#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 3 สิงหาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านตอนบนของภาคเหนือของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบน และอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณมีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในระยะนี้ไว้ด้วย อนึ่ง พายุไต้ฝุ่น "ขนุน" บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ตอนใต้ของจังหวัดโอกินาวะ ประเทศญี่ปุ่น และตอนบนของสาธารณรัฐจีน(ไต้หวัน) ประเทศจีนในช่วงวันที่ 2?5 ส.ค. 66 ขอให้ผู้ที่จะเดินทางไปบริเวณดังกล่าว โปรดตรวจสอบสภาพอากาศก่อนออกเดินทางในระยะนี้ไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 28-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 8 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 2 ? 3 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 04-08-2023 เมื่อ 02:35 |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
เข้าสู่ยุคโลกเดือด มนุษยชาติจะอยู่รอดได้อย่างไร .......... โดย ณัฏฐ์นรี เฮงสาโรชัย Summary - อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า ยุคของภาวะโลกร้อน ได้สิ้นสุดลงแล้ว และมาถึงยุคภาวะโลกเดือด หลังกรกฎาคมกำลังจะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ - สุลต่าน อัล จาเบอร์ ประธาน COP28 ปี 2023 ระบุว่า การลดเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็น และทำแผน COP28 ที่จะตั้งเป้าหมายพลังงานหมุนเวียนเพิ่ม 3 เท่า และใช้เทคโนโลยีการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน (CCS) - ผศ.แคทเธอรีน ฮอร์นบอสเทล และทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก พัฒนาการดักจับคาร์บอนในมหาสมุทรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่าย ด้วยความร้อนระอุที่ทั่วโลกกำลังประสบ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส (Ant?nio Guterres) เลขาธิการสหประชาชาติ ระบุว่า ยุคของภาวะโลกร้อน (global warming) ได้สิ้นสุดลงแล้ว และมาถึงยุคของ ภาวะโลกเดือด (global boiling) ทั่วโลก หลังจากที่นักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าเดือนกรกฎาคมกำลังจะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ตามรายงานของ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO) และโครงการสังเกตการณ์โลกโดย โคเปอร์นิคัส (Copernicus) ของโครงการอวกาศสหภาพยุโรป ระบุว่า อุณหภูมิโลกในเดือนนี้ทำลายสถิติ เพราะได้รับผลกระทบจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงฟอสซิล และสภาพอากาศที่รุนแรง รวมถึงอุณหภูมิเฉลี่ยทั่วโลกที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากมลพิษที่ทำหน้าที่เหมือนเรือนกระจกครอบโลก ทำให้สภาพอากาศเลวร้ายขึ้นอย่างสุดขั้ว นอกจากนี้ ตามการวิเคราะห์จากเครือข่าย World Weather Attribution ระบุว่า มลพิษก๊าซเรือนกระจกทำให้อุณหภูมิของคลื่นความร้อนที่อันตรายถึงชีวิตใน 3 ทวีปในเดือนนี้ อีกทั้งมีการศึกษาพบว่า มนุษยชาติทำให้คลื่นความร้อนในยุโรปตอนใต้ อเมริกาเหนือ และจีน ร้อนขึ้น 2.5 องศาเซลเซียส, 2 องศาเซลเซียส และ 1 องศาเซลเซียส ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์คาดว่าปีนี้จะร้อนกว่าปกติ เนื่องจาก 'เอลนีโญ' ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติของลมและน้ำที่ทำให้โลกร้อน ผลกระทบดังกล่าวพร้อมกับมลพิษจากก๊าซเรือนกระจก ทำให้ WMO คาดการณ์ว่ามีโอกาส 2 ใน 3 ที่ 1 ใน 5 ปีข้างหน้าจะมีอุณหภูมิร้อนกว่าก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรมถึง 1.5 องศาเซลเซียส เราจะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร? เมื่อปัญหาเหล่านี้ยังไม่สามารถแก้ไขได้ทันที และเป็นสิ่งที่น่ากังวล ที่ล่าสุดประเทศสมาชิก G20 อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน เป็นต้น ไม่มีข้อตกลงที่จะเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนเป็น 3 เท่า ภายในปี 2573 และมีฉันทามติที่จะไม่ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล สุลต่าน อัล จาเบอร์ (Sultan Al Jaber) ผู้บริหารบริษัทน้ำมันแห่งชาติอาบูดาบี (Abu Dhabi National Oil Company) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และประธานการประชุมสุดยอดรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงประจำปี 2023 หรือ COP28 ที่จะเกิดขึ้นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 30 พฤศจิกายน ถึง 12 ธันวาคม 2023 ได้ให้สัมภาษณ์กับ สำนักข่าว The Guardian ว่า การลดเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และจำเป็น "สิ่งที่ผมพยายามพูดคือคุณไม่สามารถถอดระบบพลังงานปัจจุบันออกจากของโลกก่อนที่คุณจะสร้างระบบพลังงานใหม่ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงไม่ได้เกิดขึ้นในชั่วข้ามคืน ต้องใช้เวลา" อัล จาเบอร์ จะจัดทำแผนสำหรับ COP28 โดยมีแนวโน้มรวมเป้าหมายของการผลิตพลังงานหมุนเวียนทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่า ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว และกำลังพัฒนาให้การสนับสนุน นอกจากนี้จะเน้นย้ำเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ COP28 โดยมีแผนเพิ่มตัวแทนของกลุ่มเยาวชน ภาคประชาสังคม ชนพื้นเมือง และผู้หญิงมากขึ้น ทั้งนี้ แผนสำคัญอีกประการหนึ่งคือการรวมบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลเข้าร่วมการเจรจา COP28 โดยบริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิลบางแห่งได้จัดตั้ง 'พันธมิตรระดับโลก' ซึ่งให้คำมั่นว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับสภาพอากาศ รวมทั้งเดินหน้าไปสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่จะอาศัยวิธีการลดการปล่อยมลพิษจากการผลิต เทคโนโลยีการดักจับ และกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage: CCS) เป็นกระบวนการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากการทำงานของภาคอุตสาหกรรม หรือโรงไฟฟ้า ซึ่งกำลังจะถูกปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ แล้วนำคาร์บอนไดออกไซด์นั้นฉีดลึกลงไปใต้ดิน เพื่อกักเก็บไว้อย่างปลอดภัย มหาสมุทรแหล่งดูดซับคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก นอกจากเทคโนโลยี CCS แล้ว ขณะเดียวกันมีอีกเทคโนโลยีหนึ่งที่สำคัญในการช่วยบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคือ 'การดักจับคาร์บอนไดออกไซด์จากทะเล' ด้วยโลกของเรามีส่วนประกอบของทะเลอยู่ 3 ใน 4 ส่วน เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก ทั้งยังมีประโยชน์สำคัญคือทะเลสามารถดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ได้ หรือที่เรียกว่า บลู คาร์บอน (Blue Carbon) และเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนที่ใหญ่ที่สุดในโลก หรือเรียกว่า Oceanic Carbon Sink ที่ดูดคาร์บอนได้มากกว่า 1 ใน 4 ที่มนุษย์ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศ จากข้อมูลของ องค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐฯ (NOAA) ระบุว่า ค่า pH เฉลี่ยของมหาสมุทรปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 8.1 หรือเป็นด่างเล็กน้อย แต่หากมหาสมุทรยังคงดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากขึ้น ค่า pH ก็ยิ่งจะลดลง และมหาสมุทรจะมีความเป็นกรดมากขึ้น ส่งผลต่อระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิตในทะเล เช่น หอยนางรม หอยเม่น ปะการัง เพราะแคลเซียมคาร์บอเนตลดลง ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญต่อการสร้างเปลือกและโครงสร้าง ทำให้สิ่งมีชีวิตในทะเลอ่อนแอเสี่ยงสูญพันธุ์ การดักจับคาร์บอนในมหาสมุทรโดยตรง (DOC) เป็นรูปแบบหนึ่งของเทคโนโลยีที่มีข้อได้เปรียบกว่าเทคโนโลยีบนบก หรือคือการดักจับทางอากาศโดยตรง เนื่องจากจากดักจับทางอากาศไม่สามารถทำได้ทุกพื้นที่ แต่การดักจับคาร์บอนในมหาสมุทรสามารถทำงานได้อย่างสะดวก ควบคู่กับแหล่งพลังงานอย่าง ลมนอกชายฝั่งทะเล (offshore wind) และแหล่งกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์นอกชายฝั่ง (offshore carbon dioxide storage) ผศ.แคทเธอรีน ฮอร์นบอสเทล (Katherine Hornbostel) ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกลและวัสดุศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์กสาขาวิศวกรรม (University of Pittsburgh Swanson School of Engineering) มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน ที่ร่วมงานกับ ผศ.ตักโบ เนียปา (Tagbo Niepa) จากภาควิชาวิศวกรรมเคมีและปิโตรเลียมของมหาวิทยาลัยพิตต์สเบิร์ก เพื่อพัฒนาการดักจับคาร์บอนในมหาสมุทรที่เป็นนวัตกรรมใหม่ โดยมีเผยแพร่เอกสาร 2 ฉบับ ในวารสารวิศวกรรมเคมี (Chemical Engineering Journal) คือ การสาธิตการดักจับคาร์บอนในมหาสมุทรโดยตรงโดยใช้ตัวทำละลายห่อหุ้ม (Demonstration of direct ocean carbon capture using encapsulated solvents) และ การสาธิตการจับคาร์บอนในมหาสมุทรโดยตรงโดยใช้คอนแทคเตอร์เยื่อใยกลวง (Demonstration of direct ocean carbon capture using hollow fiber membrane contactors) ผศ.แคทเธอรีน กล่าวถึงหลักการทำงานว่า คอนแทคเตอร์เมมเบรน หรือกระบวนการแยกก๊าซ เป็นเหมือนสิ่งที่นำของเหลว 2 ชนิดมาสัมผัสกัน คือน้ำทะเล และตัวทำละลาย "ทีมวิจัยได้ทดสอบเมมเบรนคอนแทคเตอร์ 2 ชนิด ได้แก่ เส้นใยกลวง และตัวทำละลายที่ห่อหุ้ม ความแตกต่างที่ชัดที่สุดระหว่าง 2 วิธีนี้คือ ?รูปร่าง? แม้ว่าคอนแทกเตอร์เยื่อใยกลวงจะดูเหมือนหลอดดูดน้ำ แต่ตัวทำละลายที่ห่อหุ้มจะดูเหมือนไข่ปลาคาเวียร์ แต่ทำงานเหมือนกันทุกประการ" ผศ.แคทเธอรีน อธิบายต่อว่า แนวคิดของทั้ง 2 วิธีนี้คือ การมีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำทะเลกับตัวทำละลาย ยิ่งมีพื้นที่ผิวมาก อัตราการกำจัดคาร์บอนไดออกไซด์ก็จะยิ่งดีขึ้นเท่านั้น เมื่อน้ำทะเลสัมผัสกับตัวทำละลายที่ทำจากโซเดียมคาร์บอเนต คาร์บอนไดออกไซด์จะทำปฏิกิริยา และแยกตัวออกจากน้ำทะเล ซึ่งวิธีนี้จะต้องหมุนเวียนซ้ำ เพื่อให้กระบวนการมีความคุ้มค่ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาโลกเดือดในยุคนี้ อาจยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ที่สำคัญคือการลดใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้อย่างทันที แต่ยังคงมีวิธีการที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ได้ อย่างเช่น การดักจับคาร์บอนบนบก และโดยเฉพาะในมหาสมุทรที่มีเทคโนโลยีใหม่เพื่อประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และลดค่าใช้จ่าย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทั่วโลกกำลังหาทางออกในการเพิ่มขีดจำกัดการดูดคาร์บอนไดออกไซด์ของมหาสมุทร เพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อ้างอิง: theguardian.com (1,2) , datacenter.deqp.go.th , sciencedaily.com , energyfactor , sdgmove.com, Thai PBS https://plus.thairath.co.th/topic/naturematter/103532
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก มติชน
หาดูยาก วาฬ 3 ตัวกระโดดขึ้นจากน้ำพร้อมกัน !!! (เครดิตภาพจากเอพี) มีหลายสิ่ง หลายอย่างในโลกนี้ ที่ต่อให้ 'มีเงินเป็นพันล้าน' ก็หาซื้อไม่ได้ หาดูไม่ได้ เพราะเรื่องแบบนี้ไม่ได้อยู่ที่เงิน แต่ขึ้นอยู่กับดวง และ จังหวะ มากกว่า ล่าสุด โรเบิร์ต แอดดี ชายอเมริกันที่ชอบออกทะเลจับปลามานานหลายปี บอกเลยว่านี่เป็น 'ครั้งแรก' ในชีวิตที่เขา ได้เห็น 'วาฬหลังค่อม 3 ตัว' กระโดดขึ้นจากน้ำพร้อมกันราวกับนัดหมาย !!! โรเบิร์ตเล่าว่า วันนั้นเขาพาลูกสาว และลูกเขยนั่งเรือออกไปจับปลา แถวชายฝั่งทะเลในเมืองโพรวินซ์ทาวน์รัฐแมสซาชูเชตส์ สหรัฐอเมริกา แล้วก็ ว้าว ว้าว ว้าว เมื่อเจอ วาฬ วาฬ วาฬ กระโดดขึ้นมาจากน้ำพร้อมกัน ซึ่งโชคดีที่โรเบิร์ต ตั้งกล้องถ่ายวิดีโอตั้งแต่เริ่มออกทะเลแล้ว จึงจับภาพน่าตื่นตา ตื่นใจนั้นได้ ฟิลิป แฮมิลตัน นักวิชาการอาวุโสที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำนิวอิงแลนด์ ยืนยันอีกเสียงว่า การที่วาฬ 3 ตัวกระโดดจากน้ำพร้อมกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นยากจริงๆ โรเบิร์ตจึงรู้สึกว่านั่นคือ 'วันวิเศษ' ของครอบครัว แต่พวกเราก็มีวันวิเศษเหมือนกันนะ ก็ทุกวันที่ยังมีลมหายใจอยู่ไง https://www.matichon.co.th/foreign/news_4108436
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก แนวหน้า
เศร้า! พบซาก 'โลมาหัวบาตรหลังเรียบ' พันธุ์หายาก เกยตื้น เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 2 ส.ค.66 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจาก นาย ธิติวัฒน์ ชูรัตน์หิรัญโชติ (ผู้ใหญ่หมู) ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ว่าพบซากโลมายังไม่ทราบชนิด ลอยน้ำมาเกยตลิ่งดินเลนอยู่ภายในคลองตาเพิ่ม หมู่ที่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ จึงเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริง เมื่อผู้สื่อข่าวเดินทางไปถึงบริเวณจุดที่พบซากโลมา พบว่าเป็นซากโลมายังไม่ทราบชนิดคล้ายโลมาหัวบาตร (อิรวดี) ขนาดความยาวสังเกตด้วยสายตาประมาณ 1-2 เมตรอายุประมาณ 5-6 ปีเศษ เสียชีวิตมาแล้วไม่ต่ำกล่าว 3-4 วัน ส่งกลิ่นเหม็นคละคลุ้งไปทั่ว ส่วนเพศยังไม่สามารถระบุได้เนื่องจากจะต้องรอเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจสอบซาก บริเวณหางขาดหลุดร่วงคาดน่าจะเกิดจากเน่าเปื่อย ซึ่งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 พ.ค.66 ที่ผ่านมามีผู้พบซากโลมาลอยติดป่าโกงกางบริเวณห่างจุดที่เกิดเหตุไปประมาณ 1 กิโลเมตร นับได้ว่าเป็นตัวที่ 2 ของปีนี้และพบห่างกันแค่ 2 เดือน จาการสอบถาม นาย ธิติวัฒน์ ชูรัตน์หิรัญโชติ ผู้ใหญ่บ้านหมูที่ 7 ต.แหลมฟ้าผ่า ทราบว่าเมื่อช่วงเย็นวานนี้ 1 ส.ค.66 ตนเป็นคนพบเห็นซากโลมาในขณะที่ตนกำลังแล่นเรือไปส่งนักท่องเที่ยวเพื่อเยี่ยมชมและท่องเที่ยววัดขุนสมุทรจีน ตนเห็นลอยอยู่ในน้ำห่างจากที่พบซากประมาณ 1 กิโลเมตรและเผป็นช่วงเวลาน้ำขึ้น หลังจากที่กลับมาจากส่งนักท่องเที่ยวตนจึงตะเวณวิ่งเรือดูแต่ไม่พบและบริเวณดังกล่าวเริ่มมืด จึงได้เดินทางกลับบ้านพร้อมนำภาพถ่ายมาลงเฟสบุ๊คส่วนตัวเพื่อให้คนในชุมชนช่วยกันตามหาหรือพบเห็นให้รีบแจ้ง กระทั่งมีคนมาพบว่าเห็นซากโลมามาเกยตื้นริมตลิ่งดินเลนภายในคลองนี้เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมา ก่อนที่ตนจะประสาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องมาตรวจเก็บกู้ซากโลมาไปตรวจสอบ ซึ่งคาดว่าในช่วงเย็นนี้เจ้าหน้าที่จะเดินทางมาถึงบริเวณที่พบซากโลมา จากการสอบถามเจ้าที่เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทราบว่าโลมาตัวดังกล่าวเป็นโลมาพันธุ์หัวบาตรหลังเรียบซึ่งเป็นโลมาพันธุ์ที่หายากที่สุดในประเทศไทย โดยปัจจุบันเหลือน้อยมาก ซึ่งโลมาที่พบเป็นตัวโตเต็มวัยแต่ยังไม่ทราบเพศเนื่องจากตามลำตัวมีลักษณะเน่าเปื่อยเพราะตามมาหลายวัน บริเวณส่วนปลายหางเน่าเปื่อยจนหลุดลุ่ย โดยหลังจากนี้จะทำการเก็บกู้ซากใส่ถุงดำ ก่อนนำไปผ่าพิสูจน์ที่ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน เพื่อหาสาเหตุการตายที่แท้จริงอีกครั้ง โลมาหัวบาตรหลังเรียบ หรือ โลมาหัวบาตรไร้ครีบหลัง มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับโลมาอิรวดี คือ มีส่วนหัวกลมหลิมเหมือนบาตรพระไม่มีจะงอยปาก แต่ส่วนหลังเรียบไม่มีครีบหลัง ครีบข้างค่อนข้างใหญ่ปลายแหลม และลักษณะฟันในปากจะเป็นตุ่ม ไม่แหลมคม อันเป็นลักษณะเฉพาะของโลมาในวงศ์พอร์พอย์ ซึ่งทั่วโลกพบอยู่ 6 ชนิด ในประเทศไทยพบเพียงชนิดนี้ชนิดเดียว โดยมีชื่อเล่นจากชาวจีนว่า "หมูแม่น้ำ" หรือ"แพนด้าแม่น้ำ" เป็นสัตว์ที่อยู่ในฐานะหวั่นวิตกว่าจะสูญพันธุ์ เนื่องจากมลภาวะสภาพแวดล้อม. https://www.naewna.com/likesara/747575
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#5
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ประกาศปิด "อ่าวมาหยา-อ่าวโละซามะ" 1 ส.ค.-30 ก.ย.66 อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ประกาศปิดอ่าวมาหยาและอ่าวโละซามะ เป็นระยะเวลา 2 เดือน เพื่อให้ธรรมชาติฟื้นตัว พร้อมปักธงแดงตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล หลังมีฝนตกหนักและคลื่นลมแรงต่อเนื่อง วันที่ 1 ส.ค. 2566 อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ได้ประกาศปิดการท่องเที่ยวประจำปี บริเวณอ่าวมาหยา และอ่าวโละซามะ ระหว่างวันที่ 1 ส.ค.-30 ก.ย.2566 เพื่อให้ทรัพยากรธรรมชาติได้ฟื้นตัว รวมทั้งความปลอดภัยในการท่องเที่ยว เนื่องจากเข้าสู่ฤดูมรสุม ขณะที่สภาพอากาศบริเวณชายหาด หน้าท่าเทียบเรือเกาะพีพี ต.อ่าวนาง อ.เมืองกระบี่ มีลมพัดแรง ฝนตกหนัก ทะเลมีคลื่นลมแรง ความแรงของคลื่น พัดเรือหางยาวที่จอดเทียบท่าห่างจากฝั่งประมาณ 50 เมตร พลิกคว่ำจมน้ำ 3 ลำ และยังไม่สามารถกู้ได้ เนื่องจากคลื่นลมแรง ต้องรอให้น้ำทะเลลง ขณะที่เรือหางยาวอีกนับร้อยลำ ต้องหยุดให้บริการนักท่องเที่ยวชั่วคราว และนำไปหลบคลื่นลมหลังเกาะ ห่างจากท่าเทียบเรือ 500 เมตร นางรักชนก แพน้อย หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ กล่าวว่า ช่วงเดือน ส.ค. ไปจนถึงเดือน ก.ย. ของทุกปี จะเป็นช่วงที่ลมมรสุมพัดเข้ามาปกคลุมพื้นที่ประเทศไทย ส่งผลให้ทะเลมีคลื่นแรง และมีลมพายุพัดเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการท่องเที่ยวทางทะเล โดยแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลที่สำคัญของ จังหวัดกระบี่ คือ อ่าวมาหยา บนเกาะพีพีเล จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวกันจำนวนมากในแต่ละวัน จากสภาวะคลื่นลมแรงทำให้เรือที่เข้ามาส่งนักท่องเที่ยวบริเวณด้านหลังอ่าวมาหยา คือ อ่าวโละซามะ ไม่สามารถเข้ามาเทียบท่าได้ และเกรงจะเกิดอันตรายต่อนักท่องเที่ยวได้ ประกอบกับตลอดปีที่ผ่านมา อ่าวมาหยา ต้องเป็นพื้นที่ต้อนรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก ทำให้สภาพธรรมชาติ บนอ่าว อาจได้รับผลกระทบจากการท่องเที่ยว จึงมีความจำเป็นต้องให้เวลาธรรมชาติได้พักและฟื้นตัวเอง ทางอุทยานฯ จึงกำหนดให้มีการปิดอ่าวมาหยาเป็นการชั่วคราวเป็นเวลา 2 เดือน เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.-30 ก.ย.นี้ เพื่อความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวและให้ธรรมชาติได้ฟื้นตัวกลับมาสวยงามอีกครั้ง ทั้งนี้เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จ.กระบี่ ปักธงแดงบริเวณทุ่น ท่าเทียบเรือ อ่าวโล๊ะซามะ ทางเข้าอ่าวมาหยา ต.อ่าวนาง ห้ามนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่อ่าวมาหยา ระหว่างวันที่ 1 ส.ค.-30 ก.ย. พร้อมแจ้งเตือนผู้ประกอบการนำเที่ยว เพิ่มความระมัดระวังในการประกอบกิจกรรมตามแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล เนื่องจากทะเลมีคลื่นลมแรงต่อเนื่อง จากอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ที่มีกำลังแรงในช่วง 2-3 วันนี้ https://www.thaipbs.or.th/news/content/330227 ****************************************************************************************************** เจ้าท่าภูเก็ตเอาผิด "สปีดโบ๊ต" ฝ่าฝืนเดินเรือช่วงคลื่นลมแรง กรณีเรือสปีดโบ๊ตแล่นฝ่าคลื่นลมแรงจากเกาะพีพี จ.กระบี่ มายัง จ.ภูเก็ต ล่าสุดเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ตสั่งเอาผิดกับเรือทั้ง 2 ลำฝ่าฝืนเดินเรือช่วงคลื่นลมแรง เมื่อวันที่ 2 ส.ค.2566 นักท่องเที่ยวที่อยู่บนเรือสปีดโบ๊ตถ่ายคลิปขณะโดยสารเรือฝ่าคลื่นลมแรงจากเกาะพีพี จ.กระบี่ กลับมายังท่าเทียบเรือใน จ.ภูเก็ต ซึ่งมีนักท่องเที่ยวที่อยู่ในเรือบางส่วนไม่ได้สวมเสื้อชูชีพ ทำให้หลายคนที่เห็นคลิปนี้ในสื่อออนไลน์แสดงความเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัย นายณชพงศ ประนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ระบุว่า ทราบเรื่องนี้แล้วและมอบหมายให้เจ้าพนักงานตรวจเรือและเจ้าหน้าที่ฯ ตรวจสอบข้อเท็จจริง ผลการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า เรือที่กำลังฝ่าคลื่นลมในคลิปดังกล่าวเป็นเรือขนาด 12.89 ตันกรอส ประเภทเรือกลเดินทะเลเฉพาะเขต หรือเรือเร็ว ใช้บรรทุกผู้โดยสาร โดยวันเกิดเหตุบรรทุกผู้โดยสาร 8 คนและคนประจำเรือ 2 คน ได้ผจญคลื่นลมแรงระหว่างทางกลับจากเกาะพีพี จ.กระบี่ ในวันที่ 1 ส.ค. เวลาประมาณ 14.30 น. ส่วนเรืออีกลำมีขนาด 18.37 ตันกรอส บรรทุกผู้โดยสาร 44 คนและคนประจำเรืออีก 3 คน ฝ่าคลื่นลมแรงสูงประมาณ 3 เมตรในวันเดียวกัน โดยตัวเรือและเครื่องยนต์มีสภาพพร้อมใช้งานตามที่ระบุในใบอนุญาตใช้เรือ มีอุปกรณ์เดินเรือ สัญญานไฟเดินเรือ อุปกรณ์ดับเพลิงและเสื้อชูชีพครบตามจำนวนที่ได้รับอนุญาต อย่างไรก็ตาม เจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ได้แจ้งลักษณะการกระทำความผิดของผู้ควบคุมเรือ เข้าข่ายตามมาตรา 291 วรรคแรก กรณีคนประจำเรือละเลยไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือข้อบังคับเกี่ยวกับการเดินเรือหรือหน้าที่ของตน ซึ่งเจ้าท่ามีอำนาจที่จะสั่งงด ไม่ให้ใช้ประกาศนียบัตรหรือใบอนุญาต มีกำหนดไม่เกิน 2 ปี เจ้าหน้าที่ได้แจ้งนัดหมายเชิญผู้ควบคุมเรือและผู้เกี่ยวข้องเข้าไปให้ถ้อยคำ และชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เจ้าท่าภูมิภาคสาขาภูเก็ต ยังได้ประกาศขอให้นายเรือและผู้ควบคุมเรือเพิ่มความระมัดระวังเดินเรือ หลีกเลี่ยงการเดินเรือห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กบริเวณทะเลในพื้นที่ จ.ภูเก็ต ควรงดออกจากฝั่ง และเรือที่มีขนาดความยาวน้อยกว่า 10 เมตรห้ามออกจากฝั่งไปยังทะเลเปิด ตั้งแต่วันที่ 2-3 ส.ค.นี้ https://www.thaipbs.or.th/news/content/330245
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|