เลือกสีตามสไลต์ที่คุณชอบ:
SaveOurSea.NET  

กลับไป   SaveOurSea.NET > สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม

ตอบ
 
Share คำสั่งเพิ่มเติม เรียบเรียงคำตอบ
  #1  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 12 มีนาคม 2567

ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา


สภาวะอากาศทั่วไป

ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ขอให้ประชาชนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศร้อนในระยะนี้ไว้ด้วย

สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

ฝุ่นละอองในระยะนี้: ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนบน มีการสะสมของฝุ่นละออง/หมอกควันอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงสูง เนื่องจากลมที่พัดปกคลุมมีกำลังอ่อน และมีการระบายอากาศที่ไม่ดี


กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่
และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส
อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.


คาดหมาย

ในช่วงวันที่ 11 - 12 มี.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 13 - 17 มี.ค. 67 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง

ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้กำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเริ่มมีกำลังอ่อนลงในช่วงวันที่ 12 - 17 มี.ค. 67 แต่ยังคงทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร


ข้อควรระวัง

ในช่วงวันที่ 11 ? 12 มี.ค. 67 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรง โดยหลีกเลี่ยงการใต้ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรงไว้ด้วย ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด และชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วยตลอดช่วง












__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #2  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


พบเพนกวินติดเชื้อไข้หวัดนก ที่อาณานิคมขนาดยักษ์ บนเกาะเซาท์จอร์เจีย



นักวิทยาศาสตร์พบเพนกวินหลายตัวบนเกาะเซาท์จอร์เจีย ซึ่งเป็นแหล่งผสมพันธุ์ขนาดใหญ่ของเหล่าเพนกวิน ติดเชื้อไข้หวัดนก โดยพวกเขากำลังจับตาดูสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2567 ว่า เพนกวินกลายเป็นสัตว์ชนิดล่าสุดบนเกาะเซาท์จอร์เจีย ที่ถูกติดเชื้อไข้หวัดนกชนิด H5N1 หลังก่อนหน้านี้มันแพร่กระจายในหมู่นกทะเล รวมทั้งสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ต่างๆ บนเกาะแห่งนี้

ชายฝั่งของเกาะเซาท์จอร์เจียเป็นที่ตั้งอาณานิยมเพนกวินขนาดใหญ่ โดยมักจะมีเพนกวินจำนวนนับล้านตัวมารวมตัวกันในฤดูผสมพันธุ์ เพื่อหาคู่ และเลี้ยงดูลูกน้อย แต่ล่าสุด นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า พวกเขาพบเพนกวินเจนทู (gentoo) และเพนกวินกษัตริย์ (king) อย่างน้อยชนิดละ 5 ตัว ติดเชื้อไวรัสไข้หวัดนก H5N1 แล้ว

ดร.นอร์แมน แรทคลิฟฟ์ นักนิเวศวิทยาสัตว์ปีกจากสำนักสำรวจขั้วโลกใต้แห่งสหราชาอาณาจักร (British Antarctic Survey) บอกกับสำนักข่าว บีบีซี ว่า ตอนนี้ฤดูผสมพันธุ์ของเพนกวินใกล้จะหมดลงแล้ว ผลกระทบจึงมีอยู่อย่างจำกัด

แต่ที่น่ากังวลคือฤดูผสมพันธุ์ครั้งถัดไป หากไข้หวัดนกระบาดมากและมีอัตราการตายสูง ก็อาจกลายเป็นความกังวลด้านการอนุรักษ์ระดับโลกได้

ทั้งนี้ เชื้อไข้หวัดนก (HPAI) มีอยู่มาหลายทศวรรษแล้ว แต่โลกยังเผชิญกับการระบาดครั้งใหญ่เรื่อยๆ โดยเฉพาะกับสายพันธุ์ H5N1 ซึ่งคร่าชีวิตนกและสัตว์ป่าไปจำนวนนับไม่ถ้วนแล้ว

ทวีปแอนตาร์กติกา (ขั้วโลกใต้) รอดจากการระบาดครั้งใหญ่มาตลอดเนื่องจากความห่างไกล แต่สถานการณ์เริ่มไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว และในเดือนตุลาคม 2566 ก็มีรายงานการพบไข้หวัดนกบนเกาะเซาท์จอร์เจียเป็นครั้งแรก ในนกสคัวสีน้ำตาล (brown skua) ตามด้วยนกนางนวลใหญ่ (kelp gull)

จากนั้นในเดือนมกราคมปีนี้ มีรายงานยืนยันว่าพบช้างและแมวน้ำขนปุยติดเชื้อไข้หวัดนกด้วย ก่อนที่มันจะกระจายไปยังนกนางนวลแกลบขั้วโลกใต้ (Antarctic tern) กับนกอัลบาทรอส (albatross) และล่าสุดคือนกเพนกวิน

ดร.แรทคลิฟฟ์ระบุว่า การพบเพนกวินบนเกาะเซาท์จอร์เจียติดไข้หวัดนกนั้นเป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้น เนื่องจากไวรัสชนิดนี้เล่นงานเพนกวินเจนทูที่หมู่เกาะฟอล์กแลนด์ ซึ่งห่างออกไปทางตะวันตกราว 1,500 กม.ไปแล้ว โดยคาดว่านกสคัวกับนกจมูกหลอดยักษ์ (giant petrel) ซึ่งอพยพไปตามจุดต่างๆ ในอเมริกันใต้ คือพาหะที่นำเชื้อมายังเกาะเซาท์จอร์เจีย

นักวิทยาศาสตรืกำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิดว่า ไข้หวัดนกมีปฏิสัมพันธ์กับเพนกวินสายพันธุ์ต่างๆ อย่างไร เช่น เพนกวินมะกะโรนี (Macaroni) ซึ่งมักใช้เวลาอยู่ในทะเลในช่วงฤดูหนาว อาจช่วยให้มันเลี่ยงการติดเชื้อได้ แต่เพนกวินเจนทูกับเพนกวินกษัตริย์ มักใช้เวลาอยู่บนชายฝั่ง ทำให้พวกมันมีโอกาสสัมผัสเชื้อมากกว่า

ที่มา : bbc


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2769739

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #3  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


สูญเสียยิ่งกว่าอาหารพะยูน ปัญหา "หญ้าทะเล" เสื่อมโทรม จากภาวะ "โลกเดือด"



อาจสูญเสียยิ่งกว่าอาหารพะยูน "หญ้าทะเล" แหล่ง Blue Carbon ชั้นยอด กำลังเสื่อมโทรมหนัก จากสภาวะ "โลกเดือด"

จากกรณีข่าวเศร้า พบซาก "พะยูน" โตเต็มวัย แต่ร่างกายซูบผอม ได้เกยตื้นบริเวณปากคลองบ้านพร้าว ต.เกาะลิบง จ.ตรัง และต่อมาได้เสียชีวิตลง โดยผลการชันสูตร คาดว่า ป่วยตามธรรมชาติ จากการป่วยเรื้อรัง ร่วมกับภาวะอ่อนแอ ซึ่งเจ้าหน้าที่ได้ทำการเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อ เพื่อส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการต่อไป ทำให้หลายเริ่มเห็นปัญหาของสภาพสิ่งมีชีวิตในท้องทะเล ที่ธรรมชาติกำลังฟ้องว่าเกิดวิกฤติอย่างต่อเนื่อง

ไม่ว่าจะเป็นการค้นพบซากของสัตว์ทะเลเกยตื้นตาย จากปัญหาขยะสะสมในอวัยวะภายใน การถูกใบมีดของใบพัดเรือ อวนของชาวประมงรัดจนบาดเจ็บ การเกิดน้ำทะเลเปลี่ยนสีบ่อยครั้ง หรือปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว รวมถึง "หญ้าทะเล" หนึ่งในแหล่งอาหารสำคัญของพะยูน ที่กำลังเกิดวิกฤติเสื่อมโทรมอย่างหนัก มีการแห้งตายในหลายพื้นที่ ซึ่งนักวิจัยหลายคน ต่างก็บอกว่าปัญหาเสื่อมโทรมที่เกิดขึ้น อาจเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบกับสภาพความเป็นอยู่ของ "พะยูนไทย" อีกด้วย


"หญ้าทะเล" แหล่ง Blue Carbon ที่เป็นมากกว่าอาหารพะยูน

หญ้าทะเล หรือ Seagrass เป็นกลุ่มของพืชดอกเพียงกลุ่มเดียว ที่มีวิวัฒนาการและปรับตัวจนดำรงชีวิตอยู่ได้ในทะเล โดยลักษณะโครงสร้างภายนอกคล้ายคลึงกับหญ้าที่อยู่บนบก และสามารถเจริญเติบโตได้ดี ในบริเวณน้ำตื้นที่มีแสงแดดส่องถึง

โครงสร้างของใบมีความซับซ้อน เป็นส่วนที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อสร้างอาหาร มีรากเป็นส่วนที่ใช้ในการดูดซึมสารอาหารและแร่ธาตุจากในดิน ทั้งยังช่วยในการยึดเกาะกับพื้นดิน ทำให้หญ้าทะเลมีความมั่นคง นอกจากนี้ยังมี เหง้า เป็นส่วนของลำต้นที่เจริญคืบคลานไปใต้พื้นผิวดินอีกด้วย

แต่อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า แหล่งหญ้าทะเล คือระบบนิเวศแสนสมบูรณ์ เป็นที่อยู่สรรพสัตว์ รวมทั้งแหล่งหากินเลี้ยงปากท้องชาวบ้าน ซึ่งนอกจากจะเป็นหนึ่งในแหล่งอาหารที่สำคัญของพะยูนแล้ว ยังถือว่าเป็น "แหล่งกักเก็บคาร์บอน" ชั้นยอดของโลกที่เป็นกำลังสำคัญในอนาคต

เพราะดูดซับคาร์บอนได้ดีที่สุด แม้ว่าจะมีพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 0.2 ของพื้นที่มหาสมุทรทั้งหมด แต่กลับกักเก็บคาร์บอนไว้ได้ถึงร้อยละ 10 ต่อปี หรือเกือบ 50 เท่า ถือเป็นหนึ่งในแหล่ง Blue Carbon ร่วมกับระบบนิเวศทางทะเลอื่นๆ อาทิ พื้นที่ป่าชายเลน และป่าพรุน้ำเค็ม ที่ล้วนแต่มีศักยภาพในการกักเก็บคาร์บอนในอากาศลงไปในใต้ดิน ได้ถึงร้อยละ 50-99 ซึ่งถือเป็นความหวังในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน


สถานการณ์ "หญ้าทะเล" ในปัจจุบัน เกิดวิกฤติหนัก ตายหลายพื้นที่

อย่างไรก็ตาม ปัญหาการเสื่อมโทรมของ "หญ้าทะเลไทย" ได้ปรากฏให้เห็นอย่างหนักในหลายพื้นที่ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะะอย่างยิ่งในจังหวัดตรังและกระบี่ พื้นที่หญ้าทะเลหลายหมื่นไร่ของไทย ที่มีความหมายมากมายต่อความอุดมสมบูรณ์ของทะเล และการทำมาหากินของมนุษย์

อีกทั้งยังเป็นที่อยู่ของสัตว์หายาก โดยเฉพาะพะยูนกว่า 70% ของไทยอยู่ในบริเวณนั้น โดยปัจจัยสำคัญที่หลายคนมุ่งเป้าไปนั่นก็คือ ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ที่ทำให้เกิดภาวะ "โลกเดือด" อันส่งผลกระทบให้ "ทะเลเดือด" ตามมาด้วยเช่นเดียวกัน ประกอบกับการได้รับผลกระทบจากกิจกรรมต่างๆ จากมนุษย์ ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ไม่ว่าจะเป็น

- การเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ท้องทะเลต่างๆ เช่น การขุดลอกร่องน้ำเพื่อการเดินเรือ และการก่อสร้างท่าเรือ เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่หญ้าทะเลถูกทำลายโดยตรง

- การพัฒนาชายฝั่งทะเล เช่น การก่อสร้างที่ก่อให้เกิดตะกอนชะล้างลงสู่ทะเล โดยตะกอนดังกล่าวจะปกคลุมใบหญ้าและปิดกั้นการสังเคราะห์แสงของหญ้าทะเล

- การเดินเรือ และการสัญจรทางน้ำ ที่ทำให้ใบหญ้าทะเลถูกตัดขาด หน้าดินถูกคุ้ย เกิดการฟุ้งกระจายของตะกอนในน้ำ ซึ่งมีผลต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล

- การทำประมงบางประเภท เช่น คราดหอย เรืออวนลากขนาดเล็ก เรืออวนรุน เรืออวนทับตลิ่งขนาดใหญ่ ที่ทำการประมงในแหล่งหญ้าทะเล ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมแก่แหล่งหญ้าทะเล และสัตว์ทะเล

- น้ำเสียตามชายฝั่งทะเล เช่น การทำเหมืองแร่ ท่าเทียบเรือ สะพานปลา โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชนบ้านเรือน และการทำนากุ้ง ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของหญ้าทะเล


อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามถึงการฟื้นฟูปัญหา "หญ้าทะเล" กับ ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิทยาศาสตร์ทางทะเล และอาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เผยว่า ทำอะไรไม่ได้ ลดโลกร้อน เป็นปัญหาที่ยากเย็นแสนเข็ญในการแก้ ปลูกก็ไม่น่ารอด เพราะในธรรมชาติยังไม่รอดเลย ต้องรอให้มีข้อมูลมากกว่านี้อีกหลายด้าน ตอนนี้ได้แต่รอ เรียกร้องให้มีการสนับสนุนการศึกษาวิจัยมากกว่านี้ ตอนนี้แทบไม่มีเงินงบประมาณเลย เมื่อถามว่าหากสถานการณ์ยังเป็นแบบนี้อยู่ สัตว์น้ำของเราตามแหล่งน้ำธรรมชาติจะเป็นอย่างไร อ.ธรณ์ เผยว่า เป็นวิกฤติสุดๆ ตั้งแต่เคยมีมาคงได้.


อ้างอิงข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, สำนักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ, ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์


https://www.thairath.co.th/futureper...ticles/2769673

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #4  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ


ชาวเกาะแทนซาเนียกินเนื้อเต่าทะเล ดับ 9 เจ็บอีกกว่า 78



มีผู้เสียชีวิต 9 ศพ และป่วยหนักกว่า 78 คน หลังบริโภคเนื้อเต่าทะเล ซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของหมู่เกาะแซนซิบาร์ ในประเทศแทนซาเนีย

เด็ก 8 คน และผู้ใหญ่ 1 คน เสียชีวิตบนเกาะห่างไกลในแอฟริกา และอีกจำนวนมากเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลังจากกินเนื้อเต่าทะเล ซึ่งถือเป็นอาหารอันโอชะของผู้คนในภูมิภาคนี้ แม้จะทราบดีถึงอันตรายจากอาหารเป็นพิษ ซึ่งรวมถึงความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วย

จากเหตุดังกล่าวที่เกิดขึ้นเมื่อต้นสัปดาห์นี้บนเกาะเพมบา ซึ่งเป็นเขตร้อนอันห่างไกลในหมู่เกาะแซนซิบาร์ นอกชายฝั่งตะวันออกของทวีปแอฟริกา ยังทำให้มีผู้ป่วยอีกอย่างน้อย 78 คน

ดร.ฮาจิ บาคารี เจ้าหน้าที่การแพทย์ประจำเขตมโคอานี กล่าวว่า ผู้ใหญ่ที่เสียชีวิตจากการกินเนื้อเต่าเมื่อวันศุกร์ (8 มี.ค.) เป็นแม่ของเด็กคนหนึ่งที่เสียชีวิต เขากล่าวว่า ผลการทดสอบในห้องปฏิบัติการยืนยันได้ว่าทุกคนที่ป่วยได้บริโภคเนื้อเต่าทะเลเมื่อวันอังคาร

การเสียชีวิตดังกล่าวสะท้อนถึงเหตุการณ์ที่คล้ายกันบนเกาะเพมบา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 7 ศพ รวมทั้งเด็กอายุ 3 ขวบหลังจากกินเนื้อเต่า เนื่องจากเนื้อเต่าทะเลถูกมองว่าเป็นอาหารอันโอชะที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวางในหมู่เกาะแซนซิบาร์ ซึ่งเป็นภูมิภาคกึ่งปกครองตนเองในสาธารณรัฐแทนซาเนีย

อย่างไรก็ตามเป็นที่ทราบกันดีว่าการบริโภคเนื้อเต่าอาจก่อให้เกิดอันตราย เนื่องจากเนื้อเต่าทะเลมีพิษที่มีชื่อว่า "ชิโลนิท็อกซิซึม" (Chelonitoxism) ซึ่งเป็นอาหารเป็นพิษประเภทหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ตามมาด้วยพิษต่อระบบประสาท ตับ และไต นอกจากนี้พิษจากเนื้อเต่าอาจทำให้มารดาที่ให้นมบุตรสามารถส่งสารพิษไปยังทารกได้ โดยมีรายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์ในลักษณะนี้ในไมโครนีเซีย และมาดากัสการ์ ที่ส่งผลให้ทารกเสียชีวิต

หลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเจ้าหน้าที่ในแซนซิบาร์ได้ส่งทีมจัดการภัยพิบัติเพื่อแจ้งเตือนไม่ให้ประชาชนบริโภคเนื้อเต่าทะเล.


ที่มา AP


https://www.thairath.co.th/news/foreign/2769507

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #5  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก ผู้จัดการ


ดร.ธรณ์เผยภาพสุดว้าว หลังพบแม่เต่ามะเฟืองวางไข่หน้ารันเวย์สนามบินภูเก็ต



ดร.ธรณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล เผยภาพมหัศจรรรย์ หลังพบเต่าสุดหายากของโลกแม่เต่ามะเฟือง AOT มาวางไข่หน้ารันเวย์ สนามบินภูเก็ต ด้านชาวเน็ตแห่ยินดี แนะติดตั้งกล้องถ่ายภาพขณะลูกเต่าเดินลงทะเล

วันนี้ (11 มี.ค.) เฟซบุ๊ก "Thon Thamrongnawasawat" หรือ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล และรองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ระบุข้อความว่า ?คิดว่ามีแต่ตัวเองอยากเห็นเครื่องบินเรอะ? ชั้นก็อยากเห็นย่ะ คิดอย่างนี้ได้ แม่เต่ามะเฟือง AOT จัดการวางไข่ตรงหน้ารันเวย์สนามบินภูเก็ตซะเลย เครื่องบินบินไปบินมา ฮ้า! Welcome to Thailand - Amazing Phuket

เป็นภาพที่มหัศจรรรย์จริงๆ สนามบินยักษ์แต่มีเต่าสุดหายากของโลกมาวางไข่หน้ารันเวย์ เอาไปใช้โปรโมตดีๆ นอกจากคะแนน SD ขององค์กรจะพุ่งกระฉูด ยังเป็นภาพยืนยันความเป็น Green Tourism และความเจ๋งของภูเก็ต

น่าจะเป็นรังแรกของแม่เต่ารายนี้ เจ้าหน้าที่ขุดเจอไข่แล้ว กำลังวางแผนดูแลรักษาต่อไป ในอดีตมีแม่เต่ามาวางไข่แถวหน้ารันเวย์ในปี 2563 เมื่อดูจากเวลาที่เว้นไป 4 ปี เป็นไปได้ว่าอาจเป็นแม่เต่าตัวเดิม (ซึ่งต้องพิสูจน์)

ติดใจเมืองไทยสิท่า 555 เมื่อดูจากแม่เต่าเพิ่งวางไข่ใหม่ รวมกับแม่ตัวก่อนๆ ปีนี้อาจทำลายสถิติเดิม 18 รังใน 1 ซีซัน

มาร่วมลุ้นกันต่อไปครับ และแน่นอนว่า กองทุนเต่าที่พวกเราช่วยกันสนับสนุน ถูกนำมาใช้เพื่อการลาดตระเวนและติดกล้องวงจรปิดเพื่อดูแล ท่ามกลางข่าวเศร้าๆ ของหญ้าตายพะยูนหาย มีข่าวดีๆ อย่างนี้บ้าง
ใจฟูครับ ภาพ - กรมอุทยานฯ

หมายเหตุ - ชื่อเต่า AOT ผมตั้งเอง เผื่อชาวสนามบินจะช่วยดูแลบ้าง เดี๋ยวจะบอกเพื่อนที่ตำแหน่งสูงปรี๊ดอยู่ในนั้นให้ช่วยดูด้วยครับ (บริจาคให้กองทุนเต่าบ้างก็ดีเนอะ)

รายละเอียด

วันที่ 11 มีนาคม 2567 เวลา 06.50 น. ได้รับการประสานจากกลุ่มเฝ้าระวังการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลหาดไม้ขาว พบการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถ และอุทยานแห่งชาติเขาลำปี-หาดท้ายเหมือง นำเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบ

พบเป็นร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่ามะเฟือง บริเวณชายหาดจุดชมวิวเครื่องบิน สนามบินภูเก็ต วัดขนาดความกว้างอก 110 ซม. ความกว้างพายทั้งหมด 190 ซม. ตำแหน่งหลุมไข่ พิกัด UTM 47P 423090 896878 ความลึกหลุมไข่ 60 ซม. ความกว้างหลุมไข่ 45 ซม. ขนาดของไข่ 5.45 ซม.

จากการประเมินพบว่าตำแหน่งหลุมไข่อยู่พ้นแนวน้ำขึ้นสูงสุด จึงไม่ย้ายหลุมเพาะฟัก และจัดทำคอกกั้น ปล่อยให้ฟักตามธรรมชาติ โดยมีเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังตลอดเวลา ไข่เต่ามะเฟืองจะใช้เวลาเพาะฟักประมาณ 55-60 วัน อยู่ระหว่างวันที่ 5-10 พฤษภาคม 2567

ทั้งนี้ ผู้แจ้งเบาะแสการขึ้นวางไข่ของเต่าจะได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนอนุรักษ์เต่าทะเลและถิ่นอาศัย พังงา-ภูเก็ต ในโอกาสต่อไป


https://mgronline.com/onlinesection/.../9670000021738

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #6  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


ปิดภารกิจ สำรวจ 'เรือหลวงสุโขทัย' ทร.ไทย-สหรัฐ กอดคอลา 1 เดือนรู้เหตุจม จ่อตั้งอนุสรณ์สถานรำลึก



ทูตสหรัฐฯ ? ผบ.ทร. ร่วมปิดภารกิจค้นหาทำลายวัตถุอันตราย รล.สุโขทัย คาดหวังได้ผลสรุปให้ครอบครัวผู้สูญเสีย กำลังพล2 ชาติกอดคออำลา ชมทหารเรือไทยอยู่ในกฎ-จรรยาบรรณ เผยอีก 1 เดือนรู้ผล เหตุ รล.สุโขทัย อับปาง ปิดฉากกู้ทั้งลำ ไม่พบ 5 ผู้สูญหาย พร้อมเก็บ ?พยานหลักฐาน? ได้ 58 รายการ ส่วนเรือเตรียมทำ ?อนุสรณ์สถาน? ระลึก รล.สุโขทัย ที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 11 มีนาคม พล.ร.อ. อะดุง พันธ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พร้อม นายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำประเทศไทย ได้เดินทาง มาตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของกำลังพลสองชาติ ที่เรือ Ocean Valor กลางทะเลอ่าวไทย ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการดำน้ำในภารกิจค้นหา และทำลายวัตถุอันตรายเรือหลวงสุโขทัยครบวันที่ 19 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายและมีการแถลงปิดภารกิจของกองทัพเรือ

โดยพล.ร.อ. อะดุง กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างกองทัพเรือไทย และสหรัฐ ในครั้งนี้ว่า ภารกิจเสร็จสิ้นสมบูรณ์เรียบร้อย ขอขอบคุณสหรัฐ ซึ่งดีใจที่สุดคือไม่มีใครเกิดอุบัติเหตุ และไม่มีความเสียหายใดๆทั้งสิ้น

ด้านนายโรเบิร์ต เอฟ. โกเดค ได้กล่าวขอบคุณกองทัพเรือไทย ตนได้เห็นการยกสมอเรือหลวงสุโขทัยขึ้นมา รู้สึกซาบซึ้งใจในความร่วมมือของรัฐบาลไทย ผู้บัญชาการทหารเรือ กองทัพเรือ และนักประดาน้ำทุกคน ภารกิจการกู้เรือเป็นการแสดงศักยภาพสูงสุดของความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับสหรัฐฯ ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางการทูตที่มีมายาวนานกว่า 190 ปี เยี่ยมมากๆ และใจของตนก็อยู่ร่วมกับครอบครัวทหารเรือที่สูญหาย และหวังว่าปฏิบัติการในครั้งนี้จะมีบทสรุปให้ครอบครัวของผู้สูญหายได้มากขึ้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส่วนหนึ่งของนักประดาน้ำของ 2 ชาติ ได้ขึ้นมาแถลงข่าวปิดภารกิจที่เรือหลวงอ่างทองด้วย หลังจบการแถลงข่าว พร้อมได้จับมือมือ กอดอำลา และถายภาพร่วมกัน ซึ่งเรือ Ocean Valor จะแวะพักที่ชลบุรี ก่อนกลับฮาวาย ประเทศสหรัฐฯ ต่อไป ทั้งนี้ เรือดังกล่าวสร้างขึ้นโดยบริษัทเอกชน มีเครื่องมือ อุปกรณ์เฉพาะ เพื่อใช้เป็นฐานปฏิบัติการดำน้ำ กู้เรืออับปาง โดย ทหารเรือสหรัฐได้เช่ามาจากเอกชนเพื่อร่วมปฏิบัติการกับกองทัพเรือไทย การฝึกร่วมผสมคอบร้าโกลด์ 2024

ขณะที่ นักประดาน้ำของสหรัฐฯ กล่าวว่ารู้สึกประทับใจในภารกิจครั้งนี้ที่ได้ทำงานกับนักประดาน้ำของ กองทัพเรือไทย และขอชื่นชมทหารเรือไทย เพราะทำงานอย่างมีจรรยาบรรณ ภายใต้กฎอย่างเข้มงวดตลอดระยะเวลา 19 วัน ถือว่าเร็ว แต่เราก็เป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และสนิทสนมกันมากเพราะต้องทำงานเป็นบั้ดดี้กันตลอด


ต่อจากนั้น ที่เรือหลวงอ่างทอง พล.ร.อ.อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) พร้อมด้วย เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย เดินทางมาตรวจเยี่ยมปฏิบัติการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย รล.สุโขทัย ในวันสุดท้าย หลังปฏิบัติภารกิจครบ 19 วัน ตั้งแต่ 22 กุมภาพันธ์ ? 11 มีนาคม ระหว่างกองทัพเรือไทย กับกองทัพเรือสหรัฐฯ ภาคพื้นแปซิฟิก โดยเป็นหนึ่งในภารกิจการฝึก Cobra Gold 2024

นอกจากนี้กองอำนวยการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย รล.สุโขทัย จัดแถลงข่าวปิดปฏิบัติการฯ ครบ 19 วัน บน รล.อ่างทอง สำหรับผู้ที่แถลงข่าวนำโดย พล.ร.อ.ชาติชาย ทองสะอาด ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ (ผบ.กร.) ในฐานะผู้อำนวยการค้นหาและปลดวัตถุอันตราย รล.สุโขทัย พล.ร.ต.วิชชุ บำรุง ผู้บังคับหมวดเรือค้นหาและปลดวัตถุอันตราย รล.สุโขทัย เรือตรีธงบุญ เพ็งแก้ว หัวหน้าชุดประดาน้ำ , เรือเอก William Rittenhouse Commander, Task Group73.6

พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าวว่า เป็นระยะเวลา 1 ปี 2 เดือน 22 วัน ที่ รล.สุโขทัย อับปางใต้ทะเลในความลึก 50 เมตร ซึ่งสภาพเรือพบว่า เรือตั้งแท่นเชนเดิม เอียงไปทางกราบซ้าย 7.3 องศา


สำหรับปฏิบัติการของนักประดาน้ำ 2 ประเทศ รวมปฏิบัติการดำน้ำ 82 เที่ยว 67 ชั่วโมง 53 นาที โดยผลการค้นหา 5 ผู้สูญหาย ไม่พบร่างทั้ง 5 คน หลังนักประดาน้ำได้เข้าสำรวจภายในห้องต่างๆ ตามที่วางแผน โดยส่วนใหญ่เป็นห้องที่อยู่ต่ำกว่าดาดฟ้าเรือ แต่ไม่ได้เข้าทุกห้อง ด้วยความเสี่ยงต่างๆ เพราะเรือจมอยู่ใต้น้ำลึก 50 เมตร รวมทั้งการสำรวจรอบตัวเรือ และพื้นทะเลใต้ตัวเรือ

ทั้งนี้นักประดาน้ำได้ทำการเก็บ 'พยานวัตถุ' 58 รายการ ทั้งที่เป็นวัตถุ-ภาพถ่าย ตามที่คณะกรรมการหาข้อเท็จจริงฯ ต้องการ เพื่อใช้ประกอบการสอบสวนหาสาเหตุ เช่น บริเวณแผ่นดันคลื่น , ประตูผนึกน้ำรอบตัวเรือ , รอยทะลุทางกราบซ้าย 2 รอย , สภาพฐานแท่นแพชูชีพ 6 แผง เป็นต้น

สำหรับส่วนที่เป็นวัตถุ ได้แก่ โทรศัพท์มือถือ 1 เครื่อง , เครื่องบันทึกภาพดิจิทัล DVR 1 เครื่อง , เสื้อชูชีพ 1 ตัว , คอมพิวเตอร์ Laptop 1 เครื่อง , สมุดจดคำสั่งการนำเรือ 1 เล่ม

สำหรับเครื่องบันทึกภาพดิจิทัล DVR หรือทีวีวงจรปิด ทางกองทัพเรือได้นำส่งให้สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ทำการตรวจสอบและกู้ข้อมูล โดยกองทัพเรือหวังให้ดำเนินการโดยเร็วที่สุด พร้อมย้ำว่าเรือรบไม่มีกล่องดำเหมือนกับเครื่องบิน แต่สิ่งที่บันทึกความเคลื่อนไหวภายในเรือจะมาจากกล้องวงจรปิด ในจุดที่มีการกล้องฯ

นอกจากนี้ทางสหรัฐฯ ยังได้ปลดขีดความสามารถทางทหารกับยุทโธปกรณ์บนเรือ ได้แก่ อาวุธปล่อยนำวิถีสู่พื้นฮาร์พูน , ตอร์ปิโด MK309 , เครื่องมือสื่อสาร , ปืนกล 20 มิลลิเมตร จำนวน 2 กระบอก , ปืนเล็กยาว M16 จำนวน 10 กระบอก ไม่ให้ใช้การได้ โดยทั้งหมดนำส่งให้กองทัพเรือไทยในฐานะเจ้าของ นำไปเข้าสู่กระบวนการต่างๆต่อไป

พร้อมกันนี้ยังได้นำสิ่งของภายใน รล.สุโขทัย ขึ้นมา เพื่อจัดทำเป็นอนุสรณ์ เช่น ป้ายชื่อเรือ , พญาครุฑ , พระพุทธรูป , พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช , ระฆังเรือ , สมอเรือ , ธงราชนาวี , เสากระโดงเรือ , สมอเรือ , ป้ายขึ้นระวางประจำเรือ เป็นต้น

สำหรับสิ่งที่กองทัพเรือจะดำเนินการต่อไป 3 ข้อ ได้แก่ 1.รวบรวมยุทโธปกรณ์ อุปกรณ์ สิ่งของ รล.สุโขทัย ที่เก็บกู้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง , 2.คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณี รล.สุโขทัย อับปาง จะทำการสรุปผลการสอบสวน และ 3.การสร้างอนุสรณ์สถาน รล.สุโขทัย โดยนำสิ่งของที่มีคุณค่าทางจิตใจต่างๆ มาจัดแสดงในพื้นที่ อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี เพราะเป็นบ้านและที่ตั้งหน่วยของ รล.สุโขทัย ส่วนจะมีการจัดแสดงอาวุธหรือไม่ ต้องรอการพิจารณาต่อไป

ทั้งนี้ พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าวย้ำว่า ด้วยปฏิบัติภารกิจทั้งหมด ทำให้ไม่ต้องกู้เรือทั้งลำ เพราะได้พยานหลักฐานครบทุกรายการตามที่คณะกรรมการสอบสวนฯ ต้องการ และตอบโจทย์ทั้ง 4 ข้อในการปฏิบัติภารกิจ ได้แก่ การค้นหาผู้สูญหาย , การตรวจสอบพยานวัตถุที่เรือ , การปลดวัตถุอันตราย , การนำวัตถุที่มีคุณค่าทางจิตใจขึ้นมา

"การค้นหาผู้สูญหาย ทางนักประดาน้ำได้สำรวจเต็มที่ในทุกเที่ยวดำน้ำ ผมบอกกับเขาว่าระหว่างลงไป ไม่ว่าไปไหน ให้ค้นหาผู้สูญหายด้วย" พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าว

ส่วนเรื่องการเยียวยาครอบครัว 5 ผู้สูญหาย ได้ดำเนินการเหมือนกับ 24 รายที่เสียชีวิตและพบร่างแล้ว ขณะนี้เหลือเพียงขั้นตอนทางกฎหมาย ที่ต้องรอคำสั่งศาลว่าเป็นผู้สูญหาย เมื่อครบ 2 ปี

เมื่อถามถึงพยานวัตถุ 58 รายการ ตรงกับคำให้การพยานบุคคลหรือไม่ และจะสามารถเปิดหลักฐานทุกรายการได้หรือไม่ พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าวว่า อยู่ที่กองทัพเรือพิจารณา เพราะทางชุดปฏิบัติครั้งนี้ มีหน้าที่เก็บข้อมูล หลักฐาน ภาพ วิดีโอ ต่างๆเท่านั้น ส่วนจะเกี่ยวข้องกับสำนวนสอบสวนหรือไม่ เป็นหน้าที่คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง สำหรับระยะเวลานั้น ทาง ผบ.ทร. เร่งให้เร็วที่สุด ไม่เกิน 1 เดือน

เมื่อถามว่าสมุดจดคำสั่งการนำเรือ 1 เล่ม เก็บกู้ขึ้นมานั้น ยังสามารถอ่านรายละเอียดได้หรือไม่ พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าวว่า ได้ส่งไปยังหน่วยงานที่มีหน้าที่แล้ว และต้องให้คณะกรรมการหาข้อเท็จจริงฯ ตรวจสอบ

เมื่อถามว่างบประมาณในปฏิบัติการครั้งนี้ พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าวว่า ทางสหรัฐฯจะชี้แจงอีกครั้ง แต่ในส่วนของกองทัพเรือไทย ได้คืนงบประมาณให้รัฐบาลไปแล้ว 90 ล้านบาท ส่วนงบที่กองทัพเรือจัดสรรเอง 110 ล้านนั้น พล.ร.อ.ชาติชาย กล่าวว่า เป็นวิธีที่ดีที่สุดในสถานการณ์ปัจจุบัน โดยใช้งบประมาณไม่มาก ซึ่งจะมีการชี้แจงต่อไป


https://www.matichon.co.th/politics/news_4466552

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #7  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก มติชน


วิกฤตหนัก! พะยูนตรัง ประชากรลดฮวบ พบแม่ลูกเพียง 1 คู่ เหตุ โลกร้อน-หญ้าทะเลเสื่อมโทรม



ผู้สื่อข่าวรายงานจากจังหวัดตรังว่า จากกรณีวิกฤตหญ้าทะเลตรัง เสื่อมโทรมตายลงเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อแหล่งอาหารของพะยูนฝูงสุดท้ายของประเทศไทย รวมทั้งสัตว์ทะเลหายากอื่นๆ สาเหตุหลักจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โลกร้อน น้ำมะเลมีอุณภูมิสูงขึ้น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.) ได้ระดมทีมนักวิทยาศาสตร์ระดับหัวกระทิของประเทศลงพื้นที่สำรวจหาสาเหตุ พบว่าเกิดจาดภาวะโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงมากขึ้นและนานกว่าปกติ ทำให้หญ้าผึ่งแดดนานขึ้น ขณะที่ชาวบ้านชายฝั่งในพื้นที่รวมทั้งเครือข่ายอนุรักษ์ ระบุอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญ คือการทับถมของตะกอนทรายจากการขุดลอกร่องน้ำกันตังโดยกรมเจ้าท่าเพื่อการเดินเรือ แม้จะหยุดขุดไปแล้ว แต่ผลกระทบยังคงมีมาต่อเนื่อง ซึ่งถือว่าขณะนี้สถานการณ์หญ้าทะเลอยู่ในขั้นวิกฤต ส่งผลให้พะยูนเสี่ยงสูญพันธุ์ หรือย้ายถิ่นฐานออกนอกพื้นที่เขตอนุรักษ์ และเพิ่มปัจจัยเสี่ยงการตายจากอุบัติเหตุ และภัยคุกคามอื่นๆได้

ล่าสุด ระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม 2567 ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง (ศวอล.) ได้ปฏิบัติภารกิจออกปฏิบัติงานสำรวจการแพร่กระจายสัตว์ทะเลหายาก บริเวณพื้นที่จังหวัดตรัง โดยวิธีการบินสำรวจ (Aerial Survey) โดยใช้เครื่องบินปีกตรึง 2 ที่นั่ง สำรวจแบบ Line transect และ Hot spot ร่วมกับนักบินอาสาสมัคร นาย Eduardo Angelo Loigorri และวิธีการสำรวจทางเรือ บริเวณเกาะลิบง เกาะมุกด์ อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และบริเวณแนวหญ้าทะเลใกล้เคียง ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของจังหวัดตรัง ผลการสำรวจโดยประมาณในเบื้องต้นพบพะยูน 36 ตัว พบพะยูนคู่แม่-ลูก จำนวน 1 คู่ พบโลมาหลังโหนก 6 ตัว พบโลมาคู่แม่-ลูก 2 คู่ และเต่าทะเล 38 ตัว ผลการตรวจสุขภาพประเมินสุขภาพจากการสังเกตด้วยสายตา พบว่าพะยูนแสดงพฤติกรรมว่ายน้ำหาอาหารบนแนวหญ้าทะเล นอกจากนี้ยังพบพะยูนคู่แม่-ลูก ซึ่งแสดงถึงความสมบูรณ์เพศของตัวสัตว์ โดยโลมาหลังโหนกพบว่าสุขภาพโดยรวมสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผลหรือร่องรอยที่เกิดจากการถูกเครื่องมือประมงหรือขยะทะเลพันรัด รวมถึงเต่าทะเล สุขภาพโดยรวมไม่พบพฤติกรรมที่แสดงความผิดปกติ ส่วนข้อมูลและภาพถ่ายจากการสำรวจครั้งนี้ จะใช้คำนวณหาจำนวนประชากรที่แท้จริงของสัตว์ทะเลหายากในบริเวณพื้นที่จังหวัดตรังต่อไป

รายงานข่าวแจ้งว่า พื้นที่จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่ที่มีพะยูนมากที่สุดในประเทศไทย และจากการสำรวจในปี2567นี้ พบตัวเลขที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง นั่นคือ เมื่อปี 2566 สำรวจพบ 194 ตัว แต่ล่าสุดสรุปสถานการณ์การสำรวจระหว่างวันที่ 5-11 มีนาคม ทั้งทางอากาศและทางเรือ พบเหลือเพียง 36 ตัวเท่านั้น แม้จะพบพะยูาคู่แม่ลูก 1 คู่ แต่อยู่ในภาวะเสี่ยงเรื่องขาดแคลนอาหาร สาเหตุหลักคือ หญ้าทะเลตาย พะยูนไม่มีอาหารกิน ทำให้ป่วย และอดตาย สาเหตุที่ทำให้หญ้าทะเลตาย หลักๆ คือ ปรากฏการณ์โลกร้อน ซึ่งจนถึงขณะนี้งยังไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์ได้


https://www.matichon.co.th/region/news_4466707

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #8  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'ปะการังฟอกขาว' การสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี สู่วิกฤติใต้ท้องทะเล


KEY POINTS

- ปะการังฟอกขาว ปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลง จากการสูญเสีย สาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) เนื่องจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย

- สาเหตุจาก อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป มีน้ำจืดไหลลงมาทำให้ความเค็มลดลง ตะกอนที่ถูกน้ำจืดไหลพัดพามาจากชายฝั่ง หรือแม้แต่มลพิษที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์

- ที่ผ่านมา น่านน้ำไทย เคยได้รับผลกระทบเมื่อปี 2534 , 2538 , 2541 , 2546 , 2548 และ 2550 ขณะที่ ?แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ? ของออสเตรเลีย เกิดการฟอกขาวมาแล้วหลายครั้ง จน UN แนะนำให้เพิ่ม แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย




ปะการังฟอกขาว (Coral bleaching) ปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อของปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป

ที่ผ่านมา น่านน้ำไทย เคยได้รับผลกระทบเมื่อปี 2534 , 2538 , 2541 , 2546 , 2548 และ 2550 โดยปี พ.ศ.2534 และ 2538 แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับความเสียหายมาก ปะการังตายประมาณ 10-20% ส่วนในปี 2541 ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าวไทย

ขณะเดียวกัน "แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ" เป็นแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศออสเตรเลีย ซึ่งเกิดการฟอกขาวมาแล้วหลายครั้ง จน UN แนะนำให้เพิ่ม แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย


ปะการังฟอกขาว คืออะไร

ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) จากข้อมูล ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา อธิบายว่า เป็นปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (zooxanthellae) เกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป มีน้ำจืดไหลลงมาทำให้ความเค็มลดลง ตะกอนที่ถูกน้ำจืดไหลพัดพามาจากชายฝั่ง หรือแม้แต่มลพิษที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยน้ำเสีย การใช้ครีมกันแดด การทิ้งขยะตามแนวชายหาดก็ล้วนมีผลให้สาหร่ายซูแซนเทลลีออกมาจากเนื้อเยื่อของปะการังเพื่อความอยู่รอด


สาหร่ายซูแซนเทลลี กับปะการัง

ปะการังสีซีดจางลงจากการ สูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป วงจรชีวิตของสาหร่ายซูแซนเทลลีกับปะการัง เป็นภาวะพึ่งพาอาศัยกัน (Mutualism)

หากแยกกันอยู่จะไม่สามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ โดยปกติเนื้อเยื่อของปะการังไม่ได้มีสีสันสวยงาม เป็นเพียงเนื้อเยื่อใสๆ เท่านั้น ส่วนที่เห็นเป็นสีสันจากปะการังไม่ว่าจะเป็นสีแดง สีส้ม สีเขียว หรือสีน้ำตาลนั้นมาจากสาหร่ายซูแซนเทลลีทั้งสิ้น

- สาหร่ายช่วยให้เนื้อเยื่อของปะการังมีสีสันสวยงาม

- สาหร่ายช่วยสังเคราะห์แสงให้ธาติอาหารแก่ปะการัง เพื่อใช้ในการดำรงชีวิต และการเจริญเติบโต

- ปะการังจะเป็นที่อยู่อาศัย และให้สาหร่ายนำของเสีย เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนเตรต ฟอสเฟต มาใช้ในการสร้างสารอาหาร


สาเหตุ

- อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป

- ความเค็มของน้ำทะเลลดลง

- ตะกอนสิ่งปฏิกูลจากชายฝั่งถูกน้ำทะเลชะล้างลงสู่ทะเล

- มลพิษที่เกิดจากการใช้ประโยชน์ทางทะเลของมนุษย์ เช่น การปล่อยน้ำเสีย การ

- ใช้ครีมกันแดด และการทิ้งขยะตามแนวชายหาด


ผลกระทบ

- ปริมาณสัตว์น้ำลดลงเนื่องจากขาดแหล่งอนุบาล

- ปะการังฟอกขาวทำให้แนวปะการังเสื่อมโทรม ส่งผลให้กระทบต่อสมดุลในระบบนิเวศแนวปะการัง

- ปะการังเกิดความเสื่อมโทรม ส่งผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว


ปะการังฟอกขาวครั้งใหญ่ 'เกรตแบร์ริเออร์รีฟ'

"แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ" เป็นแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลก มีความยาวกว่า 2,000 กิโลเมตร อยู่ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นแนวปะการังที่มีสิ่งมีชีวิตมากมายอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น มีทั้งปะการังกว่า 350 ชนิด รวมถึงปลา และสิ่งมีชีวิตอีกมากมายกว่า 1,500 ชนิด นับว่าเป็นสวรรค์ของนักดำน้ำ

ที่ผ่านมา แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟ เผชิญกับการฟอกขาวครั้งแล้วครั้งเล่า โดยครั้งแรกเกิดขึ้นในปี 2541 และอีกครั้งในปี 2545, 2559, 2560 และ 2563 ตามลำดับ

ย้อนกลับไปใน "ปี 2559" แอนดรูว์ แบร์ด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเจมส์ คุก ซึ่งอยู่ในทีมที่สำรวจปะการัง "เกรตแบร์ริเออร์รีฟ" ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย พบน้ำทะเลอุ่นรอบๆ เกรตแบร์ริเออร์รีฟ ทำให้แนวปะการังที่ทอดยาว 700 กิโลเมตร ตายไปแล้วถึง 2 ใน 3 จากแนวปะการังที่นี่มีพื้นที่ 348,000 ตารางกิโลเมตร

ปะการังฟอกขาว เกิดขึ้นเมื่ออุณหภูมิน้ำอุ่นเกินไป ทำให้มันสูญเสียสาหร่ายที่อาศัยอยู่ จึงกลายเป็นหินปูนแล้วเปลี่ยนเป็นสีขาว หากฟอกขาวเพียงเล็กน้อยจะสามารถฟื้นตัวได้ถ้าอุณหภูมิลดลง ซึ่งปรากฏการณ์เช่นนี้พบได้หลายส่วนทางตอนใต้ของเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ที่ปะการังตายน้อยลงมาก

แม้ปะการังฟอกขาวจะเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ แต่นักวิทยาศาสตร์กังวลว่า การที่อุณหภูมิน้ำทะเลสูงขึ้นจากภาวะโลกร้อน จะยิ่งทำให้เกิดความเสียหายรุนแรง ระบบนิเวศวิทยาใต้ทะเลไม่อาจฟื้นตัวได้

การค้นพบปะการังฟอกขาวทางตอนเหนือของเกรตแบร์ริเออร์รีฟ ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อการท่องเที่ยวชมปะการัง รายงานของดีลอยแต เอคเซส อิโคโนมิคส์ เมื่อปี 2556 ระบุว่า มรดกโลกแห่งนี้ดึงดูดเม็ดเงินราว 5,200 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (138,000 ล้านบาท) ต่อปี


เกิดการฟอกขาวอีกครั้ง เสียหายวงกว้าง

ในปีนี้เอง เกิดการฟอกขาวอีกครั้ง และเกิดความเสียหายในวงกว้าง องค์กรด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศของออสเตรเลีย (Climate Council) ระบุว่า ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว กำลังเกิดขึ้นรุนแรงทั่วเกรตแบร์ริเออร์รีฟ โดยเกิดความเสียหายที่ทอดยาวเป็นระยะทางกว่า 1,100 กิโลเมตร

ขณะที่ งานวิจัยจาก Australian Academy of Science เผยว่า เกรตแบร์ริเออร์รีฟ เกือบ 99% เสี่ยงสูญหายภายในปี 2568 เนื่องจากวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง จนทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้น สาเหตุจากอากาศร้อนจัดของออสเตรเลีย ทำให้อุณหภูมิของน้ำทะเลสูงกว่าค่าเฉลี่ยประมาณ 2-4 องศาเซลเซียส


แนวปะการังเกรตแบริเออร์รีฟ เสี่ยงอันตราย

ขณะที่ เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) แนะนำให้เพิ่ม แนวปะการังเกรตแบร์ริเออร์รีฟในรายชื่อแหล่งมรดกโลกที่ตกอยู่ในอันตราย โดยให้เหตุผลว่า ระบบนิเวศของแนวปะการังขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้รับผลกระทบอย่างมากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ และมหาสมุทรที่ร้อนขึ้น

สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า การฟอกขาวที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งกำลังคุกคามแนวปะการัง "ความสามารถของแนวปะการังในการฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ อยู่ในความเสี่ยงอย่างมาก" กลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ระบุในรายงาน

อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลของออสเตรเลีย ได้พยายามดำเนินการมานานหลายปี เพื่อไม่ให้เกรตแบร์ริเออร์รีฟอยู่ในสถานะเสี่ยงอันตราย เพราะอาจส่งผลให้แนวปะการังสูญเสียการเป็นแหล่งมรดกโลก และลดการดึงดูดนักท่องเที่ยวบางส่วน


ปรากฏการณ์ ปะการังฟอกขาว น่านน้ำไทย

สำหรับ "น่านน้ำไทย" ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่า น่านน้ำไทยเคยได้รับผลกระทบเช่นนี้เมื่อปี 2534 , 2538 , 2541 , 2546 , 2548 และ 2550 โดยปี พ.ศ.2534 และ 2538 แนวปะการังทางฝั่งทะเลอันดามันได้รับความเสียหายมาก พบว่า ปะการังตายประมาณ 10-20% ส่วนในปี 2541 ก่อให้เกิดความเสียหายมากทางฝั่งอ่าวไทย แต่ปีต่อๆ มาเกิดทางฝั่งอันดามันแต่ไม่พบความเสียหายมากนัก เพราะปะการังสามารถฟื้นตัวกลับคืนสู่สภาพปกติได้เนื่องจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมาเร็วในตอนต้นฤดูช่วยบรรเทาทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลลดลงได้

สำหรับในปี 2553 นับเป็นปีที่แนวปะการังเสียหายมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ อุณหภูมิน้ำทะเลจากปกติ 29 องศาเซลเซียส ได้เริ่มสูงขึ้นเป็น 30 องศาเซลเซียสตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคม พ.ศ.2553 สามสัปดาห์ต่อมาปะการังได้เริ่มฟอกขาวแผ่พื้นที่เป็นวงกว้างคลุมทะเลทั้งฝั่งอันดามัน และอ่าวไทย

จากการสำรวจโดยหลายหน่วยงาน พบว่า ในแต่ละพื้นที่มีปะการังฟอกขาวมากน้อยต่างกันไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับว่าบริเวณนั้นมีปะการังชนิดใดเป็นพวกที่ขึ้นครอบคลุมพื้นที่มาก (dominant group) หากพวกที่ขึ้นคลุมพื้นที่มากเป็นพวกที่ไวต่อการฟอกขาว พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก เช่น แนวปะการังที่มีปะการังเขากวาง (Acropora spp.) ขึ้นเป็นดงกว้างใหญ่ พื้นที่นั้นก็จะได้รับผลกระทบมาก

นอกจากนี้ ยังขึ้นอยู่กับว่าชายฝั่งที่แนวปะการังขึ้นอยู่นั้นได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากน้อยเพียงไรด้วย ด้านที่รับแรงจากคลื่นลมจะเป็นด้านที่อุณหภูมิไม่สูงอยู่ตลอดเวลา (เช่น ด้านตะวันตกของเกาะต่างๆ ทางฝั่งทะเลอันดามัน) ปะการังจึงฟอกขาวน้อยกว่าด้านอื่น เมื่อประมาณโดยภาพรวมทั่วประเทศแล้ว พบว่า ปะการังแต่ละแห่งฟอกขาวมากถึง 30-95% ปะการังทุกชนิดฟอกขาวเกือบทั้งหมด ยกเว้นเพียง 3-4 ชนิดเท่านั้นที่ยังคงต้านอยู่ได้ เช่น ปะการังสีน้ำเงิน (Heliopora coerulea) ปะการังลายดอกไม้ (Pavona decussata) และปะการังดาวใหญ่ (Diploastrea heliopora)


สถานการณ์ "ปะการังไทย" ปี 2564

สำหรับในปี 2564 ไม่ปรากฏแนวโน้มการเกิดปะการังฟอกขาวในน่านน้ำไทย หรือหากเกิดขึ้นจะอยู่ในระดับที่ไม่รุนแรง มีลักษณะคล้ายกับปี 2563 นั่นคือ ฝั่งอ่าวไทย ปะการังเริ่มมีสีจางลง และฟอกขาวในบางพื้นที่ช่วงปลายเดือนพฤษภาคม โดยเฉพาะพื้นที่ ที่แนวปะการังโผล่พื้นน้ำในช่วงน้ำลง ได้แก่ หาดเจ้าหลาว จังหวัดจันทบุรี (สำรวจเฉพาะปะการังที่โผล่พ้นน้ำ) เกาะมันใน หาดพลา จังหวัดระยอง แหลมแสมสาร หาดค่ายเจษฎาราชเจ้า จังหวัดชลบุรี

ซึ่งส่งผลให้ปะการังส่วนที่โผล่พ้นน้ำดังกล่าวตายลงไปบางส่วน แต่ปะการังที่อยู่ใต้น้ำตลอดเวลาฟอกขาวเพียงเล็กน้อย ในขณะที่แนวปะการังฝั่งอันดามันได้รับผลกระทบจากปะการังฟอกขาวน้อยมาก ไม่มีรายงานสถานีที่พบปะการังฟอกขาว พบเพียงปะการังมีสีจางลงเล็กน้อยในบางพื้นที่


(ต่อ)
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #9  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก กรุงเทพธุรกิจ


'ปะการังฟอกขาว' การสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี สู่วิกฤติใต้ท้องทะเล ............. ต่อ


ปะการังที่เกิดการฟอกขาว กลับคืนสู่ปกติได้หรือไม่

สำหรับปะการังฟอกขาว สามารถกลับคืนสู่สภาพปกติได้ หากสาหร่ายซูแซนเทลลีเหล่านั้นกลับเข้าสู่ตัวปะการังอีกครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปกลับคืนสู่ภาวะปกติ ปะการังจะสามารถดำรงชีวิตโดยปราศจากสาหร่ายซูแซนเทลลีได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์

หากมีเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นเป็นวงกว้าง และระยะเวลายาวอย่างต่อเนื่อง จะทำให้การฟื้นตัวของปะการังโดยธรรมชาติมีโอกาสเป็นไปได้ต่ำ หรือไม่มีเลย และถ้าสาหร่ายซูแซนเทลลีไม่กลับเข้าสู่ปะการังในช่วงเวลาดังกล่าวปะการังเหล่านั้นก็จะตายในที่สุด


เราจะช่วยดูแลปะการังได้อย่างไร

เราสามารถที่จะช่วยกันดูแลรักษา และอนุรักษ์แนวปะการังได้ เริ่มจากการลดการสร้างมลภาวะที่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

- ลดการใช้รถโดยไม่จำเป็น

- ลดการเผาสิ่งปฏิกูล

- หลีกเลี่ยงการกระทำที่จะเป็นการทำลายแนวปะการัง ด้วยการทำระบบบำบัดน้ำเสีย

- ระมัดระวังการใช้ปุ๋ยในการเกษตร เพราะเมื่อถูกชะล้างลงสู่ทะเลจะส่งผลกระทบต่อสาหร่ายในแนวปะการัง

- ไม่ทิ้งขยะตามชายฝั่งทะเล


มาตรการรับมือ

สำหรับมาตรการรับมือ ข้อมูลจาก กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสิ่งแวดล้อม ได้ทำการประเมินผลกระทบจากปรากฏการณ์ฟอกขาวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมถึงผลกระทบในด้านต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทั้งระยะสั้น และระยะยาว

- สำรวจสถานการณ์ปะการังฟอกขาว และจัดทำมาตรการสำหรับป้องกันผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่เข้าไปใช้ประโยชน์ในแนวปะการัง

- ประกาศใช้กฎหมายในแหล่งท่องเที่ยวเพื่อระงับผลกระทบจากมนุษย์

- ติดตั้งเครื่องวัดอุณหภูมิน้ำทะเลในแนวปะการัง

- ฟื้นฟูแนวปะการังในบางพื้นที่


อ้างอิง : สถาบันการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน (สพท.) , กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม , ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา , กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง


https://www.bangkokbiznews.com/environment/1117126

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
  #10  
เก่า 12-03-2024
สายน้ำ's Avatar
สายน้ำ สายน้ำ is offline
Senior Member
 
วันที่สมัคร: May 2009
ข้อความ: 12,879
Default

ขอบคุณข่าวจาก สำนักข่าวไทย


"เต่ามะเฟือง" วางไข่ที่หาดไม้ขาว จ. ภูเก็ต เพาะฟักใน 55-60 วัน

ภูเก็ต 11 มี.ค. ? แม่เต่ามะเฟืองวางไข่บริเวณหาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต คาดเพาะฟักระหว่างวันที่ 6-11 พฤษภาคม 2567 เจ้าหน้าที่กั้นคอกและเฝ้าระวัง 24 ชั่วโมง



นายวัชระ ส่งสีอ่อน หัวหน้าอุทยานแห่งชาติสิรินาถกล่าวว่า เมื่อเวลา 06.50 น. ได้รับแจ้งจากชาวบ้านในพื้นที่บ้านไม้ขาว ว่า พบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเล บริเวณหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ สน.2 (ท่าฉัตรไชย) จุดชมเครื่องบิน ขึ้น-ลง (หาดไม้ขาว) จึงประสานไปยังหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ต เพื่อตรวจสอบร่องรอยการขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลดังกล่าว

ต่อมาในเวลา 07.20 น. จึงนำเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถไปร่วมกับเจ้าหน้าที่ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ตเข้าตรวจสอบพบเป็นร่องรอยของเต่ามะเฟือง พบว่า ขนาดความกว้างอก 110 เซนติเมตรความกว้างพายทั้งหมด 190 เซนติเมตร ความลึกหลุมไข่ 60 เซนติเมตร ความกว้างหลุมไข่ 45 เซนติเมตรขนาดของไข่ประมาณ 5.45 เซนติเมตร ระยะทางจากชายน้ำถึงหลุมไข่ 24.60 เมตร

จากการประเมินพบว่า ตำแหน่งหลุมไข่อยู่พ้นแนวน้ำขึ้นสูงสุดจึงไม่มีการขุดนับจำนวนหรือเคลื่อนย้าย แต่ได้กั้นคอกบริเวณจุดที่แม่เต่ามะเฟืองขึ้นวางไข่ พร้อมดูแลรักษาจนกว่าลูกเต่าจะฟักตัวออกจากไข่และปล่อยกลับคืนสู่ธรรมชาติ

สำหรับไข่เต่ามะเฟืองจะใช้เวลาเพาะฟักประมาณ 55-60 วันจึงจะฟักระหว่างวันที่ 6-11 พฤษภาคม 2567 โดยอุทยานแห่งชาติสิรินาถจัดเจ้าหน้าที่ดูแลการฟักตัวของเต่ามะเฟืองตลอด 24 ชั่วโมง


https://tna.mcot.net/environment-1333019

__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า ....
ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม
ตอบ


กฎการส่งข้อความ
You may not post new threads
You may not post replies
You may not post attachments
You may not edit your posts

BB code is ใช้ได้
Smilies are ใช้ได้
[IMG] code is ใช้ได้
HTML code is งดใช้

Forum Jump


เวลาทั้งหมดอยู่ในเขตเวลา GMT +7 และเวลาในขณะนี้คือ 22:57


vBulletin รุ่น 3.8.10
สงวนลิขสิทธิ์ ©2000-2024, บริษัท Jelsoft Enterprises จำกัด
Ad Management plugin by RedTyger