#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอาทิตย์ที่ 16 กรกฎาคม 2566
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากได้ สำหรับทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง อนึ่ง พายุโซนร้อน "ตาลิม" บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อยอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 18-19 ก.ค. 66 กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 - 21 ก.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังแรงจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางตอนบนของประเทศไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และ อ่าวไทยมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2 ? 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 2 ? 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อนึ่ง พายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน และทวีกำลังแรงขึ้น คาดว่าจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 18 ? 19 ก.ค. 66 ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 16 - 21 ก.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยตอนล่างควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่ง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก เดลินิวส์
รายงานวิจัยสิ่งแวดล้อมชี้ ปลาจากแหล่งน้ำสหรัฐปนเปื้อนสารเคมีเกือบทั่วประเทศ องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อมในสหรัฐเผยแพร่รายงาน รวมทั้งทำแผนที่ระบุแหล่งสัตว์น้ำที่มีการปนเปื้อนสารเคมีอันตราย ซึ่งปรากฏว่ามีอยู่มากถึง 48 รัฐ จากทั้งหมด 50 รัฐ องค์กรเพื่อสิ่งแวดล้อม ?The Environmental Working Group? (EWG) แห่งสหรัฐได้จัดทำแผนที่แบบอินเตอร์แอคทีฟซึ่งระบุแหล่งสัตว์น้ำโดยเฉพาะปลา ที่มีการปนเปื้อนของสารเคมี PFAS และพบข้อมูลที่น่าตกใจว่ามีพื้นที่จำนวน 48 รัฐที่ปลาในแหล่งน้ำมีการปนเปื้อนสารดังกล่าว? สาร PFAS (Polyfluorinated alkyl substances) เป็นกลุ่มสารเคมีที่ประกอบด้วยคาร์บอนและฟลูออรีน ซึ่งมีความเสถียรสูงและคงอยู่ในสภาพแวดล้อมและในร่างกายมนุษย์ได้เป็นเวลานาน สลายตัวได้ยาก จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ?สารเคมีอมตะ? (Forever Chemicals) และถือว่าเป็นสารเคมีที่ก่อให้เกิดอันตรายอย่างสูงต่อสุขภาพ การได้รับสาร PFAS อย่างต่อเนื่องจนสะสมเป็นปริมาณมาก ๆ อาจกลายเป็นปัจจัยเสี่ยงให้ป่วยเป็นโรคร้ายต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็ง, โรคไทรอยด์, โรคอ้วน, ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง, ภาวะเจริญพันธุ์บกพร่อง, ทำลายตับและภาวะขาดฮอร์โมน แผนที่ของ EWG จัดทำขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลของหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐ (EPA) ตั้งแต่ปี 2556-2558 ซึ่งมีการเก็บตัวอย่างปลาจากแหล่งน้ำจืดทั่วประเทศจำนวน 500 ตัวอย่าง ผลงานการค้นคว้าวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลของ EWG เพิ่งได้รับการเผยแพร่ในวารสารการวิจัยสิ่งแวดล้อมเมื่อต้นปีนี้ ซึ่งในรายงานระบุว่าพวกเขาพบสาร PFOS (Perfluorooctane sulfonic acid) ซึ่งเป็นหนึ่งในสารเคมีที่ปล่อยสาร PFAS ออกมามากที่สุด อยู่ในตัวปลา ผลการคำนวณในรายงานชี้ว่า การรับประทานปลาน้ำจืดที่ปนเปื้อนสาร PFOS 1 ตัว อาจเทียบเท่าได้กับการดื่มน้ำที่ปนเปื้อนสารดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 เดือน และการพบปลาที่ปนเปื้อนสารเคมีในระดับสูงทั้งที่ไม่ได้อยู่ในพื้นทีอุตสาหกรรมถือว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างยิ่ง และสะท้อนว่าสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ได้กระจายตัวไปแทบจะทุกหนทุกแห่งแล้ว ในบางพื้นที่เริ่มมีการเฝ้าระวังและให้คำแนะนำเกี่ยวกับการรับประทานปลาที่มีสาร PFAS ปนเปื้อน เช่น รัฐวิสคอนซิน เคยออกประกาศเตือนประชาชนว่าอย่ารับประทานปลาสเมลต์ที่มาจากทะเลสาบสุพีเรียเกินเดือนละ 1 ครั้ง แต่ไม่เคยประกาศเตือนประชาชนเกี่ยวกับสารเคมี PFAS ที่ปนเปื้อนอยู่ในปลา กรณีศึกษาใหม่ล่าสุดของ EWG พบว่าค่าเฉลี่ยของระดับการปนเปื้อนของสาร PFAS ในปลาน้ำจืด สูงกว่าปลาที่วางขายตามท้องตลาดเมื่อ 3 ปีที่แล้วถึง 278 เท่า? ในขณะที่การหลีกเลี่ยงสาร PFAS ที่มากับอาหารและน้ำดื่มนั้นแทบจะเป็นไปไม่ได้ มีเพียงการทำความเข้าใจและศึกษาว่าควรหลีกเลี่ยงแหล่งน้ำและสัตว์น้ำใดที่สารดังกล่าวปนเปื้อนเท่านั้น ที่พอจะช่วยได้ในระหว่างที่โครงการล้างพิษและทำแหล่งน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนมากที่สุดในสหรัฐให้บริสุทธิ์ยังไม่มีความคืบหน้า https://www.dailynews.co.th/news/2535590/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|