#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 30 ธันวาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวมทั้งระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ฝุ่นละอองในระยะนี้: ประเทศไทยตอนบนมีแนวโน้มการสะสมฝุ่นละออง/หมอกควันมากขึ้น เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อนลง และมีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 66 ? 1 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็น ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 4 ม.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง ในช่วงวันที่ 30 ธ.ค. 66 ? 1 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ แต่ยังคงทำให้ภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 2 ? 4 ม.ค. 67 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเริ่มมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพที่เปลี่ยนแปลง และระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตร ในช่วงวันที่ 29 ? 30 ธ.ค. 66 ประชาชนบริเวณภาคใต้ตอนล่างระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม สำหรับชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
นักบรรพชีวิทยาเผย ฟอสซิลกระดูกกราม 19 ล้านปีชี้วิวัฒนาการวาฬ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมส่วนใหญ่มีฟันอยู่ในปาก แต่วาฬบาลีนที่เป็นยักษ์แห่งมหาสมุทร มีข้อยกเว้นที่แปลกประหลาด เพราะแทนที่จะมีฟัน วาฬชนิดนี้กลับมี "บาลีน" คือชั้นเคราตินเนื้อละเอียดคล้ายขนขนาดใหญ่ ไว้ใช้กรองตัวเคยเล็กๆ ออกจากน้ำ พวกมันเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา เจ้าของสถิติคือวาฬสีน้ำเงิน หรือชื่อวิทยาศาสตร์คือ Balaenoptera musculus มีความยาวได้ถึง 30 เมตร จัดว่ายาวกว่าสนามบาสเกตบอล และตลอดประวัติศาสตร์วิวัฒนาการของวาฬบาลีน นักวิจัยเผยว่าแม้วาฬบาลีนที่มีขนาดเล็กยาวราว 5 เมตร เล็กกว่าวาฬบาลีนด้วยกัน แต่ก็ยังถือว่ามีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับสัตว์อื่นๆ ส่วนใหญ่ เมื่อเร็วๆนี้ มีรายงานจากนักบรรพชีวิทยากลุ่มหนึ่งเผยแพร่ในวารสารของราชสมาคมกรุงลอนดอนฉบับบี ด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ นำเสนอการวิเคราะห์ซากดึกดำบรรพ์หรือฟอสซิลส่วนปลายของขากรรไกรล่างของวาฬบาลีนอายุ 19 ล้านปี ที่พบริมฝั่งแม่น้ำเมอร์เรย์ ในรัฐเซาท์ ออสเตรเลีย ประเทศออสเตรเลียเมื่อกว่า 100 ปีก่อน ได้ให้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยคาดว่าฟอสซิลนี้จะเป็นของวาฬบาลีนที่ขนาดยาวประมาณ 9 เมตร ทำให้มันกลายเป็นเจ้าของสถิติใหม่ในช่วงเวลา 19 ล้านปีก่อน สิ่งสำคัญที่สุดของการพบฟอสซิลนี้จากดินแดนทางซีกโลกใต้ แสดงให้เห็นว่าอย่างน้อยทางตอนใต้ของโลก วาฬก็มีขนาดใหญ่ขึ้นเร็วกว่าที่ทฤษฎีที่นำเสนอก่อนหน้าไว้มาก เพราะสถิติเดิมนั้นระบุว่าวาฬที่วิวัฒนาการในยุคแรกๆ มีความยาวเพียง 6 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้ การที่วาฬบาลีนมีลำตัวขนาดใหญ่ทำให้ต้องใช้พลังงานมหาศาล เมื่อตายไปวาฬเหล่านี้จะให้สารอาหารมากมายแก่ระบบนิเวศใต้ท้องทะเลลึก. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2751285
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
'ขั้วโลกเหนือ' วิกฤติ! ร้อนสุดเป็นประวัติการณ์ เจอภัยพิบัติรอบด้าน ................. โดย กฤตพล สุธีภัทรกุล เผยข้อมูลสุดช็อก "ขั้วโลกเหนือ" เจออากาศเปลี่ยนแปลงสุดขั้ว ทั้งหน้าร้อนร้อนที่สุดตั้งแต่เคยมีมา ไฟป่าครั้งใหญ่ น้ำท่วมสูง แถมน้ำแข็งละลายเกิดพื้นที่สีเขียวที่ไม่ควรจะมีในอาร์กติก กระทบวงจรชีวิต "ปลาแซลมอน" ฤดูร้อนในปี 2023 เป็นฤดูร้อนที่ร้อนที่สุดของขั้วโลกเหนือ และเป็นปีที่ร้อนที่สุดเป็นอันดับที่ 6 นับตั้งแต่มีการบันทึกมาตั้งแต่ปี 1900 และอาร์กติกกำลังอุ่นขึ้นเร็วกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกเกือบ 4 เท่า ทำให้เกิดภัยพิบัติรุนแรงทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงน้ำท่วมในรัฐอะแลสกา และไฟป่าครั้งรุนแรงที่สุดในแคนาดา องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ หรือ โนอา (NOAA) ระบุว่า ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจาก "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ซึ่งมีปัจจัยหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลของมนุษย์ โดยนักวิจัยของโนอากล่าวว่าการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในอาร์กติกเป็นตัวอย่างแรกที่จะเกิดขึ้น เมื่อโลกอุ่นขึ้น รายงานของโนอาระบุว่า โดยเมื่อต้นปี 2023 ทะเลทางตอนเหนือของนอร์เวย์และรัสเซียสูงขึ้นจนแตะ 5 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในช่วงปี 1991-2020 ขณะที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของแคนาดาก็ร้อนขึ้น 5 องศาเซลเซียสเช่นเดียวกัน "ตอนนี้สถานการณ์ในอาร์กติกมีความเกี่ยวข้องกับเรามากขึ้นกว่าในอดีตมาก เพราะสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นในขั้วโลกเหนือจะเกิดขึ้นกับพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วโลก ภายในไม่กี่ปีข้างหน้า" ริค สปินราด ผู้บริหาร NOAA กล่าว แผ่นน้ำแข็งอาร์กติกละลายต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในแถบอาร์กติกไม่เพียงจะบอกใบ้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นอนาคตเท่านั้น เนื่องจากสิ่งเหล่านี้ส่งผลโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศทั่วโลก ตั้งแต่ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ไปจนถึงรูปแบบสภาพอากาศแบบใหม่ ไปจนถึงการอพยพของสัตว์ป่าที่เปลี่ยนแปลงไป ดังที่สปินราดกล่าวไว้ "สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกจะส่งผลกระทบไปทั่วโลก" ตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ ในปี 2023 แผ่นน้ำแข็งในกรีนแลนด์ละลายไปมากกว่า 150,000 ล้านตัน แม้จะน้อยกว่าค่าเฉลี่ยล่าสุด เพราะหิมะตกมากกว่าปรกติ แต่การละลายของแผ่นน้ำแข็งที่เป็นสาเหตุสำคัญอันดับ 2 ที่ทำให้น้ำทะเลทั่วโลกสูงขึ้น (ส่วนสาเหตุอันดับ 1 คือ การขยายตัวของน้ำเมื่ออุ่นขึ้น) นอกจากนี้ แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์กำลังสูญเสียมวลของตัวเอง จนไม่สามารถรักษาสมดุลทำให้หิมะที่ตกใหม่ควบแน่นเป็นแผ่นน้ำแข็งที่แข็งแรงเหมือนเดิม ข้อมูลดาวเทียมชี้ให้เห็นว่าปริมาณน้ำแข็งในทะเลในปีนี้นั้นต่ำสุดเป็นอันดับ 6 นับตั้งแต่เริ่มบันทึกในปี 1979 "ถึงน้ำแข็งจะละลายน้อยกว่าหลายปีที่ผ่านมา เพราะหิมะตกหนัก ไม่ได้เป็นเพราะอากาศเย็น ปีนี้อากาศอุ่นกว่าที่เคยมาก" ริก โธแมน ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศอาร์กติกจากมหาวิทยาลัยอะแลสกาแฟร์แบงค์ และหัวหน้าบรรณาธิการของรายงานฉบับนี้ กล่าวในรายงานประจำปี ทุ่งหญ้าที่ไม่ควรมีอยู่ในอาร์กติก รายงานของโนอายังเผยข้อมูลชวนช็อกว่า พบพื้นที่สีเขียวจำนวนมากในเขตอาร์กติก เป็นผลมาจากอุณหภูมิที่อุ่นขึ้น ปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น และการละลายของชั้นดินเยือกแข็งถาวร (Permafrost) ส่งผลให้พุ่มไม้และต้นไม้เข้าปกคลุมทุ่งหญ้าและทุ่งทุนดรา สำหรับบริเวณที่พบพื้นที่สีเขียวในอาร์กติกมากที่สุดในปีนี้ คือ ทุ่งทุนดราในอเมริกาเหนือ ส่วนแถบอาร์กติกยูเรเชียนยังคงมีน้ำแข็งปกคลุมมากกว่า นอกจากนี้ในปีนี้ยังถือว่าเป็นปีที่มีการพ้นพื้นที่สีเขียวมากที่สุดเป็นอันดับ 3 นับตั้งแต่มีการศึกษาเก็บข้อมูลมา 24 ปี สภาพภูมิประเทศทุ่งหญ้าเขียวขจีแบบนี้ที่ไม่ควรมีอยู่ในอาร์กติก เพราะจะยิ่งเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากที่สะสมอยู่ในชั้นดินเยือกแข็งถาวรออกมา ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันในพื้นที่ทุ่งหญ้าทุนดราแห้งแล้งกลับเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดไฟป่า ในปีนี้แคนาดาเผชิญกับฤดูไฟป่าที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ในปี 2566 เกิดไฟป่านับครั้งไม่ถ้วนตั้งแต่บริเวณเขตอาร์กติกไปจนถึงชายแดนสหรัฐทั้งทางตะวันออกและตะวันตก พื้นที่ป่า 25 ล้านไร่ถูกเผาวอด ประชาชนหลายหมื่นคนต้องอพยพถิ่นฐาน และควันไฟก็สร้างมลพิษลงไปไกลจนถึงทางตอนใต้ของสหรัฐ วิกฤติปลาแซลมอน ปลาแซลมอนเป็นสัตว์สำคัญในระบบนิเวศ เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมหลายแห่งของภูมิภาคอาร์กติก แต่ตอนนี้แซลมอนหลายสายพันธุ์กลับกำลังสร้างปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ทางตะวันตกของรัฐอะแลสกาประสบปัญหาปลาแซลมอนสายพันธุ์ชินูกและชุมมีจำนวนต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้ต้องปิดเขตประมงในแม่น้ำยูคอนและแม่น้ำสาขาอื่นๆ ในทะเลแบริ่ง แต่ขณะเดียวกันปลาแซลมอนซ็อกอายในอ่าวบริสตอลกลับมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น จนทำให้ราคาตกต่ำ ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม นักวิจัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าทำไมปลาแซลมอนแต่ละสายพันธุ์ถึงได้มีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแตกต่างออกไป แต่นักวิจัยกล่าวว่า อาจเชื่อมโยงกับสภาพแวดที่เปลี่ยนแปลงในมหาสมุทรและระบบนิเวศน้ำจืด ซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยหลักของปลาแซลมอน อุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมทั่วอาร์กติก โนอาย้ำเตือนว่าถึงเวลาแล้วที่นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย รัฐบาล คนในพื้นที่และชุมชนท้องถิ่น จะต้องร่วมกันทำงานเพื่อสร้างแบบจำลองความเปลี่ยนแปลงในระยะยาวที่เกิดขึ้นบริเวณแถบขั้วโลกเหนือ ขณะเดียวกันแต่ละประเทศและประชาคมโลกจะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ได้มากที่สุด ที่มา: NOAA, NPR, Reuters, The New York Times https://www.bangkokbiznews.com/environment/1105986
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|