#1
|
||||
|
||||
สรุปข่าวทะเลและสิ่งแวดล้อม : วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม 2565
ขอบคุณข้อมูลพยากรณ์จาก กรมอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศทั่วไป มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลงแต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนล่าง ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 20-22 สิงหาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนจะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. คาดหมาย ในช่วงวันที่ 18 - 19 ส.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านบริเวณประเทศเมียนมา ประเทศลาวตอนบน และประเทศเวียดนามตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ และภาคตะวันออก สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 ส.ค. 65 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศลาวตอนบนและเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง ประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ข้อควรระวัง ในช่วงวันที่ 20 -23 ส.ค. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ********************************************************************************************************************************************************* ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา "ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทย (มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 20-22 สิงหาคม 2565)" ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ในช่วงวันที่ 20-22 สิงหาคม 2565 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบนจะเคลื่อนเข้าสู่แนวร่องมรสุม ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากโดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม จังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง มีดังนี้ วันที่ 20 สิงหาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดลพบุรี สระบุรี รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี และตราด วันที่ 21 สิงหาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดเลย หนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคาย บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด อำนาจเจริญ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี ระนอง พังงา และภูเก็ต วันที่ 22 สิงหาคม 2565 ภาคเหนือ: จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด ภาคใต้: จังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร ระนอง และพังงา สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง ทำให้คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนมีกำลังปานกลางโดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#2
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ไทยรัฐ
นักวิทย์เตือนให้ระวัง มีโอกาส 1 ใน 6 ภูเขาไฟจะปะทุครั้งใหญ่ในศตวรรษนี้ นักวิทย์เตือน มีโอกาส 1 ใน 6 ภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่ในศตวรรษนี้ เชื่อจะรุนแรงกว่าตอนภูเขาไฟใต้ทะเลที่ตองกาปะทุครั้งใหญ่เมื่อ ม.ค.65 ถึง 1-100 เท่า เมื่อ 18 ส.ค. 65 เดลี่เมลรายงาน ทีมนักวิทยาศาสตร์เชี่ยวชาญด้านภูเขาไฟในเดนมาร์ก เชื่อว่ามีโอกาส 1 ใน 6 ที่จะเกิดภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่ภายในศตวรรษนี้ ซึ่งอานุภาพความรุนแรงของภูเขาไฟที่เกิดการปะทุครั้งใหญ่จะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศบนโลกและทำให้สิ่งมีชีวิตหลายล้านชีวิตตกอยู่ในอันตราย ต้นปีนี้ เมื่อตอนภูเขาไฟใต้ทะเลขนาดยักษ์ ?Hunga Tonga-Hunga Ha?apa? (ฮังกา ตองกา-ฮังกา ฮายาไป) นอกชายฝั่งตองกา ปะทุรุนแรงในช่วงเย็นของวันนี้(15 ม.ค.) ตามเวลาท้องถิ่น ส่งให้เกิดคลื่นยักษ์ Tsunami ซัดชายฝั่งของญี่ปุ่น ทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ในขณะที่ตองกา ได้รับความเสียหายอย่างหนักทั้งชีวิตทรัพย์สิน และผลกระทบต่อ GDP เศรษฐกิจของประเทศถึง 1 ใน 5 ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่สถาบัน Niels Bohr ในกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก วิเคราะห์แกนน้ำแข็งในกรีนแลนด์และทวีปแอนตาร์กติกาพบว่า การปะทุของภูเขาไฟรุนแรงขนาด 7 แมกนิจูด อาจทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าภูเขาไฟฮังกา ตองกา ฮังกา ฮายาไปปะทุเมื่อเดือนมกราคม 2565 ถึง 1-100 เท่า และมีความเป็นไปได้ ที่ภูเขาไฟจะเกิดการปะทุครั้งใหญ่ในศตวรรษนี้ ในอดีตที่ผ่านมา การปะทุของภูเขาไฟในระดับความรุนแรงขนาดนี้ เป็นสาเหตุทำให้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน และเกิดการล่มสลายของอารยธรรม ทว่าในขณะนี้ โลกยังไม่มีการเตรียมความพร้อมที่จะรับมือกับมหันตภัยภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่ในระดับนี้เลย Michael Cassidy ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านภูเขาไฟวิทยาที่มหาวิทยาลับเบอร์มิงแฮม ในอังกฤษ กล่าวกับวารสารวิชาการทางวิทยาศาสตร์ Nature(เนเจอร์) ว่า ขณะนี้ยังไม่มีการประสานการทำงาน หรือการทุ่มงบก้อนใหญ่เพื่อศึกษาถึงผลกระทบต่อโลกหากเกิดภูเขาไฟปะทุครั้งใหญ่แต่อย่างใด https://www.thairath.co.th/news/foreign/2476046 ****************************************************************************************************** ยุโรปอ่วม นักวิทย์เตือน อาจเผชิญภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบกว่า 500 ปี และแล้ว ผู้คนในยุโรป ก็ได้เป็นประจักษ์พยานการเห็นหายนะภัยจากภาวะโลกร้อน เมื่อปีนี้ หลายประเทศในยุโรปต้องเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัดแบบเอ็กซ์ตรีม จากอิทธิพลคลื่นความร้อน ที่มาเร็วขึ้นและรุนแรงขึ้น จนทำให้ฤดูร้อนปีนี้ของยุโรปมาเร็วกว่าทุกปี รัฐบาลทั่วยุโรปได้ออกคำเตือนให้ประชาชนระวังอันตรายจากสภาพอากาศร้อนจัดที่ส่งผลต่อสุขภาพ จากอิทธิพลของคลื่นความร้อนที่แผ่ปกคลุมเป็นระลอกที่ 3 ในเดือนสิงหาคม ในขณะที่หลายพื้นที่ได้เกิดไฟป่า โดยเฉพาะในหลายประเทศของยุโรปกำลังเผชิญภัยแล้งอย่างรุนแรง และอังกฤษได้ประกาศพื้นที่กว่าครึ่งประเทศ รวมทั้งกรุงลอนดอน ประสบสถานการณ์ภัยแล้งอย่างเป็นทางการ ซึ่งหมายถึงต้องมีการจำกัดการใช้น้ำ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 12 ส.ค.ที่ผ่านมา แม่น้ำสำคัญในยุโรปแห้ง ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อิตาลี เป็นหนึ่งในประเทศที่ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบหลายสิบปี เมื่อทะเลสาบการ์ดา ซึ่งเป็นทะเลสาบใหญ่ที่สุดของประเทศ ปรากฏว่า มีปริมาณน้ำในทะเลสาบ แตะระดับเกือบต่ำสุดเท่าที่เคยมีการบันทึกกันมา เนื่องมาจากทางภาคเหนือของอิตาลีไม่มีฝนตกอย่างมีนัยสำคัญติดต่อมานานหลายเดือนแล้ว ในขณะที่แม่น้ำโป ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญของอิตาลี ก็มีระดับน้ำต่ำกว่าระดับปกติถึง 2 เมตร ส่วนแม่น้ำลัวร์ แม่น้ำสายยาวที่สุดของฝรั่งเศส ซึ่งมีความยาวถึง 1,012 กิโลเมตร มี บางช่วงสามารถเดินข้ามได้ ในขณะที่กระแสน้ำในแม่น้ำลัวร์ไม่เคยไหลช้าเช่นนี้มาก่อน ในขณะที่แม่น้ำไรน์ ส่วนแม่น้ำไรน์ ซึ่งเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่สุดในทวีปยุโรป มีความยาวทั้งสิ้น 1,230 กิโลเมตร และยาวเป็นอันดับสองรองจากแม่น้ำดานูบ โดยแม่น้ำไรน์ มีต้นน้ำจากเทือกเขาแอลป์ ไหลผ่านประเทศสวิตเซอร์แลนด์, ลิกเตนสไตน์, ออสเตรีย, เยอรมนี, ฝรั่งเศส, ลักเซมเบิร์ก, เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์ ไปออกทะเลเหนือ จึงทำให้แม่น้ำไรน์ เป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญทางเรือของยุโรป แต่แล้วในปีนี้ แม่น้ำไรน์ต้องเผชิญกับสถานการณ์ระดับน้ำลดลงอย่างมาก เผชิญภัยแล้งรุนแรงสุดในรอบกว่า 500 ปี Andrea Toreti นักวิจัยอาวุโสที่สำนักงานสังเกตการณ์ภัยแล้งในยุโรป ชี้ถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปปีนี้ว่า เคยเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรงในยุโรปเมื่อปี 2561 ชนิดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 500 ปี แต่ปีนี้ เขาคิดว่า สถานการณ์ภัยแล้งในยุโรปจะเลวร้ายกว่าปี 2561 ?เนื่องจากเรายังไม่สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ได้ตลอดทั้งปี เพราะสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้กำลังดำเนินอยู่ แต่โดยส่วนตัว ผมคิดว่า สถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ หนักกว่าปี 2561? Andrea Toreti กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเล่นงานยุโรปในปีนี้ พร้อมกันนั้นเขาก็มีความเห็นว่า ยังคงมีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดภัยแล้งทางภาคตะวันตกและตอนกลางของยุโรป เช่นเดียวกับในสหราชอาณาจักร และสถานการณ์ภัยแล้งในยุโรปจะดำเนินต่อไปอีกจนถึง 3 เดือนข้างหน้า ภัยแล้งส่งผลกระทบหนักต่อหลายประเทศในยุโรป สถาบันทรัพยากรน้ำของสหพันธรัฐเยอรมนี ระบุว่า ระดับน้ำในแม่น้ำไรน์สำหรับใช้ในการขนส่งทางเรือ ใช้ในระบบชลประทาน อุตสาหกรรม ผลิตกระแสไฟฟ้าและน้ำดื่ม ยังคงลดปริมาณลงอย่างต่อเนื่องไปจนถึงอย่างน้อยต้นสัปดาห์หน้า เมื่อวันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม 2565 ระดับน้ำในแม่น้ำไรน์ ที่เมือง Kaub ที่ไหลมาจากเมือง Mainz ระยะทาง 50 กิโลเมตร ได้ลดต่ำจนเข้าขั้นวิกฤติ เพราะระดับน้ำลดต่ำกว่า 40 เซนติเมตร ซึ่งเป็นระดับน้ำที่เรือสินค้าจะแล่นผ่านได้ และคาดว่าระดับน้ำจะลดต่ำลงไปจนเหลือแค่กว่า 30 เซนติเมตรในช่วง 2-3 วันข้างหน้า เรือบรรทุกจำนวนมาก ที่บรรทุกถ่านหินสำหรับโรงงานไฟฟ้า และวัตถุดิบสำคัญในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อย่างโรงงานเหล็ก Thyssen และโรงงานเคมียักษ์ใหญ่ BASF ในขณะนี้ได้ลดกำลังการผลิตลงมาเหลือเพียงแค่ประมาณ 25% เท่านั้น ในขณะที่ค่าขนส่งสินค้าทางเรือ พุ่งพรวดขึ้นไปแล้ว 5 เท่า การที่เรือบรรทุกสินค้าไม่สามารถแล่นผ่านแม่น้ำไรน์ ช่วงประเทศเยอรมนีได้ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของยุโรปอย่างหนัก โดยผู้เชี่ยวชาญซึ่งได้คำนวณว่าการเกิดภัยแล้งในยุโรปเมื่อปี 2561 ได้ก่อให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจประมาณ 5,000 ล้านยูโรนั้น จะส่งผลกระทบต่ออัตราเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยจะทำให้อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจลดลงไป 0.2 จุดในปีนี้ ส่วนฝรั่งเศส ถึงแม้แม่น้ำต่างๆ ในประเทศไม่ได้ถูกใช้เป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งที่สำคัญในประเทศ แต่การที่แม่น้ำแห้งลง ทำให้ระบบหล่อเย็นของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในฝรั่งเศส ที่ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับใช้ในประเทศถึง 70% ได้รับผลกระทบไปด้วย จนทำให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ยักษ์ใหญ่ EDF ในฝรั่งเศส ต้องลดการจ่ายไฟฟ้าลง เนื่องจากภัยแล้ง และนี่เป็นเพียงบางส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา จากสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังเล่นงานยุโรปอย่างหนักในปีนี้ ท่ามกลางเสียงเตือนจากบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่ชี้ว่า คลื่นความร้อนและภัยแล้งกำลังกลายเป็นเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยขึ้นและรุนแรงมากขึ้นบนโลก เช่นเดียวกับการเกิดฝนตกหนักมากกว่าเดิม ที่ก่อให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ดินถล่ม อันเนื่องมาจากสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง. https://www.thairath.co.th/news/foreign/2472065
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
#3
|
||||
|
||||
ขอบคุณข่าวจาก ThaiPBS
ทช.ชี้กิจกรรมปล่อยปลา CSR เป็นปลาการ์ตูนพันธุ์ต่างถิ่น กระทบนิเวศน์ทางทะเล ทช.ชี้แจงข้อมูลวิชาการ กรณี ทร.จัดกิจกรรมปล่อยปลา CSR ระบุ ฉลามกบไม่ใช่ alien species ขณะที่ ปลาการ์ตูนที่ปล่อยลงสู่ทะเลบางสายพันธุ์ไม่ใช่ปลาประจำถิ่น อาจส่งผลกระทบต่อสายพันธุ์ประจำถิ่นได้ วันนี้ (18 ส.ค.65) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โพสต์ เฟซบุ๊ก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ให้ข้อมูลวิชาการ กรณีการปล่อยปลา CSR โดยมี เนื้อหา ดังนี้ "กรมทะเล ชี้แจงข้อมูลวิชาการกรณีปล่อยปลา CSR สัตหีบ" จากกรณี?ดราม่าที่มีอินฟลูเอนเซอร์ ไปร่วมกิจกรรมปล่อยปลาฉลาม กับหน่วยนาวิกโยธิน ในเขต ทร. สัตหีบ จ.ชลบุรี โดยมีการปล่อยปลาการ์ตูน ที่คนมองว่า จะเป็น alien species และมี นักอนุรักษ์สายสิ่งแวดล้อม #มาที่กรม ทช. ขอให้ช่วยตรวจสอบข้อเท็จจริงทางวิชาการ นั้น กรม ทช.ขอชี้แจงว่าการจัดกิจกรรม CSR ในพื้นที่ของ กองทัพเรือดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้ (1) ได้มีการปล่อยปลาฉลามกบ ที่สามารถพบได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน จึงมิใช่ alien species แต่อย่างใด (2) ได้มีการปล่อยปลาการ์ตูน ซึ่งในประเทศไทยพบ 7 ชนิด ในอ่าวไทยพบเพียง 3 ชนิดได้แก่ ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาการ์ตูนลายปล้อง และปลาการ์ตูนอานม้า ในภาพมีพันธุ์ปลาที่ไม่ใช่ปลาประจำถิ่นของอ่าวไทย เช่น ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียน นอกจากนี้ยังมี ปลาการ์ตูนมะเขือเทศ ที่เป็นสายพันธุ์นำเข้าและไม่พบในประเทศไทย การปล่อยเช่นนี้ นอกจากจะไม่ช่วยในการอนุรักษ์แล้ว ยังจะทำให้ระบบนิเวศน์ทางทะเลเสียหายได้ ปลาการ์ตูนในธรรมชาติจำเป็นต้องอาศัยอยู่ร่วมกับซีแอนนีโมน ในบริเวณที่เป็นแนวปะการัง การปล่อยปลาการ์ตูนจากชายฝั่ง ทำให้โอกาสที่จะรอดชีวิตมีน้อยมาก รวมถึงการปล่อยชนิดพันธุ์ต่างถิ่นมีโอกาสที่จะไปรุกรานแก่งแย่งถิ่นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำประจำถิ่น ทำให้เกิดการสูญพันธ์ุหรือแทนที่ด้วยสายพันธุ์ใหม่ได้ นอกจากนี้ปลาการ์ตูนมีการปรับตัวตามถิ่นที่อยู่อาศัย การนำสายพันธุ์ภายนอกอาจเป็นการทำให้เกิดลูกผสมที่อ่อนแอทำให้ประชากรเดิมลดลงได้ แนวทางการอนุรักษ์ จึงไม่ควรปล่อยสัตว์น้ำต่างถิ่น ในกรณีของการเพาะพันธุ์เพื่อปล่อย ควรทำเฉพาะสายพันธุ์ที่มีอยู่เดิมในแหล่งธรรมชาติ อนึ่ง ปลาการ์ตูนไม่จัดเป็นสัตว์คุ้มครองการเพาะพันธุ์เพื่อเลี้ยงเป็นสัตว์สวยงามสามารถทำได้ https://news.thaipbs.or.th/content/318542
__________________
การเมืองไม่ยุ่ง มุ่งแต่รักษ์ทะเลไทยจ้า .... |
|
|