เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 23-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 23 มกราคม 2564

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในขณะที่ลมฝ่ายตะวันตกพัดปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกอุณหภูมิสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้าและมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย ส่วนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 23 - 24 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อน ทำให้บริเวณดังกล่าวอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังอ่อนลง ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน

ส่วนในช่วงวันที่ 25 - 28 ม.ค. 64 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 22 - 24 ม.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกหนาไว้ด้วย









__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 23-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์


จี้เจ้าท่าแก้กัดเซาะชายฝั่งเมืองคอนวิกฤติ 3 จุด

"อธิรัฐ"?รมช.คมนาคม ลงพื้นที่เมืองคอน ตรวจปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง 3 จุด ใน อ.หัวไทร และ อ.ปากพนัง สั่งกรมเจ้าท่าบูรณาการจังหวัดเร่งแก้ไขด่วน วางหินแก้ความเดือดร้อน พร้อมเสนอของบปี 66 สร้างเขื่อน?


?
เมื่อวันที่?22 ม.ค.64 ณ จ.นครศรีธรรมราช นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ลงพื้นที่ตรวจปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง จำนวน 3 จุด โดยมี นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผวจ.นครศรีธรรมราช และ ส.ส.สัณหพจน์ สุขศรีเมือง เขต 2 จ.นครศรีธรรมราช ร่วมให้การต้อนรับ?

นายอธิรัฐ เปิดเผยว่า ผลลงพื้นที่ตรวจปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งรุนแรง จำนวน 3 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 ณ หมู่ 5 ต.หน้าสตน อ.หัวไทร เนื่องจากปัญหาบริเวณนี้เกิดจากการก่อสร้างเขื่อนหินทิ้งที่ยังไม่แล้วเสร็จตลอดแนว ประชาชนในพื้นที่บางส่วนมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ส่งผลให้ส่วนที่ยังไม่ได้ก่อสร้าง (ด้านทิศเหนือ) ชายฝั่งถูกกัดกัดเซาะได้รับความเสียหาย จึงได้มอบหมายให้กรมเจ้าท่าประสานหน่วยงานในพื้นที่เร่งทำความเข้าใจกับผู้อยู่อาศัยบริเวณดังกล่าว เพื่อสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการก่อสร้างเขื่อนส่วนที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

นายอธิรัฐ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นให้ใช้การวางหินเพื่อชะลอความเดือดร้อนดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้สั่งการให้กรมเจ้าท่าประสานสำนักงานโยธาฯ หน่วยงานในพื้นที่ และภาคประชาชน โดยมี ผวจ.นครศรีธรรมราช เป็นประธาน เพื่อเร่งหาแนวทางดำเนินการก่อสร้างเขื่อนระยะทางประมาณ 3,000 ม. ให้ครอบคลุมพื้นที่ได้รับผลกระทบ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้กลางปี 64?

นายอธิรัฐ กล่าวอีกว่า จุดที่?2?ณ?บริเวณมัสยิดแสงอรุณ หมู่ 9?ต.เกาะเพชร?อ.หัวไทร?ซึ่งเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากคลื่นเข้าช่องว่างระหว่าง?Offshore Breakwater?ทำให้ชายฝั่งได้รับความเสียหาย จึงสั่งให้กรมเจ้าท่าเร่งเสนอแผนของบประมาณภายในปี 66 เพื่อก่อสร้างเขื่อนแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งบริเวณหมู่ 5,?6 และ 9 ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร ต่อไป?และ จุดที่?3 ณ วัดแหลมตะลุมพุก หมู่ 3?ต.แหลมตะลุมพุก?อ.ปากพนัง?เกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากยังไม่มีสิ่งป้องกันที่มั่นคงแข็งแรง?จึงมอบหมายให้กรมเจ้าท่าเร่งประสานหน่วยงานจังหวัด เพื่อ ผวจ.นครศรีธรรมราชพิจารณาสั่งการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดฯ ดำเนินการแก้ไขปัญหา คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในกลางปี 64


https://www.dailynews.co.th/economic/820757

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 23-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


ตำรวจออสเตรเลียคาดชายที่หายตัวถูกฉลามกิน



ซิดนีย์ 22 ม.ค. ? ตำรวจออสเตรเลียสันนิษฐานว่า ชายชาวออสเตรเลียที่หายตัวไปขณะดำน้ำตื้นในพื้นที่แถบชายฝั่งตอนใต้ของออสเตรเลียอาจถูกฉลามกินไปแล้วหลังเจ้าหน้าที่ตามสืบร่องรอยและพบเพียงเศษชิ้นส่วนอุปกรณ์ดำน้ำ

ตำรวจออสเตรเลียรายงานว่า เจ้าหน้าที่กู้ภัยต้องนำกำลังค้นหาชายคนดังกล่าวทั้งทางอากาศและทางทะเล เนื่องจากเขาหายตัวไปตั้งแต่ช่วงเย็นวานนี้ขณะที่ออกไปดำน้ำในพื้นที่ใกล้กับเมืองพอร์ทแมคดอนเนลล์บนชายฝั่งตอนใต้ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียของออสเตรเลีย อย่างไรก็ดี เจ้าหน้าที่ต้องลดระดับการค้นหาลงเมื่อพบชุดดำน้ำขาดวิ่นและตีนกบสำหรับดำน้ำที่ลอยอยู่ในทะเล บรรษัทกระจายเสียงออสเตรเลียหรือเอบีซีรายงานอ้างคำพูดของตำรวจรัฐเซาท์ออสเตรเลียว่า ทีมกู้ภัยยังไม่พบร่างชายคนดังกล่าว แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ต้องการเข้าไปสำรวจ ทั้งยังระบุว่า เขาได้รับรายงานว่ามีผู้พบเห็นฉลามในบริเวณที่ชายคนดังกล่าวหายตัวไปในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ ตำรวจรัฐเซาท์ออสเตรเลียไม่ได้เปิดเผยข้อมูลของชายคนดังกล่าว โดยระบุเพียงว่าเขามีอายุ 32 ปีและเดินทางมาจากรัฐวิกตอเรียที่มีพรมแดนติดกับรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ขณะที่สื่อท้องถิ่นของออสเตรเลียรายงานว่าชายคนดังกล่าวเดินทางมาพักผ่อนพร้อมครอบครัวในจุดที่มีชื่อเสียงด้านการโต้คลื่นและการดำน้ำ ครอบครัวของชายคนดังกล่าวได้เข้าแจ้งความกับตำรวจเมื่อพบว่าเขาหายตัวไปหลังออกไปดำน้ำ

เหตุดังกล่าวถือเป็นผู้เสียชีวิตจากการถูกฉลามจู่โจมเป็นรายแรกของปีนี้ ออสเตรเลียมีผู้เสียชีวิตจากเหตุฉลามจู่โจม 8 คนในปี 2563 ซึ่งพุ่งสูงขึ้นจากปี 2562 ที่ไม่มีผู้เสียชีวิตเลยแม้แต่คนเดียว.


https://tna.mcot.net/world-622879

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 23-01-2021
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE


โพลาร์ วอร์เท็กซ์: ยามเมื่อเครื่องปรับอากาศโลกเริ่มรวน ................. โดย รัตนศิริ กิตติก้องนภางค์

กรุงเทพฯหนาว เวียดนามหิมะตก จีนหนาวสุดขั้ว สภาพภูมิอากาศเหล่านี้มิได้หมายความว่าโลกของเราหลุดพ้นจากวิกฤตโลกร้อนแล้ว แต่นี่คือหนึ่งในปรากฎการณ์สภาพภูมิอากาศแปรปรวนที่เกี่ยวข้องโดยตรงและเป็นผลกระทบที่เกิดการที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้น ทำให้อุณภูมิของน้ำในมหาสมุทรอุ่นขึ้น จนกระทั่งนำแข็งขั้วโลกละลายอย่างรวดเร็ว และกระแสลมวนที่เรียกว่า ?โพลาร์ วอร์เท็กซ์? (Polar Vortex) ที่ไม่สมดุลนั้น ขณะนี้ได้พัดพาเอาอากาศที่เย็นจากน้ำแข็งที่ละลายไปยังภูมิภาคอื่นของโลก เรามาทำความรู้จักกับโพลาร์ วอร์เท็กซ์กันสักนิด ว่าปรากฎการณ์นี้บอกอะไรกับสุขภาพของโลกเราในปัจจุบัน

ในช่วงเดือนมกราคมของปีที่แล้วและสองปีที่แล้วโลกของเราก็เผชิญกับปรากฎการณ์โพลาร์ วอร์เท็กซ์เช่นกัน และเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ถึงการทวีตข้อความของอดีตประธานาธบดีสหรัฐอเมริกา โดนัลด์ ทรัมป์ ที่กล่าวว่า ?What the hell is going on with Global Waming? Please come back fast, we need you!? (เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2562 แต่ปัจจุบันนี้แอคเคานท์ได้ถูกทวิตเตอร์ระงับไปแล้ว) เขาได้ร้องถามว่าโลกร้อนไปไหน กลับมาด่วน และได้ถูกนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากโต้กลับ เพราะความหนาวเย็นที่เกิดขึ้นนี้ไม่ได้ช่วยให้ภาวะโลกร้อนหายไป แต่การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ได้บ่งชี้แล้วถึงความสัมพันธ์ระหว่างอาร์กติกที่กำลังละลาย และอุณหภูมิหนาวเย็นที่ผิดปกติของภูมิภาคอื่นในช่วงฤดูหนาวต้นปี





แผนที่ระดับอุณหภูมิพื้นผิวโลก จาก climatereanalyzer.org เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2564 แสดงให้เห็นถึงอุณหภูมิพื้นผิวบางแห่งในแถบเอเชียกลางที่อุณหภูมิเฉลี่ยใกล้เคียงขั้วโลกเหนือ


ความสัมพันธ์สามเศร้า ของโลก อาร์กติก และวิกฤตโลกร้อน

โพลาร์ วอร์เท็กซ์ หรือลมวนขั้วโลกนั้น เป็นกระแสลมที่มีความรุนแรงหมุนทวนเข็มนาฬิกาวนรอบเหนืออาร์กติกราว 50 กิโลเมตร และมีบทบาทในการเก็บรักษาลมเย็นไว้ที่ภูมิภาคอาร์กติก และไม่ให้ความร้อนจากภายนอกเข้ามา กระแสลมนี้ไม่ใช่พายุแต่อย่างไร เป็นเสมือนอาณาเขตกั้นระหว่างอากาศเย็นเยือกแข็งของอาร์กติกและอากาศอุ่นรอบแลติจูดกลางไม่ให้เล็ดลอดไปหากัน นั่นคือสภาพปกติของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ แต่หากมีอะไรทำให้สมดุลของระบบกระแสลมนี้เปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นการลดความแข็งแกร่งของกระแสลม เปลี่ยนทิศทางลม หรือทำให้กระแสลมแตกเป็นหลายสาย จะทำให้อุณหภูมิของภูมิภาคอาร์กติกสูงขึ้น ขณะที่พื้นที่อื่นของโลกได้รับอิทธิพลจากโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่แปรปรวน ก็คือมีอุณหภูมิต่ำลง


ภาพอธิบายหลักเกณฑ์ของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ การทำงานของกระแสลมในภาวะสมดุล และไม่สมดุล ที่มา: NOAA หรือดูที่กราฟิกเคลื่อนไหวของ NASA นี้ จะเข้าใจง่ายขึ้น

ช่วงหลายปีมานี้ผลกระทบจากโพลาร์ วอร์เท็กซ์ที่ไม่สมดุลเกิดถี่ขึ้น และรุนแรงขึ้น อาจจะตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา (Pierre-Louis, New York Times, 2019) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ กระแสลมโพลาร์ วอร์เท็กซ์มีภาวะไม่สมดุล แตกเป็นหลายสาย ทำให้อุณหภูมิหนาวเย็นของอาร์กติกหลุดลอดออกมา (เช่นเดียวกับที่อากาศร้อนหลุดเข้าไปที่อาร์กติก) นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตเชื่อมโยงระหว่างวิกฤตโลกร้อนกับโพลาร์ วอร์เท็กซ์ ว่าต่อจากนี้ไป อาร์กติกที่อุ่นขึ้นจะยิ่งทำให้เกิดสภาพภูมิอากาศแปรปรวนรุนแรงมากขึ้น เช่น ฤดูหนาวสั้นลง พายุถี่และทวีความรุนแรงขึ้น

สิ่งที่เกิดขึ้นในอาร์กติกไม่ได้อยู่เพียงแค่ในอาร์กติก สาเหตุที่ความไม่สมดุลที่เกิดขึ้นกับอาร์กติกจะกระทบถึงโลกทั้งใบได้ นั่นก็เพราะอาร์กติกทำหน้าที่เสมือนเครื่องปรับอากาศของโลก คอยรักษาความเย็นและสมดุลของสภาพภูมิอากาศของโลกทั้งใบไว้ น้ำแข็งสีขาวของอาร์กติกทำหน้าที่เป็นเสมือนกระจกบานใหญ่ที่สะท้อนแสงอาทิตย์และความร้อนกลับไปยังชั้นบรรยากาศ เมื่อสภาวะโลกร้อนทำให้อุณหภูมิพื้นผิวโลกและน้ำทะเลสูงขึ้น อาร์กติกที่ละลายแทนที่จะสะท้อนแสงอาทิตย์กลับไป แต่ยิ่งดูดซับไว้ด้วยสีเข้มของมหาสมุทร วัฏจักรวิกฤตสภาพภูมิอากาศจะยิ่งยากที่จะย้อนกลับหากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ลดลง และน้ำแข็งขั้วโลกเหลือน้อยลงเรื่อย ๆ

Jennifer Francis นักวิทยาศาสตร์อาวุโสแห่งศูนย์ Woods Hole Research Centre ผู้ศึกษาผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและทางออก วิเคราะห์ในงานวิจัยว่า ทะเลน้ำแข็งของอาร์กติกที่ละลายอาจเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงสมดุลของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ และมีแนวโน้มจะเกิดบ่อยขึ้น เนื่องจากมหาสมุทรที่ไร้น้ำแข็งนั้นดูดซับความร้อน ไม่ได้สะท้อนกลับ ทำให้เกิดจุดความร้อนขึ้น และนี่คือสาเหตุที่กระแสลมโพลาร์ วอร์เท็กซ์ แยกเป็นหลายสาย (Francis, 2019)

ก๊าซเรือนกระจกอันเกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ได้ทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น 1 องศาเซีลเซียสภายในช่วงเวลา 50 ปี ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่สั้นมากสำหรับประวัติศาสตร์โลก เมื่อเกิดสภาวะโลกร้อนขึ้น ไม่ใช่ทุกพื้นที่จะอุ่นขึ้นในอัตราที่เท่ากัน อาร์กติกนั้นมีอัตราอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นมากกว่าพื้นที่อื่นสองเท่า (Serreze, 2018) และเมื่ออุณหภูมิน้ำทะเลรอบอาร์กติกที่สูงขึ้นนั้นยิ่งทำให้ทะเลแข็งตัวยากขึ้น อุณหภูมิของอาร์กติกที่ขยับสูงขึ้นจนใกล้เคียงกับพื้นที่แลติจูดกลางนั้นยังเป็นการเปลี่ยนแปลงกระแสลมเจ็ทสตรีมในชั้นบรรยากาศให้อ่อนตัวลง การเปลี่ยนแปลงของกระแสลมนี้ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศแบบสุดขั้ว ดังที่ปรากฎขึ้นแล้วที่ตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย


13 มกราคม 2564: ดาวเทียม GOES West ขององค์กร NOAA (National Oceanic and Atmospheric Administration) ได้บันทึกภาพไซโคลนขนาดใหญ่ที่กำลังเคลื่อนเข้าใกล้อ่าวอลาสก้า (ที่มา:www.nesdis.noaa.gov)


วิกฤตโลกร้อนไม่ใช่เรื่องหลอกลวงเพียงแค่อากาศบางแห่งเย็นขึ้น เราอาจจะต้องมาทำความเข้าใจกับ ?อากาศ? และ ?สภาพภูมิอากาศ? กันอีกครั้ง

การที่อุณหภูมิบางพื้นที่สูงขึ้นนั้นเป็นการเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว ไม่ใช่ระยะยาว อากาศหนาวเย็นสุดขั้วที่ผิดปกตินั้นไม่ใช่สภาพภูมิอากาศ แต่คือสภาพอากาศ ขณะที่บางพื้นที่มีอากาศหนาวเย็น อย่าลืมว่าบางพื้นที่ก็เผชิญกับอากาศร้อนสุดขั้วที่ไม่ปกติเช่นกัน ดังที่เกิดขึ้นเมื่อปีที่แล้ว กับการที่สหรัฐอเมริกาเผชิญกับอุณหภูมิต่ำโหดร้ายในเดือนมกราคม ทางฝั่งออสเตรเลียกลับเผชิญกับอากาศที่ร้อนเป็นประวัติการณ์ (สูงกว่า 46 องศาเซลเซียส) และไฟป่าที่โหมรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ (Cave, New York Times, 2020)

ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกได้ทำลายสถิติอุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุดในประวัติศาสตร์และปี 2563 ล่าสุดที่เพิ่งผ่านมา ข้อมูลจาก NASA (2021) ระบุว่า เป็นอีกปีที่ร้อนที่สุดในประวัติศาสตร์ เทียบเท่ากับปี 2559 ซึ่งผู้เชี่ยวชาญของ NASA Gavin Schmidt ยังเสริมว่า ?ปีไหนจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดอาจจะไม่ได้สำคัญนัก แต่สิ่งที่สำคัญคือแนวโน้มระยะยาว หากยังเป็นเช่นนี้ และผลกระทบจากมนุษย์ต่อสภาพภูมิอากาศยังเพิ่มสูงขึ้น เราคงได้แค่เห็นว่าสถิติอุณหภูมิปีที่ร้อนก็มีแต่จะสูงขึ้นเรือยๆ?

สิ่งที่ Gavin Schmidt วิเคราะห์ไว้อย่างน่าสนใจคือ ในปี 2563 มีสองเหตุการณ์หลักที่ทำให้แสงอาทิตย์เข้าถึงพื้นผิวโลกได้มากขึ้น หนึ่งคือ ไฟป่าออสเตรเลียในครึ่งปีแรก ที่เผาผลาญป่าไป 46 ล้านเอเคอร์ ปล่อยควันและมลพิษอื่นขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ ปิดกั้นแสงอาทิตย์ และอาจทำให้ชั้นบรรยากาศเย็นลง แต่ในทางกลับกัน การชัทดาวน์ในหลายพื้นที่ของโลกเนื่องมาจากการแพร่ระบาดไวรัส Covid-19 แม้จะช่วยลดมลพิษทางอากาศและคาร์บอนไดออกไซด์ได้ในหลายพื้นที่ แต่ความเข้มข้นของคาร์บอนโดยรวมก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น ที่น่าสังเกตุอีกประการคือ ในปี 2559 มีปรากฎการณ์ El Nino ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่ในปีที่แล้วแม้จะไม่มี El Nino ประกอบกับการชัทดาวน์บางส่วนบางช่วงเวลานั้น ก็เป็นอีกหลักฐานหนึ่งว่า ก๊าซเรือนกระจกที่ยังเข้มข้นสะสมนั้นยังคงทำให้สภาพภูมิอากาศร้อนขึ้นได้ต่อเนื่อง

สำหรับเราขั้วโลกเหนือดูจะเป็นดินแดนที่ห่างไกล และไม่เกี่ยวกับเราสักเท่าไหร่ แต่ปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนไปของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ก็ทำให้คนที่อยู่บนเส้นศูนย์สูตรอย่างเราสัมผัสได้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่แปรปรวนทางสภาพภูมิอากาศ โลกของเรากลมและเล็กกว่าที่คิด และกิจกรรมของมนุษย์มีผลอย่างใหญ่หลวงต่อความสมดุลของโลก หรืออย่างน้อยก็ต่ออาร์กติกที่เป็นเครื่องปรับอากาศของโลกนี้ การเปลี่ยนแปลงหรือความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศอาจจะไม่ได้ชัดเจนเสมอ แต่สาเหตุและผลกระทบนั้นเริ่มเด่นชัดขึ้น ต่อเนื่อง และรุนแรงขึ้น อีกสิ่งที่ยังไม่มีชัดเจนคือการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายของรัฐบาลและกลุ่มอุตสาหกรรมยักษ์ใหญ่ทั่วโลกที่จะลงมือแก้ไขปัญหาวิกฤตโลกร้อนอย่างจริงจัง


https://www.greenpeace.org/thailand/...-polar-vortex/

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 16:01


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger