#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. 66 นี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน อุณหภูมิต่ำสุด 27-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยตลอดช่วง ทำให้ประเทศไทยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ประกอบกับในช่วงวันที่ 4 ? 7 มิ.ย. 66 จะมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมาและมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 4 ? 7 มิ.ย. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก ฉบับที่ 7 (167/2566) (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566) มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบน ควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566 สำหรับภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนฟ้าคะนองต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในบริเวณจังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังผลกระทบจากฝนตกหนักและฝนตกสะสมที่อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่ง และดินโคลนถล่มไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
โลกร้อนปี 2070 ไทยอยู่อันดับ 8 เสี่ยงร้อนระดับวิกฤติ Summary - ภาวะโลกร้อนกำลังกดดันให้ประชากรมากกว่า 1 ใน 5 ของโลก ต้องย้ายออกจากภูมิอากาศจำเพาะ หรือภูมิอากาศที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุด ภายในปี 2100 - จากการคาดการณ์ของงานวิจัยล่าสุด ระบุว่า หากอุณหภูมิยังคงเพิ่มสูงขึ้น ในทศวรรษต่อๆ ไป จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก หากผู้กำหนดนโยบายไม่ดำเนินการอย่างเด็ดขาด - อินเดีย ไนจีเรีย และอินโดนีเซีย จะเป็นประเทศที่ประชากรเสี่ยงมากที่สุด โดย บูร์กินาฟาโซ มาลี และกาตาร์จะเผชิญกับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากความร้อนจัด และไม่มีพื้นที่ส่วนใดในดินแดนของประเทศเหล่านี้จะมีอุณหภูมิที่ปลอดภัย ภาวะโลกร้อนกำลังกดดันให้ประชากรมากกว่า 1 ใน 5 ของโลกต้องย้ายออกจากภูมิอากาศจำเพาะ หรือภูมิอากาศที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มากที่สุด ภายในปี 2100 จากการคาดการณ์ของงานวิจัยล่าสุด ระบุว่า หากอุณหภูมิยังคงเพิ่มสูงขึ้น ในทศวรรษต่อๆ ไป จำนวนผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นในหลายๆ พื้นที่ของโลก หากผู้กำหนดนโยบายไม่ดำเนินการอย่างเด็ดขาด เรื่องการลดผลกระทบจากความร้อนระดับอันตราย ภายในสิ้นศตวรรษนี้ ผู้คนเกือบ 2,000 ล้านคนอาจมีชีวิตอยู่กับอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีที่ร้อนกว่า 29 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นระดับอุณหภูมิสูงสุดต่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอดีต หากยังคงดำเนินตามนโยบายอย่างปัจจุบัน อุณหภูมิโลกจะสูงขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.7 องศาเซลเซียสภายในศตวรรษนี้ แต่ถ้าทั้งโลกทำตามเป้าหมายของสหประชาชาติ (UN) จะทำให้อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นเพียง 1.5 องศาเซลเซียส และสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้มากกว่า 1,500 ล้านคน หรือประมาณ 4.4 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลก ภายในปี 2070 ทิม เลนตัน (Tim Lenton) ผู้เขียนงานวิจัยและผู้อำนวยการสถาบัน Global Systems แห่งมหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ (University of Exeter) กล่าวถึงงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Nature Sustainability ว่า การศึกษาของเราเน้นย้ำให้เห็นถึงต้นทุนของมนุษย์ที่ไม่อาจรับมือกับเหตุฉุกเฉินด้านสภาพอากาศได้ โดยทุกๆ 0.1?C ของอุณหภูมิที่ร้อนขึ้นเหนือกว่าระดับปัจจุบัน ผู้คนอีกประมาณ 140 ล้านคนจะต้องเผชิญกับความร้อนระดับอันตราย สิ่งนี้เผยให้เห็นทั้งขนาดของปัญหาและความสำคัญของการดำเนินการอย่างเด็ดขาดเพื่อลดการปล่อยคาร์บอน อินเดีย ไนจีเรีย และอินโดนีเซีย เป็นประเทศที่ประชากรเสี่ยงมากที่สุด หากอุณหภูมิสูงขึ้น โดยจากข้อมูลงานวิจัย ระบุจำนวนประชากรที่ต้องเผชิญกับความร้อนในระดับอันตรายภายในปี 2070 ได้แก่ อินเดีย 617.7 ล้านคน, ไนจีเรีย 323.4 ล้านคน, อินโดนีเซีย 95.2 ล้านคน, ฟิลิปปินส์ 85.6 ล้านคน, ปากีสถาน 84.1 ล้านคน, ซูดาน 79.5 ล้านคน, ไนเจอร์ 72 ล้านคน, ไทย 54.1 ล้านคน, ซาอุดีอาระเบีย 48.9 ล้านคนและบูร์กินาฟาโซ 47.2 ล้านคน นอกจากนี้ ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเพิ่มของอุณหภูมิมากที่สุดตามสัดส่วนของพื้นแผ่นดิน พบว่า บูร์กินาฟาโซ มาลี และกาตาร์ จะเผชิญกับผลกระทบที่เลวร้ายที่สุดจากความร้อนจัด และไม่มีพื้นที่ส่วนใดในดินแดนของประเทศเหล่านี้จะมีอุณหภูมิที่ปลอดภัย ในทางที่ดี หากโลกยังคงยึดมั่นในเป้าหมายด้านสภาพอากาศที่เข้มงวดมากขึ้นและได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ เช่น ในฟิลิปปินส์ มีประชากร 86 ล้านคนจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ร้อนมากขึ้น ซึ่งหากทั่วโลกปฏิบัติตามเป้าหมายของสหประชาชาติ ผู้ที่ได้รับผลกระทบจะลดลงเหลือเพียง 186,000 คน ชือ ซวี (Chi Xu) นักนิเวศวิทยา มหาวิทยาลัยหนานจิง (Nanjing University) หนึ่งในผู้เขียนงานวิจัย ให้ข้อมูลอีกว่า อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงกว่า 28.89 องศาเซลเซียส มีความเกี่ยวข้องกับอัตราการเสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ศักยภาพแรงงานลดลง การตั้งครรภ์ที่อันตรายมากขึ้น ผลผลิตพืชผลลดลง รวมถึงความขัดแย้งและโรคภัยไข้เจ็บที่เพิ่มมากขึ้น ความหนาแน่นของประชากรมนุษย์ในอดีตจะกระจุกตัวกันบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงสุด 2 จุด จุดแรกมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีประมาณ 55 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 12.78 องศาเซลเซียส และอีกจุดหนึ่งอยู่ที่ประมาณ 81 องศาฟาเรนไฮต์ หรือ 27.22 องศาเซลเซียส ซึ่งระดับความร้อนที่เร่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจะกลายเป็นอันตราย คณะผู้เขียนงานวิจัย กล่าวถึงงานวิจัยชิ้นนี้ว่า ส่วนใหญ่การคาดการณ์เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนมักเน้นผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น และให้ความสำคัญกับประชากรจากประเทศร่ำรวยมากกว่า แต่คณะผู้เขียนงานวิจัยต้องการให้สนใจเกี่ยวกับผลกระทบของมนุษย์จากภาวะโลกร้อนมากขึ้น https://plus.thairath.co.th/topic/na...0wJnJ1bGU9MA== ****************************************************************************************************** "กรมทะเลชายฝั่ง" เร่งช่วย "เต่าหญ้า" เกยตื้น ปอดทั้งสองข้างอักเสบรุนแรง "กรมทะเลชายฝั่ง" เร่งช่วยเหลือ "เต่าหญ้า" เกยตื้นที่หาดท้ายเหมือง จ.พังงา แพทย์ตรวจสอบพบ ปอดทั้งสองข้าง อักเสบรุนแรง วันที่ 2 มิถุนายน 2566 มีรายงานว่า เจ้าหน้าที่ศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล และชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน (ศวอบ.) ได้รับแจ้ง จากเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติเขาลําปี-หาดท้ายเหมือง จังหวัดพังงา ว่าพบเต่าหญ้า (Olive ridley turtle) เกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดท้ายเหมือง ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา จึงเข้าช่วยเหลือ และตรวจสอบเต่าเกยตื้นดังกล่าว พบเป็นเต่าหญ้าวัยรุ่น ความยาวกระดอง 51 เซนติเมตร ความกว้างกระดอง 54.5 เซนติเมตร น้ำหนัก 15.4 กิโลกรัม ความสมบูรณ์ของร่างกาย อยู่ในระดับปกติ มีสภาพอ่อนแรง ใบพายหน้าขวาขาดจากการพันรัด เจ้าหน้าที่ได้ทำการวินิจฉัยทางรังสีเบื้องต้น เพื่อตรวจประเมินความเสียหายของใบพายที่บาดเจ็บ พบว่ากระดูกของส่วนปลายแขนหัก และกล้ามเนื้อโดยรอบใบพายอักเสบ รวมทั้งพบว่า ปอดทั้งสองอักเสบรุนแรง จึงได้ทำการรักษา และพักฟื้นยังศูนย์ช่วยชีวิตสัตว์ทะเลหายากสิรีธาร ศวอบ.ต่อไป. https://www.thairath.co.th/news/local/2698896
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|