เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 28-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 28 ตุลาคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับร่องมรสุมพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นได้

อนึ่ง บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ปกคลุมประเทศจีนตอนใต้แล้ว คาดว่าจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันพรุ่งนี้ (29 ต.ค. 65) ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก จะมีอุณหภูมิลดลง 1-2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 27 ? 28 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ทำให้ประเทศไทยตอนบน มีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น สำหรับร่องมรสุมกำลังอ่อนยังคงพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 29 ต.ค. ? 2 พ.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลง มาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง และอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง โดยอุณหภูมิจะเริ่มลดลงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงในระยะถัดไป สำหรับร่องมรสุมจะเลื่อนไปพาดผ่านบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับคลื่นลมบริเวณ ทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศทีเปลี่ยนแปลง และประชาชนบริเวณภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตก สะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควร เดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 28-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


"ดร.ธรณ์" ยกเคสโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้ายเป็นกรณีตัวอย่างอีกครั้ง หลังจากสร้างทางสัตว์ข้ามเขาใหญ่-ทับลาน



ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม ยกเคสเรื่องโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้ายในทะเลสาบสงขลาเป็นกรณีตัวอย่างอีกครั้งของไทย หลังจากเคยลงทุนสร้างทางสัตว์ข้ามที่เขาใหญ่-ทับลาน เผยตอนนี้หลายฝ่ายเริ่มทำงานกันแล้ว

หลังจาก ครม.มีมติก่อสร้าง "สะพานข้ามทะเลสาบสงขลาและสะพานเชื่อมเกาะลันตา" ส่งผลให้หลายฝ่ายเกิดความกังวลถึงผลกระทบที่อาจส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงการดูแลผลกระทบโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้ายที่ทะเลสาบสงขลา

ต่อมาเมื่อวันที่ 26 ต.ค. เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ออกมาโพสต์รายงานความคืบหน้าระบุว่า "อัปเดตเรื่องโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้าย ในทะเลสาบสงขลา ผมทำภาพนี้มาเพื่อให้เพื่อนธรณ์เข้าใจง่ายขึ้นครับ

ทะเลสาบสงขลาแบ่งเป็น 3 ส่วนง่ายๆ ทะเลสาบอยู่ล่างสุดติดกับเมืองสงขลาและเปิดสู่ทะเล ทะเลหลวงใหญ่สุด/น้ำจืด ทะเลน้อยอยู่บนสุด/เล็กสุด เป็นแหล่งดูนกน้ำ ภาพนี้เน้นทะเลหลวง อันเป็นแหล่งที่อยู่ของโลมาในน้ำจืดฝูงเดียวของไทย ผมนำข้อมูลจากกรมทะเลมาใช้ โลมาใหญ่คือจุดที่สำรวจพบบ่อยสุด โลมาเล็กคือโซนที่พบบ่อยรองลงมา สุดท้ายคือเส้นตรงพร้อมตัวเลข 6.58 กม. นั่นคือสะพานที่วางแผนจะสร้าง จากตำบลจองถนน พัทลุง ข้ามไปตำบลเกาะใหญ่ สงขลา ความยาวสะพานตามนั้นเลย ความกว้าง 14.5 เมตร ช่องลอด 120 เมตร

แน่นอนว่าสะพานมีประโยชน์ต่อผู้คน ร่นระยะทางได้กว่า 80 กม. ลดเวลาได้ราว 2 ชั่วโมง (ตัวเลขจากกรมทางหลวงชนบท) ทำให้คนชายทะเลและชายทะเลสาบเชื่อมต่อกัน ทว่า เราเป็นห่วงโลมา เพราะเหลือน้อยเต็มที หากเป็นอะไรมันจะยากมากที่ทดแทนได้ (ยากมาก = เป็นไปแทบไม่ได้) แม้สะพานจะไม่ทับแหล่งหลักที่เจอโลมา แต่พวกเธออาจว่ายผ่านมาได้ ยังหมายถึงผลกระทบที่อาจเกิดกับปลาที่เป็นอาหาร ฯลฯ เรื่องแบบนี้จึงต้องรอบคอบครับ

เมื่อโครงการผ่าน ครม. กรมทางหลวงชนบทกับกรมทะเลจึงทำงานร่วมกัน โดยกระทรวงคมนาคมตั้งคณะทำงานแก้ไขปัญหาโลมาใกล้สูญพันธุ์ในทะเลสาบสงขลา คณะดังกล่าวมีท่านอธิบดีทั้งสองกรมเป็นประธานร่วม มีผู้แทนจากหลายหน่วยงาน รวมถึงกรมประมง และมีผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอก

เป้าหมายไม่ใช่แค่ดูผลกระทบจากสะพาน ยังกว้างกว่านั้น นั่นคือหาทางว่าเราจะช่วยโลมาได้อย่างไรในทุกวิถีทาง เพราะปัจจุบันมีผลกระทบด้านต่างๆ อยู่แล้ว เมื่อกรณีนี้กลายเป็นที่สนใจและเป็นตัวอย่างของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ยังเกี่ยวข้องกับการเข้าถึงแหล่งทุนโลก จะทำอะไรต้องรอบคอบ ไม่งั้นปัญหาจะไม่จบแค่โลมา แต่ยังรวมถึงอนาคตในการกู้เงินมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในที่อื่นๆ

ตอนนี้หลายฝ่ายเริ่มทำงานกันแล้ว ผมคิดว่าเป็นการเริ่มต้นที่ดี มีการพูดถึงการจัดทำแหล่งทุน แก้ปัญหางบประมาณปกติไม่เพียงพอ แต่ต้องยอมรับเช่นกันว่า ปัญหาที่สะสมมา จนโลมาลดจาก 30+ ตัวเมื่อสิบกว่าปีก่อน จนเหลือไม่ถึงครึ่ง มันไม่ใช่เรื่องแก้ง่ายๆ (ข้อมูลกรมทะเล) เอาเป็นว่า จะพยายามในส่วนที่เกี่ยวข้อง แม้ทราบดีว่ามันเป็นงานสุดหิน

จะมาอัปเดตอีกเรื่อยๆ เพื่อให้เพื่อนธรณ์ทราบ เพราะสำหรับผมแล้ว นี่ถือเป็นกรณีตัวอย่างอีกครั้งของไทย หลังจากเราเคยลงทุนสร้างทางสัตว์ข้ามที่เขาใหญ่-ทับลาน ประเทศต้องพัฒนา คนต้องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น แต่หากการพัฒนาเข้าไปในพื้นที่ใด เราคงต้อง "ลงทุน" เพื่อทุกชีวิตที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้นด้วยครับ"


https://mgronline.com/onlinesection/.../9650000102716

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 28-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


พบกันปีละครั้ง หลังจากนี้ไม่เจอแล้ว ?น้ำตกเกาะรอกใน? ตกลงทะเล หนึ่งเดียวในไทย



วันที่ 27 ตุลาคม เฟชบุ๊ก ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เผยแพร่เรื่อง น้ำตกเกาะรอกใน ซึ่งเป็น น้ำตกที่ไหลลงทะเลแห่งเดียวในประเทศไทย ที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติเกาะลันตา จ.กระบี่ โดย ระบุว่า"
น้ำตกในทะเล "นํ้าตกเกาะรอกใน" อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา

นํ้าตกในทะเล หรือน้ำตกกลางทะเล พบได้ปีละครั้งเท่านั้น "นํ้าตกเกาะรอกใน" อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา จ.กระบี่ สำหรับน้ำตกเกาะรอกใน (หน่วย พิทักษ์ฯ ที่ ลต.1 เกาะรอก) เป็นน้ำตกที่มีเอกลักษณ์ เฉพาะของเกาะรอก มีลักษณะเป็นสายน้ำไหลมาจากยอดเขาสูงเป็นทางยาวตกลงสู่ทะเล

โดยน้ำตกตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ที่ระดับความสูงประมาณ 180 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากการสำรวจพบว่าสังคมพืชบริเวณนั้นเป็นสังคมพืชป่าดิบแล้ง ที่มีพรรณไม้เด่นเป็นไม้วงศ์ยาง มีลำธารเล็กๆ ที่จะมีนํ้าไหลในช่วงที่ฝนตกติดต่อกันหลายๆวัน โดยนักท่อง เที่ยวจะพบเห็นนํ้าตกได้เฉพาะช่วงฤดูฝนจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายน ซึ่งถือได้ว่าใน 1 ปี จะพบน้ำตกได้เพียงแค่ช่วงเวลานี้เท่านั้น


https://www.matichon.co.th/social/news_3640836


__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 28-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


อุณหภูมิของน้ำทะเลกับอนาคตของเรา ............. โดย ไสว บุญมา



การทบทวนผลการวิจัยจำนวนมากสรุปว่าน้ำทะเลร้อนขึ้นเร็วกว่าที่นักวิทยาศาสตร์เคยคาดคิด นั่นหมายถึงภาวะโลกร้อนที่ร้ายแรงขึ้นเร็วกว่าที่คาดกันไว้ด้วย

ทั้งนี้เพราะน้ำทะเลเป็นตัวดูดซับกว่า 90% ของความร้อนส่วนเกินที่อยู่ในชั้นบรรยากาศ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา วารสารวิชาการเกี่ยวกับธรรมชาติชื่อ Nature Reviews ตีพิมพ์ผลงานของผู้เชี่ยวชาญ 15 คนจากจีน สหรัฐ ฝรั่งเศสและออสเตรเลีย

ซึ่งร่วมมือกันทบทวนผลการวิจัยจำนวนมากเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงด้านอุณหภูมิของน้ำทะเล การร่วมมือกันนั้นอยู่เหนือการเมืองระหว่างประเทศซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าแต่ละประเทศมักมีวาระต่างกัน โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจที่กำลังขัดแย้งกันสูง เช่น จีนและสหรัฐ

ผลของการทบทวนบ่งว่า อุณหภูมิของน้ำทะเลทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วและแนวโน้มขณะนี้ชี้ชัดว่ามันกำลังเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งซึ่งในที่สุดอาจจะเป็น 2 ถึง 6 เท่าของระดับที่เพิ่มขึ้นในอดีต

การเพิ่มขึ้นนี้มิใช่เฉพาะในส่วนที่เป็นผิวของน้ำทะเลเท่านั้น หากยังเป็นในส่วนที่อยู่ลึกลงไปมากขึ้นเรื่อย ๆ อีกด้วย

ยิ่งกว่านั้น แนวโน้มยังบ่งอีกว่า การเพิ่มขึ้นนี้จะยังดำเนินต่อไปอีกหลายสิบปี แม้มนุษย์เราจะลดกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกไปในอากาศตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ ณ นครปารีสเมื่อหลายปีก่อนก็ตาม

อย่างไรก็ดี การเพิ่มขึ้นนี้อาจมีความแตกต่างกันบ้างในแต่ละพื้นที่ เช่น เขตที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดจะเป็นทางด้านเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติกและทางทะเลใต้ซึ่งรวมพื้นที่ของมหาสมุทรทั้งหมดที่อยู่ใต้เส้นรุ้งที่ 35 องศาใต้

การเพิ่มขึ้นดังกล่าวจะก่อให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ต่อไปหลายด้านด้วยกัน เช่น ด้านแรกเป็นการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลโดยทั่วไปซึ่งจะเกิดจาก 2 ทางคือ การขยายตัวของน้ำเมื่ออุณหภูมิของมันเพิ่มขึ้นและการละลายของน้ำแข็งทั้งในส่วนที่อยู่ในย่านขั้วโลก และส่วนที่เกาะตัวอยู่เป็นธารน้ำแข็งบนพื้นที่สูง

การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลจะทำให้น้ำท่วมทุกอย่างที่ตั้งอยู่ในที่ต่ำตามย่านชายทะเลซึ่งคาดว่าจะรวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑลด้วย

ด้านที่สอง กระแสน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นจะมีผลกระทบร้ายแรงต่อระบบนิเวศในทะเล เช่น จะเกิดปรากฏการณ์การบานของสาหร่ายทะเลบ่อยขึ้นและอย่างกว้างขวางขึ้น การบานนี้มีพิษต่อสัตว์ทุกอย่างรวมทั้งปะการังยังผลให้เกิดผลกระทบร้ายแรงต่อผู้ที่อาศัยทะเลยังชีพ

ด้านที่สาม ภูมิอากาศโดยทั่วไปถูกกระทบอย่างหนักก่อให้เกิดลมพายุบ่อยขึ้นและร้ายแรงมากขึ้น พร้อม ๆ กับฝนตกหนักมากในบางพื้นที่ในระยะเวลาสั้น ๆ

ในขณะเดียวกันก็เกิดความแห้งแล้งร้ายแรงในพื้นที่บางแห่งของโลกด้วย นอกจากความเสียหายโดยตรงจากความแรงของพายุแล้วยังมีความเสียหายจากภาวะน้ำท่วมในวงกว้างอีกด้วย นอกจากนั้น การผลิตอาหารยังถูกกระทบสูงโดยเฉพาะในพื้นที่ซึ่งมีประชนชนยากจนตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่แล้ว

สำหรับด้านนี้ มีการนำตัวอย่างของความเกี่ยวพันกันโดยตรงระหว่างการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิของน้ำทะเลกับภาวะอากาศเปลี่ยนเมื่อปี 2560 มาเสนอ กล่าวคือ ในเดือนสิงหาคมปีนั้น อุณหภูมิของน้ำทะเลในอ่าวเม็กซิโกขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์

พร้อม ๆ กันนั้นก็เกิดพายุใหญ่ที่ก่อให้เกิดความเสียหายสูงเป็นประวัติการณ์ต่อพื้นที่ทางตอนใต้ของสหรัฐโดยเฉพาะในมลรัฐเท็กซัส ชาวอเมริกันเสียชีวิตกว่า 100 คนและความเสียหายต่อทรัพย์สินประเมินได้เกิน 1.25 แสนล้านดอลลาร์

ข้อสรุปที่ว่าแม้มนุษย์เราจะสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมจนสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ตามข้อตกลง ณ นครปารีสแต่อุณหภูมิโลกจะยังเพิ่มขึ้นไปอีกหลายสิบปี อาจทำให้เกิดคำถามว่าเราจะเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่ออะไรในเมื่อมันจะไม่เกิดผลดี

ประเด็นนี้นักวิชาการย้ำเน้นอีกว่า มนุษย์เรายังไม่สิ้นหวังและยังจำเป็นที่จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่กาอาศ หากทำได้อย่างมีนัยสำคัญในเวลาอันสั้น ผลของมันจะยิ่งลดผลกระทบร้ายแรงดังที่คาดกันไว้ได้มากขึ้น

ในทางตรงข้าม ถ้ายังขืนปล่อยก๊าซนั้นออกไปในระดับที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ผลของมันย่อมร้ายแรงและสุดท้ายมันคงจะทำให้มนุษย์สูญพันธุ์ไปแบบไดโนเสาร์ในเวลาอีกไม่นานนัก.


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1034618

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 28-10-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


พบการระบาดของโรคปะการังบริเวณหมู่เกาะสัตหีบ-แสมสาร

กรุงเทพฯ 27 ต.ค.- อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเผยพบการระบาดโรคปะการังบริเวณหมู่เกาะสัตหีบ-แสมสาร จ.ชลบุรี สั่งเร่งคัดแยกปะการังส่วนที่เป็นโรคออก เพื่อหยุดยั้งการตายของปะการังเพิ่ม



นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกล่าวว่า ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบนฝั่งตะวันออก สถาบันวิจัยและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้สำรวจแนวปะการังบริเวณหมู่เกาะสัตหีบ-แสมสาร จังหวัดชลบุรี พบการระบาดของโรคแถบสีเหลือง ซึ่งโรคแถบสีเหลืองนั้นมีอัตราการลุกลาม ประมาณ 1-6 เซนติเมตร/สัปดาห์ ในปะการังเขากวาง และ 1 เซนติเมตร/เดือนในปะการังโขด หากส่วนใดของปะการังเป็นโรค ปะการังส่วนนั้นจะตาย

ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการติดต่อลุกลามและหยุดยั้งการตายของปะการัง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้ร่วมกับทัพเรือภาคที่ 1 มูลนิธิรักษ์ปะการัง โดยความอุปถัมภ์ของบริษัท เอจีซี วีนิไทย จำกัด (มหาชน) คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี และอาสาสมัครนักดำน้ำ ร่วมกันปฏิบัติการแยกปะการังส่วนที่เป็นโรคออกมาจากแนวปะการังเกาะขาม ซึ่งหากปล่อยเอาไว้อาจเป็นภัยคุกคามร้ายแรงต่อแนวปะการัง ทำให้ปะการังแข็งและปะการังอ่อนได้รับผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง

โรคปะการังเป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่เกิดจากความเครียดทางชีวภาพและ abiotic แต่ปัจจัยบางอย่างสามารถทำให้โรครุนแรงและทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว โดยสิ่งกระตุ้นทางชีวภาพเหล่านี้คือสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต และก่อให้เกิดความเครียดแบบ abiotic ซึ่งเป็นตัวสร้างความเครียดทางสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของความเค็ม และอุณหภูมิแสง เป็นต้น ส่วนสาเหตุสำคัญของการระบาดโรคปะการังนั้น มีความซับซ้อนและไม่เป็นที่เข้าใจ แม้ว่าการวิจัยชี้ให้เห็นว่าตัวการสำคัญของโรคปะการังนั้นเกิดจากภาวะโลกร้อน แต่ยังมีสิ่งหนึ่งที่ทำให้ปะการังเกิดภาวะความเครียดนั่นก็คือ มลพิษบนบก การตกตะกอนการจับปลามากเกินไป และการใช้งานโดยมนุษย์ ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศปะการัง ดังนั้น ตนจึงสั่งการให้นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญด้านปะการัง ของกรมทะเลและชายฝั่ง เตรียมพร้อมและวางแผนเพื่อรับมือการระบาดของโรคปะการัง พร้อมดึงเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล ตลอดจนภาคีเครือข่ายจังหวัด ท้องถิ่น ภาคเอกชน และคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมกับให้ความรู้เกี่ยวกับแนวทางการป้องกันการระบาดของโรคปะการัง รวมถึงอธิบายขั้นตอนในการตรวจหา ประเมิน การตอบสนองต่อการระบาดโรคปะการัง การรับรู้และระบุโรคปะการัง เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ยังพบปะการังที่เป็นโรคระบาดอยู่จำนวนค่อนข้างมากในบริเวณเกาะขามและพื้นที่หมู่เกาะสัตหีบ-แสมสาร จึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือทุกฝ่าย ทั้งเครือข่ายชุมชนชายฝั่ง ผู้ประกอบการท่องเที่ยวและเดินเรือ และประชาชนในพื้นที่ ให้ช่วยกันเป็นหูเป็นตาและติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด หากพบเจอเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ สามารถแจ้งเบาะแสมาได้ที่ สายด่วนพิทักษ์ป่าและรักษาทะเล โทร.1362 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง


https://tna.mcot.net/environment-1045916

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 21:26


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger