป



ฝูงโลมาปากขวดนับร้อยตัวบริเวณใกล้เกาะบอน อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน // ขอบคุณภาพจาก: สำนักอุทยานแห่งชาติ ? National Parks of Thailand

อย่างไรก็ดี เอกโชค บูรณอนันต์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายกิจกรรมและการศึกษา สมาคมอนุรักษ์นกและธรรมชาติแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การปิดอุทยานจะปิดกั้นการมีส่วนร่วมดูแลธรรมชาติของภาคประชาชน โดยนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์นับเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยเก็บข้อมูลและเฝ้าดูแลรักษาธรรมชาติ เห็นได้จากเมื่อต้นเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี เปิดให้นักท่องเที่ยวดำน้ำได้หลังการปิดเพราะสถานการณ์โควิด แทนที่จะพบภาพธรรมชาติฟื้นฟู นักดำน้ำกลับพบหลักฐานการลักลอบเข้ามาทำประมงบริเวณกองหินชุมพรช่วงไร้เรือนักท่องเที่ยว พวกเขาพบว่าปลาในบริเวณดังกล่าวหายไปผิดธรรมชาติ พร้อมพบซากลอบปลาและซากอวนในบริเวณ

เอกโชคยังเสริมว่า การปิดอุทยานอาจกระทบวัตถุประสงค์หลักของสถานที่ ซึ่งเป็นการเปิดให้ผู้คนเข้าไปสัมผัสและเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ โดยจะกระทบกับการจัดกิจกรรมเดินป่าเรียนรู้ธรรมชาติของนักเรียน ซึ่งเปิดโอกาสให้เยาวชนเรียนรู้ธรรมชาติจากของจริง

ทางออกที่ยั่งยืนสำหรับการฟื้นฟูธรรมชาติอาจไม่ใช่เพียงการปิดรับนักท่องเที่ยว นัท สุมนเตมีย์ ช่างภาพใต้น้ำ ให้ความเห็นว่า

"ผมว่าสิ่งที่เราควรจะต้องพิจารณามากกว่าคือ อุทยานแห่งชาติในแต่ละที่ได้มีการจัดการ หรือให้ความรู้ในด้านธรรมชาติกับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปในเชิงรุกมากกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่"


เจ้าหน้าที่อุทยานให้ความรู้เรื่องไฮยีน่าระหว่างกิจกรรมเดินชมอุทยาน ณ อุทยานแห่งชาติ Zion สหรัฐฯ นักท่องเที่ยวสามารถเข้าร่วมได้ฟรีทุกวัย / สำนักข่าวสิ่งแวดล้อม / ณิชา เวชพานิช

เขายกตัวอย่างอุทยานในต่างประเทศซึ่งมีการอบรมนักท่องเที่ยวว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เช่น อุทยานแห่งชาติในสหรัฐฯ บางแห่งที่เป็นถิ่นอาศัยของหมี นักท่องเที่ยวจะต้องเข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวเวลาอยู่ในป่าก่อนเข้าชม นอกจากนี้อุทยานต่างๆ จะมีกิจกรรมนำโดยเจ้าหน้าที่ให้เลือกเข้าร่วมได้หลากหลายตามความสนใจ เช่น เดินชมอุทยาน ดูนก และถ่ายภาพ เป็นการส่งเสริมความรักและเข้าใจในธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

"จากประสบการณ์ที่ได้ไปอุทยานแห่งชาติอื่นๆ ในหลายๆ พื้นที่ทั่วโลกมาสิ่งที่ผมพบเห็นอย่างหนึ่งก็คือ การทำสื่อเพื่อสื่อความหมายธรรมชาติของอุทยานไทยนั้นยังทำได้ไม่ดีนักเมื่อเทียบกับหลายๆ ประเทศ และเราไม่เคยเน้นในเรื่องของความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ให้กับนักท่องเที่ยวเลย"


https://greennews.agency/?p=21047

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 00:22


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger