#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 12 มกราคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ประกอบกับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวฝนเล็กน้อยมีบางแห่งเกิดขึ้น และมีหมอกในตอนเช้า ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นในตอนเช้า ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 13-16 ม.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนระลอกใหม่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีพายุฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน รวมถึงมีฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันปานกลางถึงค่อนข้างมาก เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดี กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมฆบางส่วนกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 13 - 17 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ในช่วงวันที่ 13 ?16 ม.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งเกิดขึ้นได้ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับบริเวณยอดดอยของภาคเหนือมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 10 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภูของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 13 องศาเซลเซียส มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งที่จะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร โดยในช่วงวันที่ 15 ? 17 ม.ค. 67 ประชาชนในภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง ****************************************************************************************************** ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา เรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทยตอนบน ฉบับที่ 2 (2/2567) (มีผลกระทบในช่วงวันที่ 13?16 มกราคม 2567) ในช่วงวันที่ 13-16 ม.ค. 67 คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกจากประเทศเมียนมาจะเคลื่อนผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับ บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนระลอกใหม่จะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่งส่วนมากบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคกลางตอนบน รวมถึงมีฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ในระยะแรก หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณา และสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบดังนี้ วันที่ 13-14 มกราคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ ชัยภูมิ นครราชสีมา ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง วันที่ 15-16 มกราคม 2567 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย ภาคกลาง: จังหวัดกาญจนบุรี
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
สุดทึ่ง! ก้อนเม็ดทรายกลมๆ เต็มหาด นี่คือผลงานของใครกัน? เผยภาพนักสร้างผลงานศิลปะ สุดทึ่ง! "ปูปั้นทราย" จิตรกรตัวน้อย ปั้นก้อนเม็ดทรายกลมๆ เล็กๆ ทั่วหาดทราย ทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารและยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในพื้นดินบนหาดทรายอีกด้วย เวลาที่เราไปเที่ยวทะเลเคยสังเกตกันไหมคะ ว่าก้อนเม็ดทราย กลม ๆ เล็ก ๆ ที่เรียงตัวกันอย่างสวยงามบนชายหาดนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร? แท้ที่จริงแล้วผู้ที่สร้างก้อนเม็ดทราย เหล่านั้นคือ "ปูปั้นทราย" (Sand-Bubbler Crab) ปูปั้นทรายถูกจัดเป็นปูขนาดเล็ก เมื่อโตเต็มที่มีความกว้างของกระดองเฉลี่ยประมาณ 1 เซนติเมตร กระดองกลมโค้งนูน มีขาเรียวยาว และมีก้ามที่โค้งงอ นักอนุกรมวิธานได้จัดจำแนกปูปั้นทรายอยู่ในวงศ์ Dotillidae ซึ่งเป็นปูที่อยู่คนละวงศ์กับปูลม (Ocypodidae) เมื่อถึงเวลาน้ำลงปูปั้นทรายจะออกจากรูและเคลื่อนที่พร้อมกับกินอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ก้ามโค้งงอตักทรายเข้าปาก ปูจะคัดเลือกกินเฉพาะอินทรีย์สารที่อยู่ในทรายเท่านั้น แล้วคายเม็ดทรายกลม ๆ ออกมาทางปากและเขี่ยไปไว้ข้างหลังอย่างมีระเบียบ จากนั้นก็ตักทรายขึ้นมาใหม่และทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ มันจึงได้รับการขนานนามว่า "ปู...ผู้สร้างศิลปะบนหาดทราย" เมื่อมีภัย ปูปั้นทรายสามารถวิ่งลงรูได้ทันทีเพราะไม่มีเม็ดทรายมาคอยระเกะระกะขวางทาง ซึ่งพฤติกรรมการกินอาหารแบบนี้ ทำให้เกิดการหมุนเวียนของธาตุอาหารและยังช่วยเพิ่มปริมาณออกซิเจนในพื้นดินบนหาดทรายอีกด้วย https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/travel/1107706
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|