#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 15 กรกฏาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยของภาคเหนือและภาคตะวันออก ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากได้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆเป็นส่วนมาก กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 15 - 17 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ในขณะที่มีลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 20 ก.ค. 63 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม ประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังแรงขึ้นลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 18 ? 20 ก.ค. 63 ขอให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
สุดยอดทีมวิจัยสตูลขยายพันธุ์ปลิงทะเลที่ใกล้จะสูญพันธุ์แห่งเดียวของไทยสำเร็จ สุดยอดทีมวิจัยสตูล..ขยายพันธุ์ปลิงทะเลที่ใกล้จะสูญพันธุ์แห่งเดียวของประเทศไทยได้สำเร็จ แถมเป็นสินค้านิยมส่งออกขายมาเลเซียและจีน ที่ศูนย์วิจัยพัฒนาและพัฒนาประมง อันดามันตอนล่าง (สตูล) กรมประมง ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ทุกๆ วันเจ้าหน้าที่จะต้องดูดขี้จากปลิงกาหมาดจากบ่อพ่อแม่พันธุ์และบ่อลูกร่วม 300 ตัว ซึ่งเป็นการทำความสะอาดและนำเศษอาหารออกจากบ่อป้องกันน้ำเน่าเสียที่จะมีผลต่อปลิงกาหมาดได้ สำหรับ ปลิงกาหมาด เป็นหนึ่งในสัตว์ทะเลที่เสี่ยงจะสูญพันธุ์ เนื่องจากได้รับความนิยมในการจับมาเป็นอาหารและยารักษาโรคทำให้ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาประมง อันดามัน (สตูล) นำมาทดลองเพาะขยายพันธุ์จนประสบความสำเร็จแห่งแรกของประเทศไทย ปลิงกาหมาด มีหลากหลายพันธุกรรม สีสัน ไม่มีตา มีต่อมรับแสงทั่วตัว เท้าเหนียวเหมือนตีนตุ๊กแก มีปากและมีหนวดรอบปาก การดูว่าเพศผู้หรือว่าเมียจะไม่สามารถดูได้ด้วยตาเปล่าจะรู้ได้ก็ต่อเมื่อมีการปล่อยไข่น้ำเชื้อผสมไข่ด้านนอกตอนกลางคืนช่วง 13 ? 15 ค่ำ ออกไข่ครั้งละล้านตัวแต่อัตรารอดเพียงร้อยละ 19 ปลิงกาหมาด ตัวใหญ่สุดน้ำหนักมากถึงครึ่งกิโลกรัม ปลิงกาหมาดพบมากในพื้นที่ จ.สตูล นอกจากนี้ยังมีปลิงขาวและปลิงดำที่นำมาเพาะเพื่อขยายพันธุ์ด้วย ปลิงกาหมาด กินสาหร่ายบด ไม่ชอบแสง ชอบอาศัยอยู่ตามแนวปะการังน้ำตื้น จากความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลิงทะเลของทางศูนย์วิจัยพัฒนาประมงฯ สามารถปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติไป 1,200 ตัวขนาด 8-10 เซนติเมตรตามแนวปะการังน้ำตื้นชายฝั่ง อ.ละงู และเกาะสาหร่าย อ.เมืองสตูลแล้ว นางสาวพัชรา แมเราะห์ นักวิจัยศูนย์วิจัยพัฒนาและพัฒนาประมง อันดามันตอนล่าง (สตูล) กรมประมง กล่าวว่า แม้จะไม่ใช่สัตว์คุ้มครองแต่พบว่าใกล้จะสูญพันธุ์เนื่องจากชาวบ้านนิยมจับมารับประทานและทำเป็นยารักษาโรค จึงมีการเพาะพันธุ์ขยายพันธุ์พ่อแม่ปลิงทะเลเพื่อปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติเนื่องจากปลิงทะเลจะขยายพันธุ์ช้าอาจสูญพันธุ์ได้ และที่ จ.สตูลเป็นแห่งเดียวของประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์ปลิงทะเลเหล่านี้ ชาวบ้านนิยมนำปลิงกาหมาด มาทำยาสมานแผลน้ำมันกาหมาดหรือนำมาดองน้ำผึ้งให้สตรีทานหลังคลอดบุตรเพราะเชื่อว่าเป็นการสมานแผลสดได้ดี อีกทั้งเป็นสินค้านิยมส่งออกขายมาเลเซีย และจีน โดยปลิงขาวกิโลละ 500 บาท ตากแห้ง 3,000 - 10,000 บาท ปลิงกาหมาดกิโลละ 200 บาท ไม่นิยมตากแห้ง ปลิงดำสดไม่มีราคาตากแห้ง 450 บาท https://www.naewna.com/likesara/505302
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
ไขคำตอบ "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" จริงหรือ? ความเชื่อของหลายๆคนที่คิดว่า "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" เป็นที่ถกเถียงกันมานานว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่ วันนี้มีคำตอบ . คนชอบกินปลาดิบอาจต้องระวังให้มากขึ้น เมื่อศูนย์วิจัยโรคปรสิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (PDRC) ได้เผยแพร่บทความผ่านเพจเฟซบุ๊ก ระบุถึงการพบพยาธิมากมายในปลาซาบะ รวมถึงปลาทะเลชนิดอื่นๆ ซึ่งสามารถลบล้างความเชื่อของหลายๆคนที่คิดว่า "ปลาทะเลไม่มีพยาธิ" ไปได้อย่างชัดเจน โดยเพจดังกล่าวระบุข้อความดังนี้... พยาธิตัวกลมทั้งหมดนี้พบในปลาซาบะสดที่ซื้อมาจากห้างแห่งหนึ่งในบ้านเรา ตัวเล็กๆเป็นเส้นๆ จำนวน 30 กว่าตัวจากปลาซาบะตัวเดียว พยาธิระยะตัวอ่อนจะอยู่ในอวัยวะภายในช่องท้องและกล้ามเนื้อของปลา มองเห็นด้วยตาเปล่าขนาดประมาณ 1-2 ซม. X 0.3-0.5 มม. ปกติแล้ว ปลาทะเลเมื่อนำมาจากทะเล จะแช่แข็ง -20 ถึง -35 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 1-2 วัน เพื่อกำจัดพยาธิ เวลาท่านชำแหละเนื้อปลาหากพบพยาธินิ่งสนิทแสดงว่าตาย แต่หากพบเคลื่อนไหวอยู่ ซึ่งอาจจะพบได้เช่นกัน ก็ควรงดการรับประทานดิบ หลายท่านอาจจะมีความเชื่อว่า ปลาทะเลไม่มีพยาธิ ความจริงแล้วมีเยอะมากเช่นกัน มีการสำรวจชนิดพยาธิในปลาซาบะ หลายงานวิจัย พบพยาธิ Kudoa sp., didymozoid sp., Anisakis sp., Rhadinorhynchus sp., Pseudokuhnia sp. เป็นต้น ที่เห็นในภาพนี้ จำแนกด้วยสายตาระบุได้ยากว่าคือชนิดใด จำเป็นต้องตรวจทางชีวโมเลกุล แต่เทียบเคียงคร่าวๆได้ใกล้เคียงกับพยาธิ Anisakis ที่พบได้บ่อยในปลาทะเล อาทิ ปลาเซลม่อน ปลาเทร้าท์ ปลาคอด ปลาเฮอริ่ง ปลาซาบะ เป็นต้น อาการที่พบเมื่อติดพยาธิ จะเริ่มเกิดหลังรับประทานอาหารที่มีพยาธินี้ เป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน มีอาการ ปวดท้อง แน่นท้อง คลื่นไส้ ท้องอืด คล้ายกับอาการของโรคกระเพาะอาหาร อาจมีอาการท้องเสีย หรือถ่ายอุจจาระเป็นเลือด อาการเหล่านี้จะเกิดจากการเคลื่อนที่ไชในกระเพาะอาหาร และลำไส้ https://www.nationtv.tv/main/content...ampaign=recent
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Greennews
โลกยังร้อนไม่หยุดแม้เจอโควิด ย้ำนานาชาติเร่งลดปล่อยคาร์บอน ก่อนหลุดเป้าความตกลงปารีส ................ โดย ปรัชญ์ รุจิวนารมย์ นักภูมิอากาศเตือน โลกเสี่ยงพลาดเป้าหยุดสภาวะโลกร้อนตามความตกลงปารีส และอาจต้องเผชิญกับผลกระทบใหญ่หลวงจากภัยการเปลี่ยนแปลงสภาวะภูมิอากาศแบบสุดขั้ว หลังองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) คาดการณ์ว่า อุณหภูมิเฉลี่ยโลกยังคงมีแนวโน้มไต่ระดับสูงขึ้น จนอาจพุ่งทะลุเส้นตายคุมโลกร้อนที่ไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิก่อนยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม ภายในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2563 WMO เปิดเผยรายงานการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกช่วงระหว่างปี พ.ศ.2563 ? พ.ศ.2568 ซึ่งชี้ว่า สภาวะโลกร้อนจะยังคงทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ โดยในขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยโลกได้เพิ่มขึ้นถึงระดับ 1 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิเฉลี่ยก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมแล้ว และคาดว่าภายในไม่กี่ปีข้างหน้า เราอาจได้เห็นอุณหภูมิของโลกทะยานขึ้นในระดับ 0.91 ? 1.59 องศาเซลเซียส ทะลุกรอบเส้นตายการควบคุมสภาวะโลกร้อนตามเป้าหมายของความตกลงปารีส (Paris Agreement) ที่ตั้งเป้าควบคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกพุ่งสูงเกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงให้เห็นกลุ่มควันไฟพวยพุ่งจากทุ่งทุนดราที่กำลังถูกไฟป่าเผาผลาญ บริเวณแม่น้ำ Berezovka ในประเทศรัสเซีย //ขอบคุณภาพจาก: Maxar Technologies จากการประเมินปัจจัยผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ ตลอดจนปัจจัยด้านธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ส่งอิทธิพลต่อสภาพภูมิอากาศโลก โดยใช้แบบจำลองคอมพิวเตอร์ชั้นนำ ทีมนักอุตุนิยมวิทยาชี้ว่า ในระหว่างช่วง 5 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มประมาณ 70% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยในบางช่วงเดือนจะมีอุณหภูมิสูงถึง 1.5 องศาเซลเซียสจากช่วงก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม และมีแนวโน้มราว 20% ที่อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีจะมีอุณหภูมิสูงแตะระดับ 1.5 องศาเซลเซียส นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศขนานใหญ่ทั่วโลก Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า ผลการพยากรณ์ดังกล่าวได้ย้ำเตือนถึงความท้าทายใหญ่หลวงของประชาคมโลกในการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกภายในศตวรรษนี้ ไม่ให้เพิ่มขึ้นเกิน 2 องศาเซลเซียสจากระดับอุณหภูมิช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรม และพยายามจำกัดการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิ 1.5 องศาเซลเซียส เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความตกลงปารีส "แม้ว่าอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงระหว่างการระบาดไวรัส COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้อัตราการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในช่วงปีนี้ลดต่ำลงด้วย อย่างไรก็ดี WMO ย้ำเตือนว่า ปรากฎการณ์ดังกล่าวไม่สามารถทดแทนการดำเนินมาตรการแก้ไขโลกร้อนอย่างเป็นระบบได้ เนื่องจากการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ชั่วคราวจากผลพวงการระบาดไวรัส COVID-19 ไม่สามารถช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สะสมในชั้นบรรยากาศ ที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อนได้" Petteri ระบุ "ในขณะที่ปีนี้เราได้เห็นพิษภัยของไวรัส COVID-19 ที่ก่อให้เกิดวิกฤตด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจไปทั่วโลก ผลพวงจากความล้มเหลวในการจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะยิ่งส่งผลกระทบใหญ่หลวงและยาวนานต่อสภาพสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความเป็นอยู่ของผู้คนทั่วโลก ดังนั้นประชาคมโลกจึงควรใช้โอกาสนี้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาสภาวะโลกร้อน เพื่อให้เราสามารถพลิกฟื้นเศรษฐกิจและสังคมหลังวิกฤต COVID-19 ได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน" กราฟสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยเดือนพฤษภาคมของโลก แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิของโลกกำลังทะยานสูงขึ้นจนเข้าใกล้จุดอันตรายที่ 1.5 องศาเซลเซียส //ขอบคุณภาพจาก: NASA GISS Data ในขณะที่ Niklas Hagelberg ผู้ประสานงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวย้ำว่า ผลการพยากรณ์ที่ชี้ถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพราะที่ผ่านมาวงการวิทยาศาสตร์ได้แสดงหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงสภาวะโลกร้อนที่รุนแรงขึ้นแทบทุกๆ ปี อย่างไรก็ดี เราได้เรียนรู้บทเรียนราคาแพงจากวิกฤตการระบาดไวรัส COVID-19 ทั่วโลกในปีนี้ว่า มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพิงความมั่นคงของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการดูแลรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์อย่างยิ่ง "วิกฤตการระบาดไวรัส COVID-19 เปิดโอกาสให้มนุษยชาติได้ตั้งคำถามต่อระบบต่างๆ ที่ขับเคลื่อนสังคมของเรา ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสอันดียิ่งที่เราจะกลับมาทบทวนระบบเศรษฐกิจและสังคมโลก เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่แนวทางการพัฒนาที่สะอาด เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน" Niklas กล่าว UNEP อธิบายว่า อุณหภูมิเฉลี่ยโลกที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการป้องกันผลกระทบจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศแบบสุดขั้ว เพราะเมื่ออุณหภูมิโลกขยับขึ้นไปถึง1.5 องศาเซลเซียสจากระดับก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม จะส่งผลให้เกิดสภาวะโลกร้อนรุนแรง สร้างความเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ต่อทั้งระบบนิเวศ สังคม และความเป็นอยู่ของมนุษย์ "มีการศึกษาและงานวิจัยวิทยาศาสตร์จำนวนมากยืนยันว่า หากโลกร้อนขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส จะส่งผลให้แนวปะการังทั่วโลกกว่า 70% ฟอกขาว, ภัยพิบัติเกี่ยวกับสภาพอากาศจะยิ่งเกิดถี่และทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น, นอกจากนี้ ถิ่นที่อยู่อาศัยครึ่งหนึ่งของประชากรแมลงจะถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อพืชที่พึ่งพิงแมลงผสมเกสร และนำไปสู่ปัญหาการขาดแคลนอาหารในที่สุด" UNEP ระบุ แผนภาพเปรียบเทียบอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกในเดือนพฤษภาคมปีนี้ กับค่าเฉลี่ยมาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าโลกกำลังร้อนขึ้นอย่างชัดเจน //ขอบคุณภาพจาก: UN Environment UNEP ยังรายงานอีกว่า ปี พ.ศ.2563 ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งในปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่เคยมีการตรวจวัด โดยระบุว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาพุ่งสูงจนทำลายสถิติเดือนพฤษภาคมที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ ในขณะที่เดือนมิถุนายนนี้ก็ร้อนไม่แพ้กัน และรั้งตำแหน่งเดือนมิถุนายนที่ร้อนที่สุดเป็นลำดับสอง สภาพอากาศที่ร้อนผิดปกติช่วงเดือนมิถุนายนในแถบขั้วโลกเหนือยังก่อให้เกิดไฟป่าครั้งร้ายแรง เผาไหม้ทุ่งทุนดราในแถบไซบีเรียเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งนอกจากจะก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ปริมาณกว่า 59 เมกกะตัน ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ เสริมให้อุณหภูมิโลกยิ่งสูงขึ้น แนวโน้มสภาพอากาศทั่วโลกที่ร้อนขึ้นอย่างผิดปกติในปีนี้ สอดคล้องกับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศสูงที่ทำลายสถิติสูงสุดอีกครั้ง จากการตรวจวัดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ สถานีตรวจวัดบนยอดเขา Mauna Loa โดยองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา (NOAA) ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในวันดังกล่าวพุ่งสูงถึง 418.32 ppm ในขณะที่ในปีนี้ ประเทศไทยก็เผชิญกับสภาพอากาศร้อนผิดปกติเช่นกัน จากการเก็บข้อมูลสถิติสภาพภูมิอากาศทั่วโลก โดย Maximiliano Herrera นับตั้งแต่เริ่มวันขึ้นปีใหม่ จนถึงวันที่ 15 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า อุณหภูมิเฉลี่ยในของประเทศไทยในเดือนมีนาคม และเดือนมิถุนายน ได้พุ่งสูงจนทำลายสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงสุดเท่าที่เคยมีการตรวจวัด https://greennews.agency/?p=21389
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|