#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 29 กรกฎาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 29 ก.ค. ? 3 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 29 ก.ค. ? 3 ส.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 29 ก.ค. ? 3 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
นักวิจัยเผยวิธีตรวจหาปะการังอ่อน บนแนวปะการังใหญ่ การพยายามค้นหาปะการังที่กำเนิดขึ้นในระดับที่มองไม่เห็นด้วยตามนุษย์ หรือขนาดของปะการังเล็กกว่า 1 มิลลิเมตรนั้น ทุกวันนี้จำเป็นต้องใช้แผ่นเทียมที่ติดอยู่กับแนวปะการังเพื่อตรวจสอบในภายหลังด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาจำนวนปะการังที่เพิ่งตั้งรกรากขึ้นใหม่ ล่าสุดทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยเซาเทิร์น ครอสส์ และองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ในออสเตรเลีย เผยงานวิจัยใหม่ระบุว่าการจับตาดูปะการังที่เพิ่งเกิดใหม่ที่ขนาดระดับต่ำกว่ามิลลิเมตรบนแนวปะการังเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) อันมีชื่อเสียงของออสเตรเลียนั้นง่ายขึ้นมาก หลังจากใช้วิธีมาโคร โฟโตแกรมเมตรี (Macro Photogrammetry) ที่เป็นการรังวัดบนภาพถ่ายที่มีระยะใกล้กว่า 10 เซนติเมตร และทำใต้น้ำเป็นครั้งแรก เพื่อหาปะการังและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระดับที่ละเอียดอย่างน่าอัศจรรย์ได้โดยตรงบนแนวปะการังเกรต แบร์ริเออร์ รีฟ และด้วยวิธีการใหม่นี้ ทำให้การสังเกตสิ่งมีชีวิตขนาด 0.5 มิลลิเมตร เช่น ปะการังอายุ 2 เดือน สามารถบันทึกและติดตามเวลาในที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติของพวกมันได้ นักวิจัยเผยว่า วิธีการใหม่นี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการตรวจสอบความสำเร็จของการจัดหาปะการังใหม่หลังจากการฟื้นฟูตัวอ่อนของปะการัง ทั้งนี้ ตัวอ่อนขนาดเล็กที่เลี้ยงในสระอนุบาลปะการังลอยน้ำจะถูกปล่อยออกไปจำนวนมากบนแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเริ่มต้นการฟื้นตัวครั้งใหม่. Credit : Marine Gouezo https://www.thairath.co.th/news/foreign/2712940
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ
ไม่ผิดหวัง! แม่เต่ามะเฟืองยักษ์กลับมาวางไข่ที่หาดกะรน หลังครั้งแรกแค่ขุดหลุมหลอก ศูนย์ข่าวภูเก็ต - กลับมาวางไข่อีกครั้ง แม่เต่ามะเฟือง อายุ 30-35 ปี หนักกว่า 300 โล คราวนี้ไม่หลอก เจ้าหน้าที่ตรวจพบไข่ 129 ฟอง ไข่ดี 92 ฟอง และไข่ลม 37 ฟอง นำไปเพาะฟักศูนย์วิจัยฯ อย่างไรก็ตาม การกลับมาครั้งนี้สร้างความดีใจให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. คืนวันที่ 27 ก.ค.66 เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต ได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า เต่ามะเฟืองยักษ์น้ำหนักกว่า 300 กิโลกรัมที่เคยขึ้นมาหาที่วางไข่เมื่อกลางดึกของคืนวันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้กลับขึ้นมาวางไข่ ที่ชายหาดกะรน หน้าโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์อีกครั้ง หลังรับแจ้งจึงพร้อมด้วย นายสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน นายหิรัญ กังแฮ นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบ โดยระหว่างนั้นทางเจ้าหน้าที่ได้ให้คำแนะนำกับ น.ส.วิลัยพร และ น.ส.กัญญนัท พงษ์กฐิน ผู้ซึ่งพบเต่ามะเฟืองขึ้นมาจากทะเล คอยเฝ้าสังเกตสถานการณ์ และทำตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ที่แจ้งไว้ก่อนหน้านี้ โดยไม่เข้าไปรบกวนและส่งเสียงดัง โดยแม่เต่าใช้เวลาขุดหลุมวางไข่และฝังกลบทรายจนแล้วเสร็จกลับลงทะเล ประมาณ 1 ชั่วโมงเศษ จากนั้นเจ้าหน้าที่ได้หารือกับทาง เรือเอกเจด็จ วิชรศรณ์ นายกเทศมนตรีตำบลกะรน และ น.ส.อรุณศรี กลั่นมา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 1 ต.กะรน อ.เมืองภูเก็ต พบว่า บริเวณหลุมไข่เต่าดังกล่าวเป็นจุดที่น้ำทะเลท่วมถึง หากปล่อยไว้จะส่งผลกระทบต่อไข่เต่าได้ จึงขุดไข่เต่าเพื่อนำไปทำการเพาะฟักที่ศูนย์วิจัยฯ จากการตรวจสอบพบไข่เต่าทั้งหมด 129 ฟอง เป็นไข่ดี 92 ฟอง และไข่ลม 37 ฟอง รวมทั้งจะได้ทำการตรวจสอบอย่างละเอียดอีกครั้งว่ามีการผสมน้ำเชื้อแล้วหรือไม่ นายสุเทพ เจือละออง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน กล่าวว่า สำหรับแม่เต่ามะเฟือง มีอายุประมาณ 30-35 ปี และครั้งนี้เป็นการกลับมาวางไข่ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรกขึ้นมาแล้วไม่ได้วางไข่แต่อย่างใด โดยจะนำไข่ไปเพาะฟักที่ศูนย์วิจัยฯ เนื่องจากจุดที่วางไข่นั้นน้ำทะเลท่วมถึง หากปล่อยไว้ไข่อาจจะเสียหายได้ และอาจจะถูกรบกวนจากผู้ที่มาใช้พื้นที่บริเวณชายหาดหรือสัตว์อื่นๆ โดยจะใช้เวลาในการเพาะฟักประมาณ 2 เดือน หลังจากนั้นจะนำกลับมาปล่อยจุดเดิม ขณะเดียวกัน ต้องเฝ้าระวังต่อไปอีกประมาณ 10-15 วัน เนื่องจากแม่เต่าจะกลับขึ้นมาวางไข่อีกครั้ง https://mgronline.com/south/detail/9660000068103
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
หมดยุคโลกร้อน! UN เตือน เข้าสู่ยุคโลกเดือด "Global Boiling" 'นักวิชาการ' ชี้ ไทยควรเตรียมรับมือ ปี 68 พบวิกฤตแล้งหนักที่สุด โดยเฉพาะภาคการเกษตร 'คณะทำงานฯ ด้านภัยแล้ง' ระบุ 6 ความจำเป็นรัฐต้องรับมือ 28 ก.ค. 2566 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่องค์การสหประชาชาติ (UN) เตือนโลกเตรียมรับมือร้อนที่สุดในประวัติการณ์หลังนักวิทยาศาสตร์ ยืนยันว่า กรกฎาคม เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดในรอบ 120,000 ปี สอดคล้องกับ เลขาธิการองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) เตือนรับมือสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิพุ่งทะยาน พร้อมระบุ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นเรื่องเร่งด่วนยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา เช่นเดียวกับการรับมือสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำเช่นกัน อุณหภูมิในเดือนกรกฎาคมร้อนทำลายสถิติ แสดงให้เห็นว่า โลกได้ผ่านจากช่วงโลกร้อนไปสู่ "ยุคที่โลกเดือด" การออกมาเตือนครั้งนี้มีขึ้น หลังจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของยุโรปได้เผชิญกับคลื่นความร้อนแผ่ปกคลุม ทำให้สภาพอากาศร้อนจัด อุณหภูมิสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จนเกิดไฟป่าในหลายประเทศ โดยเฉพาะที่กรีซ ประสบสถานการณ์ไฟป่ารุนแรง "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเกิดขึ้นขณะนี้ มันน่ากลัวมาก และมันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยุคโลกร้อนสิ้นสุดลงแล้ว ยุคที่โลกเดือดมาถึงแล้ว" ...... อันโตนิโอ กูเตอร์เรส "โลกเดือด" ย้อนมองทางรอด เอลนีโญ กระทบไทย จากข้อมูลพบว่า โลกเผชิญกับปัญหาเอลนีโญ มาแล้ว 5 ครั้ง ตั้งแต่ช่วงปี 2515 และมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะในปี 2568 ผศ.ภาณุวัฒน์ ปิ่นทอง หัวหน้าศูนย์วิจัยวิศวกรรมน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน และอาจารย์ประจำภาควิชาครุศาสตร์โยธา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ระบุ อากาศของประเทศไทยผันผวนอยู่ตลอดเวลา การเตรียมตัวรับมือจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอีก 5 ปีข้างหน้าไทยจะพบเจอกับความผันผวนที่สูงขึ้น แต่ละปีมีความผันผวนของฝนและอ่างเก็บน้ำนับตั้งแต่ปี 2566-2570 ฝนทิ้งช่วงและมีปริมาณน้ำฝนลดลงอย่างต่อเนื่อง จนในปี 2568 จะพบกับวิกฤตที่แล้งหนักที่สุด มากกว่าปี 2558 จึงมีข้อเสนอให้ประชาชนรับมือ โดยเฉพาะเกษตรกรที่ต้องปรับตัวเตรียมขุดบ่อเก็บกักน้ำ, ปรับลดการเพาะปลูกข้าวโดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพราะในปี 2568 จะเหลือปริมาณน้ำใช้รวม 4 เขื่อน คือ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ อยู่ที่ 60% คณะทำงานแก้ปัญหาเอลนีโญ แนะรัฐบาลป้องกัน! ก่อนประชาชนเจอร้อนแล้งถึงจุดพีคต้นปีหน้า ล่าสุด เดชรัต สุขกำเนิด ผู้อำนวยการ Think Forward Center ในฐานะคณะทำงาน 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ด้านภัยแล้ง เอลนีโญ เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Decharut Sukkumnoed เรื่องความจำเป็นเร่งที่จะต้องดำเนินการเพื่อรับมือ "เอลนีโญ" ที่อาจจะลากยาวไปจนถึงกลางปี 2567 เพื่อให้ลดผลกระทบต่อภาคเกษตรและเศรษฐกิจลง ใน 6 ประเด็น คือ - เนื่องจากผลกระทบเอลนีโญนั้นเกิดไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่ และในแต่ละช่วงเวลา รัฐจึงควรติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง ปริมาณน้ำที่ใช้การได้ และการพยากรณ์อากาศในแต่ละพื้นที่อย่างใกล้ชิด และจัดสรรทรัพยากรที่เพียงพอลงไปยังพื้นที่ที่มีดัชนีความแห้งแล้งสูงโดยด่วนที่สุด - ในช่วง 3 เดือนจากนี้ (สิงหาคม-ตุลาคม) จะเป็นช่วงเวลาที่ฝนตกชุก (แม้จะน้อยกว่าปีปกติ) ฉะนั้นเราต้องพยายามสำรองน้ำ/กักเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด ทั้งในอ่างเก็บน้ำ ในแหล่งน้ำต่าง ๆ และในไร่นาของเกษตรกร โดยให้ท้องถิ่น/ชุมชนร่วมกันวางแผน และรัฐบาลสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการ และขจัดข้ออุปสรรคต่าง ๆ (โดยเฉพาะเรื่อง การไม่ให้ขุดสระในที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ) แต่เรากลับเสียเวลาไปแล้วกว่า 2 เดือน (จากกลางเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม) โดยไม่ได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับการเพิ่มพื้นที่/แหล่งกักเก็บน้ำให้มากขึ้น จนอาจจะไม่สามารถเพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำได้ทันในช่วง 3 เดือนข้างหน้า - สำหรับน้ำเพื่อการประปา ควรให้ประปาทุกแห่ง สำรวจและวางแผนสำรองน้ำดิบ/น้ำประปาให้เพียงพอ รวมถึงหน่วยงานที่ให้บริการประชาชน เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ควรวางแผนสำรองน้ำประปา (หรือน้ำอื่น ๆ เช่น น้ำฝน) เพื่อใช้ให้เพียงพอสำหรับการอุปโภค บริโภค โดยรัฐบาลต้องช่วยเตรียมงบประมาณในการดำเนินการ - รัฐควรเตรียมแผนการสนับสนุนเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนพืชในช่วงฤดูแล้ง 2567 ให้ชัดเจน หากสถานการณ์ในช่วงปลายฤดูฝน (1 พฤศจิกายน 2566) พบว่า มีน้ำไม่เพียงพอในการทำนาปรัง มิฉะนั้น จะไม่สามารถส่งเสริมและสนับสนุนเกษตรกรได้ทันการณ์ โดยควรให้เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร ร่วมกันกำหนดพืชที่จะปลูกให้เหมาะสมสำหรับพื้นที่และความต้องการของตลาด โดยรัฐบาลควรมีกรอบงบประมาณสนับสนุนที่ชัดเจน (เช่น 2,000 บาท/ไร่) ทั้งนี้ เฉพาะในภาคกลางอาจมีพื้นที่ที่จะต้องปรับเปลี่ยนพืชประมาณ 2-4 ล้านไร่ - รัฐบาลต้องใช้กลไกทางการเงิน เช่น การประกันสินเชื่อ สำหรับสินเชื่อในรอบการผลิต ปี 2566-2567 เพื่อมิให้เกษตรกรในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง ต้องตกเป็นภาระหนี้สินเพิ่มเติม จากภัยแล้งที่กำลังจะเกิดขึ้น และรีบเตรียมแนวทางปรับเปลี่ยนพืช (ตามข้อ 4) เพื่อเป็นทางเลือกของเกษตรกร มิฉะนั้น จะส่งผลให้หนี้ครัวเรือนของไทยไม่ลดลง แล้วอาจยังเพิ่มขึ้นอีกในปีหน้า - เมื่อกล่าวมาถึงข้อ 5 หน่วยราชการก็มักบอกว่า "ปีนี้ งบประมาณคงมาล่าช้า และดำเนินการตามข้อ 2-5 ได้ไม่ทันการณ์" ผมจึงย้ำว่า นั่นแหละครับวิธีการงบประมาณ/แก้ไขปัญหาแบบเดิม แต่ในเมื่อปัญหามันไม่เหมือนเดิม (โดยเฉพาะในแง่ขนาดของปัญหา) เราจำเป็นต้องเร่งทั้งกระบวนการงบประมาณ (เช่น ใช้งบกลาง) กระบวนการจัดตั้งรัฐบาล และกระบวนการปรึกษาหารือในสภาผู้แทนราษฎร โดยเร็วที่สุด พร้อมทิ้งท้ายว่า ?ส่วนตัวรู้สึกเสียดายมาก เพราะเรื่องเอลนีโญและเรื่อง PM2.5 คือเรื่องที่คุณพิธา มอบหมายผมโดยตรงตั้งแต่หลังการเลือกตั้ง ให้จัดเตรียมแนวทางดำเนินการเพื่อให้พร้อมทำงานทันทีที่เป็นรัฐบาล แต่เรากลับผ่าน 2 เดือนไป โดยไม่ได้มีโอกาสทำงานนี้อย่างเต็มตัว? https://theactive.net/news/climate-change-20230728/ ****************************************************************************************************** เสียงจากคนริมเล "กำแพงหินกันคลื่น สู่ภัยพิบัติ" .......... กองบรรณาธิการ DXC Thai PBS หากได้มีโอกาสมานั่งเล่นชมวิวทิวทัศน์ยามเช้าหรือยามเย็น ที่ชายหาดบ้านท่าบอน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ก็จะพบได้ว่าที่นี่ก็ทำให้เราหลงใหลบรรยากาศลมทะเลยามเย็นได้ไม่แพ้ชาดหาดอื่นๆ ของประเทศไทย ทั้งวิวชายหาดที่สะอาดตา วิถีหมู่บ้านประมงชายฝั่ง หรือสมาชิกในครอบครัวที่ช่วยกันลุยทะเลจับสัตว์น้ำมาทำกินหรือแบ่งขาย รวมถึงตลาดค้าขายสัตว์น้ำทะเลเล็กๆ ในชุมชน แต่นั่นคือบรรยากาศที่น่ารื่นรมย์เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ก่อนที่พื้นที่แห่งนี้ จะเกิดกำแพงกันคลื่นที่หน่วยงานรัฐหวังว่าจะป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งให้หาดแถบนี้ แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับผิดคาด กำแพงกันคลื่นจากงบประมาณนับร้อยล้านบาท ทำให้คลื่นยิ่งแรงกระโจนข้ามกำแพงจนสร้างความเสียหายกับชายหาด บ้านเรือน โดยเฉพาะผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนริมทะเลที่มีมานานนับ 2 ชั่วอายุคน ที่กว่ารู้ตัวอีกที หายนะก็มาจ่ออยู่รั้วบ้านแล้ว เมื่อได้นั่งคุยกับกับผู้คนที่นี่ รับรู้ได้เลยว่า พวกเขาพยายามอย่างที่สุดที่เพียงแค่ชาวบ้านจะทำได้ ตั้งแต่ ย้ายหนี! ร้องขอ ทำข้อมูล แจ้งเรื่อง และ ทำใจ! (แต่ไม่ยอมจำนน) ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2566 ศูนย์พัฒนาการสื่อสารภัยพิบัติ ไทยพีบีเอส ได้ลงพื้นที่และพูดคุยกับชาวบ้านริมทะเลหาดท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา ชาวบ้านได้เล่าให้ฟังเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวริมเล กับชายหาดสีขาว ที่เต็มไปด้วยชีวิตและชุมชน ทั้งการทำประมงเพื่อการแลกเปลี่ยนทางการค้าเล็กๆ น้อยๆ มีเรือประมงที่จอดหน้าชายหาดของแต่ละบ้านเรียงรายอย่างสวยงาม แต่ 2 ที่ผ่านมาทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนไป เมื่อมีโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น "พวกเราไม่ได้ขัดขวางการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น แต่อยากให้ทางหน่วยงานก็ต้องทำความเข้าใจกับวิถีชาวบ้านที่อยู่กิน อาศัยกันแบบนี้มาตลอด 100 กว่าปี" ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ทะเลเกิดคลื่นซัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรง บ้านเรือนชาวบ้านที่ตำบลท่าบอน ได้รับความเดือนร้อนจากมรสุมที่ต้องเจอตลอดช่วงเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคมของทุกปี ต่อมาเมื่อชายหาดถูกการกัดเซาะ จึงเกิดโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้น โดยหวังว่าจะช่วยบรรเทาคลื่นที่ซัดรุนแรงในฤดูมรสุม แต่กำแพงกันคลื่นที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นได้มีการสอบถามประชาชนแล้วหรือยัง? ประชาชนได้รับรู้ถึงรูปแบบการจัดทำโครงการหรือไม่? เป็นคำถามที่ยังไม่มีคำตอบ ?วิถีชีวิตชายหาดที่หายไป? ชาวบ้านเล่าว่า ก่อนที่จะมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น จะเห็นเรือจอดที่หน้าบ้านทุกหลัง เพราะแต่ก่อนจะเป็นชายหาด แต่เมื่อมีโครงการเข้าความสวยงามเหล่านั้นก็ไม่ได้เห็นอีกเลย มเป็นกำเเพงเเนวดิ่ง หลังจากก่อสร้างเสร็จ คลื่นกวาดทรายหน้ากำเเพงออกไปทำให้เกิดร่องลึกด้านหน้ากำเเพง ส่งผลให้คลื่นที่ปะทะกับกำเเพงยกตัวสูงขึ้นข้ามแนวกั้นไปยังพื้นที่ชุมชน สร้างความเสียหายที่ไม่สามารถจะป้องกันได้ และแม้จะรู้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นซ้ำอีก แต่ด้วยความเป็นอยู่และพื้นเพดั้งเดิมจึงไม่สามารถที่จะย้ายออกไปที่อื่นได้ ดังนั้นเป็นอีกเหตุผลที่ชาวบ้านมองว่า "กำเเพงกันคลื่น" ต้องทำ EIA เพื่อให้ข้อเท็จจริงกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมา รวมถึงต้องรับฟังเสียงของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมกับพื้นที่และส่งผลกระทบให้น้อยที่สุด เพราะสุดท้ายแล้วการก่อสร้างที่แล้วเสร็จก็ถูกปล่อยทิ้งไว้ ส่วนชาวบ้านคือผู้ที่ต้องอยู่กับโครงสร้างนี้ไปตลอด "เราไม่ได้ขัดขวางกำแพงกันคลื่น แต่อยากให้รัฐเข้ามาพูดคุยเพื่อหาทางออกที่เป็นกลาง และควรมีการศึกษาผลกระทบของการก่อสร้าง เพราะตัวอย่างเห็นได้ชัดว่าหลังก่อสร้างกำแพงกันคลื่นขึ้นกว่า 2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตมาก อย่างน้อยก็ควรเปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้มีส่วนร่วม เพราะเราต้องอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ไปตลอดชีวิต" ข้อเสนอของชุมชนที่มีต่อหน่วยงานรัฐ คือการเปลี่ยนจากกำแพงกันคลื่น เป็นเขื่อนหินกันคลื่นนอกชายฝั่งที่สามารถรับความรุนแรงของคลื่นได้เช่นเดียวกัน และยังช่วยแก้ปัญหาที่จอดเรือประมงพื้นบ้าน ซึ่งที่ผ่านมาชาวบ้านที่มีอาชีพประมงพื้นบ้านไม่สามารถนำเรือขึ้นมาจอดได้หลังบ้านของตัวเองได้ เนื่องจากมีกำแพงกันคลื่นกีดขวาง จนต้องนำเรือมาจอดอีกที่หนึ่งซึ่งต้องมาคอยกังวลเรื่องความปลอดภัย หากไม่เร่งแก้ไขเชื่อว่าบ้านเรือนของประชาชนจะต้องพังเพิ่มเกือบทั้งหมดอย่างแน่นอน https://dxc.thaipbs.or.th/news_updat...8%87%e0%b8%ab/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|