#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2563
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้มีอากาศร้อนโดยทั่วไป และร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่งเกิดขึ้นได้ ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในระยะนี้ไว้ด้วย สำหรับภาคใต้ ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง เนื่องจากลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุม ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกสะสมในระยะนี้ อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณหัวเกาะสุมาตรา มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นในช่วงวันที่ 4 - 9 พฤษภาคม 2563 และจะเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน ซึ่งจะส่งผลทำให้คลื่นลมในทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศร้อน กับมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 4 - 9 พ.ค. 63 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง จึงมีฝนลดลง สำหรับลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อน แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณหัวเกาะสุมาตราจะมีกำลังแรงขึ้น ในช่วงวันที่ 4 ? 9 พ.ค. 63 และมีแนวโน้มเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวเบงกอลตอนบน ส่งผลทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกต่อเนื่อง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ข้อควรระวัง ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์
ดร.ธรณ์ แนะปรับตัว New Normal ทะเลไทย! เที่ยวอย่างไรให้ทะเลยิ้ม ในระหว่างการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา หรือโควิด-19 ประมาณ 3 เดือนที่ผ่านมา มนุษย์ช่วยลดการสร้างปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมลงชั่วคราวจากการล็อกดาวน์ จากการหยุดอยู่บ้าน ทำให้การเดินทาง และการขนส่ง รวมถึงการเดินเครื่องของโรงงานอุตสาหกรรมลดลง ซึ่งช่วยลดการสร้างก๊าซคาร์บอนและมลพิษทางอากาศ ขณะเดียวกันทำให้สัตว์ป่า สัตว์ทะเลหลายชนิดแสดงตัวตนออกมาให้มนุษย์เห็นในท้องทะเล หรือบริเวณป่า อย่างคาดไม่ถึงว่าจะเกิดขึ้น เพจ Thon Thamrongnawasawat โดย ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญทางทะเล ให้ข้อแนะนำถึงการปรับตัวสู่วิถีชีวิตใหม่ หรือ New normal ทะเลไทย ทั้งก่อนเที่ยว ระหว่างเที่ยว และหลังเที่ยว พร้อมระบุว่า คนหยุด สัตว์ทะเลเข้ามาทุกทิศคนเริ่มต้น ทำอย่างไรให้สัตว์อยู่ต่อ ?ผมจึงทำข้อแนะนำง่ายๆ มาให้เพื่อนธรณ์เมืองไทยเปิดใหม่เมื่อไหร่ ลองไปทำกันทะเลสวยขึ้นแน่นอน ด้วยฝีมือพวกเราทุกคนครับ อย่างไรก็ตาม ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นตามมาจากโควิดด้วยก็คือ ขยะถุงพลาสติก ที่เพิ่มขึ้นเท่าตัวจากการสั่งอาหารมารับประทานที่บ้าน การสั่งสินค้า ของใช้ในบ้าน ผ่านออนไลน์สร้างปัญหาส่ิงแวดล้อมอย่างมาก เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องปรับวิถีชีวิตหลังโควิด ไปสู่ New normol ด้านรัฐบาลก็จำเป็นจะต้องปรับนโยบาย ส่งเสริมจิดสำนึกจิตสาธารณะ เพื่อจัดการเรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นรูปธรรมที่จะเกิดความยั่งยืน https://mgronline.com/greeninnovatio.../9630000046375
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ
วิกฤติขยะพลาสติกเอเชีย หลังโควิดหยุดอุตฯรีไซเคิล ขณะที่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจอาจทำให้บรรดาผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความอ่อนไหวมากขึ้นในประเด็นด้านราคาและอาจทำให้มีการรีไซเคิลพลาสติกน้อยลง ช่วงนี้ที่ไวรัสโคโรน่า สายพันธุ์ใหม่ ต้นตอโรคโควิด-19 กำลังแพร่ระบาดในประเทศต่างๆทั่วโลก และรัฐบาลของทุกประเทศต่างใช้มาตรการล็อกดาวน์ ที่รวมถึงคุมเข้มด้านการประกอบกิจกรรมทางธุรกิจ หรือเศรษฐกิจรูปแบบต่างๆ ทำให้อุตสาหกรรมรีไซเคิลในเอเชียพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย เพราะถูกสั่งปิดกิจการชั่วคราว ผลพวงที่ตามมาคือขยะพลาสติกปริมาณมากในประเทศต่างๆทั่วเอเชียที่ยังไม่ได้ถูกนำไปกำจัด จริงๆ แล้วปัญหาขยะพลาสติกล้นโลกเริ่มรุนแรงขึ้นถึงระดับวิกฤติตั้งแต่ เซอร์คิวเลท แคปิตัล ประกาศปิดกองทุนโอเชียน ฟันด์ เมื่อเดือนธ.ค.ปี 2562 โดยในแต่ละปีมีขยะพลาสติกถูกทิ้งลงมหาสมุทรในปริมาณ 8 ล้านตัน และ60%ของปริมาณนี้เป็นขยะพลาสติกจากเอเชีย และเมื่อแรงกดดันทางสังคมดำเนินมาถึงจุดสูงสุด บรรดาบริษัทที่ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำของโลกทั่้งหลายก็ถูกกดดันให้ออกมาร่วมแก้ปัญหาระดับวิกฤตินี้ เซอร์คิวเลท ซึ่งมีฐานดำเนินงานอยู่ในสิงคโปร์ ระดมทุนได้ 106 ล้านดอลลาร์จากบริษัทต่างๆ รวมถึง เป็ปซี่โค ดานอน และดาว เคมิคัลส์เพื่อลงทุนในธุรกิจประเภทต่างๆทั่วภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เสนอทางออกในการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก ซึ่ง4เดือนต่อมา ได้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้กองทุนโอเชียน ฟันด์ต้องหันมาให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือบรรดาบริษัทรีไซเคิลรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นแทน "แผนธุรกิจ รวมทั้งการลงทุนของเรา อยู่บนพื้นฐานก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเมื่อเกิดการระบาดขึ้น ก็ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจทั่วโลก และส่งผลกระทบโดยตรงต่ออุตสาหกรรมรีไซเคิลในเอเชีย เนื่องจากเมื่อมีมาตรการล็อกดาวน์ ธุรกิจขนาดเล็กก็ต้องเลิกกิจการชั่วคราว ทำให้ไม่มีขยะพลาสติกส่งให้บริษัทรีไซเคิล ส่วนการที่ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลงก็อาจทำให้มีการผลิตพลาสติกราคาถูกในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ลดการแข่งขันของวัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ลง" โฆษกบริษัทเซอร์คิวเลท กล่าว ขณะที่ภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจเองก็อาจทำให้บรรดาผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความอ่อนไหวมากขึ้นในประเด็นด้านราคาและอาจจะทำให้มีการรีไซเคิลพลาสติกน้อยลง ที่กล่าวมาทั้งหมดคือขยะพลาสติกทั่วไปแต่หากเป็นขยะพลาสติกที่มาจากแวดวงการแพทย์ การเก็บและกำจัดก็ต้องมีวิธีที่ละเอียดอ่อนและแยกส่วนออกไป ไม่ใช่แบบเดียวกับขยะพลาสติกทั่วไป ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย(เอดีบี)เคยเสนอแนะไว้ว่า หากมีการกำจัดขยะทางการแพทย์อย่างเหมาะสมก็จะช่วยรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ในระดับหนึ่ง รัฐบาลหลายประเทศให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพในการกำจัดขยะทางการแพทย์ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก เนื่องจากขยะทางการแพทย์เป็นขยะที่อันตรายที่สุดในบรรดาขยะทุกประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ได้มีการจัดการก่อนที่นำไปกำจัด และมีวัสดุจำนวนมากที่ไม่สามารถไปฝังกลบหรือกำจัดตามมาตรฐานเทศบาลที่นำไปป้อนโรงไฟฟ้า เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิที่สูงและใช้เวลานานในการทำลายเชื้อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับวัสดุอุปกรณ์ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่เป็นแนวหน้าในการสกัดการระบาดของโรคโควิด-19 ควรได้รับการป้องกันจากการสัมผัสกับขยะหรือของเสียด้านการดูแลสุขภาพที่ติดเชื้อผ่านระบบกำจัดขยะทางการแพทย์ที่เหมาะสม แต่ในความเป็นจริงนั้น ประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียหลายประเทศ ยังขาดระบบ เครื่องมือ อุปกรณ์ และกฎระเบียบที่เหมาะสมสำหรับการจัดการและกำจัดขยะทางการแพทย์และขยะอันตราย แต่มีสิ่งที่คาดไม่ถึงอย่างอื่นที่เป็นผลมาจากการระบาดของโรคโควิด-19คือ ไวรัสชนิดนี้ดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วโลกไปจากปัญหามลภาวะจากขยะพลาสติกได้อย่างสิ้นเชิง ปัญหาการบริหารจัดการขยะที่มีสาเหตุมาจากการระบาดของโรคโควิด-19ในอินเดีย เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุด เนื่องจากในอินเดีย มีแรงงานที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนประมาณ 2 ล้านคนคอยทำหน้าที่เก็บขยะและเก็บวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ "เป็นระบบที่มีความสำคัญมาก แม้ว่าแรงงานกลุ่มนี้จะไม่ได้ขึ้นทะเบียนอย่างเป็นทางการ แต่การทำงานภายในกลุ่มแรงงานเหล่านี้ทำงานกันอย่างเป็นระบบมาก" จิตรา มุกเคอร์จี หัวหน้าฝ่ายที่ปรึกษาและนโยบายของชินตัน เอ็นจีโอที่สนับสนุนแรงงานมีรายได้ต่ำในอุตสาหกรรมบริหารจัดการขยะ มีฐานดำเนินงานอยู่ในกรุงนิว เดลี กล่าว พร้อมเสริมว่า มาตรการล็อกดาวน์ที่รัฐบาลประกาศใช้เมื่อเดือนมี.ค.ทำให้แรงงานจำนวนมากต้องหันไปพึ่งพารายได้จากการเก็บขยะขาย และการล็อกดาวน์ก็ทำให้การใช้ชีวิต ตลอดจนถึง ชีวิต ของแรงงานกลุ่มนี้แขวนอยู่บนเส้นด้าย แต่ท่ามกลางวิกฤตยังมีโอกาส แม้ช่วงล็อกดาวน์ธุรกิจรีไซเคิลจะหยุดชะงักแต่การสนับสนุนทางการเมืองในธุรกิจรีไซเคิลในอินเดียยังคงแข็งแกร่ง ล่าสุด รัฐบาลของแคว้นมหาราษฎร์ที่ถือเป็นรัฐที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับ2ของอินเดีย 120 ล้านคน เพิ่งประกาศเป็นข้อกำหนดให้อุตสาหกรรมการผลิตในรัฐต้องใช้วัตถุดิบที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ในสัดส่วนอย่างน้อย 20% ส่วนที่มุมไบ มีประกาศห้ามใช้พลาสติกอย่างเด็ดขาด เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามลดปริมาณพลาสติกให้ได้ภายในปี 2565 ของนายกรัฐมนตรีเนเรนทรา โมดี ของอินเดีย แม้ว่า บรรดานักวิจารณ์จะมีความเห็นว่าข้อห้ามเหล่านี้ไม่ได้แก้ปัญหาอะไร เพราะขาดการบังคับใช้อย่างจริงจัง ในส่วนของทางการของรัฐมหาราษฏร์ สัญญาว่าจะบังคับใช้ข้อห้ามพลาสติกอย่างเคร่งครัด คนที่กระทำผิดครั้งเเรกจะถูกปรับเป็นเงิน 75 ดอลลาร์ หรือประมาณ 2,200 บาท และจะปรับเงินมากขึ้นหากทำผิดครั้งต่อไป และอาจถึงขั้นจำคุก https://www.bangkokbiznews.com/news/...mpaign=topnews
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก PPTV
ชายฝั่งอเมริกาพบปรากฏการณ์ ทะเล-โลมาเรืองแสง ในช่วงที่ชาวอเมริกันต้องอยู่บ้านในช่วงโควิด-19 ระบาด ท้องทะเลกลับเกิดปรากฏการณ์เรืองแสงสวยงาม จนประชาชนไม่น้อยตัดสินใจออกจากบ้านเพื่อชมความสวยงามของปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้กับตาสักครั้งในชีวิต ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ประชาชนในรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์รับมือการระบาดของโควิด-19 พบเห็นปรากฏการณ์คลื่นทะเลกลายเป็นแสงนีออนสีฟ้า ส่องสว่างในแนวชายฝั่งทางตอนใต้ของรัฐ ปรากฏการณ์ดังกล่าวมักเรียกกันว่า "ประกายทะเล (Sea Sparkle)" เป็นสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษามาเป็นเวลา 120 ปี โดยสัมพันธ์กับปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ (Red Tide) หรือปรากฏการณ์สาหร่ายสะพรั่ง (Algae Bloom) ซึ่งเกิดขึ้นจากสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าไดโนแฟลกเจลเลต (Dinoflagellates) สาหร่ายเซลล์เดียวชนิดหนึ่ง ไมเคิล แลตซ์ (Michael Latz) นักชีววิทยาทางทะเลสถาบันสมุทรศาสตร์สคริปป์ส (Scripps Institution of Oceanography) ที่ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียซานดิเอโก อธิบายว่า สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวขนาดเล็กเหล่านี้ มักลอยอยู่ใกล้ชายฝั่งหรือบนพื้นผิวของมหาสมุทร และพวกมันสามารถเปล่งแสงหรือเรืองแสงได้ เมื่อพวกมันถูกล่าโดยนักล่า แสงจะทำให้ผู้ล่าตกใจ เป็นการเรืองแสงทางชีวภาพ (Bioluminescence) บางครั้งสิ่งมีชีวิตนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์ขี้ปลาวาฬ ทำให้น้ำทะเลกลายเป็นสีแดงเข้ม สีน้ำตาล หรือสีส้ม ในเวลากลางวัน ส่วนในตอนกลางคืน พวกมันจะกลายเรืองแสงสวยงามเมื่อถูกกระทบด้วยคลื่นจากเรือ จากคนว่ายน้ำ หรือสัตว์น้ำต่าง ๆ นี่เองที่ทำให้ปรากฏภาพ "โลมาเรืองแสง" ที่มีผู้บันทึกภาพไว้ได้ เกิดจากไดโนแฟลกเจลเลตถูกคลื่นจากการว่ายน้ำของโลมากระทบ จึงเรืองแสงไปถูกร่างของโลมา จนเห็นเป็นโลมาเรืองแสงสวยงาม ขี้ปลาวาฬเป็นปรากฏการณ์ที่ยากจะคาดการณ์ และไม่ใช่ทุกครั้งที่มันจะเกิดการเรืองแสง นักวิทยาศาสตร์ยังไม่แน่ใจว่า ปัจจัยใดบ้างที่จะทำให้ไดโนแฟลกเจลเลตเหล่านี้เรืองแสง ประกายทะเลนั้นสร้างความสวยงามในเวลากลางคืน กระตุ้นให้ผู้ที่ชื่นชอบทะเลหรือมหาสมุทรพากันมุ่งหน้าไปที่ชายฝั่งแม้บางพื้นที่จะอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดโควิด-19 ก็ตาม https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8...0%B8%99/124706
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|