#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันอังคารที่ 16 สิงหาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป ร่องมรสุมพาดผ่านประเทศลาวตอนบนและภาคเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศเมียนมาและประเทศลาวตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 16 ? 17 ส.ค. 65 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก ส่วนในช่วงวันที่ 18 - 19 ส.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 20 - 21 ส.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยในช่วงวันที่ 15 ? 19 ส.ค. 65 บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 21 ส.ค. 65 คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในช่วงวันที่ 20 -21 ส.ค. 65
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
สลด บราซิลพบซากเพนกวินเกือบ 600 ตัว ตายเกลื่อนชายหาดหลังพายุพัดถล่ม เจ้าหน้าที่บราซิลพบเพนกวินเกือบ 600 ตัว ตายเกลื่อนชายหาดหลายแห่งในรัฐซานตากาตารีนา ทางตอนใต้ หลังเกิดพายุหมุนนอกเขตร้อน ซึ่งมีความเร็วลมมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หน่วยงานวิทยาศาสตร์ของบราซิล เปิดเผยเมื่อวันที่ 14 ส.ค. ว่า เจ้าหน้าที่โครงการติดตามหาดลุ่มน้ำซานโตส (Santos Basin Beach Monitoring Project) ซึ่งรับหน้าที่เฝ้าติดตามสัตว์ทะเลบริเวณชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และตอนใต้ของบราซิล พบซากเพนกวิน 596 ตัว ตายเกลื่อนชายหาดหลายแห่งในรัฐซานตากาตารีนาทางตอนใต้ หลังเกิดพายุหมุนนอกเขตร้อน ซึ่งมีความเร็วลมมากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดย นายอันเดร บาร์เรโต นักชีววิทยาที่เป็นผู้ประสานงานโครงการติดตามหาดลุ่มน้ำซานโตส ในรัฐซานตากาตารีนา กล่าวว่า เพนกวินเหล่านี้ถูกพบบนชายหาดหลายแห่งของฟลอเรียนอโปลิส เมืองหลวงของรัฐ หลังจากพายุหมุนนอกเขตร้อนได้เคลื่อนตัวผ่านพื้นที่ตอนใต้และตะวันออกเฉียงใต้ของบราซิล ส่งผลให้สัตว์ทะเลจำนวนหนึ่งถูกพัดมาเกยตื้นที่ชายหาดตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค. และยังมีรายงานพบสัตว์อื่นๆ เช่น นกนางนวลและเต่า อีกด้วย บาร์เรโต เผยกับสื่อท้องถิ่นว่าปกติแล้วสัตว์ที่ถูกพบหลังพายุไซโคลนจะเป็นสัตว์กลุ่มอ่อนแอที่สุด เช่น เพนกวินที่หนีจากคลื่นรุนแรงได้ยากกว่า เพราะมันต่างจากนกสายพันธุ์อื่นตรงที่บินไม่ได้ และเพนกวินจะจมลงน้ำทะเลที่เต็มไปด้วยคลื่นลมเมื่อโผล่ขึ้นมาหายใจบนผิวน้ำ ก่อนหน้านี้ หน่วยงานอุตุนิยมวิทยาในรัฐซานตากาตารีนา ของบราซิล ระบุว่า มีการบันทึกความเร็วลมที่อัตรามากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงในรัฐ ระหว่างวันที่ 9-12 ส.ค. ที่ผ่านมา. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2472896
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|