#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันเสาร์ที่ 3 กรกฎาคม 2564
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ประเทศไทยมีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังอ่อน ในขณะที่มีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 2- 3 ก.ค. 64 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเวียดนามตอนบนและประเทศจีนตอนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีปริมาณฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 4 ? 8 ก.ค. 64 ร่องมรสุมจะพาดผ่านภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น โดยทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 4 ? 8 ก.ค. 64 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนักไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สลด ซากสัตว์น้ำ 200 ตัว เกยหาดศรีลังกา หลังเหตุเรือสินค้าไฟไหม้ ซากสัตว์น้ำจำนวนหลายร้อยตัวถูกซัดเกยหายของศรีลังกา หลังสัปดาห์หลังจากเกิดเหตุเรือสินค้าบรรทุกสารเคมีอันตราย ไฟไหม้และจมลงก้นทะเล สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า ผลกระทบจากเหตุ เรือบรรทุกสินค้า ?เอ็กซ์-เพรส เพิร์ล? ไฟไหม้และจมลงก้นทะเลนอกชายฝั่งทางตะวันตกของประเทศศรีลังกา เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน เริ่มปรากฎให้เห็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจนถึงตอนนี้มีซากเต่า 176 ตัว, โลมา 20 ตัว และวาฬีอีก 4 ตัว ถูกคลื่นซัดมาเกยหาดศรีลังกา นาย มาฮินดา อามาราวีรา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสิ่งแวดล้อมของศรีลังกา กล่าวว่า เป็นเรื่องไม่ปกติที่มีสัตว์น้ำตายมากขนาดนี้ในช่วงนี้ของปี "ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ไม่เคยมีสัตว์น้ำตายแบบนี้" เขายังบอกด้วยว่า ซากสัตว์ส่วนใหญ่พบนอกชายฝั่งตะวันตก ซึ่งได้รับผลกระทบจากเหตุเรือล่มเต็มๆ ทั้งนี้ เรือ เอ็กซ์-เพรส เพิร์ล ความยาว 186 ม. บรรทุกนำ้มันเตามาด้วย 278 ตัน, แก๊ส 50 ตัน, คอนเทนเนอร์ 1,486 ตู้ ประกอบด้วยสารเคมี 25 ตัน และเม็ดพลาสติกจำนวนมาก ก่อนจะเกิดเพลิงไหม้เมื่อ 20 พ.ค. เจ้าหน้าที่ใช้เวลาดับไฟถึง 12 วัน แต่สุดท้ายเรือก็จมลงก้นทะเลในวันที่ 2 มิ.ย. ผู้เชี่ยวชาญกังวลว่า น้ำมันที่ยังหลงเหลือบนเรือลำนี้ อาจสร้างความเสียหายแก่สิ่งแวดล้อมบริเวณนี้ไปนานหลายสิบปี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา กัปตันเรือชาวรัสเซียของเรือ เอ็กซ์-เพรส เพิร์ล ถูกนำตัวขึ้นศาลเพื่อฟังการพิจารณาดคี แม้ว่าจะยังไม่มีการตั้งข้อหา ขณะที่มีจำเลยอีก 14 คนที่ถูกกล่าวหาว่ามีส่วนรับผิดชอบในเหตุเพลิงไหม้ครั้งนี้ https://www.thairath.co.th/news/foreign/2131301
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
กรมประมง สั่งห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น 13 ชนิด กรมประมง ออกประกาศฯ ห้ามเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ 13 ชนิด เช่น ปลาหมอสีคางดำ ปูขนจีน หอยมุกน้ำจืด หมึกสายวงน้ำเงิน และปลา GMO ควบคุมการแพร่พันธุ์และทำลายระบบนิเวศแหล่งน้ำ มีผล 16 ส.ค.นี้ วันนี้ (2 ก.ค.2564) ?นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่พันธุ์ของสัตว์น้ำต่างถิ่น หรือเอเลียนสปีชีส์ ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศแหล่งน้ำของไทยอย่างมาก ยกตัวอย่างกรณีปลาหมอสีคางดำที่หลุดรอดเข้าบ่อเลี้ยงกุ้งของเกษตรกรเมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา สร้างความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำพื้นถิ่นเป็นอย่างมาก ในครั้งนั้นกรมประมงได้แก้ไขปัญหา ด้วยการการออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามนำเข้า ส่งออก นำผ่าน หรือเพาะเลี้ยงพ.ศ.2561 สำหรับสัตว์น้ำ 3 ชนิด ได้แก่ ปลาหมอสีคางดำ ปลาหมอมายัน และปลาหมอบัตเตอร์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 19 มี.ค.2561 อีกทั้งยังได้มีมาตรการจับสัตว์น้ำดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ด้วยการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ หรือการฝังกลบ จากนั้นกรมประมงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันการรุกรานของสัตว์น้ำต่างถิ่นในชนิดพันธุ์อื่น ๆ และได้มีการประชุมเพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การเพาะเลี้ยงในประเทศ การรุกรานที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และผู้ประกอบการ ประกอบกับการพิจารณาสัตว์น้ำในทะเบียนชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่ควรป้องกันควบคุมและกำจัดของประเทศไทยตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 ก.พ.2561 โดยพิจารณาควบคู่กับทะเบียนชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่รุกราน 100 อันดับโลก (GISD; Global Invasive Species Database,IUCN) จึงเห็นควรที่จะเพิ่มชนิดพันธุ์สัตว์น้ำต่างถิ่นที่ขึ้นบัญชีห้ามเพาะเลี้ยงเพื่อให้ครอบคลุมมากขึ้น? ล่าสุด กรมประมง ได้อาศัยความตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2560 ออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องกำหนดชนิดสัตว์น้ำที่ห้ามเพาะเลี้ยงในราชอาณาจักร พ.ศ. 2564 ลงวันที่ 27 พ.ค.2564 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 ส.ค.2564 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองพันธุ์สัตว์น้ำพื้นถิ่นหายาก หรือป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดแก่สัตว์น้ำและระบบนิเวศ ซึ่งประกอบสัตว์น้ำด้วย 13 ชนิด ได้แก่ - ปลาหมอสีคางดำ - ปลาหมอมายัน - ปลาหมอบัตเตอร์ - ปลาทุกชนิดในสกุล Cichla และปลาลูกผสม - ปลาเทราท์สายรุ้ง - ปลาเทราท์สีน้ำตาล - ปลากะพงปากกว้าง - ปลาโกไลแอทไทเกอร์ฟิช - ปลาเก๋าหยก - ปลาที่มีการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรม GMO LMO ทุกชนิด - ปูขนจีน - หอยมุกน้ำจืด - หมึกสายวงน้ำเงินทุกชนิดในสกุล Hapalochlaena ทั้งนี้ ประกาศฉบับดังกล่าวฯ มีแนวทางการปฏิบัติที่สำคัญ ดังนี้ กรณีที่เกษตรกรที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกลุ่มเหล่านี้ ต้องดำเนินการขอใบอนุญาตตามประกาศกรมประมงภายใน 30 วัน หลังจากประกาศฯ มีผลบังคับใช้ และเมื่อไม่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่นกลุ่มดังกล่าวแล้วให้รีบนำสัตว์น้ำส่งมอบให้สำนักงานประมงจังหวัด หรือหน่วยงานกรมประมงอื่น ๆ ในพื้นที่โดยด่วน, กรณีที่ประชาชนทำการประมงแล้วได้สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ประชาชนสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้สัตว์น้ำตายก่อนนำไปจำหน่าย, กรณีที่สัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดนี้จากธรรมชาติได้หลุดรอดเข้าในบ่อเพาะเลี้ยงของเกษตรกรโดยไม่เจตนา เกษตรกรสามารถนำไปบริโภคหรือจำหน่ายได้ แต่ต้องทำให้ปลาตายก่อนนำไปจำหน่าย, กรณีส่วนราชการ สถาบันการศึกษา หรือกรณีจำเป็นอื่นใดที่ต้องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิดไว้เพื่อศึกษาวิจัยและประโยชน์ทางราชการให้แจ้งขออนุญาตกรมประมงก่อน, ห้ามผู้ใดปล่อยสัตว์น้ำทั้ง 13 ชนิด ลงในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยเด็ดขาด เนื่องจากมีความผิดตามมาตรา 144 แห่ง พ.ร.ก.การประมง 2558 บทลงโทษหากพบผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 64 หรือมาตรา 65 วรรคสอง ต้องระวางโทษตามมาตรา 144 จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง นำสัตว์น้ำไปปล่อยในที่จับสัตว์น้ำ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ "การออกประกาศฉบับดังกล่าวโดยห้ามทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทั้ง 13 สายพันธุ์นี้ ถือเป็นอีกแนวทางที่จะช่วยลดปัญหาสัตว์น้ำต่างถิ่นที่หลุดรอดเข้ามาแพร่พันธุ์และสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรไทย" รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ขอความร่วมมือประชาชนหากเลี้ยงสัตว์น้ำต่างถิ่น (สัตว์น้ำจากต่างประเทศ) และไม่ต้องการที่จะเลี้ยงอีกต่อไปแล้ว อย่านำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำสาธารณะ และขอให้นำสัตว์น้ำดังกล่าวมามอบให้กรมประมง หรือสำนักงานประมงจังหวัดในพื้นที่ใกล้บ้านให้รับไปดูแล ป้องกันไม่ให้สัตว์น้ำต่างถิ่นหลุดรอดลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศแหล่งน้ำของประเทศในระยะยาว https://news.thaipbs.or.th/content/305743
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|