เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 13-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม 2565

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

คลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันตกเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีอากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับยอดดอยและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ยอดดอยอุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส และยอดภูอุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ทำให้ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

เมฆบางส่วน กับมีหมอกบางในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 23-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 13 ? 18 ม.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีหมอกในตอนเช้า แต่ยังคงมีอากาศเย็นในบริเวณภาคเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส และบริเวณยอดภูมีอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-15 องศาเซลเซียส

ในขณะที่ช่วงวันที่ 15 - 17 ม.ค. 65 จะมีคลื่นกระแสลมตะวันตกเคลื่อนผ่านภาคเหนือตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนมากทางตอนล่างของภาค และคลื่นลมมีกำลังแรงขึ้น ตลอดช่วง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร


ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ ตลอดช่วง ส่วนในช่วงวันที่ 15 ? 17 ม.ค. 65 ขอให้ประชาชนในบริเวณภาคเหนือระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงที่จะเกิดขึ้นในระยะนี้ไว้ด้วย












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....

แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย สายน้ำ : 20-01-2022 เมื่อ 03:34
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 13-01-2022
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการออนไลน์


ใกล้สิ้นชื่อ (หาด)ชะอำใต้! กำแพงกันคลื่นเปลี่ยนหาดทรายเป็นอ่างเก็บน้ำทะเล



ไม่นานนี้ เพจเฟซบุ๊ค Beach for life โพสต์ภาพชายหาดชะอำในวันนี้เริ่มเปลี่ยนโฉมไปแล้ว! กลายเป็น "อ่างเก็บน้ำทะเล" หลังทำการก่อสร้าง "โครงการ ฟื้นฟูบูรณะเเละปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดชะอำ"

ชายหาดชะอำ จ.เพชรบุรี หาดไม่ไกลจากกรุงเทพ เเละเชื่อว่าหลายคนคงเคยเเวะมาพักผ่อนริมหาดเเห่งนี้ หาดชะอำในความคิดของหลายคน คงคิดว่าเป็นหาดทรายขาว กว้าง ลงเล่นน้ำทะเลได้อย่างสนุก ปลอดภัย

แต่ในวันนี้ชายหาดชะอำ เปลี่ยนไป กรมโยธาธิการได้ดำเนินการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น โดยมีโครงการ 3 ระยะ ความยาวรวม 3 กิโลเมตร เเบ่งเป็น

ระยะที่ 1 ความยาว 1,438 เมตร งบประมาณ 102.974 ล้านบาท
ระยะที่ 2 ความยาว 1,219 เมตร งบประมาณ 74.963 ล้านบาท
ระยะที่ 3 ความยาว 318 เมตร งบประมาณ 48.5 ล้านบาท

เเละในอนาคต ชายหาดถัดไปด้านทิศใต้ ที่กำลังจะมีโครงการ ฟื้นฟูบูรณะเเละปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดชะอำ ความยาว 1,438 เมตร ภายใต้งบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองรวมทั้งสิ้นกว่า 102.924 ล้านบาท

โครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นหาดชะอำ ได้เปลี่ยนเเปลงสภาพชายหาดชะอำไปอย่างถาวร หาดทรายหน้ากำเเพงกันคลื่นหายไป มีชายหาดเฉพาะช่วงน้ำลง ชายหาดหน้ากำเเพงกันคลื่นลึกขึ้น เนื่องจากคลื่นปะทะกำเเพงกันคลื่น เเล้วตะกรุยทรายออกไป

บริเวณกำเเพงกันคลื่นในส่วนที่น้ำทะเลท่วมถึง มีสาหร่ายเเละตะไคร่น้ำเกาะจำนวนมาก ไม่สามารถลงเล่นน้ำ
ด้านท้ายของกำเเพงกันคลื่นเริ่มพบเห็นการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง ซึ่งคาดว่าอาจมีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นไปเรื่อยๆ

หาดชะอำ จุดเด่นของหาดเเห่งนี้คือ เตียงผ้าใบที่วางตลอดเเนวชายหาด หากคุณนั่งอยู่บนเตียงผ้าใบ ใกล้สันเขื่อนในยามน้ำขึ้น คลื่นจะกระเซ็นเข้าหาคุณได้โดยง่าย

หากคุณไม่เคยมาเยี่ยมหาดชะอำเมื่อ 5-10 ปีที่เเล้ว ในวันนี้คงนึกสภาพหาดชะอำ ที่กว้างยาว ไม่ออกอีกเเล้ว เพราะสภาพชายหาดชะอำไม่ต่างอะไรกับ "อ่างเก็บน้ำทะเล"

ด้าน ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติโพสต์คลิป พร้อมอธิบายว่า ?กำแพงกันคลื่น? ยังคงเป็นสิ่งที่หลายฝ่ายถกเถียงกัน ถึงผลดีและผลเสีย ยกตัวอย่างล่าสุดที่หาดชะอำ ซึ่งโซเชียลมีเดียมีการเผยแพร่ภาพของหาดชะอำด้านทิศใต้ ที่พบว่าเมื่อน้ำขึ้น หาดทรายจะหายไป และเมื่อน้ำลง จะเห็นได้ชัดเจนว่าบริเวณด้านหน้ากำแพงมีลักษณะคล้ายกับอ่างเก็บน้ำ ดูไม่หลงเหลือภาพจำของชายหาดอีกต่อไป

แม้จะมีคำยืนยันจากกรมโยธาธิการและผังเมืองว่า ก่อนก่อสร้าง ได้มีการสอบถามความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ทุกครั้ง และตัว"กำแพงกันคลื่น" มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ ก็มีมุมมองจากนักวิชาการว่า"กำแพงกันคลื่น" เองยังมีจุดอ่อนในเรื่องของจุดสิ้นสุด หรือ End Effect อธิบายคือ การก่อสร้างโครงสร้างแข็งจะทำให้คลื่นที่มาปะทะกับกำแพงมีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะจุดที่อยู่ด้านซ้ายและขวาของกำแพง ที่จะได้รับผลกระทบจากความรุนแรงของกระแสคลื่นที่หักเห มาปะทะ ส่วนนี้จึงถูกตั้งคำถามว่าการก่อสร้างดังกล่าวไม่ตอบโจทย์ รวมถึงอาจจะทำให้ต้องก่อสร้างไปอย่างไม่รู้จบ ที่สำคัญยังมองว่าแนวทางการแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ยังมีวิธีการแก้ไขแบบชั่วคราวอื่น ๆ เช่น การเติมทราย, วางถุงทราย และการใช้ไม้ไผ่ปักชะลอคลื่น

อย่างไรก็ตาม มีความคาดหวังว่าในอนาคตเราอาจได้เห็นการทำงานร่วมกัน ของฝ่ายที่สนับสนุนและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการก่อสร้าง"กำแพงกันคลื่น" เพื่อหาทางออกร่วมกัน และทำให้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งถูกแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญคือ การทำให้เกิดการออกแบบโครงสร้างของแต่ละโครงการให้ตอบโจทย์สภาพพื้นที่ได้อย่างเหมาะสมที่สุด


https://mgronline.com/greeninnovatio.../9650000003493

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 10:17


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger