เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรง และฝนตกหนักในระยะนี้ไว้ด้วย

ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากมีฝนตกหลายพื้นที่ และการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 16 ? 17 พ.ค. 67 ลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนเข้าปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ในขณะที่ประเทศไทยมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 19 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางจะพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนอง และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

หลังจากนั้นในวันที่ 20 - 21 พ.ค. 67 ลมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับจะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวมะตะบัน ประเทศเมียนมา ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในด้านตะวันตกของภาคเหนือและภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 16 ? 17 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย

ส่วนในช่วงวันที่ 18 ? 21 พ.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


ประเทศใดร้อนและหายใจยากสุดในภูมิภาค แล้วประเทศไทยติดอันดับ 1 ใน 10 ไหม?

ความร้อนระอุในยุคโลกเดือดที่ประเทศต่าง ๆ ทั่วเอเชียต่างทำลายสถิติกันอย่างถล่มทลาย



โดยในเดือนที่ผ่านมา ฟิลิปปินส์ มีอุณหภูมิสูงจนรู้สึกได้ว่าร้อนถึง 45 องศาเซลเซียส จนต้องปิดโรงเรียนไป 47,000 แห่ง กัมพูชา ก็มีอุณหภูมิสูงแตะ 43 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงสุดในรอบ 170 ปี เมียนมา ก็มีการวัดในบางพื้นที่พบว่าอุณหภูมิบางพื้นที่เกือบแตะ 50 องศาเซลเซียส เวียดนาม มีอุณหภูมิสูงขึ้นจนเกิดไฟไหม้ป่ากินบริเวณกว้าง และยิ่งทำให้เพิ่มความร้อนขึ้นไปอีก ส่วน ประเทศไทย ก็ไม่แพ้ใคร เพราะบางพื้นที่ทางภาคเหนือวัดได้ว่ามีอุณหภูมิแตะ 44 องศาเซลเซียส ซึ่งร้อนมากกว่าปีที่แล้ว 1-3 องศาเซลเซียส ทำให้ดูเหมือนเราจะก้าวข้าม 1.5 C หรือ 1.5 องศาเซลเซียส ที่เราตั้งเป้าหมายไว้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งท่านเลขาธิการ UN คงจะกล่าวผิดไปที่ว่า "มวลมนุษยชาติได้แง้มประตูสู่ขุมนรกอเวจีแล้ว" เพราะที่จริงน่าจะบอกว่า "มวลมนุษยชาติได้ทลายประตูสู่ขุมนรกอเวจี และก้าวลงไปขาหนึ่งแล้ว" น่าจะสะท้อนสถานการณ์จริงมากกว่า

นอกจากอากาศที่ร้อนจัด มาดูเรื่อง "มลพิษในอากาศ" ว่า ประเทศใดติดอันดับเมืองที่หายใจไม่ออกมากที่สุด จากการรายงานของ IQAir องค์กรที่จับตามองสภาพอากาศในเมืองต่าง ๆ ทั่วโลกแบบ Realtime โดยมีอุปกรณ์วัดสภาพอากาศใน 120 เมืองใหญ่ทั่วโลก รายงานล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม 2024 เอาไว้ว่า 10 อันดับเมืองที่อากาศมีมลพิษสูงสุด จนแทบหายใจไม่ได้ ได้แก่ อันดับ 1 เดลี ประเทศอินเดีย มีความเข้มข้นของ PM 2.5 อยู่ที่ 70.5 หน่วย สูงกว่ามาตรฐาน WHO 14.1 เท่า อันดับ 2 หางโจว ประเทศจีน มีความเข้มข้นของ PM 2.5 อยู่ที่ 47 หน่วย ซึ่งสูงกว่ามาตรฐาน WHO 9.4 เท่า อันดับ 3 ฮานอย ประเทศเวียดนาม มีความเข้มข้นของ PM 2.5 อยู่ที่ 46.9 หน่วย ใกล้เคียงเมืองหางโจว อันดับ 4 กาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล มีความเข้มข้นของ PM 2.5 อยู่ที่ 42.1 หน่วย สูงกว่ามาตรฐาน WHO 8.4 เท่า อันดับ 5 ย่างกุ้ง ประเทศเมียนมา มีความเข้มข้นของ PM 2.5 อยู่ที่ 38 หน่วย สูงกว่ามาตรฐาน WHO 7.6 เท่า และตามมาด้วย อันดับ 6 ธากา ประเทศบังกลาเทศ อันดับ 7 นานามา ประเทศบาห์เรน อันดับ 8 ดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อันดับ 9 โดฮา ประเทศกาตาร์ และอันดับ 10 คือ เซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน

โชคดีที่กรุงเทพฯ ไม่ติดอันดับ 1 ใน 10 และเราน่าจะมีความเข้มข้นของ PM 2.5 อยู่ที่ราว 18 หน่วย แม้ว่าจะดีกว่าสุดยอดเมืองหายใจไม่ออกทั้ง 10 อยู่มาก แต่ก็ยังสูงกว่ามาตรฐานความปลอดภัยของ WHO อยู่ 3-4 เท่า ดังนั้นถึงเวลาหรือยัง ที่เราจะร่วมมือกันช่วยให้การมีชีวิต Outdoor เย็นขึ้น ปลอดภัยขึ้น มีคุณภาพที่ดีขึ้น ไม่อย่างนั้นปีหน้าเราอาจจะใช้ชีวิตอยู่นอกอาคารไม่ได้ หรือ
ทุก ๆ บ้านอาจจะต้องมีชุดอวกาศขององค์การนาซา ที่สามารถกันความร้อน และต้องอุ้มเครื่องปรับอากาศ กับมีถังออกซิเจนไว้หายใจ แบบนักบินอวกาศอีกด้วย


https://www.dailynews.co.th/news/3434577/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ยังไม่ปิดจุดดำน้ำเกาะยูง หมู่เกาะพีพี สำรวจแล้วฟอกขาวเล็กน้อย

กระบี่ - ยังไม่ปิดแหล่งดำน้ำหมู่เกาะพีพี อุทยานยังเปิดให้เที่ยวดำน้ำ ชมปะการังได้ตามปกติ หลังสำรวจพบการฟอกขาวปะการังมีเพียงเล็กน้อย



นายยุทธพงค์ ดำศรีสุข หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ดำน้ำสำรวจปะการังบริเวณเกาะยูง หมู่เกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ ซึ่งเป็นแหล่งปะการังแหล่งใหญ่ เป็นแปลงปะการังพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ที่ปิดห้ามทำกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวมากว่า 10 ปี เพื่อให้ปะการังฟื้นตัว และเพิ่งกลับมาเปิดให้เข้าไปทำกิจกรรมเมื่อไม่นานมานี้

จากการสำรวจที่ระดับน้ำ 2-5 เมตร อุณหภูมิน้ำทะเล 29-30 องศา พบปะการังสีซีด ประมาณร้อยละ 10 ประเภท ปะการังโขด ปะการังวงแหวน ปะการังรังผึ้ง พบการฟอกขาวเล็กน้อย ปะการังส่วนใหญ่มีความสมบูรณ์สวยงาม มีสัตว์ ปลาอาศัยเป็นจำนวนมาก

นายยุทธพงค์ เปิดเผยอีกว่า สถานการณ์ปะการังฟอกขาวที่ระดับน้ำลึก บริเวณเกาะยูง หมู่เกาะพีพี ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ สถานการณ์ไม่รุนแรง ไม่พบการฟอกขาว พบเพียงมีสีซีดไม่มาก ยังคงเปิดให้นักท่องเที่ยวดำน้ำเที่ยวชมตามปกติ อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ยังคงเฝ้าระวัง ดำน้ำสำรวจแหล่งปะการังในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง หากพบมีการฟอกขาวเกินร้อยละ 50 จะต้องประกาศปิดชั่วคราว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนนี้อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้นบริเวณเกาะไก่ด้านทิศเหนือ เกาะไก่ด้านทิศตะวันออก เกาะไก่ด้านทิศตะวันตก เกาะปอดะทิศเหนือ เกาะแดง อ่าวไร่เลย์ เกาะยาวาซัม และแนวปะการังโดยรอบเป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคมเป็นต้นไป

จนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลายลง เพื่อลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆ จากมนุษย์ที่อาจเป็นการเร่งให้ปะการังเกิดการฟอกขาวในพื้นที่ไปมากกว่าเดิม ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการังในขณะเกิดการฟอกขาว และเป็นการให้ปะการังได้พักฟื้นตัว จนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลายลง


https://mgronline.com/south/detail/9670000041933

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


ทร.แจงปมเสี่ยงเสียดินแดนทางทะเล หลังกัมพูชาสร้างเขื่อนกันคลื่น



14 พ.ค.2567 - ?พลเรือตรี วีรุดม ม่วงจีน โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยว่า ภารกิจหน้าที่ของกองทัพเรือ ที่สำคัญคือ การรักษาสิทธิและอธิปไตยตามแนวเขตแดน ตามการกำหนดเขตแดนโดยกระทรวงการต่างประเทศ ทั้งนี้ ในกรณีที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูลว่า ฝ่ายกัมพูชาได้มีการสร้างเขื่อนกันคลื่น ซึ่งอาจส่งผลให้กัมพูชาอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับอาณาเขตทางทะเลของไทยนั้น การสร้างเขื่อนกันคลื่นของฝ่ายกัมพูชา ได้มีการเริ่มก่อสร้างจากพื้นที่ฝั่งด้านกัมพูชา ในช่วงปี พ.ศ.2540 - 2541 โดยหน่วยงานของกองทัพเรือในพื้นที่ ได้มีการตรวจพบและรายงานขึ้นมา กองทัพเรือ จึงได้ให้หน่วยเทคนิค คือ กรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ ตรวจสอบพบว่ามีการสร้างเขื่อนกันคลื่นจริง จึงได้แจ้งให้กระทรวงการต่างประเทศทราบ และกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีการยื่นบันทึกช่วยจำ และหนังสือประท้วงฝ่ายกัมพูชา และขอให้รื้อถอนเขื่อนกันคลื่นดังกล่าวออกไป

โดยได้มีหนังสืออย่างเป็นทางการออกไปแล้วจำนวน 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2541 วันที่ 30 พฤศจิกายน 2541 และล่าสุดเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2564 ทั้งนี้นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2541 ที่ กระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือทักท้วงกรณีดังกล่าวไป ทางกัมพูชาได้หยุดการก่อสร้าง และไม่มีการสร้างเพิ่มเติมแต่อย่างใด

โฆษกกองทัพเรือ ยืนยันว่า กองทัพเรือ ยังคงดำรงภารกิจในการรักษาสิทธิ อำนาจอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ อย่างต่อเนื่อง โดยได้จัดเรือและอากาศยาน ลาดตระเวน เฝ้าตรวจ และแสดงกำลังเหนือพื้นที่ทางทะเลที่อ้างสิทธิ์ มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของชาติ และความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศ


https://www.thaipost.net/hi-light/586773/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์


อุทยานแห่งชาติฯพีพี เร่งปิดจุดดำน้ำตื้น-ดำน้ำลึกบางจุด หลังพบปะการังฟอกขาว



14 พ.ค.2567- นายยุทธพงค์ ดำศรีสุข หน.อช.หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี เปิดเผยว่า ตามข้อสั่งการ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช กำชับให้หน่วยงาน อุทยานแห่งชาติทางทะเล ติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างใกล้ชิด พร้อมให้นโยบายดูแลรักษาระบบนิเวศทางทะเลอย่างเข้มข้น สำหรับสาเหตุสำคัญของการเกิดปะการังฟอกขาวนั้น เกิดจากสภาพแวดล้อมน้ำทะเลผิดปกติ อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น เป็นผลกระทบมาจากปรากฏการณ์เอลนีโญ โดยปรากฏการณ์เอลนีโญ เกิดจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งส่งผลให้อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้น อีกทั้งยังมีปัจจัยจากการกระทำของมนุษย์เข้ามาส่งผลกระทบเพิ่มมากขึ้น เช่น คราบน้ำมันจากเรือโดยสาร สารบางชนิดในครีมกันแดดที่ส่งผลกระทบต่อปะการัง โดยอุณหูมิเฉพาะในช่วงเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา น้ำทะเลมีอุณหภูมิสูงขึ้น อุณหภูมิ 30-32 องศา ทำให้ปะการังเริ่มมีสีซีดและเกิดการฟอกขาว ภาวะที่ปะการังมีสีซีดจางลง จนเห็นเป็นสีขาว เป็นผลมาจากการสูญเสียสาหร่ายที่ชื่อว่า ซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) ที่อาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อของปะการัง ซึ่งเมื่อใดที่สภาพแวดล้อมในทะเลมีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดสภาวะไม่เหมาะสม สาหร่ายดังกล่าวจะออกจากเนื้อเยื่อของปะการังเพื่อความอยู่รอด ส่งผลให้ปะการังเหลือเพียงเนื้อเยื่อใส เห็นสีขาวของโครงสร้างหินปูนที่อยู่ภายใน และทำให้ปะการังตายในที่สุด

โดยในวันที่ 12 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้ดำเนินการลงพื้นที่สำรวจบริเวณที่ได้รับรายงานว่าพบเจอปะการังฟอกขาว ผลปรากฏ ดังนี้

1.บริเวณเกาะแดง อุณหภูมิน้ำทะเล 32 องศาเซลเซียส ที่ระดับความลึก 4 เมตร พบปะการังฟอกขาว 60% มีสีซีด 20 % ชนิดปะการังที่พบการฟอกขาว ได้แก่ 1.ปะการังโขด (Porites sp.) 2. ปะการังวงแหวน (Favia sp.) 3.ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) 4.ปะการังเขากวาง (Acropora sp.)

2.บริเวณเกาะไก่ (อ่าวค้างคาว) อุณหภูมิน้ำทะเล 32 องศาเซลเซียส ที่ระดับความลึก 2 เมตร พบปะการังฟอกขาว 60 % ชนิดปะการังที่พบการฟอกขาว ได้แก่ 1. ปะการังเขากวาง (Acropora sp.)

3.บริเวณเกาะไก่ด้านทิศเหนือ อุณหภูมิน้ำทะเล 32 องศาเซลเซียส ที่ระดับความลึก 2 ? 3 เมตร พบปะการังฟอกขาว 70 % ปะการังมีสีซีด 5 % ชนิดปะการังที่พบการฟอกขาว ได้แก่ 1. ปะการังโขด (Porites sp.) 2. ปะการังเขากวาง (Acropora sp.)

4.บริเวณเกาะปอดะด้านทิศเหนือ (หน้ามาตังหมิง) อุณหภูมิน้ำทะเล 32 องศาเซลเซียส ที่ระดับความลึก 2 เมตร พบปะการังฟอกขาว 70 % ปะการังมีสีซีด 10 % ชนิดปะการังที่พบการฟอกขาว ได้แก่ 1. ปะการังโขด (Porites sp.) 2. ปะการังเขากวาง (Acropora sp.)

5.บริเวณเกาะปอดะ (อ่าวปูหยา) อุณหภูมิน้ำทะเล 32 องศาเซลเซียส ที่ระดับความลึก 1 ? 2 เมตร พบปะการังฟอกขาว 50 % ปะการังมีสีซีด 5 % ชนิดปะการังที่พบการฟอกขาว ได้แก่ 1. ปะการังโขด (Porites sp.) 2. ปะการังวงแหวน (Favia sp.) 3. ปะการังรังผึ้ง (Goniastrea sp.) 4. ปะการังเขากวาง (Acropora sp.)

ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง รวมถึงลดผลกระทบจากกิจกรรมประเภทต่างๆ ที่อาจเป็นการเร่งให้ปะการังเกิดการฟอกขาว กรณีจึงมีความจำเป็นเร่งด่วนหรือมีเหตุฉุกเฉินที่จะต้องกระทำการหรืองดเว้นการกระทำใดๆ ในอุทยานแห่งชาติเพื่อรักษาสภาพธรรมชาติ ระบบนิเวศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 25 และ 35 (4) แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ขอประกาศปิดแหล่งท่องเที่ยวสำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้น (Snorkeling) และกิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba diving) ดังนี้

1. สำหรับประกอบกิจกรรมดำน้ำตื้น(Snorkeling) ได้แก่ บริเวณเกาะไก่ด้านทิศเหนือ เกาะไก่ ด้านทิศตะวันออก เกาะไก่ด้านทิศตะวันตก (อ่าวค้างคาว) เกาะปอดะทิศเหนือ (หน้ามาตังหมิง) เกาะปอดะ (อ่าวปูหยา) เกาะแดง อ่าวไร่เล (เกาะรังนกหรือเกาะแฮปปี้) เกาะยาวาซัม และแนวปะการังโดยรอบเป็นการชั่วคราว

2. สำหรับกิจกรรมดำน้ำลึก (Scuba diving) ได้แก่ บริเวณเกาะยาวาซัม และแนวปะการังโดยรอบเป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม เป็นต้นไป ไปจนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลายลง ทั้งนี้ยังเปิดให้บริการแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ รวมถึงปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 0 7565 6150 และทางเพจ Facebook หรือไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ phiphi_np@hotmail.com รายละเอียดปรากฎตามแผนที่แนบท้ายประกาศนี้ ตามประกาศอุทยานแห่งชาติฯ ฉบับลงวันที่ 13 พฤษภาคม 2567

ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากการท่องเที่ยวหรือกิจกรรมต่างๆจากมนุษย์ ที่อาจเป็นการเร่งให้ปะการังเกิดการฟอกขาวในพื้นที่ไปมากกว่าเดิม ทั้งยังป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการังในขณะเกิดการฟอกขาว และเป็นการให้ปะการังได้พักฟื้นตัว จนกว่าสถานการณ์การฟอกขาวของปะการังจะคลี่คลายลง.


https://www.thaipost.net/environment-news/586387/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


ปิดท่องเที่ยว 'ตะรุเตา' 4 เดือน ฟื้นฟูธรรมชาติ อากาศเปลี่ยน เข้าสู่ฤดูมรสุม

ปิดท่องเที่ยว อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล 4 เดือน ระหว่าง 16 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ หลังสภาพอากาศเปลี่ยน "เข้าสู่ฤดูมรสุม" หวั่นความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว



นักท่องเที่ยววางแผนท่องเที่ยวไทยช่วงนี้หลายอุทยานฯ ทั่วไทย เริ่มประกาศปิดการท่องเที่ยวแล้ว ล่าสุดอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล ประกาศปิดท่องเที่ยว 4 เดือน ระหว่าง 16 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ หลังสภาพอากาศเปลี่ยน "เข้าสู่ฤดูมรสุม" หวั่นความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว

โดยวันนี้ 14 พฤษภาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายมงคล แดงกัน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ลงประกาศเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 โดยประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2566

เรื่องปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติ และวนอุทยานประจำปี 2567 เพื่อให้การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพอากาศในแต่ละฤดู และความสามารถในการรองรับของทรัพยากร เปิดโอกาสให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นตัว รวมทั้งมีความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวนั้น

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา พิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติพุทธศักราช 2562 ประกอบระเบียบ อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

จึงประกาศปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ระหว่าง 16 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน บ้านพัก และลานกางเต็นท์ ZONE 1 อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา ZONE 2 อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา ZONE 3 แหลมสน เกาะอาดัง

ระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม บริเวณ เกาะเหล็ก เกาะบิสสี เกาะตาลัง เกาะอาดังทิศเหนือ และเกาะอาดังทิศตะวันออก

ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน ประกอบด้วย เกาะยาง ร่องน้ำจาบัง เกาะราวี เกาะดง เกาะหินซ้อน เกาะรอ-กลอย เกาะอาดังทิศตะวันตก เกาะซาวัง และเกาะไผ่

ทั้งนี้ อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ยังคงปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ตามปกติ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 074-783 485 จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันประกาศวันที่ 9 พฤษภาคม 2567


https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1126687

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


แยกประเภทแมงกะพรุนพิษ น่านน้ำไทย เที่ยวทะเล 2567 ต้องระวังอันตรายถึงชีวิต



แยกประเภทแมงกะพรุนพิษ น่านน้ำไทย "เที่ยวทะเล 2567" ลงทะเลต้องระวังพิษร้ายอันตรายถึงชีวิต มักอาศัยทะเลน้ำตื้น ทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ - มากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษ หากโดนพิษอาการจะเป็นอย่างไร รู้แล้วปฐมพยาบาลให้ทันลดความเจ็บปวดพิษเข้าสู่ร่างกาย

อากาศร้อนแบบนี้เล่นน้ำทะเลคงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกคลายร้อนสำหรับนักเที่ยวเที่ยวหลายๆคน แต่เมื่อเที่ยวทะเลแล้วเจอแมงกะพรุนเราต้องทำยังไง? แมงกะพรุนตัวนี้มีพิษหรือไม่มีพิษ..

เราเลยชวนมาแยกประเภทแมงกะพรุนพิษ ในน่านน้ำไทย ก่อน "เที่ยวทะเล 2567" ลงทะเลต้องระวังพิษร้ายอันตรายถึงชีวิต ที่มักอาศัยในทะเลน้ำตื้นทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ และมากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษต่อมนุษย์ หากโดนพิษอาการจะเป็นอย่างไร รู้แล้วปฐมพยาบาลให้ทันลดความเจ็บปวดพิษเข้าสู่ร่างกาย


ทำความรู้จักแมงกะพรุนน่านน้ำไทย

ทั่วโลกมีแมงกะพรุนมากกว่า 9,000 สายพันธุ์ และมากกว่า 100 สายพันธุ์มีพิษต่อมนุษย์ มีการแพร่กระจายอยู่ทั่วโลก ตั้งแต่บริเวณผิวน้ำจนถึงทะเลลึก ส่วนใหญ่ดำรงชีวิตในทะเลบริเวณน้ำตื้น


จำแนกประเภทแมงกะพรุนพิษ ในน่านน้ำไทย

แมงกะพรุนพิษ ในน่านน้ำไทยทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ระหว่างปี พ.ศ. 2553 - 2564 แมงกะพรุนพิษที่พบในประเทศไทย จำแนกประเภทตามลักษณะความเป็นพิษได้ 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1 แบงกะพรุนกล่อง ไทยพบจำนวน 3 ชนิด
- วงศ์ Chirodropidae ลักษณะอาการ : พิษส่งผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ ระบบไหลเวียนเลือดในปอดและระบบประสาท

กลุ่มที่ 2 แมงกะพรุนกล่อง ไทยพบจำนวน 2 ชนิด
- วงศ์ Carukiidae ลักษณะอาการ : ปวดอย่างรุนแรงและ อาจทําให้จมนํ้าได้

กลุ่มที่ 3 แมงกะพรุนกล่อง ไทยพบจำนวน 1 ชนิด
- วงศ์ Chiropsalmidae ลักษณะอาการ : ปวดแสบปวดร้อนเป็นผื่นแดง

กลุ่มที่ 4 แมงกะพรุนหิวขาด ไทยพบจำนวน 1 ชนิด
- วงศ์ Physaiidae พบจํานวน 2 ชนิด ลักษณะอาการ : แน่นหน้าอก หายใจลำบาก

กลุ่มที่ 5 แมงกะพรุนไฟ ไทยพบจำนวน 2 ชนิด
- วงศ์ Pelagidae ลักษณะอาการ : ปวดแสบปวดร้อน


อาการโดนพิษแมงกะพรุนเป็นอย่างไร?

การสัมผัสแมงกะพรุนพิษทำให้บาดเจ็บได้ในหลายระดับขึ้นอยู่กับชนิดของแมงกะพรุนพิษและปริมาณพิษที่ได้รับ

ทั้งนี้บริเวณที่สัมผัสมีอาการได้หลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่รู้สึกคัน มีผื่นเล็กน้อย ปวดแสบปวดร้อนบริเวณที่สัมผัสหรือได้รับพิษ ไปจนถึงทำให้หัวใจหยุดเต้นหรือระบบหายใจล้มเหลว


การปฐมพยาบาลเบื้องต้นพิษแมงกะพรุน พิษร้ายอันตรายถึงชีวิต

- เมื่อสัมผัสพิษแมงกะพรุนให้ขึ้นจากน้ำทันที เพราะอาจมีอาการแพ้รุนแรงตามมาจนอาจทำให้จมน้ำได้

- ใช้น้ำส้มสายชูราดบริเวณแผล ถ้ามีไม่มีให้ล้างด้วยน้ำทะเลไม่ควรล้างโดยน้ำเปล่าหรือของเหลวชนิดอื่น

- ห้ามถูหรือสัมผัสบริเวณแผลด้วยมือเปล่าเพราะยังอาจมีเข็มพิษติดค้างอยู่

- หากไม่มีอาการหรืออาการไม่รุนแรง ควรสังเกตอาการอย่างน้อย 1 ชั่วโมง เพราะอาจมีอาการแพ้ตามมาภายหลังได้

- หากมีอาการแพ้รุนแรง เช่น อาการหอบ หรือหายใจไม่ออก ควรเรียกรถพยาบาล โทร. 1669 เพื่อไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุด

- หากผู้ถูกพิษหมดสติหรือหัวใจหยุดเต้น ควรกู้ชีวิตโดยการกดหน้าอก และช่วยหายใจทันที


อ้างอิง-ภาพ : กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง , อ.นพ.นรวิชญ์ กิจไพศาลรัตนา ฝ่ายเวชศาสตร์ฉุกเฉิน , โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย


https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1126875

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก อสมท.


เข้าสู่ฤดูมรสุมอันดามัน อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา ปิดการท่องเที่ยว เปิดโอกาสธรรมชาติฟื้นตัว

เข้าสู่ฤดูมรสุมอันดามัน อุทยานแห่งชาติ ตะรุเตา ปิดการท่องเที่ยว เปิดโอกาสธรรมชาติฟื้นตัว



วันที่ 14 พ.ค. 2567 นายมงคล แดงกัน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ได้ลงประกาศเมื่อ 9 พฤษภาคม 2567 โดยประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ฉบับลงวันที่ 18 ธันวาคม 2566

เรื่องปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติ และวนอุทยานประจำปี 2567 เพื่อให้การบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสภาพอากาศในแต่ละฤดู และความสามารถในการรองรับของทรัพยากร เปิดโอกาสให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นตัว รวมทั้งมีความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวนั้น

อุทยานแห่งชาติตะรุเตา พิจารณาแล้วเพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองผู้ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 20 แห่ง พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติพุทธศักราช2562 ประกอบระเบียบ อุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

จึงประกาศปิดการท่องเที่ยวและพักแรมในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ระหว่าง 16 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน บ้านพักและลานกางเต็นท์ ZONE 1 อ่าวพันเตมะละกา เกาะตะรุเตา ZONE 2 อ่าวเมาะและ เกาะตะรุเตา ZONE 3 แหลมสนเกาะอาดัง ระหว่าง วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 31 กรกฎาคม บริเวณ เกาะเหล็ก เกาะบิสสี เกาะตาลัง เกาะอาดังทิศเหนือ และเกาะอาดังทิศตะวันออก ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม ถึง 30 กันยายน ประกอบด้วย เกาะยาง ร่องน้ำจาบัง เกาะราวี เกาะดง เกาะหินซ้อน เกาะรอ-กลอย เกาะอาดังทิศตะวันตก เกาะซาวัง และเกาะไผ่

ทั้งนี้อุทยานแห่งชาติตะรุเตา ยังคงปฏิบัติงานตามภารกิจของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชได้ตามปกติสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 074-783 485 จึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันประกาศวันที่ 9 พฤษภาคม 2567


https://www.mcot.net/view/MGTgClJe

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก Nation


เปิด 4 วิธีช่วยปะการัง พร้อมทริคเลือกครีมกันแดดอย่างไร ให้เป็นมิตรต่อท้องทะเล




อ.ธรณ์ เผยปะการังฟอกขาวหนัก พร้อมเปิด 4 วิธีแสนง่ายช่วยได้ทันที ได้แก่ เที่ยวระวัง, เลิกให้ขนมปังปลา, เก็บขยะเมื่อเห็น, อย่ากินปลานกแก้วและสัตว์หายาก ด้าน "เนชั่นทีวี" ชวนอ่านทริค เลือกครีมกันแดดอย่างไร ให้ปกป้องผิว และพิทักษ์ท้องทะเล

จากอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้นจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ "ปะการัง" สิ่งมีชีวิตที่เสมือนเป็นบ้านหลังใหญ่ของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เกิดปรากฏการณ์ฟอกขาวในหลายพื้นที่ ซึ่งในประเทศไทย กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พบปะการังฟอกขาวในเขตอุทยานฯ 12 แห่ง จึงเร่งทำการปิดพื้นที่ห้ามรบกวน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายต่อแนวปะการัง รวมถึง ลดผลกระทบจากกิจกรรมทุกประเภท จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย

นอกจากนี้ อีกหลายพื้นที่ อย่างที่บริเวณหาดหลังเขา ของ "เกาะลิบง" แหล่งอนุรักษ์พะยูนและหญ้าทะเลของไทย ปะการังบางส่วนกลายเป็นสีขาว ทั้งที่ปกติปะการังเหล่านี้จะมีความสวยงามหลากหลากสีสัน

ด้าน พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) สั่งกำชับให้กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามสถานการณ์ปะการังฟอกขาวอย่างใกล้ชิด หากพบการเกิดปะการังฟอกขาวขั้นรุนแรง ให้ดำเนินการตามกระบวนการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาความเครียดของปะการัง และจัดตั้งทีมประสานงานร่วมกับในพื้นที่ ให้การสนับสนุนในทุกๆ ด้าน

"เนชั่นทีวี" ชวนอ่าน 4 วิธีช่วยปะการัง รวมถึง ทริคเลือกครีมกันแดดอย่างไร ไม่ให้เป็นอันตรายต่อปะการัง



"อ.ธรณ์" เผยปะการังฟอกขาวหนัก พร้อมเปิด 4 วิธีช่วยปะการังจากอาการฟอกขาว

ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า

"ปะการังฟอกขาวหนัก ทะเลจะตายอยู่แล้ว 4 วิธีแสนง่ายช่วยเธอได้ทันที เที่ยวระวัง/เลิกให้ขนมปังปลา/เก็บขยะเมื่อเห็น/อย่ากินปลานกแก้วและสัตว์หายาก อธิบายมาหลายครั้ง หนนี้บอกสั้นๆ ว่าเชื่อธรณ์"


พร้อมภาพที่มีข้อความอธิบายเพิ่มเติม ระบุว่า

- ท่องเที่ยวอย่างระวัง ไม่เข้าใกล้ปะการังฟอกขาว เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำแนะนำ

- เก็บขยะจากแนวปะการัง ใครทิ้งก็ช่าง เราเก็บ

- แต่เราช่วยกันได้ เช่น อย่าให้อาหารปลา ปลากินขนมปังจะไล่ปลากินสาหร่ายออกไป แล้วตัวอะไรจะกินสาหร่าย

- ปลานกแก้วกินสาหร่าย ทำให้ปะการังใหม่ลงเกาะบนพื้นได้ กินปลานกแก้วคือช่วยทำให้ปะการังแพ้สาหร่าย เพราะฉะนั้น เลิกกินนะครับ


ซึ่งหลังโพสต์ดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ก็มีผู้ใช้เฟซบุ๊กเข้ามาแสดงความคิดเห็น และแชร์ต่อเป็นจำนวนมาก อาทิ

- ช่วงนี้งดเที่ยวก่อนดีไหมค๊ะ ให้เค้าได้พักตัวเอง

- พวกแจกขนมปังที่ให้ปลามารุมๆแล้วถ่ายรูป อยากจะทุบให้! ไปเที่ยวทะเลใต้ เจอแบบนี้บ่อยมากกก

- ยินดีปฏิบัติทุกข้อค่ะ

- ปิดทะเลชั่วคราวค่ะ

- ปลานกแก้วสวยมากนะกินกันลงได้ยังไง


สารบางชนิด ที่ส่งผลต่อปะการัง

อย่างที่เห็นตามข่าวกัน ว่าปัจจุบันปัญหามลภาวะกลายเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องการการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอากาศ ฝุ่นละออง ควันจากไฟป่า ขยะในมหาสมุทร นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ยังมีมลภาวะอีกอย่างที่ "เนชั่นทีวี" อยากให้ทุกคนตระหนักถึง คือ มลภาวะที่เกิดจากสารกันแดดที่อยู่ในน้ำทะเล

หลายคนเมื่อไปท่องเที่ยวทะเล คงมีความกังวลเรื่องผิวไหม้ ผิวดำคล้ำ ทำให้เลือกครีมกันแดดที่มีค่าเอสพีเอฟสูง และทาซ้ำหลายครั้ง ซึ่งสิ่งที่ให้คุณประโยชน์กับเราอาจกลายเป็นโทษให้กับสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน โดยในแต่ละปีคาดว่ามีครีมกันแดดถึง 6,000 ตันตกค้างอยู่ในทะเลทั่วโลก โดยจะกระจุกตัวอยู่ในบริเวณที่นักท่องเที่ยวมาว่ายน้ำหรือดำน้ำดูปะการังเป็นส่วนใหญ่

จากงานวิจัยโดย Downs และคณะ เพื่อองค์กร National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) และองค์กรอื่นๆ ในสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นว่า ปะการังอ่อนที่สัมผัสกับสาร Oxybenzone และ Octinoxate ที่มีในสารกันแดดแสดงออกถึงภาวะเครียด โดยมีสีซีดจางลง ทำให้ปะการังติดเชื้อได้ง่ายและไม่สามารถได้รับสารอาหารได้เต็มที่อย่างที่เคย อีกทั้ง สารทั้งสองชนิดยังสร้างความเสียหายต่อดีเอ็นเอ แถมทำให้โครงสร้างปะการังเจริญเติบโตผิดปกติด้วย

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้ถูกนำมาต่อยอดโดยนักวิจัยชาวอิตาเลียน ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Environmental Health Perspectives โดยงานวิจัยชิ้นนี้ชี้ว่าส่วนผสมของครีมกันแดดที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย (รวมถึง Oxybenzone) ทำให้เกิด "ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว" (coral bleaching) ไปทั่วโลก ทั้งในมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิก แม้ส่วนผสมที่ว่าจะมีความเข้มข้นไม่มากก็ตาม โดยในปี ค.ศ. 2018 รัฐฮาวายเป็นรัฐแรกของสหรัฐฯ ที่ประกาศแบนผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารสองชนิดนี้ ตามมาด้วยเมืองฟลอริดา (มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 2021) ส่วนปาเลา (Palau) ถือเป็นประเทศแรกที่มีการแบนครีมกันแดดที่มีส่วนผสมที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม

นอกจากปะการังที่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำแล้ว งานวิจัยอื่นๆ ก็ได้ผลออกมาไปในทิศทางเดียวกันว่าครีมกันแดดมีผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล โดยเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบางชนิดในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สารบางชนิดไปยับยั้งการเจริญเติบโตและการสังเคราะห์แสงของสาหร่ายสีเขียว ในขณะที่สารบางชนิดทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ของปลาลดลง และทำให้ปลาเพศชายมีลักษณะเป็นเพศหญิงมากขึ้น เป็นต้น


เลือกครีมกันแดดอย่างไร ถึงจะช่วยปกป้องผิว ไปพร้อมกับพิทักษ์โลกใต้ทะเล

เมื่อตระหนักถึงมลภาวะที่เกิดจากสารกันแดด ปัจจุบันจึงมีหลายแบรนด์เลือกผลิตครีมกันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการังมากยิ่งขึ้น โดยผลิตภัณฑ์กันแดดที่เป็นมิตรต่อปะการัง หรือ reef-friendly sunscreen หรือ Coral-freindly sunscreen นี้มักจะไม่มีส่วนผสมสารที่เป็นพิษต่อปะการัง ได้แก่ Oxybenzone, Octinoxate, Octocrylene, Homosalate, 4-methylbenzylidene camphor, PABA, Parabens, Triclosan, ไมโครพลาสติกทุกชนิด และอนุภาคขนาดนาโนหรือสังกะสีหรือไทเทเนียมขนาดนาโน


ทั้งนี้ หากอยากจะทากันแดดเพื่อปกป้องผิวและรักษ์โลกไปด้วย สามารถทำได้หลายวิธี เช่น


- เลือกใช้ครีมกันแดดที่ระบุว่า "reef-safe" , "Ocean Friendly" , หรือมีตราสัญลักษณ์ "Protect Land & Sea" แต่ควรตรวจสอบส่วนผสมข้างขวดเพิ่มเติมตอนเลือกซื้อ

- เลือกใช้ครีมกันแดดแบบกันน้ำ จะช่วยลดการชะล้างลงสู่ทะเลได้ในช่วงเวลาที่ทำกิจกรรม

- เลือกใช้ครีมกันแดดที่สามารถย่อยสลายได้เองโดยธรรมชาติ เพื่อลดผลกระทบตกค้าง

- เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทดแทนที่ช่วยในการกันแดดได้ อาทิ น้ำมันมะพร้าว

- เลือกใช้ครีมกันแดดในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากเกินความจำเป็น

- เลือกสวมเสื้อผ้าที่มีคุณความสามารถในการปกป้องผิวจากรังสียูวี (UPF หรือ Ultraviolet Protection Factor)ได้สูง

-หลีกเลี่ยงการใช้ครีมกันแดดแบบพ่น เพราะมีโอกาสจะฟุ้งบนพื้นทรายและถูกพัดพาลงไปในทะเล


ห้ามนำและใช้ครีมกันแดด ที่มีสารเคมีอันตราย 4 ชนิด เข้าเขตพื้นที่กรมอุทยานแห่งชาติ

วันที่ 3 ส.ค. ปี พ.ศ. 2564 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เรื่อง ห้ามนำและใช้ครีมกันแดด ที่มีส่วนประกอบของสารเคมีเป็นอันตรายต่อปะการังเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ ผู้ฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1 แสนบาท โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการระบุว่า สารเคมีบางชนิดมีส่วนผสมเป็นพิษต่อแนวปะการัง

โดยสารต้องห้ามในครีมกันแดด ที่ระบุในราชกิจจานุเบกษาฉบับนี้ ได้แก่

- Oxybenzone หรือ Benzophenon-3
- Octinoxate หรือ Ethylhexyl
- 4-Methylbenzylid Camphor
- Butylparaben

ทรัพยากรทางทะเล เป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่ง มาวันนี้ปะการังกำลังอ่อนแอ จากสภาพอากาศที่แปรเลี่ยน โลกร้อนขึ้น น้ำทะเลเดือด การช่วยรักษาปะการัง ซึ่งเป็นเหมือนบ้านหลังใหญ่ของสัตว์ทะเล ก็เหมือนเราได้รักษาโลกของเราด้วย มาช่วยพวกเขากันเถอะ เพื่อให้พวกเขาอยู่กับเราตราบนานเท่านาน ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป


ขอบคุณข้อมูลและภาพบางส่วนจาก :
เฟซบุ๊ก Thon Thamrongnawasawat



https://www.nationtv.tv/news/social/378943914

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 16-05-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก SpringNews


นักวิจัยศึกษาน้ำแข็ง 1 ก้อน พบว่า โลกปล่อยคาร์บอนมากกว่าอดีตถึง 10 เท่า



น้ำแข็งก้อนเดียว สามารถบอกเราได้ว่าโลกในอดีตปล่อยคาร์บอนมากแค่ไหน แต่ที่หักมุมคือ ปัจจุบันเราทุบสถิตินั้น และปล่อยก๊าซคาร์บอนมากกว่าอดีตกาลถึง 10 เท่า และหากปล่อยไว้แบบนี้ ก๊าซเรือนกระจกจะถล่มโลกจนกลายเป็นหม้อไฟชนิดที่คาดไม่ถึง

ว่ากันว่า "ประวัติศาสตร์" คือรากเหง้าของปัจจุบัน ขณะเดียวกัน "ปัจจุบัน" ก็เป็นเมล็ดพันธุ์แห่งอนาคต นักวิทยาศาสตร์พาไปส่องอดีตอีกครั้ง

คราวนี้เป็นการศึกษาก้อนน้ำแข็งโบราณ ที่มีอายุ 5 หมื่นปี ว่าแต่น้ำแข็งที่ปรากฏอยู่บนรูป บอกอะไรเราได้บ้างนะ...?

เราทราบกันอยู่แล้วว่าก๊าซคาร์บอนถือเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีพิษสงรุนแรง และพลังทำลายล้างโลกสูงมาก (ไม่ได้เว่อร์) เพราะเป็นก๊าซร้ายที่ทำให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นทุกปี จนนำไปสู่ปัญหาด้านสภาพอากาศที่เราประสบกันอยู่ในปัจจุบัน


ศึกษาการปล่อยก๊าซคาร์บอนของโลกผ่านน้ำแข็ง 1 ก้อน

นี่คือการศึกษาจาก 2 มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ โดยนักวิจัยได้ทำการเจาะชั้นน้ำแข็งลงไปที่ความลึก 3.2 กิโลเมตร แล้วนำตัวอย่างน้ำแข็งมาวิเคราะห์ ตรวจดูรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงของก๊าซคาร์บอนในชั้นบรรยากาศของโลก


หากสังเกตให้ดีจะเห็นฟองอากาศแทรกตัวยิบย่อยอยู่ในน้ำแข็งก้อนนี้ ซึ่งนักวิจัยเปิดเผยว่า ฟองอากาศที่เห็นนั้นอุดมไปด้วยก๊าซคาร์บอน นักวิจัยจึงเกิดไอเดียว่า งั้นเรามาศึกษาน้ำแข็งก้อนนี้กันเถอะ น้ำแข็งก้อนนี้น่าจะบอกอะไรเราได้บ้าง

เว็บไซต์ต่างประเทศสรุปผลการศึกษานี้ไว้ว่า ชั้นน้ำแข็งแอนตาร์กติกโชว์ให้เห็นว่าที่ผ่านมาโลกปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศไปเท่าไร นั่นก็น่าสนใจแล้วใช่ไหม

แต่หักมุมอีกรอบคือ นักวิจัยบอกว่าอัตราการปล่อยก๊าซคาร์บอนของมนุษย์ในปัจจุบัน พุ่งขึ้นกว่า 5 หมื่นปีที่ผ่านมาถึง 10 เท่า เนื่องมาจากการที่เชื้อเพลิงฟอสซิล รวมถึงกิจกรรมอื่น ๆ ที่เป็นเหมือนฟืนที่ไปเร่งเตาแก๊สให้อุณหภูมิโลกยิ่งร้อนขึ้น ๆ

นอกจากเหตุผลด้านบนแล้ว นักวิจัยยังเปิดเผยว่า การเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ไฮน์ริช (Heinrich Events) ซึ่งเป็นการพังทลายของน้ำแข็งในทวีปอเมริกาเหนือ จนนำไปสู่ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ

ทั้งนี้ ข้อมูลที่นักวิจัยได้จากน้ำแข็งก้อนนี้คือ โลกใช้เวลา 55 ปี ถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับก๊าซคาร์บอนในอัตราส่วน 14 ส่วนในล้านส่วน ด้วยอัตราเดียวกันนี้ นักวิจัยเปิดเผยว่าก๊าซคาร์บอนที่โลกสะสมไว้อยู่ตอนนี้ ทำให้ระยะเวลา 55 ปี ลดเหลือแค่ 5 ? 6 ปีเท่านั้น

อย่างไรก็ดี นักวิจัยยังนำเสนอต่อไปอีกว่าการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนมีความเชื่อมโยงกับที่เรียกว่า Westerlies ซึ่งเจ้าลมตัวนี้ได้ไปก่อกวนมหาสมุทรไม่ให้สามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนได้แบบที่เคยทำ ซึ่งเรื่องนี้ถือว่าน่ากังวลแล้วนะ...

ที่มา: Euro News


https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/850327
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 08:01


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger