#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม 2567
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และตอนบนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่มีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนตกหนักบางแห่ง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "อ็อมปึล" มีศูนย์กลางบริเวณทิศตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น โดยพายุนี้ไม่มีผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทย ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าวตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในช่วงวันดังกล่าวไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และประเทศลาว เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ในขณะที่ในช่วงวันที่ 20 - 22 ส.ค. 67 จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะเช่นนี้ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่ง และมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือ ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก SpringNews
ทำความเข้าใจ "ระดับน้ำทะเลท่วมสูง" ที่จะกระทบผู้คน 400 ล้านคนในปี 2100 SHORT CUT - วิกฤติน้ำทะเลเพิ่มสูง อาจกระทบชีวิตผู้คนมากกว่า 410 ล้านคนภายในปี 2100 และกรุงเทพก็เสี่ยงรับผลกระทบด้วย - อุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจนธารน้ำแข็งเกิดการละลาย ส่งผลให้น้ำทะเลยะระดับสูงขึ้น - หลายประเทศที่มีความเสี่ยงเริ่มเตรียมแผนรับมือผลกระทบจากน้ำทะเลเพิ่มสูงแล้ว เมื่อวิกฤตสภาพภูมิอากาศทำให้ระดับน้ำทะเลทั่วโลกเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จนมีการคาดการณ์ว่า ผู้คนมากกว่า 410 ล้านคนอาจมีความเสี่ยงจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นภายในปี 2100 และกรุงเทพอาจเป็นหนึ่งในเมืองที่รับผลกระทบด้วย ระดับน้ำทะเลวัดได้อย่างไร? องค์กรวิจัยของสถาบันสมิธโซเนียนระบุว่า ในช่วงทศวรรษที่ 1800 เราสามารถวัดระดับพื้นผิวของน้ำทะเล โดยใช้มาตรวัดที่ติดอยู่กับโครงสร้าง เช่น ท่าเรือวัดระดับน้ำทะเลทั่วโลก แต่อาจมีความคลาดเคลื่อนจากปัจจัยด้านสภาพอากาศ ปัจจุบันจึงมีดาวเทียมที่สามารถสะท้อนสัญญาณเรดาร์จากพื้นผิวมหาสมุทรทั่วโลกเพื่อวัดระดับและหาค่าเฉลี่ยได้อย่างแม่นยำ ย้อนกลับไปเมื่อปี 2021 นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ 'ร่องรอย' ของระดับน้ำทะเลจากแผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นหลักฐานยืนยันความน่ากลัวของการที่น้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วเนื่องมาจากวิกฤติสภาพอากาศ โดยตอนนี้แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์สูญเสียน้ำแข็งประมาณ 30 ล้านตันต่อชั่วโมง และคาดว่ามันจะพังทลายลงทั้งหมดภายในปี 2025 ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้นรวดเร็วแค่ไหน? รายงานของ NASA ระบุว่า ระดับน้ำทะเลทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นแล้วกว่า 10 ซม. ระหว่างปี 1993 ถึง 2024 ซึ่งนับเป็นระดับที่สูงขึ้นในอัตราที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในช่วง 2,500 ปีที่ผ่านมา และหลายหน่วยงานของสหรัฐฯ ต่างส่งคำเตือนตรงกันว่า ระดับน้ำตามแนวชายฝั่งของประเทศอาจเพิ่มขึ้นอีก 25-30 ซม. ภายในปี 2050 เมื่อวัดเป็นระดับเซ็นติเมตรอาจทำให้รู้สึกว่าระดับน้ำทะเลสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การเพิ่มระดับขึ้นอย่างต่อเนื่องจะส่งผลกระทบที่รุนแรงในระยะยาว โดยเฉพาะเมื่อมีภัยพิบัติอย่าง 'สตอร์ม เซิร์จ' ที่สามารถโหมทำลายพื้นที่ชายฝั่งได้ลึกกว่าเดิม อะไรทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น? ปัจจัยหลักคงหนีไม่พ้นอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นจนธารน้ำแข็งเกิดการละลาย ส่งผลให้น้ำทะเลยกระดับสูงขึ้น ส่วนน้ำทะเลที่มีอุณหภูมิสูงก็ไปทำให้น้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็วมากกว่าเดิม เกิดเป็นผลกระทบลูกโซ่ไม่สิ้นสุด โดยปัจจุบันมีรายงานว่ากรีนแลนด์และแอนตาร์กติกาต้องเผชิญการสูญเสียน้ำแข็งประมาณ 270 พันล้านและ 150 พันล้านตันต่อปี ประเทศใดจะได้รับผลกระทบมากที่สุด? องค์การสหประชาชาติระบุว่า บังกลาเทศ จีน อินเดีย และเนเธอร์แลนด์ คือประเทศที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบจากระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้นมากที่สุด ซึ่งจะทำให้ประชาชนเกือบ 900 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชายฝั่งทะเลต่ำตกอยู่ในอันตราย ส่วนงานวิจัยล่าสุดของสหรัฐฯ ระบุว่า มีชุมชนบริเวณชายฝั่งหลายแห่งที่เสี่ยงจมหายไปกับน้ำภายในสามทศวรรษ และอีกหลายชุมชนที่เสี่ยงเผชิญน้ำท่วมทุกเดือน ขณะที่กรุงเทพ เมืองหลวงของไทย ก็ได้รับการคาดการณ์จากผู้เชี่ยวชาญว่า มีโอกาสกลายเป็น 'เมืองจมน้ำ' ได้ในอนาคตอันใกล้นี้เช่นกัน พื้นที่เสี่ยงปรับตัวอย่างไรได้บ้าง? แม้จะไม่ถูกคาดการณ์ให้เป็นพื้นที่เสี่ยงสูง แต่หลายประเทศก็เริ่มเตรียมแผนรับมือวิกฤติระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น นิวซีแลนด์ - มีนโยบายการออกแบบพื้นที่สาธารณะให้ลดความเสี่ยงด้านอันตรายจากสภาพภูมิอากาศ, เดนมาร์ก เยอรมนี และสหราชอาณาจักร เริ่มสร้างกำแพงกันคลื่น และแนวป้องกันชายฝั่งอื่นๆ, เกาหลีใต้และหมู่เกาะมัลดีฟส์ในมหาสมุทรอินเดียกำลังทดลองสร้างบ้านลอยน้ำ ในขณะที่จีน อินเดีย และประเทศอื่นๆ กำลังค้นหาวิธีดูดซับและกักเก็บน้ำจากพายุเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ส่วนฟิจิมีการเตรียมรับมือเข้มงวดกว่าทุกที่ ด้วยการวางแผนย้ายหมู่บ้านทั้งหมดกว่า 42 แห่ง ออกจากพื้นที่เสี่ยง ไปยังพื้นที่ที่ปลอดภัยกว่าเดิมให้เสร็จสิ้นภายใน 10 ปี https://www.springnews.co.th/keep-th...-change/852165
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|