#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่พายุโซนร้อน "มู่หลาน" บริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย มีกำลังปานกลาง ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย สำหรับทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง อนึ่ง พายุโซนร้อน "มู่หลาน" บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนแล้ว โดยพายุมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในระยะต่อไปตามลำดับ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 11 ? 12 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ในขณะที่พายุโซนร้อน ?มู่หลาน?บริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านเกาะไหหลำ และเคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ในช่วงวันที่ 10-11 ส.ค. 65 ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนบนคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 13 ? 16 ส.ค. 65 ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคเหนือตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อน ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1- 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณอ่าวไทยตอนล่างทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 11 ? 13 ส.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรเพิ่มความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "พายุ มู่หลาน "ฉบับที่ 8 ลงวันที่ 11 สิงหาคม 2565 เมื่อเวลา 04.00 น. วันนี้ (11 ส.ค. 65) พายุโซนร้อน "มู่หลาน" บริเวณอ่าวตังเกี๋ย ได้เคลื่อนขึ้นฝั่งบริเวณเวียดนามตอนบน เมืองก๋วงนินห์ โดยมีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 170 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม หรือที่ละติจูด 21.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 107.4 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกค่อนทางเหนือเล็กน้อย ด้วยความเร็วประมาณ 20 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คาดว่าพายุมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชั่นและหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง ในระยะต่อไปตามลำดับ ประกอบกับร่องมรสุมพาดผ่านประเทศเมียนมา ภาคหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 11 สิงหาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดตาก เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง เชียงราย พะเยา น่าน แพร่ และอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 12 สิงหาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกตาก สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู หนองคาย ขอนแก่น อุดรธานี บึงกาฬ สกลนคร และนครพนม ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด วันที่ 13 สิงหาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลกตาก สุโขทัย และเพชรบูรณ์ สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวัง
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สลด จนท.ฝรั่งเศสช่วยวาฬเบลากาติดในแม่น้ำแซนไม่สำเร็จ จำใจต้องการุณยฆาต สัตวแพทย์จำใจต้องทำการการุณยฆาตวาฬเบลูกา ซึ่งหลัดหลงจากทะเลเข้ามาติดในแม่น้ำแซนนานกว่า 1 สัปดาห์แล้ว หลังจากร่างกายของมันอ่อนแอลงมาก สำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า เมื่อวันพุธที่ 10 ส.ค. 2565 สัตวแพทย์ฝรั่งเศสตัดสินใจทำการุณยฆาตวาฬเบลูกา ซึ่งพลัดหลงจากทะเลเข้ามาติดอยู่ในแม่น้ำแซน บริเวณเมืองนอเทรอดาม เดอ ลา-แกแรง ในแคว้นนอร์ม็องดี ตั้งแต่เมื่อวันที่ 2 ส.ค.แล้ว หลังจากสุขภาพของมันทรุดโทรมลงเนื่องจากไม่ยอมกินอาหาร ในวันพุธ เจ้าหน้าที่กู้ภัยมากกว่า 80 นาย พยายามอีกครั้งนานร่วม 6 ชั่วโมงเพื่อพาตัววาฬเบลูกาตัวนี้กลับสู่ทะเล หลังจากนำมันขึ้นเรือเพื่อรับการตรวจสุขภาพ อย่างไรก็ตาม ระหว่างการขนส่ง แพทย์พบว่าน้ำหนักของมันลดลงจนอยุ่ในระดับอันตรายแล้ว และตัดสินใจทำการุณยฆาตในที่สุด "ระหว่างเดินทาง สัตวแพทย์เน้นย้ำเรื่องสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลงของมัน โดยเฉพาะการหายใจ และเราเห็นได้ว่าวาฬตัวนี้มีอาการแอนอกเซีย (anoxia) หรือหายใจได้ไม่เพียงพอ มันกำลังทุกข์ทรมานอย่างชัดเจน เราจึงตัดสินใจว่าไม่มีประโยชน์แล้วที่จะปล่อยมันกลับสู่ทะเล และดำเนินการการุณยฆาต" ฟลอรองซ์ โอลลิเวต์-กูร์ตัวส์ สัตวแพทย์จากสำนักงานกู้ภัยและดับเพลิงกล่าว ก่อนหน้านี้สัตวแพทย์ให้วิตามินวาฬเบลูกาตัวนี้ โดยหวังว่าจะช่วยทำให้มันอยากอาหาร จนแข็งแรงพอที่จะว่ายออกจากแม่น้ำไปยังช่องแคบอังกฤษซึ่งมีระยะทางยาวถึง 160 กิโลเมตร และว่ายกลับไปยังทะเลอาร์กติกได้ แต่มันไม่ยอมกินอาหารเลย ส่งผลให้น้ำมันของมันลดลงไปอยู่ที่ราว 800 กก. ทั้งที่ควรจะมีน้ำหนักมากถึง 1,200 กก. อนึ่ง แหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติของวาฬเบลูกาอยู่ในมหาสมุทรอาร์กติก โดยจุดใกล้ฝรั่งเศสที่สุดที่พบวาฬเบลูกาได้คือที่ สฟาลบาร์ หมู่เกาะทางเหนือของนอร์เวย์ ซึ่งห่างจากแม่น้ำแซนถึง 1,900 ไมล์ จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครทราบว่าเหตุใด วาฬเบลูกาตัวนี้จึงพลัดหลงมาไกลขนาดนี้ แต่กองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) คาดว่า อาจเป็นเพราะ การละลายของธารน้ำแข็งในมหาสมุทรอาร์กติกเปิดพื้นที่ให้เกิดการเดินเรือ, การประมง และกิจกรรมอื่นๆ ของมนุษย์มากขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสื่อสารและนำทางของวาฬเบลูกา https://www.thairath.co.th/news/foreign/2469614
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ข่าวสด
ปัตตานี ลุยตรวจยึด 'ไอ้โง่' ลอบทำประมงผิดกฎหมาย ในอ่าวไทย 130 ชุด ปัตตานี ลุยตรวจยึด 'ไอ้โง่' เครื่องมือทำประมงผิดกฎหมาย ในทะเลอ่าวไทย ปากร่องแม่น้ำบ้านบางตาวา อ.หนองจิก จำนวน 130 ชุด เมื่อวันที่ 10 ส.ค. 2565 นายชวัลวิทย์ พัฒน์เจริญ พร้อมเจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมงทะเลปัตตานี รวม 10 นาย ใช้เรือตรวจประมงทะเล 209 ออกปฏิบัติงานการเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ศรชล.ภาค 2 ปัตตานี ร่วมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 15 หน่วยงาน รวม 35 นาย โดยมีพล.ร.ต.สุรศักดิ์ ประทานวรปัญญา รองผอ.ศรชล.ภาค 2 เป็นประธานในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ ได้ทำการตรวจยึดลอบพับได้หรือไอ้โง่ ซึ่งมีความผิดตามพระราชกำหนดการประมง 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 2560 มาตรา 67(2) จำนวน 130 ชุด บริเวณทะเลอ่าวไทยปากร่องแม่น้ำบ้านบางตาวา อ.หนองจิก จ.ปัตตานี นำของกลางส่งพนักงานสอบสวน สภ.ตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี ตามปจว.ข้อที่ 6 เวลา 16.25 น. ลงวันที่ 10 ส.ค.65 https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7207609
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#4
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก GREENPEACE
มลพิษพลาสติกในทะเล ใครควรเป็นคนรับผิดชอบ? ................. โดย Dina Ni มหาสมุทร เปรียบเสมือนว่าเป็นปอดของโลก ครึ่งหนึ่งของอากาศที่หายใจเข้าไปมาจากที่นี่ แต่ตอนนี้มหาสมุทรของพวกเรากำลังถูกทำลายจากมลพิษพลาสติกที่มาจากพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง (single-use plastic) และเครื่องมือการทำประมง มลพิษพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้นในมหาสมุทรนับว่าเป็นภัยคุกคามที่อาจส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลรวมถึงความสามารถในการผลิตก๊าซออกซิเจนให้เราหายใจ ถึงเวลาที่เราควรรู้ว่าปัญหาทุกอย่างนั้นเชื่อมโยงกันและผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบเพื่อยุติมลพิษที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเพื่อต่ออายุมหาสมุทรให้กับลูกหลานของเรา โดยอาจเริ่มจากตอบคำถามง่าย ๆ ต่อไปนี้ ขยะพลาสติกตกค้างอยู่ในมหาสมุทรมากน้อยแค่ไหน? จากการประมาณการระหว่างปี 1950 ถึง 2017 มนุษย์ผลิตพลาสติกได้ประมาณ 9.2 พันล้านตัน เทียบเท่ากับน้ำหนักช้าง 1.2 พันล้านตัวหรือวาฬสีน้ำเงิน 88 ล้านตัว [1] เนื่องจากการรวมกันของการผลิตจำนวนมากและการจัดการของเสียที่ไม่ดี มลพิษจากพลาสติกถึง 12.7 ล้านเมตริกตันจึงลงเอยในมหาสมุทรทุกปี [2] พลาสติกในมหาสมุทรไม่ได้ละลายหายไปไหน มันกระจายไปตามชายฝั่ง เข้าสู่กระแสน้ำในมหาสมุทร หรือกระจุกตัวอยู่ในกระแสน้ำและท้ายที่สุดแล้ว ส่วนใหญ่จะแตกเป็นชิ้นเล็กๆ ที่เรียกว่าไมโครพลาสติก มีการพบขยะพลาสติกในร่องลึกก้นมหาสมุทรมาเรียนาที่มีความลึกอยู่ที่ 10,898 เมตร นับว่าเป็นจุดที่ลึกที่สุดในโลก ร่องลึกมาเรียนามีสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อการดำรงชีวิต ไม่มีอาหาร น้ำดื่ม รวมถึงอากาศให้หายใจ ขยะพลาสติกเหล่านั้นไปอยู่ในมหาสมุทรได้อย่างไร? แม้ว่าขยะพลาสติกที่พบในมหาสมุทรมาจากบนบกและและเกิดขึ้นในมหาสมุทร ประมาณ 60-80% ขยะที่พบในมหาสมุทรมาจากบนบก และ 20%-40% มาจากอุปกรณ์ประมง โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) กล่าวว่าอุปกรณ์ประมงที่สูญหาย หรือถูกทิ้งมีสัดส่วนประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของขยะพลาสติกในมหาสมุทรทั้งหมด แหล่งข้อมูลอื่น ๆ แสดงให้เห็นเปอร์เซ็นต์ที่สูงขึ้นเล็กน้อย แม้ว่าการประมาณการอาจแตกต่างกันไป แต่เห็นได้ชัดว่าขยะที่มาจากพื้นดินเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษพลาสติกในมหาสมุทร ตามมาด้วยเศษอวนหรือที่เรียกกันว่า ghost gear (ชาวประมงอาจตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจทิ้งอวนจับปลาไว้ในมหาสมุทร) เมื่อเรารู้แล้วว่ามลพิษพลาสติกในมหาสมุทรมีความเป็นมาอย่างไรมันถึงเวลาแล้วที่เราต้องจัดการกับปัญหานี้อย่างรวดเร็ว การเป็นมังสวิรัติช่วยปกป้องมหาสมุทรหรือไม่? สารคดี Seaspiracy เป็นหนึ่งในสารคดีที่ตีแผ่ปัญหาที่กำลังเกิดขึ้นในมหาสมุทร ในสารคดีพุ่งเป้าไปที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินมาเป็นมังสวิรัติเป็นทางออกเดียวที่จะปกป้องมหาสมุทรได้ การปรับพฤติกรรมการกินเป็นหนึ่งในหลายวิธีที่จะช่วยทำให้สุขภาพของเราและโลกดีขึ้น อย่างไรก็ตามการทานมังสวิรัติหรือไม่ทานปลาไม่ใช่ทางออกที่สามารถแก้ไขปัญหาทุกอย่างได้ และอาจมองได้ว่าเป็นการทำลายความมั่นคงทางอาหารและทำลายกลไกการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจของซีกโลกใต้ ซึ่งอาจทำให้แยกได้ยากขึ้นระหว่างการทำประมงเพื่อยังชีพกับอุตสาหกรรมการประมง แนวคิดการทานมังสวิรัติเพื่อยุติมลพิษที่กำลังเกิดขึ้นในมหาสมุทรเป็นการฉายให้เห็นภาพของปัญหาเพียงด้านเดียวเท่านั้น ปริมาณขยะพลาสติกในมหาสมุทรมีมากมายมหาศาล เศษอวนที่ก่อให้เกิดมลพิษนั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวเดียวของปัญหาทั้งหมด การเก็บขยะริมชายหาดในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ไม่อาจแก้ไขมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรได้ หลายรัฐบาลทั่วโลกมองเป็นภาพเดียวกันว่าหากต้องการยุติมลพิษพลาสติกที่เกิดขึ้นในมหาสมุทร การยุติขยะพลาสติกแบบครั้งเดียวทิ้งจากทุกคนต่างหากที่จะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ รัฐบาลสามารถเป็นส่วนหนึ่งเพื่อยุติมลพิษทางทะเลได้อย่างไรบ้าง? เดือนพฤษภาคม 2564 รัฐบาลได้ประกาศผลิตภัณฑ์จากพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นพิษในหนึ่งบัญญัติของพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของแคนาดา (CEPA) นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับการแก้ปัญหาพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งของแคนาดา อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก รัฐบาลกลางกำหนดข้อบังคบในการจัดการ "รายการที่ผลิตด้วยพลาสติก" โดยจำกัดการใช้และการขนส่ง และจะครอบคลุมเพียงพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งแค่ 6 รายการเท่านั้น ไม่รวมพวกก้นบุหรี่และฝาปิดถ้วยเครื่องดื่มร้อน จากร่างกฎหมายฉบับนี้ทำให้ขยะพลาสติกครั้งเดียวทิ้งในแคนาดาลดลงเพียงแค่ 1% นั่นคือเหตุผลที่ทำไมกรีนพีซจึงมุ่งเน้นการลดขยะที่ต้นทางและสนับสนุนให้มีการนำระบบเติม (Refill) และการใช้ซ้ำ (Reuse) เพื่อลดจำนวนบรรจุภัณฑ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การแก้ปัญหาที่ปลายทางอย่างการรีไซเคิล การใช้พลาสติกชีวภาพ การกักเก็บคาร์บอนล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ยั่งยืน เช่นเดียวกับมลพิษทางทะเล การจับปลาในมหาสมุทรไม่ใช่มลพิษทางทะเลแต่การทำอุตสาหกรรมประมงต่างหากที่ทำให้ระบบนิเวศทางทะเลถูกทำลาย สหประชาชาติตระหนักว่ามีมหาสมุทรมากถึง 64% ที่เป็นเขตปลอดสนธิสัญญาทะเลหลวง นั่นคือเหตุผลที่เราต้องมีสนธิสัญญาทะเลหลวงซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรา สนธิสัญญาทะเลหลวงนี้จะครอบคลุมน่านน้ำสากลและนับเป็นเขตรักษามหาสมุทรอย่างน้อย 30% ภายในปี 2573 แคนาดาและอีก 22 ประเทศทั่วโลกร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศในการเจรจาสนธิสัญญาทะเลหลวงในเดือนกรกฎาคม 2563 โดยมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายพื้นที่คุ้มครองทางทะเล 30% ของสหประชาชาติทั่วโลกภายในปี 2573 เราจะยุติมลพิษพลาสติกในมหาสุมทรได้อย่างไร? ตอนนี้เราตระหนักถึงภัยคุกคามที่เกิดขึ้นในมหาสมุทรซึ่งมาจากมลพิษพลาสติกและอุตสาหกรรมประมงและจำเป็นต้องหยุดการเป็นส่วนหนึ่งของภัยคุกคามนั้น ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลต้องเริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นตอเพื่อผลลัพธ์ที่ดีในระยะยาว เราต้องการให้รัฐบาลออกกฎหมายหรือข้อบังคับใช้ต่ออุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อหยุดการก่อมลพิษพลาสติก มีการคาดการณ์ว่าหากเรายังไม่เริ่มแก้ไขปัญหาที่ต้นตออย่างจริงจัง ปริมาณพลาสติกในมหาสมุทรจะเพิ่มสูงขึ้นกว่า 90 ล้านตันภายในปี 2573 [5] ชัดเจนแล้วว่าเราไม่สามารถนิ่งเฉยกับปัญหาดังกล่าวได้อีกต่อไปเพื่อยุติมลพิษพลาสติกที่กำลังเกิดขึ้น การหยุดพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นหนึ่งในวัตถุดิบหลักในการผลิตพลาสติก เพราะไม่ว่าจะเป็นมลพิษพลาสติก หรือมลพิษที่เกิดจากอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงฟอสซิลที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นดินหรือในมหาสมุทรล้วนเป็นส่วนหนึ่งของวิกฤตสภาพภูมิอากาศ เพื่อยุติวิกฤตสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลต้องหยุดแสร้งว่าการรีไซเคิลสามารถแก้ไขมลพิษพลาสติกได้ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องยุติการผลิตหรือบริโภคที่ก่อให้เกิดของเสีย ซึ่งเป็นอันตรายต่อโลกและอนาคตของพวกเรา! https://www.greenpeace.org/thailand/...tic-pollution/
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|