#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพุธที่ 4 ตุลาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคใต้ มีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งภาคตะวันออก ทั้งนี้เนื่องจากร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคตะวันออก เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 ? 5 ต.ค. 66 ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนกลางจะเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออก อ่าวไทยตอนบน และภาคกลางตอนล่าง ตามแนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 6 ? 9 ต.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกต่อเนื่องและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีฝนเพิ่มขึ้น อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "โคอินุ" บริเวณประเทศฟิลิปปินส์ มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวลงสู่ทะเลจีนใต้ในช่วงวันที่ 5 ? 6 ต.ค. 66 คาดว่า ในช่วงวันที่ 7 ? 8 ต.ค. 66 จะเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน โดยพายุนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อลักษณะอากาศของประเทศไทยโดยตรง ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและลมกระโชกแรงบางแห่ง ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมทั้งเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ส่วนชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก คม ชัด ลึก
ส่อง 'พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ฉบับแรกของไทย ควบคุมอะไรบ้าง ส่อง 'พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ' ฉบับแรกของไทย ก่อนแล้วเสร็จประกศาศใช้ปี 2567 ควบคุมใคร และดูแลอะไรเกี่ยวกับโลกร้อนบ้าง การก้าวเข้าสู่สถานะความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2065 กลายเป็นเรื่องท้าทายสำหรับประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก แต่สิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีความเอาจริงเอาจัง กับปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศคือการจัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิ อากาศที่มีความเป็นเอกเทศน์และแยกออกมาเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวโดยเฉพาะ และล่าสุดประเทศไทยกำลังและล่าสุดประเทศไทยกำลังจะมีกฎหมายโลกร้อน หรือ "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เป็นฉบับแรกโดยเนื้อหาสาระในกฎหมายคือการควบคุมไม่ให้เกิดกิจกรรมหรือการทำธุรกิจที่สร้างมลภาวะและปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปริมาณที่มาก โดยนายปวิช เกศววงศ์ รองอธิบดีกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงความคืบหน้าในการร่าง "พ.ร. บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" หรือ พ.ร.บ.โลกร้อน ฉบับแรกของประเทศไทยภายหลังการจัดตั้ง กรมโลกร้อน ว่า ที่ผ่านมามีการศึกษายกร่าง "พ.ร. บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" เริ่มกระบวนการมาตั้งแต่ต้นปี ผ่านมาและได้หรือกับภาครัฐ กฤฎีกา ไปก่อน เนื่องจากเป็น พ.ร.บ.ที่มีความเกี่ยวข้องด้านการเงิรนด้วย กระทบเป็นวงกว้าง ภาษี การเปิดเผยข้อมูล มาตราต่างๆที่ปรากฎ มีเชิงบริหารไม่ว่าจะเป็นการให้อำนาจกับคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีรายละเอียดที่ต้องทำยุทธศาสตร์แผนงาน การลดก๊าซเรือนกระจก ลดผลกระทบ ทางการเงิน สำหรับรายละเอียดในร่าง "พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" รายละเอียดประมาณ 10 กว่ามาตรา เรื่องสำคัญคือเรื่องมาตรการ ภาษีคาร์บอน ตอนนี้จะต้องเก็บข้อมูลก่อน เบื้องต้นนิติบุคคล และภาครัฐจะต้องรายงานการปล่อยคาร์บอน หากถามต่อว่า พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวจะครอบคลุมและบังคับใช้กับใครบ้าง และใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดทำรายงานการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นายปวิช ระบุว่า กฎหมายจะครอบคลุมไปหมด โดยเฉพาะภาครัฐจะต้องจัดทำรายงาน เพราะแผนลดก๊าซเรือนกระจก จะครอบคลุมภาคการเกษตรโดย กระทบกับภาคเอกชนโดยตรง สำหรับการออกกฏหมายเกี่ยวกับการลดผลกระทบด้านสภาพแวดล้อมนั้นอาจจะมีผลต่อผู้ประกอบการรายเล็กอยู่ ผู้ประกอบการรายใหญ่ค่อนข้างพร้อม แต่เอสเอ็มอียังไม่พร้อมเท่าไหร่ เบื้องต้นจะทำเกี่ยวกับนิติบุคคลก่อน สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของร่าง "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ของประเทศไทยนั้นปัจจุบันมีความคืบหน้าไปแล้ว 50% โดยการร่างกฎหมายได้ผ่าน ผู้เชี่ยวชาญและอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนซึ่งจะต้องดำเนินการ ผู้เชี่ยวชาญและอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชนซึ่งจะต้องดำเนินการในขั้นตอน "พ.ร.บ.นี้เป็นกฎหมายฉบับแรกของประเทศไทย ที่มีความกว้างขวางมากกว่า พ.ร.บ.สิ่งแวดล้อม ฯ โดยเฉพาะในเรื่องของการเงิน โดยเฉพาะ Emission Screem ที่เกินมาจะต้องชดเชยเป็นเงิน และนำไปสนับสนุนรายเล็ก ในการปรับตัวรับมือ และเตรียมความพร้อมทำข้อมูลด้านคาร์บอน" นายปวิช ระบุ รายละเอียดหลักๆใน "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" นั้นจะเน้นไปที่การลดการปล่อยก๊าซ และการปรับตัว รวมไปถึงการพิจารณาถึงมาตรการทางการเงินเพื่อนำเงินที่ได้จากการที่ไม่ปฏิบัติตามกฏหมายหรือเงินค่าปรับไปช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็กให้มีความสามารถในการจัดทำรายงานคาร์บอน และการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ว่าจะสามารถดำเนินการว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ซึ่งในข้อดังกล่าวยังคงมีรายละเอียดค่อนข้างมากที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่างไรก็ตามหาก "พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" ออกมากรมฯ จะต้องเป็นผู้รักษากฎหมายเอง และบังคับใช้เองด้วย เพราะเราเป็นทั้งคนอำนวยความสะดวก ผู้บังคับใช้กฎหมาย เป็นเครื่องมือ กฎหมายเป็นเสมือนเครื่องมือกลไกที่จะบูรณาการภาคเอกชน ภาครัฐเดินตามแผนที่กำหนด หลังจากนี้จะต้องประชุมเพื่อนำเข้าอนุกรรมการภานใต้กรรมนโยบาย เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อาจจะต้องมีการปรึกษาในขั้นกฤฎีกา าดว่าต้นปีจะเสนอ ครม.ได้ก่อน ทั้งนี้หากมีการเปิดรับฟังความคิดเห็รแล้วเกิดความไม่เป็นธรรมกับภาคเอกชน และสรางภาระกับประชาชนหรือไม่ เช่น เก็บแล้วราคาสินค้าเพิ่มขึ้น ท้ายที่สุดจะต้องมีการสื่อสารให้แก่ประชาชนได้รับทราบ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใหม่การสร้างความรู้ความเข้าใจก็สร้างความเข้มข้น ทุกวันนี้ พ.ร.บ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจจะยังเข้าถึงได้เฉพาะกลุ่มเท่านั้นเพราะเรื่องนี้กลายเป็นเทรนด์โลกไปแล้ว 'แม้ว่าขณะนี้กฎหมายจะยังไม่ออกแต่มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการไม่ว่าจะเป็นการสร้างความเข้าใจการให้ความรู้หรือการควบคุมการปล่อยการปล่อย CO2 ขนาดกันไปกับแผน Road map โดยมีศูนย์ประสานไปทั่วประเทศ มีศูนย์ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ทุกที่ ที่จะต้องสร้างความเข้มแข็ง ดังนั้นต้องทำคู่ขนาดกันไป แม้ว่าจะยังไม่มีกฎหมาย' รองอธิบดี กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กล่าวทิ้งท้าย https://www.komchadluek.net/quality-...ronment/560082
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
'ทะเลสีเขียว' ทางรอดบรรเทามลพิษที่ต้นทาง ภาพ : คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลกระทบของปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีหรือน้ำทะเลเขียวในทะเลชลบุรี สร้างความเสียหายอย่างสาหัสต่อสัตว์น้ำชายฝั่ง ผู้บริโภคไม่กล้ากินอาหารทะเลในพื้นที่ ภาพชายหาดเสื่อมโทรมเผยแพร่ไปทั่วโลก กระทบการท่องเที่ยวอย่างน่ากังวล ยังไม่พูดถึงอันตรายหากเกิดแพลงก์ตอนพืชที่สร้างสารพิษได้ เหตุนี้ มีเวทีเสวนาทางวิชาการ เรื่อง "ทะเลสีเขียว?มหันตภัยร้ายกว่าที่คิด" จัดโดยสำนักงานนวัตกรรมและพันธกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุมกำพล อดุลวิทย์ ชั้น 2 อาคารสารนิเทศ50 ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มก. กล่าวว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก มีการพัฒนาผ่านโครงการอีสเทิร์น ซีบอร์ด มาตั้งแต่ปี 2527 สร้างท่าเรือมาบตาพุด ตามด้วยท่าเรือแหลมฉบัง ต่อเนื่องมาสู่การลงทุน อีอีซี ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ในระยะเวลา 5 ปี ใช้เงินไป 1.7 ล้าน ล้านบาท มีโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง เฟส 3 การพัฒนาสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา ขณะเดียวกันพูดถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหาผลกระทบทางเศรษฐกิจ เกิดปรากฎการณ์ทะเลสีเขียวปี๋ทะเลศรีราชา มวลน้ำสีเขียวแพลงก์ตอนบูมกระจายทั่วหาดบางแสน หาดวอนนภา บวกกับน้ำเขียวแพเพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ตามวิถีประมงชายฝั่งยาวกว่า 10 กม. ซึ่งมวลน้ำเขียว ตนเรียกว่า"ทะเลมัจฉะ" ส่งผลกระทบปลาเกยตื้นตายครั้งใหญ่ยาว 4 กม. เป็นความสูญเสียทางเศรษฐกิจและกระทบประมงพื้นบ้าน ส่วนแพหอยนั้นหอยตายเรียบ เป็นภัยที่สำคัญคนไม่มีทางทำมาหากิน เป็นหนี้จากการลงทุน และไม่รู้จะเกิดติดต่อกันโดยไม่รู้ล่วงหน้า ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวที่สำคัญอันดับต้น ถ้าน้ำสีเขียวใครจะไปเล่นน้ำ เดินเล่นชายหาด ลงทุนทางเศรษฐกิจเท่าไหร่ไม่สำคัญเท่าการรักษาสมดุล แพลงก์ตอนบูมมีผลกระทบจากอีอีซีหรือเปล่า ด้าน ศ.ดร.เชษฐพงษ์ เมฆสัมพันธ์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง กล่าวว่า ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี หรือขี้ปลาวาฬ เกิดจากแพลงก์ตอนพืชบูม อาจเกิดแค่ 1 วัน หรือเกิด2 สัปดาห์ก็ได้ จากสถิติเกิดยาวนานสุด 2 เดือนที่ต่างประเทศ แต่ประเทศไทยเกิด 2 สัปดาห์ครั้ง สมัยก่อนช่วงฤดูฝนเกิดที่บางแสน ชลบุรี ฤดูหนาวย้ายไปเกิดแถวประจวบฯ และเพชรบุรี ปัจจุบันพบมวลน้ำสีเขียวพร้อมกระจายทุกที่ ทุกวัน ในพื้นที่อ่าวไทยตัวก แนวโน้มทะเลสีเขียวถี่ขึ้น อ่าวไทย ตัว ก เหมือนกาละมังใบใหญ่ แร่ธาตุที่ไหลลงกาละมังนี้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับ 30 กว่าปีก่อน และแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่วนสารอาหารในแหล่งน้ำผิวดินเพิ่มขึ้น 1.5 เท่า ไทยยังโชคดีที่ไม่มีสารชีวพิษ ชาวบ้านเรียก "สาคูทะเล" แต่ปัจจุบันจากการขนส่งทางเรือ เกิดน้ำอับเฉาเรือซึ่งนำแพลงก์ตอนมีพิษเข้ามาสู่ทะเลไทยแล้ว แต่ยังไม่เกิดการบูมเหมือนฟิลิปปินส์ ซึ่งต้องเป็นเรื่องที่ต้องมีมาตรการป้องกันและรับมือ " การเพิ่มขึ้นของธาตุอาหารในน้ำอ่าวไทยตอนใน แอมโมเนียม ออร์โธฟอสเฟตในน้ำ การกระจายของแร่ธาตุที่ไหลลงอ่าวไทยตอนใน ปลาที่ตาย เป็นปลาพื้นท้องน้ำ แม้เป็นแพลงก์ตอนไม่มีพิษ แต่ไม่สามารถสังเคราะห์แสงในตัวเองได้ มีสาหร่ายสีเขียวอยู่ในตัวที่ดึงธาตุอาหารไปใช้ ทำให้แพลงก์ตอนเพิ่มจำนวนขึ้นรวดเร็ว สาหร่ายสีเขียวกลางวันสร้างออกซิเจนให้แหล่งน้ำ กลางคืนลงพื้นน้ำพร้อมหายใจ ทำให้ออกซิเจนเกลี้ยง สัตว์น้ำตายเหี้ยน ทะเลสีเขียวความถี่เพิ้มขึ้นและขยายพื้นที่มากขึ้น ทะเลเขียวไปถึงอันดามัน ชุมพร สุราษฎร์ฯ ปัตตานี แล้ว " ผู้เชี่ยวชาญแพลงก์ตอนย้ำภัยคุกคามทะเล สำหรับกลไกในการจัดการมลพิษทางทะเล ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ กล่าวว่า โลกเราวันนี้มีมหันตภัย 3 เรื่องใหญ่ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ และมลพิษสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่ได้แค่อากาศหรือน้ำเสีย มลพิษใหม่ที่มนุษย์สร้างขึ้นจากการจัดการที่ไม่ถูกต้อง สำหรับทะเลสีเขียวเห็นผลกระทบชัดเจน การจัดการปัญหาต้องแก้และเข้าใจตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ไทยมีปัญหาการระบายธาตุอาหารจากแผ่นดินช่วงฤดูฝน และสารอินทรีย์จากน้ำทิ้งชุมชน โรงงาน เกษตร ลงแหล่งน้ำ บวกกับปัจจัยที่เหมาะสม ทำให้แพลงก์ตอนโตรวดเร็ว เกิดทะเลสีเขียว " 3 แหล่งกำเนิดหลักที่ลงทะเลมาจากน้ำเสียชุมชน ซึ่งมี 1.7 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน จาก 11 ล้าน ลบ.ม. ที่ยังไม่ได้รับการบำบัด การจัดการน้ำเสียชุมชนยังขาดกระบวนการรวบรวมและกำจัดน้ำเสีย มีการจัดเก็บค่าบำบัด โมเดลทุกวันนี้ยังไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางนี้ต้องทำให้สำเร็จให้ได้ โจทย์ยากเหมือนเก็บค่าขยะ บางที่ไม่จ่าย ส่วนน้ำเสียอุตสาหกรรม ต้องไปสู่การไม่เป็นของเสีย และนำน้ำเสียกลับมาใช้กับโรงงานอื่น ซึ่งต้องคิดร่วมกัน มีกลไกรัฐช่วย ปลดกฎหมายบางตัวเพื่อไม่ให้เป็นของเสีย ขณะที่ภาคเกษตรมีการปรับเปลี่ยนและใข้เทคโนโลยีมาช่วย ลดการใช้สารเคมี ผลักดันเกษตรแปลงใหญ่ ส่วนหน่วยงานที่ดูการไหลของน้ำลงอ่าวไทยอย่าง สทนช. ต้องมีบทบาท รวมถึงกรมทะเลมีระบบเตือนภัยหรือกลไกความรับผิดชอบ ทุกหน่วยงานต้องเริ่มและทำคู่ขนานกัน ขณะนี้เตรียมตั้งอนุกรรมการจัดการปริมาณสารอาหารในแหล่งน้ำผิวดินและทะเล " ดร.ปิ่นสักก์ กล่าว ส่วนมาตรการป้องกัน แก้ไข และฟื้นฟูทะเลไทยจากภัยทะเลสีเขียว สุมนา ขจรวัฒนากุล ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและและพัฒนาทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) กล่าวว่า งานติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเลชายฝั่งของ ทช. ปัจจุบันมี 467 สถานี ตรวจวัด 2 ครั้งต่อปี ทั้งอ่าวไทยตะวันออก ตอนบน ตอนกลวง ตอนล่าง อันดามันตอนบนและตอนล่าง แม้ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีเพิ่มขึ้น แต่งบติดตามตรวจสอบลดลง จากข้อมูลสถิติอ่าวไทยตอนบนเกิดบ่อย รวมถึงทะเลภูเก็ต แต่เป็นการสะพรั่งของสาหร่าย ไม่ใช่แพลงก์ตอน ย้อนหลัง 10 ปี สถิติเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสี ช่วงบูมฤดูฝน พีค ก.ค.-ก.ย. ส่วนฤดูฝนอ่าวไทยตอนบนเกิดบ่อ จากการหมุนเวียนกระแสน้ำหลัก ไหลไปทางทะเลชลบุรี จากข้อมูลแม่น้ำเจ้าพระยามีปริมาณนำเข้าฟอสเฟตสูงสุด ซึ่งนำไปสู่ทะเล ส่วนแม่น้ำท่าจีน ไนเตรทเพิ่มขึ้น " น้ำเปลี่ยนสีเกิดจากปริมาณนำเข้าจากปากแม่น้ำผสมทิศทางการไหลของกระแสน้ำตามฤดูกาล เมื่อเกิดน้ำเปลี่ยนสี วันนี้ประเทศไทยเอง ไม่ว่าหน่วยงานไหนทำอะไรไม่ได้มาก ขาดระบบติดตาม และทำนายทิศทางการไหล มีแต่รับผลกระทบ ความสูญเสียทรัพยากรสัตว์น้ำ ผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจ ทั้งภาคการประมง อย่างมากก็เรียกร้องค่าชดเชย มาตรการต้องพัฒนาขึ้นกว่านี้ เราจำเป็นต้องหนุนบูรณาการวิจัยร่วมกันแก้วิกฤตสิ่งแดล้อม เพิ่มองค์ความรู้ นำข้อมูลไปศึกษาต่อยอด รวมถึงมาตรให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายบรรเทาการสร้างมลพิษที่ต้นทาง ลดพิษจากแหล่งกำเนิด ถัดมาสร้างกลไกจัดการเชิงพื้นที่โดยชุมชนและผู้ประกอบการ เฝ้าระวังสถานการณ์มลพิษ มีระบบแจ้งเตือนมลพิษทางน้ำที่เข้าถึงได้ ทันต่อเหตุการณ์ เพราะทุกวันนี้เพิ่มการลงทุน มีการผลิตมลพิษและสะสมมลพิษมากขึ้น " สุมนาย้ำไทยต้องพัฒนามาตรการป้องกันให้ทันสถานการณ์แพลงก์ตอนบูมที่พร้อมระเบิดทุกวันในน่านน้ำไทย https://www.thaipost.net/news-update/458726/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยโพสต์
โมเดลใหม่ 'Nets Up' เปลี่ยน 'อวนเก่า' สู่วัสดุทางเลือก . ระยองมีพื้นที่ชายฝั่งติดกับอ่าวไทย ทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติ ทะเลระยองเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ แหล่งทำประมงสร้างรายได้ อย่างไรก็ตาม การประมงด้วยเครื่องมืออวนส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเล เนื่องจากเศษอวนที่ขาดจากการลากดึงอาจถูกพัดพาไปปกคลุมแนวปะการัง หรือสัตว์ทะเลติดอวนตายหรือบาดเจ็บจากแผลติดเชื้อ จนถึงการเผาทำลายอวนที่ไม่ใช้แล้วก่อให้เกิดการสร้างก๊าซเรือนกระจก เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการอวนไม่ใช้แล้วอย่างยั่งยืน บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) (SCGC) ร่วมกับ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน จ.ระยอง จัดทำโครงการ ?Nets Up? เปลี่ยนอวนประมงที่ไม่ใช้แล้ว สู่ Marine Materials วัสดุทางเลือกใหม่จากนวัตกรรมรีไซเคิล เพื่อนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคอุตสาหกรรมธุรกิจสิ่งทอด้วยการขึ้นรูปเป็นเส้นด้ายและทอเป็นผืนผ้าสำหรับแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อัปไซเคิล บรรจุภัณฑ์ อุปกรณ์รองเท้ากีฬา ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้ มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วยการบริหารจัดการขยะทะเล และการพัฒนานวัตกรรมตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ได้แก่ SCGC ทส. สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 สมาคมเยาวชน The Youth Fund องค์กร AEPW (Alliance to End Plastic Waste) ทีมพลาสเคมีคอล ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ Nyl-One ไทยแทฟฟิต้า กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี สภาอุตสาหกรรมเเห่งประเทศไทย หอการค้าไทย สมาคมส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน (ประเทศไทย) ชุมชนประมงนำร่อง และเครือข่ายพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ขณะนี้นำร่องโมเดล Nets Up ในพื้นที่ชายฝั่งระยองเป็นแห่งแรก ร่วมกับกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน 10 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านหนองแฟบ 2.กลุ่มประมงพื้นบ้านเรือเล็กแสงเงิน 3.กลุ่มประมงเรือเล็กเก้ายอด 4.กลุ่มประมงเรือเล็กแหลมรุ่งเรือง 5.กลุ่มประมงเรือเล็กพลาอู่ตะเภาสามัคคี 6.กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านตากวนอ่าวประดู่ 7.กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านปากคลองตากวน 8.วิสาหกิจชุมชนกลุ่มประมงเรือเล็กหาดสุชาดา และอ.บ้านฉาง ได้แก่ 9.ประมงเรือเล็กหาดพลา บ้านพลา 10.กลุ่มประมงเรือเล็กบ้านพยูน รวมเรือประมงเล็กพื้นบ้านที่เข้าร่วม 240 ลำ ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม และรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ SCGC เผยว่า โมเดล Nets Up เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของ SCGC ในการขับเคลื่อนองค์กรภายใต้แนวทาง ESG (Environmental, Social and Governance) เน้นด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการพัฒนานวัตกรรมรีไซเคิล โดยนำความเชี่ยวชาญด้านเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ High Quality PCR มาพัฒนาเป็น Marine Materials วัสดุรีไซเคิลจากอวนไม่ใช้แล้ว สร้างทางเลือกใหม่ให้กับเจ้าของแบรนด์สินค้า และผู้บริโภคที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ลดปัญหาขยะทะเล พร้อมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลอย่างยั่งยืน และช่วยลดภาวะโลกร้อน อนาคตมีแผนจะขยายโครงการสู่ 23 จังหวัดชายฝั่งทะเลของไทย พิชิต สมบัติมาก รองปลัด ทส. กล่าวว่า สำหรับโมเดล Nets Up จะช่วยให้กลุ่มประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการนำเศษอวนมาคัดแยก ลดภาระการนำไปกำจัดเองช่วยป้องกันไม่ให้อวนไม่ใช่แล้วหลุดรอดลงในทะเล กระทรวงฯ พร้อมสนับสนุน SCGC และเครือข่ายพันธมิตร ขับเคลื่อนกลไกลการจัดการอวนประมงไม่ใช้แล้ว และประสานความร่วมมือกับกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านในพื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบจัดการอวนประมงไม่ใช้แล้วให้ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งทั่วไทย ก้องชัย เอกหรรษาศิลป์ ESG Flagship Project Leader บริษัท SCGC อธิบายว่า ระยะแรกของการทำโครงการฯ ได้รับซื้ออวนปูจากกลุ่มประมงพื้นบ้านที่เข้าร่วมโครงการประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อเดือน ผ่านแอปพลิเคชันคุ้มค่า หลังการทำโครงการที่ผ่านมา 4-5 เดือน ได้รวบรวมอวนที่ไม่ใช้แล้วได้ประมาณ 1,000 กิโลกรัม โดยอวนที่รับซื้อทั้งหมดจะถูกนำรีไซเคิลผ่านนวัตกรรมให้เป็นเม็ดพลาสติกไนลอน จากทั้งหมด 1,000 กิโลกรัม อาจจะมีการสูญเสีย 50-60% โดยเม็ดไนลอนรีไซเคิล 50% ที่ได้จะสีเขียวอ่อนเข้มๆ ส่วนเม็ดไนลอนรีไซเคิล 100% จะมีสีดำ หลังจากนั้นนำมาเปลี่ยนเป็นเส้นใย และนำเม็ดไนลอนรีไซเคิล 50% มาผสมกับไนลอนบริสุทธ์ ลองถักทอเป็นเสื้อ ที่มีความนุ่ม สวมใส่สบาย นอกจากนี้ ยังถักทอเป็นหมวกและกระเป๋า กาหลง จงใจ ประธานกลุ่มประมงบ้านพลา-หาดพลา ต.พลา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เล่าว่า การทำประมงพื้นบ้านจะทำประมงปูม้าเป็นหลัก และเรือในการตกหมึก รวมกว่า 100 ลำ แต่ละลำก็จะมีอวนประมาณ 10-30 กอง โดยขนาดของอวน 1 กอง จะใช้เนื้ออวนประมาณ 3 ผืน ความยาวประมาณ 270 เมตร " อวนมีอายุการใช้งาน 1-2 เดือน สูงสุดไม่เกิน 3 เดือนต่อการออกทำประมง 1 ครั้ง หากขาดหรือชำรุดก็ไม่สามารถซ่อมได้ต้องซื้ออวนใหม่ ส่วนอวนที่ไม่ได้ใช้แล้วสภาพสะอาด 1 กอง มีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม จะนำมาชั่งขายให้กับพ่อค้าราคาอยู่กิโลกรัมละ 10 บาท หากอวนเลอะมากไม่สามารถขายได้จะเผาทิ้ง เมื่อร่วมกับโครงการ Nets Up ที่มารับซื้อขายได้กิโลกรัมละ 15 บาท เมื่อได้เห็นอวนที่นำไปรีไซเคิลมาเป็นสินค้าอย่างเสื้อ ส่วมใส่สบาย ชุมชนก็ได้ประโยชน์ ไม่ต้องเผาทิ้งด้วย " กาหลง บอก ด้าน อนุวัฒน์ จิตตระวล กลุ่มประมงเก้ายอด ต.ปากน้ำ อ.เมืองระยอง เล่าว่า กลุ่มประมงเรือเล็กในชุมชนบ้านเก้ายอดมีทั้งหมด 28 ลำ เป็นประมงอวนปู ลอกหอยหมึกสาย สมาชิกกลุ่มใช้อวนเยอะ เพราะใน 1 เดือนต้องออกไปวางอวนปู 3-4 ครั้ง ใน 1 เดือน จึงมีอวนที่ทิ้งกว่า 100 กิโลกรัม ส่วนใหญ่อวนจะถูกทิ้งหรือขายให้กับรถรับซื้อเก่า ได้กิโลกรัม 10-13 บาท หลังจากที่เข้าร่วมโครงการ Nets Up กลุ่มจะเป็นตัวแทนรับซื้ออวนจากชาวประมงกิโลกรัมละ 14 บาท เอสซีจีซีจะมารับซื้อจากกลุ่มได้กิโลกรัมละ 15 บาท โดยกลุ่มจะหักเงิน 1 บาท เพื่อนำมาบริหารจัดการเป็นทุนการศึกษาของเด็กในชุมชน เป็นต้น https://www.thaipost.net/environment-news/458734/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
น้ำทะเลลด! ชาวบ้านคึกคักเก็บ'หอยตะเภา'ที่หาดปากเมง แม่ค้ารับซื้อกก.ละ350 แห่เก็บหอยตะเภาหรือหอยท้ายเภาที่หาดปากเมง อ.สิเกา จ.ตรัง กันอย่างคึกคัก โดยเฉพาะช่วงเย็นหลังน้ำทะเลลดลงต่ำสุด ซึ่งช่วงนี้ของทุกปีเป็นฤดูกาลหาหอยตะเภา มีแม่ค้ามารับซื้อกิโลกรัมละ 300-350 บาท 2 ตุลาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ชายหาดปากเมง ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง มีชาวบ้านและนักท่องเที่ยวทั้งในตำบลไม้ฝาดและตำบลใกล้เคียงกว่า 1,000 คนต่อวัน ใช้เวลาว่างช่วงเช้าและเย็นหลังน้ำทะเลลดลงต่ำสุด แห่ไปเก็บหอยตะเภาหรือหอยท้ายเภา ซึ่งเป็นหอยสองฝา ลักษณะเหมือนเรือสำเภา ซึ่งฝังตัวอยู่ใต้พื้นทรายที่มีระดับความลึกประมาณ 2-3 เซนติเมตร โดยใช้เพียงอุปกรณ์ท่อพีวีซีปลายแหลมหรือไม้ปลายแหลมที่มีความยาว 1.20-1.50 เมตร ก่อนจะสังเกตดูรูของหอยตะเภา ซึ่งมีรูเล็ก ๆ อยู่คู่กันจำนวน 2 รู จากนั้นจึงใช้อุปกรณ์งัดขึ้นมาอย่างง่ายดาย ซึ่งตั้งแต่ปลายเดือนกันยายน-เดือนธันวาคมของทุกปี รวมเวลาประมาณ 3 เดือน จะเป็นฤดูกาลหาหอยตะเภาของชาวบ้าน ทำให้บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักตลอดแนวชายหาด ซึ่งในช่วงเย็นชาวบ้านจะได้ชมพระอาทิตย์ตกดินที่สวยงามอีกด้วย สำหรับแหล่งหาหอยตะเภาเริ่มตั้งแต่บริเวณท่าเรือปากเมงไปจนถึงหน้าเขื่อนหาดปากเมง ระยะทางยาวกว่า 6 กิโลเมตร ส่วนหนึ่งนำไปทำอาหารรับประทานในครัวเรือน และอีกส่วนหนึ่งนำไปขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อในราคากิโลกรัมละ 300-350 บาท ซึ่งที่หาดปากเมงเคยมีการจัดงานวันอนุรักษ์หอยตะเภา ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี เพื่อให้นักท่องเที่ยวเดินทางมากินหอยตะเภาถึงแหล่งที่ได้ชื่อว่า มีหอยตะเภามากที่สุดใน จ.ตรัง จนมีการทำประติมากรรมรูปหอยตะเภาไว้ริมชายหาด จนกระทั่งเจอปัญหาโรคโควิดระบาด จึงหยุดการจัดงาน ซึ่งหอยตะเภาจะพบมากที่สุดในช่วงข้างขึ้น 13 ค่ำจนถึงแรม 3 ค่ำ โดยชาวบ้านจะเลือกเก็บเฉพาะหอยที่มีขนาดใหญ่ ได้น้ำหนัก เพื่อเป็นการอนุรักษ์พันธุ์หอยตะเภา โดยนำไปประกอบอาหารได้ทุกชนิด รสชาติเหมือนหอยนางรม แต่ร้านอาหารชายหาดปากเมงไม่นิยมรับซื้อไปปรุงอาหาร เนื่องจากมีราคาสูง ชาวบ้านที่หามาได้จึงนำไปขายให้กับพ่อค้าแม่ค้าที่มารับซื้อ เพื่อไปขายต่อให้กับร้านอาหารตามแหล่งท่องเที่ยวใหญ่ ๆ เช่น จ.กระบี่,ภูเก็ต สงขลาและสุราษฎร์ธานี ทำให้ชาวบ้านที่หาเก่ง ๆ มีรายได้วันละ 300-700 บาท ด้านนางธรรมภรณ์ หนูศักดิ์ อายุ 45 ปีชาวบ้านหมู่ที่ 4 ต.ไม้ฝาด อ.สิเกา จ.ตรัง กล่าวว่า ตนมาหาหอยตะเภาแบบนี้ทุกปี ซึ่งเมื่อวานนี้คนเยอะมากกว่าวันนี้ แต่ละวันตนหาได้ไม่เยอะประมาณ 20-30 ตัวโดยนำไปขายกิโลละ 300 บาท ซึ่งหาได้ไปอีกหลายเดือนหรือน่าจะถึงช่วงหน้าแล้ง โดยจะหาได้เฉพาะน้ำช่วง 13 ค่ำถึงแรม 3 ค่ำ ซึ่งตนมาหาเฉพาะช่วงเย็น รสชาติอร่อยมาก แต่ตนเลือกที่จะขายมากกว่า เพราะ 1 กิโลมีประมาณ 30-35 ตัวขายได้ถึง 300 บาทแล้ว https://www.naewna.com/likesara/760296
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#6
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก Nation TV
เศร้า วาฬเพชฌฆาตดำ เกยตื้นหาดชะอำ จนท.เร่งช่วย สุดท้ายไม่รอด เศร้า พบ "วาฬเพชฌฆาตดำ" เกยหาด ภายในค่ายนเรศวร อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี เจ้าหน้าที่เร่งช่วยเหลือ นำไปดูแลรักษาอนุบาลพักฟื้น สุดท้ายไม่รอด 3 ตุลาคม 2566 นายโชคชัย อธิกปาลี ผอ.ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 จ.เพชรบุรี เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน และส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจพลร่มค่ายนเรศวร ว่าพบสัตว์ทะเลบาดเจ็บ จำนวน 1 ตัว บริเวณริมชายหาด ภายในค่ายนเรศวร อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี จึงเดินทางลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบ ที่เกิดเหตุพบเป็นวาฬเพชฌฆาตดำ ไม่ทราบเพศ ยาวประมาณ3เมตร 10 เซนติเมตร ไม่พบบาดแผลตามลำตัว แต่มีอาการว่ายน้ำวนไปมาอยู่ริมชายหาด ไม่ยอมว่ายออกทะเล โดยเจ้าหน้าที่ได้พยายามพลักดันให้ออกทะเลแต่ไม่เป็นผล จึงคาดว่าน่าจะเจ็บป่วยภายในตัวปลา ก่อนเร่งทำการช่วยเหลือนำขึ้นมาจากทะเลอย่างทุลักทุเล ใช้เวลานานกว่า 4 ชั่วโมง จึงนำตัวขึ้นมาได้ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ได้นำวาฬเพชฌฆาตดำไปดูแลรักษาอนุบาลพักฟื้น ณ ฟาร์มทะเลตัวอย่างใน สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ก่อนที่ตายลง เจ้าหน้าที่จะทำการผ่าพิสูจน์ เพื่อหาสาเหตุการตายที่แน่ชัดต่อไป สำหรับวาฬเพชฌฆาตดำ พบในอ่าวไทยอยู่ประมาณ 60-70 ตัว มีลักขณะคล้ายกับวาฬนำร่องครีบสั้น ครีบหลังตั้งอยู่กึ่งกลางลำตัว ส่วนหัวไม่โหนกมาก หน้าผากกลมมนไม่มีจะงอยปาก ครีบข้างเรียวยาว ลำตัวสีดำ ส่วนคางและท้องสีเทาจาง เพศผู้ยาวได้ถึง6เมตร น้ำหนักตัวเต็มวัยประมาณ2ตัน ตั้งท้องนาน 12-14 เดือน อายุยืนได้ถึง57 -62 ปี อยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 10-60 ตัว ชอบกระโดดรวมฝูงอยู่กับโลมา พบมากในเขตน้ำลึกและอบอุ่น ระหว่างเส้นรุ้งที่ 50oN-50oS ประเทศไทย บริเวณเกาะสุรินทร์ เกาะสิมิลัน จ.พังงา และยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวน และคุ่มครองสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2535 https://www.nationtv.tv/news/social/378932182
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|